2.1k likes | 3.75k Views
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ. เนื้อหาประจำหน่วย. 1.1 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน 1.2 ความหมายความสำคัญประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.3 ระบบคอมพิวเตอร์. 1.1 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน.
E N D
หน่วยที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ
เนื้อหาประจำหน่วย • 1.1 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน • 1.2 ความหมายความสำคัญประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ • 1.3 ระบบคอมพิวเตอร์
1.1 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
การใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันการใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน • ลงทะเบียนผ่านอินเทอร์เน็ต • โอนเงินในบัญชีธนาคาร • ซื้อสินค้า • สั่งอาหาร • ชำระภาษี • สนทนาออนไลน์ • ฯลฯ
1.2 ความหมายความสำคัญประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของคอมพิวเตอร์ความหมายของคอมพิวเตอร์ • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูล ประมวลผล สื่อสาร เคลื่อนย้ายข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ได้
วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์ • ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะมีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน เรียกย่อๆ ว่า IPOS cycle ประกอบด้วย • การรับข้อมูล • การประมวลผล • การแสดงผล • การจัดเก็บข้อมูล
วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์(ต่อ)วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์(ต่อ) • รับข้อมูล (Input) คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ สแกนเนอร์ ไมโครโฟน และกล้องดิจิทัล เป็นต้น
วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์(ต่อ)วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์(ต่อ) • ประมวลผล (Process) เมื่อคอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมหรือคำสั่งที่กำหนด เช่น การคำนวณภาษี การคำนวณเกรดเฉลี่ย เป็นต้น
วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์(ต่อ)วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์(ต่อ) • แสดงผล (Output) คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล ซึ่งมีอุปกรณ์ทำหน้าที่แสดงผลที่ใช้แพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ จอภาพ ลำโพง และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์(ต่อ)วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์(ต่อ) • จัดเก็บข้อมูล (Storage) คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดิสก์ แผ่นฟลอปปีดิสก์ เป็นต้น
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ • การทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Machine) • การทำงานด้วยความเร็วสูง (Speed) • ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (Accuracy and Reliability) • การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (Storage) • การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (Communication)
ประเภทของคอมพิวเตอร์ • ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) • คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer) • มินิคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer) • คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) • คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค (Notebook Computer) • Hand-held personal computer หรือ palmtop computer
ประเภทของคอมพิวเตอร์(ต่อ) • ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงมีราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งาน เช่น การพยากรณ์อากาศ การทดสอบทางอวกาศ และงานอื่นๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน
ประเภทของคอมพิวเตอร์(ต่อ)ประเภทของคอมพิวเตอร์(ต่อ) • คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer) มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจาก ผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก เช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียนของนักศึกษา เป็นต้น
ประเภทของคอมพิวเตอร์(ต่อ)ประเภทของคอมพิวเตอร์(ต่อ) • มินิคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer) มีประสิทธิภาพในการทำงานด้านความเร็วและความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลน้อยกว่าเมนเฟรมแต่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และสามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงานที่แตกต่างกัน เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ
ประเภทของคอมพิวเตอร์(ต่อ)ประเภทของคอมพิวเตอร์(ต่อ) • คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่มีขนาดเล็กเหมาะกับโต๊ะทำงานในสำนักงาน สถานศึกษา และที่บ้าน รูปทรงของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีทั้งแบบวางนอน และแบบแนวตั้ง เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการวาง
ประเภทของคอมพิวเตอร์(ต่อ)ประเภทของคอมพิวเตอร์(ต่อ) • คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบ่งประเภทจำแนกได้ดังนี้ • All-in-one computer รวมจอภาพและหน่วยประมวลผลอยู่ในอุปกรณ์เดียวกัน • Workstation มีความสามารถและราคาสูง ออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านการคำนวณและกราฟิก • Stand-alone computer หรือคอมพิวเตอร์ระบบเดี่ยว สามารถทำงานที่เรียกว่า IPOS cycle โดยที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แต่ในปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้ • Server computer มีความสามารถเช่นเดียวกัน/ใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์(ต่อ)ประเภทของคอมพิวเตอร์(ต่อ) • คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค (Notebook Computer) • บางครั้งเรียกว่า แลปท็อปคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีขนาดเล็ก บาง และน้ำหนักเบา เหมาะแก่การพกพาไปใช้ในสถานที่ต่างๆ สามารถใช้กับไฟฟ้ามาตรฐานทั่วไปและแบตเตอรี่ • นอกจากโน๊ตบุ๊คที่เห็นและใช้งานทั่วไปแล้ว ยังมีที่ได้รับความนิยมคือ tablet PC เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดกำลังเหมาะ น้ำหนักเบา หมุนได้ 180 องศา มีทั้งแบบมีแป้นพิมพ์ในตัว และแบบไม่มีแป้นพิมพ์ในตัวแต่มีแป้นพิมพ์แยกต่างหาก การรับข้อมูลสามารถใช้ทั้งแบบสัมผัสและใช้ปากกาพิเศษเขียนบนจอภาพได้
