1 / 13

หลักการ ทำโครงงาน

หลักการ ทำโครงงาน. รายวิชา ง 23102 เทคโนโลยีสารสนเทศ 3. หลักการทำโครงงาน.

Download Presentation

หลักการ ทำโครงงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักการทำโครงงาน รายวิชา ง 23102 เทคโนโลยีสารสนเทศ 3

  2. หลักการทำโครงงาน • จากพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด4 แนวทางจัดการศึกษา มาตรา22, มาตรา24, มาตรา26, การเรียนรู้ที่จะพัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ พร้อมทั้งฝึกกระบวนการคิด การจัดการ การแก้ไขปัญหา ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถเรียนรู้ได้อย่างผสมผสาน เกิดขึ้นได้ ทุกเวลา ทุกสถานที่ การจัดการศึกษา ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียน และพัฒนาตนเองได้ และถือผู้เรียนสำคัญที่สุด กิจกรรมการเรียนการสอน ที่ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้และค้นพบความรู้ด้วยตนเองที่สามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4มาตรา22, มาตรา 24, มาตรา 26 กิจกรรมหนึ่ง คือ การเรียนรู้ แบบ การทำโครงงาน (Project Work)

  3. ความหมายของโครงงาน • โครงงาน หมายถึง กิจกรรมที่ทำหรือเค้าโครงงานที่กำหนดไว้ • กิจกรรมที่ทำเป็นกระบวนการทำงานที่เกิดจากความต้องการของผู้เรียนริเริ่มขึ้นมาที่ต้องการจะศึกษา ค้นคว้า เรื่องต่าง ๆ จึงมีการกำหนดประเด็นปัญหาขึ้นมา กำหนดหัวข้อเรื่อง เขียนโครงร่างแบบขึ้นมาจากความคิดของตนเอง หรือระดมความคิด จากกลุ่มสมาชิกได้อย่างอิสระ หลังจากได้เค้าโครงงานที่กำหนดไว้แล้ว ก็เริ่มศึกษาประเด็นปัญหาข้อเรื่องนั้น โดยมีการวางแผน กำหนดกิจกรรมภาระงานต่างๆ พร้อมเก็บ รวบรวมข้อมูล จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และลงมือปฏิบัติจริงตามแผนที่วางไว้ ตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมบันทึกข้อมูลไว้ และสรุปผลการศึกษา

  4. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ • เทคโนโลยี (Technology)หมายถึง วิทยาการที่นำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ และอุตสาหกรรม • สารสนเทศ (Information)หมายถึง ข้อมูล ที่ได้ผ่านการประมวลผลแล้วจนได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในช่วงเวลาที่ต้องการของผู้ใช้ • เทคโนโลยีสารสนเทศ (InformationTechnology:IT) หมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การรวบรวมข้อมูลการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ รวมถึง เทคโนโลยี ที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้และการดูแลข้อมูลด้วย

  5. ประเภทของโครงงาน • โครงงานมีหลายรูปแบบ แบ่งเป็นโครงงานหลักๆได้ 2 ประเภท ดังนี้ • 1. โครงงานวิทยาศาสตร์ • - โครงงาน ประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล • - โครงงานประเภททดลอง • - โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ • - โครงงานประเภท การสร้างทฤษฎี หรือ การอธิบาย 2. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ - โครงงานทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

  6. โครงงานประเภทสำรวจ รวบรวมข้อมูล • เป็นโครงงานที่ผู้เรียน เพียงแสวงหา ความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่ศึกษา สำรวจ และรวบรวมข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับ เรื่องที่ต้องการศึกษา โดยไม่ต้องมีตัวแปร แล้วนำข้อมูลเหล่านั้น มานำเสนอ ในลักษณะที่ จำแนกเป็นหมวดหมู่ • เช่น สำรวจการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นม.3

  7. โครงงานประเภททดลอง • เป็นโครงงานที่มีการออกแบบการทดลองโดยกำหนดกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรใด ตัวแปรหนึ่งหรือหลายตัวแปร แล้วติดตามดูผล ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มทดลองโดยเปรียบเทียบ กับกลุ่มควบคุมโดยมีขั้นตอนการดำเนินงานของโครงงาน ดังนี้ • 1. การกำหนดปัญหา • 2. การตั้งจุดประสงค์ • 3. การตั้งสมมติฐาน • 4. การออกแบบการทดลอง • 5. การดำเนินการทดลอง • 6. การรวบรวมข้อมูล • 7. การแปรผลและสรุปผล นำข้อมูลที่ได้สร้างองค์ความรู้ใหม่

