460 likes | 674 Views
บทที่ 6 กลยุทธทางการตลาดและการสร้างแบรนด์ของสินค้า. Marketing Strategies and Branding. กรณีศึกษา www.misslilly.com. กรณีศึกษา Misslilly.com. “ มิสลิลลี่ บริการส่งดอกไม้ทั่วราชอาณาจักร ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ” เป็นร้านดอกไม้ที่มีชื่อเสียงมากกว่าสิบปี ที่เน้นการจัดส่งที่รวดเร็ว และจัด
E N D
บทที่ 6กลยุทธทางการตลาดและการสร้างแบรนด์ของสินค้า Marketing Strategies and Branding
กรณีศึกษา Misslilly.com “มิสลิลลี่ บริการส่งดอกไม้ทั่วราชอาณาจักร ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง” เป็นร้านดอกไม้ที่มีชื่อเสียงมากกว่าสิบปี ที่เน้นการจัดส่งที่รวดเร็ว และจัด จำหน่ายครอบคลุมทั่วประเทศ กำเนิดของ www.misslilly.comเกิดจากคุณเรวัต จินดาพล เจ้าของบริษัทซ่อมลิฟท์แห่งหนึ่ง ได้เผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 จึงได้ขายกิจการให้กับนักลงทุนต่างชาติ แต่เหลือไว้เฉพาะส่วนของฝ่าย MIS ของบริษัท และนั่นก็เป็นฐานสำคัญของการบริหารข้อมูลลูกค้าของ มิสลิลลี่ในเวลาต่อมา
กรณีศึกษา Misslilly.com • ในปี 2541 คุณเรวัต จินดาพลได้มองเห็นโอกาสทางการตลาดในการนำดอกไม้เข้าสู่ธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • โดยเริ่มธุรกิจนี้ด้วยทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท • จัดจำหน่ายดอกไม้ผ่านทางเว็บไซต์และคอลเซนเตอร์ • มีร้านดอกไม้พันธมิตรอยู่กว่า 100 แห่ง ทั่วประเทศ • ใช้ระบบฐานข้อมูล ORACLE, CRM
กรณีศึกษา Misslilly.com • สิ่งที่น่าสนใจคือกลยุทธ์ของมิสลิลลี่นั้นก็คือ • การวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ (Positioning) • การเลือกตลาดเป้าหมาย (Target Market) มิสลิลลี่เลือกใช้กลยุทธ์ตลาดเฉพาะส่วนหรือมุ่งตรงไปที่ตลาดในตลาดหนึ่ง โดยเฉพาะ แล้วพยายามใช้ส่วนผสมทางการตลาดต่างๆ ในการวางตำแหน่ง ผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับตลาดที่ตัวเองเลือก
กรณีศึกษา Misslilly.com ปัจจัยต่างๆ ของการแบ่งส่วนตลาดเพื่อที่จะเลือกตลาดเป้าหมาย • ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ (Geographic) • ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ (Demographic) • ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา (Psychographic)
กรณีศึกษา Misslilly.com • ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ (Geographic) • ลูกค้าคนไทยทั้งประเทศ • สามารถทำได้โดยการสร้างร้านค้าเครือข่ายขึ้นมา • เมื่อลูกค้าซื้อช่อดอกไม้ผ่านทางเว็บไซต์ ทางมิสลิลลี่จะเป็นศูนย์กลางรับคำสั่งซื้อแล้วส่งข้อมูลไปร้านค้าที่เป็นเครือข่ายที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับลูกค้า โดยให้ร้านจัดส่งดอกไม้ตามรูปแบบที่มิสลิลลี่กำหนด แล้วให้จัดส่งถึงมือลูกค้า • ทำให้มิสลิลลี่ไม่ต้องลงทุนเรื่องร้านค้าเอง • มิสลิลลี่มีเป้าหมายขยายตลาดไปยังประเทศแถบอาเซียน 10 ประเทศอีกด้วย
