1 / 78

การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต

การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต. โดย นางสาวอรนุช บุญชู ตำแหน่งครูผู้ช่วย โรงเรียนอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสระแก้ว. วัฏ จักรชีวิตและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก. โครงสร้างของดอกและการสร้างสปอร์

deron
Download Presentation

การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโตการสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต โดย นางสาวอรนุช บุญชู ตำแหน่งครูผู้ช่วย โรงเรียนอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสระแก้ว

  2. วัฏจักรชีวิตและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกวัฏจักรชีวิตและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก • โครงสร้างของดอกและการสร้างสปอร์ • เรณู ถุงเอ็มบริโอ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์และการปฏิสนธิ • ผลและเมล็ด • การงอกของเมล็ด

  3. ข้อดีของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชข้อดีของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช 1.เหมาะสำหรับใช้ในการขยายพันธุ์พืชล้มลุกและพืชที่มีอายุสั้น เช่น ข้าว ผัก และไม้ดอกต่าง ๆ 2.ใช้ได้ดีกับพืชที่มีการผสมตัวเอง พืชพวกนี้แม้จะใช้เมล็ดเพาะ ต้นใหม่ก็จะไม่กลายพันธุ์ เช่น ข้าว  ถั่ว 3.ใช้สำหรับปลูกพืชที่มีระบบรากแก้วที่แข็งแรงและมีอายุยืน เช่น การปลูกสวนป่า  การปลูกต้นไม้ริมทาง 4.ใช้ในการผสมพันธุ์โดยตรง คือการรวมลักษณะที่ดีของพืช 2 ต้น ไว้ในต้นเดียวกัน ทำได้โดยเขี่ยละอองเรณูของต้นหนึ่งไปใส่บนยอดเกสรตัวเมียของอีกต้นหนึ่ง รอให้ดอกที่ได้รับการผสมติดผลจนแก่แล้วจึงนำเมล็ดไปเพาะ  เมล็ดที่ได้นี้จะเป็นเมล็ดพันธุ์ลูกผสม

  4. ข้อเสียของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศข้อเสียของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ 1.หากเป็นพืชพวกที่มีการผสมข้าม เมื่อนำเมล็ดไปเพาะ มักจะได้ต้นใหม่ที่มีลักษณะไม่ตรงกับต้นพ่อหรือต้นแม่  เนื่องมาจากต้นใหม่ได้รับลักษณะจากต้นพ่อและต้นแม่รวมกัน สังเกตได้จากการเพาะเมล็ดมะม่วง ต้นใหม่ที่ได้อาจมีรสชาติของผลต่างไปจากต้นเดิม 2.ต้นไม้ที่เกิดจากการเพาะเมล็ดจะใช้ระยะเวลานานกว่าจะติดผล เมื่อเทียบกับการขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่น

  5. ดอก (flower) ดอก เป็นส่วนของกิ่ง (shoot) ที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเพื่อทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ แตกต่างจากกิ่งธรรมดาตรงที่มีปล้องสั้น บริเวณข้อไม่มีตาเกิดขึ้นและมีการเจริญอยู่ในขอบเขตจำกัด กล่าวคือเมื่อส่วนต่าง ๆ ของดอกเกิดขึ้น การเจริญในส่วนปลาย (apical growth) จะสิ้นสุดลง

  6. ส่วนประกอบของดอก 1. ก้านดอก (peduncle หรือ pedicel) 2. ฐานรองดอก (receptacle หรือ thalamus) 3. กลีบเลี้ยง หรือ กลีบนอก (sepal) ซึ่งเรียกโดยรวมว่า วงกลีบเลี้ยง (calyx) 4. กลีบดอก หรือ กลีบใน (petal) มักมี สีสัน สวยงาม เรียกโดยรวมว่า วงกลีบดอก (corolla) และในกรณีที่กลีบเลี้ยงรวมกับกลีบดอก เรียก กลีบรวม ถ้ากลีบรวมอยู่รวมกันเรียก วงกลีบรวม (perianth)

