570 likes | 1.35k Views
บทที่ 3 การออกฤทธิ์ของยา หมายถึงการที่สารเคมีหลังจากเข้าสู่ร่างกายแล้วไปมีผล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำหน้าที่ทางสรีรวิทยาของอวัยวะส่วนต่างๆ ตลอดจนปฏิกริยาต่างๆที่เกิดขึ้นในร่างกาย บริเวณ หรือตำแหน่งที่ยาไปออกฤทธิ์ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบ
E N D
บทที่ 3 • การออกฤทธิ์ของยา • หมายถึงการที่สารเคมีหลังจากเข้าสู่ร่างกายแล้วไปมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำหน้าที่ทางสรีรวิทยาของอวัยวะส่วนต่างๆ ตลอดจนปฏิกริยาต่างๆที่เกิดขึ้นในร่างกาย บริเวณ หรือตำแหน่งที่ยาไปออกฤทธิ์ • วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ทราบ • 1. ความสัมพันธ์ระหว่างยาและการให้ยาโดยวิธีต่าง ๆ • 2. หลังจากได้รับยาเข้าไปในร่างกายแล้วยามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร • 3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นพิษของยา การออกฤทธิ์ของยา
การบริหารยา (DrugAdministration) การบริหารยาคือ วิธีการต่างๆ ในการให้ยาเข้าไปในร่างกายของผู้ป่วยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ • 1. ผลเฉพาะที่ (Local effect)คือต้องการให้ยาออกฤทธิ์ในบริเวณที่ให้ยาซึ่งแสดงว่ายามีการดูดซึมได้น้อย ตัวอย่างเช่น การให้ยาที่ผิวหนัง หรือ เยื่อเมือกเพื่อลดการอักเสบในบริเวณนั้น • 2. ผลต่อระบบอวัยวะต่างๆ (Systemic effect)คือต้องการให้ยามีการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถกระจายไปตำแหน่งที่ออกฤทธิ์ ซึ่งสามารถให้ได้หลายวิธี เช่น ยากิน ยาฉีด บทนำ
เมื่อยาเข้าไปสู่ร่างกายแล้วจะออกฤทธิ์ได้ มีความเกี่ยวข้องกับPharmacokinetics (การเปลี่ยนแปลง 3 ประการ) คือ • 1. การดูดซึม • 2. การกระจายของยา • 3. การกำจัดยาออกจากร่างกาย การออกฤทธิ์ของยา
การใช้ยาให้ได้ผลต้องมีขนาดยาที่ใช้ซึ่งขึ้นกับการใช้ยาให้ได้ผลต้องมีขนาดยาที่ใช้ซึ่งขึ้นกับ • ผลิตภัณฑ์ยา • วิธีที่ให้ยา และ • ระยะเวลานานพอที่จะรักษาโรคได้ • การดูดซึมและการกระจายตัวของยาเป็นตัวกำหนดปริมาณของยาที่จะรวมกับตัวรับในบริเวณที่ยาออกฤทธิ์ • ส่วนการเปลี่ยนแปลงและการขับออกของยาเป็นตัวกำหนดการหมดฤทธิ์ของยา การออกฤทธิ์ของยา
กลไกการออกฤทธิ์ของยา • ส่วนใหญ่เกิดจากการเกิดปฏิกริยาเคมีระหว่างยากับโมเลกุลส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อส่วนต่างๆที่ทำหน้าที่ในร่างกาย (receptor) ทำให้มีการรวมตัวระหว่างแขนที่เกาะ (bond) ของโมเลกุลซึ่งเป็น ionic bonds, hydrogen bonds หรือ Van der Waals forces และการรวมตัวนี้สามารถแยกจากกันได้ • นอกจากนี้เกิดจากยาทำปฎิกริยากับสารที่อยู่นอกอวัยวะ เช่น ยาลดกรด ทำปฏิกริยากับสารพิษที่ได้รับ หรือ ทำปฏิกริยากับเชื้อโรค การออกฤทธิ์ของยา
