652 likes | 1.53k Views
ASSIGNMENT. การใช้วัสดุอิฐมอญในท้องถิ่นบ้านพิษณุโลก. BY MR. SURAPONG IN-KAEW 51711516. จุดประสงค์. 1. เพื่อศึกษาวัสดุก่อสร้างอิฐมอญในท้องถิ่นพิษณุโลกว่ามีกี่ชนิด ผลิตอย่างไร ผลิตที่ไหน ใช้ที่ไหน ใช้อย่างไร ราคาเท่าไหร่
E N D
ASSIGNMENT การใช้วัสดุอิฐมอญในท้องถิ่นบ้านพิษณุโลก BY MR. SURAPONGIN-KAEW 51711516
จุดประสงค์ 1.เพื่อศึกษาวัสดุก่อสร้างอิฐมอญในท้องถิ่นพิษณุโลกว่ามีกี่ชนิด ผลิตอย่างไร ผลิตที่ไหน ใช้ที่ไหน ใช้อย่างไร ราคาเท่าไหร่ 2.เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออิฐมอญมาเป็นวัสดุก่อสร้างในการสร้างบ้าน ในท้องถิ่นพิษณุโลก 3.เพื่อศึกษาคุณสมบัติ ประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย ของอิฐมอญในท้องถิ่นพิษณุโลกและเปรียบเทียบกับอิฐชนิดต่างๆ 4.เพื่อเป็นการอนุรักษ์อิฐมอญให้อยู่คู่ท้องถิ่นตลอดไป
แนวทางการศึกษา 1.ค้นคว้าหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 2.ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมในห้องสมุดคณะและหอสมุดกลาง 3.ไปสัมภาษณ์ช่างก่อสร้างใน siteงานก่อสร้าง ในท้องถิ่นบ้านพิษณุโลก 4.ไปหาข้อมูลจากร้านค้าวัสดุก่อสร้างและแหล่งผลิตอิฐมอญในท้องถิ่นพิษณุโลก ประโยชน์คาดว่าที่จะได้รับ 1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องวัสดุก่อสร้างอิฐมอญในท้องถิ่นพิษณุโลกอย่างถ่องแท้ 2.ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆจากการไปสัมภาษณ์ 3.ทำให้มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักแบ่งเวลาและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 4.สามารถนำความรู้เรื่องอิฐมอญ ทั้งคุณสมบัติ ประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย ไปประยุกต์ปรับใช้ในการออกแบบในโครงการต่างๆ
อิฐมอญ ชาวมอญอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยหลายต่อหลายครั้ง นับแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ เมื่อเข้ามาตั้งรากฐานในไทยบางกลุ่มได้เริ่มต้นประกอบอาชีพที่ตนเชี่ยวชาญ นั่นคือการทำอิฐดินเผา ด้วยคุณภาพของอิฐดินเผาชาวมอญ ทำให้เป็นที่นิยมโดยทั่วไปและมีการเรียกอิฐดินเผาชนิดนี้ในเวลาต่อมาว่า “อิฐมอญ” ในสมัยแรกอิฐมอญมีขนาดค่อนข้างใหญ่ก่อนจะมีวิวัฒนาการจนกระทั่งมาถึงอิฐยุคปัจจุบันที่ทำเป็นก้อนเล็กๆ เพื่อสะดวกในการก่อสร้าง อิฐมอญกลายเป็นส่วนประกอบในงานก่อสร้างบ้านเมืองของชาวไทยมาตลอดโดยในสมัยอยุธยาจนกระทั่งรัตนโกสินทร์ตอนต้นอิฐมอญถูกใช้ทำฐานรากโบสถ์ วิหาร กำแพง ใช้แทนเสาเข็ม ก่อเป็นเสา และใช้ทำถนน เมื่อถึงยุคที่สถาปัตยกรรมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและค่านิยมของชาวไทย คนไทยเริ่มเปลี่ยนค่านิยมจากการปลูกเรือนด้วยไม้ขยับขยายไปปลูกบ้านเป็นตึกแบบตะวันตก อิฐมอญ ก็ยังได้รับความไว้วางใจให้เป็นส่วนประกอบสำคัญ และไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนอย่างไรอิฐมอญก็ถูกปรับใช้งานกับสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องอิฐมอญเกิดจากการนำดินเหนียวผสมกับแกลบหรือวัสดุอื่นผสมน้ำ นวดเคล้าให้เข้าเนื้อเดียวกันแล้วใส่เข้าแม่พิมพ์ โดยโรยเถ้าแกลบบนลานดินภายในแม่พิมพ์ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ดินผสมติดกับแม่พิมพ์ ปาดให้เรียบ ตัดทำเป็นแผ่น ผึ่งให้แห้งหรือพอหมาด แล้วเอาเข้าเตาเผาจนสุกจากกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ซับซ้อนและวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่นปัจจุบันจึงมีการผลิตอิฐมอญอยู่ทั่วประเทศแต่แหล่งผลิตอิฐมอญแหล่งใหญ่ของไทยยังอยู่ในเขตภาคกลางเช่นนนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรีและเลยไปทางภาค ตะวันตก เช่นจังหวัดราชบุรี
