490 likes | 645 Views
ผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อประเทศไทย. อ.ดร.กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์ และ อ.ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อประเทศไทย.
E N D
ผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อประเทศไทยผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อประเทศไทย อ.ดร.กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์และ อ.ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อประเทศไทยผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อประเทศไทย • สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่และมีความเชื่องโยงทางเศรษฐกิจทั้งการค้าและการเงินกับประเทศอื่นๆในโลกอย่างกว้างขวาง • วิกฤตการณ์ซับไพรม์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯจึงสามารถส่งผลกระทบต่อภาคการเงินและเศรษฐกิจทั่วโลกได้อย่างมีนัยสำคัญ • ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ • งานศึกษาชิ้นนี้จึงตั้งประเด็นเพื่อวิเคราะห์ถึง • ‘ช่องทาง’ การส่งผ่านผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อระบบเศรษฐกิจไทย • สำรวจบทความวิจัยที่ผ่านมาเพื่อ ‘ประเมินผลกระทบในเบื้องต้น’ ที่อาจเกิดขึ้นต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย
ส่วนประกอบการบรรยาย • สาเหตุของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ • การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน • ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา • ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย • การส่งผ่านผลกระทบโดยช่องทางภาคการเงิน • การส่งผ่านผลกระทบโดยช่องทางตลาดทุน • การส่งผ่านผลกระทบโดยช่องทางการค้าระหว่างประเทศ • บทสรุป
1. สาเหตุของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ รูปที่ 1: อัตราการค้างชำระสินเชื่อบ้านของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มา: Bloomberg 1. สาเหตุของวิกฤตการณ์ซับไพรม์
1. สาเหตุของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ ภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของประเทศสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่ช่วงปีค.ศ. 1997 โดยราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 124 ระหว่างปีค.ศ. 1997-2006 ความหย่อนยานในมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อประเภทซับไพรม์จากการแข่งขันของบริษัทให้สินเชื่อที่สูง และภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ การเอื้อประโยชน์จากกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา การขาดมาตรฐานในการกำกับดูและการให้สินเชื่อประเภทซับไพรม์และการออกตราสารประเภทที่มีการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน (Securitization) 1. สาเหตุของวิกฤตการณ์ซับไพรม์
1. สาเหตุของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของระดับอัตราดอกเบี้ยในช่วงต่อมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ซับไพรม์ลดลง ความล้มเหลวของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินให้สะท้อนกับความเสี่ยงที่แท้จริง ทำให้เกิดภาวะความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล 1. สาเหตุของวิกฤตการณ์ซับไพรม์
2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน ขนาดของสินเชื่อซับไพรม์ในประเทศสหรัฐอเมริกามีมูลค่าน้อยกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อัตราการค้างชำระหนี้สูงประมาณร้อยละ 12-13 ความเสียหายจากสินเชื่อซับไพรม์อยู่ที่ประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.42 ของ GDP ของสหรัฐอเมริกา 2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน
2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน สินเชื่อประเภทซับไพรม์จะถูกแปลงสภาพจากสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) ในรูปแบบที่เรียกว่า Mortgage-Backed Securitization (MBS) MBS จะถูกจัดลำดับ และนำไปจัดเป็นกลุ่มรวมกัน (Pool) แปลงต่อเป็นตราสารที่เรียกว่า Collateralized Debt Obligation (CDO) สินทรัพย์เหล่านี้มีลักษณะเป็น off-balance sheet รวมอยู่ใน Structure Investment Vehicles (SIVs) 2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน
2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน 2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน
2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน ภาวะการขาดสภาพคล่อง มูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลง และการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือทำให้สถาบันการเงินต้องระดมเงินทุนเพิ่ม การขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทำให้การระดมทุนโดยการเพิ่มทุนนั้นไม่เพียงพอ พึ่งพิงเงินทุนจากตลาดเงิน ทำให้สภาพคล่องในตลาดเงินตึงตัว และความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น ระดับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคารจึงปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก สถาบันการเงินหลายแห่งต้องลดขนาดของสินทรัพย์ จนถึงระดมเงินทุนอย่างหนักถูกควบรวมหรือซื้อกิจการ ไปจนถึงอยู่ในภาวะล้มละลาย 2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน
2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน การมีธุรกรรมเกี่ยวเนื่องกับตราสารอนุพันธ์เป็นจำนวนมาก ทำให้ผลกระทบของสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง สามารถถ่ายทอดไปสู่สถาบันการเงินอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ตราสารอนุพันธ์ในสหรัฐอเมริกามีอยู่ถึง 180 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 90 เป็นลักษณะ over-the counter (OTC) ปัญหาลุกลามไปในประเทศอื่น ๆ เช่นในภูมิภาคยุโรป รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น อันเนื่องมาจากการลงทุนในตราสารที่มีปัญหาในสหรัฐอเมริกา และภาวะฟองสบู่แตกในอสังหาริมทรัพย์เช่นเดียวกัน 2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน
3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา รูปที่ 4: อัตราการเติบโตของ GDP และอัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกา ที่มา: Bloomberg 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา
สัญญาณของเศรษฐกิจถดถอยเพิ่งเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 3 ของปี 2008 ความปั่นป่วนของตลาดการเงินและตลาดทุนที่ผ่านมาเป็นการสะท้อนภาวะการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ปัญหาซับไพรม์ส่งผลให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น และมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อสูงขึ้น จึงทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรลดลง 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา
รูปที่ 5: อัตราการตัดจำหน่าย (Charge-off Rate) ของสินเชื่อในสหรัฐอเมริกา ที่มา: Federal Reserve 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา
การปรับตัวลดลงของราคาหุ้นยิ่งส่งผลให้อุปสงค์รวมในการใช้จ่ายและการลงทุนลดลงการปรับตัวลดลงของราคาหุ้นยิ่งส่งผลให้อุปสงค์รวมในการใช้จ่ายและการลงทุนลดลง การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในสหรัฐปรับตัวลดลงร้อยละ 3 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2008 (เป็นครั้งแรกนับจาก 1990 และต่ำสุดนับจาก 1981) อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 6.1 ในเดือนกันยายน 2008 มีการหดตัวในภาคการผลิต โดย Factory Index ปรับตัวลดลงมาที่ 43.50 ในเดือนกันยายน ซึ่งต่ำสุดนับจากต.ค. 2001 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา
อัตราการค้างชำระหนี้บัตรเครดิตในประเทศสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากอัตราการค้างชำระหนี้บัตรเครดิตในประเทศสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก สัญญาณลุกลามของปัญหาซับไพรม์มาที่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงอย่างหนัก จากปัญหาของอุตสาหกรรมรถยนต์ เมื่อ 3 บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาได้แก่ General Motors, Ford และ Chrysler ประสบการขาดทุนอย่างหนักจนจำเป็นต้องอาศัยเงินกู้ยืมฉุกเฉินจากรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือไม่ให้ตกอยู่ในภาวะล้มละลาย สาเหตุของการภาวะการขาดทุนอย่างหนัก เกิดเนื่องมาจากภาวะการขาดสภาพคล่องของตลาดเงินที่ทำให้ต้นทุนเงินทุนสูง รวมถึงราคาวัตถุดิบและน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา
ช่องทางภาคการเงิน ช่องทางตลาดทุน ช่องทางการค้าระหว่างประเทศ 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย
ช่องทางที่ 1: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางภาคการเงิน ประเทศไทยเริ่มเกิดสภาวะสภาพคล่องตึงตัวขึ้น และความเชื่อมั่นของการกู้ยืมเงินระหว่างสถาบันทางการเงินในประเทศลดลง BIBOR ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา TED spread เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.03 ในเดือนก.ย. มาอยู่ที่ 0.45 ในเดือนต.ค. แต่ยังต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวขึ้นมาสูงถึงร้อยละ 4-5 ในช่วงเดือนก.ย. – ต.ค. จากเดิมที่ระดับประมาณร้อยละ 1 ในช่วงต้นปี 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1