เว็บไซต์เน้นตลาดเป้าหมายเป็นคนจังหวัดขอนแก่นเว็บไซต์เน้นตลาดเป้าหมายเป็นคนจังหวัดขอนแก่น
กรณีศึกษา Misslilly.com • ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ (Demographic) • อายุ – กลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน 15-40 ปี • เพศ - ไม่แตกต่างกันระหว่างเพศชายและเพศหญิง • รายได้ - มุ่งยังกลุ่มที่มีรายได้สูงเป็นหลัก
เว็บไซต์ที่เน้นกลุ่มวัยรุ่นเว็บไซต์ที่เน้นกลุ่มวัยรุ่น เน้นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนกับเพื่อนและมีเวทีสำหรับแสดงออก เช่น ไดอารี่ การหาเพื่อนคุย การโพสต์รูป บันเทิงต่างๆ
เว็บไซต์ที่เน้นกลุ่มคนวัยทำงานเว็บไซต์ที่เน้นกลุ่มคนวัยทำงาน
เว็บไซต์ที่เน้นกลุ่มเด็ก 0-6 ปี
กรณีศึกษา Misslilly.com • ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา (Psychographic) • ชั้นของสังคม (Social Class) – มุ่งกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนชั้นสูง (Upper Class) และคนชั้นกลางระดับบน (Upper-middle class) มิสลิลลี่พยายามสร้างแบรนด์เพื่อเป็นภาพสะท้อนการยอมรับทางสังคม การได้รับการยกย่อง นับถือและแสดงสถานะทางสังคม ซึ่งสามารถแสดงออกได้โดยการใช้สินค้าที่มีแบรนด์เป็นที่ยอมรับระดับสากล เช่นการรับประทานอาหารในที่ที่หรูหรา การส่งมอบของขวัญราคาแพงให้แก่ผู้อื่น รวมถึงการซื้อดอกไม้จาก มิสลิลลี่ด้วย
เว็บไซต์ที่เป็นเครื่องมือในการสร้างความภูมิใจกับเจ้าของบ้านเว็บไซต์ที่เป็นเครื่องมือในการสร้างความภูมิใจกับเจ้าของบ้าน
กรณีศึกษา Misslilly.com • ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา (Psychographic) • รูปแบบการใช้ชีวิต (Life Style) – วัฒนธรรมตะวันตกนิยมใช้ดอกไม้เป็นสื่อถึงความสุข เศร้า สมหวัง ซึ่งมีอิทธิพลต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของคนโดยเฉพาะสังคมเมืองโดยเฉพาะกรุงเทพ เช่น มอบให้ในวันแต่งงาน วันเกิด วันรับปริญญา เยี่ยมไข้ แสดงความเสียใจ แสดงความรัก ทำให้สินค้าชนิดนี้สามารถขายได้ตลอดทั้งปี
เว็บไซต์สำหรับคนรักสุขภาพเว็บไซต์สำหรับคนรักสุขภาพ
กรณีศึกษา Misslilly.com • ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา (Psychographic) • บุคลิกภาพ – เป็นเรื่องอุปนิสัยใจคอ คนใช้อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จะเป็นคนเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่เชื่อใครง่ายๆ ก่อนจะตัดสินใจทำสิ่งใดจะต้องค้นคว้าข้อมูลให้มากเสียก่อน ดังนั้นจึงต้องการเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ในการตัดสินใจด้วยตัวเอง เช่น www.creditsiam.comซึ่งเป็นศูนย์กลางในการสมัครบัตรเครดิต สินเชื่อ ต่างๆ ของทุก ๆ สถาบันการเงินชั้นนำ ผู้สนใจสามารถตรวจสอบรายละเอียด พร้อมข้อมูลโปรโมชันและคุณสมบัติได้ด้วยตัวเอง ก่อนตัดสินใจ