อิฐมอญ โดยผู้ผลิตจะมีทั้งกลุ่มชาวบ้านหรือช่างทำอิฐ ซึ่งบางรายใช้เวลาหลังจากหมดสิ้นฤดูการทำนาทำอิฐมอญในลักษณะของอุตสาหกรรมในครัวเรือนขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังมีโรงงานอิฐมอญซึ่งเรียกกันว่าโรงเผาอิฐขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป อิฐมอญในตลาดปัจจุบันแบ่งตามวิธีการผลิตเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ อิฐมอญชนิดมีรูอัดแน่น ด้วยเครื่อง และอิฐมอญชนิดใช้แรงงานคนทั้งหมด ซึ่งคุณภาพการผลิต และมาตรฐานสู้แบบชนิดแรกไม่ได้ นอกจากนี้อิฐมอญยังสามารถแบ่ง ออกได้ตามการใช้งานคืออิฐมอญที่ต้องฉาบปูน และ อิฐมอญประดับ สามารถนำไปก่อโชว์แนว สมัยก่อนบ้านที่มีการก่อผนังจะใช้อิฐมอญทั้งหมดแต่ในช่วงหลังเริ่มมีวัสดุที่เป็นทางเลือกใหม่ในการใช้ก่อผนัง เช่น ‘คอนกรีตบล็อก’ หรือที่เรียกกันว่า ‘อิฐบล็อก’ซึ่งทำจากส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์กับทราย ที่มีการทำมาประมาณ 40-50 ปี แต่คอนกรีตบล็อกในไทยไม่มีพัฒนาการด้านคุณสมบัติ ทำให้ผู้ใช้มองว่าเป็นวัสดุก่อผนังคุณภาพต่ำเป็นตัวเลือกในงานที่ต้องการประหยัดค่าก่อสร้าง ถ้าไม่มีเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายผู้ใช้ยังคงเลือกอิฐมอญนอกจากนี้ยังมีอิฐซึ่งเรียกกันว่า ‘อิฐขาว’ ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตจากยุโรป เป็นอิฐที่ทำจากปูนขาวและทรายผสมกัน อัดด้วยเครื่องจักรที่มีความกดดันสูง แล้วอบด้วยความร้อนสูงเมื่ออบเสร็จแล้วสามารถนำไป ใช้งานได้ทันที อิฐขาวจะมีมาตรฐานมากกว่าและขนาดใหญ่กว่าอิฐมอญ เมื่อนำไปใช้จะช่วยให้ก่อสร้างได้เร็ว มีความแข็งแรงการรับน้ำหนักต่อจุดสูงใกล้เคียงกับคอนกรีต สามารถกันความร้อนได้มากกว่าอิฐมอญเล็กน้อยแต่ผิวอิฐไม่เหมาะกับการฉาบและผนังบ้านที่ใช้อิฐขาวจะมีความแข็งแรงมากโดยมีราคาที่สูงกว่าอิฐมอญเล็กน้อย
อิฐมอญ ทั้งอิฐบล็อกและอิฐขาวไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดอิฐมอญเพราะมีคุณสมบัติค่อนข้างแตกต่างกันมากนอกจากนี้ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นลงตัวในด้านประโยชน์ใช้สอยรวมและราคาเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุก่อผนังทั้งสองประเภททำให้อิฐมอญยังอยู่ในฐานะวัสดุก่อผนังอันดับหนึ่งอย่างมั่นคงซึ่งก่อนหน้านี้อิฐมอญมีช่วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์อันน่าจดจำในยุคเศรษฐกิจไทยก่อน ‘ฟองสบู่แตก’ในปี 2540 ซึ่งตอนนั้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจก่อสร้างกำลังรุ่งเรือง อิฐมอญจำนวนมหาศาลได้ถูกสั่งซื้อเพื่อรองรับงานก่อสร้าง ว่ากันว่าช่วงเวลานั้นที่แม้ช่างทำอิฐทั้งหลายจะทำงานกันอย่างหนักแต่ผลผลิตก็ออกไม่ทันต่อความต้องการของตลาดการที่อิฐมอญยังเป็นตัวเลือกอันดับแรกสำหรับการใช้ในงานก่อผนังคุณภาพในใจช่างก่อสร้างและเจ้าของบ้านทำให้กลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้เป็นตลาดใหญ่ที่เย้ายวนผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างจุดเริ่มต้นของการพยายามรุกเข้าสู่ตลาดวัสดุก่อผนังของอิฐมอญเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2539 โดยมีการนำอิฐมวลเบาเข้าสู่ตลาด ซึ่งอิฐมวลเบาเป็นอิฐก่อผนังที่ผลิตจากการสังเคราะห์ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทราย ยิปซั่มและปูนขาว และสารกระจายฟองอากาศขนาดเล็กอย่างสม่ำเสมอในเนื้อวัสดุ แล้วผ่านการอบไอน้ำภายใต้อุณหภูมิและความดันที่กำหนดหลังจากผ่านไปสิบกว่าปี วันนี้อิฐมวลเบาเป็นที่รู้จักมากขึ้นโดยการใช้งานแพร่หลายออกไปในวงการก่อสร้างจากการใช้งานของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยการประชาสัมพันธ์อย่างมีระบบ มีการชูจุดแข็งหลายด้าน ทั้งในด้านน้ำหนักเบาช่วยลดโหลดของโครงสร้างบ้าน มีความสะดวกในการขนย้าย สามารถติดตั้งก่อผนังได้รวดเร็วประหยัดค่าแรงช่าง นอกจากนี้ยังลดปัญหาเรื่องการแตกหักเสียหายระหว่างการทำงาน
