1 / 44

การตรวจสอบด้านข้าวเปลือก ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ ตรวจสอบ

การตรวจสอบด้านข้าวเปลือก ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ ตรวจสอบ. คุณ สุร กัญญา ญาณลักษณ์ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์สุพรรณบุรี. ด้านธุรกิจรวบรวมผลิตผล (ซื้อเพื่อจำหน่าย). การ ซื้อข้าวเปลือก - ประกาศราคาซื้อข้าวเปลือก

Download Presentation

การตรวจสอบด้านข้าวเปลือก ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ ตรวจสอบ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การตรวจสอบด้านข้าวเปลือกการตรวจสอบด้านข้าวเปลือก ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ตรวจสอบ คุณสุรกัญญา ญาณลักษณ์ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์สุพรรณบุรี

  2. ด้านธุรกิจรวบรวมผลิตผล (ซื้อเพื่อจำหน่าย) การซื้อข้าวเปลือก - ประกาศราคาซื้อข้าวเปลือก - ตรวจสอบคุณภาพและชั่งน้ำหนักข้าวเปลือก - ซื้อและจ่ายชำระค่าข้าวเปลือก - บันทึกรายการบัญชี - บันทึกทะเบียนคุมข้าวเปลือก - เก็บรักษาข้าวเปลือก - ทดสอบอัตรายุบตัวตามสภาพของข้าวเปลือก - คำนวณต้นทุนขาย 1

  3. ด้านธุรกิจรวบรวมผลิตผล (ซื้อเพื่อจำหน่าย) การขายข้าวเปลือก - ขายข้าวเปลือกให้ผู้ซื้อ - บันทึกบัญชีย่อยลูกหนี้ค่าข้าวเปลือก - บันทึกทะเบียนคุมข้าวเปลือก - รับชำระหนี้ค่าข้าวเปลือก - รับรายได้เฉพาะธุรกิจ - จ่ายค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ - บันทึกรายการบัญชี 2

  4. ด้านธุรกิจรวบรวมผลิตผล (ซื้อเพื่อจำหน่าย) ข้าวเปลือกคงเหลือ - แต่งตั้งกรรมการตรวจนับ - ตรวจนับข้าวเปลือกคงเหลือ - การตัดข้าวเปลือกขาดบัญชี ปฏิบัติให้เป็นไปตาม ระเบียบและคำแนะนำที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด - บันทึกรายการบัญชี 3

  5. ด้านธุรกิจแปรรูปผลิตผลการเกษตรและการผลิตสินค้าด้านธุรกิจแปรรูปผลิตผลการเกษตรและการผลิตสินค้า การแปรรูปข้าวเปลือกเป็น ข้าวสาร ปลาย รำ - เบิกข้าวเปลือกเพื่อเข้านำแปรรูป - บันทึกทะเบียนคุมวัตถุดิบ - ตรวจรับสินค้าสำเร็จรูป - บันทึกทะเบียนคุมสินค้า - เก็บรักษาสินค้า - ทดสอบการสีข้าวนำอัตราเฉลี่ยเปรียบเทียบกับ ปริมาณที่สีได้จริงในแต่ละครั้ง - จ่ายค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการแปรรูป - คำนวณค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและอุปกรณ์โรงสี 4

  6. ด้านธุรกิจแปรรูปผลิตผลการเกษตรและการผลิตสินค้าด้านธุรกิจแปรรูปผลิตผลการเกษตรและการผลิตสินค้า การแปรรูปข้าวเปลือกเป็น ข้าวสาร ปลาย รำ - คำนวณต้นทุนการผลิตและต้นทุนขาย - บันทึกรายการบัญชี - ตรวจสอบสภาพ / ทดสอบการใช้งานเครื่องจักรและ อุปกรณ์โรงสี 5

