1 / 25

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ. สถิติ. หมายถึง ตัวเลข หรือ ศาสตร์ ที่ว่าด้วยข้อมูลซึ่งนำมาจัดกระทำ อาจเป็นข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของข้อมูล เชิงปริมาณ หรือข้อมูล เชิงคุณภาพ เพื่อหาข้อสรุปที่มีประโยชน์และนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล. ขอบข่ายของสถิติ. สถิติเชิงพรรณนา.

Download Presentation

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ สถิติ หมายถึง ตัวเลข หรือศาสตร์ที่ว่าด้วยข้อมูลซึ่งนำมาจัดกระทำ อาจเป็นข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของข้อมูลเชิงปริมาณหรือข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อหาข้อสรุปที่มีประโยชน์และนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล

  2. ขอบข่ายของสถิติ สถิติเชิงพรรณนา เป็นสถิติที่ใช้ในการบรรยายถึงข้อเท็จจริงของข้อมูลที่รวบรวมมาได้ในรูปของการบรรยาย หรือการนำเสนอข้อมูลในรูปของตาราง สถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน เป็นเทคนิคที่นำข้อมูลเพียงส่วนหนึ่งไปอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นข้อมูลทั้งหมด โดยทั่ว ๆ ไป ใช้พื้นฐานความน่าจะเป็น เป็นหลักในการอนุมานหรือทำนาย

  3. การเก็บรวบรวมข้อมูล สามารถทำการเก็บได้จาก 2 แหล่ง แหล่งปฐมภูมิ การเก็บด้วยตัวเอง อาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม ใช้วิธีการลงทะเบียน การทดลองในห้องปฏิบัติการ การเก็บข้อมูลด้วยตัวเองจะเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายมาก แหล่งทุติยภูมิ การเก็บจากแหล่งวิชาการต่างๆ อาจเก็บข้อมูลจากเอกสาร รายงานของโรงเรียน สถานที่ทำการต่าง ๆ การเก็บข้อมูลด้วยวิธีนี้สะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วย

  4. การนำเสนอข้อมูล การนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความ ตัวอย่างเช่น ประชากรอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไปของกรุงเทพมหานครอ่านหนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่งมากที่สุด คือประมาณร้อยละ 38.8 รองลงมา ได้แก่ ประชากรภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือที่อ่านหนังสือพิมพ์รายวันฉบับนี้ ร้อยละ 26.0 18.2 10.8 และ 6.2 ตามลำดับ

  5. การนำเสนอข้อมูล การนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความกึ่งตาราง ตัวอย่างเช่น ประชากรอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไปอ่านหนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่ง มีดังนี้ กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 38.8 ภาคใต้ ร้อยละ 26.0 ภาคกลาง ร้อยละ 18.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 10.8 ภาคเหนือ ร้อยละ 6.2

  6. การนำเสนอข้อมูล การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง 4 รูปแบบ คือ 1. ตารางทางเดียว (one-way table) ตารางที่ 1.1 ผลผลิตน้ำมันของโรงกลั่นแห่งหนึ่ง (ล้านลิตร) ในปี พ.ศ. 2547

  7. 2. ตารางสองทาง(two –way table) ตารางที่ 1.2 ผลผลิตน้ำมันของโรงกลั่นแห่งหนึ่ง (ล้านลิตร) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 – 2547

  8. 3. ตารางหลายทาง(multi-way table) ตารางที่ 1.3 ผลผลิตน้ำมันของโรงกลั่น 2 แห่ง (ล้านลิตร) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 และ ปี พ.ศ. 2547

  9. 4. ตารางแจกแจงความถี่ ตารางที่ 1.4 จำนวนโรงกลั่นที่ผลิตน้ำมันในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2547

  10. สินค้านำเข้า แผนภูมิแท่งเชิงเดี่ยว การนำเสนอข้อมูล การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิและกราฟ แผนภูมิแท่งเชิงเดี่ยวและกราฟเส้นเชิงเดี่ยว

  11. มูลค่า(พันล้านบาท) สินค้านำเข้า กราฟเส้นเชิงเดี่ยว

  12. แผนภูมิแท่งเชิงซ้อน แผนภูมิแท่งเชิงซ้อน และกราฟเส้นเชิงซ้อน

  13. กราฟเส้นเชิงซ้อน

  14. สินค้าฟุ่มเฟือย 27% วัตถุดิบเพื่อ การผลิตสินค้า 38% สินค้าอุปโภคบริโภค 35% แผนภาพวงกลม

  15. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร (population) เป็นขอบเขตข้อมูลทั้งหมดที่เรากำลังศึกษาหรืออาจหมายถึง กลุ่มของสิ่งทั้งหมดที่ให้ข้อมูลตามที่เราต้องการศึกษา โดยในวิธีทางสถิติจะเรียกว่า พารามิเตอร์ และนิยมใช้สัญลักษณ์อักษร กรีกแทน เช่น ค่าเฉลี่ยของประชากรแทนด้วย  อ่านว่า มิว (mu) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร แทนด้วย  อ่านว่า ซิกมา (sigma)