  7. ส่วนประกอบของดอก 5. กลุ่มเกสรตัวผู้ (andoecium หรือ stamen) ประกอบด้วย ก้านชูเกสรตัวผู้ (filament) และอับเรณู(anther) ที่มี pollen อยู่ภายใน 6.กลุ่มเกสรตัวเมีย (gynoecium หรือ carpel หรือ pistil ) ประกอบด้วยก้านชูเกสรตัวเมีย (style) ยอดเกสรตัวเมีย (stigma) และรังไข่ (overy) ซึ่งอยู่ภายใน 7. ใบประดับ (bracteole) อยู่ช่วงฐานรองดอก

  8. โครงสร้างของดอกและการสร้างสปอร์โครงสร้างของดอกและการสร้างสปอร์ • ดอกไม้เป็นอวัยวะของพืชที่เปลี่ยนแปลงมากจากกิ่ง ประกอบด้วย 1.กลีบเลี้ยง ( sepal ) 2.กลีบดอก ( petal ) 3.เกสรตัวผู้ ( stamen ) 4.เกสรตัวเมีย ( pistil ) ส่วนประกอบหลักทั้ง 4 จะอยู่บนฐานรองดอก(receptacle) และก้านชูดอก ( peduncle )

  9. ประเภทของดอก 1. completeflower หมายถึง ดอกที่มีองค์ประกอบของกลีบ เลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย ทั้ง 4 ชั้น 2. incompleteflower หมายถึง ลักษณะดอกที่มีองค์ประกอบ ไม่ครบทั้ง 4 ชั้น • 2.1 ดอกสมบูรณ์เพศ( perfectflower) ประกอบด้วยเกสร • ตัวผู้ และเกสรตัวเมียแต่ขาดในชั้นของกลีบเลี้ยง • หรือ กลีบดอก

  10. ประเภทของดอก 2.2 ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfectflower) ส่วนดอกที่ ขาดในกลุ่มของเกสรตัวผู้หรือตัวเมีย • - ดอกตัวผู้ (staminateflower) ขาดเกสรตัวเมีย • - ดอกตัวเมีย (pistillateflower) ขาดเกสรตัวผู้ • - neutralflower หรือ sterileflower ขาดทั้งเกสร • ตัวผู้และตัวเมีย

  11. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ • (Imperfect flower ) • หมายถึงดอกไม้ที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่คนละดอก เช่น ดอกบวบ ดอกฟักทอง ดอกแตงกวา ดอกแตงโม ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect flower ) หมายถึงดอกไม้ที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน เช่น ดอกชบา ดอกกุหลาบ ดอกบัว ดอกราชพฤกษ์ เป็นต้น

  12. ตัวอย่างดอกสมบูรณ์เพศตัวอย่างดอกสมบูรณ์เพศ

  13. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower )

  14. การจำแนกชนิดของดอกโดยพิจารณาจำนวนดอกบนหนึ่งก้านดอกการจำแนกชนิดของดอกโดยพิจารณาจำนวนดอกบนหนึ่งก้านดอก • ดอกเดี่ยว(solitary flower) • หมายถึงดอกหนึ่งดอกที่พัฒนามาจากตาดอกหนึ่งตา ดังนั้นจึงมีหนึ่งดอกบนก้านดอกหนึ่งก้าน เช่น มะเขือเปราะ จำปี บัว อัญชัน เป็นต้น

  15. ดอกช่อ(inflorescence flower) • ดอกช่อ หมายถึงดอกหลายดอกที่อยู่บนก้านดอกหนึ่งก้าน เช่น เข็ม ผักบุ้ง มะลิ กะเพรา กล้วย กล้วยไม้ เป็นต้น แต่การจัดเรียงตัว และการแตกกิ่งก้านของช่อดอกมีความหลากหลาย

  16. ตัวอย่างช่อดอกแบบต่างๆตัวอย่างช่อดอกแบบต่างๆ

  17. ตัวอย่างช่อดอกแบบต่างๆตัวอย่างช่อดอกแบบต่างๆ

  18. ดอกช่อบางชนิดมีลักษณะคล้ายดอกเดี่ยว ดอกย่อยเกิดตรงปลายก้านช่อดอกเดียวกัน ไม่มีก้านดอกย่อย ดอกย่อยเรียงอยู่บนฐานรองดอกที่โค้งนูนคล้ายหัว เช่น ทานตะวัน ดาวเรือง บานชื่น ดาวกระจาย