รูปที่ 7: อัตราดอกเบี้ย BIBOR อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล (1 เดือน) และผลต่างความเสี่ยง ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1 ช่องทางที่ 1: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางภาคการเงิน
สถานะทางการเงินของสถาบันการเงินไทยยังเข้มแข็งอยู่ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 1997 และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 1997 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้มีการปรับกฎระเบียบในการกำกับดูแลสถาบันการเงินให้มีความเข้มงวดขึ้นเป็นอย่างมาก อีกทั้งสถาบันการเงินต่าง ๆ มีการดำเนินนโยบายการปล่อยสินเชื่อและการลงทุนที่รัดกุมมากยิ่งขึ้น 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1 ช่องทางที่ 1: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางภาคการเงิน
อัตราส่วนเงินกู้ต่อเงินฝาก (Loan to deposit ratio) อยู่ในระดับที่ต่ำ คือประมาณร้อยละ 104.77 (ซึ่งในปี 1997 อัตราส่วนนี้สูงถึงร้อยละ 143.26) มีการดำรงสำรองสินทรัพย์สภาพคล่องไว้ถึงร้อยละ 11.7 ซึ่งสูงกว่าระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งไว้ มีอัตราส่วนหนี้สงสัยจะสูญต่ำ คือประมาณร้อยละ 6.43 (ซึ่งในปี 1997 อยู่ที่ระดับ 31.04) มีการตั้งสำรองสำหรับหนี้สงสัยจะสูญสูงถึงประมาณร้อยละ 70 โดยเฉพาะสถาบันการเงินขนาดใหญ่มีการตั้งสำรองไว้สูงมาก 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1 ช่องทางที่ 1: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางภาคการเงิน
มีการพึ่งพิงแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศต่ำ โดยมีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อส่วนของผู้ถือหุ้นคิดเป็นร้อยละ 0.90 และเป็นหนี้ระยะสั้นเพียงร้อยละ 0.58 โดยสถาบันการเงินไทยพึ่งพิงเงินทุนจากเงินฝากในประเทศเป็นหลัก มีการถือครองสินทรัพย์ต่างประเทศต่ำ โดยสถาบันการเงินไทยได้มีนโยบายปรับลดการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศเป็นอย่างมากนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2007 เป็นต้นมา ทำให้ธนาคารหลักมีสัดส่วนการถือสินทรัพย์ต่างประเทศประมาณร้อยละ 8.83 โดยเป็นการลงทุนในตราสารอนุพันธ์เพียงร้อยละ 0.18 และมีการตัดจำหน่ายตราสารที่มีปัญหาเช่น CDOs เรียบร้อยแล้ว 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1 ช่องทางที่ 1: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางภาคการเงิน
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภาคการเงินปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภาคการเงิน ความเสี่ยงจากหนี้สงสัยจะสูญที่อาจจะเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าการคาดการณ์ของสถาบันการเงิน จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหากหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นมาก จะทำให้เกิดความเสี่ยงจากผลประกอบการ (earning risk) แทน เนื่องจากสถาบันการเงินต้องตั้งสำรองเพิ่มสูงขึ้นมาก อีกทั้งยังต้องเผชิญกับต้นทุนเงินทุนที่สูง แม้ว่าหนี้สงสัยจะสูญจะมีแนวโน้มลดลงมาตลอด แต่เกิดจากการลดลงของหนี้เก่าที่มีการปรับโครงสร้าง หรือผ่านกระบวนการทางกฎหมายแล้ว ในขณะที่หนี้สงสัยจะสูญใหม่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1
สถาบันการเงินในภาวะที่ผู้ฝากเงินหรือผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นมีความเปราะบางมาก (Caplin and Leahy (1994), Cole and Kehoe (1996), Masson (1999)) เนื่องจากปัญหาความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล โดยทาง Fitch Ratings ได้มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินไทย 9 แห่งจากที่อยู่ในระดับ “stable” มาเป็น “negative” ในวันที่ 2 ธ.ค. 08 การถือหุ้นสถาบันการเงินไทยหลายแห่งโดยสถาบันการเงินต่างประเทศ 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1 ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภาคการเงิน
สรุปผลกระทบที่ส่งผ่านทางภาคการเงินสรุปผลกระทบที่ส่งผ่านทางภาคการเงิน สถาบันการเงินไทยในปัจจุบันมีสถานะเข้มแข็งต่อวิกฤตการณ์ซับไพรม์ที่เกิดขึ้น และยังยากที่จะเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง หรือ balance sheet risk อย่างไรก็ตามยังมีความเสี่ยงที่เกิดจากความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินและผู้ลงทุนที่ลดลง และความเสี่ยงจากผลประกอบการ (earning risk) หากหนี้สงสัยจะสูญที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยสูงขึ้นมาก 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 ช่องทางที่ 2: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางตลาดทุน • ในภาวการณ์ปัจจุบัน นักลงทุนได้ปรับรสนิยมทางความเสี่ยง • ลดน้ำหนักการลงทุนผ่านตลาดทุนซึ่งที่มีความเสี่ยงสูง • ปรับการลงทุนในตลาดของระบบเศรษฐกิจใหม่ (Emerging Countries) • ขายหุ้นเพื่อต้องการสภาพคล่อง ซึ่งจัดเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง • การขายหุ้นของนักลงทุนทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนและมีการปรับตัวลงของมูลค่าหุ้นในตลาดอย่างมาก • สิ่งดังกล่าวส่งผลกระทบไปยังสถานะทางสินทรัพย์ของภาคเอกชนและครัวเรือน (Wealth Effect) • ทำให้หน่วยเศรษฐกิจจะมีความสามารถในการใช้จ่ายลดลงและอาจก่อให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยได้
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 ช่องทางที่ 2: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางตลาดทุน • ณ ปัจจุบัน ตลาดหุ้นของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ซับไพรม์อย่างรวดเร็วและชัดเจนที่สุด • ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ได้ปรับตัวลดลงต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี และปรับตัวลดลงสูงสุดถึงประมาณร้อยละ 50 • ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สามารถอธิบายสาเหตุของการปรับตัวลงของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผลจากวิกฤตการณ์ซับไพรม์ได้ด้วยเหตุผล 3 ประการด้วยกัน 1.ผลกระทบที่ส่งผ่านจากต่างประเทศ (Spillover Effect) 2.ผลกระทบจากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) 3.ความอ่อนไหวของนักลงทุน (Investor’s Sentiment)
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 สาเหตุที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง: สาเหตุที่ 1 ผลกระทบที่ส่งผ่านจากต่างประเทศ (Spillover Effect) • Diebold และ Yilmaz (2008) พบว่าผลตอบแทนในตลาดหุ้นไทยนั้นขึ้นอยู่กับผลตอบแทนที่ส่งผ่านมาจากประเทศอื่นเป็นอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดอื่น ๆ โดยผลกระทบที่ส่งผ่านจากต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 41.8 ของผลกระทบทั้งหมด • ส่วนตลาดที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยมากที่สุดได้แก่ ฮ่องกง (ร้อยละ 7.8) อินเดีย (ร้อยละ 7.6) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 6.3) และเกาหลี (ร้อยละ 4.6) • ตลาดทุนของประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ซับไพรม์อย่างหนักถึงแม้ว่าระบบการเงินและภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทยยังไม่ได้รับผลกระทบจากซับไพรม์ก็ตาม
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 สาเหตุที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง: สาเหตุที่ 1 ผลกระทบที่ส่งผ่านจากต่างประเทศ (Spillover Effect) • การปรับตัวลงอย่างมากสืบเนื่องมาจากตลาดทุนของประเทศไทยมีขนาดเล็ก • สัดส่วนการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติสูง • นักลงทุนและกองทุนต่างชาติที่ลงทุนในตราสารที่เกี่ยวกับซับไพรม์ทำการเทขายสินทรัพย์อื่นๆ (ซึ่งรวมถึงหุ้นซึ่งมีสภาพคล่องสูง) เพื่อต้องการสภาพคล่อง เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุนและมูลค่าสินทรัพย์ลดลงอย่างหนัก • เมื่อเกิดปัญหา นักลงทุนจึงปรับลดรสนิยมทางความเสี่ยง (Risk Appetite) ซึ่งประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ (Emerging Markets) ซึ่งมีความเสี่ยงโดยเปรียบเทียบสูงกว่าตลาดอื่น ๆ • สิ่งดังกล่าว ทำให้นักลงทุนต่างชาติมีการขายหลักทรัพย์ไทยสุทธิต่อเนื่องมานับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2007 เป็นต้นมา • ทำให้ตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงมาตลอด เนื่องจากกำลังซื้อจากนักลงทุนและสถาบันในประเทศมีไม่เพียงพอที่จะต้านทานแรงเทขายจากนักลงทุนต่างประเทศไทย
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 สาเหตุที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง: สาเหตุที่ 2 ผลกระทบจากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) • ความมีประสิทธิภาพของตลาดทุน ทำให้ราคาหุ้นเคลื่อนไหวตามปัจจัยพื้นฐานเพื่อสะท้อนถึงผลการดำเนินงาน/กำไรของบริษัทที่จะเกิดขึ้น • อย่างไรก็ตาม Jirasakuldech, Emekter และ Rao (2008) พบว่า ราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงาน (Earnings) และไม่ได้สะท้อนถึงมูลค่าพื้นฐานของบริษัท (Fundamental Value) ของบริษัทผู้จดทะเบียนแต่อย่างใด • ราคาหลักทรัพย์สะท้อนถึงการคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้น • Kaminsky, Lizondo และ Reinhart (1998) พบว่าราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์เป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น • ดังนั้น การปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมาอาจจะสะท้อนให้เห็นถึง การคาดการณ์ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ได้
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 สาเหตุที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง: สาเหตุที่ 3 ความอ่อนไหวของนักลงทุน (Investor’s Sentiment) • การปรับตัวลดลงของราคาหุ้นในหลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าพื้นฐานที่แท้จริงแต่เกิดขึ้นเนื่องจากความอ่อนไหวของนักลงทุนที่ต่อเหตุการณ์ในขณะนั้น ซึ่งเกิดจากเหตุ 3 ประการ กล่าวคือ • ข้อมูลข่าวสารไม่สมบูรณ์ (Asymmetric Information) • ปัญหาความไม่แน่นอน (Uncertainty) • พฤติกรรมการตัดสินใจของนักลงทุน (Agent Decision Making) • ปัจจัย 3 ประการมีผลต่อจิตวิทยาของนักลงทุน สิ่งดังกล่าวอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมหมู่ (Herding Behavior) ส่งผลกระทบให้ราคาหลักทรัพย์ของประเทศไทยยิ่งปรับตัวต่ำลงมาอีก
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 ผลกระทบอาจเกิดขึ้นจากช่องทางตลาดทุน 1: Wealth • หุ้นเป็นเครื่องมือในการลงทุนประเภทหนึ่ง การปรับตัวลดลงของราคาหลักทรัพย์ สามารถส่งผลกระทบต่อสถานะทางสินทรัพย์ ทำให้หน่วยเศรษฐกิจมีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยและลงทุนลดลง (Wealth Effects) • IMF (2008) พบว่า การลดลงของราคาหลักทรัพย์ในตลาดกำลังพัฒนาร้อยละ 10 จะทำให้ • การบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.12 ในระยะสั้น และ 0.15 ในระยะยาว • การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 1 • ดังนั้น การปรับตัวลงของดัชนีหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยร้อยละ 50 อาจส่งให้การบริโภคลดลงประมาณร้อยละ 0.6 และทำให้การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 5 หรือคิดเป็นการลดลงของ GDP เท่ากับร้อยละ 1.4
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 ผลกระทบอาจเกิดขึ้นจากช่องทางตลาดทุน 2: Volatility • ความผันผวนที่สูงขึ้นของตลาดทุน (Stock Market Volatility) • ความผันผวนมากขึ้น ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น Funding Cost เพิ่มสูงขึ้น Required Rates of Return เพิ่มขึ้นแรงจูงใจในการลงทุนของธุรกิจลดลง • ความผันผวนมากขึ้น การคาดการณ์ของนักลงทุนและผู้บริโภค ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค/นักลงทุนลดลงการจับจ่ายใช้สอย/การลงทุนลดลง
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ช่องทางที่ 3: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางการค้าระหว่างประเทศ Source: IMF, BoT, TISCO Research
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ช่องทางที่ 3: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางการค้าระหว่างประเทศ • การชะลอตัวของระบบเศรษฐกิจโลก ทำให้อุปสงค์ภายนอกประเทศที่มีต่อสินค้าของไทยลดลง • ผลกระทบเกิดขึ้นผ่านภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศคู่ค้าที่ประสบปัญหา • อย่างไรก็ดี ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่นั้น เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งอาจทำให้ผลกระทบจากการชะลอตัวของระบเศรษฐกิจหนึ่งๆกระจายตัวไปสู่การค้าระหว่างประเทศในวงกว้างได้
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ช่องทางที่ 3: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางการค้าระหว่างประเทศ • รูปแบบของการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นมีทั้งวัตถุประสงค์เพื่อ • นำไปบริโภคขั้นสุดท้าย การเชื่อมโยงการค้าทางตรง • นำไปเป็นสินค้าขั้นกลางเพื่อการผลิตต่อ การเชื่อมโยงการค้าทางอ้อม • BIS พบว่า ร้อยละ 70 ของมูลค่าการนำเข้าของจีนคือสินค้าขั้นกลางที่ถูกนำเข้ามาเพื่อการผลิตต่อ กว่าร้อยละ 57 ของจำนวนนั้นนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย • ในขณะที่ สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของจีนเป็นสินค้าขั้นสุดท้ายและสินค้าทุน ในปี ค.ศ. 2005 สินค้าที่ประเทศจีนส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปกว่าร้อยละ 72 และร้อยละ 68 เป็นสินค้าขั้นสุดท้าย
