770 likes | 998 Views
บทที่ 5. มรดก. อะไรบ้างที่เป็น มรดก ?. มาตรา 1600 ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด ของผู้ตาย ที่มีอยู่ในเวลาตายและไม่เป็นการเฉพาะตัวของ ผู้ตาย. มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตายมรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ ทายาท. ทรัพย์สิน. กองมรดก.
E N D
อะไรบ้างที่เป็น มรดก ? มาตรา 1600ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด ของผู้ตาย ที่มีอยู่ในเวลาตายและไม่เป็นการเฉพาะตัวของ ผู้ตาย มาตรา 1599เมื่อบุคคลใดตายมรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ ทายาท
ทรัพย์สิน กองมรดก สิทธิ ยกเว้น ที่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยกฎหมาย หรือโดยสภาพ หน้าที่ ความรับผิด
สิทธิ สิทธิ ได้แก่ การที่บุคคลหนึ่งสามารถเรียกร้องให้บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ สิทธินั้น จะมีบ่อเกิดจากนิติกรรมสัญญา ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้
สิทธิของผู้ซื้อที่จะได้รับสินค้า สิทธิของผู้ขายที่จะได้รับราคา • สิทธิของลูกจ้างที่จะได้ค่าจ้างสิทธิของนายจ้างที่จะให้ลูกจ้างทำงานให้ • สิทธิของลูกจ้างที่จะเรียกค่าชดเชย ค่าล่วงเวลา • สิทธิของผู้ให้กู้ที่จะได้เงินที่ให้กู้คืน • สิทธิของผู้ให้เช่าที่จะได้ค่าเช่า สิทธิของผู้เช่าที่จะได้ใช้ทรัพย์
หน้าที่ หมายถึง ภาระที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีความผูกพันที่จะต้องกระทำการ งดเว้นกระทำการ หรือส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งอาจเกิดจากนิติกรรมสัญญา ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ก็ได้
ความรับผิด หมายถึง ภาระที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีความผูกพันที่จะต้องกระทำการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สิน ความรับผิดจะเกิดเมื่อมีการล่วงสิทธิผิดหน้าที่ต่อบุคคลอื่นซึ่งตนมีอยู่ตามสัญญาหรือตามกฎหมาย อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นต้องได้รับความเสียหาย (โดยทั่วไปความรับผิดจะชดใช้กันด้วยทรัพย์สิน(เงิน))
- ความรับผิดของผู้กระทำละเมิดในการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ได้รับความเสียหาย
1. สิ่งดังกล่าวต้องไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย -สิ่งที่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย ได้แก่ สิ่งที่เป็นสิทธิของ ผู้ตาย หรือเป็นการกระทำที่ผู้ตาย จะต้องทำเองเท่านั้น ให้คนอื่นรับ หรือทำแทนไม่ได้
