170 likes | 295 Views
โครงการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยจากสารเคมี และวัตถุอันตรายภาคอุตสาหกรรม โครงการย่อยที่ 1 การพัฒนากลไกและเครื่องมือในการจัดการสารเคมีและ วัตถุอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพ. สนับสนุนงบประมาณโดย. ที่ปรึกษาโครงการ. สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม. สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
E N D
โครงการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยจากสารเคมีโครงการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยจากสารเคมี และวัตถุอันตรายภาคอุตสาหกรรม โครงการย่อยที่ 1 การพัฒนากลไกและเครื่องมือในการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนงบประมาณโดย ที่ปรึกษาโครงการ สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
แผนพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2555-2564) เป้าประสงค์ “ ภายในปี พ.ศ. 2564 สังคมและสิ่งแวดล้อมปลอดภัย บนพื้นฐานการจัดการสารเคมีที่มีประสิทธิภาพมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ” ภาคประชาชน พัฒนาฐานข้อมูล กลไกและเครื่องมือในการจัดการสารเคมีอย่างเป็นระบบครบวงจร ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาศักยภาพและบทบาทในการบริหารจัดการสารเคมีของทุกภาคส่วน ภาคเอกชน ภาครัฐ สังคม/สิ่งแวดล้อมปลอดภัยจากสารเคมี ยุทธศาสตร์ที่ 3 ลดความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมี
แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม(พ.ศ.2555-2558) พันธกิจ วิสัยทัศน์ • บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยให้สอดรับกับกฎหมายระหว่างประเทศ • ส่งเสริมสนับสนุนข้อมูลและองค์ความรู้ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม • ยกระดับการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล องค์กรชั้นนำด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ภาคอุตสาหกรรม บริหารจัดการให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 1. บริหารจัดการให้ภาคอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ 2. สร้างความโดดเด่นด้านการบริการ ยกระดับการให้บริการ มีระบบบริหารจัดการที่ดีได้มาตรฐาน 3. เสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดี
อันตรายจากสารเคมี / การแข่งขันทางการค้า • ต่างประเทศ • GHS • REACH • Risk assessment • อนุสัญญาระหว่างประเทศ มาตรการและข้อกำหนด ภาคประชาชน • ประเทศไทย • พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ระบบการบริหารจัดการสารเคมี ภาคเอกชน ภาครัฐ การพัฒนาอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนากลไกหรือเครื่องมือการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. กลไกและเครื่องมือการขับเคลื่อนการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายตามแผนปฏิบัติการ 2. ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการควบคุมกำกับดูแลมีความรู้ความเข้าใจในการนำกลไก และเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ในการขับเคลื่อนในการบริหารจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย
การจัดทำแผนปฏิบัติการการจัดทำแผนปฏิบัติการ การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย สัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น วิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลต่างประเทศกับการดำเนินงานในประเทศไทย การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ การศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล • ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ • สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา • ประเทศจีน ประเทศมาเลเซีย • ประเทศสิงคโปร์ ประเทศญี่ปุ่น • สาธารณรัฐเกาหลี ประเทศ เวียดนาม และประเทศไทย ขอบเขตการดำเนินโครงการ 1 2. • ครั้งที่ 1 รับฟังความคิดเห็นต่อกรอบร่างแผนปฏิบัติการฯ • ครั้งที่ 2 รับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนปฏิบัติการฯที่ได้ปรับปรุงจากการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 3. • ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ • การจัดทำวีดีทัศน์ การประชุมผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายด้านการจัดการสารเคมีในต่างประเทศ ผู้เข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่า 500 คน
การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย รวบรวมข้อมูลกลไก เครื่องมือด้านกฎหมาย กฎระเบียบในการจัดการสารเคมีทั้งในและต่างประเทศจากเว็บไซต์/รายงาน/บทความ 1. วิเคราะห์สถานการณ์การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายของต่างประเทศเปรียบเทียบกับประเทศไทย พฤษภาคม 55 ศึกษา/รวบรวมข้อมูลจากแผนยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติฉบับที่ 4 แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานระหว่างประเทศว่าด้วยสารเคมี/ พรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535/นโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม/แผนงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 2. วิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการกำหนดแนวคิดและทิศทางการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับภาคอุตสาหกรรม มิถุนายน 55 3. ยกร่างกรอบแนวคิดและทิศทางการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับภาคอุตสาหกรรม กรกฎาคม 55 จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย ครอบคลุม 4 พื้นที่ (ครั้งที่ 1) 4. ยกร่างแผนการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับภาคอุตสาหกรรม จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย ครอบคลุม 4 พื้นที่ (ครั้งที่ 2) กรกฎาคม-สิงหาคม 5. ปรับปรุงร่างแผนการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับภาคอุตสาหกรรม รับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสียทั่วประเทศ กันยายน 55 6. เสนอแผนการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับภาคอุตสาหกรรมต่อสำนักควบคุมวัตถุอันตราย ตุลาคม-ธันวาคม 55 ปรับปรุงร่างแผนฯ ตามข้อเสนอแนะที่ได้รับ
