1 / 95

by chairat

by chairat. เทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้น basic Photography. สิ่งที่เราต้องมาเรียนรู้กัน … เรื่องการถ่ายภาพ. แสง ปุ่มและฟังชั่นของกล้อง DSLR อุปกรณ์การถ่ายภาพ องค์ประกอบการจัดภาพ กฎสามส่วนของการถ่ายภาพ เทคนิคการถ่ายภาพในโอกาสต่างๆ. หน้าชัด … หลังเบลอ ถ่ายกันเป็นหรือยัง ? อิอิ.

dinesh
Download Presentation

by chairat

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. by chairat เทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้น basic Photography

  2. สิ่งที่เราต้องมาเรียนรู้กัน…เรื่องการถ่ายภาพสิ่งที่เราต้องมาเรียนรู้กัน…เรื่องการถ่ายภาพ • แสง • ปุ่มและฟังชั่นของกล้อง DSLR • อุปกรณ์การถ่ายภาพ • องค์ประกอบการจัดภาพ • กฎสามส่วนของการถ่ายภาพ • เทคนิคการถ่ายภาพในโอกาสต่างๆ

  3. หน้าชัด…หลังเบลอ ถ่ายกันเป็นหรือยัง? อิอิ

  4. ถ่าย close upดอกไม้ ถ่ายอย่างไร?

  5. ชัดตื้น… ชัดลึก เขาถ่ายกันเยี่ยงไร

  6. แสงที่ใช้การถ่ายภาพ (Light) • "การถ่ายภาพ" หรือ "Photography" คือ การเขียนภาพด้วยแสงสว่าง  แสงเปรียบเหมือนสีที่จิตรกรใช้ในการวาดภาพ ถ้ารู้จักเก็บแสงสีดีๆก็จะได้ภาพสวยๆไปด้วย...  "แสง“จึงมีความจำเป็นที่สุดต่อการถ่ายภาพ     

  7. แสงที่ใช้ในการถ่ายภาพแสงที่ใช้ในการถ่ายภาพ • แสงที่ใช้ในการถ่ายภาพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ1. แสงธรรมชาติ (Natural light)คือ แสงสว่างที่ได้จากแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติ ได้แก่ ดวงอาทิตย์และแสงที่ได้จากการสะท้อนทางอ้อมในเวลากลางวัน ส่วนแสงจากดวงจันทร์และดวงดาวนั้นมีบ้างแต่มีโอกาสได้ใช้ค่อนข้างน้อย  2. แสงเทียน (Artificial light)คือ แสงสว่างที่ได้จากสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์โดยกรรมวิธีต่างๆ เช่น แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าทุกชนิด แสงจากไฟแฟลชทุกชนิด แสงจากตะเกียงหรือเทียนไขและแสงรังสีต่างๆ ที่ใช้ในงานวิทยาศาสตร์และการแพทย์ 

  8. ลักษณะของแสงที่ใช้ในการถ่ายภาพลักษณะของแสงที่ใช้ในการถ่ายภาพ natural light (Artificial light)

  9. ลักษณะของแสงที่ใช้ในการถ่ายภาพลักษณะของแสงที่ใช้ในการถ่ายภาพ • 1. แสงแบบแข็ง(hard light) แสงแบบแข็งเป็นแสงสว่างจากดวงไฟส่องไปยังวัตถุที่ถ่ายโดยตรง วัตถุที่มีร่องขรุขระจะมองเห็นความแตกต่างระหว่างพื้นเรียบได้ชัดเจน • 2. แสงแบบนุ่ม (Soft light)เป็นส่วนที่สว่างและส่วนที่เป็นเงามืดมีความแตกต่างกันน้อย • 3. แสงสว่างทั่ว (High key)แสงสว่างทั่วเป็นการจัดแสงเพื่อทำให้ภาพดูนุ่มนวลชวนฝัน โดยใช้ฉากหลังเป็นสีอ่อนหรือสีขาวให้แสงสว่างกระจายทั่วส่องไปยังแบบให้เงาที่เกิดอ่อนที่สุด • 4. แสงสว่างส่วนน้อย (Low key)แสงสว่างส่วนน้อยเป็นการจัดแสงลักษณะตรงข้ามกับแบบแสงสว่างทั่ว เพื่อทำให้ภาพดูลึกลับตื่นเต้นน่าพิศวง ส่วนที่สว่างมีเนื้อที่น้อยที่สุด

  10. ลักษณะภาพของแสงที่ต่างกันลักษณะภาพของแสงที่ต่างกัน (hard light) (Low key) (High key) (Soft light)

