100 likes | 483 Views
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนของนักเรียน ในเขตภาคใต้ตอนบน. FACTORS AFFECTING DECISION MAKING OF STUDENTS TO STUDY IN PRIVATE VOCATIONAL COLLEGE IN UPPER SOUTHERN OF THAILAND. ดร . วันฉัตร ทิพย์มาศ. วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา จ . นครศรีธรรมราช.
E N D
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนของนักเรียน ในเขตภาคใต้ตอนบน FACTORS AFFECTING DECISION MAKING OF STUDENTS TO STUDY IN PRIVATE VOCATIONAL COLLEGE IN UPPER SOUTHERN OF THAILAND ดร.วันฉัตร ทิพย์มาศ วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา จ.นครศรีธรรมราช
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา • สัดส่วนจำนวนนักเรียนอาชีวศึกษาต่อมัธยมศึกษาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง • จากปี 2549-2553 กล่าวคือ ลดลงจาก 41:58 เป็น 38:62 ในปี 2553 • นักเรียนที่จบ ม.3 ทั้งหมด เรียนต่อสายสามัญร้อยละ 60 • อาชีวศึกษารัฐร้อยละ 24ดังนั้นจะเรียน อาชีวศึกษาเอกชนแค่ ร้อยละ 16 เท่านั้น • วิทยาลัยอาชีวศึกษาในภาคใต้ตอนบน 7 จังหวัดประสบปัญหาจำนวนนักเรียนที่ศึกษาต่ออาชีวศึกษาเอกชนลดลงเป็นจำนวนมาก • ในปี 2552 มีจำนวน 19,486 คน ปี 2553 มีจำนวน 18,456 และปี 2554 • มีจำนวน 17,980 คน ภาพลักษณ์ จำนวนลดลงของนักเรียน • การศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ (ม.4-ม.6) หลักสูตร 3 ปี • การศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. 3 ปี) • ในสถานศึกษาของรัฐ, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน • การศึกษาต่อด้านทหาร-ตำรวจ • การศึกษาต่อด้านอื่น ๆ ได้แก่ วิทยาลัยนาฏศิลปะ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ โรงเรียนช่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วิทยาลัยในวังหญิง วิทยาลัยในวังชาย โรงเรียนราชาพาณิชย์นาวี ทางเลือกในการศึกษาต่อ • ปัญหาภาพลักษณ์วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน, ค่านิยมของคนภาคใต้
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. 2. เพื่อศึกษาปัจจัยและตัวบ่งชี้ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนของนักเรียน ในเขตภาคใต้ตอนบน ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพจริง (Concurrent Validity) ของปัจจัยและตัวบ่งชี้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนของนักเรียน ในเขตภาคใต้ตอนบนโดยยืนยันกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด (Known Group)
กรอบแนวคิดการวิจัย หลักสูตรสาขา ผลิตภัณฑ์ อัตลักษณ์ การส่งเสริมการตลาด แบรนด์ การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ครูดี บุคคล สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ข้อพิสูจน์ ตัวบ่งชี้ ปัจจัยย่อย ปัจจัยหลัก ความสัมพันธ์วิทยาลัย กับชุมชน การคล้อยตามกลุ่มเพื่อน การส่งเสริมของผู้ปกครอง ศิษย์เก่า เทคโนโลยีสารสนเทศ สภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัย แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หลักฐานเชิงประจักษ์
วิธีดำเนินการวิจัย ตอนที่ 1 การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ ขั้นที่ 1 ศึกษาเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี ขั้นที่ 2 ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 3 สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยและตัวบ่งชี้การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ ขั้นที่ 1 สังเคราะห์ปัจจัยและตัวบ่งชี้ ประมวลได้ 5 ปัจจัยหลัก 12 ปัจจัยย่อย และ 118 ตัวบ่งชี้ ขั้นที่ 2 นำมาสร้างเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นข้อคำถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) โดยใช้มาตราแบบลิคเอิร์ท (Likert)
วิธีดำเนินการวิจัย (ต่อ) ตอนที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพ (Content Validity) ของตัวบ่งชี้การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ การตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา โดยใช้ค่า CVI โดยผู้เชี่ยวชาญ 10 ท่าน มีค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหาสูงกว่า .80 ขึ้นไปทุกข้อ โดยค่า I-CVI อยู่ระหว่าง .80-1.00 ค่า S-CVI คือ .98 ตอนที่ 4 การทดลองใช้แบบสอบถาม (Try Out) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตภาคใต้ตอนบน จาก 3 วิทยาลัย จำนวน 50 คน หาค่าสถิติแสดงค่าอำนาจจำแนก ตัวบ่งชี้ 118 ข้อ ตัดเหลือ 105 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .96
