420 likes | 1.37k Views
การตัดสินใจทดแทนทรัพย์สิน Replacement and Retention Decisions. อาจารย์พงศ์พัฒน์ เพ็ชรรุ่งเรือง บัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. การตัดสินใจทดแทนทรัพย์สิน Replacement and Retention Decisions.
E N D
การตัดสินใจทดแทนทรัพย์สินReplacement and Retention Decisions อาจารย์พงศ์พัฒน์ เพ็ชรรุ่งเรือง บัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
การตัดสินใจทดแทนทรัพย์สินReplacement and Retention Decisions • การพิจารณาว่าจะทิ้งทรัพย์สินเก่าและนำทรัพย์สินใหม่มาทดแทนนั้น องค์ประกอบในการพิจารณาเพื่อตัดสินใจนั้นมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น - เรื่องของการลดลงของสมรรถนะ - การเปลี่ยนแปลงความต้องการ และ - ความล้าสมัย ดังนั้น การตัดสินใจทดแทนจึงต้องพิจารณาทั้งในเรื่องของมูลค่าทรัพย์สินเก่า อายุใช้งาน และต้นทุน
ความรู้พื้นฐานทางการศึกษาการทดแทนทรัพย์สินความรู้พื้นฐานทางการศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน ความจำเป็นในการศึกษาการทดแทนทรัพย์สินนั้นอาจเกิด จากหลายสาเหตุด้วยกันคือ • การลดลงของสมรรถนะ: เนื่องจากการเสื่อมสภาพทางด้านกายภาพของทรัพย์สินทำให้ความ สามารถในการทำงานลดลง ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การซ่อมงาน การเพิ่มขึ้นของเศษวัสดุ ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นแต่คุณภาพลดลง
ความรู้พื้นฐานทางการศึกษาการทดแทนทรัพย์สินความรู้พื้นฐานทางการศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน • การเปลี่ยนแปลงความต้องการ: มีความต้องการในการทำงานที่เพิ่มขึ้น เช่น ต้องการมีความถูกต้อง แม่นยำมากขึ้น มีความเร็วเพิ่มขึ้น ทำงานได้หลายอย่างมากขึ้น ทำให้ต้องการที่จะเปลี่ยนหรือทดแทนทรัพย์สินที่เคยมีอยู่
ความรู้พื้นฐานทางการศึกษาการทดแทนทรัพย์สินความรู้พื้นฐานทางการศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน • ความล้าสมัย: ท่ามกลางการแข่งขันอย่างมากและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี ทำให้ทรัพย์สินเดิมไม่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดไป แม้ว่าจะยังคงทำงานได้ดีตามที่ควรจะเป็น แต่อาจจะยังน้อยกว่าหรือช้ากว่าของทรัพย์สินใหม่ที่จะนำมาทดแทน
คำศัพท์ที่ต้องเข้าใจ • ผู้ป้องกันและผู้ท้าชิง (defender,D and Challenge, C): เป็นคำที่ใช้สำหรับการตัดสินใจแบบต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง (เลือกผู้ป้องกัน หรือผู้ท้าชิง) ผู้ป้องกัน มักหมายถึงทรัพย์สินที่กำลังถูกพิจารณาว่าสมควรถูกทดแทนหรือไม่ ส่วนผู้ท้าชิง หมายถึง ทรัพย์สินใหม่ที่กำลังถูกพิจารณาว่าสมควรนำมาทดแทนทรัพย์สินเก่าหรือไม่ • มูลค่ารายปี (Annual Worth, AW): เป็นค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่นิยมนำมาใช้เปรียบเทียบระหว่างผู้ท้าชิงและผู้ป้องกัน บางครั้งใช้คำว่ามูลค่าเทียบเท่ารายปี (Equivalent Uniform Annual Worth, EUAW
คำศัพท์ที่ต้องเข้าใจ • อายุใช้งานที่คุ้มค่าทางเศรษฐ์ศาสตร์ (Economic Service Life):เป็นจำนวนอายุ (ปี) ของทรัพย์สินใด ๆ ที่ให้ค่าใช้จ่ายรายปี (AW of costs) สามารถนำมาใช้คำนวณหาค่า ESL ของทั้งผู้ท้าชิงและผู้ป้องกัน • ราคาเริ่มต้นของผู้ป้องกัน (First Cost, Initial Cost): เป็นราคาเริ่มต้น (P) ของผู้ป้องกัน ส่วนมูลค่าตลาดในปัจจุบัน (the current market value, MV); มูลค่าแลกเปลี่ยน (Trade-in value) นั้นเป็นมูลค่า P ของทรัพย์สินต่อเมื่อการศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน • ราคาเริ่มต้นของผู้ท้าชิง (First Cost, Initial Cost): (คือมีผู้ท้าชิงเกิดขึ้นมา) เป็นราคาเริ่มต้น (P) ของผู้ท้าชิง
คำศัพท์ที่ต้องเข้าใจ • มูลค่าตามบัญชี (Book value):เป็นมูลค่าทรัพย์สินซึ่งเจ้าของทรัพย์สินประเมินราคาไว้ ณ เวลาใด ๆ • มูลค่าตลาด (Market value):เป็นมูลค่าทรัพย์สินซึ่งกำหนดโดยตลาด ณ เวลาใด ๆ • ต้นทุนจม (Sunk cost): เป็นผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชี กับมูลค่าตลาดต้นทุนจมเป็นความสูญเสียของต้นทุนซึ่งไม่สามารถนำมาทดแทนได้ในการศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน
สมมติฐานของการทดแทนทรัพย์สินสมมติฐานของการทดแทนทรัพย์สิน • การศึกษาการทดแทนทรัพย์สินเป็นการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน โดยใช้วิธีมูลค่ารายปีเป็นหลัก สมมติฐานของการทดแทนทรัพย์สินจึงคล้าย ๆ กับสมมติฐานของวิธีวิเคราะห์มูลค่ารายปี ข้อสมมติฐานมีดังนี้ - การใช้บริการของโครงการเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนในอนาคต - ผู้ท้าชิงเป็นผู้ท้าชิงที่ดีที่สุดในขณะนี้ (เวลาปัจจุบัน) ของผู้ป้องกัน เมื่อผู้ท้าชิง เข้ามาทดแทนผู้ป้องกันจะต้องทดแทนไปตลอดอายุการใช้งานของผู้ท้าชิง - การประมาณต้นทุนของผู้ท้าชิง ทุก ๆ รอบอายุของผู้ท้าชิงจะต้องคงเดิมเสมอ
ตัวอย่าง • ตัวอย่างตัวอย่างที่ 11.1 พื้นฐานทางการศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน P.214
อายุใช้งานที่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์(Economic Service Life, ESL) • อายุงานที่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Service Life, ESL) เป็นจำนวนปีใด ๆ ซึ่งมีมูลค่าเทียบเท่ารายปี (AW, EUAW) ของต้นทุนที่ต่ำที่สุด เมื่อพิจารณาจากจำนวนปีทั้งหมดนี้ทรัพย์สินจะถูกนำมาใช้งาน • ค่า ESL บางครั้งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อายุที่มีต้นทุนต่ำที่สุด (minimum cost life)
อายุใช้งานที่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์อายุใช้งานที่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ • ค่า ESL สามารถคำนวณหาได้โดยใช้ผลรวมของต้นทุนรายปีทั้งหมด (AW) ของทรัพย์สินที่ใช้พิจารณา ผลรวมของต้นทุนรายปี ประกอบไปด้วยมูลค่ารายปี (Capital Recovery, CR) ของเงินลงทุนครั้งแรก และมูลค่าซากใด ๆ กับมูลค่ารายปี (AW) ของต้นทุนการดำเนินการรายปี (AOC) แสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้ ต้นทุนรายปี = – CR – AW of AOC [11.1]
ลักษณะของเส้นโค้งต้นทุนรายปี (AW of costs curve) เมื่อส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดของต้นทุนทั้งหมดรายปีลดลง
สมการที่สมบูรณ์ของต้นทุนทั้งหมดรายปี ตลอด k ปี • สมการ 11.3 P.216 • ตัวอย่างที่ 11.2 อายุใช้งานที่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ P.217
การศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน(Performing a Replacement Study) • การศึกษาการทดแทนทรัพย์สินนั้นอาจกระทำได้ในแนวทางหนึ่งแนวทางใด ของ 2 วิธีดังต่อไปนี้ - ศึกษาโดยไม่มีช่วงเวลาที่แน่นอนกำหนดมาให้ - ศึกษาโดยมีช่วงเวลาที่แน่นอนกำหนดมาให้
การศึกษาการทดแทนทรัพย์สินการศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน
การศึกษาการทดแทนทรัพย์สินใหม่ (New Replacement study) การศึกษาการทดแทนทรัพย์สินใหม่ (New Replacement study) • ใช้ค่า AWC หรือ AWD ในการประเมินการเลือกผู้ท้าชิง (C) หรือผู้ป้องกัน (D) • เมื่อผู้ท้าชิงถูกเลือกนั้นคือ ทรัพย์สินเก่าจะถูกทดแทนด้วยทรัพย์สินใหม่ทันที และหมายความว่า นับจากเวลานี้ไปจะใช้ทรัพย์สินใหม่นี้ไปจนตลอดอายุการใช้งาน nc ปี ถือว่าการศึกษาการทดแทนกรณีได้เสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ • แต่ถ้าผู้ป้องกันถูกเลือกมีการวางแผนจะใช้ทรัพย์สินเก่าต่อไปตลอดอายุการใช้งาน nD ปี (ขั้นตอนนี้จะอยู่ด้านซ้ายมือของรูปที่ 11.2) ในปีหน้าให้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป
การศึกษาการทดแทนทรัพย์สินใหม่ (New Replacement study) การวิเคราะห์หนึ่ง – ปี – ต่อมา (One – Year – Later Analysis) • ให้ตรวจสอบดูว่าค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งราคาเริ่มต้น มูลค่าตลาด และ AOC ถูกแปลง ให้อยู่ในรูปเดียวกันทั้งหมดแล้วหรือไม่ ถ้ายังให้ข้ามไปขั้นตอนต่อไป ถ้าใช่และ ปีที่ nD ให้ทดแทนผู้ท้าชิง ถ้ายังไม่ใช่ปีที่ nD ให้ยังคงใช้ผู้ป้องกันต่อไปอีก 1 ปี และให้ทำขั้นตอนนี้อีกครั้งซึ่งบางครั้งอาจต้องทำซ้ำหลายครั้ง • ถ้าค่าประมาณการต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงให้ปรับค่าเหล่านั้นเสียใหม่ และคำนวณหาค่า AWC และ AWD
ตัวอย่าง • ตัวอย่างที่ 11.4 การศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน P.219
การบ้าน • ข้อที่ 11.1 หน้า 221 • ข้อที่ 11.4 หน้า 221 • ข้อที่ 11.6 หน้า 222