-หน้าที่ของลูกจ้างที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้าง-หน้าที่ของลูกจ้างที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้าง -หน้าที่ของผู้กู้ที่ต้องคืนเงินให้แก่ผู้ให้กู้ -สิทธิของลูกจ้างที่จะได้เงินเดือน -หน้าที่ของผู้เช่าที่ต้องชำระค่าเช่า -สิทธิของผู้ให้เช่าจะได้รับค่าเช่า -สิทธิของผู้เช่าที่จะใช้ทรัพย์สินที่เช่า -หน้าที่ของผู้ขายต้องส่งมอบสินค้า -หน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องชำระราคา
2. เป็นสิ่งที่จะเป็นมรดกต้องเป็นสิ่งที่ผู้ตายมีก่อนตาย 2.1 สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับความตาย หรือเนื่องจากความตายไม่เป็นมรดก เช่น เงินประกันชีวิต เงินฌาปนกิจศพ
มีก่อน หรือหลังตาย ใช้เกณฑ์อะไรพิจารณา ? เกณฑ์สิทธิ หรือเกณฑ์ได้รับจริง ? เกณฑ์สิทธิ ได้แก่ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว มีสิทธิได้รับแล้ว เกณฑ์ได้รับจริง ได้แก่ ได้รับมาแล้ว
ฎ.๑๙๕๓/๒๕๑๕ เงินสะสมซึ่งทางราชการหักไว้จากเงินเดือนของข้าราชการทุกเดือน ย่อมเป็นมรดกของข้าราชการผู้นั้น
2.2 สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังความตายไม่เป็นมรดก เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ย ซึ่งได้รับหลังตาย
ทายาท และคุณสมบัติของทายาท ทายาท ได้แก่ บุคคลซึ่งจะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดก • คุณสมบัติของทายาท • บุคคลซึ่งจะมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ • 1. ต้องมีสภาพบุคคลอยู่ในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย • การเป็นทายาทเป็นสิทธิประการหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องมีผู้ทรงสิทธิตามกฎหมาย ฉะนั้นทายาทจึงต้องมีสภาพบุคคลในขณะที่สิทธิในการเป็นทายาทเกิดขึ้น
ฉะนั้นบุคคลดังต่อไปนี้จึงไม่มีฐานะเป็นทายาทฉะนั้นบุคคลดังต่อไปนี้จึงไม่มีฐานะเป็นทายาท • ก. บุคคลซึ่งสิ้นสภาพบุคคลไปก่อนทีเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ไม่ว่าจะโดยสภาพ หรือโดยผลของกฎหมาย • ข. บุคคลซึ่งสิ้นสภาพบุคคลพร้อมกับเจ้ามรดก
310 วัน เจ้ามรดกตาย ทายาทตายก่อน ทายาทตายพร้อม
310 วัน เจ้ามรดกตาย มีสภาพบุคคล
เจ้ามรดกตาย ศาลมีคำสั่ง ไปจากภูมิลำเนาฯ ครบกำหนด ผู้ไม่อยู่ สิ้นสภาพบุคคลในวันที่ ครบกำหนด
ค. บุคคลซึ่งมีสภาพบุคคลภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตายยกเว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ • มาตรา 1604 ว. 2 “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายในสามร้อยสิบวันนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”
เจ้ามรดกตาย ทายาทมีสภาพบุคคล
310 วัน เจ้ามรดกตาย มีสภาพบุคคล
2. ต้องมีฐานะเป็นทายาทประเภทหนึ่งประเภทใด หรือทั้งสองประเภทดังต่อไปนี้ • 2.1 ทายาทโดยธรรม หรือสิทธิในการรับมรดกโดยธรรม • 2.2 ทายาทโดยพินัยกรรม หรือสิทธิในการรับมรดกโดยพินัยกรรม
เจ้ามรดก ทายาทโดยพินัยกรรม ทายาทโดยธรรม ก. ก. ค. ง.
สิทธิในการรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมสิทธิในการรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม • บุคคลซึ่งมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท • 1. ทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส ม.1629 ว.2 • มีฐานะเป็นคู่สมรสของเจ้ามรดกในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย • การเป็นคู่สมรสพิจารณาจากการจดทะเบียนสมรส โดยไม่ต้องพิจารณาความชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้นแต่ การสมรสจะเกิดจากการสมรสซ้อน
การสมรสที่เกิดขึ้นก่อน 2477 ไม่ต้องมีการจดทะเบียนสมรส และสามีสามารถมีภริยาได้หลายคน ภริยาทุกคนถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรสทั้งหมด ดู ม. 1636 • มีสภาพบุคคลอยู่ในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
2. ทายาทโดยธรรมประเภทญาติ ม.1629 ว. 1 มาตรา 1629 ว.1 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ (1) ผู้สืบสันดาน (2) บิดามารดา (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน (5) ปู่ ย่า ตา ยาย (6) ลุง ป้า น้า อา”
(1) ผู้สืบสันดาน ได้แก่ • ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมาของเจ้ามรดก ซึ่งได้แก่ ลูก หลาน เหลน หล่อน ลื้อ เล้า... • ลูก หรือ บุตรของเจ้ามรดก ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ • บุตรที่เกิดจากการสมรสระหว่างเจ้ามรดก กับคู่สมรส โดยไม่ต้องพิจารณาถึงผลของการสมรสระหว่างของเจ้ามรดก กับคู่สมรส
เด็กที่เกิดภายใน ๓๑๐ วันนับแต่การสมรสสิ้นสุดลง โดยหญิงมิได้จดทะเบียนใหม่ ถือเป็นบุตรของอดีตสามี • เด็กที่เกิดภายใน ๓๑๐ วันนับแต่การสมรสสิ้นสุด โดยหญิงฝ่าฝืน ม. ๑๔๕๓ ถือเป็นบุตรของสามีใหม่
เด็กที่เกิดจากหญิงก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะ หรือภายใน ๓๑๐ วันนับแต่นั้น เป็นบุตรของอดีตสามี (ม. 1536 ว.2) • เด็กที่เกิดจากหญิงก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะเพราะเหตุสมรสซ้อน หรือภายใน ๓๑๐ วันนับแต่นั้น เป็นบุตรของสามีใหม่ (ม.1538 ว.3)
บุตรนอกสมรส(ม. ๑๕๔๗, ๑๕๕๗) แต่บิดาได้ • จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของตน หรือ • ศาลได้มีคำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรของบิดา หรือ • การฟ้องให้รับเด็กเป็นบุตรภายหลังที่บิดาถึงแก่ความตาย ถ้าได้ฟ้องภายในอายุความมรดก คือ ภายใน 1 ปี นับแต่บิดาถึงแก่ความตาย เด็กนั้นมีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1558 • บิดาได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของเด็กภายหลังจากที่เด็กเกิด
ฟ้องให้รับ เด็กเป็นบุตร เด็กเกิด ศาลพิพากษา เจ้ามรดก(บิดา)ตาย มีฐานะเป็นบิดา
บิดาตาย ฟ้องให้รับเด็กเป็นบุตร ศาลพิพากษา มีฐานะเป็นบิดา อายุความมรดก
เจ้ามรดก(บุตร)ตาย จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร มีฐานะเป็นบิดา
บุตรนอกสมรส แต่บิดาได้รับรองเด็กโดยพฤตินัย • การรับรองโดยพฤตินัย เช่น การให้เด็กใช้นามสกุล การนำเด็กไปแจ้งเกิดโดยระบุว่าเป็นบุตรของตนเอง การอุปการะเลี้ยงดูเด็ก การแสดงต่อสังคมว่าเด็กเป็นบุตรของตน การให้การรับรองมารดาของเด็กว่าเป็นภริยาของตน • กฎหมายให้สิทธิแก่บุตรนอกสมรสเฉพาะการรับมรดกของบิดาเท่านั้น ส่วนสิทธิประการอื่นอย่างบุตรชอบด้วยกฎหมายจะพึงมี บุตรนอกสมรสไม่มีสิทธิ จนกว่าจะมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรบุญธรรม • การเป็นบุตรบุญธรรม จะต้องมีการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ลำพังแต่ส่งเสีย อุปการะไม่ทำให้มีฐานะเป็นบุตรบุญธรรม • กรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส บุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น เว้นแต่ คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมจะรับบุตรบุญธรรมนั้นด้วย • บุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมเฉพาะต่อผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น
