320 likes | 714 Views
บทบาทของ ตชด.ในทศวรรษหน้า. กิตติวัฒน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. วิกฤต – โอกาสของ ตชด. : อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต. จาก “ตำรวจผู้พิทักษ์แผ่นดิน” ถึง”ตำรวจตระเวนชายแดน” ( พ.ศ. 2450 – 2558 ). ตำรวจไทย : ผู้พิทักษ์แผ่นดิน. พ.ศ. 1998 : สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดเกล้าให้
E N D
บทบาทของ ตชด.ในทศวรรษหน้า กิตติวัฒน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
วิกฤต– โอกาสของ ตชด.: อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต จาก “ตำรวจผู้พิทักษ์แผ่นดิน” ถึง”ตำรวจตระเวนชายแดน” ( พ.ศ.2450 – 2558)
ตำรวจไทย : ผู้พิทักษ์แผ่นดิน พ.ศ.1998 : สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดเกล้าให้ ทรงตราศักดินาข้าราชการตำรวจ (ตำรวจภูธรและตำรวจภูบาล) พ.ศ.2405 : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า(ร.4) ได้ ทรงปฎิรูปกิจการตำรวจตามแบบยุโรป โดยว่าจ้าง Capt.S.J.Bird.Ames(ชาวอังกฤษ) มาทำหน้าที่จัดระเบียบการปฎิบัติหน้าที่
พ.ศ.2444 :พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.5) ทรงโปรดให้นาย G.Seheuชาวเดนมาร์ค มาเป็นผู้ดำเนินการกิจการ ตร.ต่อ พ.ศ.2450 :ในหลวงรัชกาลที่ 5ได้ทรงโปรดเกล้าให้ตร.ไปทำหน้าที่”ตำรวจพิทักษ์แผ่นดิน”บริเวณชายแดนแทนทหาร(ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงในการแบ่งปันเขตแดนตามสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส(1907) และเพื่อลดความตึงเครียดระหว่างกัน) ทั้งยังมีพระกรุณาธิคุณโปรดให้ ตร.พิทักษ์แผ่นดิน ใช้เครื่องแบบสีกากี อันเป็นสีของแผ่นดิน ขึ้นเป็นครั้งแรก
- และในปี พ.ศ.2492รัฐบาล(ในขณะนั้น)ได้ขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้นำตราพระราชลัญจกร อันเป็นตรา แผ่นดินของในหลวงรัชกาลที่ 5มาเป็นเครื่องหมาย ”พิทักษ์สันติราษฎร์” ติดที่บริเวณด้านหน้าของหมวกตำรวจ ทั้งนี้เพื่อให้ ตร.ได้พึงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 5 ที่ได้ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าในกิจการตำรวจมาจนเป็นปึกแผ่นตราบจน ทุกวันนี้
จึงอาจกล่าวได้ว่า”ตำรวจพิทักษ์แผ่นดิน” ก็คือ “ตำรวจตระเวนชายแดน” ตามเนื้อหา นั่นเอง
13ตุลาคม 2458 :พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6ได้ทรงโปรดให้รวมตำรวจภูธรและตำรวจตระเวน(นครบาล)เป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า”กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน” ขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล (ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย.2475 รัฐบาลจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น”กรมตำรวจ” จนถึง พ.ศ.2541ได้เปลี่ยนมาเป็น “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ”)
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง(พ.ศ.2485-2488)สิ้นสุดลง โลกก็เข้าสู่ภาวะสงครามเย็น(สงครามการเผยแพร่ความเชื่อในอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยและอุดมการณ์คอมมิวนิสต์) พ.ศ. 2454 : เกิดการปฎิวัติล้มล้างระบบการปกครองในจีน โดยพรรคชาตินิยมจีน ของ ดร.ซุนยัดเซ็น ทำการล้มล้างการปกครองในระบบกษัตริย์ราชวงค์ชิง
พ.ศ.2492 :เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ในจีน โดยพรรคคอมมิวนิสต์นำโดยเหมา เจ๋อ ตุ๋ง ล้มล้างการปกครองของพรรคชาตินิยม (ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา) ที่นำโดย ดร.ซุนยัดเซ็น และเจียงไคเช็ค และขึ้นปกครองจีนแทนพรรคชาตินิยม พ.ศ.2493 :เกิดสงครามบนคาบสมุทรเกาหลี