รูปที่ 3-1 แสดงให้เห็นถึง parameter ต่างๆ ของ pharmacokinetic/ bioavailability เช่น Tmax (ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มให้ยาจนวัดระดับยาในเลือดได้สูงสุด), AUC (area under the curve) เป็นต้น และแสดงให้เห็นระยะเวลาที่ยาเริ่มออกฤทธิ์ (onset) จนหมดฤทธิ์ (duration of action) การออกฤทธิ์ของยา
รูปที่ 3-2 แสดงถึงระดับยาในเลือดเมื่อให้ยา 1 dose A:- เมื่อยาถูกดูดซึมในอัตราที่เร็วกว่าการขับออก a = เร็วกว่า 100 เท่า, b = เร็วกว่า 10 เท่า, c = ดูดซึมเท่ากับขับออก B:- ระดับยาสูงขึ้นเมื่อเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า C:- ยาอยู่ในร่างกายนานขึ้น ถ้าอัตราการขับออกช้ากว่าการดูดซึม 2 เท่า เช่น 10:1 และ 10:0.5 การออกฤทธิ์ของยา
การดูดซึมยา หมายถึง การที่ยาสามารถผ่านจากตำแหน่งที่ให้ยาเข้าสู่กระแสโลหิตได้ การที่ยาผ่านจากตำแหน่งที่ให้ยาจะต้องเคลื่อนผ่าน biological membrane เช่น ผิวหนัง เยื่อบุหรือผนังเส้นเลือด membrane เหล่านี้เป็นชั้นของไขมันชนิดฟอสโฟลิปิดซึ่งมีอยู่สองชั้น และล้อมรอบด้วยชั้นของโปรตีน ทำให้ สารหรือยาที่มีคุณสมบัติละลายได้ดีในไขมันจะซึมผ่าน biological membrane ได้ดีกว่าสารที่มีคุณสมบัติละลายได้ดีในน้ำ การออกฤทธิ์ของยา
การดูดซึมยา ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซึมยา • ตัวยา: ขนาดโมเลกุล วิธีให้ยา ความเข้มข้นของยา รูปแบบของยา การละลายตัว การแตกตัว • ตัวสัตว์/ ผู้ป่วย:การหมุนเวียนของเลือด พื้นที่ผิวของอวัยวะสำหรับดูดซึมยา การทำงานของกระเพาะอาหาร การทำงานของเอนซัยม์ ต่างๆ • อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม: สภาพอากาศ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ การออกฤทธิ์ของยา
1. ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวยา 1.1. ลักษณะทางฟิสิกส์ของยา1.1.1 ของแข็ง (solid) - มีการดูดซึมได้ช้าเนื่องจากจะต้องละลายน้ำก่อนดูดซึม 1.1.2ของเหลว (solution) - ดูดซึมได้เร็วที่สุด 1.1.3ยาเคลือบ - จะดูดซึมช้าได้ช้าเพราะต้องรอให้สารที่เคลือบละลายก่อน การออกฤทธิ์ของยา
1.1.ลักษณะทางฟิสิกส์ของยา(ต่อ)1.1.ลักษณะทางฟิสิกส์ของยา(ต่อ) 1.1.4. ยาผลึก (suspension) - จะดูดซึมได้ช้ากว่ายาประเภท solution 1.1.5. vehicle ของยา - น้ำมันจะดูดซึมได้ช้ากว่าน้ำ เช่น penicillin ในน้ำดูดซึมได้เร็วกว่า penicillin ในน้ำมัน การออกฤทธิ์ของยา
1.2. วิธีการ (route) ของการให้ยา • การให้ยากินจะใช้เวลาดูดซึมนานกว่าการให้ยาฉีด เพราะต้องผ่านปาก กระเพาะ ลำไส้ ดูดซึมผ่านเส้นเลือดเข้าสู่หัวใจแล้วจึงกระจายทั่วร่างกาย • การฉีดยาสามารถให้ได้หลายทาง เช่น เข้าเส้นเลือด เข้ากล้ามเนื้อ เข้าใต้ผิวหนัง โดยที่การให้เข้าเส้นเลือด ยาจะออกฤทธิ์เร็วที่สุด ส่วนการให้ route อื่น ๆ ต้องมีการดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต ซึ่งจะดูดซึมช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับว่าตำแหน่งนั้น มีเส้นเลือดมากน้อยเพียงใด การออกฤทธิ์ของยา
