1 / 31

พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย เริ่มประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐

พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย เริ่มประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐. หลังจากอาณาจักรพุกามและกัมพูชาเสื่อมอำนาจลง คนไทยจึงได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นเอง 2 อาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรล้านนาทางภาคเหนือของไทย ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่และอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน.

Download Presentation

พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย เริ่มประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัยเริ่มประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ • หลังจากอาณาจักรพุกามและกัมพูชาเสื่อมอำนาจลง คนไทยจึงได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นเอง 2 อาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรล้านนาทางภาคเหนือของไทย ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่และอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน

  2. • สุโขทัยเริ่มแรกนับถือพุทธศาสนาแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์เพราะได้รับอิทธิพลจากอาณาจักรขอมเรืองอำนาจ และนับถือเถรวาทแบบมอญซึ่งได้รับอิทธิพลจากอาณาจักรพุกาม ของพม่า (พ.ศ. ๑๔๐๐-๑๖๕๐) ( มอญทวารวดี (พ.ศ.๑๑๐๐-๑๖๐๐) และลพบุรี (พ.ศ.๑๖๐๐-๑๘๐๐) • พ่อขุนรามคำแหงทรงเห็นว่าขอมหมดอำนาจแล้วและทรงไม่ศรัทธาในลัทธิเดิม และเห็นว่าว่ามีลัทธิพุทธศาสนาที่ยังบริสุทธิ์ดีอยู่นั่นคือพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากเมืองนครศรีธรรมราชโดยนิมนต์พระสงฆ์เหล่านั้นที่เป็นพระไทยและลังกามาแผ่พุทธศาสนาที่สุโขทัย

  3. ในยุคนี้เองที่พระไทย เขมร มอญ นิยมไปเรียนพระพุทธศาสนาที่ศรีลังกา และนำภาษาบาลีมาใช้ในไทยและเริ่มใช้ภาษาบาลีแต่ก็ยังมีอิทธิพลของภาษาสันสกฤตที่มีมาพร้อมกันกับลัทธิมหายานก่อนหน้านั้น • เกิดนิกาย ๒ นิกาย คือ นิกายคณะเหนือ คือกลุ่มพระสงฆ์เดิม และกลุ่มพระสงฆ์จากลังกาที่ได้มาจากนครศรีธรรมราชเป็นนิกายคณะใต้

  4. เกิดรูปแบบวัดป่าและวัดในเมือง คือพระสงฆ์ฝ่ายเหนืออยู่วัดแบบคามวาสี (มือง)ส่วนฝ่ายใต้อยู่วัดแบบอารัญญิก (ป่า) • เกิดค่านิยมว่าฝ่ายเหนือที่เป็นคามวาสีเป็นกลุ่มพระพวกคันถธุระ คือมีหน้าที่เรียนพระไตรปิฎก และพวกคณะใต้ที่เป็นฝ่ายอารัญญิกมุ่งปฏิบัติวิปัสสนาธุระ

  5. พระสงฆ์เถรวาทแบบเดิมใช้ภาษาสันสกฤต ส่วนสายลังกาใช้ภาษาบาลี • สายลังกาตั้งข้อรังเกียจสงฆ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับมหายานมาก จึงไม่สังฆกรรมร่วม • เกิดการรวมสงฆ์ทั้ง ๒ นิกายเข้าด้วยด้วยกุสโลบายของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือทรงให้การสนับสนุนสายลังกาและเหล่าบรรดาเจ้านายก็เลื่อมใสลังกาวงศ์ สุดท้ายเลยรวมกันมาเป็นมหานิกายเช่นที่รู้จักกันในปัจจุบัน

  6. หลังจากรวมกันได้มีการบรรพชาอุปสมบทที่ต้องใช้ภาษา สันสกฤตและบาลี ในการรับไตรสรณคมน์ (เลิกในสมัย ร.๕) • พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ส่งอิทธิพลทั่ว ไทย พม่า มอญ ลาว เขมร

  7. สมัยนี้เลิกนับถือนิกายมหายาน ส่วนใหญ่นับถือเถรวาทแบบลังกาวงศ์ สมัยขอมปกครองนั้นมหายานรุ่งเรืองมาก • ระบบการปกครองของขอม พระเจ้าแผ่นดินเป็นแบบเทพาวตาร คือ เทพเจ้าอวตารลงมา(แบบลัทธิพราหมณ์) พระเจ้าแผ่นดินจึงเหินห่างประชาชน ส่วนสมัยสุโขทัยนั้นใช้ระบอบพ่อปกครองลูก กษัตริย์จึงใกล้ชิดประชาชนมาก กษัตริย์ทรงบำเพ็ญจักรวรรดิสูตรต่อประชาชน ซึ่งมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการปกครองมาก

  8. ศิลาจารึกของขอม เริ่มด้วยการสดุดีพระเจ้าแล้วพูดถึงเกียรติคุณของกษัตริย์ ลงท้ายด้วยการสาปแช่ง ส่วนจารึกของไทยสมัยสุโขทัยจะพูดถึง • เหตุการณ์บ้านเมือง เศรษฐกิจและสังคม ไม่มีการสาปแช่งสังคม อันเป็นผลมาจากการปกครองแบบพ่อปกครองลูก • ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไทยสมมัยสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียง ๕๐ ปีเท่านั้น คนทั้งหลายเบื่อการปกครองแบบขอมที่ผลักภาระอันหนักให้แก่ประชาชน ด้วยการเก็บภาษีอย่างแรง และเกณฑ์คนไปสร้างปราสาทหินอันมหึมาเพื่ออวดศักดาของผู้ปกครอง คนทั้งหลายจึงพอใจอ้อนน้อมต่อสุโขทัยซึ่งปกครองโดยธรรม

  9. พระไตรปิฎกที่รับมาจากทวาราวดีไม่ค่อยสมบูรณ์ได้รับเพิ่มมาจากลังการสมบูรณ์ขึ้น มีการแปลภาษาสิงหลที่บันทึกพระไตรปิฎกเป็นอักษรขอม เพราะนิยมแบบขอม และเกิดความเข้าใจผิดไปว่าอักษรขอมใช้สำหรับพระไตรปิฎกและตีความว่าอักษรขอมเป็นของขลัง ในสมัย ร. ๕ จึงให้บันทึกเป็นอักษรไทย

  10. สร้างมนังคสิลาอาสน์ เพื่อให้พระสงฆ์มาเผยแผ่ศาสนา • ทรงมุ่งพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าโดยใช้สัญลักษณ์จากพระพุทธรูปปางลีลา

  11. ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) หนังสือไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือสำคัญสมัยกรุงสุโขทัยที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันเป็นวรรณคดีทางศาสนาที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมากเดิมเรียกว่า "เตภูมิกถา หรือไตรภูมิกถา"ในการพิมพ์ครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2455  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเปลี่ยนชื่อหนังสือเล่มนี้เป็น "ไตรภูมิพระร่วง"เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัยให้คู่กับหนังสือสุภาษิตพระร่วงผู้แต่งพระมหาธรรมราชาที่  1  (พระยาลิไท)ความมุ่งหมาย1. เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา 2. เพื่อใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรมและช่วยกันดำรงพระพุทธศาสนาไว้ให้ยั่งยืน

  12. ลักษณะการแต่งแต่งเป็นร้อยแก้วลักษณะการแต่งแต่งเป็นร้อยแก้ว เนื้อหาสาระเริ่มต้นด้วยคาถานมัสการเป็นภาษาบาลีต่อไปมีบานแพนกบอกชื่อผู้แต่งวันเดือนปีที่แต่งบอกชื่อคัมภีร์บอกความมุ่งหมายในการแต่งแล้วจึงกล่าวถึงภูมิทั้ง  3  ว่า  "อันว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมจะเวียนวนไปมาและเกิดในภูมิ  3  อันนี้แล"คำว่า  "ไตรภูมิ"แปลว่าสามแดนคือกามภูมิ  ,  รูปภูมิ  ,  และอรูปภูมิทั้ง  3  ภูมิแบ่งออกเป็น  8  กันฑ์คือ                            1. กามภูมิ มี 6 กัณฑ์

  13. กามมี  6  ชั้นคือจาตุมหาราชิก  ,   ดาวดึงส์  ,  ยามะ   , ดุสิต  , นิมมานรดี  , ปรนิมมิตวสวดี 2.      รูปภูมิ มี  1  กัณฑ์คือรูปาวจรภูมิเป็นแดนของพรหมที่มีรูปแบ่งเป็น  16  ชั้นตามภูมิธรรมเรียกว่าโสฬสพรหม 3.      อรูปภูมิมี  1  กัณฑ์คืออรูปาวจรภูมิเป็นแดนของพรหมไม่มีรูปมีแต่จิต แบ่งเป็น 4ชั้น