วิธีดำเนินการวิจัย (ต่อ) ตอนที่ 5 การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล • ประชากร • นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเขตภาคใต้ตอนบน ในปีการศึกษา 2555 จำนวน 6,146 คน จำนวน 24 วิทยาลัย • กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง • ตามแนวคิดของเสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2554) การวิเคราะห์องค์ประกอบ • อย่างน้อยที่สุดต้องเป็น 10 เท่าของตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ • การวิจัยครั้งนี้มีตัวบ่งชี้ที่ต้องการวิเคราะห์ 105 ตัวบ่งชี้ • มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,050 คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA)โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ ดังนี้ 1. คำนวณค่าสถิติพื้นฐาน เช่น ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 2. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยวิธีสกัดปัจจัย (Principal Component Analysis : PCA)
วิธีดำเนินการวิจัย (ต่อ) ตอนที่ 6 การทดสอบกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด (Known Group) ขั้นที่ 1 การพัฒนาเครื่องมือ เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 2 ตอน คือ 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวบ่งชี้การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตภาคใต้ตอนบน มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) โดยใช้มาตราแบบลิคเอิร์ท (Likert) ขั้นที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ขั้นที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูล เลือกกลุ่มผู้รู้แจ้งชัดแบบเจาะจง (Purposive Samplings) คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ที่มีผลการเรียนสะสม 3.00 ขึ้นไป ปีการศึกษา 2555 ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตภาคใต้ตอนบน เพื่อการหาความเที่ยงตรงตามสภาพจริง (Concurrent Validity) จาก 2 วิทยาลัย จำนวน 50 คน ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล 1. หาค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของกลุ่มผู้รู้แจ้งชัดในแต่ละตัวบ่งชี้ 2. หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อทราบการกระจายของข้อมูลในแต่ละตัวบ่งชี้ 3. ทดสอบค่า ที (t-test)โดยการเปรียบเทียบระดับค่าเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ที่ได้กับเกณฑ์ประเมินค่าที่ระดับมาก (µ = 3.50) ตามการแปลความหมายค่าเฉลี่ยแบบอิงเกณฑ์ (Criterion Reference) เพื่อยืนยันว่าตัวบ่งชี้ที่ค้นพบในการวิจัยนี้มีความเที่ยงตรงตามสภาพจริง
สรุปผลการวิจัย 1. ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีตัวบ่งชี้จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 43.617 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .851-.540 2. ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัย มีตัวบ่งชี้จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 6.378 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .790-.507 3. ปัจจัยครูดี มีตัวบ่งชี้จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 5.608 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .760-.590 4. ปัจจัยความสำเร็จของศิษย์เก่า มีตัวบ่งชี้จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 4.044 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .664-.501 5. ปัจจัยการส่งเสริมของผู้ปกครอง มีตัวบ่งชี้จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 3.570 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .748-.646 6 . ปัจจัยแบรนด์มีตัวบ่งชี้จำนวน 5 ตัวบ่งชี้สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 3.151 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .785-.504
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้ 1. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนของนักเรียนมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยอื่น ดังนั้น ผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนควรนำตัวบ่งชี้ ทั้ง 12 ข้อของปัจจัยมาใช้ในการดำเนินการของวิทยาลัย เพื่อสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อโดยทางผู้บริหารวิทยาลัยควรจัด Workshop และBrainstorming เพื่อให้ได้แนวนโยบายผลลัพธ์ตามตัวบ่งชี้ 2. ผู้บริหารระดับสูงวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตภาคใต้ตอนบน สามารถนำผลการวิจัยนี้ไปเป็นแนวทางในการบริหารสถานศึกษา โดยการวางแผน จัดทำนโยบาย รวมทั้งการกำหนดยุทธศาสตร์และกลวิธีสู่การบริหารจัดการวิทยาลัยเพื่อสร้างคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่นและเป็นที่นิยมของนักเรียน 3. ผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน สามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางในการจัดทำโครงการทางด้านการแนะแนวการศึกษาให้กับวิทยาลัยเพื่อให้วิทยาลัยเป็นที่นิยมในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักเรียน