450 likes | 1.89k Views
บทที่ 4 จ้างแรงงาน – จ้างทำ ของ.
E N D
บทที่ 4จ้างแรงงาน – จ้างทำของ สัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ มีลักษณะที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันบ้าง บางประการ กล่าวคือ เป็นการจ้างให้บุคคลอื่นทำงานให้ แต่อย่างไรก็ตามสัญญาจ้างแรงงานมิได้มุ่งถึง ผลสำเร็จของงานเป็นหลักเหมือนดังเช่นสัญญาจ้างทำของที่แม้ว่าผู้รับจ้างสามารถใช้แรงงานหรือทรัพยากรอื่นใดก็ตามโดยมุ่งถึงผลสำเร็จของงานเป็นหลัก
จ้างแรงงาน • ความหมายของสัญญาจ้างแรงงาน • สัญญาจ้างแรงงาน คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งที่เรียกว่า “ลูกจ้าง” ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “นายจ้าง” และ นายจ้างตกลงจะให้สินจ้างแก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้” • ลักษณะของสัญญาจ้างแรงงานที่สำคัญ คือ • (1) สัญญาจ้างแรงงานเป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่งกล่าวคือ เป็นนิติกรรมสองฝ่ายระหว่างคู่สัญญาฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างที่มีการ บัญญัติไว้เป็นเอกเทศในลักษณะจ้างแรงงาน-จ้างทำของ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ • (2) สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ก่อหนี้ให้แก่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายโดยฝ่ายลูกจ้างมีหนี้ที่จะต้องทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างมีหนี้ที่จะต้องจ่ายสินจ้าง ให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ทำงาน ซึ่งผลตามกฎหมายหากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้อีกฝ่ายย่อมมีสิทธิ ที่จะไม่ชำระหนี้ได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการจ้างแรงงานส่วนใหญ่จะใช้กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ
(3) สัญญาจ้างแรงงานไม่มีแบบหรือหลักฐานเป็นหนังสือ กล่าวคือ กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำตามแบบหรือทำเป็นหนังสือ ฉะนั้น เพียงแต่เจตนาของทั้งสองฝ่ายตรงกัน ก็ถือว่าสัญญาจ้างแรงงานเกิดขึ้นแล้ว • (4) สัญญาจ้างแรงงานมีสาระสำคัญอยู่ที่ตัวของคู่สัญญา กล่าวคือ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะโอนสิทธิ และหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอม ในกรณีเมื่อลูกจ้างตายลง สัญญาจ้างแรงงานย่อมระงับ ทายาทจะสวมสิทธิ และหน้าที่ตามสัญญาไม่ได้ แต่สำหรับกรณีนายจ้างนั้น หากสัญญาจ้างแรงงานมีสาระสำคัญอยู่ที่ตัวบุคคล ผู้เป็นนายจ้าง สัญญาจ้างย่อมระงับไปเช่นกัน
ข้อสังเกต สัญญาจ้างแรงงานอาจเป็นความตกลงในการทำงานที่ต้องใช้สติปัญญา นอกจากแรงงานก็ได้ สินจ้างในสัญญาจ้างแรงงานอาจเป็นทรัพย์สินอื่นใด โดยไม่จำกัดเพียงแค่ ในรูปเงินตราเท่านั้น และ “ลูกจ้าง” ในที่นี้ไม่ได้หมายความรวมถึง ข้าราชการ และ ลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ • ตัวอย่างเช่น • คำพิพากษาฎีกาที่ 3834/2524 • จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ขับรถยนต์รับจ้าง บรรทุก หิน ดิน ทราย อันเป็นการทำงานให้แก่ จำเลยที่ 2 ภายใต้การบังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 โดยจะมีจ่ายสินจ้างให้เป็นรายเที่ยว และกำหนดจ่ายสินจ้างเมื่อได้ทำงานเสร็จแล้วเป็นสัญญาจ้างแรงงาน • คำพิพากษาฎีกาที่ 769/2505 • ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับกระทรวงทบวง กรม เป็นไปตามกฎหมายฝ่ายปกครอง เช่น พ.ร.บ ข้าราชการพลเรือน ฯ หาได้เกิดขึ้นและเป็นไปเพราะผล ของนิติกรรมสัญญาจ้างแรงงานไม่
สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้าง • สิทธิของลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน มีดังนี้ • (1) ได้รับสินจ้างตอบแทนในการทำงาน • (2) ได้รับสวัสดิการตามที่กำหนดในสัญญา และตามกฎหมาย • (3) ได้รับการปฏิบัติจากนายจ้างอย่างเสมอภาค • (4) ได้รับใบสำคัญแสดงการทำงานจากนายจ้างเมื่อสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุด • (5) ได้รับค่าเดินทางขากลับเมื่อการจ้างงานสิ้นสุดลงในกรณีลูกจ้างต่างถิ่น ซึ่งนายจ้างเอามาโดยจ่ายค่าเดินทางให้โดยการเลิกหรือระงับการจ้างดังกล่าวไม่ได้เป็นความผิดของลูกจ้าง • (6) ได้รับความคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
หน้าที่ของลูกจ้าง • แยกพิจารณาได้3 ประการ กล่าวคือ • (1) หน้าที่หลักตามสัญญาจ้างแรงงาน ลูกจ้างจะต้องทำงานด้วยตนเอง เว้นแต่จะได้รับ • ความยินยอมจากนายจ้าง และลูกจ้างจะต้องทำงานเต็มกำลังความสามารถให้ตรงความประสงค์ อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ที่กำหนดหรือตกลงกันไว้ • (2) หน้าที่อื่น ๆ เช่น ลูกจ้างจะต้องปฏิบัติตาม และเชื่อฟังคำสั่งคำบังคับบัญชาของนาย • จ้าง และต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รักษาความลับในงานของนายจ้างและต้องละเว้นกระทำการแข่งขันกับกิจการของนายจ้าง • (3) ผลของการฝ่าฝืนต่อหน้าที่ของลูกจ้าง ลูกจ้างที่กระทำผิดหน้าที่อาจถูกเลิกจ้าง หรืออาจเสียสิทธิบางประการตามข้อกำหนดในสัญญา หรือในระเบียบข้อบังคับของนายจ้างสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง
สิทธิของนายจ้าง • ตามสัญญาจ้างแรงงาน มีดังนี้ • (1) ได้รับแรงงานจากการทำงานของลูกจ้างตามที่ตกลงกันในสัญญา • (2) ใช้อำนาจการบังคับบัญชาตามที่กฎหมายได้กำหนด และมีสิทธิลงโทษลูกจ้างตามความผิดเท่าที่กฎหมายให้การรับรองไว้เช่น การตักเตือน การลดขั้นเงินเดือน หรือหากมีกรณีที่ลูกจ้างกระทำความผิดร้ายแรงอาจไล่ออกโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยก็ได้
หน้าที่ของนายจ้าง • แยกพิจารณาได้ 3 ประการ กล่าวคือ • (1) หน้าที่หลักตามสัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างต้องจ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้าง เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานของลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ หรือในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายแม้ลูกจ้างจะไม่ได้ทำงานก็ตาม เช่น การจ่ายค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ • (2) หน้าที่อื่น ๆ เช่น นายจ้างมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัย และให้สวัสดิการในการทำงานของลูกจ้างและต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างเสมอภาค และต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างสำหรับการกระทำละเมิด ในทางการที่จ้างของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอก และนายจ้างต้องออกใบสำคัญการผ่านงานให้แก่ลูกจ้าง เมื่อการจ้างงานสิ้นสุด ตลอดจนออกค่าเดินทางกลับให้ลูกจ้างตามเงื่อนไขของกฎหมาย • (3) ผลการฝ่าฝืนหน้าที่ของนายจ้าง เมื่อนายจ้างผิดหน้าที่ ถือได้ว่าเป็นการผิดนัด ชำระหนี้ ลูกจ้างชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ตามเงื่อนไขของกฎหมาย และเรียกร้องค่าเสียหายจากนายจ้างได้ตัวอย่างเช่น