  11. ทิศทางของแสง • 1. แสงในแนวตั้ง (Vertical lighting)เป็นแสงที่ส่องไปยังวัตถุทำให้เกิดมุมของแสงตามแนวตั้ง ซึ่งเราสามารถจัดแสงให้อยู่ในระดับสายตา ระดับต่ำกว่าสายตา หรือจัดให้อยู่ในมุมสูงส่องลงมายังวัตถุก็ได้              • 1.1 แสงในมุมสูง    เป็นแสงที่ทำมุมกับแนวระนาบประมาณ 40°-60° ถ้าเป็นแสงธรรมชาติจะเป็นช่วงก่อนเที่ยงและช่วงบ่าย • 1.2 แสงในมุมต่ำ ได้แก่แสงที่ส่องจากด้านล่าง โดยมากไม่ค่อยพบในแสงธรรมชาติ แต่จะมีในเมื่อจัดแสงเทียมหรือแสงไฟจากแหล่งอื่นๆ  ถ้าถ่ายภาพบุคคลโดยใช้แบบมุมต่ำจะดูน่ากลัว ลึกลับ             

  12. ทิศทางของแสง • 2. แสงในแนวนอน (Horizontal lighting)เป็นแสงที่ส่องมายังวัตถุในแนวนอน ได้แก่  2.1 แสงหน้า (Front light)เป็นแสงที่ส่องตรงเข้ามาทางด้านหน้าของวัตถุที่ถูกถ่าย แสงแบบนี้จะมีเฉพาะบริเวณ Highlightไม่เกิดเงาในภาพ ทำให้วัตถุดูเรียบแบน2.2 แสงข้าง (Side lightเป็นแสงที่ส่องมาด้านข้างของสิ่งที่จะถ่าย ทำมุมประมาณ 90ºด้านซ้ายและด้านขวา ทำให้เกิดเงามืดตัดกับแสงสว่าง ช่วยให้เห็นผิวพื้นชัดเจน เห็นเป็นรูปลักษณะด้านสูง และลึก           2.3 แสงหลัง (Back light)เป็นแสงที่มาจากด้านหลังของสิ่งที่จะถ่าย ตรงข้ามกับตำแหน่งที่ตั้งกล้องเห็นเป็นเงาดำๆ แสดงเฉพาะรูปทรงภายนอกเท่านั้น2.4 แสงเฉียงหน้าและแสงเฉียงหลัง (Semi - Front light and Semi - Back light)เป็นแสงที่ส่องเฉียงเข้าด้านข้างและด้านหลังของวัตถุ ทั้งด้านซ้ายและขวา 

  13. ลักษณะภาพของมุมแสงที่ต่างกันลักษณะภาพของมุมแสงที่ต่างกัน

  14. ปุ่มและฟังชั่นการใช้งานต่างๆของ DSLR

  15. Function การใช้งานต่างๆ D90

  16. Menu setting

  17. กล้องดิจิตอล (Digital Camera) • เมื่อเทคโนโลยีการถ่ายภาพได้พัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง พร้อมกันนั้นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ก็มีความก้าวหน้าเช่นกัน จึงได้มีผู้คิดค้นกล้องถ่ายภาพที่สามารถใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า กล้องดิจิตอล (Digital Camera) ที่ถ่ายภาพโดยไม่ต้องใช้ฟิล์ม ไม่ต้องผ่านกระบวนการล้าง อัด ขยายภาพ การบันทึกภาพจะบันทึกในรูปแบบของหน่วยความจำแบบดิจิตอล หรือบันทึกลงในแผ่นดิสก์เก็ต หรือ ซีดีรอม บางรุ่นสามารถบันทึกภาพได้ละเอียดถึง 6 ล้าน Pixel ช่องมองภาพจะเป็นจอภาพแบบ LCD หรือจอคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก สามารถพิมพ์ภาพออกทางเครื่องพิมพ์ (Printer) สามารถผลิตได้ทั้งภาพสี ภาพขาว ดำ สไลด์สี บางรุ่นสามารถบันทึกวิดีทัศน์ (Video) ได้ในตัว และสามารถแสดงผลทางจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตกแต่งและสร้างสรรค์ภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก เช่น Adobe PhotoShopสามารถเผยแพร่ภาพทางอินเทอร์เน็ต หรือส่งทาง Email ได้ ปัจจุบันกล้องชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก บริษัทผลิตกล้องถ่ายภาพหลายบริษัทได้หันมาพัฒนาเทคโนโลยีกล้องดิจิตอลมากขึ้น

  18. กล้องดิจิตอล (Digital Camera) • เราจะเลือกซื้อแบบไหนให้ได้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่าได้อย่างไร กล้องมีมากมายหลายประเภทแล้วจะเลือกแบบไหนดี บางตัวเห็นมีเลนส์ยื่นออกมายาวๆ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง แล้วแบบไหนล่ะที่ถ่ายภาพออกมาสวยงามกล้องที่เราเห็นอยู่มากมายหลายแบบ แยกออกเป็นประเภทดังนี้คือ

  19. Digital Camera • กล้องคอมแพคหรือที่รู้จักกันในนาม ..กล้องปัญญาอ่อน.. อันที่จริงมันเป็นกล้องอัจฉริยะตะหากล่ะ เพราะว่ามันแสนรู้เพียงคนถ่ายกดปุ่ม ปุ่มเดียวโดยไม่ต้องปรับอะไรเลยก็ได้ภาพที่สวยสมใจแล้ว หากแสงไม่สว่างไม่พอกล้องแสนรู้ตัวนี้ก็จะสั่งให้แฟชทกระเด้งขึ้นมาและฉายแสงเอง อันที่จริงมันเป็นกล้องอัจฉริยะแต่ที่เรียกว่าปัญญาอ่อน ม่ายรู้ว่ากล้องหรือคนถ่ายกันแน่.... เอาเป็นว่าต่อไปเราเรียกมันว่ากล้องคอมแพคดีกว่านะ ดีกว่าเรียกว่ากล้องปัญญาอ่อนเดี๋ยวจะสะเทือนใจผู้ใช้งาน กล้องคอมแพคสมัยนี้มีคุณภาพที่สูงมาก ให้ความคมชัดสูง แทบทุกตัวจะมีซูมในตัวสามารถดึงภาพให้ได้ภาพที่ใหญ่ๆ บางรุ่นก็มีลูกเล่นมากมาย มีหลายระดับราคาให้เลือกตั้งแต่พันกว่าๆ ไปจนถึงเป็นหมื่นกว่าบาท กล้องประเภทนี้เปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ ปรับเปลี่ยนความเร็วในการบันทึกภาพไม่ได้

  20. Digital Camera • ข้อดี ตัวเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา สะดวกต่อการพกพา ใช้ง่าย เห็นมุมไหนถูกใจก็เอาออกมาเล็ง แล้วก็กดเช๊ะเดียวก็ได้ภาพสมใจ ไม่ต้องมีความรู้เรื่องกล้องก็ใช้ได้ • ข้อเสีย ไม่มีลูกเล่นอื่นๆ ที่จะสร้างสรรภาพให้สวยงามเหมือนดั่งกล้อง SLR ความคมชัดเป็นรองอย่างมาก

  21. Digital Camera • กล้อง SLR (Single LenReflex) มันย่อมาจากคำที่แปลว่า กล้องสะท้อนเลนส์เดี่ยวแปลให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือกล้องมองผ่านเลนส์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามองเห็นในช่องมองภาพก็จะเป็นภาพที่จะปรากฏบนภาพถ่าย ถ้าหากเราลืมเปิดหน้าเลนส์ก็จะมองไม่เห็นอะไรเลย กล้องที่ช่างภาพเขาใช้กัน ที่ใส่เลนส์ยาวๆ ยืดได้หดได้นั่นล่ะ คือกล้อง SLR สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ตามที่ต้องการได้ เมื่อต้องการถ่ายภาพวิวส์ก็เปลี่ยนมาใช้เลนส์มุมกว้าง เมื่อต้องการถ่ายภาพที่ดึงภาพให้เห็นวัตถุที่ใหญ่ๆ เช่นการถ่ายภาพนกก็ต้องเปลี่ยนไปใช้เลนส์ถ่ายไกล สามารถเลือกใช้เลนส์ได้มากมายหลายขนาด

  22. Digital Camera กล้อง SLR แยกเป็น 3 ประเภท คือ • กล้องแมนนวล • กล้องไฟฟ้า • กล้องAF หรือกล้อง Auto Focus

  23. กล้องแมนนวล กล้องแมนนวล เป็นกล้องที่ผู้ใช้ต้องปรับเองทุกอย่าง ปรับความชัด ปรับขนาดหน้ากล้อง ปรับขนาดความเร็วชัตเตอร์ โดยจะมีเครื่องวัดแสงบ่งชี้ให้เรารู้ว่าแสงพอดีหรือมากไปน้อยไป • ข้อดีคือระบบการทำงานเป็นกลไก ทนทานกว่าระบบกล้องอิเลคโทรนิคเพราะไม่มีแผงวงจรไฟฟ้าที่อาจจะเสื่อมเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ • ข้อเสียก็มีคือ ช้า ต้องเสียเวลาปรับแต่ง ไม่ทันการถ่ายภาพเร่งด่วนที่สำคัญๆ เพราะมัวแต่วัดแสงและปรับความชัดของภาพ บางครั้งการถ่ายภาพคน คนยิ้มแล้วก็ยังไม่ยอมถ่ายจนทำให้นางแบบยิ้มแล้วยิ้มอีกจนเมื่อยแก้ม ยิ่งถ่ายภาพตอนกลางคืนยิ่งมีปัญหามากเพราะไม่สามารถมองเห็นวัตถุในที่มืดได้ • กล้องแมนนวลมักจะมีราคาถูกเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นในการเรียนรู้การถ่ายภาพ ยกเว้นบางยี่ห้อที่ราคาแพงค้างฟ้าก็ยังมีคนซื้อเพราะติดในยี่ห้อ

  24. กล้องไฟฟ้า • กล้องไฟฟ้า กล้องนี้หลักการทำงานคือช่วย กันระหว่างคนกับวงจรไฟฟ้า คนปรับบ้างกล้องปรับบ้างช่วยๆ กันไป สิ่งที่ผู้ถ่ายจะต้องปรับคือ ปรับความคมชัดของเลนส์นอกจากนี้อาจจะต้องปรับความเร็วชัดเตอร์ กล้องจะปรับขนาดรูรับแสงให้เองโดยอัตโนมัติ หรือผู้ถ่ายปรับขนาดรูรับแสง ส่วนกล้องปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ แล้วแต่ยี่ห้อและรุ่นที่ออกมา หากอ่านแล้วงงๆ ว่าต้องปรับอะไร คลิกเข้าไปอ่านในเรื่องการปรับแสงในหัวข้อกล้องและเลนส์