กำหนดการจัดประชุม หมายเหตุ : อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
สรุปประเด็นจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 จุดแข็ง (Strength) • มาตรการด้านกฎหมายของประเทศไทยมีความชัดเจน • มีการแบ่งหน่วยงานกำกับดูแลวัตถุอันตรายที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นต้น • เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานกำกับดูแลในแต่ละหน่วยงานมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสาขานั้นๆ ทำให้การกำกับดูแลวัตถุอันตรายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปประเด็นจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 จุดอ่อน (Weakness) ด้านหน่วยงานกำกับดูแล • การมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลวัตถุอันตรายหลายหน่วยงานและทำงานแยกกัน ทำให้การบริหารจัดการวัตถุอันตรายของประเทศขาดการเชื่อมโยงข้อมูล • การมีหน่วยงานในการกำกับดูแลวัตถุอันตรายหลายหน่วยงาน ทำให้เกิดความสับสนในการติดต่อ ว่าหน่วยงานใดที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการดำเนินการทางด้านวัตถุอันตราย
สรุปประเด็นจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 จุดอ่อน (Weakness) ด้าน พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 • กฎหมายไม่ทันสมัย ยังไม่พัฒนาให้เทียบเท่าสากล ตัวอย่างเช่น สารเคมีบางตัวมีข้อยกเว้นในประเทศ แต่ในต่างประเทศไม่ได้รับการยกเว้น • มีรายละเอียดของกฎหมายค่อนข้างมาก ผู้ประกอบการเกิดความสับสน • การนำกฎหมายไปปรับใช้ในแต่ละด้าน เช่น สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง ทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง • การนำกฎหมายไปใช้หลายหน่วยงาน ทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติตามกฎหมาย • ไม่สามารถควบคุมสารเคมีอันตรายที่ยังไม่ประกาศ (สารเคมีที่ยังไม่ได้ประกาศชื่อ) • ประเทศไทยไม่มีฐานข้อมูลสารเคมีที่ไม่ใช่วัตถุอันตราย เพราะ พ.ร.บ. วัตถุอันตรายจะมีผลบังคับใช้กับสารเคมีที่ประกาศเท่านั้น แต่สารเคมีที่อยู่นอกเหนือจากบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายอาจมีอันตรายหรือความเป็นพิษเท่ากับวัตถุอันตราย • ภาษาที่ใช้เข้าใจยาก ทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการไม่เข้าใจในตัวบทกฎหมาย • การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวด
สรุปประเด็นจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 จุดอ่อน (Weakness) ด้านอื่นๆ • จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ เกิดการย่อหย่อน/ละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ และไม่มีหน่วยงานตรวจสอบและติดตามข้อเท็จจริงจากพื้นที่ • เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการแต่ละระดับ มีความรู้ ความเข้าใจในข้อปฏิบัติที่แตกต่างกัน • ขาดการตรวจสอบ ติดตาม และการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง • ขาดเครื่องมือในการตรวจวิเคราะห์และทดสอบ • มีการนัดหมายการตรวจสอบโรงงานล่วงหน้า ทำให้โรงงานมีเวลาเตรียมตัว ปกปิด ซ่อนเร้น จึงไม่ได้ข้อเท็จจริง
สรุปประเด็นจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 โอกาส (Opportunity) • การจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อการบริหารจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายของประเทศ โดยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งติดต่อประสานงาน และให้บริการในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและวัตถุอันตรายของประเทศ • ปัญหาการเมืองแทรกแซงต่อการบังคับใช้กฎหมาย • ขาดการประชาสัมพันธ์ในตัวบทกฎหมาย อุปสรรค (Threat)
สรุปประเด็นจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 ข้อเสนอแนะ • ควรมีการกระจายอำนาจให้หน่วยงานในท้องถิ่น • ควรมีการจัดตั้งเครือข่ายการเฝ้าระวัง และตรวจสอบ • การพัฒนาระบบการบริหารจัดการสารเคมีให้เป็นสากล จัดทำกฎหมายสารเคมีและวัตถุอันตรายฉบับใหม่ โดยมีการพัฒนาและปรับปรุงจากฉบับเดิมดังนี้ • ปรับเพิ่มบทลงโทษให้มีความเข้มข้นและมีความเข้มงวดในเรื่องบทลงโทษมากขึ้น • เพิ่มบทลงโทษไปถึงระดับผู้ถือหุ้นของสถานประกอบการ • มีมาตรการเพื่อควบคุมให้รัดกุมยิ่งขึ้น • กำหนดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบควบคุม (ตามรัฐธรรมนูญ) • พัฒนาตัวกฎหมายให้ทันสมัยเทียบเท่ากับต่างประเทศ
เว็บไซต์โครงการฯ ที่มา : http://aida-2010.com/fti-che/mains/index
สนับสนุนโดย สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่ปรึกษาโครงการ สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม นางสาวทัศนีย์ ยวงเกตุ โทรศัพท์ 0 2345 1155 หรืออีเมล์ tassaneey@off.fti.or.th www.diw.go.th หรือ www.fti.or.th หรือ เข้าไปที่http://aida-2010.com/fti-che/mains/index