470 likes | 930 Views
การลงโทษผู้ทิ้งงาน. หลักเกณฑ์การลงโทษผู้ทิ้งงาน. 1.ผู้ได้รับคัดเลือกไม่มาทำสัญญา 2.คู่สัญญา/ผู้รับจ้างช่วงไม่ปฏิบัติตามสัญญา 3.คู่สัญญาไม่แก้ไขความชำรุดบกพร่องหรือ พัสดุตามสัญญา/วัสดุที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน/ ไม่ครบถ้วน ทำให้งานเสียหายอย่างร้ายแรง. หลักเกณฑ์การลงโทษผู้ทิ้งงาน (ต่อ).
E N D
หลักเกณฑ์การลงโทษผู้ทิ้งงานหลักเกณฑ์การลงโทษผู้ทิ้งงาน 1.ผู้ได้รับคัดเลือกไม่มาทำสัญญา 2.คู่สัญญา/ผู้รับจ้างช่วงไม่ปฏิบัติตามสัญญา 3.คู่สัญญาไม่แก้ไขความชำรุดบกพร่องหรือ พัสดุตามสัญญา/วัสดุที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน/ ไม่ครบถ้วน ทำให้งานเสียหายอย่างร้ายแรง
หลักเกณฑ์การลงโทษผู้ทิ้งงาน (ต่อ) 4.งานก่อสร้างสาธารณูปโภค ใช้ของที่มีข้อบกพร่อง/ ไม่ได้มาตรฐาน/ไม่ครบถ้วน 5.ที่ปรึกษาที่มีผลงานบกพร่อง/ผิดพลาด/ก่อให้เกิด ความเสียหายอย่างร้ายแรง 6.ผู้กระทำการขัดขวางการแข่งขันราคา/กระทำการโดยไม่สุจริตในการเสนอราคา
การพิจารณาผู้ทิ้งงานทั่วไปตามข้อ 1-5 1. หัวหน้าส่วนราชการรายงานเสนอปลัดกระทรวงพร้อมความเห็นโดยเร็ว 2. ปลัดกระทรวงพิจารณาเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรส่งชื่อให้ผู้รักษาการสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน 3. กวพ. เสนอความเห็นว่าสมควรเป็นผู้ทิ้งงาน 4. ผู้รักษาการพิจารณาสั่งเป็นผู้ทิ้งงาน 5. ผู้รักษาการระบุชื่อผู้ทิ้งงานในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงาน 6. ผู้รักษาการแจ้งเวียนชื่อให้ส่วนราชการอื่นทราบ/แจ้งผู้ทิ้งงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม • ผู้เสนอราคา ผู้เสนองาน กระทำการอย่างใด ๆ อันเป็นการขัดขวาง หรือเป็นอุปสรรค หรือ ไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม
การพิจารณาผู้ทิ้งงานตามข้อ 6(ผู้กระทำการขัดขวางการแข่งขันราคาหรือ กระทำการโดยไม่สุจริตในการเสนอราคา) 1.ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าบุคคล ดังกล่าว สมควรเป็นผู้ทิ้งงาน หรือไม่ 2.แจ้งเหตุที่สงสัยไปให้ผู้เสนอราคา/เสนองานที่ถูกสงสัยทราบ ชี้แจงภายในเวลาที่กำหนดไม่น้อยกว่า 15 วัน 3.ดำเนินการต่อไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาผู้ทิ้งงานทั่วไป
ผลการลงโทษผู้ทิ้งงาน 1. ลงโทษนิติบุคคล ถ้าการกระทำเกิดจากผู้บริหาร ลงโทษผู้บริหารด้วย 2. การสั่งลงโทษนิติบุคคล มีผลถึงนิติบุคคลอื่นที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งมีผู้บริหารคนเดียวกันด้วย 3. การสั่งลงโทษบุคคลธรรมดา มีผลถึงนิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้บริหารด้วย หมายเหตุผู้บริหาร – หุ้นส่วนผู้จัดการ/กรรมการผู้จัดการ/ผู้บริหาร/ผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของนิติบุคคลนั้นๆ
การอุทธรณ์การลงโทษ 1. ยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อผู้รักษาการตามระเบียบภายใน 15 วัน นับแต่วันรับแจ้งการลงโทษ 2. ชี้แจงข้อเท็จจริง (ถ้ามี) 3. การพิจารณาอุทธรณ์ตามพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 4. คำสั่งยกอุทธรณ์มาตรา 45 วรรคสองและวรรคสามประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2540) ข้อ 2 (5) 5. ฟ้องต่อศาลปกครองภายใน 90 วัน ตามมาตรา 49 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2542
การขอเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงานการขอเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน 1. ได้ถูกลงโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี 2. มิได้กระทำไปด้วยเจตนาทุจริตหรือเป็นการเอาเปรียบทางราชการ 3. เป็นนิติบุคคลที่มีฐานะมั่นคงและมีเกียรติประวัติดีมาก่อน 4. ยอมรับและรู้สำนึกความผิดในการกระทำของตน (หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนมาก ที่ น.ว.105/2504 ลว. 18 ต.ค.2504)
เอกสารประกอบการขอเพิกถอน(บุคคลธรรมดา)เอกสารประกอบการขอเพิกถอน(บุคคลธรรมดา) • สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (ถ้ามี) • สำเนาการเสียภาษีย้อนหลัง 3 ปี • สำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลังไม่น้อยกว่า 1 ปี • สำเนาหลักฐานการทำงานกับภาคเอกชน (ถ้ามี) • สำเนาใบรับรองผลงาน