คำพิพากษาฎีกาที่ 267/2501 • เมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดจ่ายค่าแรงงานให้ลูกจ้าง ตามผลงานที่ลูกจ้างได้ทำไป และต้องชำระดอกเบี้ยให้นับแต่วันผิดนัด • คำพิพากษาฎีกาที่3181/2530 • ลูกจ้างที่ทดลองงานหาใช่ลูกจ้างประจำสมบูรณ์อันพึงมีสิทธิตามกฎหมายเยี่ยงลูกจ้างประจำโดยทั่วไปไม่เพราะนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างเสียได้ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ความระงับของสัญญาจ้างแรงงานความระงับของสัญญาจ้างแรงงาน • สัญญาจ้างแรงงานอาจสิ้นสุดลงในกรณีดังกล่าวต่อไปนี้ • (1) สัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลาแห่งการจ้างมีเหตุแห่งการสิ้นสุด ดังนี้ • (1.1) สิ้นสุดเมื่อถึงกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา • (1.2) สิ้นสุดเมื่อเงื่อนไขสำเร็จหรือเมื่อถึงเวลากำหนดกรณีสัญญามีเงื่อนไข หรือ เงื่อนเวลา • (1.3) เกิดจากการตกลงกันของคู่สัญญาในการเลิกสัญญา • (2) สัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแห่งการจ้าง มีเหตุแห่งการสิ้นสุด ดังนี้ • (2.1) การบอกเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยบอกกล่าวล่วงหน้าในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้มีผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้าง สินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินกว่า 3 เดือน • (2.2) มีการตกลงเลิกสัญญากันระหว่างคู่สัญญา • (2.3) เมื่องานเสร็จ สัญญาจ้างแรงงานย่อมระงับไปโดยปริยาย
(3) กรณีพิเศษที่เกิดขึ้นโดยทั้งกรณีที่เป็นความผิดและไม่เป็นความผิดของลูกจ้าง คือ • (3.1) ความตายของคู่สัญญา ตามเงื่อนไขของกฎหมาย • (3.2) การทำงานของลูกจ้างตกเป็นพ้นวิสัย • (3.3) การโอนสิทธิของคู่สัญญาให้บุคคลภายนอก โดยที่อีกฝ่ายไม่ได้ให้ความยินยอมและกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถกระทำการดังที่ตนได้แสดงออกไว้แต่แรก • (3.4) ลูกจ้างกระทำความผิดอันเข้าลักษณะร้ายแรง เช่นจงใจขัดขืนคำสั่งโดยชอบของนายจ้างหรือละทิ้งงานโดยไม่มีเหตุอันควรหรือการที่ลูกจ้างทุจริตหรือผิดต่อหน้าที่ของตน • อายุความการดำเนินคดี • อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับสินจ้างมีกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่เลิกจ้าง
จ้างทำของ • ความหมายของสัญญาจ้างทำของ • สัญญาว่าจ้างทำของนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นสาระสำคัญของสัญญาจ้างทำของ มีดังนี้ • 1. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาต่างตอบแทน • กล่าวคือ ผู้รับจ้างจะต้องทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างต้อง ให้สินจ้างเพื่อผลงานนั้น ทั้งนี้สินจ้างดังกล่าวอาจเป็นเงินตราหรือทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน
2. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ทำเป็นสำคัญ • กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างทำของ คือ “ผลสำเร็จของงาน” ไม่ใช่ต้องการ เฉพาะแต่แรงงานของผู้รับจ้างเท่านั้น เช่น จ้างก่อสร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ ติดกระจก ซ่อมหลังคาบ้าน จ้างตัดเสื้อผ้า หรือจ้างว่าความ เมื่อไม่ใช่การจ้างแรงงาน นายจ้างจึงไม่ต้อง รับผิดร่วมกับลูกจ้างใน ผลแห่งการละเมิดต่อบุคคลภายนอก ผู้รับจ้างจึงมีอิสระในการทำงาน มากกว่าลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน โดยที่ผู้รับจ้างไม่ได้อยู่ในความควบคุม บังคับบัญชาของผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิจะสั่งงาน หรือบงการผู้รับจ้าง • 3. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ • กล่าวคือ สัญญาจ้างทำของเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาตกลงกัน แม้ด้วยวาจาก็สามารถ ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด
สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของผู้รับจ้าง • สำหรับ สิทธิ หน้าที่และความรับผิดของผู้รับจ้างพอจำแนกได้ดังนี้ • (1) ต้องทำงานให้สำเร็จตามสัญญา • (2) ต้องจัดหาเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับใช้ในการทำงาน • (3) ถ้าผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ ต้องจัดหาชนิดที่ดีถ้าผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหา ผู้รับจ้างต้องใช้สัมภาระด้วยความระมัดระวังและประหยัด เมื่อทำเสร็จแล้วต้องคืนสัมภาระที่เหลือ • (4) ต้องรับผิดในความชักช้าของงานที่ทำเว้นแต่ความชักช้านั้นเกิดจากความผิดของผู้ว่าจ้าง • (5) ต้องยอมให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนตรวจตราการงานได้ตลอดเวลา
(6) ต้องแก้ไขความบกพร่องที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ทำงานนั้น • (7) ต้องรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องภายหลังการส่งมอบ เพียงที่ปรากฏขึ้นภายใน 1ปีนับแต่วันส่งมอบ หรือภายใน 5 ปีถ้าเป็นสิ่งปลูกสร้างบนพื้นดิน • (8) ถ้าผู้ว่าจ้างยอมรับการที่ทำบกพร่องนั้นโดยไม่อิดเอื้อน ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ความชำรุดบกพร่องนั้น จะไม่พึงพบได้ในขณะรับมอบ หรือผู้รับจ้างได้ปิดบังความ • นั้นเสีย • (9) ต้องทำการให้เสร็จและส่งมอบให้ตรงตามเวลาที่ตกลงกันไว้ หากส่งมอบล่าช้า ผู้ว่าจ้างชอบที่จะลดสินจ้างลง และอาจจะใช้สิทธิในการบอกเลิกสัญญาได้
สิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้างสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้าง • สำหรับสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้ว่าจ้างพอจำแนกได้ดังนี้ • (1) สิทธิเลิกสัญญาในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่ได้เริ่มทำการในเวลาอันสมควร หรือในกรณี ที่ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานได้ทันตามกำหนดเวลา ตลอดจนสามารถใช้สิทธิยึดหน่วงสินจ้างได้ • (2) สิทธิเลิกสัญญาถ้าการที่จ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ แต่ผู้ว่าจ้างจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่ผู้รับจ้างเช่นกัน • (3) หน้าที่ในการจ่ายสินจ้าง เว้นแต่จะมีเหตุให้ไม่ต้องจ่ายสินจ้าง หรือมีเหตุให้ลดสินจ้าง เช่น ผู้รับจ้าง มีสิทธิหักค่าจ้างเท่าที่เสียหายได้
(4) ผู้ว่าจ้างย่อมรับผิดเมื่อผู้ว่าจ้างมีส่วนผิดในกรณีสั่งให้ทำหรือในการเลือกผู้รับจ้างหรือ • ในคำสั่งที่ตนได้ให้ไว้ • (5) ถ้าผู้รับจ้างเป็นผู้จัดสัมภาระ และการที่จ้างทำนั้นพังทลายหรือบุบสลาย ความวินาศ • นั้น ตกเป็นพับแก่ผู้รับจ้าง สินจ้างก็ไม่ต้องใช้ • (6) ถ้าผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดการสัมภาระและการที่จ้างทำนั้นพังทลายหรือบุบสลายความวินาศ • ตกเป็นพับแก่ผู้ว่าจ้าง สินจ้างก็เป็นอันไม่ต้องใช้ เว้นแต่เป็นความผิดของผู้ว่าจ้าง
ความระงับแห่งสัญญาจ้างทำของความระงับแห่งสัญญาจ้างทำของ • สัญญาจ้างทำของจะระงับลงได้ดังนี้ • (1) สัญญาจ้างทำของระงับลงโดยผลของกฎหมาย เช่น การทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาหรือมีการวินาศสิ้นไปของสัมภาระ ตลอดจนความตายของผู้รับจ้าง • (2) สัญญาจ้างทำของระงับลงโดยการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง • (3) สัญญาจ้างทำของระงับลงโดยผู้ว่าจ้างใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ในกรณีที่การจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ และได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับจ้างเรียบร้อยแล้ว
อายุความ • การฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อให้ผู้รับจ้างผิดในความชำรุดบกพร่อง ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ความชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น