  19. ดอกช่อแบบนี้ปะกอบด้วยดอกย่อยๆ 2 ชนิด คือ 1. ดอกวงนอกมี 1 ชั้นหรือหลายชั้นเป็นดอกสมบูรณ์เพศหรือไม่สมบูรณ์เพศก็ได้ ส่วนมากเป็นดอกตัวเมีย 2. ดอกวงในอยู่ตรงกลางมักเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปทรงกระบอก

  20. การเกิดและพัฒนาดอก 1. ระยะการเจริญเต็มวัย (maturestage) พืชทั่วไปสามารถออกดอกได้เมื่อเจริญเต็มวัยพืชหลายชนิดจะมีระยะเยาว์วัย (Juvenilephase) กล่าวคือเป็นระยะที่พืชมีการสร้างและสะสมอาหารในส่วนของลำต้น -มะม่วงมีระยะการเจริญเต็มวัยประมาณ 3-5 ปี -สับปะรด ประมาณ 8 เดือน -ถั่วเขียวประมาณ 5 สัปดาห์

  21. การเกิดและพัฒนาดอก 2. ระยะการชักนำ (induction stage) เป็นการเปลี่ยนแปลงขั้นแรก โดยพืชเริ่มมีการตอบสนองต่อการกระตุ้น หรือชักนำจากปัจจัยต่างๆ ทั้งนี้จะมีการเปลี่ยนจากระยะ vetgetativeเป็น reproductive มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อตา หรือยอดเปลี่ยนเป็นตาดอก

  22. การเกิดและพัฒนาดอก 3. ระยะเกิดตาดอก (initiationoffloralprimordia) เป็นระยะที่เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของตาที่จะเจริญเป็นดอก (floralprimodia) เนื้อเยื่อเจริญเริ่มขยายตัวทำให้มีการพองตัวของตาดอก

  23. การเกิดและพัฒนาดอก 4.ระยะพัฒนาของดอก (floral development หรือ organogenesis) เป็นระยะที่มีการเกิดส่วนอื่น ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นดอก โดยตาดอกจะสร้างกลีบเลี้ยง กลีบดอกเกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย

  24. การสืบพันธุ์เป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตในการที่จะดำรงเผ่าพันธุ์ไว้การสืบพันธุ์เป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตในการที่จะดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ 1.การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศหมายถึงการสืบพันธุ์ที่ต้องมีการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียและอวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์ของพืชก็คือดอก 2.การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศหมายถึงการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียแต่ใช้ส่วนต่างๆของพืชเช่นรากลำต้นใบไปปักชำติดตาตอนและทาบกิ่งเป็นต้น

  25. 1.1  กลีบเลี้ยงทำหน้าที่ห่อหุ้มดอกขณะที่ดอกยังตูมอยู่1.2 กลีบดอกจะมีรูปร่างลักษณะจำนวนและสีแตกต่างกันไปตามชนิดของดอกไม้จะอยู่ถัดจากชั้นของกลีบเลี้ยงเข้าไป1.3 เกสรตัวผู้จะมีลักษณะเป็นอับเล็กๆอยู่บนก้านชูอับละอองเรณูภายในมีละอองเรณูซึ่งมีลักษณะเป็นผงและมีรูปร่างแตกต่างกันไป

  26. 1.4 เกสรตัวเมีย • เกสรตัวเมียประกอบด้วย-  ยอดเกสรตัวเมียมีลักษณะเป็นปุ่มหรือแฉกเล็กๆมีสารเหนียวๆติดอยู่เพื่อดักจับละอองเรณู-  ก้านเกสรตัวเมียปลายก้านติดต่อกับรังไข่เป็นทางให้ละอองเรณูแทงหลอดลงไป-  รังไข่ภายในจะมีไข่อ่อนหรือออวุลบรรจุอยู่ภายในออวุลจะมีเซลล์ที่แบ่งตัวเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชเรียกว่าถุงเอ็มบริโอส่วนใหญ่ที่เกิดจากรังไข่เจริญขึ้นหลังได้รับการปฏิสนธิแล้วแต่ผลบางชนิดเกิดโดยไม่มีการปฏิสนธิเช่นกล้วยหอมแตงโมพวกนี้จะไม่มีเมล็ด

