1 / 45

คาร์บอเนต

คาร์บอเนต. Carbonates. คาร์บอเนต.

derrick
Download Presentation

คาร์บอเนต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คาร์บอเนต Carbonates

  2. คาร์บอเนต • แร่ในหมู่คาร์บอเนตประกอบด้วยอนุมูล (CO3)2-เป็นอนุมูลที่มีพันธะระหว่าง C-O ที่แข็งแรงมาก กล่าวคือ การเกาะตัวกันในอนุมูล C-O3มีแรง 1 1/3 และแรงที่เหลือ 2/3 ที่ออกซิเจนแต่ละอนุมูลจะไปจับกับไอออนตัวอื่น ในโครงสร้างกลุ่มอนุมูล (CO3)2- จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานของแร่ในหมู่นี้ ส่วนการยึดเกาะของ CO2ซึ่งเป็นการยึดเกาะกันของพันธะโควาเลนท์ซึ่งแข็งแรงกว่า เป็นเหตุให้ CO2แตกตัวออกมาจากโครงสร้างแร่ได้หากมี H+ซึ่งได้จากกรดมาทำปฏิกิริยา คือ 2H+ + CO3 H2O + CO2 ส่งผลให้เกิดฟองฟู่ ซึ่งเป็นวิธีตรวจแร่คาร์บอเนตได้ดี

  3. คาร์บอเนต • คาร์บอเนตที่ไม่มี OH ยู่ในโครงสร้าง เรียกว่า แอนไฮดรัสคาร์บอเนต (Anhydrous carbonates) มีอยู่ 3 กลุ่ม แยกตามโครงสร้างที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มแคลไซต์ กลุ่มอะราโกไนต์ และกลุ่มโดโลไมต์ • ส่วนคอปเปอร์คาร์บอเนต ที่มี OH อยู่ เรียกว่าไฮดรัสคอปเปอร์คาร์บอเนต (Hydrous copper carbonates)

  4. คาร์บอเนต Calcite group (Hexagonal system, 3 2/m) • Calcite CaCO3 • Magnesite MgCO3 • Siderite FeCO3 • Rhodochrosite MnCO3 • Smithsonite ZnCO3

  5. คาร์บอเนต Aragonite group(Orthorhombic system, 2/m 2/m 2/m) • Aragonite CaCO3 • Witherite BaCO3 • Strontianite SrCO3 • Cerussite PbCO3

  6. คาร์บอเนต Dolomite group (Hexagonal system, 3) • Dolomite CaMg(CO3)2 • Ankerite CaFe(CO3)2 Hydrous copper carbonate • Malachite Cu2CO3(OH)2 • Azurite Cu3(CO3)2(OH)2

  7. แคลไซต์ (Calcite) • ระบบผลึก: ระบบสามแกนราบ (Hexagonal system) • รูปผลึกทั่วไป: ผลึกที่พบมีหลายแบบแตกต่างกันไป และมักซับซ้อนมาก โดยมีฟอร์มผลึกมากกว่า 300 ฟอร์ม ที่สำคัญคือ prismatic, rhombohedral, scalenohedral และฟอร์มผสมระหว่างฟอร์มต่างๆ อาจเกิดเป็นผลึกแฝด โดยมีระนาบแฝด คือ {0112} • การเกาะกลุ่มกันของผลึก: แคลไซต์อาจเกาะกลุ่มกันเป็นแบบผลึกหยาบ หรือผลึกละเอียด อาจเป็นผลึกละเอียดที่อัดตัวกันแน่น ด้านเหมือนดิน และแบบหินย้อย (stalactic)

  8. แคลไซต์ (Calcite) รูปผลึกแคลไซต์

  9. แคลไซต์ (Calcite) “Calcite butterfly twins”

  10. แคลไซต์ (Calcite) • คุณสมบัติทางเคมี สูตรเคมี: CaCO3 • คุณสมบัติทางกายภาพ ความถ่วงจำเพาะ(S.G.): 2.71สี(colour): แคลไซต์ที่บริสุทธิ์จะมีสีขาวถึงไม่มีสี (white to colourless) เรียกว่า ไอซ์แลนด์สปาร์(Iceland spar) ถ้าไม่บริสุทธิ์จะพบสีอื่นเจือจางอยู่บ้าง เช่น เทา แดง เขียว น้ำเงิน เหลือง สีผง(steak): ขาว