  8. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ • เป็นโครงงาน ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ที่นำเอาความรู้มาประยุกต์ ใช้ทั้งความรู้ทางทักษะช่าง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาสร้างสิ่งประดิษฐ์ หรือสร้างสิ่งใหม่ๆขึ้นมา หรือ พัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ของเดิมที่ มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม

  9. โครงงานประเภททฤษฎี • เป็นโครงงานที่นำเสนอแนวคิด หรือ ทฤษฎีใหม่ๆ โดยการใช้จินตนาการ ของตนเองมาอธิบายหลักการ ซึ่งอาจอธิบาย ในรูปสูตรหรือสมการหรือคำอธิบาย ผู้ทำโครงงานจะต้องมีความรู้ในเรื่องนั้น เป็นอย่างดี ซึ่ง จะสามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ

  10. โครงงานตามสาระการเรียนรู้โครงงานตามสาระการเรียนรู้ • เป็นโครงงานที่เน้นเนื้อหาสาระในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำรูปแบบของโครงงานวิทยาศาสตร์ ทั้ง 4 ประเภทมาใช้ แต่เนื้อหาเน้น สาระการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ กิจกรรมการเรียนการสอนของทั้ง 8 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ ได้แก่ • กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย • กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี • กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ • กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม • กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษา พลศึกษา • กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

  11. ขั้นตอนการทำโครงงาน การเลือกหัวข้อโครงงาน ในการเลือกหัวเรื่องทำโครงงานนั้นการได้มาของประเด็นปัญหาที่ จะทำโครงงาน ขึ้นอยู่กับ ความสามารถ ความถนัด ความสนใจและความต้องการของผู้เรียนนี้จะศึกษาเรื่องนั้น ๆ ในการพิจารณาเลือกเรื่องที่จะทำได้โครงงานก็ควรคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญดังนี้ • 1. ปัญหาหรือข้อสงสัยควรเป็นปัญหาใกล้ตัวผู้เรียน ซึ่งควรมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและ ประสบการณ์เดิมที่สามารถจะนำมาใช้ได้ • 2. มีเงินทุนและเวลาเพียงพอ • 3. มีแหล่งความรู้ที่จะศึกษาค้นคว้า • 4. สามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์ได้ • 5. ได้รับการ สนับสนุน จาก เพื่อน ผู้ปกครอง ครูที่ปรึกษา • 6. ประโยชน์และความคุ้มค่า ที่คิดว่าจะได้รับจากโครงงานนี้

  12. กำหนดเค้าโครงร่างของโครงงานกำหนดเค้าโครงร่างของโครงงาน • ก่อนที่จะทำโครงงาน ก็ต้องมี การออกแบบ เค้าโครงร่างของโครงงานก่อนเสมอพร้อมทั้งวางแผนการทำงานทั้งหมดว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร และทำเมื่อไร ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดมีกิจกรรมและขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร แล้วเขียนเค้าโครงร่างโครงงาน เพื่อนำเสนอ คุณครูผู้สอน เพื่อจะได้อนุมัติให้ทำโครงงานต่อไปโดยมีหัวข้อการเขียนเค้าโครง ดังนี้

  13. กำหนดเค้าโครงร่างของโครงงาน(ต่อ)กำหนดเค้าโครงร่างของโครงงาน(ต่อ) 1. ชื่อโครงงาน • 2. ชื่อผู้จัดทำ • 3. ชื่อคุณครูที่สอน ชื่อคุณครูที่ปรึกษา (ถ้ามี) • 4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน • 5. วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทำโครงงาน • 6. แผนปฏิบัติการ • 7. ผลของการศึกษาโครงงาน • 8. ประโยชน์และคุณค่าของโครงงาน • 9. ข้อเสนอแนะ • 10. เอกสารอ้างอิง • 11. ลงชื่อผู้ทำโครงงาน วัน เดือน ปี ที่เสนอ โครงงาน • 12. ความเห็นของคุณครูผู้สอน ลงชื่อคุณครูผู้สอน วัน เดือน ปี ที่ ตรวจโครงงาน

More Related