  14. คุณค่า                1. ด้านศาสนา ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสืออ่านยาก ตั้งแต่สมัยสุโขทัยตลอดมาจนกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นผู้ที่นำไตรภูมิไปสู่ชาวบ้านก็คือพระสงฆ์และนำไปโดยการเทศนาทำภาษายากให้เป็นภาษาง่ายที่ชาวบ้านเข้าใจได้โดยเฉพาะเนื้อเรื่องนั้นมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับบาปบุญคุณโทษการเกิดการตายเกี่ยวกับโลกทั้งสาม  (ไตรภูมิ)ซึ่งทำให้คนสมัยกรุงสุโขทัยเข้าใจเรื่องชีวิตของตนเองว่าเกิดมาอย่างไรตายแล้วไปไหนโลกที่อยู่ปัจจุบันและโลกหน้าเป็นอย่างไร

  15.   2. ด้านภาษา สำนวนโวหารในไตรภูมิโดยเฉพาะพรรณนาโวหารนั้นประณีตละเอียดลออเป็นอย่างยิ่งจนทำให้นึกเห็นสมจริงให้เห็นสภาพอันน่าสยองขวัญของนรกสภาพอันรุ่งเรืองบรมสุขของสวรรค์จนจิตรกรอาจถ่ายบทพรรณนานั้นลงเป็นภาพได้เราจะเห็นภาพฝาผนังของวิหารและโบสถ์ตามวัดต่างๆ ไป (นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางภาษาระหว่างสมัยพ่อขุนรามคำแหงกับสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท)

  16. 3. ด้านสังคม มุ่งใช้คุณธรรมความดีเป็นพื้นฐานการสร้างสรรค์ความสุขในสังคม 4. ด้านอิทธิพลต่อกวียุคหลังกวียุคหลังได้ใช้ไตรภูมินี้เป็นแนวพรรณนาป่าหิมพานต์เขาพระสุเมรุ วิมานพระอินทร์ ส่วนจิตรกรได้อาศัยความคิดความเชื่อในไตรภูมิเป็นแนวการสร้างสรรค์งานศิลปะรวมความว่า ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือเก่าชั้นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อความคิดอ่านของคนไทยในเรื่องบาปบุญคุณโทษในด้านจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์ต่างๆและวรรณคดีตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยปัจจุบันหนังสือนี้แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถของพระยาลิไทในด้านศาสนาและใช้จริยธรรมในการบริหารบ้านเมืองอย่างดียิ่ง

  17. ศิลปะสุโขทัย : สถาปัตยกรรม แผนผังของวัด (เขตพุทธาวาส) วัดประกอบด้วยพื้นที่สำคัญ 2 ส่วน 1.ส่วนที่เป็นท่ออยู่ของสงฆ์เรียกว่าสังฆาวาส 2.ส่วนที่ไว้ใช้ทำพิธีกรรมหรือประดิษฐานสิ่งก่อสร้างสำคัญหรือพระพุทธรูปสำคัญเรียกว่าพุทธาวาส สิ่งก่อสร้างที่อยู่ในส่วนสังฆาวาส ได้แก่ กุฏิซึ่งมักทำจากไม้เมื่อเวลาผ่านไปย่อมเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาในขณะที่ส่วนพุทธาวาสจะสร้างขึ้นจากวัสดุที่คงทนเช่นอิฐหินศิลาแลงเป็นต้นวัดในสมัยสุโขทัยจึงเหลือหลักฐานให้ศึกษาเฉพาะส่วนพุทธาวาส

  18. การวางแผนผังอาคารในส่วนพุทธาวาสสมัยสุโขทัยนิยมหันหน้าไปทางทิศตะวันออกอาจแบ่งประเภทของแผนผังวัดได้ดังนี้การวางแผนผังอาคารในส่วนพุทธาวาสสมัยสุโขทัยนิยมหันหน้าไปทางทิศตะวันออกอาจแบ่งประเภทของแผนผังวัดได้ดังนี้ 1.ทำเจดีย์เป็นประธานของวัดด้านหน้าเจดีย์ทำวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป (รูปที่ 1) 2.ทำมณฑปเป็นประธานของวัดด้านหน้าเจดีย์ทำวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป (รูปที่ 2) จึงเห็นได้ว่าในสมัยสุโขทัยสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญได้แก่เจดีย์มณฑปและ วิหารในขณะที่อุโบสถยังไม่มีความ สำคัญสร้างขึ้นในตำแหน่งที่ไม่สำคัญหรือบางวัดอาจไม่มีการทำอุโบสถ

  19. ทำเจดีย์เป็นประธานของวัดด้านหน้าเจดีย์ทำวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปทำเจดีย์เป็นประธานของวัดด้านหน้าเจดีย์ทำวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป

  20. -  มณฑป มณฑปในสมัยสุโขทัยเป็นอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ไว้ภายในมณฑปในสมัยสุโขทัยมีความหมายว่าเป็นกุฎี เฉพาะขององค์พระพุทธเจ้าเท่านั้นดังนั้นจึงใช้ประดิษฐานเฉพาะพระพุทธรูปเพียงอย่างเดียวไม่มีพื้นที่สำหรับจุคนจำนวนมากๆได้หรือเอาไว้ใช้ทำพิธีกรรมได้ (รูปที่ 5)

  21. มณฑป

  22. มณฑปชนิดหนึ่งที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของศิลปะสุโขทัยได้แก่มณฑปพระสี่อิริยาบถเป็นมณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสี่องค์ในอิริยาบถนั่งยืนเดินและนอนเข้าไว้ด้วยกัน (รูปที่ 6)

  23. - อุโบสถ ไว้ใช้ทำพิธีกรรมเฉพาะสงฆ์ในสมัยสุโขทัยพบเป็นจำนวนน้อยแต่เท่าที่พบรูปแบบโดยทั่ว ไปมีลักษณะเหมือนกับวิหารเพียงแต่มีใบเสามาล้อมรอบและมักมีคูน้ำล้อมรอบหรือสร้างขึ้นบนเกาะกลางน้ำ (รูปที่ 7)

  24. ศิลปะสุโขทัย : ประติมากรรม พระพุทธรูป พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยมีผู้แบ่งกลุ่มตามพุทธลักษณะเป็น 4 กลุ่มได้แก่ 1. หมวดวัดตระกวน 2.หมวดใหญ่ 3. หมวดพระพุทธชินราช 4. หมวดกำแพงเพชร

  25. 1. หมวดวัดตระกวน เหตุที่เรียกชื่อนี้เนื่องจากพระพุทธรูปในหมวดนี้ที่วัดตระกวนเป็นครั้งแรกพระพุทธรูปหมวดวัดตระกวนนี้มีพุทธลักษณะที่สำคัญคือพระพักตร์กลมบางองค์มีชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน(นม) พระพุทธรูปบางองค์ในกลุ่มนี้อาจเป็นพระพุทธรูปยุคแรกของสุโขทัยก็ได้

  26. 2. หมวดใหญ่ พระพุทธรูปหมวดนี้ ถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุด พุทธลักษณะของพระพุทธรูปหมวดนี้คือพระรัศมี เปลวพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่งอมยิ้มเล็กน้อยพระอังสาใหญ่บั้นพระองค์เล็กครองจีวรห่มเฉียงชายสังฆาฏิจรดพระนาภี (ท้อง) ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบหากเป็นพระพุทธรูปนั่งมักทำปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ

  27. นอกจากนี้พระพุทธรูปในหมวดนี้ยังมีที่ทำเป็น ปางลีลาหรือ ก้าวเดินซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะสุโขทัยด้วย

  28. 3. หมวดพระพุทธชินราช เป็นกลุ่มที่ทำพระพุทธรูปขนาดใหญ่เช่นพระพุทธชินราชพระพุทธชินสีห์พระศรีศาสดาเป็นต้นพุทธลักษณะที่สำคัญคือพระพักตร์ค่อนข้างกลมนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่นิ้วยกเว้นนิ้วโป้งจะยาวเท่ากัน

  29. 4. หมวดกำแพงเพชร ส่วนใหญ่มีพุทธลักษณะแบบเดียวกันกับพระพุทธรูปหมวดใหญ่เพียงแต่ว่าวงพระพักตร์ตอนบนกลางพระหนุ(คาง) เสี้ยมพบเป็นจำนวนน้อย

  30. เทวรูป แม้ในสมัยสุโขทัยจะนับถือพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์เป็นหลักแต่ก็มิได้หมายความว่าจะไม่มีการนับถือศาสนาอื่นๆศาสนาที่มีการนับถืออยู่บ้างในสมัยสุโขทัยได้แก่ศาสนาฮินดูดังได้พบเทวรูปสำริดอันประกอบด้วยพระอิศวรพระอุมา

  31. พระนารายณ์พระพรหมและพระหริหระพระนารายณ์พระพรหมและพระหริหระ แม้ว่าจะสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูแต่เป็นที่น่าสังเกตว่าลักษณะบางประการเช่นวงพระพักตร์ของเทวรูปเหล่านี้เป็นวงรูปไข่คล้ายกับพระพุทธรูป แสดงให้เห็นว่าช่างผู้สร้างอาจเป็นช่างกลุ่มเดียวกันหรืออาจอยู่ภายใต้อิทธิพลซึ่งกันและกัน ก็ได้

More Related