1.3. ขนาดและความเข้มข้นของยา • การให้ยาขนาดสูงหรือความเข้มข้นสูง จะดูดซึมได้เร็วกว่ายาขนาดต่ำหรือความเข้มข้นต่ำ 1.4. ลักษณะทางเคมีของยา • ยาส่วนใหญ่มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนหรือเบสอ่อน ความสามารถในการแตกตัวเป็นสภาพ ion ขึ้นกับ • ค่าpKa • ความเป็นกรดหรือเบสของสภาพแวดล้อม (สารที่ละลายยา) และ • ความสามารถในการละลายของตัวยาในไขมัน การออกฤทธิ์ของยา
ค่า pKa • ค่า Ka คือ สัมประสิทธิ์ของการแตกตัวของกรด HA H+ + A- • ค่า p Ka = -log Ka • ดังนั้น ค่า Ka ต่ำ ค่า pKa สูง กรดอ่อน • ดูดซึมได้ดี ไม่เกิดประจุ ยาจะแตกตัวได้ไม่ดี • เช่น ยา ที่มี Ka = 1.9 x 10-5จะแตกตัวได้ดีกว่า Ka = 7 x 10-10 การออกฤทธิ์ของยา
เมื่ออยู่ในสารละลายตัวกลางที่มี pH เท่ากัน • ยาที่เป็นกรดที่มีค่า pKa ต่ำ จะแตกตัวเป็นไอออนได้ดีกว่ากรดที่มีค่า pKa สูง (เนื่องจากมีความเป็นกรดที่แรงหรือแก่กว่า) • ยาที่เป็นเบสที่มีค่า pKa สูง จะแตกตัวเป็นไอออนได้ดีกว่าเบสที่มีค่า pKa ต่ำ (เนื่องจากมีความเป็นเบสที่แรงหรือแก่กว่า) การออกฤทธิ์ของยา
ตัวอย่างการคำนวณ ยา A เป็นกรดอ่อน มีค่า pKa =5.5 เมื่ออยู่ในสารละลายที่มี pH = 3.5 จะอยู่ในรูปที่ไม่แตกตัว และรูปที่แตกตัวเป็นสัดส่วน ? pH = pKa + log [I] 3.5 = 5.5 + log [I] log [I] = -2.0 [I] = ยาที่แตกตัว = antilog -2.0 = 10-2 [UI] [UI] [UI] [UI] ยาที่ไม่แตกตัว ยาที่ไม่แตกตัว = 102
ยาที่สามารถเคลื่อนผ่านเซลเมมเบรนได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ยาที่สามารถเคลื่อนผ่านเซลเมมเบรนได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ • ค่าpKa • ไม่มีประจุ ไม่มีขั้ว • น้ำหนักโมเลกุลต่ำ • ละลายในไขมันได้ดี • สปส.การละลายในไขมันต่อการละลายในน้ำมีค่าสูง คือ การละลายในไขมัน การละลายได้ในน้ำ การออกฤทธิ์ของยา
ยาที่ดูดซึมได้ดีคือยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเบสอ่อน ซึ่ง ในสภาพอวัยวะที่มี pH ใกล้เคียงกัน จะทำให้ยาไม่เกิดการแตกตัว รูปที่ 3-3 แสดงถึงอิทธิพลของ pH และ pKa ต่อการไม่แตกตัวของยาที่มีคุณสมบัติเป็นกรด (HA) และ ด่าง (B) การออกฤทธิ์ของยา
รูปที่ 3-4 แสดงอิทธิพลของการละลายในไขมัน (lipid solubility) ต่อการดูดซึมยากลุ่ม Barbiturates 3 ชนิด ที่มี pKa ใกล้เคียงกันจากกระเพาะอาหาร ยาที่ดูดซึมผ่านผนังกระเพาะได้ดีที่สุดคือ thiopental การออกฤทธิ์ของยา
2. ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวสัตว์ 2.1. ฤทธิ์ในการขยายตัวหรือหดตัวเส้นเลือด ยาที่มีผลขยายเส้นเลือดจะถูกดูดซึมเร็ว ในขณะที่ยาที่มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดหดตัวจะถูกดูดซึมช้า ตัวอย่าง ยาชาจะมีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดหดตัว ถูกดูดซึมช้าและจะออกฤทธิ์เฉพาะที่ ยาชามักใช้ในการผ่าตัดเฉพาะที่เพื่อระงับความรู้สึกเจ็บปวด การออกฤทธิ์ของยา
2.2. การไหลเวียนเลือด • ถ้าเลือดมีการไหลเวียนช้า จะทำให้ถูกดูดซึมช้า • ตัวอย่าง เมื่อใกล้ตายความดันโลหิตต่ำ ดังนั้นการให้ยาทางปากหรือฉีด เข้าใต้ผิวหนังไม่ทัน ต้องฉีดเข้าเส้นเลือดหรือบางครั้งจำเป็นต้องฉีดเข้าหัวใจถ้าความดันเลือดต่ำจนมองไม่เห็นตำแหน่งของเส้นเลือด การออกฤทธิ์ของยา
2.3. อวัยวะต่างๆ มีการดูดซึมยาได้ดีไม่เท่ากัน • อวัยวะที่มีเยื่อบุชั้นเดียวยาจะถูกดูดซึมได้ดีกว่าหลายชั้น • อวัยวะที่มีเซลเยื่อบุบาง ยาจะถูกดูดซึมได้ดีเช่นกัน • ยาจะถูกดูดซึมได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่า pH ของยาและของอวัยวะนั้นมีความแตกต่างมากน้อยเพียงใด ถ้าแตกต่างมากจะถูกดูดซึมได้น้อย ผนังหลอดเลือดฝอย ดูดซึมดีที่สุด การออกฤทธิ์ของยา
บริเวณต่างๆ ที่มีการดูดซึมยา • 2.3.1. ปาก • การให้ยากินจะดูดซึมได้น้อยเพราะอาหารอยู่ในปากเป็นเวลาสั้น แต่การให้ยาอมใต้ลิ้นจะดูดซึมได้เร็วมากเพราะเส้นเลือดดำใต้ลิ้นไม่ผ่านตับ ยาจึงไม่ถูก metabolized เหมือนการให้ยาด้วยวิธีอื่น แต่ยาจะไปสู่หัวใจโดยตรงทำให้ได้รับยาอย่างรวดเร็ว (sublingual vein superior vena cava หัวใจ) ตัวอย่างเช่น การให้ยา nitroglycerin รักษาอาการหัวใจขาดเลือด การออกฤทธิ์ของยา
2.3.2. กระเพาะ • ปกติยาจะถูกดูดซึมได้น้อย เนื่องจากกระเพาะมีฤทธิ์เป็นกรดและมีผนังหลายชั้น แต่ยาบางชนิดจะถูกดูดซึมได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น พวกสารละลายในน้ำมัน (non ionized) และเป็นยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ เช่น salicylate, barbiturate การออกฤทธิ์ของยา
2.3.2. กระเพาะ • การได้รับยาในขณะที่กระเพาะว่างจะดูดซึมดีกว่าในขณะที่มีอาหารในกระเพาะ ยาบางอย่างถูกทำลายที่กระเพาะ แต่ต้องการให้ดูดซึมที่ลำไส้ แก้ไขได้โดยให้ในรูปยาเคลือบ (enteric coated tablet หรือ capsule) การออกฤทธิ์ของยา
2.3.3. ลำไส้เล็ก • ยาส่วนใหญ่ดูดซึมที่นี่ในสภาพ lipid nonionized molecule • ดูดซึมที่นี่มากเพราะ * ลำไส้ยาว อาหารใช้เวลาเคลื่อนผ่านนาน * มี Villi มาก ซึ่งเป็นเซลที่มีผนังเซลชั้นเดียว * ลำไส้มีการบีบตัวคละเคล้าตลอดขบวนการดูดซึม การออกฤทธิ์ของยา