  25. กล้อง AF หรือกล้อง Auto Focus • กล้อง AF หรือกล้อง Auto Focus ปรับความชัดของภาพอัตโนมัติ กล้อง SLR แบบนี้เป็นกล้องระบบอิเลคโนนิคที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่อยู่ในตัวกล้อง แสนรู้เป็นที่สุด การใช้งานสะดวก สบายเหมือนกล้องคอมแพคแต่มีขนาดใหญ่กว่า แต่คุณภาพระดับสุดยอด การทำงานของกล้อง AF มีหลายระบบภายในตัวเดียวให้เลือกใช้ตามความต้องการของผู้ใช้

  26. กล้อง AF หรือกล้อง Auto Focus • 1. ระบบ Full Auto (Auto) หรือระบบอัตโนมัติเต็มระบบ ผู้ใช้มีหน้าที่กดปุ่มเพียงอย่างเดียวที่เหลือกล้องจัดการปรับให้ทุกอย่าง ถ้าแสงไม่พอแฟชทก็จะฉายไฟออกมาเองโดยอัตโนมัติ ใครก็ได้ที่มีนิ้วสำหรับกดปุ่มก็สามารถใช้งานได้แล้ว • 2. ระบบ Program (P)กล้องปรับให้เองทุกอย่างเหมือนกับระบบ Full Auto แต่ผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ เช่นการปรับหน้ากล้องให้แคบลง กล้องก็จะปรับลดความเร็วชัตเตอร์ลงเพื่อให้แสงพอดีสำหรับการถ่ายภาพ

  27. กล้อง AF หรือกล้อง Auto Focus • 3. ระบบ Tvผู้ถ่ายปรับแต่งความเร็วชัตเตอร์เอง โดยกล้องจะปรับขนาดรูรับแสงให้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้แสงพอดีสำหรับการถ่ายภาพ • 4. ระบบ Av ผู้ถ่ายปรับแต่งขนาดรูรับแสงเอง โดยกล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์ให้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้แสงพอดีสำหรับการถ่ายภาพ • นอกจากนี้ยังมีระบบอื่นๆ ที่เป็นลูกเล่นของแต่ละยี่ห้อเช่น โปรแกรมถ่ายดอกไม้ โปรแกรมถ่ายภาพกีฬา โปรแกรมถ่ายภาพวิวส์ เป็นต้น

  28. อุปกรณ์ในการถ่ายภาพ • ตัวกล้อง(Camera body) เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการถ่ายภาพ ตัวกล้องจะมีลักษณะเป็นกล่องภายในมีสีดำ ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันแสงกระทบกับฟิล์ม ตัวกล้องอาจทำด้วยโลหะ หรือพลาสติกแข็ง ซึ่งแต่ละบริษัทใช้ผลิตออกมาจำหน่าย ภายในตัวกล้องจะมีกลไกต่าง ๆ หรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ที่ทำงานร่วมกันในการบันทึกภาพ กล้องบางรุ่นอาจเป็นระบบกลไก บางรุ่นอาจเป็นระบบกึ่งอัตโนมัติ หรือบางรุ่นอาจเป็นระบบดิจิตอล เพื่ออำนวยความสะดวกในการถ่ายภาพ ภายในตัวกล้อง จะมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้ • ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน กล้องถ่ายภาพได้มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ได้มีการนำเอาระบบดิจิตอล (Digital)ที่มีความสะดวก รวดเร็วและมีความแม่นยำในการถ่ายภาพ ทำให้รูปแบบของกล้องถ่ายภาพได้เปลี่ยนไป จากการบันทึกภาพด้วยฟิล์มมาเป็น การบันทึกภาพด้วยระบบหน่วยความจำ (Memory) และสามารถแสดงผลได้ทั้งทางจอภาพคอมพิวเตอร์ (Monitor) และแสดงผลหรือพิมพ์ภาพผ่านเครื่องพิมพ์ (Printer)

  29. อุปกรณ์ในการถ่ายภาพ เลนส์ (Lens) • เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการถ่ายภาพ โดยทำหน้าที่เป็นสื่อกลางที่ถ่ายทอดแสงสะท้อนภาพให้ผ่านเข้าไปในกล้อง รวมแสงให้เป็นภาพที่มีความคมชัดบันทึกลงแผ่นฟิล์ม เลนส์สำหรับกล้องถ่ายภาพ 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยวนั้น จะทำจากแก้วเลนส์ จำนวนหลายชิ้น เลนส์แต่ละชิ้นจะเคลือบด้วยสารไวแสง เพื่อให้การรับภาพมีความคมชัด และภายในกระบอกเลนส์จะมีแผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm) สำหรับเพิ่มหรือลดขนาดรูรับแสงเพื่อควบคุมปริมาณแสงเข้าไปในตัวกล้อง

  30. อุปกรณ์ในการถ่ายภาพ

  31. เลนส์(Optic) • เลนส์ คือ แก้วหรือวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถ ส่งผ่านแสงหรือหักเหแสงได้ แสงที่สะท้อนจากวัตถุต่างๆ ด้านหน้าของเลนส์จะปรากฏเป็นภาพอีกภาพหนึ่งที่ระยะใดระยะหนึ่ง ด้านหลังของเลนส์นั้น และภาพของวัตถุที่เกิดจากแสงเดินทางผ่านเลนส์มานั้น จะมีลักษณะเหมือนภาพจากวัตถุจริงทุกประการ

  32. ชนิดของเลนส์ นักประดิษฐ์เลนส์ถ่ายภาพ ได้พยายามพัฒนา ออกแบบ เลนส์ให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท โดยจำแนกประเภทของเลนส์ตามความยาวโฟกัส (Focus length) เลนส์ที่มีความยาว โฟกัสแตกต่างกัน จะให้ผลในการถ่ายภาพแตกต่างกันออกไป โดยมีเลนส์ขนาดหนึ่งใช้เป็นเลนส์ประจำกล้องเพื่อถ่ายภาพธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีองศาในการรับภาพใกล้เคียงกับสายตาของมนุษย์ในการมองทั่วไป และมีเลนส์ขนาด อื่นแตกต่างกันออกไปอีกทั้งชนิด ที่มีองศารับภาพกว้างเหมาะสำหรับถ่ายภาพภูมิทัศน์ (Landscape) และเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสแคบ แต่สามารถถ่ายภาพในระยะไกลได้ นอกจากนี้ยงมีเลนส์ชนิดพิเศษที่สามารถอำนวยความสะดวก ในการถ่ายภาพได้ลักษณะตามต้องการ โดยจำแนกชนิดของเลนส์ ดังนี้

  33. ชนิดของเลนส์ • 1.เลนส์มาตรฐาน (Normal lens หรือ Standard lens)เป็นเลนส์ประจำกล้อง ซึ่งเมื่อซื้อกล้องถ่ายภาพจะมีเลนส์ชนิดนี้ ติดมาด้วยเป็นเลนส์ที่ใช้ง่าย มีความยาวโฟกัส ระหว่าง 40-58 มม. ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนาด 50 มม. (โดยวัดจากกึ่งกลางเลนส์ถึงฟิล์ม) เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มเรียนรู้ในเรื่องการถ่ายภาพ เป็นเลนส์ที่มีองศาในการรับภาพกว้างประมาณ 47 องศา ซึ่งใกล้เคียงกับสายตาของมนุษย์ ภาพเลนส์มาตรฐาน (Normal lens หรือ Standard lens) มีความยาวโฟกัสตั้งแต่ 40 - 58 มม. องศาในการรับภาพประมาณ 47 องศา เหมาะสำหรับถ่ายภาพทั่วไป

  34. ชนิดของเลนส์ • 2.เลนส์มุมกว้าง (Wide-angle lens)เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าเลนส์มาตรฐาน และรับภาพได้มุมกว้างกว่า เหมาะสำหรับถ่ายภาพในสถานที่แคบหรือระยะห่างระหว่างกล้องถ่ายภาพ กับวัตถุที่จะถ่ายอยู่ใกล้กันแต่ต้องการเก็บภาพเป็น บริเวณกว้าง ซึ่งเลนส์ชนิดอื่นเก็บภาพได้ไม่หมด เหมาะสำหรับถ่ายภาพภูมิทัศน์(Land scape) หรือภาพในลักษณะอื่น ๆ เลนส์ชนิดนี้มีความชัดลึกสูงมาก คือแสดงให้เห็นระยะชัดตั้งแต่ใกล้สุดถึงไกลสุดได้ดี แต่ต้องระวังในเรื่องของสัดส่วนระยะ (Perspective) ต่าง ๆ จะเกิดการผิดเพี้ยน (Distortion) ถ้าความยาวโฟกัสยิ่งสั้นมากยิ่งผิดเพี้ยนมากขึ้น

  35. เลนส์มุมกว้าง แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ • 2.1 เลนส์มุมกว้างธรรมดา (Moderate Wide-angle lens) มีความยาวโฟกัสระหว่าง28-35 มม. มีมุมองศาในการรับภาพระหว่าง 74-62 องศา • 2.2 เลนส์มุมกว้างมาก (Ultra Wide-angle lens) มีความยาวโฟกัสอยู่ระหว่าง 13 -24 มม. มีมุมองศาในการรับภาพ 118-84 องศา • 2.3 เลนส์มุมกว้างพิเศษ หรือเลนส์ตาปลา (Fisheye lens) มีความยาวโฟกัสน้อยมาก คืออยู่ระหว่าง 6 - 16 มม. มีมุมองศาในการรับภาพ 180-360 องศา ภาพที่ได้จะมีลักษณะโค้งกลม นิยมใช้สำหรับการถ่ายภาพในลักษณะสร้างสรรค์ และแปลกตา

  36. ชนิดของเลนส์ 3.เลนส์ถ่ายภาพไกล (Telephoto lens) เลนส์ชนิดนี้มีคุณสมบัติตรงข้ามกับเลนส์มุมกว้าง คือ มีความยาวโฟกัสยาวกว่าเลนส์มาตรฐานและเลนส์มุมกว้าง มีมุมรับภาพแคบเฉพาะส่วนหนึ่งเท่านั้น เมื่อรับภาพในระยะและตำแหน่งเดียวกันจะทำให้ภาพที่บันทึกได้มีขนาดใหญ่กว่าการใช้เลนส์ธรรมดาและเลนส์มุมกว้าง • เลนส์ถ่ายภาพไกล มีขนาดความยาวโฟกัสตกต่างกันหลายขนาด จาก 70 มม. ถึง 2,000 มม. มีมุมองศาการรับภาพตั้งแต่ 34-3 องศา เพื่อใช้ประโยชน์ต่างกัน ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามความยาวโฟกัสได้ดังนี้

  37. เลนส์ถ่ายภาพไกล • 3.1 เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงสั้น (Short Telephoto lens)  มีความยาวโฟกัสอยู่ระหว่าง 70-135มม. มีมุมองศาในการรับภาพกว้างประมาณ 34-18 องศา เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทั่ว ๆ ไป เช่น ภาพบุคคล ภาพภูมิทัศน์ ภาพถ่ายระยะใกล้ เป็นต้น • 3.2 เลนส์ถ่ายภาพไกลปานกลาง (Medium Telephoto lens) มีขนาดความยางโฟกัสอยู่ระหว่าง 150-300 มม. มุมองศาในการรับภาพจะแคบลงอยู่ระหว่าง 18-8 องศา เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ไม่สามารถเข้าใกล้วัตถุที่จะถ่ายได้ เช่น สัตว์ในกรง วัตถุที่อยู่ที่สูงพอสมควร เป็นต้น

  38. เลนส์ถ่ายภาพไกล • 3.3 เลนส์ถ่ายภาพช่วงไกล (Long Telephoto lens) มีความยางโฟกัสระหว่าง 400-600 มม. มุมองศาในการรับภาพจะแคบลงอยู่ระหว่าง 6-4 องศา เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่อยู่ไกล เช่น นกบนต้นไม้ การแข่งขันกีฬา เป็นต้น • 3.4 เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงพิเศษ (Super Long Telephoto lens)  มีความยางโฟกัสระหว่าง 800-2,000 มม. มุมองศาในการรับภาพจะแคบลงอยู่ระหว่าง 3-1 องศา เท่านั้น สำหรับภาพที่ต้องการกำลังขยายมาก เช่น ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ภาพถ่ายบนตึกสูง เป็นต้น เลนส์พวกนี้จะน้ำหนักมากเป็นพิเศษ ควรใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายภาพ

  39. Zoom Lens • เลนส์ถ่ายภาพต่างระยะ (Zoom lens) หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า เลนส์ซูม เลนส์ชนิดนี้เป็น ที่นิยม อย่างมากเพราะใช้สะดวก มีเลนส์รวมกันอยู่หลายชนิดในตัวเดียว สามารถเปลี่ยนทางยาวโฟกัสได้ในตัว ด้วยการเลื่อนกระบอกเลนส์ (สำหรับเลนส์แบบวงแหวนเดียว)หรือการหมุนวงแหวน ปรับระยะ (สำหรับเลนส์แบบสองวงแหวน) ไม่ต้องคอยเปลี่ยนเลนส์บ่อย ๆ เหมือนกับเลนส์ชนิดความยาวโฟกัสคงที่ แต่เนื่องจากเลนส์ชนิดนี้มีชิ้นเลนส์มาก จึงทำให้ความคมชัดลดลงเล็กน้อย จึงไม่เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการขยายใหญ่มาก ๆ แต่ก็เป็นเลนส์ที่มีผู้นิยมใช้กันมากตามเหตุผลที่ได้กล่าวมา เลนส์ถ่ายภาพต่างระยะ หรือเลนส์ซูมนี้ มีหลายขนาดให้เลือกใช้ โดยแบ่งออกเป็นหลายประเภท คือ

  40. เลนส์ถ่ายภาพต่างระยะ (Zoom lens) • 4.1 เลนส์ซูมช่วงมุมกว้าง (Wide angle Zoom) มีช่วงขนาดความยาวโฟกัสสั้น รับภาพได้มุมกว้าง เช่นขนาด 20 -35 มม.24-35 มม.24-50 มม. เหมาะสำหรับการใช้งานในการถ่ายภาพมุมกว้าง • 4.2 เลนส์ซูมช่วงสั้น (Short Zoom) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสตั้งแต่ขนาดสั้นถึงปานกลาง โดยจะมีเลนส์ขนดมาตรฐานรวมอยู่ด้วย เป็นเลนส์ซูมที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด และราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับเลนส์ซูมขนาดอื่น ๆ กล้องถ่ายภาพของบางบริษัทจะใช้เลนส์ซูมประเภทนี้แทนเลนส์มาตรฐาน มีช่วงความยาวโฟกัสที่นิยมใช้ คือ ขนาด 35-70 มม.35-105 มม.35-135 มม. เป็นต้น