(2) บิดามารดา(ของเจ้ามรดก) • 2.1 มารดา ได้แก่ มารดาที่ให้กำหนดเจ้ามรดก (มารดาย่อมเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรเสมอ) • มารดาบุญธรรมไม่มีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตาม ม. 1629 (2) ตาม มาตรา 1598 /29 มาตรา 1598/29 “การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการรับบุตรบุญธรรมนั้น”
2.2 บิดา ได้แก่ • 1). บิดาซึ่งได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดก โดยไม่ต้องพิจารณาผลของการสมรส • จดทะเบียนก่อนเจ้ามรดกตาย มีฐานะเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกตั้งแต่ขณะเจ้ามรดกเกิด • จดทะเบียนหลังเจ้ามรดกตาย ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดก เพราะไม่มีสถานะภาพเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย ขณะเจ้ามรดกตาย
2). บิดาซึ่งจดทะเบียนรับเจ้ามรดกเป็นบุตร • การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ต้องกระทำขณะบุตรยังมีชีวิตอยู่ • 3). บิดาซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
ข้อสังเกต • บิดาดังต่อไปนี้ ไม่มีฐานะเป็นทายาทตามมาตรา 1629(2) • บิดาบุตรธรรม มาตรา 1598/29 “การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการรับบุตรบุญธรรมนั้น” • บิดาซึ่งรับรองบุตรโดยพฤตินัย • การรับรองบุตรโดยพฤตินัย กฎหมายให้สิทธิแต่บุตรเท่านั้น ไม่ให้สิทธิแก่บิดาที่รับรองโดยพฤตินัย ตาม ม. 1627 มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว และบุตรบุตรธรรม ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”
มาตรา 1629 ว.1 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ (1) ผู้สืบสันดาน (2) บิดามารดา (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน (5) ปู่ ย่า ตา ยาย (6) ลุง ป้า น้า อา” พิจารณา ตามความ เป็นจริง
ลำดับของทายาทโดยธรรม ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา บิดา มารดา พี่น้องร่วมบิดามารดา คู่สมรส พี่น้องร่วมบิดา/ มารดา ผู้สืบสันดาน
ส่วนแบ่งในกองมรดกระหว่างทายาทโดยธรรมประเภทญาติส่วนแบ่งในกองมรดกระหว่างทายาทโดยธรรมประเภทญาติ • ส่วนแบ่งในกองมรดกระหว่างทายาทโดยธรรมต่างลำดับม.1630 • ถ้าในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมต่างลำดับกันซึ่งยังคงมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ไม่ขาดสาย ทายาทโดยธรรมแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดก ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ทายาทโดยธรรมประเภทญาติที่จะมีสิทธิได้รับมรดก ได้แก่ ทายาทในลำดับต้น หรือ ตามหลักทายาทลำดับต้นตัดทายาทลำดับรอง ตาม ม. 1630 ว.1 “ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังคงมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีใดลำดับหนึ่งๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย” ยกเว้นแต่ ทายาทลำดับที่ 1 ไม่ตัดลำดับที่ 2 ตาม ม. 1630 ว.2
โดยบิดา มารดาแต่ละคน จะได้ส่วนแบ่งในกองมรดกที่ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมประเภทญาติ เสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตรตาม ม.1630 ว.2 “มาตรา 1630 ว.2 “แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กัน แล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร”
บิดา มารดา เจ้ามรดก คู่สมรส ดำ คู่สมรส คู่สมรส แดง ข. ก. ค. ง.
บิดา มารดา ตายก่อนเจ้ามรดก เจ้ามรดก คู่สมรส ดำ คู่สมรส คู่สมรส แดง ข. ก. ค. ง.
2. ถ้าทายาทในแต่ละลำดับมีหลายคน แต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดกเท่ากันตาม ม.1633 • ส่วนแบ่งในกองมรดกระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกัน ม.1631 • ถ้าเจ้ามรดกมีทายาทชั้นผู้สืบสันดานตาม ม.1629 (1) ต่างชั้นกัน (เจ้ามรดกมีทั้งลูก หลาน เหลน .....)ผู้สืบสันดานในชั้นสนิทที่สุดกับเจ้ามรดกเท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดก ตามหลัก “ญาติสนิทตัดญาติห่าง” • ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะมีสิทธิรับมรดกได้ ก็แต่โดยอาศัยสิทธิการรับมรดกแทนที่