2.3.4 ทวารหนัก • ให้ผลทั้งแบบเฉพาะที่และต่ออวัยวะต่าง ๆ เนื่องจากมีการดูดซึมผ่านเส้นเลือดได้ 2 ทาง คือ • * ทวารหนัก rectal vein inferior vena cavaheartsuperior rectal vein portal vein ตับ • จะใช้ยากรณีที่ยานั้นทำให้เกิดอาการข้างเคียง คือ คลื่นไส้ อาเจียน ระคายเคืองทางเดินอาหาร และไม่ต้องการให้ยาถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะอาหาร • ใช้ในรูป Suppository (ยาเหน็บ) การออกฤทธิ์ของยา
2.3.5 ปอด • alveoli มีเส้นเลือดมาก ดูดซึมได้ดี เช่น ก๊าซพวกคลอโรฟอร์ม อีเทอร์ 2.3.6. โพรงจมูก (nasal septum) • ดูดซึมได้เร็ว เพราะผนังบาง และมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงมาก 2.3.7 ช่องคลอด • ดูดซึมได้ไม่ดี เหมาะสำหรับรักษาโรคเฉพาะแห่ง (ที่เกิดขึ้นใน reproductive tract) การออกฤทธิ์ของยา
2.3.8 ท่อทางเดินปัสสาวะ • ยาไม่ค่อยดูดซึม เพราะผนังหนา จึงเป็นการให้ยาเพื่อรักษาโรคเฉพาะแห่ง 2.3.9. เยื่อเมือกในเต้านม • การดูดซึม มีความผันแปร เนื่องจาก - ชนิดยา - ความเข้มข้น - สาเหตุอื่นๆ เช่น สภาพการอักเสบมีฝีหนอง ทำให้ยาไม่ค่อยเข้า systemic circulation การออกฤทธิ์ของยา
2.3.10 ตา • หยอดใน conjunctival sac • ดูดซึมรวดเร็ว • ส่วนใหญ่เป็นยาพวกยาน้ำ, ointment การออกฤทธิ์ของยา
2.3.11 ผิวหนัง • ใช้ในรูปแบบยาพวก ointment, ยาผง • ปกติแล้วยาดูดซึมไม่ค่อยดี เนื่องจากเป็นเซลหลายชั้น ซึ่งยาจะถูกดูดซึมได้ดี เมื่อสภาพผิวหนังมีบาดแผลเกิดขึ้น • การดูดซึมจะดีขึ้น หากเลือกใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมหรือมีการปิดทับตำแหน่งนั้นไม่ให้สูญเสียความชื้นและตัวยาที่ใช้ทา การออกฤทธิ์ของยา
การดูดซึมยาที่ตำแหน่งต่างๆการดูดซึมยาที่ตำแหน่งต่างๆ Wartak, J. 1983. Drug dosage and administration: Modern Theory and Practice. University Park Press, Baltimore, p. 113. การออกฤทธิ์ของยา
3. ปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 3.1. อากาศ(อุณหภูมิ) • อากาศหนาวทำให้เส้นเลือดหดตัว ในขณะที่อากาศร้อนทำให้เส้นเลือดขยายตัว บริเวณที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมาก ยาถูกดูดซึมเร็ว การออกฤทธิ์ของยา
กิน หรือ ฉีด หรือ ทา ? 2 เพื่อให้เกิด systemic effect ,3 เพื่อ local effect, 1 ได้ผลทั้งสองแบบ การออกฤทธิ์ของยา
ก. การให้ยาทางปาก • นิยมมากที่สุดในคน • มีหลายสูตร หลายรูปแบบ เช่น Acid labile (ยาไม่ทนกรด) & acid stable drugs (ยาทนกรด) • กระเพาะเป็นอวัยวะสำคัญ มี hydrochloric acid ซึ่งสร้างจาก gastric gland และน้ำย่อยในการช่วยย่อยสิ่งต่างๆ ที่กินเข้าไป ดังนั้นสภาพของกระเพาะจึงเป็นกรด • ยาบางชนิดถูกทำลายในกระเพาะอาหาร เรียกว่า acid labile drug เช่น epinephrine, insulin การออกฤทธิ์ของยา
การให้ยาที่ไม่ทนกรด • (1) ในสัตว์กระเพาะเดี่ยวให้ 1 ชม. ก่อนอาหารหรือ 2 ชม. หลังอาหารเพราะเป็นช่วงที่ยังไม่มีการหลั่งน้ำย่อยหรือน้ำย่อยหมดไปแล้ว • ยกเว้น ไม่ควรใช้ในสัตว์กระเพาะรวมซึ่งมีการหมักเกิดขึ้นในกระเพาะตลอดเวลา • (2) เปลี่ยนรูปยาทางเคมี เช่น • Penicillin G + Phenoxymethyl gr. จะมีความทนกรดได้ดีขึ้น • (3) Coat เม็ดยา/ ใส่ใน Capsule ทำให้ยาถูกย่อยละลายในลำไส้ • (4) เปลี่ยนวิธีให้ยา เช่น จากกินเป็นฉีด ให้ยากินในขณะท้องว่างดูดซึมดีกว่า การออกฤทธิ์ของยา
ยากลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบจากกรดในกระเพาะเรียกว่า acid stable drug • ตัวอย่างยาทนกรด Amoxicillin Dicloxacillin Cloxacillin Ampicillin Griseofulvin Penicillin V Cephalexin Hetacillin Phenethicillin Cephaloglycin oxacillin Tetracycline Oxytetracycline การออกฤทธิ์ของยา
DRUG IRRITABILITY ของยาที่ให้กิน 1. เป็นผลเนื่องมาจากในกระเพาะอาหาร มีน้ำคัดหลั่ง 2 จำพวก คือ • 1. HCl & enzymes ช่วยในการย่อยอาหาร • 2. mucus ป้องกันการย่อยผนังกระเพาะ • การให้ยาเม็ดมักตกอยู่เป็นจุด ๆ ในกระเพาะซึ่งยาบางชนิดทำให้เกิดการระคายเคืองมาก อาจถึงขั้นทำให้เกิดเป็นแผลหลุมและมีเลือดออกในกระเพาะได้ การออกฤทธิ์ของยา
DRUG IRRITABILITY (ต่อ) 2. pH ของทางเดินอาหาร • สภาพ pH ในทางเดินอาหารต่างกันตามส่วนต่าง ๆ เช่น กระเพาะเป็นกรด ลำไส้เป็นด่างซึ่งมีผลกระทบในการระคายเคืองและการดูดซึม การออกฤทธิ์ของยา
ยาถูกดูดซึมในทางเดินอาหารได้ ต้องอยู่ในรูป Undissociated (non-ionized) form คืออยู่ในรูปที่ไม่มีการแตกตัว • ยาส่วนใหญ่มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน (pH เกือบถึง 7) หรือด่างอ่อน (pH เกิน 7 เล็กน้อย) ซึ่งจะไม่ถูกดูดซึมในกระเพาะอาหาร เพราะ pH ประมาณ 1-2 แต่ดูดซึมในลำไส้เล็กได้ดีขึ้น เพราะ pH เป็นด่างอ่อนใกล้เคียงกับยา ทำให้อยู่ในรูป non-ionized form การออกฤทธิ์ของยา
สรุป ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซึมในทางเดินอาหาร • 1. สภาพกระเพาะว่าง • 2. ทางเดินอาหารมี การบีบตัวตามปกติ • 3. ปริมาณเส้นเลือดที่ไปเลี้ยง • 4. ขนาดและรูปแบบของยา • 5. คุณสมบัติทางเคมีของยา • Uncharged • nonpolar • low molecular weight • high lipid solubility การออกฤทธิ์ของยา
ข. การให้ยาฉีด (I/V, I/M, S/C, I/D) ยาหลายชนิดกำหนดให้ใช้เฉพาะทางเช่น • ให้ฉีดเข้าเส้นเลือด (I/V) ไม่ให้ฉีดเข้ากล้าม (I/M) หรือ • ให้ทาง I/M ไม่ให้ I/V เนื่องจากยาฉีด I/M ที่ต้องการให้ออกฤทธิ์นาน มักจะใช้น้ำมันเป็นสื่อ จึงห้ามฉีด I/V • ในขณะที่ยาฉีด I/V บางอย่าง ห้ามฉีด I/M เนื่องจากระคายเคืองต่อกล้ามเนื้อ เช่น Potassium chloride, diazepam การออกฤทธิ์ของยา