  7. การซื้อ / ขายข้าวเปลือก .....เนื่องจากข้าวเปลือกที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ และมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันในการซื้อขายข้าวเปลือกจึงมีการแบ่งชั้นข้าวเปลือก ออกเป็นชั้นๆ และเนื่องจากผู้ซื้อส่วนใหญ่จะนำไปสีเป็นข้าวสาร ดังนั้น ชั้นข้าวเปลือกจึงมีความสัมพันธ์กับมาตรฐานข้าวสารซึ่งเน้นในเรื่องความยาว ของเมล็ดและสัดส่วนของข้าวหักชนิดต่าง ๆ การแบ่งชั้นข้าวเปลือกจึงเน้นเรื่องนี้ด้วย โดยนำข้าวเปลือกที่จะซื้อไปสีออกมาเป็นข้าวสารชนิดใด จากนั้นจึงนำผลที่ได้ จากการตรวจสอบไปตีราคาซื้อ ขาย ข้าวเปลือก...... 6

  8. การตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือกการตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือก ประกอบด้วยกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ 1. การเก็บตัวอย่างข้าวเปลือก วิธีการเก็บจะแตกต่างกันออกไปตามสถานที่ เก็บตัวอย่างหรือวิธีการขนส่งได้แก่ ในยุ้งฉาง ในกระสอบ รถบรรทุกถือกระแซง • 2. การตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือก โดยทำการพิจารณาตรวจสอบความชื้นสิ่งเจือปน • ข้าวเสื่อมคุณภาพและเป็นโรค • 3. การตรวจสอบอัตราการกะเทาะ 7

  9. ...ข้าวเปลือกคงเหลือ... วิธีการบัญชีเกี่ยวกับข้าวเปลือกคงเหลือ ใช้วีธีบันทึกข้าวเปลือกคงเหลือเมื่อวันสิ้นปีทางบัญชี (Periodic Inventory) โดย • 1. ระหว่างปีบันทึกเกี่ยวกับการซื้อ ส่งคืน และค่าขนส่งไว้ในบัญชี ซื้อ ส่งคืน • และค่าใช้จ่ายในการซื้อ • 2. สินค้าคงเหลือจะแสดงยอดคงเหลือต้นปีและไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างปี • สิ้นปีทางบัญชีสหกรณ์จะต้อง • - ตรวจนับข้าวเปลือกที่มีอยู่จริง • - บันทึกข้าวเปลือกคงเหลือปลายปี 8

  10. การตรวจนับข้าวเปลือกคงเหลือการตรวจนับข้าวเปลือกคงเหลือ ในการวัดปริมาตรข้าวเปลือกควรแนะนำให้สหกรณ์ดำเนินการ ดังนี้ • 1. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจนับ • 2. ให้กรรมการเป็นผู้จัดเตรียมสถานที่จัดเก็บเพื่อสะดวกในการวัดปริมาตร • 3. ให้กรรมการเป็นผู้วัดปริมาตร หรือจะขอให้ผู้เชี่ยวชาญที่น่าเชื่อถือมาช่วย • เช่น พนักงาน ธ.ก.ส.เป็นต้น • 4. ให้กรรมการจัดทำหลักฐานการตรวจนับ พร้อมทั้งลงลายมือชื่อกำกับ 9

  11. ในกรณีที่สหกรณ์ไม่ได้ทำการตรวจนับอาจใช้วิธีการตรวจสอบ ดังนี้ • 1. ให้สหกรณ์ทดลองสีข้าว 1 ตัน (1000 กิโลกรัม) ว่าจะได้เนื้อข้าวจำนวนเท่าใด แล้วค่อย • ทดสอบกลับจากข้าวสารเทียบเป็นข้าวเปลือก • 2. ใช้ปริมาตรเป็นเกณฑ์การวัดน้ำหนักข้าว ยกตัวอย่าง 2 วิธี วิธีที่ 1ใช้วิธีการคำนวณปริมาตร จากสูตร D = M / V D คือ ความหนาแน่น M คือ น้ำหนัก V คือ ปริมาตรห้องบรรจุ ถ้าต้องการหาน้ำหนัก M =DV 10

  12. .......ก่อนที่จะวัดน้ำหนักข้าวจะต้องทำการหาความหนาแน่น (D) ของข้าวเปลือก แต่ละสหกรณ์ก่อนเพราะในการจัดเก็บข้าวเปลือกของสหกรณ์แต่ละแห่ง มีความหนาแน่นของข้าวไม่เท่ากันการหาความหนาแน่นของข้าวเปลือก ให้ใช้ลิตรตวงข้าว 1 ลิตร ใส่ข้าวให้เต็มแล้วไปชั่งก็จะรู้ว่าปริมาตรของข้าวเปลือก ต่อลิตรเท่ากับจำนวนเท่าใดเช่น ชั่งข้าวในลิตรได้น้ำหนัก 0.5 กก. ความหนาแน่น (D) = จำนวนน้ำหนักของข้าวในลิตร 1 ลิตร = 0.5/(1/1000) = 500 กก.ต่อลูกบาศก์เมตร 11