เอกสารประกอบการขอเพิกถอน (นิติบุคคล) • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล • สำเนาการเสียภาษีย้อนหลัง 3 ปี • สำเนารายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตย้อนหลัง 3 ปี • สำเนาหลักฐานการทำงานกับภาคเอกชน (ถ้ามี) • สำเนาใบรับรองผลงาน
แบบแสดงรายละเอียดการทำ (ทง.1-3) • การแจ้งรายละเอียดและส่งเอกสารหลักฐานประกอบในการพิจารณาผู้ทิ้งงาน • แจ้งตามหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร 1305/ว 4739 ลว. 30 พ.ค. 43 • รายละเอียดอยู่ในเอกสารแนบประกอบคำบรรยาย
วิธีปฏิบัติในการเปิดโอกาสให้ชี้แจงเหตุผลวิธีปฏิบัติในการเปิดโอกาสให้ชี้แจงเหตุผล • การเปิดโอกาสให้ผู้ที่จะถูกลงโทษเป็นผู้ทิ้งงาน(นิติบุคคล บุคคลธรรมดาและผู้บริหาร ได้ชี้แจงก่อนถูกลงโทษ ให้ส่งหนังสือให้ชี้แจงไม่น้อยกว่า 15 วัน • แจ้งตามหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ) 1305/ว 9696 ลว. 21 ต.ค. 42 • รายละเอียดอยู่ในเอกสารแนบประกอบคำบรรยาย
เหตุที่จะไม่ถูกลงโทษให้เป็นผู้ทิ้งงานตามมติ ครม.ว113 • ข้อ 1.2 • ต้องเป็นสัญญาที่ถูกบอกเลิกหลัง 1 ตุลาคม 2550 - 17 มิถุนายน 2551 • ต้องได้รับผลกระทบจากวิกฤติราคาน้ำมัน เหล็ก วัสดุก่อสร้าง • ต้องเป็นงานก่อสร้าง
ข้อ 3 มี 2 เงื่อนไข ดังนี้ • เงื่อนไขที่ 1 • เสนอราคามาก่อนจนถึงวันที่ ครม. มีมติ (17 มิถุนายน 2551) และอยู่ระหว่างรอการลงนามในสัญญา • ผู้เสนอราคาไม่ประสงค์ลงนามในสัญญาหรือข้อตกลง • ต้องมีคำขอภายใน 60 วัน • ให้ถอนการเสนอราคาโดยไม่ถือว่าเป็นผู้ทิ้งงาน • ต้องเป็นงานก่อสร้าง • ให้คืนหลักประกันซอง
ข้อ 3 มี 2 เงื่อนไข ดังนี้(ต่อ) • เงื่อนไขที่ 2 • ลงนามในสัญญาก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2551 • ยังไม่ได้ทำงานหรือยังไม่ได้ส่งงานงวดแรก • ต้องมีคำขอภายใน 60 วัน (วันที่ 18 สิงหาคม 2551) • ให้ยกเลิกสัญญาได้โดยไม่ถือว่าเป็นผู้ทิ้งงาน • ให้คืนหลักประกันสัญญา
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 • มาตรา 9 ข้อมูลข่าวสารที่รัฐต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ • (1) ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน • (8) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการลงวันที่ 1 ธันวาคม 2543 • เรื่อง กำหนดให้มีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ เช่น ข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา 9 (8) แห่ง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
1.ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำสรุปผลการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้าง วันเดือนปี งาน วงเงิน วิธี ชื่อผู้เสนอราคา ผู้ชนะ เหตุผลที่คัดเลือกรายนั้น 2.ทำตามแบบ สขร.1
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 • มาตรา 10 เจ้าหน้าที่มีอำนาจ อนุมัติ พิจารณา ดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอราคา รู้ หรือควรจะรู้ว่ามีพฤติการณ์ปรากฏว่ามีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. • ไม่เสนอยกเลิก • โทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท – 200,000 บาท
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 • มาตรา 11 เจ้าหน้าที่หรือผู้ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน • ทุจริต ออกแบบ กำหนดราคา กำหนดเงื่อนไขอันเป็นมาตรฐานในการเสนอราคา • มุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม • ช่วยเหลือผู้เสนอราคารายใดให้เข้าทำสัญญา • กีดกันมิให้เข้าเสนอราคาอย่างเป็นธรรม • โทษจำคุก5ปี-20ปี/ตลอดชีวิต+ปรับ 100,000-400,000บาท
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 • มาตรา 12 เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิดตาม พ.ร.บ.นี้ • กระทำการโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันเพื่อเอื้ออำนวยผู้เสนอราคาให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา • โทษจำคุก 5 ปี – 20 ปีหรือตลอดชีวิตและปรับ 100,000 - 400,000 บาท
พ.ร.บ. ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 • ที่ราชพัสดุ หมายถึง อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด ยกเว้นสาธารณสมบัติ... • กฎกระทรวง ฉบับที่11(พ.ศ.2537) ลว.19 ต.ค.37 • การต่อไปนี้ให้บังคับตามกฎกระทรวง • การโอนกรรมสิทธิ์ การขายและแลกเปลี่ยน การให้ การโอนคืนให้แก่ผู้ยกให้