ประเภทของคอมพิวเตอร์(ต่อ)ประเภทของคอมพิวเตอร์(ต่อ) • Hand-held personal computer หรือ palmtop computer • เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุด เรียกกันว่า พีดีเอ (PDA) ย่อมาจากคำว่า personal digital assistant ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถจัดการข้อมูลส่วนบุคคล จดบันทึก ปฏิทินนัดหมาย เครื่องคิดเลข ตลอดจนการใช้งานอินเทอร์เน็ต • บางครั้งเรียกว่า pen-based computer เนื่องจากใช้ปากกาที่เรียกว่า สไตลัส เป็นอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล นอกจากหน้าที่พื้นฐานทั่วไปแล้ว ยังสามารถรับ-ส่งอีเมล และส่งโทรสารได้ด้วย เช่น Pocket PC และ Palm
ประเภทของคอมพิวเตอร์(ต่อ)ประเภทของคอมพิวเตอร์(ต่อ) • คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่างๆ นิยมนำมาใช้ทำงานเฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์ แต่จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ และเพจเจอร์ เป็นต้น
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ มาใช้ให้เกิด ประโยชน์และเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ สารสนเทศ หมายถึง เนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี+สารสนเทศ=เทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาจัดการกับสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร การส่งข้อมูลทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ตัวเลข เสียง ภาพโดยผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในระบบเครือข่าย โดยผ่านระบบโทรคมนาคม
บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การทำงานหลายๆอย่างในชีวิตประจำวันเป็นไป อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมีความถูกต้องแม่นยำ เช่น การติดต่อสื่อสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ การกดเงินจากตู้ เอ.ที.เอ็ม เป็นต้น
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคม ด้านบวก เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย ด้านลบ มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นพิษ ไม่เหมาะกับสังคมและ วัฒนธรรม ผ่านทางอินเทอร์เน็ต อาจนำไปสู่อาชญากรรมได้
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ • ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า • ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ • ใช้ในการติดต่อสื่อสารทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว • อื่นๆ
โทษของเทคโนโลยีสารสนเทศโทษของเทคโนโลยีสารสนเทศ - ทำให้เกิดการเผยแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่าง รวดเร็ว - เป็นช่องทางก่อให้เกิดอาชญากรรม - ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย เพราะการติดต่อสื่อสารไม่ จำเป็นต้องเจอหน้า
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ • ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 6 ส่วน คือ 1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 2. ซอฟต์แวร์ (Software) 3. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information) 4. ผู้ใช้ (User) 5. กระบวนการทำงาน (Procedure) 6. บุคลากรทางสารสนเทศ(Information Systems Personnel)
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์(ต่อ)องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์(ต่อ) • ฮาร์ดแวร์(Hardware) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่นแป้นพิมพ์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่นๆ ฮาร์ดแวร์จะทำงานตามโปรแกรมที่เขียนขึ้น
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์(ต่อ)องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์(ต่อ) • ซอฟต์แวร์ (Software) • บางครั้งเรียกว่าโปรแกรม(Program) หรือชุดคำสั่ง • วัตถุประสงค์หลักของซอฟต์แวร์คือการสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์(ต่อ)องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์(ต่อ) • ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information) ในการประมวลผลข้อมูล คอมพิวเตอร์จะประมวลผลตามข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่หน่วยรับข้อมูล ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจถ้าข้อมูลที่เข้าไปถูกต้องผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์(ต่อ)องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์(ต่อ) • ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information) ข้อมูล หมายถึง สิ่งที่ได้มาจากการรวบรวม ซึ่งอาจเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ หรือ เสียง เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลให้ได้สารสนเทศ สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการประมวลผล ซึ่งในบางครั้งสารสนเทศอาจเป็นข้อมูลเพื่อการประมวลผลให้ได้สารสนเทศอีกอย่างหนึ่งก็ได้
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์(ต่อ)องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์(ต่อ) • ผู้ใช้ (User) การทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องให้ผู้ใช้สั่งงาน แต่ปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์บางชนิดที่สามารถทำงานอัตโนมัติ อย่างไรก็ตามการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหญ่แล้วยังต้องการให้มนุษย์สั่งงานเสมอ
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์(ต่อ)องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์(ต่อ) • กระบวนการทำงาน( Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่ผู้ใช้ต้องเข้าใจขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งาน ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เช่นการถอนเงินด้วยเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) จะต้องมีขั้นตอนหรือกระบวนการดังนี้ • จอภาพแสดงความพร้อมเพื่อการทำงาน • สอดบัตรและป้อนรหัสผู้ใช้ • เลือกรายการทำงาน • ใส่จำนวนเงิน • รับเงิน • รับบัตรคืนและใบบันทึกรายการ
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์(ต่อ)องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์(ต่อ) • บุคลากรทางสารสนเทศ (Information System Personnel) เป็นส่วนสำคัญของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทำงานร่วมกับผู้ใช้ อย่างใกล้ชิดเพื่อการพัฒนาระบบให้ตรงความต้องการของผู้ใช้
บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ บุคลากรที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์มีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่รับผิดชอบ ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้ • เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ(Operator) • บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System) และโปรแกรม(Program) • ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงขององค์การ (Chief Information Officer: CIO) • ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer User)
บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์(ต่อ)บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์(ต่อ) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ(Operator) • เป็นผู้รับผิดชอบดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ปกติ • หากเกิดปัญหาขัดข้องจะต้องแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบเพื่อทำการแก้ไข • ทำหน้าที่ในการบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ให้สามารถพร้อมที่จะนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ • ทำหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ • จัดทำรายงานและรวบรวมเอกสารคอมพิวเตอร์ให้เป็นระเบียบ
บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์(ต่อ)บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์(ต่อ) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System) และโปรแกรม(Program) บุคลากรคอมพิวเตอร์ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ(System Analyst and Designer) • ผู้บริหารฐานข้อมูล(Database Administrator) • นักพัฒนาโปรแกรมระบบ (System Programmer) • นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer)
บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์(ต่อ)บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์(ต่อ) ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงขององค์การ (Chief Information Officer: CIO) • เป็นผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร • ทำการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลขององค์การ • เสนอแผนในการสร้างระบบข้อมูลสารสนเทศที่จะพัฒนาระบบงาน • เป็นผู้กำหนดว่าจะพัฒนาระบบงานอะไรบ้าง ใช้เทคโนโลยีชนิดใด งบประมาณเท่าใด • ติดตามและควบคุมให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์(ต่อ)บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์(ต่อ) ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer User) • เป็นผู้ให้ข้อมูลความต้องการในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงาน • เป็นผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ได้พัฒนาขึ้น • เป็นผู้ใช้โปรแกรมประยุกต์
ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งานตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน ปัจจุบันได้มีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้กับงานในองค์กรเกือบทุกประเภท ทั้งนี้เนื่องมาจากคุณสมบัติที่ดีในการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่มีการพัฒนาระบบและอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่(mobile phone) และระบบเครือข่าย (Network)
ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ)ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ) ตัวอย่างในการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งาน โดยจะเน้นการนำไปช่วยงานทางธุรกิจ ดังนี้ • การนำเสนอข้อมูลขององค์การ(Organization Profile) หน่วยงานต่างๆได้พัฒนาเว็บไซต์เพื่อเป็นการให้ข้อมูลขององค์การ ช่วยให้การประชาสัมพันธ์และการติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ)ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ) • การนำเสนอขายสินค้าและบริการ (Sales and Services) การทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน บริษัทและธุรกิจประเภทต่างๆ ได้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมาเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าอีกทางหนึ่ง เช่น การจำหน่ายหนังสือ และการจองห้องพักโรงแรม
ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ)ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ) • ตรวจสอบการรับ-ส่งสินค้า(Shipping and Receiving) ปัจจุบันหลายบริษัท เช่น FedEx และ UPS ในสหรัฐอเมริกาได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการตรวจสอบการส่งสินค้าให้กับลูกค้า ซึ่งลูกค้าสามารถสอบถามสถานะภาพของสินค้าว่าอยู่ในกระบวนการใดได้ผ่านทางเว็บไซต์ของแต่ละบริษัท
ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ)ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ) • ออกแบบผลิตภัณฑ์(Product Design) เป็นการนำคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่นการใช้โปรแกรมประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (computer-aided design หรือ CAD) มาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือชิ้นส่วน การใช้โปรแกรม Adobe Photoshop เพื่อการตกแต่งภาพ
ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ)ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ) • งานบัญชี (Accounting) โปรแกรมระบบบัญชีได้รับความนิยมเกือบทุกองค์การ บางหน่วยงานอาจใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านบัญชีในขณะที่บางหน่วยงานอาจพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใช้เอง
ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ)ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ) • งานบุคลากร (Human Resources) ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลของบุคลากรในบริษัท ช่วยการวางแผนงานบุคลากร รวมถึงการพัฒนาคุณภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ)ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ) • การเรียนการสอน (Teaching and Learning) หน่วยงานทางการศึกษาได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานอย่างกว้างขวางเช่นเดียวกัน ลักษณะงานที่เด่นชัดคือ การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนสอน (โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPoint) การจัดเก็บข้อมูลนักศึกษาและผลการเรียน การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย(CAI) และ E-leaerning
ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ)ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน(ต่อ) • คอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิง (Entertainment) คอมพิวเตอร์นอกจะนำมาใช้ในงานด้านต่างๆ แล้ว ยังสามารถนำมาใช้สร้างความบันเทิงได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าเป็นการดูหนัง ฟังเพลง ร้องเพลงคาราโอเกะหรือแม้แต่การเล่นเกมส์