  16. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง (sample) เป็นส่วนหนึ่งของประชากรซึ่งถูกเลือกมาศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากในบางครั้ง จะพบว่าการศึกษาบางอย่างไม่อาจทำทั้งหมดของประชากรได้ เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก เสียเวลามาก หรือบางทีอาจหาประชากรทั้งหมดไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากในบางครั้ง จะพบว่าการศึกษาบางอย่างไม่อาจทำทั้งหมดของประชากรได้

  17. มาตราการวัด การวัด การกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์อย่างมีระบบให้กับสิ่งของหรือเหตุการณ์ เพื่อแทนปริมาณหรือคุณภาพของสิ่งที่ต้องการวัด 4 ชนิด มาตราอัตราส่วน (ratio scale) มาตราอันตรภาค (interval scale) มาตราเรียงอันดับ (ordinal scale) มาตรานามบัญญัติ (norminal scale)

  18. มาตราการวัด มาตราอัตราส่วน (ratio scale) เป็นตัวเลขที่แสดงถึงปริมาณความมากน้อย ของข้อมูลที่มีความแตกต่างระหว่างข้อมูลแต่ละหน่วยเท่ากัน และมีศูนย์แท้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ และถ้าเรากล่าวว่าน้ำหนัก 0 กิโลกรัมก็แปลว่าไม่มีน้ำหนักเลย ซึ่ง 0 ตัวนี้เรียกว่า ศูนย์แท้ (absolute zero)

  19. มาตราการวัด มาตราอันตรภาค (interval scale) เป็นมาตราการวัดที่เป็นตัวเลขแสดงปริมาณความมากน้อย และมีความแตกต่างระหว่างข้อมูลแต่ละหน่วยเท่ากัน แต่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น คะแนนสอบวิชาสถิติธุรกิจถ้านักศึกษาได้ 0 คะแนนไม่ได้หมายความว่า นักศึกษาไม่มีความรู้เลย (ไม่ใช่ศูนย์แท้)

  20. มาตราการวัด มาตราเรียงอันดับ (ordinal scale) เป็นมาตราการวัดที่เป็นตัวเลขแสดงปริมาณความมากน้อย เรียกว่า มาตราเรียงอันดับ การวัดในมาตรานี้มีความแตกต่างระหว่างแต่ละหน่วยของข้อมูลไม่เท่ากัน และไม่มีศูนย์แท้ ข้อมูลที่อยู่ในมาตรานี้เป็นตัวเลข ซึ่งตัวเลขที่ต่างกันแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติที่ต่างกัน แต่ตัวเลขนั้นไม่สามารถบอกให้ทราบว่า สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมีคุณสมบัติแตกต่างกันปริมาณเท่าใด เช่น การประกวดนางสาวไทย มีการจัดลำดับจากคนที่สวยที่สุดเป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 และอันดับที่ 3 ตามลำดับ ความแตกต่างของความสวยงามระหว่างอันดับที่ 1 กับอันดับที่ 2 และระหว่างอันดับที่ 2 กับอันดับที่ 3 ไม่เท่ากัน และบอกไม่ได้ว่ามีความสวยงามต่างกันอยู่มากน้อยเท่าใด

  21. มาตราการวัด มาตรานามบัญญัติ (norminal scale) เป็นมาตราการวัดที่กำหนดสัญลักษณ์ขึ้นเพื่อเรียกชื่อหรือเพื่อจำแนก หรือจัดประเภทสิ่งของตามคุณลักษณะ เช่น จำแนกคนตามศาสนา คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม จำแนกคนตามระดับการศึกษา เช่น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี เป็นต้น หรืออาจใช้สัญลักษณ์ ตัวเลข ตัวอักษร ที่กำหนดขึ้น แทนข้อมูลการนับเพื่อดูความถี่หรือการเกิดซ้ำๆ กันของข้อมูลก็ได้ ข้อมูลที่อยู่ในมาตรานี้จะเป็นชนิดความถี่

  22. ระเบียบวิธีทางสถิติ มีอยู่ 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การวางแผนงาน (planning) เป็นการกำหนดกรอบในการดำเนินการต่าง ๆ ขั้นที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูล (collectingdata) อาจเก็บจากประชากรทั้งหมดเช่นการทำสำมะโนประชากร หรือเก็บจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อความประหยัดของงานนั้น ๆ แล้วแต่ความเหมาะสมในแต่ละงาน

  23. ระเบียบวิธีทางสถิติ ขั้นที่ 3 การนำเสนอข้อมูล เป็นวิธีการที่จะช่วยให้ผู้ที่สนใจงานนั้น สามารถทำความเข้าใจและนำไปใช้ได้ โดยอาจนำเสนอในรูปบทความ นำเสนอในรูปตาราง นำเสนอในรูปแผนภูมิแท่งและนำเสนอในรูปกราฟวงกลม เป็นต้น ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ (analyzing data) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงการวิเคราะห์เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของงาน

  24. ระเบียบวิธีทางสถิติ ขั้นที่ 5 การตีความหมายและการสรุป (interpretation & conclusion) หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลแล้วจะต้องให้ความหมายและสรุปผลเป็นภาษาที่บุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่นักสถิติสามารถอ่านและเข้าใจได้

More Related