  13. เมื่อได้ความหนาแน่นแล้ว ถ้าต้องการหาน้ำหนักของข้าวเปลือกที่จัดเก็บ ใช้สูตรคำนวณตามลักษณะข้าวที่จัดเก็บโดยคำนวณหาปริมาตรของโรงเก็บตามรูปทรงเรขาคณิต ดังนี้ 3. รูปกรวย V = ¶ d 2 × h 4 3 4. รูปกรวยฐานเป็นเหลี่ยม V = a × b × h 3 1. ทรงสี่เหลี่ยม V = กว้าง × ยาว × สูง 2. ทรงกระบอก V = ¶ d 2h 4 12

  14. วิธีที่ 2ธ.ก.ส.ได้กำหนดสูตรไว้เป็นมาตรฐานในการใช้ปริมาตรเป็นเกณฑ์ในการวัดน้ำหนักข้าว ซึ่งสูตรในการคำนวณปริมาตรขึ้นอยู่กับข้าวเปลือกเก็บไว้ในสถานที่ใดดังนี้ • (1) ยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเป็นสี่เหลี่ยม ต้องทำการเกลี่ยข้าวให้เสมอกัน • แล้วใช้สูตร • กว้าง × ยาว × สูง จากนั้นหารด้วย 2 จะได้น้ำหนัก “ตัน” • (ตัวเลข 2 คือความหนาแน่น) • ตัวอย่าง ยุ้งเก็บข้าวเปลือกมีขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 8 เมตร • และความสูงของข้าวเปลือกในยุ้งเฉลี่ยเสมอกันเท่ากับ 4 เมตร • น้ำหนักข้าวเปลือก = 2 × 8 × 4 • 2 • = 32 ตัน 13

  15. (2) ยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเป็นเสวียน (รูปทรงกระบอก) • ใช้สูตร¶× R 2 × สูง • ¶ = 22 • 7 • R = รัศมีของฐานเสวียน • เมื่อคำนวณพื้นปริมาตรได้แล้วหารด้วย 2 จะได้น้ำหนักข้าวเปลือกเป็น “ ตัน” 14

  16. 3. ตักข้าวเปลือก 1 Loader แล้วไปชั่งทั้ง Loader และชั่งเฉพาะ Loader แล้วนำ น้ำหนักของ Loader มาหักออกจะได้น้ำหนักข้าวเปลือก 1 Loader หลังจากนั้น ตักข้าวไปเรื่อย ๆ ได้กี่ Loader แล้วนำมาคูณจำนวนที่ทดสอบครั้งแรก ก็จะได้ น้ำหนักข้าวเปลือกทั้งหมด..... 15

  17. ผู้สอบบัญชี .......ให้สังเกตการณ์การวัดปริมาตรของข้าวเปลือกและขอหลักฐานการตรวจนับ จากสหกรณ์ หากสหกรณ์ไม่ดำเนินการวัดปริมาตรข้าวเปลือกคงเหลือ ให้ผู้สอบบัญชีชี้แจงให้สหกรณ์ทราบว่าไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า ข้าวเปลือกมีอยู่จริง ตามที่ปรากฏในงบดุลหรือไม่หากเป็นจำนวนที่มีสาระ สำคัญต่อการแสดงความเห็นต่องบการเงิน ผู้สอบบัญชีอาจต้องแสดงความเห็น แบบมีเงื่อนไขเนื่องจากถูก จำกัดขอบเขตในการตรวจสอบ.... 16