  41. เลนส์ถ่ายภาพต่างระยะ (Zoom lens) • 4.3 เลนส์ซูมช่วงไกล (Telephoto Zoom) เป็นเลนส์ซูมที่มีความยาวโฟกัสสูงกว่าเลนส์สองประเภทที่ได้กล่าวมา โดยมีขนาดที่นิยมใช้ คือ 80-200 มม.100-300 มม. สำหรับใช้งานแทนเลนส์ถ่ายภาพระยะไกล เลนส์ประเภทนี้จะมีน้ำหนักมาก ผู้ใช้ต้องอาศัยทักษะและความชำนาญในการใช้ เพราะอาจทำให้กล้องสั่นไหวได้ง่าย • 4.4 เลนส์ซูมช่วงไกลพิเศษ (Super Telephoto Zoom) เป็นเลนส์ซูมที่มีช่วงความยาวโฟกัสสูงมาก เหมาะสำหรับผู้ที่ถ่ายภาพเฉพาะด้าน เช่น ช่างภาพที่ถ่ายภาพกีฬาบางประเภท เช่น ฟุตบอล แข่งรถ นักถ่ายภาพสารคดี หรือนักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ก็นิยมใช้เลนส์ประเภทนี้ เลนส์ซูมประเภทนี้ มีขนาดช่วงความยาวโฟกัสที่นิยมใช้ คือ 80-400 มม.400-800 มม.360-1200 มม. เป็นต้น

  42. ชนิดของเลนส์ถ่ายภาพ เลนส์ซูมช่วงสั้น(Short Zoom) ขนาดความยาวโฟกัส 35-70 มม. ภาพเลนส์ซูมช่วงมุมกว้าง (Wide angle Zoom) ขนาดความยาวโฟกัส 20-35 มม เลนส์ซูมช่วงไกลพิเศษ (Super Telephoto Zoom) ขนาดความยาวโฟกัส 80-400 มม เลนส์ซูมช่วงไกล (Telephoto Zoom) ขนาดความยาวโฟกัส 80-200 มม.

  43. ชนิดของเลนส์ • เลนส์ภาพถ่ายใกล้ (Macro lens) เลนส์ถ่ายภาพใกล้หรือที่เรียกว่ามาโครเลนส์ เป็นเลนส์ชนิดที่สามารถถ่ายภาพในระยะใกล้ ๆ ได้มากเป็นพิเศษ ให้อัตราขยายของภาพได้ดีกว่าเลนส์ชนิดอื่น ๆ เหมาะสำหรับถ่ายภาพวัตถุที่มีขนาดเล็ก เช่น แมลง ดอกไม้ เครื่องประดับ หรือวัตถุอื่น ๆ ที่ต้องการความคมชัดและให้เห็นรายละเอียดมาก ซึ่งเลนส์ชนิดอื่นทำไม่ได้ และยังสามารถใช้ถ่ายภาพทั่ว ๆ ไปได้เช่นเดียวกับเลนส์ชนิดอื่น ๆ ที่มีขนาดความยาวโฟกัสเท่ากัน

  44. ความไวแสงของเลนส์ (Lens Speed) • ความไวแสงของเลนส์ หมายถึง ขนาดความกว้างของรูรับแสงเมื่อเปิดรูรับแสงกว้างที่สุด เลนส์ที่สามารถเปิดรูรับแสงได้กว้างกว่า แสดงว่าเลนส์ตัวนั้นมีความไวแสงมากกว่า ซึ่งจะมีข้อได้เปรียบในการถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อย และสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์ได้เร็วกว่าเลนส์ที่มีความไวแสงน้อย แต่เลนส์ยิ่งมีค่าความไวแสงมาก ราคาของเลนส์ก็จะสูงขึ้นไปด้วย ดังนั้นควรเลือกใช้เท่าที่จำเป็นและงบประมาณที่มี • ความกว้างของรูรับแสงจะมีตัวเลขบอกค่าไว้ที่กระบอกเลนส์ เรียกว่า เอฟ/สต็อป (f/stop) หรือ เอฟ/นัมเบอร์ (f/number) ซึ่งมีค่ากำหนดไว้ เช่น 1.2 1.4 4 5.6 8 11 22 ตัวเลขยิ่งมากเท่าใดรูรับแสงยิ่งแคบลง ตัวเลขยิ่งน้อยลง ดังภาพด้านล่าง

  45. ค่าความไวแสงของเลนส์ (Lens Speed) ภาพแสดงความกว้างของรูรับแสงและค่า เอฟ/สต็อป ของเลนส์ถ่ายภาพ