ข. การให้ยาฉีด (ต่อ) • การฉีดวัคซีนมักนิยมให้ทั้งทาง I/M และ เข้าชั้นใต้ผิวหนัง (S/C) • ส่วนการฉีดเข้าในผิวหนัง (I/D) ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการวินิจฉัยโรค เช่น allergy testing, tuberculosis testingนอกจากนี้พึงระลึกด้วยว่าการให้ยาฉีดหลายชนิดผสมกัน อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากคุณสมบัติทางเคมีที่ตรงข้ามกัน หรือยามีฤทธิ์หักล้างกันเอง การออกฤทธิ์ของยา
1. Intravenous injection • ใช้ในกรณีต้องการให้ยาออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่ต้องใช้เวลาในการดูดซึมหรือในกรณีให้ยาที่ระคายเคืองและยามีความเข้มข้นสูง • ให้โดยการฉีดเข้า Peripheral Vein เช่น • ให้เข้า jugular vein ในสัตว์สี่กระเพาะ • ให้เข้า ear vein ในสุกร • ให้เข้า cephalic vein ในสุนัข แมว การออกฤทธิ์ของยา
1. Intravenous injection (ต่อ) • หากให้ยาไม่ดี อาจเกิดการอักเสบของเส้นเลือดในบริเวณนั้น (Phlebitis) หรือหากยามีความระคายเคืองมาก ผิวด้านในเส้นเลือดจากเรียบจะกลายเป็นขรุขระ เมื่อมีการกระทบกระแทกถูกเส้นเลือดแตก ทำให้เลือดจับเป็นกลุ่ม/ ลิ่มเลือด (emboli) อาจทำให้ตายเพราะ emboli ไปอุดตันในเส้นเลือด การออกฤทธิ์ของยา
1. Intravenous injection (ต่อ) • นอกจากนี้ สิ่งแปลกปลอมที่เข้าในกระแสเลือดก็อาจทำให้เกิด emboli ได้ และหากเป็นเชื้อจุลชีพก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อและแพร่เชื้อไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนั้นการให้ยาด้วยวิธีนี้จะต้องรักษาความสะอาดทั้งเครื่องมือและยาด้วย การออกฤทธิ์ของยา
2. Intramuscular injection • สามารถให้ยาได้ง่ายและมีความปลอดภัยกว่าการฉีด I/V ควรเลือกตำแหน่งที่มีกล้ามเนื้อหนา เช่น ที่คอ ที่สะโพก หรือ ต้นขา • การให้ยาฉีดเข้ากล้ามประเภท aqueous solution ดูดซึมเร็วกว่าการให้ยาฉีด S/C เพราะมีเลือดมาเลี้ยงมากกว่า แต่ปริมาณยาที่ให้จะจำกัดกว่า เนื่องจากชั้น S/C มีความ loose มากกว่า การออกฤทธิ์ของยา
2. Intramuscular injection (ต่อ) • การฉีดยาน้ำฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทำให้เกิดช่องว่างแทรกในกล้ามเนื้อ ซึ่งหากใช้ปริมาตรมากก็จะดันกล้ามเนื้อจนเกิดอาการเจ็บปวด • ถ้ายาระคายเคือง จะทำให้ปวดจนกว่ายาจะกระจายไปหมด ดังนั้นบางครั้งจะผสมยาชาไว้ด้วย • ตัวอย่างขนาดยาที่ใช้ในสัตว์เล็กไม่ควรเกิน 2 ml และในสัตว์ใหญ่ไม่ควรเกิน 20 ml ถ้าใช้ยาปริมาณมากกว่านี้ ต้องแบ่งฉีดที่ตำแหน่งอื่น การออกฤทธิ์ของยา
2. Intramuscular injection (ต่อ) • สามารถทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นานโดยการฉีดครั้งเดียว ยามักอยู่ในรูป suspended particles หรือในรูปแบบที่ตัวทำละลายเป็นน้ำมัน ทำให้การดูดซึมเกิดขึ้นช้าๆ ขึ้นกับการละลายของยาในร่างกายและปริมาณของเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณนั้น • อาจเกิดฝีที่ตำแหน่งที่ฉีดยาได้ หากตัวสัตว์หรือเครื่องมือสกปรก การออกฤทธิ์ของยา