อิฐมอญ ผนวกกับกระแสโลกร้อนและภาวะน้ำมันแพงทำให้เกิดการตื่นตัวด้านการอนุรักษ์พลังงาน รัฐบาลส่งเสริมให้เกิด "บ้านประหยัดพลังงาน"จึงเป็นโอกาสของอิฐมวลเบาในการหยิบฉวยมาเป็นจุดขายด้วยคุณสมบัติที่เป็นวัสดุป้องกันการสะสมความร้อนในผนังกำแพงช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการใช้เครื่องปรับอากาศซึ่งถ้าเปรียบเทียบเฉพาะคุณสมบัติการป้องกันความร้อนอิฐมวลเบาจะเหนือกว่าอิฐมอญอย่างเทียบกันไม่ติดในขณะที่อิฐมวลเบามีคุณสมบัติอันโดดเด่นในการป้องกันความร้อน อิฐมอญกลับมีคุณสมบัติตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุที่เป็นวัสดุที่มีมวลมาก ทำให้ ผนังอิฐมอญดูดกลืนความร้อนในเวลากลางวันมาก และถ่ายเทความร้อนสูงในตอนกลางคืน ทำให้บางคนถึงกับบอกว่า วัสดุเลวที่สุด สำหรับการทำผนังบ้านถ้ามอง ‘เฉพาะ’ ในแง่การป้องกันความร้อนก็คืออิฐมอญการโชว์จุดเด่นมากมายที่เหนือกว่าอิฐมอญของอิฐมวลเบาทำให้บางคนคาดการว่าอิฐมอญจะหายไปจากสารบบวัสดุก่อสร้างในไม่ช้านี้ อย่างไรก็ตามยังมีผู้ที่นิยมอิฐมอญออกมาโต้แย้งว่า อิฐมอญซึ่งผ่านกระบวนการคิดและปรับปรุงด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นมาอย่างยาวนานก็มีจุดแข็งที่สามารถตอบสนองความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้หนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งของอิฐมอญซึ่งมีในวัสดุทุกชนิดที่เรียกว่าโมดูลัสของความเป็นอิลาสติก(Modulus of elasticity) หรือค่าความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัสดุ เมื่อได้ รับแรงกระทำของอิฐมอญ มีค่าใกล้เคียงกับ Modulus of elasticity ของคอนกรีต เสาและคานมากที่สุดในบรรดาวัสดุก่อผนังซึ่งค่านี้มีความสำคัญเมื่อนำวัสดุต่างๆ มาประกอบเป็นชิ้นส่วนเดียวกัน ถ้าวัสดุเหล่านั้นมีค่า Modulus of elasticity ใกล้เคียงกัน เมื่อถูกแรงกระทำ เช่น แรงลม แรงสั่นสะเทือน จะไม่เกิดรอยแตกร้าวหรือแยกตัวง่ายข้อดีต่อมาคือผิวอิฐมอญง่ายต่อการยึดเกาะกับเนื้อปูนฉาบมากกว่าวัสดุก่อผนังอย่างอื่นทำให้งานฉาบปูนสวย และไม่หลุดร่อน นอกจากนี้ผนังที่สร้างด้วยอิฐมอญสามารถตอกผนังแขวนรูป ติดตั้งตู้ลอยหรือสิ่งต่างๆ ได้ตามตำแหน่งที่ต้องการ สามารถรับน้ำหนักของที่แขวนได้มากโดยไม่ต้องกังวลเรื่องผนังแตกร้าวจากการเจาะในเรื่องการถ่ายทอดความร้อนได้ดีของอิฐมอญก็มีประโยชน์ต่อบางจุดของบ้านที่ควรให้มีความร้อนภายนอกถ่ายเทเข้าไป เช่นในส่วนของ ห้องน้ำ
อิฐมอญ ส่วนการลดความร้อนภายในบ้านซึ่งมองกันว่าเป็นข้อด้อยของอิฐมอญนั้น ผู้มีประสบการณ์ในการสร้างบ้านกล่าวว่าผนังไม่ใช่ส่วนสำคัญที่สุด ถ้าต้องการป้องกันความร้อนภายในบ้านอย่างมีประสิทธิภาพต้องไปป้องกันที่หลังคาโดยใช้ฉนวนกันความร้อน หรือออกแบบให้มีการระบายอากาศใต้หลังคา เพราะความร้อนที่ถ่ายเข้าบ้านนั้นมาจากแสงอาทิตย์ซึ่งส่งผ่านทางหลังคาบ้านประมาณถึง 70% โดยมีเพียง 30% เท่านั้นที่ถูกถ่ายทอดเข้าสู่ตัวบ้านผ่านผนังที่โดนแดดในทิศตะวันออกและตะวันตก ส่วนผนังบ้านในทิศเหนือและใต้จะโดนแดดน้อยไม่มีปัญหาเรื่องการส่งผ่านความร้อน และถ้าต้องการสร้างบ้านด้วยอิฐมอญโดยต้องการป้องกันความร้อนที่เข้ามาทางผนังด้วยก็สามารถทำได้โดยการก่ออิฐมอญ 2 ชั้นปล่อยให้มีช่องว่างตรงกลาง ซึ่งช่องว่างตรงกลางจะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนและเก็บเสียงได้เป็นอย่างดีแม้ว่าการก่ออิฐมอญสองชั้นจะทำให้ราคาในการก่อสร้างเพิ่มขึ้นมาบ้างแต่ ถ้าให้ช่างจะก่อเต็มหน้าเสา เมื่อฉาบปูนจะไม่มีเหลี่ยมมุมเสาภายในบ้าน ทำให้ห้องต่างๆ ดูสวยงาม ง่ายต่อการตกแต่งจัดวางเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งในช่องว่างของผนังยังสามารถเก็บท่อสายไฟ ประปา ช่วยซ่อนวงกบหน้าต่างและได้ความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นมาด้วยข้อดีที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของอิฐมอญหลายประการจึงทำให้อีกหลายคนยังเชื่อว่าในระยะยาวอิฐมอญจะยังคงยืนหยัดอยู่ได้ซึ่งในความเป็นจริงคงไม่มีวัสดุก่อสร้างชนิดใดสามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการดังนั้นจึงมีเจ้าของบ้านบางรายใช้อิฐมวลเบาทำผนังห้องในฝั่งตะวันตกซึ่งได้รับแสงอาทิตย์มากสุดเพื่อ ลดความร้อนสะสมขณะที่ส่วนด้านอื่นยังคงใช้อิฐมอญแต่อย่างไรก็ตามความพยายามของอิฐมวลเบาที่จะเข้ามาเป็นวัสดุก่อผนังแทนที่อิฐมอญก็เป็นอะไรที่น่าจับตามอง ชั่วโมงนี้อาจถือได้ว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้นซึ่งอิฐมวลเบายังมีผู้ใช้อยู่ในวงจำกัดและยังต้องการระยะเวลาในการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค แต่การรุกคืบของอิฐมวลเบาก็ทำให้อุตสาหกรรมผลิตอิฐมอญต้องเผชิญความท้าทายอย่างไม่เคยมีมาก่อน
อิฐมอญ ซึ่งการทำตลาดของกลุ่มผู้ผลิตอิฐมวลเบาก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันมีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการทำให้ผู้ใช้หันมาเลือกอิฐมวลเบาเข้าไปแทนที่อิฐมอญซึ่งในปัจจุบันการตลาดเป็นเครื่องมือที่ไม่อาจมองข้ามเพราะมีกรณีศึกษามากมายในแวดวงการเมืองหรือโลกธุรกิจที่แสดงถึงพลังอำนาจของการตลาด จะเห็นว่าธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ที่อยู่ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน ต่างพยายามสร้างเสริมศักยภาพการตลาดเพื่อเป็นเครื่องมือนำพาผลิตภัณฑ์ไปสู่เป้าหมายด้วยกลวิธี ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองผู้บริโภค กำหนดโอกาสทางธุรกิจของสินค้า ฯลฯ ในขณะที่อิฐมวลเบาเป็นฝ่ายดำเนินกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่เพื่อช่วงชิงผู้บริโภคโดยที่ฝั่งอิฐมอญวัสดุจากภูมิปัญญาท้องถิ่นยังคงอยู่ในตลาดโดยใช้จุดแข็งเรื่องความเชื่อมั่นคุ้นเคยของช่างก่อสร้างและผู้บริโภครวมถึงราคาที่ถูกกว่าเป็นเครื่องมือ ในอนาคตหากอิฐมวลเบามีพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทำให้คุณสมบัติดีมากขึ้น มีช่างฝีมือรองรับการทำงานมากขึ้น มีการใช้งานแพร่หลายมากขึ้น มีราคาถูกกว่าปัจจุบัน ถึงตอนนั้นก็น่าคิดว่าสถานการณ์ของอิฐมอญจะเป็นอย่างไรถ้ามองอิฐมอญเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งก็น่าสนใจว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับปรุงคุณสมบัติจนเคยอยู่ในตำแหน่งวัสดุก่อผนังที่ดีที่สุดคู่งานก่อสร้างเมืองไทยมายาวนานกำลังจะจบตำนานลงหรือจะสามารถพัฒนาต่อยอดคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อให้ผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ทรงอิทธิพลตัวจริงในโลกการตลาดปัจจุบันตัดสินใจว่าในอนาคต ‘อิฐมอญ’ ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นจะยังคงเป็นหนึ่งในวัสดุก่อผนังที่ดีที่สุดของยุคสมัยหรือต้องกลายเป็นผลิตภัณฑ์ตกยุคที่เดินมาถึงจุดสุดท้ายของวงจรชีวิตที่รอคอยเพียงให้คู่แข่งพัฒนาแซงหน้า ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นในอนาคตอีกไม่นานอิฐมอญคงกลายเป็นเพียงอุตสาหกรรมพื้นบ้านที่เราต้องอนุรักษ์ไว้เพื่อให้คงอยู่คู่ท้องถิ่นของเราตลอดไป
วัสดุอุปกรณ์ 1.ดินเหนียว 2.แกลบ 3.บ่อหมักดิน 4.พลั่วสำหรับตักดิน 5.จอบ 6.บล็อกอิฐสำหรับทอดอิฐ 7.ลานสำหรับทอดอิฐ 8.ไม้กวาด 9.มีด 10.รถสำหรับใส่ดิน 11.บุ้งกี๋ 12.ถังน้ำ 13.น้ำ ขั้นตอนการทำ 1.ลงบ่อหมักให้เต็มผสมน้ำใช้จอบ เคล้าให้ทั่วหมัก 1 คืน2.เตรียมลานสำหรับทอดอิฐ
ขั้นตอนการทำ 3.นำบล็อคอิฐมาพร้อมอุปกรณ์ถังน้ำ แล้วนำดินมาที่ได้ตักใส่ถังมาพร้อมที่จะทอด แล้วนำดินมาใส่บล็อคพิมพ์ปาดให้เรียบ 4.นำขี้เถ้ามาโปะก้อนหิน5.ตากอิฐไว้จนแห้ง6.นำมีดมาถากอิฐให้เสมอกัน7.ทำการเผาอิฐ 7 วัน แล้วขัดขี้เถ้าออก
ลักษณะทั่วไป อิฐมอญ เป็นวัสดุที่ผลิตมาจากการนำดินเหนียวมาเผาเพื่อให้ได้วัสดุที่คงรูปมีความแข็งแรงผสมกับแกลบหรือวัสดุอื่นผสมน้ำ นวดเคล้าให้เข้าเนื้อเดียวกันแล้วใส่เข้าแม่พิมพ์ โดยโรยเถ้าแกลบบนลานดินภายในแม่พิมพ์ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ดินผสมติดกับแม่พิมพ์ ปาดให้เรียบ ตัดทำเป็นแผ่น ผึ่งให้แห้งหรือพอหมาด แล้วเอาเข้าเตาเผาจนสุก มีขนาดกว้าง 9.5 เซนติเมตร ยาว 20.00 เซนติเมตร และหนา 5.0 เซนติเมตร การเลือกดินเหนียวที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอิฐมอญนั้น มีข้อที่ควรคำนึงถึงคือ ความเหนียวของดินเพื่อให้ขึ้นรูปได้ง่าย อุณหภูมิที่เผาให้สุกตัวควรอยู่ในช่วง 950-1100 องศาเซลเซียสเพื่อให้อิฐมีความแข็งโดยไม่มีการหดตัวหรือผิดรูปมากเกินไป การใช้อิฐมอญในงานก่อสร้างมีมากหลากหลายจึงมี คนรู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเชื่อมั่นในความคงทนและผลิตได้แรงงานท้องถิ่น
คุณสมบัติของอิฐมอญ คุณสมบัติของอิฐมอญจะยอมให้ความร้อนถ่ายเทเข้า-ออกได้ง่าย และเก็บความร้อนไว้ในตัวเองเป็นเวลานานและเนื่องจากอิฐมอญมีความจุความร้อนสูงทำให้สามารถกักเก็บความร้อนไว้ในเนื้อวัสดุได้มาก ก่อนที่จะค่อยๆถ่ายเทสู่ภายนอก