  27. การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ หรือการสร้างละอองเรณู (Microsporogenesis) • เกิดขึ้นภายในอับเรณู (Anther) ซึ่งประกอบด้วยอับละอองเรณู (Pollen Sac) อยู่ 4 อัน ภายในอับละอองเรณูจะมีเซลล์อยู่เป็นกลุ่ม ๆ แต่ละเซลล์เรียกว่า ไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์ (Microspore Mother Cell) ต่อมาภายในไมโครสปอร์แต่ละเซลล์จะมีการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสทำให้ได้ นิวเคลียส 2 อัน คือ เจเนอเรทีฟนิวเคลียส (Generative Nucleus) และ ทิวบ์นิวเคลียส (Tube nucleus)ต่อจากนั้นเซลล์จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะภายนอกซึ่ง แตกต่างกันตามชนิดของพืชซึ่งเรียกว่าละอองเรณูหรือแกมีโทไฟต์เพศผู้ (male gametophyte)

  28. การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย หรือ การสร้างไข่ (Megasporogenesis) ภายในรังไข่มีออวุล (ovule) และภายในออวุลเนื้อเยื่อนิวซลลัส (nucellus) ซึ่งไปเจริญเป็นเซลล์แม่ของเมกะสปอร์หรือเมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์ (megaspore mother cell) ซึ่งมีโครโมโซม 2n เมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์จะแบ่งตัวแบบไมโอซิสได้ 4 เซลล์ แต่ละเซลล์เรียกว่า เมกะสปอร์ (megaspore) ซึ่งจะสลายไป 3 เซลล์ เซลล์ที่เหลือจะขยายขึ้นแล้วมีการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซีส 3 ครั้ง ได้ 8 นิวเคลียส และจะมีการแยกย้ายของนิวเคลียสไปยังบริเวณต่างๆ ของเซลล์ดังนี้

  29. (1) แอนติโพแดล (antipodal) มี 3 นิวเคลียส อยู่ตรงข้ามกับรูไมโครไพล์ (micropile) (2) โพลาร์นิวคลีไอ (polar nuclei) มี 2 นิวเคลียส อยู่บริเวณกลางเซลล์ (3)ไข่ (egg) มี 1 นิวเคลียสอยู่บิเวณรูไมโครไพล์ (4) ซินเนร์จิด (synergid) มี 2 นิวเคลียสอยู่ด้านข้างของไข่ เมกะสปอร์ระยะนี้เรียกว่า ถุงเอมบริโอ(embryo sac)หรือแกมีโทไฟต์เพศเมีย (female sametophyte)

  30. การถ่ายละอองเรณู การปฏิสนธิ และวัฏจักรชีวิตของพืช 1. การถ่ายละอองเรณูของพืชดอก (Pollination) การถ่ายละอองเรณู หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ละอองเรณูปลิวมาตกบนยอดเกสรตัวเมียของดอกชนิดเดียวกัน การถ่ายละอองเรณูเกิดขึ้นเมื่อละอองเรณูเจริญเต็มที่ อับเรณูจะแตกออกทำให้ละอองเรณูกระจายออกไป โดยอาศัยลม น้ำ โดยเฉพาะ แมลงมีความสำคัญมากในการถ่ายละอองเรณูของพืชดอก และบนยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) ของพืชดอกจะมีน้ำเหนียวๆ ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ซึ่งช่วยในการดักละอองเรณู

  31. การถ่ายละอองเรณู มี 2 แบบ คือ 1. การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน หรือคนละดอกในต้นเดียวกัน (Self Pollination) การถ่ายละอองเรณูแบบนี้จะทำให้รุ่นลูกมีสมบัติทางกรรมพันธุ์เหมือนเดิม ถ้าเป็นพันธุ์ดีก็จะถ่ายทอดลักษณะพันธุ์ดีไปเรื่อย ๆ 2. การถ่ายละอองเรณูคนละดอกของต้นไม้คนละต้นในพืชนิดเดียวกัน (Cross Pollination) เป็นการถ่ายละอองเรณูแบบข้ามดอก หรือต่างต้นกัน ก็จะทำให้พืชมีลักษณะต่าง ๆ หลากหลายและอาจจะได้พืชพันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาได้