  11. แคลไซต์ (Calcite) ความแข็ง(hardness): 3 (แต่บนแนวแตกเรียบมีความแข็ง 2 ½) ประกาย(Luster): คล้ายแก้ว(vitreous) ถึงด้านเหมือนดิน(Dull) แนวแตกเรียบ(cleavage): มีแนวแตกเรียบสมบูรณ์บนแนว {0112} รอยแตก(fracture): คล้ายฝาหอย(conchoidal) ความโปร่งใส(Diaphenity): โปร่งใสถึงโปร่งแสง

  12. แคลไซต์ (Calcite) Calcite “ Iceland spar ”

  13. แคลไซต์ (Calcite) • องค์ประกอบและโครงสร้าง(crystal structure) แคลไซต์ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบใกล้เคียงกันกับ CaCO3ที่บริสุทธิ์ ถ้าบริสุทธิ์จะมี CaO 56% และ CO2 44% โดยมี Mn2+, Fe2+, Mg2+เข้าแทนที่ Ca บ้าง • ลักษณะที่ใช้จำแนก (Diagnostic features) ทำปฏิกิริยากับกรด เกิดฟองฟู่

  14. แคลไซต์ (Calcite) • การเกิด และแหล่งแร่ที่สำคัญ แคลไซต์เป็นแร่ประกอบที่พบได้ทั่วไปในหิน เป็นแร่ที่เด่นที่สุดในหินตะกอน ในหินปูนนั้นมีแร่แคลไซต์เป็นแร่หลักเพียงแร่เดียว รวมไปถึงหินปูนที่แปรสภาพใหม่เป็นหินอ่อน ก็ยังมีแคลเซียมคาร์บอเนตที่เป็นผงละเอียดอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังพบเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของหินปูนที่เกิดจากการสะสมตัววัตถุใต้ท้องทะเล เช่น เปลือกหอย กระดูกสัตว์ทะเลที่สะสมตัวกันเป็นชั้นหนา นอกจากนี้แร่แคลไซต์อาจได้จากการตกผลึกของสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนต แต่พบได้น้อย

  15. แคลไซต์ (Calcite) ในถ้ำหินงอกหินย้อย และแหล่งน้ำพุทั้งร้อนและเย็น มีการสะสมตัวของของแร่แคลไซต์ในลักษณะของคราบหินปูน ในบางครั้งเรียกว่า โอนิกซ์มาร์เบิล(Onyx marble) เกิดจากการตกผลึกของแร่แคลไซต์หรืออะราโกไนต์ โดยเกิดเป็นแถบซ้อนๆกัน โดยส่วนใหญ่มักพบที่ประเทศเม็กซิโก จึงเรียกว่า Maxican onyx

  16. แคลไซต์ (Calcite) แคลไซต์ยังเกิดในหินอัคนี หรือหินคาร์บอเนไทต์ (Carbonatite) และหินเนฟิลีนไซยาไนต์ (Nepheline syenite) เกิดจากการตกผลึกช่วงหลังในโพรงหินลาวา บางครั้งก็พบเกิดร่วมกับแหล่งแร่น้ำร้อนร่วมกับสินแร่ซัลไฟด์ด้วย แหล่งแร่ที่สำคัญ เช่น เยอรมนี อังกฤษ เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา สำหรับในประเทศไทย พบแทบทุกจังหวัด ที่มีหินปูน เช่น แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สระบุรี กาญจนบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี เป็นต้น

  17. แคลไซต์ (Calcite) • ประโยชน์ ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และทำปูนขาว หินปูนใช้เป็นวัตถุดิบในการก่อสร้าง อุตสาหกรรมเคมี สารปรับปรุงดิน นอกจากนี้ยังใช้ทำฟลักซ์ในการถลุงสินแร่ต่างๆ หินเม็กซิกันโอนิกซ์ใช้ทำเครื่องประดับ ส่วนไอซ์แลนด์สปาร์ ใช้ทำเครื่องมือทางแสง เช่น นิโคลปริซึม และทำแผ่นโพลารอยด์