  46. F-number  ภาพที่ 1 จะเห็นว่า ยิ่ง ค่ารูรับแสง น้อย ก็จะเปิดไดอะแฟรม ของกล้องมาก และ  ถ้า ค่ารูรับแสงมาก จะหรี่ไดอะแฟรม ลดจนแคบ และ มีให้เห็นได้ถึง f 32 เลยทีเดียว

  47. แสง..เกิดจากฟังชั่น AV • นักถ่ายภาพที่ไม่ใช่มือใหม่ และมือใหม่ ต้องรู้จัก รูรับแสง หรือ Aperture ValueAperture Value หรือ ค่ารูรับแสง เป็นค่าที่แสดง การเปิดของช่องรับแสงในกล้อง  ว่ามากน้อยเพียงใด ยิ่งค่าน้อย แสดงว่าเปิดรับแสงมาก ยิ่งค่ามาก แสดงว่าเปิดรับแสงน้อย  อย่าสับสนนะครับ ดูภาพตัวอย่างข้างล่างประกอบ     ค่า Aperture Value นี้ ในอดีต ปรับค่าเป็นแบบกลใก เพิ่มลงที่ละช่วง ใช้ค่า fแทนความสว่างแต่ละค่า จึงได้ยินบางครั้ง เขาเรียนกว่า f-number และ การเพิ่มขึ้นลง  ของ f- number ทีละขั้น ก็เรียกว่า f-stop ซึ่งปัจจุบันในระบบดิจิตอล สามารถเพิ่ม ลด  ได้ละเอียดมาก บางครั้ง เพิ่ม หรือ ลด ที่ละ 1/2 stop เรียกว่า ครึ่ง สต็อป

  48. รูรับแสง(f-number) • โหมด Av หรือ A ในกล้องถ่ายภาพหมายถึง ค่ารูรับแสง หรือ f-number รูรับแสงน้อย หมายถึงเปิดไดอะแฟรม มาก รูรับแสงมาก หมายถึง เปิดน้อย         หากสามารถเปิดรูรับแสงได้มาก ย่อมมีความสว่าง มากกว่า นั้นเอง • ปรกติกล้องดิจิตอลทั่ว ๆ ไป ที่เรียกว่า กล้องคอมแพ็ก มักจะตั้งได้เพียง f 8เท่านั้น อย่ามากก็ตั้งแคบสุดได้เพียง f 11 ซึ่งต่างจากกล้อง DSLR ที่เปลี่ยนเลนส์ได้ มักจะตั้งได้ f 16 - f 32 เลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้      ส่วนรูรับแสง หรือ f-number มีผลอย่างไรกับภาพ ดูตัวอย่าง ในหัวข้อต่อ ๆ ไปได้เลยครับ ในบทนี้ แค่รู้จัก และ ไม่สับสน กับ Aperture , f-number และ f-stop ก็ยอดแล้วครับ

  49. Speed Shutter • Shutter Speed ความเร็วชัตเตอร์ มีผลอย่างไรความเร็วชัตเตอร์ หรือ shutter speed หลายคนบอกว่า นี่เป็นความรู้ พื้นฐานเลยนะนี่ Basic ชัด ๆ นี่คือนักถ่ายภาพต้องรู้ ต้องทำความเข้าใจ ก็เพราะว่า นักถ่ายภาพ มือใหม่ เกือบ 80 % ไม่มีความรู้เรื่องนี้ บอกให้ถ่ายรูปที่ความเร็ว 1/5 วินาที รับรอง งง เป็น กุ้งตาแตกเลยครับ และ ต้องใช้ ขาตั้งกล้องอีก ไม่ใช่แค่ ยกกล้องขึ้นมาแล้วกด แช๊ะแช๊ะ

  50. Speed Shutter •  ความเร็วชัตเตอร์ เป็นความเร็วในการเปิด/ปิด ช่องรับแสง ของกล้อง ถ้าเห็นเครื่องหมาย / เช่น 1/125 แปลว่า มีความเร็วสูง คือ เสี้ยวหนึ่งของวินาทีแค่นั้นเอง แบ่งเวลา 1 วินาที ออกเป็น 125 ส่วน และ คิดดูว่า แค่ 1 ส่วนจะเร็วเพียงใด 1/5 วินาที คือ ครึ่งวินาทีนั้นเองแปลว่ามีความเร็วช้าลง      ถ้าเป็นตัวเลขโดด ๆ เช่น 1 หรือ 3 หรือ 8 อย่างนี้ เป็นวินาทีครับ คิดดูว่าหน้ากล้องเปิด8 วินาที มือใหม่จะถือกล้องถ่ายรูปกันอย่างไร นี่คือเหตุผลของการนำมาในการใช้ขาตั้งกล้องถึงตรงนี้ก็แสดงความพัฒนา ความสามารถขึ้นมาแล้วนะครับ     ความเร็วชัตเตอร์สูงมักใช้ถ่ายภาพ เคลื่อนไหว หรือ กีฬา ความเร็วชัตเตอร์น้อยมักถ่าย ภาพน้ำตกให้เป็นสาย หรือ ในถาพในที่แสงน้อย เพื่อให้มีความสว่างมากขึ้น ดูตัวอย่าง

More Related