ข้อดี อิฐมอญนั้นมีข้อดีคือ ราคาถูกกว่า แข็งแรง ทนไฟ ทนความชื้น มีขนาดเล็กขนย้ายได้ง่าย ทำให้อากาศภายในบ้านเย็นและ เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้นแบบเมืองไทย ข้อเสีย อิฐมอญนั้นมีข้อเสียคือ ก่อสร้างได้ช้า ระบายความร้อนได้น้อย ต้องผ่านกรรมวิธีการเผาโดยใช้แกลบ อาจทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน และต้องระวังการกระทบกระเทือนเพราะแตกค่อนข้างง่าย
แต่สำหรับ คนพิษณุโลกส่วนใหญ่จะไม่นิยมใช้อิฐมวลเบาเพราะว่าราคาการก่อสร้างค่อนข้างสูงแต่จะนิยมใช้อิฐมอญมากกว่าจะสังเกตจากอาคารบ้านเรือนต่างๆบริเวณแถวหลัง ม. นเรศวร ที่กำลังก่อสร้างส่วนใหญ่เขาก็ใช้อิฐมอญกันทั้งนั้นและมีส่วนน้อยที่จะใช้อิฐมวลเบา ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ทางด้านอาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ศึกษา เปรียบเทียบบ้านก่ออิฐมอญฉาบปูน กับบ้านก่ออิฐมวล เบาฉาบปูน เมื่อปี 2545 โดยใช้บ้านขนาดเดียวกัน ติดแอร์เหมือนกันทั้ง 4 จุดคือ ในห้องนอน 3 ห้อง กับห้องรับแขกรับประทานอาหารอีก 1 ห้อง วัดผลการใช้ ไฟฟ้าตลอด 1 ปี ปรากฏ ว่าบ้านก่อผนังด้วยอิฐมวลเบา แอร์กินไฟน้อย กว่า...ช่วยประหยัดเงินค่าไฟได้ถึง24.18%
ตารางเปรียบเทียบราคาค่าก่อสร้างผนังตารางเปรียบเทียบราคาค่าก่อสร้างผนัง
ชนิดของอิฐมอญ อิฐมอญชนิดตัน อิฐมอญชนิดรู อิฐ มอก. อิฐก่อสร้างสามัญ ( ตัน ) อิฐ มอก. อิฐกลวงก่อแผงไม่รับน้ำหนัก
จากการที่ได้ไปสำรวจราคาของอิฐมอญในพิษณุโลกจากการที่ได้ไปสำรวจราคาของอิฐมอญในพิษณุโลก - อิฐมอญมาตรฐาน มอก.ขนาด 6X 6X 15 ราคา 0.90 บาท- อิฐมอญกล่อง/รู (2 รู)ขนาด 6 X 6 X 15 ราคา 0.83 บาท- อิฐมอญมือ(เครื่อง)ขนาด 4.20 X 6.20 X 15 ราคา 0.50 บาท- อิฐมอญตันขนาด 3 X 6 X 15 ราคา 0.43 บาท- อิฐมอญรูขนาด 5 X 8 X 17 ราคา 0.47 บาท ราคาของอิฐมอญนั้นถูก เมื่อเทียบกับอิฐชนิดอื่น เป็นอิฐที่มีคุณภาพและเป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
ผนังก่ออิฐครึ่งแผ่น • เป็นการก่อผนังอิฐแบบก้อนเดียวเรียงต่อกันไปตามความยาวของผนัง (1 ตร.ม. ใช้ อิฐสามัญ 138 ก้อน) ประเภทของผนังก่ออิฐ • ผนังก่ออิฐเต็มแผ่น • เป็นการก่อผนังอิฐแบบหนาสองก้อนเรียงสลับกัน (1 ตร.ม. )ใช้ อิฐสามัญ 276 ก้อน
ส่วนผสมที่ได้มาตราฐานสำหรับงานก่ออิฐฉาบปูนส่วนผสมที่ได้มาตราฐานสำหรับงานก่ออิฐฉาบปูน ส่วนผสมของปูนก่อ ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน (1 ตร.ม. ใช้ 16 กก.) ทรายหยาบ 4 ส่วน (1 ตร.ม. ใช้ 0.05 ลบ.ม.) ปูนขาว 1 ½ ส่วน(1 ตร.ม. ใช้ 10.29 กก.) แต่ปัจจุบันมักนิยมใช้น้ำยาเคมีแทนปูนขาว น้ำสะอาด 10 ลิตร ส่วนผสมของปูนฉาบ ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน (1 ตร.ม. ใช้ 12 กก.) ทรายละเอียด 5 ส่วน (1 ตร.ม. ใช้ 0.04 ลบ.ม.) ปูนขาว 2 ส่วน (1 ตร.ม. ใช้ 7.7 กก.) แต่ปัจจุบันนิยมใช้น้ำยาเคมีแทนปูนขาว น้ำสะอาด 3 ลิตร
เกร็ดความรู้ เทคนิคการก่ออิฐมอญ เวลาก่อปูนควรก่อให้ปูนหนาประมาณ 1.5-2 ซม. เพราะเป็นระยะที่เหมาะสมก่ออิฐใช้ปูนบางกว่านี้...ปูนยึดจับอิฐไม่ดี ผนังไม่แข็งแรงแต่ถ้าก่ออิฐใช้ปูนหนาไป...ไม่มีปัญหาเรื่องความแข็งแรง แต่จะมีปัญหาเรื่อง ไม่ประหยัด เสาเอ็นและคานทับหลังต้องมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 15 ซม. และมีเหล็กขนาด 9 มม. จำนวน 2 เส้น เป็นโครงเหล็กอยู่ข้างใน โดยที่ปลายเหล็กของคานทับหลังต้องฝังอยู่ที่เสา และปลายเหล็กของเสาเอ็นต้องฝังที่คาน
เกร็ดความรู้ เทคนิคการก่ออิฐมอญ เมื่อก่ออิฐขึ้นมา ได้สูงเกือบถึงคานให้เหลือช่องว่างใต้ท้องคานไว้ประมาณ 10 ซม.แล้วทิ้งให้ปูนก่อผนังอิฐแห้งสนิท สัก 1-2 วันหรือมากถึง 7 วันได้ก็จะยิ่งดี เพื่อให้ปูนแข็งตัวได้ที่ แล้วถึงจะก่ออิฐปิดใต้ท้องคานได้โดยก่อให้อิฐทำมุมเฉียง 30-45 องศา และใช้ปูนก่ออุดให้เต็มทุกซอกมุมของพื้นที่ ว่างใต้ท้องคาน เมื่อก่ออิฐไปในแนวยาว 2.5 ม. ต้องมีเสาเอ็น ก่ออิฐได้สูง 1.5 ม. ต้องมีคานทับหลังและคานทับหลังด้านบนต้องยาวเลยวงกบประตูหน้าต่าง อย่างน้อย 20 ซม.
เกร็ดความรู้ เทคนิคการก่ออิฐมอญ ผสมปูนซีเมนต์ 1 ส่วน : ทรายหยาบ 1 ส่วน ผสมน้ำเสร็จแล้ว ใช้ ไม้กวาดก้านมะพร้าวจุ่มลงไปในปูนเหลวๆ แล้วเคาะสลัดให้ปูน กระเด็นไปจับเกาะบนเสา-คานให้หยาบทั่วผิว จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ให้ แห้งสักหนึ่งวันถึงค่อยฉาบได้เพื่อป้องกันการหลุดลอกของผนัง เสา คาน พื้น ต้องบ่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 7 วันและการก่อผนังอิฐเสร็จแล้วก็ต้องบ่มน้ำ 7 วันเหมือนกัน ถึงจะฉาบปูนได้ เพื่อป้องกันการแตกร้าว
เกร็ดความรู้ เทคนิคการก่ออิฐมอญ ก่อนจะฉาบปูนให้ใช้ตะปูตอกติดเหล็กกรงไก่ไปบนผนังอิฐ เฉพาะบริเวณที่เป็นมุมของวงกบทุกมุม โดยติดเหล็กกรงไก่ให้ครอบคลุม พื้นที่ห่างจากมุมวงกบสัก 30 ซม.เพื่อป้องกันรอยแตกร้าวของมุมประตูหน้าต่าง
เกร็ดความรู้ เทคนิคการก่ออิฐมอญ ปูนก่อ ก่อยังไงปูนยากที่จะหลุดร่วงลงมา เพราะวางตั้งอยู่บนคานบนอิฐ แต่ปูนฉาบต้องแปะให้ติดกับด้านข้างของผนัง โดยธรรมชาติปูนฉาบต้องฝืนแรงดึงดูดของโลก ถ้าไม่มีกาวมาผสมช่วยเป็นแรงเสริมในการยึดจับผนัง มันก็จะหลุดร่วงลงมาได้ง่ายฉะนั้น ส่วนผสมปูนฉาบ จึงไม่ได้มีแค่ปูน ซีเมนต์กับทรายละเอียด แต่ต้องมีปูนขาวผสมอยู่ด้วยเพื่อทำหน้าที่เป็นกาวยึดจับผนังไม่ลอกหลุดง่ายแล้วยังช่วยให้ การฉาบลื่นไวและง่ายมากยิ่งขึ้น
วิธีการก่ออิฐมอญ ขั้นตอนที่ 1 : การเตรียมอิฐ นำอิฐแช่น้ำสะอาดหรือใช้วิธีรดน้ำ ให้อิฐอิ่มตัว อย่างน้อย 1 - 2 ชั่วโมง แล้วทิ้งให้หมาดก่อนใช้งาน ขั้นตอนที่ 2 : วิธีการก่ออิฐโชว์เตรียมผิวงานให้สะอาด ก่ออิฐโดยขึงเอ็นคุมแนว เว้นระยะชักร่องประมาณ 5-10 มิลลิเมตร (ขึ้นกับขนาดของอิฐ) ขั้นตอนที่ 3 : การทาน้ำยาป้องกันคราบปูนบนอิฐก่อโชว์ 3.1) เมื่อก่ออิฐเสร็จควรทำความสะอาดที่อิฐหลายๆครั้งโดยเช็ดปูนที่ติดผิวอิฐขณะยังเปียกไม่ควรทิ้งไว้จนแห้ง 3.2) รอให้ผิวอิฐแห้งแล้วใช้แปรงชุบน้ำยาซิลิโคนทาเฉพาะผิวอิฐก่อโชว์ ขั้นตอนที่ 4 : การยาแนวและการตกแต่งชักร่อง ยาแนวด้วยปูนยาแนวหรือซีเมนต์ผสมทรายละเอียด แล้วใช้เกรียงเหล็กปาดเศษปูนส่วนเกินและรีบเช็ดทำความสะอาดผิวหน้าอิฐที่ก่อโชว์ จากนั้นตกแต่งแนวด้วยวิธีชักร่อง
การก่ออิฐของผนังรับน้ำหนักจึงสำคัญกว่าการก่ออิฐมอญเพราะเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างที่จะรับน้ำหนักทั้งของตัวมันเองและของโครงสร้างที่อยู่ด้านบน หลักการง่าย ๆ ของการก่ออิฐคือการให้รอยต่อของอิฐแต่ละชั้นเหลื่อมกันครึ่งก้อน หรืออย่างน้อยที่สุดต้องเหลื่อมกันเป็นระยะ ๑๐ เซนติเมตร ผนังอิฐที่ก่อไม่ควรมีรอยต่อซ้อนกัน (ดังภาพ)
การก่อที่ไม่ถูกต้องจะทำให้การรับน้ำหนักของผนังไม่กระจายออก ทำให้เกิดแรงเฉพาะจุดอาจะทำให้ทรุด เมื่อมีน้ำหนักกดในส่วนที่ก่อไว้ไม่ดีอาจทำให้เกิดการร้าว
เกร็ดความรู้การก่ออิฐในส่วนต่าง ๆ ของอาคาร 1. การก่ออิฐในส่วนมุมของอาคารมุมของอาคารเป็นส่วนที่สำคัญเพราะเป็นจุดตัดของอาคาร ซึ่งต้องทำหน้าที่ทั้งรับน้ำหนัก และช่วยค้ำผนังทั้งสองข้างไม่ให้ล้มง่าย 2. การก่ออิฐผนังรูปตัว Tเป็นอีกส่วนหนึ่งของอาคารที่มีความ สำคัญ เนื่องจากถ้าผนังเชื่อมต่อกันไม่ดีอาจเกิดอาการฉีกขาดของผนัง อาจทำให้ผนังล้มได้ การก่ออิฐผนังรูปตัว T นั้นสามารถก่อได้หลายแบบ ที่เขียนไว้คือเทคนิควิธีหนึ่งเท่านั้น ขอเพียงก่อตามหลักการคือไม่ให้รอยต่อของอิฐแต่ละชั้นตรงกันก็ถือว่าใช้ได้
เกร็ดความรู้การก่ออิฐในส่วนต่าง ๆ ของอาคาร 3. การก่อผนังลอย เป็น ลักษณะเดียวกับการก่ออิฐชนประตูหรือหน้าต่าง ถ้าต้องการก่อเป็นผนังตรงยื่นออกมา ไม่ควรก่อออกมายาวมากเกินไป หรือถ้าจะก่อออกมายาว ควรก่อผนังให้โค้ง มีครีบหรือหักเป็นรูปตัวT เพื่อช่วยให้ผนังมีความแข็งแรง 4. การก่อเสา ใน บางครั้งเราอาจต้องการเสาดิน ให้ก่ออิฐสลับกันในแต่ละชั้น ในกรณีนี้ อิฐที่ใช้ควรออกแบบให้มีความยาวเป็น 2 เท่าของความกว้าง (เช่น 6"x12" หรือ 8"x16") เพื่อให้เสาเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสเท่ากันทั้งสองด้าน เราอาจใช้มีดพร้าถากเพื่อลดมุม หรือทำให้เป็นเสากลมก็ได้
รูปแบบการแต่งลายก่ออิฐมอญรูปแบบการแต่งลายก่ออิฐมอญ ขั้นตอนที่ 1แบบปาดเรียบ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดรอยต่อที่ได้จะเรียบเสมอกับแนวก้อนอิฐ แบบนี้จะดูเรียบไม่มีลูกเล่นมากนักและเนื้อของปูนยาแนวอาจจะไม่แน่นเท่าที่ควร ขั้นตอนที่ 2แบบปาดมุมขึ้น แบบนี้เผื่อกันน้ำหยดลง ใช้เกรียงปาดมุมขึ้นโดยเอียงมุมประมาณ 30 องศา
รูปแบบการแต่งลายก่ออิฐมอญรูปแบบการแต่งลายก่ออิฐมอญ ขั้นตอนที่ 3แบบปาดมุมลง แบบตรงกันข้ามกับแบบปาดมุมขึ้นแบบนี้จะกันน้ำได้น้อยมาก ขั้นตอนที่ 4แบบร่องโค้ง เป็นลายแบบที่ใช้กันมากที่สุดเราสามารถใช้ท่อพีวีซี ช้อนซุปหรือเหล็กเส้น นำมาทำลวดลายโค้งได้ ขั้นตอนที่ 5แบบร่องตัววี ให้ความรู้สึกที่แข็งแรงมั่นคง การทำลายนี้สามารถทำได้โดยลากเหล็กเส้นสี่เหลี่ยมลากตามร่องรอยต่ออิฐให้ตัดกัน
ขั้นตอนในการฉาบปูนผนังนั้น เราควรทำความสะอาดผนังก่ออิฐด้วยไม้กวาด และทำการรดน้ำให้ตัวอิฐก่อนั้นชุ่มน้ำเสียก่อน เพื่อให้อิฐดูดน้ำให้เต็มที่ ป้องกันไม่ไห้อิฐดูดน้ำไปจากปูนฉาบเร็วเกินไป เพราะว่าถ้าหากเราฉาบปูนเลย โดยที่ไม่รดน้ำเสียก่อนจะทำให้ตัวอิฐมอญของเรานั้นสร้างปัญหาให้กับปูนฉาบ เพราะมันจะดูดน้ำที่ถูกผสมอยู่ในปูนฉาบ ทำให้ปูนเซ็ตตัวก่อนเวลาที่ควรเป็น ซึ่งจะทำให้ตัวปูนฉาบนั้นเกิดการแตกร้าวได้
สัญลักษณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบ โดยทั่วไปแล้วสัญลักษณ์ผนังก่ออิฐที่ใช้ในงานแบบนั้น จะแสดงให้เห็นอยู่ในรูปด้าน และแปลน โดยทั่วไปแล้วสัญลักษณ์ที่เห็นในแปลนส่วนของผนังก่ออิฐฉาบปูนนั้นจะ แสดงเป็นเส้นคู่มีความกว้างในแบบ 10 เซนติเมตร( ความหนาของผนังก่ออิฐชั้นเดียว)โดยสร้างเส้นคู่ถัดเข้ามาจากเส้นผนัง 1ซม.เป็นสัญลักษณ์ แสดงความหนาของปูนฉาบ ส่วนสัญลักษณ์อิฐก่อด้านในผนังใช้วิธีถมดำ หรือทำเส้นเฉียงด้านในก็ได้
การสังเกตและเลือกใช้อิฐมอญการสังเกตและเลือกใช้อิฐมอญ ลุกศรสีเเดงชี้( หมายเลข 1 ) จะเห็นว่าที่ด้านข้างของอิฐ จะมีลายนูนที่คมเป็นเส้นเล็กๆเต็มไปหมด ออกแบบมาให้เนื้อปูนฉาบสามารถเกาะยึดได้ง่ายขึ้น,มีการลบมุมอิฐมอญออกเล็กน้อย ใน(หมายเลข 2 ) ปูนที่ฉาบสามารถมีจุดยึดเกาะได้ดีกว่าอิฐมอญทั่วๆไป การออกเเบบอิฐเเบบนี้ทําให้ช่างก่อฉาบสามารถปั้นปูนก่อฉาบได้ง่าย เเละ ก่อฉาบผนังให้บางลงได้( มีความหนาผนังปูนฉาบน้อยลง = การประหยัดปูน ) ส่วนลูกศรสีฟ้าชี้ ทั้งด้านบน เเละ ล่าง มีการทําเป็นร่องตัว U หรือบางที่ทําเป็นตัว V จํานวน 2 ร่อง เพื่อให้เนื้อปูนก่อยึดอิฐได้ดีกว่าอิฐมอญทั่วๆไป เเละ มีความหนาปูนระหว่างอิฐมอญเเต่ละชั้นมีความสูงน้อยลงได้ (ประหยัดปูนนั้นเอง )
ใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น-อิฐมวลเบา Q-CONต่างกัน ? คุณสมบัติทางกายภาพ อิฐมวลเบา หนา 10 เซนติเมตร เมื่อรวมน้ำหนักวัสดุรวมปูนฉาบจะหนัก 120 กิโลกรัม ในขณะที่อิฐมอญก่อ 2 ชั้น (เว้นช่องว่างตรงกลาง) จะหนัก 180 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนักของการก่ออิฐมอญจะมากกว่าทำให้ต้องเตรียมโครงสร้างเผื่อกันรับน้ำหนักในส่วนนี้ด้วย ทำให้ต้นทุนโครงสร้างเพิ่มขึ้น การกันความร้อนหากเป็นกรณีปกติ อิฐมวลเบาจะมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำกว่าอิฐมอญประมาณ 8-11 เท่า แต่การก่อผนังภายนอกอิฐจะต้องมีความหนา 10 เซนติเมตร และผนังภายในหนา 7 เซนติเมตร ขึ้นไป จึงจะสามารถกันความร้อนได้ดี แต่ในกรณีใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ตัวช่องว่างตรงกลาง จะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี และอิฐแถวด้านในไม่สัมผัสความร้อนโดยตรง จึงทำให้คุณสมบัติตรงนี้ของอิฐมอญจะมีความสามารถในการกันความร้อนได้ดีกว่า แต่การเว้นช่องว่างไม่ควรต่ำกว่า 5 เซนติเมตร
ใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น-อิฐมวลเบา Q-CONต่างกัน ? การกันเสียงปกติอิฐมวลเบาจะกันเสียงได้ดีกว่าอิฐมอญประมาณ 20% แต่ในกรณีใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ช่องว่างตรงกลางจะทำหน้าเป็นฉนวนกันเสียงได้ดีกว่าเกือบ 2 เท่า แต่อิฐมวลเบาจะลดการสะท้อนของเสียงได้ดีกว่า การกันไฟ อิฐมอญก่อ 2 ชั้นมีฉนวนตรงกลาง (ช่องว่างตรงกลาง) จะกันไฟได้ดีกว่าอิฐมวลเบาเล็กน้อย ความแข็งแรงการใช้งานทั่วไปไม่ต่างกัน แต่ผนังอิฐมอญจะเหมาะสำหรับการใช้วัสดุกรุผนังที่มีน้ำหนักมาก เช่น หินแกรนิต หรือหินอ่อน
ใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น-อิฐมวลเบา Q-CONต่างกัน ? การก่อสร้าง ความเรียบร้อยของการก่ออิฐมอญจะขึ้นอยู่กับฝีมือในการก่อให้ได้แนวดิ่งของช่างก่อ หากก่อไม่ได้แนวดิ่งและการฉาบความหนาของปูนไม่สม่ำเสมอ อาจจะทำให้ปูนฉาบเกิดการแตกร้าวได้ ใช้เวลาก่อนานกว่าเนื่องจากมีขนาดเล็ก รวมถึงขั้นตอนการเตรียมและจัดเก็บวัสดุซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียวัสดุจากการก่อสร้างไปมากพอสมควร ในขณะที่อิฐมวลเบาการสูญเสียวัสดุจะน้อยกว่า เพราะขั้นตอนการทำงานง่ายกว่า และวัสดุมีขนาดใหญ่แต่ละก้อนได้มาตรฐานเดียวกัน มีน้ำหนักเบาทำให้ก่อสร้างได้รวดเร็วและเรียบร้อยกว่า ราคาวัสดุและค่าแรง เมื่อเทียบราคาวัสดุบวกค่าแรงต่อตารางเมตร อิฐมวลเบาหนา 10 เซนติเมตร ราคาเฉลี่ยประมาณ 360-400 บาท/ตารางเมตร ส่วนอิฐมอญก่อ 2 ชั้น (เว้นช่องว่างตรงกลาง) ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 400-420 บาท/ตารางเมตร?
สู่…ตัวสถาปัตยกรรม? จากก้อนดิน อิฐมอญ สถาปัตยกรรม(อาคารต่างๆ) ออกแบบ+ก่อสร้าง
Case study นี่ก็เป็นตัวอย่างบ้านบริเวณแถวหลังม.นเรศวร ที่ตัวบ้านเขาจะใช้วัสดุอิฐมอญเป็นหลัก
ได้ไป…..ถามช่างก่อสร้าง ว่า ทำไมบ้านหลังนี้ถึงเลือกใช้วัสดุอิฐมอญและทำไมไม่ใช้อิฐมวลเบาล่ะครับ ?ช่างตอบ… เพราะว่ามันหาง่ายและถูกที่สุดแล้วครับ อีกอย่างคนเขาก็นิยมใช้กันเยอะ ส่วนอิฐมวลเบามันแพง ! ราคาก่อสร้างมันก็สูงมาก ช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยจะดีด้วยซิ นอกจากคนมีเงินจริงๆถึงจะใช้อิฐมวลเบา และลุงคิดว่าปัจจัยใดที่มีผลต่อการเลือกใช้วัสดุอิฐมอญมาใช้ในงานก่อสร้างล่ะครับ? ช่างตอบ น่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ อันดับแรก ถ้าใครมีเงินจะเลือกใช้อะไรก็ได้ตามใจชอบเลยและอีกอย่างอิฐมอญมันแข็งแรงทนทานดี หาง่ายด้วย
Case study วิธีการก่ออิฐมอญแบบครึ่งแผ่นรอบเสา เพื่อให้เสามีขนาดตามที่เราต้องการ
Case study เสาเอ็นและท่อไฟต้องมีลวดกรงไก่ยึดก่อนฉาบเพื่อป้องกันการแตกร้าวของผนังอาคาร วิธีการก่ออิฐมอญใต้ท้องคานจะต้องเหลืออย่างน้อย 10 ซม.รอสักระยะแล้วค่อยก่อ
Case study การก่ออิฐชนคาน คสล.ด้านบนเป็นพื้นสำเร็จรูป จะพบตามหอพักที่กำลังสร้าง การก่ออิฐชนคานและตงไม้ จะพบตามบ้านพักอาศัยเป็นส่วนใหญ่
Case study ตัวอย่างการนำไปปรับประยุกต์ใช้อิฐมอญในอาคารสถานที่ต่างๆ
Casestudy ตัวอย่างการนำไปปรับประยุกต์ใช้อิฐมอญในอาคารสถานที่ต่างๆ
ในฐานะ เรา เป็น นักออกแบบ ..เราจะสามารถนำวัสดุก่อสร้างอิฐมอญมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบในอนาคตได้อย่างไร?
อิฐมอญนั้นมีประโยชน์มากมายหลายอย่างเช่น เราสามารถนำอิฐมอญมาไปทำเป็นรั้ว ทำผนังอาคารทั้งภายในและภายนอก ทำทางเดิน จัดสวนและสามารถนำไปเป็นวัสดุตกแต่งอาคารได้หลากหลายอันนี้ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ นั้นคือก็ “พวกเราเอง”ที่จะเป็นผู้กำหนดการเลือกใช้วัสดุในอนาคต