  18. โรโดโครไซต์ (Rhodochrosite) • ระบบผลึก: ระบบสามแกนราบ (Hexagonal system) • การเกาะกลุ่มกันของผลึก: มักพบผลึกแบบเป็นกลุ่มก้อนที่ลอกออกเป็นกลีบได้ และแบบที่เป็นเม็ด ถึงอัดตัวกันแน่น(massive) • คุณสมบัติทางเคมี สูตรเคมี: MnCO3

  19. โรโดโครไซต์ (Rhodochrosite) • คุณสมบัติทางกายภาพ ความถ่วงจำเพาะ(S.G.): 3.5 – 3.7 สี(colour): สีชมพู คล้ายดอกกุหลาบ จนถึงสีแดง สีผง(steak): ขาว ความแข็ง(hardness): 3 ½ - 4 ประกาย(Luster): คล้ายแก้ว(vitreous) แนวแตกเรียบ(cleavage): มีแนวแตกเรียบสมบูรณ์บนแนว {1011} รอยแตก(fracture): คล้ายฝาหอย(conchoidal) ความโปร่งใส(Diaphenity): โปร่งใสถึงทึบแสง

  20. โรโดโครไซต์ (Rhodochrosite) • องค์ประกอบและโครงสร้าง(crystal structure) โรโดโครไซต์ที่บริสุทธิ์ประกอบด้วย MnCO3, MnO 61.7% และ CO2 38.3% อาจมี Fe2+เข้าแทนที่ Mn2+ แล้วทำให้เกิดอนุกรมผลึกผสมเนื้อเดียวได้อย่างสมบูรณ์ระหว่างแคลไซต์ และซิเดอร์ไรต์ • ลักษณะที่ใช้จำแนก (Diagnostic features) สีชมพูและแนวแตกเรียบที่เป็นรอมโบฮีดรัล มีความแข็งต่ำ ซึ่งต่างจากโรโดไนต์ซึ่งมีความแข็งมากกว่าถึง 6 ไม่หลอมละลายเวลาเผา แต่ละลายในกรดเกลือที่ร้อน และทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ

  21. โรโดโครไซต์ (Rhodochrosite) • การเกิด และแหล่งแร่ที่สำคัญ เกิดในสายน้ำแร่ร้อนร่วมกับ เงิน ตะกั่ว ทองแดง และแร่แมงกานีสอื่นๆแหล่งที่พบ เช่น ประเทศอาร์เจนตินา สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เปรู และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศไทบพบที่ จ.เลย แพร่ น่าน พิจิตร นราธิวาส และ สุราษฎร์ธานี • ประโยชน์ เป็นสินแร่แมงกานีสอันดับรอง นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องประดับด้วย

  22. โรโดโครไซต์ (Rhodochrosite)

  23. สมิทโซไนต์ (Smithsonite) • ระบบผลึก: ระบบสามแกนราบ (Hexagonal system) • รูปผลึกทั่วไป: เป็นรูปรอมโบฮีดรัล หรือสแกลีโนฮีดรัล มีขนาดเล็กและหายาก • การเกาะกลุ่มกันของผลึก: มักพบเป็นรูปไต รูปพวงองุ่น หรือรูปหินงอกหินย้อย และอยู่ในรูปตกผลึกที่ห่อหุ้มกันอยู่ หรือเป็นกลุ่มก้อนคล้ายรังผึ้ง นอกจากนี้ยังพบเป็นเม็ดถึงคล้ายดิน • คุณสมบัติทางเคมี สูตรเคมี: ZnCO3

  24. สมิทโซไนต์ (Smithsonite) • คุณสมบัติทางกายภาพ ความถ่วงจำเพาะ(S.G.): 4.30 – 4.45 สี(colour): น้ำตาล อาจพบไม่มีสี สีขาว เขียว น้ำเงิน ชมพู เหลือง สีผง(steak): ขาว ความแข็ง(hardness): 4 – 4 ½ ประกาย(Luster): คล้ายแก้ว(vitreous) แนวแตกเรียบ(cleavage): มีแนวแตกเรียบสมบูรณ์บนแนว {1011} รอยแตก(fracture): คล้ายฝาหอย(conchoidal) ความโปร่งใส(Diaphenity): โปร่งแสง

