120 likes | 323 Views
กระดังงา. ผู้จัดทำ นางสาว มัลลิกา แวด ไธ สง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีฯ.
E N D
กระดังงา ผู้จัดทำ นางสาว มัลลิกา แวดไธสง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีฯ
กระดังงา ภาษาอังกฤษ (N) ilangilang ชื่อไม้ต้นชนิด Canangaodorata (Lamk.) Hook. f. et Th. ในวงศ์ Annonaceaeดอกหอม กลีบบาง มี 6 กลีบ ดอกใช้กลั่นน้ำมันหอมได้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kenanga, YlangYlang, Canangaodorata (Lamk.) Hook. f. et. Th.ชื่อวงศ์ : ANNONACEAEชื่ออื่น : กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่, กระดังงาใหญ่, สะบันงา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ"กระดังงา" กระดังงาไทยที่ปลูกกันมากตามบ้านนั้นจริงๆ แล้วไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่มีถิ่นกำเนิดในประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ดอกกระดังงาสามารถนำไปสกัดเป็นน้ำมัน และทำเป็นเครื่องอบ เครื่องหอม ได้อีกด้วย กระดังงาทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นกระดังงาจีน กระดังงาไทย กระดังงาสงขลา จัดเป็นไม้กลางแจ้งที่ต้องการแสงแดดจัด และจะออกดอกตลอดปี
รูปลักษณะ : กระดังงา เป็นไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำ
ลักษณะต้นของกระดังงากระดังงาจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่มีความสูงต้นประมาณ ๘-๑๕ เมตร เปลือกต้นมีสีเทา มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วกิ่ง กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง กิ่งอ่อนมีขน กิ่งแก่ค่อนข้างเรียบ ลักษณะของใบ จัดเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน รูปรีหรือรูปไข่ยาว มีความกว้างใบประมาณ 4-8 ซ.ม. ยาว 9-20 ซ.ม. ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้า และเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นแขนงใบ 5-9 เส้น ลักษณะของดอกกระดังงา จะออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกสั้น ห้อยรวมกันบนกิ่ง ช่อหนึ่งๆ มี ดอกประมาณ 4-6 ดอก กลีบดอกเรียงสลับ 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบมีรูปขอบขนานปลายแหลม ดอกขณะยังอ่อนอยู่จะมีสีเขียว แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ดอกกระดังงามีกลิ่นหอมแรง
ลักษณะของกลีบดอกจะแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่นถ้าเป็นดอกกระดังงาจีน กลีบดอกจะค่อนข้างหนา มีสีเหลืองสดใสมาก และมีกลิ่นหอมแรง แต่ถ้าเป็นกระดังงาไทย หรือกระดังงาสงขลา กลีบดอกจะอ่อนนุ่ม เรียวยาวและบิด และมีสีเหลืองปกติ มีกลิ่นหอมแรงน้อยกว่ากระดังงาจีน กลีบดอกมีอยู่ทั้งหมด ๖ กลีบ เกสรตัวผู้และรังไข่มีจำนวนมาก ผลของกระดังงา มีลักษณะเป็นกลุ่ม รูปไข่ ผลอ่อนมีสีเขียว และเมื่อผลแก่จะมีสีเขียวคล้ำจนเกือบดำ เมล็ดกระดังงา มีสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน กระดังงาสามารถขยายพันธุ์ได้ โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่งโดยทั่วไปนิยมปลูกกระดังงาเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ถ้าเป็นกระดังงาชนิดแบบเถาเลื้อย ควรมีค้าง หรือซุ้ม เพื่อให้ต้นกระดังงาเลื้อยเกาะ จึงเหมาะที่จะปลูกเพื่อให้ร่มเงาบริเวณริมรั้วบ้าน สำหรับขนาดหลุมปลูกของกระดังงาคือ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ในการให้ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน ในอัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก ควรแบ่งใส่ปุ๋ยปีละ 4-6 ครั้ง และถ้าต้องการให้การเจริญเติบโตของทรงพุ่มกระดังงาสวยงามและเป็นระเบียบ ก็ควรตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสมด้วย
สรรพคุณของกระดังงาและวิธีใช้ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของกระดังงาจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังนี้ เปลือก แก้คัน ดอก มีสรรพคุณแก้ลมวิงเวียนศรีษะ และบำรุงเลือด จึงใช้ปรุงเป็นยาหอม หรือทำบุหงา อบร่ำ ทำน้ำหอม ใช้อบทำให้น้ำเชื่อมมีกลิ่นหอม และนำน้ำเชื่อมมาปรุงขนมหวาน ใบและเนื้อไม้ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยนำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มกินเป็นยาขับปัสสาวะ นอกจากนี้แล้วในส่วนของเปลือกต้น ยังสามารถใช้ทำเชือกชนิดหยาบได้
กระดังงา(yiangyiang)จัดเป็นพืชสมุนไพรไทย ใช้ดอกเป็นตัวยาชนิดหนึ่งในตัวยาที่มีกลิ่นหอมหลายชนิด ปรุงเป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงระบบประสาท ภูมิปัญาไทย ใช้ดอกสดแช่ในน้ำมันมะพร้าว ทำเป็นน้ำมันใส่ผมประเทศอินโดนีเซียใช้ดอกโรยบนเตียงสำหรับคู่แต่งงานใหม่ๆชาวเกาะ Moluccaใช้น้ำมันจากดอกกระดังงาบำรุงผิวและผม
กระดังงาในบ้านเราที่รู้จักมี 2 อย่างคือ กระดังงาไทย และกระดังงาสงขลา ที่นิยมนำดอกมาสกัดน้ำมันหอมระเหยคือกระดังงาสงขลาซึ่งมีกลีบดอกมากกว่าและยาวกว่ากระดังงาไทยน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงานิยมใช้เพื่อผ่อนคลายความเครียด ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้ที่นอนไม่หลับ ช่วยลดอาการท้อแท้หดหู่ ลดความดันโลหิตสูง น้ำมันนวดตัวซึ่งผสมน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงา ยังใช้เพื่อกระตุ้นกำหนัดด้วยสำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ เนื่องจากความเครียด การดื่มยาหอมที่มีส่วนผสมของสมุนไพรหอมนานาชนิด จึงช่วยให้นอนหลับสนิทได้ดีขึ้น