  32. การปฏิสนธิของพืชดอก (Fertilization) การปฏิสนธิ หมายถึง กระบวนการที่สเปิร์มนิวเคลียสอันหนึ่งเข้าไปผสมกับนิวเคลียสของเซลล์ไข่ และสเปิร์มนิวเคลียสอีกอันหนึ่งเข้าผสมกับเซลล์โพลาร์นิวเคลียส เรียกการปฏิสนธิ ลักษณะนี้ว่า การปฏิสนธิซ้อน (Double Fertilization) จะเห็นได้ว่าการปฏิสนธิของพืชดอกเกิดขึ้น 2 ครั้ง ระหว่างเซลล์ไข่กับสเปิร์มนิวเคลียสและระหว่างสเปิร์มนิวเคลียสอันหนึ่งกับโพลาร์นิวเคลียส เรียกว่า การปฏิสนธิซ้อน (Double Fertilization) หลังจากการปฏิสนธิแล้วออวุลแต่ละอันก็จะเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็นเมล็ด (Seed) เนื้อเยื่อเอนโดสเปิร์มจะกลายเป็นเนื้อเยื่อสะสมอาหาร

  33. การเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิสนธิของพืชดอกการเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิสนธิของพืชดอก

  34. หลังจากปฏิสนธิแล้วรังไข่         (ovary )     เจริญเป็น ผลผนังรังไข่     (ovary wall )     เจริญเป็น เปลือกและเนื้อของผลไม้ออวุล         (ovule )     เจริญเป็น เมล็ดไข่         (egg )         เจริญเป็น ต้นอ่อนอยู่ภายในเมล็ดโพลาร์นิวเคลียส (polar nucleus ) เจริญเป็น เอนโดสเปิร์มเยื่อหุ้มออวุล     (integument )     เจริญเป็น เปลือกหุ้มเมล็ด

  35. สำหรับส่วนประกอบอื่น ๆ ของดอกจะเหี่ยวแห้งและสลายตัวไปการปฏิสนธิซ้อนของพืชดอก มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างอาหารให้แก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น ผลไม้ที่เราใช้รับประทานก็เกิดมาจากการปฏิสนธิ อาหารพวกจ้าว ข้าวโพด ก็เป็นส่วนของเอนโดสเปิร์ม อาหารในเมล็ดถั่วหลายชนิดก็เป็นอาหารที่สะสมอยู่ในใบเลี้ยงของเอมบริโอของถั่ว

  36. วัฎจักรชีวิตของพืช

  37. วัฏจักรชีวิตแบบสลับของพืชดอกวัฏจักรชีวิตแบบสลับของพืชดอก • วัฏจักรชีวิตของพืชดอกในช่วงที่เห็นเป็นต้นพืชอยู่ทั่วๆ ไป มีโครงสร้างประกอบด้วย เซลล์แบบดิพลอยด์ (2n) ช่วงนี้จะเป็นช่วงดิพลอยด์หรือเรียกว่า สปอโรไฟต์ (Sporophyte) จากการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอกจะได้แกมีโทไฟต์เพศเมีย (Female Gametophyte) คือ ถุงเอ็มบริโอ ซึ่งภายในมี 8 นิวเคลียส และแกมีโทไฟต์เพศผู้ (Male Gametophyte) คือ ละอองเรณูซึ่งอยู่ในมี 3 นิวเคลียส นิวเคลียสเหล่านี้มีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ (n) มีขนาดเล็ก เมื่อไข่และสเปิร์มนิวเคลียสปฏิสนธิกันได้ไซโกต (Zygote) ซึ่งมีจำนวนโครโมโซมเป็นดิพลอยด์ ไซโกตก็จะเจริญเป็นเอ็มบริโอ (Embryo) และต้นอ่อนต่อไป

  38. วัฏจักรชีวิตแบบสลับของเฟิร์น (Fern) • ต้นเฟิร์นที่เราพบอยู่ทั่วไปเป็นช่วงระยะสปอโรไฟต์มีจำนวนโครโมโซมเป็น 2n เมื่อเจริญเต็มที่แล้วเฟิร์นจะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เมื่ออับสปอร์เจริญเต็มที่อับสปอร์จะแตกและปล่อยสปอร์ (Spore) ที่มีจำนวนโครโมโซมเป็น n สปอร์ จะถูกพัดพาไปตกลงบนพื้นดิน ถ้าพื้นดินอยู่ในสภาพที่เหมาะสมก็จะเจริญต่อไป โดยการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเจริญไปเป็นช่วงที่เป็นแกมีโทไฟต์ เมื่อแกมีโทไฟต์เจริญเต็มที่แล้วจะมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์จากอวัยวะสืบพันธุ์ คือสร้างไข่ (Ovum) จากอาร์คีโกเนียม และสร้างสเปิร์ม (Sperm) จาก แอนเทอริเดียม

  39. การเกิดผลและเมล็ด • หลังจากการปฏิสนธิแล้ว ออวุลแต่ละอันก็จะเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็นเมล็ด (Seed) ซึ่งมีสารอาหารผสมอยู่ด้วย และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) เพื่อห่อหุ้มเมล็ดไว้ภายในและช่วยในการกระจายพันธุ์ ผลพืชบางชนิดอาจมีส่วนอื่นๆ ของดอก เช่น กลีบเลี้ยงติดมาด้วย ได้แก่ ผลฝรั่ง ทับทิม มังคุด สับปะรด แอปเปิล หรือส่วนของฐานรองดอกหุ้มรังไข่แบบ อินฟีเรียร์เจริญมาด้วย ได้แก่ ผลชมพู่ ทับทิม มะเขือ และแอปเปิล ดังนั้นความหมายของผลที่สมบูรณ์คือ รังไข่ที่สุกแล้วอาจมีส่วนอื่นของดอกหรือฐานรองดอกเจริญตามมาด้วย

  40. การเกิดผลและเมล็ด • ยังมีผลบางชนิด ซึ่งเจริญมาโดยไม่มีการผสมเกสรเรียกแบบนี้ว่า ผลเทียม หรือผลแบบ พาร์ทีโนคาฟิก (Parthonocarpic) และเรียกวิธีการเกิดผลแบบนี้ว่า พาร์ทีโนคาฟี (Parthenocarpy) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเกิดจากการกระตุ้นโดยการใช้ฮอร์โมนพวกออกซิน จิเบอเรลลีน ฉีดพ่นทำให้รังไข่เจริญเป็นผลได้ และผลที่ได้โดยวิธีการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนนี้จะไม่มีเมล็ด คำว่าผลในแง่ของพฤกษศาสตร์ นอกจากจะหมายถึงผลไม้ที่รับประทานได้แล้ว เช่น องุ่น ส้ม มะม่วง ทุเรียน ลำไย เงาะ แอปเปิล ชมพู่ แล้วยังรวมไปถึงผลที่เรียกว่าผักต่างๆ เช่น ถั่ว มะเขือ แตงกวา กระเจี๊ยบ และผลที่เรียกว่าเมล็ดด้วย เข่น ข้าว ข้าวโพด และธัญพืชทั้งหลายด้วย

  41. โครงสร้างของผล • เมื่อรังไข่เจริญไปเป็นผล ส่วนของผนังรังไข่จะเจริญไปเป็นเนื้อผล หรือเจริญไปเป็นเปลือกของผลในผลไม้บางชนิด และเรียกผนังรังไข่ที่เจริญเปลี่ยนแปลงไปแล้วว่า เพอริคาร์ป (Pericarp)ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ด้วยกัน และแต่ละชั้นจะเจริญไปเป็นส่วนต่าง ๆ ของผล • เอพิคาร์ป (Epicarp or Exocarp) เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกที่เจริญไปเป็นเปลือกชั้นนอกสุด ส่วนมากมักเรียบ เหนียว และเป็นมัน เช่น มะม่วง มะปราง • มีโซคาร์ป (Mesocarp) เป็นเนื้อเยื่อชั้นกลางของเปลือก ชั้นนี้อาจจะบางหรือเป็นเนื้อเยื่อหนานุ่มกลายเป็นเนื้อผลก็ได้ เช่น มะม่วง พุทรา • เอนโดคาร์ป (Endocarp) เป็นเนื้อเยื่อชั้นในสุดของเปลือก ชั้นนี้มีการเปลี่ยนแปลงได้ต่างๆ กันแล้ว แต่ชนิดของผลไม้ บางชนิดชั้นนี้จะเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อผลไม้ เช่น แตงโม แตงกวา เป็นต้น

More Related