  25. สมิทโซไนต์ (Smithsonite)

  26. สมิทโซไนต์ (Smithsonite) • องค์ประกอบและโครงสร้าง(crystal structure) สมิทโซไนท์บริสุทธิ์จะมี ZnO 64.8% และ CO2 35.2% อาจมีไอออน Fe2+ เข้าแทนที่ Zn ได้ หากมีCo ปนเล็กน้อย ทำให้แร่เป็นสีชมพู ถ้ามี Cu จะมีสีเขียว หรือ เขียวอมน้ำเงิน และ Cd ทำให้เกิดสีเหลือง โครงสร้างของสมิทโซไนท์คล้ายคลึงกับโครงสร้างของแคลไซต์ • ลักษณะที่ใช้จำแนก (Diagnostic features) ละลายและเกิดฟองฟู่ในกรดเกลือที่เย็น ความแข็งและถ.พ.สูง

  27. สมิทโซไนต์ (Smithsonite) • การเกิด และแหล่งแร่ที่สำคัญ เป็นสินแร่สังกะสีที่เกิดในแหล่งแร่ตกตะกอนใหม่ ปกติมักพบในแหล่งหินปูน เกิดร่วมกับสฟาเลอร์ไรต์ กาลีนา เฮมิมอร์ไฟต์ เซรัสไซต์ แคลไซต์ และไลมอไนต์ อาจพบเป็นผลึกเทียมแฝงอยู่ในแคลไซต์ สมิทโซไนท์สีเขียว หรือเขียวอมน้ำเงิน โปร่งแสง พบในประเทศกรีก ส่วนลักษณะที่เป็นรูปหินย้อย เป็นแถบกลม และมีศูนย์กลางร่วม สีเหลือง พบในประเทศอิตาลี

  28. สมิทโซไนต์ (Smithsonite) นอกจากนี้ยังพบที่ประเทศนามิเบีย สหรัฐอเมริกา เช่น รัฐโคโลราโด อะคันซอ วิสคอนซิล นิวเม็กซิโก สำหรับในประเทศไทย พบที่แหล่งสังกะสีผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก และจ.กาญจนบุรี • ประโยชน์ เป็นสินแร่สังกะสี และใช้ทำเครื่องประดับ

  29. อะราโกไนต์ (Aragonite) • ระบบผลึก: ระบบสามแกนต่าง (Orthorhombic system) • รูปผลึกทั่วไป: พิระมิดรูปเข็ม ที่มีปลายเป็นฟอร์มไดพิระมิด, ผลึกรูปแบน และมักพบผลึกแฝดบนระนาบ {110}, ผลึกแฝดแบบเฮกซะโกนอลเทียม • การเกาะกลุ่มกันของผลึก: พบเป็นรูปไต รูปแท่ง และรูปหินย้อย • คุณสมบัติทางเคมี สูตรเคมี : CaCO3

  30. อะราโกไนต์ (Aragonite)

  31. อะราโกไนต์ (Aragonite) • คุณสมบัติทางกายภาพ ความถ่วงจำเพาะ(S.G.): 2.94 สี(colour): ไม่มีสี สีขาว เหลืองอ่อน และมีสีอื่นๆปนหลายสี สีผง(steak): ขาว ความแข็ง(hardness): 3 ½ - 4 ประกาย(Luster): คล้ายแก้ว(vitreous) แนวแตกเรียบ(cleavage): มีแนวแตกเรียบ {010} ชัดเจน รอยแตก(fracture): คล้ายฝาหอย(conchoidal) ความโปร่งใส(Diaphenity): โปร่งใสถึงโปร่งแสง (transparent to translucent)