เว็บไซต์ที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการตัดสินใจเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ
กรณีศึกษา Misslilly.com สรุปปัจจัยต่าง ๆ ในการเลือกตลาดเป้าหมายของมิสลิลลี่
กรณีศึกษา Misslilly.com • เมื่อมิสลิลลี่ได้เลือกตลาดกลุ่มเป้าหมายแล้ว ก็จะมีการวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ (Product Positioning) • ก็คือการสร้างภาพพจน์อย่างไรในสายตาของผู้บริโภคในตลาดเป้าหมายนั้น ตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของมิสลิลลี่ High Price Low Low High Quality
กรณีศึกษา Misslilly.com • จะเห็นว่ามิสลิลลี่ใช้กลยุทธ์ในการตั้งราคาที่สูงกว่าคู่แข่ง • โดยเฉลี่ยราคาจะอยู่ที่ 1800 บาทต่อช่อ ในขณะที่ร้านอื่นๆ ขายอยู่ประมาณ 1000 บาทต่อช่อ • การตั้งราคาที่สูงเป็นส่วนหนึ่งของการสะท้อนภาพพจน์ของแบรนด์อีกด้วย (Brand Image)
กรณีศึกษา Misslilly.com • นอกจากมิสลิลลี่จะมุ่งเน้นในด้านการตลาดเป้าหมายเฉพาะแล้ว ยังมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างความแตกต่าง (Differentiation-Based Focus) มากกว่าจะเน้นในเรื่องของต้นทุนต่ำ (Cost Based Focus) • วิธีในการสร้างความแตกต่างของมิสลิลลี่สามารถสรุปได้ 3 ประการคือ • การสร้างความแตกต่างในตัวสินค้า • การสร้างความแตกต่างในด้านการให้บริการ • การสร้างความแตกต่างในด้านการตลาด
กรณีศึกษา Misslilly.com • การสร้างความแตกต่างในตัวสินค้า • เน้นการคัดคุณภาพของดอกไม้โดยเป็นพันธมิตรกับผู้เพาะปลูกพันธุ์ไม้ในภาคเหนือ และการนำเข้าดอกไม้จากยุโรปและประเทศจีน • นำดอกไม้ที่มีคุณภาพสูงเหล่านั้นมาจัดช่อ กระเช้าหรือตะกร้า มากกว่า 200 รายการ • มีดอกกุหลาบให้ลูกค้าเลือกมากกว่า 10 สี • มีเทคโนโลยีห้องเย็น (Cold Storage) มาใช้ควบคุมคุณภาพของดอกไม้ให้สดอยู่เสมอ
กรณีศึกษา Misslilly.com • การสร้างความแตกต่างในด้านการให้บริการ • ลูกค้าสั่งซื้อดอกไม้ได้ 24 ชั่วโมงทางเว็บไซต์หรือคอลเซนเตอร์ • เน้นความรวดเร็วและคลอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ • มีการสอบถามความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อบริการเป็นประจำ • ในวาระพิเศษมีการให้สิทธิประโยชน์แก่ลูกค้า เช่นส่งดอกไม้ให้ในวันเกิด • มีระบบช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าตลอดเวลา
กรณีศึกษา Misslilly.com • การสร้างความแตกต่างในด้านการตลาด • โฆษณาของมิสลิลลี่ที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ในช่วงแรกเริ่มต้นของบริษัทแสดงถึงความสามารถในการจัดส่งดอกไม้ได้ทุกที่ทั่วไทยแม้กระทั่งสนามรบที่ดุเดือด ซึ่งถือว่าเป็นโฆษณาที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในยุคนั้น ถือเป็นการแจ้งเกิดของมิสลิลลี่อย่างเต็มตัว • สื่อโฆษณายังคงเป็นโทรทัศน์เป็นหลัก • มีการจัดแฟชั่นโชว์ดอกไม้ตามผับหรือร้านอาหารชื่อดังกว่า 50 ครั้งต่อปี • ในปี 2550 มีการนำกุหลาบแดง 2 ช่อ ช่อละห้าแสนบาทไปตั้งแสดงที่ศูนย์การค้าชื่อดังกลางเมืองกรุงเทพ • มีกิจกรรมให้ลูกค้าเข้าร่วมเพื่อกระตุ้นการซื้อของผู้บริโภคในยามที่กำลังซื้อตกต่ำ
กรณีศึกษา Misslilly.com กล่าวโดยสรุปได้ว่า ความสำเร็จของมิสลิลลี่ www.misslilly.comนั้นมาจาก • การเลือกตลาดเป้าหมายที่มีศักยภาพ มีอำนาจซื้อสูง • การวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกัน • กลยุทธ์ที่เน้นเป้าหมายเฉพาะ • และเน้นในเรื่องความแตกต่างของสินค้า บริการและการตลาด
การสร้างแบรนด์ออนไลน์ (e-Branding) • ความหมายของแบรนด์ (Brand) • ไม่ใช่เพียงแต่ชื่อ ตราสินค้าและบริการเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงความคาดหวังที่ลูกค้ามีต่อสินค้าเมื่อได้บริโภคสินค้า หรือคิดจะบริโภคสินค้าและบริการ • โดยแบรนด์จะหมายรวมไปถึงสิ่งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ แต่มันมีมูลค่าที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกบริโภค • มูลค่าของแบรนด์ (Brand Equity) หมายถึงการคาดการณ์ถึงสินค้าจากลูกค้าที่พร้อมจะจ่ายเงินซื้อสินค้าที่มีแบรนด์ในราคาที่แพงกว่าสินค้าที่ไม่มีแบรนด์ • วัตถุประสงค์ของการสร้างแบรนต์ก็คือเพื่อให้เกิดมูลค่าของแบรนด์นั่นเอง
มูลค่าแบรนด์ระดับโลก Internet Company
มูลค่าแบรนด์ระดับโลก • สรุปก็คือสินค้าและบริการที่มีแบรนด์สามารถสื่อได้ถึงความแตกต่างจากสินค้าและบริการอื่นๆ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสะดวกในการตัดสินใจซื้อโดยอาจใช้เวลาในการพิจารณาไม่นานนัก • สินค้าและบริการที่มีแบรนด์สามารถตั้งราคาได้สูงกว่าราคาทั่วๆ ไปที่ผู้บริโภคเองยอมรับได้เนื่องจากมูลค่าที่มีอยู่ในตัวแบรนด์นั้น
องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์ • ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ (Product Differentaition) • ต้องมีคุณค่าพอ (Relevance) • คุณค่าเชิงประโยชน์ (Functional Value) • คุณค่าเชิงอารมณ์ (Emotional Value) • คุณค่านั้นได้ถูกรับรู้ (Perceived Value)
องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์ • ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ (Product Differentail) • ถือเป็นเงื่อนไขประการแรกของการสร้างแบรนด์ ธุรกิจจะต้องบอกถึงจุดเด่นของสินค้าและบริการได้อย่างเด่นชัดว่ามันต่างจากคนอื่นอย่างไร เช่น • การบินไทยเน้นเรื่องความเอาใจใส่ต่อการให้บริการ • ลูกอมฮอลล์คูลเมนโทลิปตัสกับความเย็นชุ่มคอ • เดนทิสเต้ยาสีฟันระงับกลิ่นปาก • พอนด์ไวท์บิวตี้ดีทอกซ์เพื่อผิวกระจ่างใสลบเลือนริ้วรอยและจุดด่างดำ • บัตรเงินสดสมาร์ทเพิร์ส จ่ายง่ายได้เติม
องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์ • ต้องมีคุณค่าพอ (Relevance) • แม้ว่าสินค้าและบริการพยายามจะนำเสนอจุดเด่นของตนเอง แต่สิ่งนั้นจะต้องมีคุณค่าเพียงพอต่อผู้บริโภค เช่น • คนนั่งเครื่องบินของการบินไทยย่อมต้องการบริการที่ดี • คนที่อมลูกอมย่อมต้องการความเย็นชุ่มคอ • หรือใช้ยาสีฟันแล้วต้องระงับกลิ่นปากได้ • แต่หากจุดเด่นที่หยิบยกมาเล่นนั้นไม่เป็นประโยชน์เพียงพอ ก็จะไม่ประสบความสำเร็จต่อการสร้างแบรนด์นั้น
องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์ คุณค่าของสินค้าและบริการแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ • คุณค่าเชิงประโยชน์ (Functional Value) • คือคุณค่าที่เกิดจากคุณลักษณะต่างๆ ของสินค้าและบริการนั้น ๆ เช่น คุณค่าของบริการระบบโทรศัพท์มือถือ คือการโทรไปไหนก็ได้ในประเทศไทยด้วยอัตราค่าโทรเดียวกัน หรือคุณค่าของร้านเซเว่น คือการเปิดบริการ 24 ชั่วโมง หรือ www.sanook.comมีคุณค่าคือการค้าหาเว็บไซต์อื่นๆ หรือการเข้าไปเล่นเกมส์ ฟังเพลง เขียนบล็อก เป็นต้น • คุณค่าเชิงอารมณ์ (Emotional Value) • คือความรู้สึกดีๆ ที่ผู้บริโภคเกิดขึ้นเมื่อได้ซื้อสินค้าและบริการนั้น ๆ เช่น ผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์มือถือ Hutch ที่แม้ในด้านจำนวนเครือข่ายจะสู้ AIS ไม่ได้แต่ก็หันมาใช้คุณค่าทางอารมณ์คือความรู้สึกถึงความทันสมัยเมื่อได้ใช้บริการ หรือร้านเซเว่น ก็สร้างความอบอุ่นจากพนักงานขาย เป็นต้น
องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์ • คุณค่านั้นได้ถูกรับรู้ (Perceived Value) • ถึงแม้สินค้าและบริการนั้นจะมีจุดเด่นและมีคุณค่าพอ แต่หากผู้บริโภคไม่รับรู้ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน • เครื่องมือที่ทำให้เกิดการรับรู้ก็คือการสื่อสารทางการตลาด เช่นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การบอกต่อ และอื่น ๆ
กระบวนการของการสร้างแบรนด์ (Branding Process) • อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) • ชื่อ (Name) • คำขวัญ (Slogan) • โลโก้ (Logo) • สี • โทนของการสื่อสาร • การสร้างแบรนด์ในทางปฏิบัติ (Brand Building Implementation)
อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) • ชื่อ (Name) หรือโดเมนเนมนั่นเอง • โดเมนเนมที่ดีจะต้องสั้น ตัวอย่างกรณีของร้านหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ Barnes&Noble ในตอนแรกได้จัดทำเว็บและใช้โดเมนเนม www.barnesandnoble.comซึ่งเป็นชื่อที่ยาว จำยาก และสะกดผิดได้ง่าย เป็นปัญหาต่อลูกค้า ดังนั้นจึงหันมาใช้โดเมนเนม www.bn.comกรณีเว็บไซต์ของไทยเช่น www.thaisecondhand.comก็จดโดเมนใหม่ชื่อ www.thai2hand.com
อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) • ชื่อ (Name) • โดเมนเนมต้องจดจำง่ายโดยตั้งชื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจ ควรตั้งชื่อให้โดดเด่นและมีความเฉพาะเจาะจงจะดีกว่าการตั้งชื่อแบบทั่วไป • ใช้ชื่อที่แสดงความหมายถึงคุณค่าที่เว็บไซต์มอบให้ เช่น www.hunsa.comก็แสดงนัยแห่งความสุข www.sanook.comก็แฝงไว้ด้วยความสนุกสนาน หรือ www.siamza.comแสดงถึงเว็บสำหรับคนวัยมันส์ เป็นต้น • ควรใช้ชื่อที่สะกดผิดได้ยาก • หากเป็นไปได้ควรใช้ .comเพราะเป็นที่นิยมและเป็นสากล • หากเป็นเว็บไซต์ของบริษัท ชื่อสินค้าหรือบริการก็ควรใช้ชื่อนั้นเป็นโดเมนเนม
อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) • คำขวัญ (Slogan) • คำขวัญมีหน้าที่ในการเชื่อต่อจิตใต้สำนึกของผู้บริโภคไปยั้งแบรนด์ของเรา เช่น • รองเท้า Adidas มีคำขวัญว่า Impossible is Nothing • รองเท้าไนกี้ มีคำขวัญว่า Just do it • บริษัทน้ำมันเอสโซ่ มีคำขวัญว่า Put a Tiger in Your Tank • www.manager.co.thมีคำขวัญว่า ขอเป็นยามเฝ้าแผ่นดิน • www.yenta4.comมีคำขวัญว่า เพื่อนตัวโตบนโลกอินเตอร์เน็ต
อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) • โลโก้ (Logo) • เมื่อเห็นโลโก้ เราสามารถเชื่อมโยงไปยังตัวสินค้าได้ทันที ดังนั้นควรทำให้ลูกค้าจดจำโลโก้ของสินค้าและบริการได้
อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) • สี • ในเว็บไซต์ควรให้โทนสีเดียวกันทั้งเว็บ • เช่น www.sanook.comจะใช้สีแดงสื่อความหมายของความสนุกสนานเป็นหลัก ในขณะที่ www.kapook.comจะใช้โทนสีเขียวซึ่งเป็นสีที่แสดงถึงความเจริญเติบโตและความหวัง • หรือ www.manager.co.thจะเน้นสีพื้นๆ คือสีเหลืองแสดงถึงประชาภิวัฒน์การเมืองใหม่ • จะเห็นว่าสีแต่ละสีนั้นจะมีความเหมาะสมกับเว็บไซต์ต่างๆ ที่แตกต่างกันตามแต่ความหมายที่แต่ละสีจะสื่อออกมา
ตัวอย่างสีของเว็บไซต์ตัวอย่างสีของเว็บไซต์ Sanook.com Postjung.com Kapook.com Uamulet.com Manager.co.th
อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) • โทนของการสื่อสาร • เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับวัยรุ่น รูปแบบ รูปภาพ ข้อความย่อมแตกต่างจากเว็บไซต์ข่าว • เว็บไซต์ผู้หญิงย่อมมีรูปแบบเฉพาะซึ่งแตกต่างจากเว็บไซต์ผู้ชาย • ซึ่งการกำหนดโทนของการสื่อสารที่ชัดเจน นอกจากจะสร้างอัตลักษณ์ที่เด่นชัดแล้ว ยังทำให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือในความรู้สึกของผู้บริโภคอีกด้วย
ตัวอย่างโทนของการสื่อสารตัวอย่างโทนของการสื่อสาร เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มวัยรุ่น ใช้โทนสีชมพูที่เหมาะกับวัยรุ่นโดยเฉพาะผู้หญิง ใช้การ์ตูนเพื่อสร้างความเป็นกันเอง
ตัวอย่างโทนของการสื่อสารตัวอย่างโทนของการสื่อสาร เป็นเว็บไซต์ข้อมูลเกี่ยวกับหุ้น จะเน้นความเรียบง่ายไม่มีสีสันใดๆ มากนัก เน้นข้อมูลเนื้อหามากกว่า สร้างความน่าเชื่อถือและประโยชน์
การสร้างแบรนด์ในทางปฏิบัติการสร้างแบรนด์ในทางปฏิบัติ • ก็คือการทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงคุณค่าของแบรนด์นั่นเอง เพราะหากผู้บริโภคไม่รับรู้ ก็ไม่มีประโยชน์อันใด ดังนั้นการสร้างความรู้จักกับแบรนด์นั้น สามารถทำได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การทำการตลาดแบบต่างๆ การส่งเสริมการตลาด การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า CRM และอื่นๆ