พ.ศ.2494 :สหรัฐเริ่มเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีไทยเป็นฐานในการต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์ และกรมตำรวจไทย(ในขณะนั้น)ได้ถูกวางเป้าหมายให้เป็นกำลังหลักในการทำสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ :ในปีเดียวกันนี้ รบ.ไทย ได้จัดตั้ง”หน่วยตำรวจรักษาดินแดน”ขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาผ่านสำนักข่าวกรองกลาง(CIA.) ด้วยการจัดตั้งบริษัทบังหน้า ชื่อ”Sea. Supply” : จนนำมาสู่การจัดตั้งหน่วยงานในกรมตำรวจมากมายอาทิ ตำรวจรถถัง ตำรวจน้ำ ตำรวจพลร่ม(PARU : Police Aerial Reconnaissance Unit - อันเป็นหน่วยสำคัญของ”ตำรวจตระเวนชายแดน”ในการทำสงครามต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์)
ตำรวจตระเวนชายแดน : ผู้ปกป้องแผ่นดินและภัยคอมมิวนิสต์ 6พ.ค.2496 :ประกาศจัดตั้งกองบัญชาการรักษาชายแดน(บช.รช) ทำหน้าที่ดูแลแนวชายแดนภาคอีสานตลอดลำน้ำโขง(อ.ท่าลี่ จ.เลย – อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี) 3ส.ค.2496 :ประกาศจัดตั้ง บช.รช.ภาคพายัพ ทำหน้าที่ดูแลแนวชายแดนภาคเหนือ 23มิ.ย.2497 :ได้รวม บช.รช.ทั้งสองหน่วยและจัดตั้งเป็น ”กองบัญชาการตำรวจรักษาชายแดน” ปลายปีพ.ศ.2497 :ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อเวียตนามที่ ”เดียนเบียนฟู”
4 ม.ค.2498 :จัดตั้ง”กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน” โดยการสนับสนุนของ”สภาป้องกันราชอาณาจักร”(สภาความมั่นคงแห่งชาติ - สมช.ในปัจจุบัน) ที่เข้ามามีส่วนสำคัญในการจัดโครงสร้างและภารกิจของ บช.ตชด.(ในขณะนั้น)
สถานภาพของ ตชด. (ตามแนวคิดของสมช.ในขณะนั้น) เป็นตำรวจที่ทำหน้าที่ทหารได้ เป็นกองกำลังกึ่งทหาร (Paramilitary Force) • ป้องกันชายแดน(อย่างทหาร) • ปราบปรามอาชญากรรมริมแนวชายแดน(อย่างตำรวจ) • ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ความมั่นคง(อย่างพลเรือน)
1ม.ค.2501 : ผลทางการเมืองในขณะนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ ตชด. รัฐบาลได้มีคำสั่งให้ยกเลิก บช.ตชด.และตั้งเป็น”บช.ตำรวจชายแดน” ขึ้นแทน พ.ศ.2503 :ปรับเป็นส่วนหนึ่งของตำรวจภูธร เรียกว่า”กองบัญชาการตำรวจภูธร(ชายแดน)
7ส.ค.2508 :วันเสียงปืนแตก ที่บ้านนาบัว ต.โคกหินแฮ่ อ.เรณูนคร จ.นครพนม เกิดการขยายตัวของภัยก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มากขึ้น กำลังของ ตชด.ได้ถูกนำกลับมาทำหน้าที่ในภารกิจนี้มากขึ้นเช่นกัน 25เม.ย.2515 :ได้จัดตั้ง”บช.ตชด.”ขึ้นมาอีกครั้ง กลางปี 2518 :การต่อสู่ในลาว เวียตนาม และกัมพูชา สิ้นสุดลง โดยที่สหรัฐผ่ายแพ้ต่อคอมมิวนิสต์ในประเทศเหล่านั้น
พ.ศ.2519 : เกิดการเปลี่ยนแปลงในจีนครั้งใหญ่อีกครั้ง เมื่อประธานฯเหมา เสียชีวิต จีนได้ผู้นำคนใหม่คือ เติ้ง เสี่ยว ผิง อุดมการณ์คอมมิวนิสต์เริ่มเจือจางลง จีนเข้าสู่”ยุคปฎิรูป” ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลของคอมมิวนิสต์สายรัสเซีย เข้ามามีบทบาทแทน โดยผ่านตัวแทน คือ เวียตนาม
2มิ.ย.2520 :ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ สร.0202/35ให้ ตชด.ไปขึ้นควบคุมทางยุทธการของฝ่ายทหาร เพื่อให้กำลัง ตชด.เป็นส่วนหนึ่งในกองกำลังป้องกันชายแดน ตามแผนการเตรียมรับการขยายสงครามของเวียตนามเข้ามาสู่ไทยผ่านแนวตั้งรับด้านตะวันออก
สถานการณ์ความมั่นคงในขณะนั้น ทั้งแนวชายแดนด้านเหนือ ด้านตะวันออก และสถานการณ์การก่อการร้ายในภาคใต้(ภัยจาก จคม.และขจก.) ทำให้บทบาทและภารกิจของ ตชด.มีความชัดเจนในตัวเอง เพราะเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงชายแดนและการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
13 ธ.ค.2529 : ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของ บช.ตชด.ครั้งใหญ่อีกครั้งเพื่อทำหน้าที่ตาม ”ยุทธศาสตร์การป้องกันชายแดนและการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ” พ.ศ.2530-2532 : เกิดการสู้รบบริเวณแนวชายแดนไทย-ลาว ไทย-กพช.ตลอดทั้งแนว ตชด.ถูกใช้เป็นหน่วยในการรบเช่นเดียวกับทหารและทำหน้าที่เป็นหน่วยเฝ้ารักษาชายแดนแทนทหารตามข้อตกลง”No Man Land”ในพื้นที่ที่การรบสิ้นสุด
สงครามเย็นสิ้นสุด(1989-1992)สงครามเย็นสิ้นสุด(1989-1992) พ.ศ.2532-2535 :เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียต รวมถึงเยอรมันตอ.มีการล้มล้าง รบ.คอมมิวนิสต์ และเปลี่ยนมาเป็นรบ.ในรูปแบบประชาธิปไตย พ.ศ.2538-2540 :ประเทศเพื่อนบ้านของไทยเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ รบ.ไทยได้ให้ทหารถอนตัวออกจากแนวชายแดนและมอบหมายให้ ตชด.เข้าไปทำหน้าที่ แต่ทหารยังคงรักษาพื้นที่เพื่อรักษาภารกิจทางทหารต่อไป ด้วยการมอบหมายให้”ทหารพราน”เข้ามาทำหน้าที่รักษาชายแดน และประกาศใช้กฎอัยการศึกรอบแนวชายแดนเพื่อให้ทหารมีอำนาจบังคับใช้กฎหมายได้เช่นเดียวกับตำรวจตระเวนชายแดน ตามพื้นที่ชายแดนบางส่วน
ข้อพิจารณาที่สำคัญ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมาประเทศเพื่อนบ้านของไทย เริ่มมีเสถียรภาพทางการเมืองมาก และส่งผลให้เกิดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจตามมา ความต้องการสินค้าเพื่อการอุปโภค-บริโภค มีมากขึ้น การค้าขายบริเวณริมแนวชายแดนมีมากขึ้น มีการตัดถนนเข้าสู่แนวชายแดนไทยและเปิดจุดการค้าตามริมแนวชายแดนมากขึ้นเช่นกัน ในด้านการควบคุมชายแดน ตำรวจตระเวนชายแดน ควรเป็นหน่วยกำลังที่ทำหน้าที่ในการควบคุมชายแดนมากขึ้นตามหลักการที่เป็นสากล แต่................
วิกฤตครั้งที่ 2 ของ ตชด. - หลังจากเกิดวิกฤตทางการเมืองเมื่อปี พ.ศ.2501 มาแล้ว วิกฤตครั้งที่ 2 ของ ตชด.ก็เกิดขึ้นอีกครั้งภายหลังสิ้นสุด สงครามเย็น - ตชด.ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานหลักทั้ง สมช. และตร. จนถูกมองว่าเป็นยิ่งกว่า”ลูกเมียน้อย”ขององค์กร - ในขณะที่ ตชด.ก็มาทำหน้าที่ด้าน”การพัฒนา”มากขึ้น
20 ส.ค.2545 : ได้มีการปรับเปลี่ยนข้อตกลงระหว่างทหารและตำรวจตระเวนชายแดนใหม่ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 228/2545 ให้ตำรวจตระเวนชายแดน ขึ้นในความควบคุมทางยุทธการของฝ่ายทหาร เฉพาะ “ภารกิจการป้องกันประเทศ” เท่านั้น
ตำรวจตระเวนชายแดน : ผู้ปกป้องแผ่นดินและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ พ.ศ.2547:หน่วยปฎิบัติการตามลำน้ำโขง(นปข.) ปรับเปลี่ยนภารกิจตามข้อตกลงกับ สปป.ลาว และเปลี่ยนชื่อเป็น ”หน่วยรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง”(นรข.)ทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำ และปราบปรามยาเสพติด : เกิดเหตุความมาสงบในพื้นที่ จชต.(และ 4อภ.จว.สข.) ที่รุนแรงขึ้น
ตำรวจตระเวนชายแดนถูกนำไปใช้ในภารกิจรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ 3จชต.และ 4อภ.สข. พร้อมๆไปกับภารกิจการป้องกันชายแดน (โดยขึ้นควบคุมทางยุทธการจากทหาร)
วิกฤตครั้งที่ 3 ของ ตชด. • หลังการรัฐประหาร 2549 ตชด.กลับเข้าสู่วิกฤตอีกครั้ง โดยเฉพาะผู้บังคับบัญชาในสำนักงานตำรวจแห่งชาต (ในขณะนั้น) มีนโยบายให้ จนท.ตร. ตชด.ย้ายออกนอก หน่วยได้อย่างเสรี - อันเป็นนัยยะของการส่งสัญญาณและตีความว่า ตชด. กำลังจะถูกยุบทิ้ง
วิกฤต– โอกาสของ ตชด.: อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต จาก “ตำรวจผู้พิทักษ์แผ่นดิน” ถึง”ตำรวจตระเวนชายแดน” ( พ.ศ.2450 – 2558)
ขอขอบพระคุณทุกท่าน Question Answer