ระเบียบคณะกก.ตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง พ.ศ.2544 • ความผิดเกี่ยวกับการพัสดุ (ข้อ 37-49) • แบ่งซื้อแบ่งจ้างเป็นเหตุให้เสียหาย,จัดซื้อที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบเป็นเหตุเสียหาย,กำหนดราคากลาง,สเปคในการประกวด/สอบ มิชอบ,ไม่ปิด/ส่งประกาศ,ไม่ซื้อ/จ้างรายต่ำโดยไม่มีเหตุผล,ทำสัญญามิชอบ,คุมงาน/ตรวจการจ้างมิชอบ,ตรวจรับพัสดุ,ลงบัญชี/ทะเบียน,เบิกจ่าย ตรวจสอบพัสดุมิชอบ • กรณีเป็นผู้บังคับบัญชา,ระเบียบยานพาหนะ,ผู้กระทำ/ร่วมเป็นผู้บังคับบัญชา ชั้น 4 (หมายเหตุ ต้องเป็น จ.มีหน้าที่และเสียหาย)
พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 • มาตรา 23 วรรคแรก • ห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมจนกว่าจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว ฯลฯ
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉ.7) พ.ศ.2550 • มาตรา 38 อำนาจในการสั่ง อนุญาต อนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตาม กฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใดหรือมีมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด • ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งนั้น หรือ มติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบหมายอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ • ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น อาจมอบให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกัน หรือส่วนราชการอื่น หรือผู้ว่าฯ ได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในพ.ร.ฎ. • การมอบอำนาจให้ทำเป็นหนังสือ
ระเบียบ นร.ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 • ข้อ 9 • ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้จะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้โดยให้คำนึงถึงระดับ ตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับมอบ • ผู้รับมีหน้าที่ต้องรับจะมอบต่อไม่ได้ ยกเว้น ผู้ว่าฯอาจมอบต่อได้...,กลาโหมมอบต่อตามระเบียบฯ กลาโหม
พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 • มาตรา 3 วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตาม กม.ต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพ.ร.บ.นี้ เว้นแต่ในกรณีที่กม.ใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ. นี้ • ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กำหนดในกฎหมาย
พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 • คำสั่งทางปกครอง หมายความว่า • (1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพ หรือสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราว หรือถาวร • (2) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
คำสั่งทางปกครอง • การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่เช่นการสั่งการ การอนุญาต อนุมัติ วินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง การรับจดทะเบียบ • มีผลสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล/กระทบสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล • มีผลเฉพาะ “กรณีใดหรือบุคคลใด” • เป็นการกระทำที่มีผลไปสู่ภายนอกโดยตรง
หลักการสำคัญเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองหลักการสำคัญเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครอง • 1. เจ้าหน้าที่ • 1)คำสั่งทางปกครองต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจในเรื่องนั้น (ม.12) • 2) เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนได้เสียจะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ (ม.13,16) • เช่น เป็นคู่กรณีเอง คู่หมั้น คู่สมรสหรือญาติ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ นายจ้าง เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้พิทักษ์ หรือตัวแทนของคู่กรณี หรือมีเหตุอื่นซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง
พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 • กฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ.2543) • ให้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้เป็นคำสั่งทางปกครอง • 1. การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหา หรือให้สิทธิประโยชน์ในกรณี(1) การสั่งรับ หรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ • (2) การอนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ • (3) การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอหรือการดำเนินการอื่นในลักษณะเดียวกัน • (4) การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน • 2. การให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา
หลักการบังคับใช้กฎหมายหลักการบังคับใช้กฎหมาย • 1.เจ้าหน้าที่ไม่สามารถกระทำการใดไปกระทบสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลใดได้ เว้นแต่จะมีกฎหมาย (พ.ร.บ.) ให้อำนาจไว้ • 2.ในกรณีที่กฎหมายที่ให้อำนาจไว้นั้น กำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการหรือเงื่อนไขการใช้อำนาจไว้อย่างไร การใช้อำนาจในเรื่องนั้นก็จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการ หรือเงื่อนไขนั้น
หลักการบังคับใช้กฎหมาย (ต่อ) • 3.หากการใช้อำนาจเรื่องนั้น มีกฎหมายเกี่ยวข้องหลายฉบับ การกระทำของเจ้าหน้าที่ก็จะต้องถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายนั้นทุกฉบับ • 4.กรณีที่กฎหมายให้เป็นดุลพินิจกับเจ้าหน้าที่ การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในเรื่องนั้นก็จะต้องชอบด้วยกฎหมาย • 5.ถูกตรวจสอบได้โดยศาลปกครอง
ลักษณะการกระทำการที่ไม่ชอบด้วย กม. • ออกกฎ คำสั่ง หรือกระทำการอื่นใด เนื่องจาก • ไม่มีอำนาจ (ออกโดยเจ้าหน้าที่อื่น ไม่ได้รับมอบอำนาจ) • นอกเหนืออำนาจ (ทำไม่เกินกว่าที่กม.ให้อำนาจไว้) • ไม่ถูกต้องตามกม. (เนื้อหาของคำสั่งขัด/แย้งต่อกม.) • ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ • ไม่สุจริต(การใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตัว) • เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม (ขัดต่อหลักความเสมอภาค) • สร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น (เกินขอบเขตแห่งความจำเป็นที่กม.กำหนด) • สร้างภาระเกินสมควร (เป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักความได้สัดส่วน) • ใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ (เกินกว่าที่วิญญูชนจะรับฟังได้)
การพิจารณาทางปกครอง • 1.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสมไม่ผูกพันคำขอ/พยานของคู่กรณี และต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่เห็นว่าจำเป็นแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริง • 2.คำสั่งทางปกครองที่อาจกระทบสิทธิของคู่กรณีต้องให้คู่กรณีมีโอกาสทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตน • ยกเว้น จำเป็นรีบด่วนเนิ่นช้าจะเสียหายร้ายแรงหรือจะกระทบประโยชน์สาธารณะ ห้ามให้โอกาสถ้าจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 • องค์ประกอบของการกระทำละเมิด • ผู้ใดทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย • กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ • ให้เขาเสียหาย แก่ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด • ผู้ทำละเมิดต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ • หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ • ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ • ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิด
กระทำละเมิดไม่ใช่ในการปฏิบัติหน้าที่กระทำละเมิดไม่ใช่ในการปฏิบัติหน้าที่ • ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว • ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ • เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อได้กระทำไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง • ต้องคำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่(ต่อ)ความรับผิดของเจ้าหน้าที่(ต่อ) • ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย • ไม่นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ เจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น
ระยะเวลาเรียกค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ระยะเวลาเรียกค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ • สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่มีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน • กรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิดแต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้น มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง