240 likes | 370 Views
มิตรภาพบำบัด การลดความแออัดในผู้ป่วยเบาหวาน. ทีม PCT โรงพยาบาลดอนเจดีย์ 1-04-2554. มิติผู้ให้บริการ มิติผู้รับบริการ. การลดความแออัดในผู้ป่วยเบาหวาน / ผลการดำเนินงาน. มิติผู้ให้บริการ / ปัญหาและอุปสรรคที่พบ (ตัวอย่าง)
E N D
มิตรภาพบำบัดการลดความแออัดในผู้ป่วยเบาหวานมิตรภาพบำบัดการลดความแออัดในผู้ป่วยเบาหวาน ทีมPCT โรงพยาบาลดอนเจดีย์ 1-04-2554
มิติผู้ให้บริการ • มิติผู้รับบริการ การลดความแออัดในผู้ป่วยเบาหวาน / ผลการดำเนินงาน
มิติผู้ให้บริการ / ปัญหาและอุปสรรคที่พบ (ตัวอย่าง) • การส่งกลับผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี 80-150mg% กลับรับยาต่อที่สอ. ภายใต้ระบบการส่งกลับ • คนไข้บางส่วนไม่อยากกลับไปที่ สอ. เนื่องจากยาไม่เหมือนที่รพ. ยาอื่นนอกจากยาเบาหวาน เช่น ยาแก้เวียนศีรษะ ยาแก้ปวด ก็ไม่เหมือนกับที่รพ. ทำให้ส่วนหนึ่งกลับมาที่รพ.เหมือนเดิม • การส่งกลับ โดยการคัดกรองโดยแพทย์และพยาบาลยังน้อยอยู่ ไม่ได้สอบถามความต้องการและไม่ได้คัดกรองค่าระดับ FBSที่ควบคุมได้ตามเกณฑ์เพื่อส่งกลับ อาจเพราะภาระงานยุ่ง การลดความแออัด มิติผู้ให้บริการ
แยกผู้ป่วยตามระดับการควบคุมได้ของน้ำตาล ผู้ป่วยที่ระดับน้ำตาลดีมาก (80-120 mg% ติดต่อกัน > 3 ครั้ง) และไม่มี Complicationให้สามารถรับยาได้โดย พยาบาลเวชปฏิบัติ • พยาบาลเวชปฏิบัติมีน้อย • คนไข้บางคนยังอยากที่จะตรวจรักษากับแพทย์ การลดความแออัด มิติผู้ให้บริการ
กระจายวันนัดตรวจของแพทย์ พร้อมระบุเกณฑ์ขั้นต่ำผู้ป่วยเบาหวานแต่ละวันที่จะตารวจ • ไม่สามารถกระจายวันนัดได้ เนื่องจากติดปัญหาว่าโปรแกรม HosXPไม่สามารถกระจายวันนัด ยังคงอาศัยแพทย์ในการคลิกเลือกวันที่ผู้ป่วยน้อยอยู่ ทำให้เสียเวลาเท่าเดิมหรือมากขึ้น • ย้ายคลินิกหอบหืดไปวันอื่นที่ไม่ตรงกับคลินิกเบาหวาน เช่น เป็นวันศุกร์บ่าย ทุกสัปดาห์ที่ 2และสัปดาห์ที่ 4ของเดือน เลื่อนคลินิกยาเสพติดเป็นบ่ายวันจันทร์ • ติดเรื่องสถานที่ และจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ทำงานซ้ำซ้อนกัน การลดความแออัด มิติผู้ให้บริการ
การลดความแออัด มิติผู้ให้บริการ ประสบปัญหาหลายอย่าง และทำไม่ได้จริง • ทางทีมจึงหันมาเน้น ลดความแออัดของผู้ป่วยเบาหวานใน มิติของผู้รับบริการแทน • โดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง • สอบถามปัญหาที่ผู้ป่วยประสบจริงๆ • สอบถามว่าผู้ป่วยอยากได้อะไร อยากให้ทางรพ.ช่วยเหลืออย่างไร เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการตรวจรักษา ไม่แออัด ไม่รอนาน • รับฟังข้อเสนอของผู้ป่วย • นำมาเข้าที่ประชุม รวบรวมปัญหาที่ได้มา หาทางออกให้คนไข้ ประยุกต์จากแนวคิดของผู้ป่วยให้ทำได้จริง วางแนวทางการดำเนินงาน ประสานงานจุดบริการต่างๆ การลดความแออัด มิติผู้รับบริการ
ตัวอย่าง ปัญหาและอุปสรรค ที่ผู้ป่วยร้องขอมา ผ่านแพทย์ • “ต้องมารอเจาะเลือดกันตั้งแต่เช้า แต่กว่าจะได้ตรวจจริงก็สาย ต้องรอหมอ บางทีกว่าจะเสร็จก็บ่ายก็เย็น ยิ่งวันหมอน้อยยิ่งรอนาน ทนไม่ไหวก็กลับก่อน” • อยากเจอหมอ แต่ไม่อยากรอนาน ไม่อยากไปรับยาที่สอ.เพราะยาไม่ดี ไม่เหมือนที่รพ. • อยากให้เจาะเลือดไวๆ การลดความแออัด มิติผู้รับบริการ
1. คนไข้เสนอ • “เจาะอนามัยเอาผลมาให้หมอได้ไหม” (ทางทีมก็ย้อนคิดถึง ผป.ที่มีศักยภาพในการไปตรวจเอง ที่คลินิก ซึ่งทำให้ได้รับการตรวจรักษาเร็วกว่ากลุ่มคนไข้ที่ต้องมารอเจาะเลือด ) • จึงเกิดความคิดในการแก้ปัญหาของการรอคอยการตรวจเลือดนาน โดยการกระจายผู้ป่วยกลับสู่ชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจรักษา ให้ตรวจเลือดได้ไกล้ๆบ้าน โดยงดน้ำงดอาหารไปเจาะเลือดตามปกติ แต่จัดหาทีมในการเจาะเลือดและรายงานผลเลือด นั่นคือ
จนท.อนามัย • อสม. • เนื่องจากอสม.มีความใกล้ชิดกับชาวบ้านและผู้ป่วยมาก อีกทั้งอสม.หลายท่านก็มีเครื่องเจาะน้ำตาลอยู่แล้ว ทางทีมจึงคิดว่าจะฝึกฝนการตรวจเลือดเบาหวานให้ อสม. พร้อมวิธีการรายงานผล มีใบแบบฟอร์มการรายงานผล FBSเช่นเดียวกับที่สอ. ผู้ป่วยไม่ต้องลำบากเดินทางมาสอ.หรือมารพ. สามารถเดินไปบ้านของอสม.ใกล้ๆได้เลย โดยงดน้ำงดอาหารมาเจาะตรวจตามปกติ แล้ววันถัดไปค่อยนำผลมารพ.เพื่อตรวจรักษาและรับยากับแพทย์
จัดทำโครงการตรวจน้ำตาลใกล้บ้าน : การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการร่วมตรวจรักษา ด้วยการให้ผป.สามารถตรวจ FBSได้ใกล้บ้าน ผ่าน อสม. และ สอ. เพื่อลดเวลารอคอยของผู้ป่วยที่รพ.
สิ่งที่ต้องเตรียม • สำรวจความพร้อมของ สอ. และ อสม. สำรวจจำนวนเครื่องเจาะตรวจน้ำตาล ที่มีอยู่แล้ว ว่ามีเพียงพอหรือขาดไปมากน้อยเท่าไร • เอกสารแบบฟอร์มการเจาะตรวจเลือดเบาหวาน ที่มีรูปแบบเดียวกัน มีตราประทับของรพ.ดอนเจดีย์ วางระบบการจ่ายแบบฟอร์มนี้ โดยจะจ่ายให้ที่รพ.เวลาผู้ป่วยมาตรวจตามนัด แจกพร้อมใบนัด หากครั้งหน้าต้องตรวจเลือดมากกว่า FBS ให้งดแจกแบบฟอร์มนี้ ให้แจกเพียงใบนัดอย่างเดียว • จัดอบรมความรู้และทักษะในการตรวจเลือดเบาหวาน แก่ อสม. พร้อมแนะนำการดูแลเครื่องและการตรวจสอบมาตรฐานเครื่องทุกเดือน • ประชาสัมพันธ์ว่าผู้ป่วยสามารถไปตรวจ FBS ใกล้บ้านได้แล้ว สะดวกรวดเร็ว • ผู้ป่วยจะต้องไปตรวจ FBS ก่อนมาตรวจรักษาที่รพ.ภายใน 3 วัน
2. คนไข้ถามว่า เป็นเบาหวาน อะไรทานได้ อะไรทานไม่ได้ “ฉันไม่รู้ว่าทานอันนั้นอันนี้แล้วเบาหวานมันจะขึ้น” (แม้จะได้แจกเอกสารอาหารในผู้ป่วยเบาหวานไปแล้วก็ตามที) คิดว่ากินม่วงสุกลูกเดียวไม่น่าขึ้นก็ขึ้น อยากให้มีตัวบอกไปเลยว่า อะไรกินเท่าไร แล้วน้ำตาลจะขึ้นเท่าไร ถ้ารู้ว่าขึ้นเยอะจะได้ไม่กิน , บางครั้งถามแพทย์ถามพยาบาล ว่ากินสิ่งนั้นน้ำตาลขึ้นเยอะไหม จนท.ก็ให้คำตอบไม่ได้ การลดความแออัด มิติผู้รับบริการ
แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยนั้นอาจยังขาดความเข้าใจในการปฏิบัติตัว ในการควบคุมอาหารอยู่ อาจเป็นเหตุให้เบาหวานขึ้นสูงมากเกินไป จนต้องมา Visitรพ.บ่อยๆ • เมื่อตรวจสอบใบควบคุมอาหารที่แจกไป ก็จึงพบว่าจริงอย่างผู้ป่วยบอก เพราะใบที่แจกไม่บอกรายละเอียดของการรับประทานอาหารมากนัก , • นอกจากนี้ผู้ป่วยยังมีความลำบากในการมาตรวจ เพราะต้องมาตรวจบ่อยขึ้นเนื่องจากน้ำตาลสูง จะได้นัด 1เดือน แต่คนที่มาด้วยกันน้ำตาลดี ได้นัด 2เดือน ทำให้มาด้วยกันไม่ได้ ได้ยาไปบางครั้งก็เลยกระเบียดเกษียณกิน ให้มันถึง 2เดือนทั้งๆที่นัด 1เดือน เพราะไม่มีรถมาต้องอาศัยรถเขามา การลดความแออัด มิติผู้รับบริการ
ทางรพ. เลยคิดว่า ได้เวลาที่จะต้องปรับปรุง เอกสารเผยแพร่สำหรับผู้ป่วยเบาหวานใหม่ ให้ละเอียดแต่เข้าใจง่าย และปฏิบัติได้จริง • จัดทำเป็น Pocket book DMซึ่งเป็นคู่มือประจำตัวสำหรับคนไข้เบาหวาน เป็นที่ที่คนไข้สามารถหาคำตอบปัญหาเบาหวานของเขาได้ โดยไม่ต้องมาปรึกษาแพทย์ หรือไม่ต้องไปฟังคำบอกเล่าถูกๆผิดๆ ซึ่งรวบรวมข้อมูลความรู้ ที่เข้าใจง่าย อ่านง่าย ตัวหนังสือใหญ่ ประกอบไปด้วย เรื่องอาหารการกินของผู้ป่วยเบาหวาน การปฏิบัติตัวในภาวะต่างๆ เช่น เมื่อน้ำตาลสูง น้ำตาลต่ำ เมื่อมีแผลที่เท้า เมื่อมีอาการชา เสื่อมสมรรถภาพ, เรื่องการรับประทานยา หากลืมทานยาทำอย่างไร, เป็นเบาหวานต้องระวังอะไร, ต้องตรวจเลือดอะไรบ้าง และเมื่อไร , ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับเบาหวาน เป็นต้น • นอกจากนี้ หากทำ Pocket Book หาย ยังสามารถ Downloadใหม่ได้จากได้จากหน้า webของรพ.ดอนเจดีย์ • แจกให้ผู้ป่วยรายใหม่ DM, อาจทยอยแตกผู้ป่วยรายเก่า ที่ควบคุมเบหวานไม่ดี หรือจ่ายทุกคน
3. คนไข้ไม่รู้ว่าแพทย์ปรับยาเบาหวาน • บอก “ฉันเคยกินเท่านี้ ฉันก็เลยจะกินเท่าเดิม” • บางคนบอก “หมอ กินมากไปหรือเปล่า / น้อยไปหรือเปล่า ถ้าเวียนหัวฉันกินเพิ่มได้ไหม” • แสดงว่าคนไข้ไม่ทราบว่า ยาเบาหวานควรทานอย่างไร หรือแพทย์ได้ปรับยาให้ทานใหม่อย่างไร , บางครั้งให้หยุดยาแต่คนไข้ไม่ได้หยุด การลดความแออัด มิติผู้รับบริการ
ทางรพ. จึงคิดว่า เราจะทำอย่างไรที่จะสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติได้ ว่าได้มีการปรับยาเบาหวานแล้ว หรือผลข้างเคียงของการปรับยาเบาหวานเอง • คิดค้นเอกสารกำกับยาเบาหวานสำหรับผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยรายใหม่ ให้มีความเข้าใจในการทานยาเบาหวาน • เสริมความรู้เรื่องยาเบาหวาน ไว้ใน Pocket book ด้วย การลดความแออัด มิติผู้รับบริการ
4. จัดกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ให้ผู้ป่วยเบาหวานสอนกันเอง แชร์ประสบการณ์ คนที่ควบคุมได้ดีมาเล่าประสบการณ์ของตนว่าทำอย่างไร จึงจะควบคุมได้ดี ให้คนที่ควบคุมเบาหวานดี สอนคนที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี (ทำแล้ว) การลดความแออัด มิติผู้รับบริการ
5.จัดกิจกรรมเบาหวานโลก วันที่ 14พ.ย. 2554 (จัดจริงวันที่ 16 พ.ย. 54) / มอบรางวัลแก่ผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานได้ดีตลอดปี การลดความแออัด มิติผู้รับบริการ
เกณฑ์ การให้รางวัล : ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาล FBS 80-120 mg% (+ HbA1C < 7.0 ) ติดต่อกันทุกเดือนในรอบ 1ปี ได้ รางวัลที่ 1เป็นของรางวัลและมอบเกียรติบัตรชักนำให้ผู้ป่วยเกิดกำลังใจ ในการที่จะควบคุมเบาหวานให้อยู่ในระดับดีมาก • เลี้ยงอาหารกลางวันฟรี ด้วยตัวอย่างอาหารเบาหวาน • โดยมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่การจัดงาน ทั้งทางเสียงตามสาย แผ่นพับ ป้าย • มีการจัดกิจกรรม ให้ความรู้การปฏิบัติตัว การป้องกันภาวะแทรกซ้อน ในกิจกรรมงาน ช่วงพักเที่ยง การลดความแออัด มิติผู้รับบริการ
6. จัดพื้นที่แสดงวิดีทัศน์เผยแพร่ความรู้ในการการดูแลรักษาเบาหวาน การดูแลเท้า การออกกำลังกาย อาหารการกิน ภาวะแทรกซ้อน การปฏิบัติตัว ในผู้ป่วยเบาหวาน การลดความแออัด มิติผู้รับบริการ
7. จัดตั้ง Hotlineเบาหวาน ( 24 ชม.) • ให้บริการปรึกษาปัญหาเบาหวานครบวงจร ทั้งด้านการรักษา ป้องกัน ปัญหาต่างๆ การทานยา การใช้ยาฉีดเบาหวาน วันนัดและการเปลี่ยนแปลงวันนัด การดูแลภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลเบาหวาน เป็นต้น • 035-591032กด 0แจ้งปรึกษาปัญหาโรคเบาหวาน • ในเวลาราชการ ห้องบัตรจะต่อไปที่ OPD , นอกเวลาราชการ ห้องบัตรจะต่อไปที่ ER • ประชาสัมพันธ์ เบอร์ Hotline ด้วยเสียงตามสาย ป้าย และแผ่นพับ การลดความแออัด มิติผู้รับบริการ
8. DM Wound Care Center • ในเวลาราชการ ผู้ป่วยหรือญาติสามารถมาติดต่อเพื่อรับบริการการสอนทำแผลเบาหวานเรื้อรัง โดยมีทีมเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญดูแลสอนทำ และบริการทำแผล พร้อมแจกคู่มือการดูแลแผล อุปกรณ์สายสวนต่างๆ ติดต่อโดยผ่านเบอร์ Hotline • ทำป้ายประชาสัมพันธ์ , ประกาศเสียงตามสาย การลดความแออัด มิติผู้รับบริการ
บางส่วน รพ.ได้จัดทำแล้ว อีกบางส่วนก็คงต้องรอเรื่องของการจัดสรรงบประมาณ • ซึ่งในครั้งหน้า (ครั้งถัดๆไป) ทางรพ.คาดว่าจะสามารถนำเสนอผลการดำเนินงานได้บ้างบางส่วน การลดความแออัด มิติผู้รับบริการ
ลดความแออัดของผู้ป่วยเบาหวาน • ลดความอึดอัดของแพทย์ • ลดความอัดอั้นของเจ้าหน้าที่ • ลดความอืดอ้วนของทุกคน (ป้องกันแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่มาแออัดภายหลัง) ขอบคุณครับทีม PCTรพ.ดอนเจดีย์ มุ่งมั่นเพื่อคนไข้ ก้าวไกลการรักษา พัฒนาไม่หยุดยั้ง