  18. การตีราคาข้าวเปลือกคงเหลือการตีราคาข้าวเปลือกคงเหลือ คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่องวิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับสินค้างคงเหลือ พ.ศ. 2547 สรุปได้ ดังนี้ ..................................................................................................................................................... 1. สหกรณ์ต้องตีราคาข้าวเปลือกคงเหลือแต่ละชนิดด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิ ที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า ณ วันสิ้นปีทางบัญชี 2. สหกรณ์สามารถเลือกวิธีการตีราคาทุนของข้าวเปลือก ด้วยราคาเข้าก่อนออกก่อน(FIFO) หรือราคาทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average) และเมื่อสหกรณ์เลือกใช้วิธี การตีราคาทุนด้วยวิธีใดแล้ว ต้องใช้วิธีนั้นโดยสม่ำเสมอ 3. ราคามูลค่าสุทธิที่จะได้รับ หมายถึง ราคาที่คาดว่าจะขายได้ตามปกติของธุรกิจ หักด้วยค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้ 17

  19. ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการตัดสินค้าจากบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2546 .................................................................................................................................................. ข้อ 6 เมื่อเกิดกรณีสินค้าขาดบัญชีขึ้นแล้ว หากสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรประสงค์ จะให้มีการลดหย่อนความรับผิดชอบสินค้าขาดบัญชีด้วย ให้พิจารณาดังนี้ 18

  20. ข้อ 6.1 ประเภทสินค้าที่ลดหย่อน • (1) สินค้าประเภทพืชผลทางการเกษตร คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณา • ลดหย่อนสำหรับสินค้าที่มีการยุบตัวหรือสูญเสียน้ำหนักตามสภาพของสินค้านั้น • โดยให้ลดหย่อนตาม • - อัตราซึ่งหน่วยราชการที่ควบคุมหรือเกี่ยวข้องกำหนด • - อัตราที่ธุรกิจภาคเอกชนถือใช้กันโดยทั่วไป • - อัตราที่สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรดำเนินการทดสอบขึ้นเป็นการเฉพาะ • ทั้งนี้สหกรณ์หรือกลุ่ม ฯ จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ว่าอัตราจากการทดสอบ • นั้นได้กำหนดขึ้นด้วยวิธีการที่เหมาะสม 19

  21. แนวทางในการพิจารณาอัตราส่วนต่าง ๆ ดังนี้ • 1. อัตราซึ่งหน่วยราชการที่ควบคุมหรือเกี่ยวข้องกำหนด ได้แก่ อัตราที่กำหนดโดย • ศูนย์วิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร ฯลฯ • 2. อัตราที่ธุรกิจภาคเอกชนถือใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่ อัตราที่โรงสีภาคเอกชนหรือตลาด • กลางกำหนดใช้ 20

  22. 3. อัตราที่สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรดำเนินการทดสอบขึ้นเป็นการเฉพาะ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้ • 3.1 แต่งตั้งคณะกรรมการที่มีความรู้หรือประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องข้าวเปลือกให้เป็นผู้ • ทำการทดสอบโดยเฉพาะ • 3.2 บันทึกหลักเกณฑ์ วิธีการและผลการทดสอบเป็นหลักฐาน • 3.3 แจ้งให้ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการได้ทราบพร้อมบันทึกไว้ในรายการประชุม 21

  23. แนวทางในการทดสอบการยุบตัวตามสภาพ สามารถทำได้โดย • 1. การทดสอบจริงโดยการสุ่มตัวอย่างข้าวเปลือกที่จะเก็บเข้าฉาง • บรรจุใส่กระสอบ 3 กระสอบ • ชั่งน้ำหนักแต่ละกระสอบแล้วนำใบชั่งน้ำหนักของแต่ละกระสอบใส่ไว้ในกระสอบ • นั้นสำเนาเก็บไว้สำนักงาน 1 ชุด 22

  24. นำกระสอบข้าวเปลือกไปวางไว้ในฉาง 3 ตำแหน่ง • - ใต้กองข้าวเปลือก • - กลางกองข้าวเปลือก • ส่วนบนของกองข้าวเปลือกโดยให้มีข้าวเปลือกปิดกระสอบที่ทดสอบให้มิด กระสอบที่ 3 กระสอบที่ 2 กระสอบที่ 1 23

  25. เมื่อนำข้าวเปลือกออกจากฉางหมดแล้ว ให้นำข้าวเปลือกในกระสอบที่ใช้ทดสอบ • ออกมาชั่งน้ำหนักใหม่ โดยบันทึกน้ำหนักของแต่ละกระสอบ • เปรียบเทียบน้ำหนักเดิมกับน้ำหนักใหม่ในแต่ละกระสอบจะทำให้ทราบว่า • ข้าวเปลือกในตำแหน่งใดว่ามีการยุบตัวมากน้อยอย่างไร • การคำนวณน้ำหนักข้าวเปลือกหลังเก็บควรเหลือเท่าใด จะใช้น้ำหนักรวมของ • ข้าวเปลือกที่ใช้ทดสอบทั้ง 3 กระสอบ โดยใช้สูตร • ..................................................................................................................................... • น้ำหนักข้าวเปลือกหลังเก็บที่ควรเหลือ = • น้ำหนักข้าวเปลือกที่ใช้ทดสอบรวมหลังเก็บ× น้ำหนักข้าวเปลือกที่นำเข้าเก็บ • น้ำหนักข้าวเปลือกที่ใช้ทดสอบรวมก่อนเก็บ 24

  26. นำผลลัพธ์ที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผลการชั่งข้าวเปลือกที่นำออกจากฉางจริง นำผลลัพธ์ที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผลการชั่งข้าวเปลือกที่นำออกจากฉางจริง • - ถ้าน้ำหนักใกล้เคียงแสดงว่าน้ำหนักที่ขาดหายไปเกิดจากการยุบตัวตามสภาพ • - ถ้าน้ำหนักแตกต่างมากแสดงว่ามีเหตุผิดปกติสหกรณ์ต้องตรวจสอบหาสาเหตุ • เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป • ตัวอย่าง • นำข้าวเปลือกเข้าฉางจำนวน 300,000 กก. และได้ทำการทดสอบข้าวยุบตัวโดยบรรจุข้าวเปลือกที่จะทดสอบไว้กระสอบละ 60 กก.จำนวน 3 กระสอบ วางไว้ในตำแหน่ง ใต้ กลาง และบนกองข้าวเปลือกที่ในฉางเมื่อนำข้าวเปลือกออกจากฉางชั่งน้ำหนักได้จริง 296,515 กก. ส่วนข้าวเปลือกที่ทดสอบชั่งได้ดังนี้ กระสอบที่ 1 จำนวน 59.5 กก. กระสอบที่ 2 จำนวน 59.3 กก. กระสอบที่ 3 จำนวน 59.1 กก. 25

  27. น้ำหนักข้าวเปลือกหลังเก็บที่ควรเหลือ = (59.5+59.3+59.1) ×300,000 (60×3) = 296,500 กิโลกรัม น้ำหนักข้าวเปลือกออกจากฉางชั่งได้จริง = 296,515 กิโลกรัม ผลต่างของน้ำหนักข้าวเปลือกคงเหลือ = 15 กิโลกรัม ดังนั้นข้าวเปลือกที่นำออกจากฉางชั่งได้ 296,515 กิโลกรัม ต่างจากข้าวเปลือกที่นำเข้าฉาง 300,000 กิโลกรัม จำนวน 3,485 กิโลกรัม ถือเป็นการสูญหายไปจากการยุบตัวตามสภาพ 26

  28. แนวทางในการทดสอบการยุบตัวตามสภาพ สามารถทำได้โดย • 2. โดยการคำนวณ • ระหว่างนำข้าวเปลือกเข้าเก็บในฉาง ให้มีการตรวจวัดความชื้นเป็นระยะ • และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน • หาค่าเฉลี่ยความชื้นของข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในฉาง • ตรวจวัดความชื้นของข้าวเปลือกที่นำออกจากฉางและจดบันทึกไว้ • เช่นเดียวกับตอนเก็บเข้าฉาง • หาค่าเฉลี่ยความชื้นของข้าวเปลือกที่นำออกจากฉาง 27

  29. คำนวณข้าวเปลือกคงเหลือโดยใช้สูตรของกองเกษตรวิศวกรรม • กรมวิชาการเกษตร • น้ำหนักข้าวเปลือกหลังเก็บที่ควรเหลือ = • (100 - %ความชื้นก่อนเก็บ) × น้ำหนักข้าวเปลือกที่นำเข้าเก็บ • (100 - % ความชื้นหลังเก็บ) • นำผลลัพธ์ที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผลการชั่งข้าวเปลือกที่นำออกจากฉางจริง • - ถ้าน้ำหนักใกล้เคียงกันแสดงว่าน้ำหนักที่ขาดหายไปเกิดจากการยุบตัว • ตามสภาพ • - ถ้าน้ำหนักแตกต่างมากแสดงว่ามีเหตุผิดปกติสหกรณ์ต้องตรวจสอบ • หาสาเหตุเพื่อแก้ปัญหาต่อไป 28

  30. ตัวอย่าง ......นำข้าวเปลือกเข้าฉางจำนวน 300,000 กิโลกรัม ความชื้นของข้าวเปลือก ที่นำเข้าเก็บเฉลี่ย 14 % เมื่อนำข้าวเปลือกออกชั่งน้ำหนักได้จริง 296,515 กิโลกรัม วัดความชื้นเฉลี่ยได้ 13% น้ำหนักข้าวเปลือกหลังเก็บที่ควรเหลือ = (100-14) ×300,000 ( 100 - 13 ) = 296,551.72 กิโลกรัม น้ำหนักข้าวเปลือกออกจากฉางชั่งได้จริง = 296,515 กิโลกรัม น้ำหนักข้าวเปลือกหลังเก็บที่ควรเหลือ = (100-14) ×300,000 ( 100 - 13 ) = 296,551.72 กิโลกรัม น้ำหนักข้าวเปลือกออกจากฉางชั่งได้จริง = 296,515 กิโลกรัม ผลต่างของน้ำหนักข้าวเปลือกคงเหลือ = 36.72 กิโลกรัม ดังนั้นข้าวเปลือกที่นำออกจากฉางชั่งได้ 296,515 กิโลกรัม ต่างจากข้าวเปลือกที่นำเข้าฉาง 300,000 กิโลกรัม จำนวน 3,485 กิโลกรัม ถือเป็นการสูญหายไปจากการยุบตัวตามสภาพ 29

  31. วงจรการผลิตข้าวเปลือกวงจรการผลิตข้าวเปลือก • ปัญหาการดำเนินธุรกิจการแปรรูปข้าวเปลือก • 1. สหกรณ์ส่วนใหญ่มักประสบผลการขาดทุน เนื่องจากสหกรณ์เก็บข้าวเปลือก • ไว้นานเกินหรือการจัดเก็บไม่ใช้แบบ FIFO คือข้าวเปลือกที่ซื้อมาก่อนควรสี • ก่อนจึงทำให้เมื่อสีแล้วจะได้ข้าวเหลืองขายไม่ออก • 2. ข้าวเปลือกของเกษตรกรขายหรือจำนำได้ราคาไม่ดีเท่าที่ควรเพราะมีความชื้นสูง เนื่องจากมีที่ตากไม่เพียงพอหรือถ้าตากก็มีสิ่งเจือปน • 3. การจัดเก็บไม่ดี เมื่อนำออกมาสีจะได้ต้นข้าวน้อย (ต้นข้าว คือ ข้าวที่ยัง • เหลืออยู่ 8 ส่วนโดยไม่หัก) 30

  32. วงจรการผลิตข้าวเปลือกวงจรการผลิตข้าวเปลือก • การสีข้าวเปลือก • การสีข้าวเปลือกจะต้องพิจารณาว่าจะได้ต้นข้าวมากน้อยแค่ไหน ถ้าได้ ต้นข้าวมากจะได้รับเงินคืนมากกว่าข้าวหัก ดังนั้นถ้าสีข้าวแล้วมีข้าวหักมากจะทำให้กำไรของสหกรณ์ลดลง แต่สหกรณ์ไม่สนใจต้นข้าว ต้องการแต่เนื้อข้าว คือปริมาณข้าวสารที่ผลิตได้ ซึ่งตามมาตรฐานกำหนดว่า ข้าวเปลือก 1000 กก. จะสีเป็นข้าวสารได้ 660 กก. 31

  33. วงจรการผลิตข้าวเปลือกวงจรการผลิตข้าวเปลือก • ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสีข้าว • ความชื้น ไม่ควรซื้อข้าวเปลือกที่มีความชื้นเกิน 14 % • สิ่งเจือปน • เมล็ดไม่สมบูรณ์ • ความบริสุทธิ์ • การแตกร้าว • เมล็ดข้าวเสีย • ข้าวแดง 32

  34. วงจรการผลิตข้าวเปลือกวงจรการผลิตข้าวเปลือก กระบวนการสีข้าว ลดความชื้นข้าวเปลือก ทำความสะอาดข้าวเปลือก การคัดขนาดข้าวเปลือก การกะเทาะข้าวเปลือก การแยกแกลบ การแยกข้าวเปลือกออกจากข้าวกล้อง การแยกหิน การขัดขาว การขัดมัน การคัดขนาดข้าวสาร การทำเปอร์เซ็นต์ การบรรจุข้าวสาร 33

  35. การควบคุมการสีข้าวเปลือกการควบคุมการสีข้าวเปลือก สหกรณ์จะต้องมีจุดควบคุมโดยระบุที่กองข้าวเปลือกแต่ละกองว่าเป็นข้าวเกรดอะไร และข้าวที่สีจะได้ต้นข้าวและแกลบจำนวนเท่าใด เมื่อสีแล้วจะต้องได้ตามที่กำหนดไว้ ถ้าได้ตามนั้นข้าวเปลือกไม่ควรขาด แต่ถ้าไม่ได้จะต้องมีการปรับปรุงหรือแก้ไขดังนั้น ก่อนการสีข้าวเปลือก ควร... • ชั่งข้าวเปลือกก่อนสีว่าจะใช้ข้าวเปลือกจำนวนเท่าไร • วัดคุณภาพข้าวว่ามีสิ่งเจือปนมากน้อยแค่ไหน • ข้าวเปลือกที่ใช้สีจะต้องมีความชื้นไม่เกิน 14% • พยากรณ์ว่าได้คุณภาพข้าวเปลือกที่จะสีอย่างนี้จะได้ข้าวจำนวนเท่าใด 34

  36. วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการทดสอบหาอัตราข้าวเปลือกที่ใช้สีและรำที่สีได้วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการทดสอบหาอัตราข้าวเปลือกที่ใช้สีและรำที่สีได้ • 1. แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมการชั่งข้าวเปลือกที่นำไปสี • 2. ตรวจนับจำนวนข้าวสาร ปลายข้าวและรำที่สีได้ • 3. ได้อัตราส่วนข้าวเปลือก 1 กิโลกรัม แปรรูปเป็นข้าวสาร ปลายข้าวและรำเท่าใดแล้ว • บันทึกเป็นหลักฐานให้สหกรณ์ถือใช้ • 4. ใช้อัตราส่วนนี้คำนวณย้อนกลับจากข้าวสาร ปลายข้าวที่สีได้ประจำวันเป็นข้าวเปลือก • ที่ใช้สีและรำที่สีได้ 35

  37. ขั้นตอนการคำนวณหาจำนวนข้าวเปลือกที่นำไปสีในแต่ละวันขั้นตอนการคำนวณหาจำนวนข้าวเปลือกที่นำไปสีในแต่ละวัน • 1. ให้คำนวณหาอัตราส่วนของข้าวสาร ปลายข้าวที่สีได้ต่อข้าวเปลือก(ตามชนิด) ที่นำเข้าสี • ณ วันทดสอบ โดย • อัตราส่วนข้าวสาร ปลายข้าวที่สีได้ = น้ำหนักข้าวสาร ปลายข้าวที่สีได้ • ต่อข้าวเปลือก 1 กก. น้ำหนักข้าวเปลือกที่นำเข้าสี • 2. ในแต่ละวัน เมื่อสีได้ข้าวสารและปลายข้าว เป็นน้ำหนักเท่าใด ให้คำนวณหาข้าวเปลือก • ที่นำเข้าสีในวันนั้น ๆ โดย • ปริมาณข้าวเปลือกที่นำเข้าสี = น้ำหนักข้าวสาร ปลายข้าวที่สีได้ • อัตราส่วนที่หาได้จาก(1) 36

  38. สมมุติว่าจะเริ่มสีข้าวเปลือกยุ้งที่ 1 ซึ่งเป็นข้าวเปลือกเจ้าชนิด 5% และ ได้มีการทดสอบก่อนสีปรากฏว่าข้าวเปลือก 1 เกวียน (1000 กก.) สีได้ข้าวสาร ปลายข้าวและรำดังนี้.. ตัวอย่าง ต้นข้าว 5% จำนวน 460 กก. ปลายข้าว A1 เลิศ 145 กก. ปลาย C1 เลิศ 40 กก. ปลาย C3 15 กก. รวมต้นข้าวและปลายข้าว 660 กก. รำข้าวขาว 75 กก. รำข้าวกล้อง 30 กก. รวม 105 กก. 37

  39. 1. จากผลการทดสอบทำให้ทราบ อัตราส่วนต้นข้าวและปลายข้าวที่สีได้ = 660 1000 = 0.66 กก. สมมุติต่อไปว่าเมื่อมีการสีข้าวในยุ้งปรากฏว่า ตรวจนับข้าวสารและปลายข้าวที่สีได้ทั้งสิ้นจำนวน 52,800 กก. ก็จะสามารถคำนวณหาปริมาณข้าวเปลือกเจ้าชนิด 5% ที่ใช้สีได้ ดังนี้ ปริมาณข้าวเปลือกที่นำเข้าสี = 52,800 0.66 = 80,000 กก. หรือ 80 เกวียน 38

  40. 2.อัตราส่วนรำที่สีได้ต่อข้าวเปลือก 1 กก. รำข้าวขาว = 75 = 0.075 กก. 1000 รำข้าวกล้อง = 30 = 0.03 กก. 1000 ดังนั้น ถ้าข้าวเปลือกที่ใช้สี 80,000 กก. ควรจะเป็นรำที่สีได้ ดังนี้ รำข้าวขาว = 80,000 × 0.075 กก. = 6,000 กก. รำข้าวกล้อง = 80,000 × 0.03 กก. = 2,400 กก. 39

  41. วิธีคำนวณต้นทุนข้าวสาร ปลายข้าวและรำที่สีได้ อาศัยราคาตลาดของสินค้าแต่ละประเภท ณ วันสิ้นงวดมาเป็นเกณฑ์ในการกระจายต้นทุน ทั้งสิ้นให้แก่สินค้าแต่ละประเภท ตัวอย่าง สมมุติในงวดเดือน สีข้าวเปลือกเจ้าชนิด 5% จำนวน 1 เกวียน มีต้นทุนในการผลิตจำนวน 2,730.00 บาท ได้ข้าวสาร ปลายข้าว และรำ ดังนี้ (1) (2) (3) (4) จำนวนที่สีได้ (กก.) ราคาตลาด กก.ละ บาท รวมราคาตลาด(บาท) ต้นข้าว 5% 460 5 2,300 A 1 เลิศ 145 4 580 C 1 เลิศ 40 3 120 C3 15 2 30 รำข้าวขาว 75 1 75 รำข้าวกล้อง 30 0.50 15 รวม 3,120 40

  42. วิธีคำนวณ 1. คำนวณหาราคาตลาดของสินค้าที่ผลิตได้มียอดรวมทั้งสิ้น 3,120.00 บาท (4) 2. คำนวณอัตราต้นทุนการสีต่อราคาตลาด 1 บาท = ต้นทุนการสีทั้งสิ้น ราคาตลาดทั้งสิ้น = 2,730 3,120 = 0.875 41

  43. 3. คำนวณต้นทุนของสินค้าที่ผลิตได้โดย จำนวนที่ ราคาตลาด อัตราต้นทุน ต้นทุน ต้นทุน สีได้ (กก.)การสี ทั้งสิ้น กก.ละ ต้นข้าว 5% 460 2,300 0.875 2,012.50 4.38 A 1 เลิศ 145 580 0.875 507.50 3.50 C 1 เลิศ 40 120 0.875 105.00 2.63 C3 15 30 0.875 26.25 1.75 รำข้าวขาว 75 75 0.875 65.62 0.88 รำข้าวกล้อง 30 15 0.875 13.13 0.44 3,120 2,730 42

  44. THEEND.

More Related