  32. อะราโกไนต์ (Aragonite) • องค์ประกอบและโครงสร้าง(crystal structure) อะราโกไนต์ส่วนใหญ่มักบริสุทธ์ แต่อาจมี Sr และ Pb เข้ามาแทนที่ Ca บ้างเล็กน้อย แร่แคลไซต์สามารถเปลี่ยนเป็นแร่อะราโกไนต์ได้ โดยเกิดจากความดันและอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปดังกราฟที่ได้จากการทดลอง โดยโครงสร้างของอะราโกไนต์สามารถศึกษาได้จากวิธีเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์เท่านั้น แร่แคลไซต์เข้าแทนที่ในผลึกอะราโกไนต์ได้ ดังตัวอย่างของสาร CaCO3ที่ถูกขับออกมาจากสัตว์จำพวกหอย จะมีโครงสร้างเป็นแร่อะราโกไนต์ แต่ในที่สุดจะเปลี่ยนเป็นแร่แคลไซต์เมื่อสารดังกล่าวอยู่นอกเปลือกหอย

  33. อะราโกไนต์ (Aragonite) กราฟ แสดงการเปลี่ยนแปลงของแร่อะราโกไนต์ และแคลไซต์โดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความดัน

  34. อะราโกไนต์ (Aragonite) • ลักษณะที่ใช้จำแนก (Diagnostic features) เกิดฟองฟู่เมื่อหยดกรดเกลือลงไปบนแร่ แยกจากแคลไซต์โดยถ.พ.ที่สูงกว่า และไม่มีแนวแตกเรียบรอมโบฮีดรัล • การเกิด และแหล่งแร่ที่สำคัญ อะราโกไนต์จะมีความเสถียรน้อยกว่าแร่แคลไซต์ภายใต้สภาพบรรยากาศปกติ และเป็นแร่ไม่สามัญ อะราโกไนต์จะตกผลึกอยู่ในสภาพทางเคมี และกายภาพที่เป็นช่วงแคบ และมีอุณหภูมิต่ำบริเวณใกล้ผิวโลก จากการทดลองจะพบว่าอะราโกไนต์จะตกผลึกเมื่อสารละลายนั้นอุ่น ถ้าเย็นลงแล้วจะตกผลึกเป็นแร่แคลไซต์ เปลือกหอยที่มีลักษณะคล้ายมุก หรือในไข่มุกจะมีองค์ประกอบเป็นแร่อะราโกไนต์

  35. อะราโกไนต์ (Aragonite) นอกจากนี้อะราโกไนต์ยังตกผลึกโดยน้ำพุร้อน เกิดร่วมกับแร่ยิปซัม และสินแร่เหล็กซึ่งเกิดในลักษณะคล้ายปะการัง เรียกว่า Flos ferriบางครั้งพบเป็นเส้นใยหุ้มแร่เซอร์เพนทีนเอาไว้ พบในช่องว่างของหินบะซอลต์ แหล่งที่พบอะราโกไนต์เช่น สเปน อิตาลี เชคโกสโลวเกีย อังกฤษ ออสเตรีย เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ สำหรับประเทศไทยพบตามแหล่งหินปูน และในเปลือกหอย

  36. มาลาไคต์ (Malachite) • ระบบผลึก: ระบบหนึ่งแกนเอียง (Monoclinic system) • รูปผลึกทั่วไป: ผลึกเป็นแท่งผอมบาง แต่หาได้ยากมาก • การเกาะกลุ่มกันของผลึก: พบผลึกเป็นเส้นใยที่กระจายออกตามแนวรัศมี ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปพวงองุ่น หรือหินย้อย นอกจากนั้นยังพบเป็นเม็ด หรือเม็ดดิน • คุณสมบัติทางเคมี สูตรเคมี: Cu2CO3(OH)2

  37. มาลาไคต์ (Malachite) • คุณสมบัติทางกายภาพ ความถ่วงจำเพาะ(S.G.): 3.90 - 4.03 สี(colour): เขียวสด เขียวเข้ม และเขียวอมดำ สีผง(steak): เขียวอ่อน ความแข็ง(hardness): 3 ½ – 4 ประกาย(Luster): ผลึกมีประกายคล้ายเพชร(adamantine) ถึง คล้ายแก้ว(vitreous) ส่วนvarietyที่เป็นเส้นใยมีประกายคล้ายไหม(silky) อีกvarietyหนึ่งมีประกายด้านเหมือนดิน

  38. มาลาไคต์ (Malachite) แนวแตกเรียบ(cleavage): มีแนวแตกเรียบสมบูรณ์บนแนว {201} แต่พบได้น้อย รอยแตก(fracture): ไม่เรียบ(uneven) และแบบเส้นใย(fibrous) ความโปร่งใส(Diaphenity): โปร่งแสง (translucent) ถึงทึบแสง(opaque) • องค์ประกอบและโครงสร้าง(crystal structure) ประกอบด้วย CuO 71.95%, CO2 19.9% และ H2O 8.15%

  39. มาลาไคต์ (Malachite) • ลักษณะที่ใช้จำแนก (Diagnostic features) ละลายในกรดเกลือ ได้สารละลายสีเขียวและเกิดฟองฟู่ มีลักษณะเป็นรูปพวงองุ่น แยกจากแร่ทองแดงที่มีสีเขียวอื่นๆโดยการหยดกรด • การเกิด และแหล่งแร่ที่สำคัญ เกิดในแหล่งแร่ทองแดงแบบตกตะกอนใหม่ในเขตออกซิไดซ์ เกิดร่วมกับแร่อะซูไรต์ คิวไพรต์ ทองแดงธรรมชาติ ออกไซด์ของเหล็ก และยังพบในหินปูนด้วย

  40. มาลาไคต์ (Malachite) Malachite with Azurite Malachite with Cuprite

  41. มาลาไคต์ (Malachite) แหล่งที่สำคัญ เช่น เทือกเขาอูราลในรัสเซีย ฝรั่งเศส เกิดร่วมกับอะซูไรต์ในประเทศนามิเบีย ซาอีร์ และออสเตรเลีย แหล่งส่งออกที่ใหญ่คือ ประเทศซาอีร์ สำหรับประเทศไทยพบในแหล่งแร่ทองแดง หรือแหล่งแร่เหล็ก เช่น เลย ลพบุรี อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ และนครราชสีมา เป็นต้น • ประโยชน์ เป็นสินแร่ทองแดงอันดับรอง นอกจากนี้ยังใช้ทำเป็นอัญมณี เครื่องประดับมาตั้งแต่ในอดีต

  42. อะซูไรต์ (Azurite) • ระบบผลึก: ระบบหนึ่งแกนเอียง (Monoclinic system) • รูปผลึกทั่วไป: ไม่แน่นอน พบผลึกเป็นแบบแท่ง(prismatic) ส่วนใหญ่จะซับซ้อน และมีหลายฟอร์มผสมกัน และเป็นผลึกแปรรูป • คุณสมบัติทางเคมี สูตรเคมี: Cu3 (CO3)2 (OH)2

  43. อะซูไรต์ (Azurite) • คุณสมบัติทางกายภาพ ความถ่วงจำเพาะ(S.G.): 3.77 สี(colour): ฟ้าสด หรือสีคราม สีผง(steak): ฟ้า ความแข็ง(hardness): 3 ½ – 4 ประกาย(Luster): คล้ายแก้ว (vitreous) แนวแตกเรียบ(cleavage): มีแนวแตกเรียบสมบูรณ์บนแนว {011} รอยแตก(fracture): คล้ายฝาหอย (conchoidal) ความโปร่งใส(Diaphenity): โปร่งใส(transparent) ถึงโปร่งแสง (translucent)

  44. อะซูไรต์ (Azurite) • องค์ประกอบและโครงสร้าง(crystal structure) ประกอบด้วย CuO 69.2% CO2 25.6% และ H2O 5.2% • ลักษณะที่ใช้จำแนก (Diagnostic features) สีฟ้าสด และทำปฏิกิริยากับกรด เกิดเป็นฟองฟู่

  45. อะซูไรต์ (Azurite) • การเกิด และแหล่งแร่ที่สำคัญ เกิดในแหล่งแร่แบบตกตะกอนใหม่ เช่นเดียวกับมาลาไคต์ และมักเกิดร่วมกัน แหล่งที่พบ เช่น ประเทศฝรั่งเศส นามิเบีย โมร็อกโก ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา สำหรับในประเทศไทยพบในแหล่งทุตยภูมิ และในบริเวณแหล่งแร่ทองแดง เช่น จ.ตาก สงขลา อุตรดิตถ์ • ประโยชน์ เป็นสินแร่อันดับรอง และใช้เป็นเครื่องตกแต่ง

More Related