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 การเชื่อมโยงทางการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 การเชื่อมโยงทางการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 การเชื่อมโยงทางการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 เมตริกการค้าระหว่างประเทศ • Xij = export of country i to country j • Xi = total export of country i • Mj = total import from country j ที่มา: Manprasert (2008)
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ระดับความเชื่อมโยงทางการค้าสุทธิ ที่มา: Manprasert (2008)
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ระดับความเชื่อมโยงทางการค้าสุทธิ ที่มา: Manprasert (2008)
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ระดับความเชื่อมโยงทางการค้าสุทธิ • Manprasert (2008) พบว่า ความสัมพันธ์ทางการค้าไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่รูปแบบทางการค้าได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีประเทศจีนเข้ามามีบทบาทในการค้าโลก • ปัจจุบัน กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเป็นผู้ส่งออกสินค้าวัตถุดิบให้กับประเทศจีนเป็นผู้ผลิต และส่งสินค้าขั้นสุดท้ายต่อไปให้กับประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรป
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ผลกระทบอาจเกิดขึ้นจากช่องทางการค้า • Park (2007) ได้ใช้แบบจำลอง The Oxford Economics’ Global Model ศึกษาผลกระทบจากการที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาชะลอตัวลงต่อระบบเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย • วิเคราะห์ผลกระทบผ่านการชะลอตัวลงของการส่งออกทั้งทางตรงและทั้งทางอ้อมของกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออก
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ผลกระทบอาจเกิดขึ้นจากช่องทางการค้า • ผลการศึกษาพบว่า การชะลอตัวลงของประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถส่งผลกระทบต่อการเติบโตของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกได้อย่างมีนัยสำคัญ • การที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นช้ากว่าปกติร้อยละ 1 จะทำให้อัตราการเติบโตของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลงประมาณร้อยละ 0.50 ต่อปี • ช่องทางการส่งผ่านเกิดขึ้นทางการชะลอตัวของการส่งออกเป็นสำคัญ • นอกจากนั้น การส่งผ่าน Shocks จะยิ่งรุนแรงขึ้นเกือบเท่าตัวหากการชะลอตัวส่งผลกระทบให้การลงทุนของประเทศจีนชะลอตัวลง • อัตราการเติบโตของกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกจะชะลอตัวในอัตราเกือบจะเท่ากับร้อยละ 1 ต่อปี ทั้งนี้การส่งออกจะถูกกระทบอย่างมาก โดยจะชะลอตัวลงถึงร้อยละ 1.5 - 1.9 ต่อปี
4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ผลกระทบอาจเกิดขึ้นจากช่องทางการค้า • การเชื่อมโยงสุทธิ ซึ่งรวมถึงการเชื่อมโยงการค้าทางอ้อมผ่านหว่งโซ่การผลิตระหว่างประเทศไทยและ G3 นั้นยังมีนัยสำคัญอยู่ และสามารถส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ • ในเดือน พฤศจิกายน 2551 การส่งออกจีนลดลง ร้อยละ 2.2 ในขณะที่การนำเข้าลดลงถึงร้อยละ 18 • สิ่งดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความกังวลที่อาจเกิดขึ้นได้ จากการส่งผ่านผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ที่เกิดขึ้นมายังประเทศไทยผ่านช่องทางภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา
5. บทสรุป 5. บทสรุป • วิกฤตการณ์ซับไพรม์สามารถส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศไทยโดยผ่าน 3 ช่องทาง คือ ผ่านทางตลาดการเงิน ผ่านตลาดทุน และผ่านการค้าระหว่างประเทศ • จากการรวบรวมและสำรวจบทความวิจัย เราพบว่า วิกฤตการณ์ซับไพรม์ จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจจริงของประเทศไทยได้ผ่าน 2 ช่องทางหลัง คือ ผ่านตลาดทุนและการค้าระหว่างประเทศ ส่วนช่องทางการเงินอาจจะเป็นตัวเสริมความรุนแรงให้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลังจากเกิดปัญหาในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงแล้ว • วิกฤตซับไพรม์น่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเป็นผลอันเนื่องมาจากการปรับตัวลดลงของราคาหลักทรัพย์ในตลาดทุนและความผันผวนที่สูงขึ้น อีกทั้งการส่งออกรวมที่จะลดลงจากอุปสงค์ทางตรงและทางอ้อมผ่านทางความต้องการของสินค้าขั้นกลาง
ขอบพระคุณ Q&A