1 / 23

การรับมือ ผลกระทบจากหมอกควัน ในมุมของสาธารณสุข

การรับมือ ผลกระทบจากหมอกควัน ในมุมของสาธารณสุข. ดร.นพ. สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา . มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ. หมอกควันจัดเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ( PM 10 )  ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของ ประชาชน

darva
Download Presentation

การรับมือ ผลกระทบจากหมอกควัน ในมุมของสาธารณสุข

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การรับมือ ผลกระทบจากหมอกควัน ในมุมของสาธารณสุข ดร.นพ. สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

  2. มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ • หมอกควันจัดเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน • ปริมาณฝุ่นขั้นต่ำที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ถูกกำหนดเป็นค่ามาตรฐาน • ในปัจจุบันใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของ PM10และ PM2.5

  3. ดัชนีคุณภาพอากาศ Air Quality Index (AQI) • ค่า AQI ใช้บอกถึงระดับคุณภาพอากาศที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระดับต่างๆ

  4. สถานการณ์หมอกควัน: ภาคเหนือ

  5. สถานการณ์หมอกควัน: ภาคใต้ 21 มิ.ย. 55 18 มิ.ย. 55

  6. ผลกระทบต่อสุขภาพจากหมอกควันผลกระทบต่อสุขภาพจากหมอกควัน • กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอด หอบหืด โรคภูมิแพ้  และผู้ต้องทำงานกลางแจ้ง • ทำให้เกิดโรคในหลายระบบตามกลุ่มโรค ได้แก่ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ โรคตาอักเสบ และโรคผิวหนังอักเสบ

  7. ผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ • การศึกษาของนักวิจัยหลายคณะเกี่ยวกับผลกระทบของฝุ่นหยาบ (PM10-2.5) และฝุ่นละเอียด (PM2.5) พบว่า • PM2.5และ PM10-2.5สัมพันธ์กับอาการไอ Odds ratio 1.07 (0.90, 1.26) ต่อ 15 µg/m3ที่เพิ่มขึ้น และ 1.18 (1.04, 1.34) ต่อ 8 µg/m3 ที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ • PM2.5และ PM10-2.5สัมพันธ์กับอาการของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง Odds ratio 1.29 (1.06, 1.57) และ 1.05 (0.9, 1.23) ตามลำดับ (Schwartz and Neas ,2000,2007. Tiittanen et al. , 1999. Neas et al. , 1999)

  8. ผลกระทบต่อระบบหลอดเลือด และหัวใจ • มีการศึกษาแบบอนุกรมเวลาเชิงนิเวศ (ecologic time-series design) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง PM10กับการรับเข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีในเมือง Detroit โดยใช้เวลาการศึกษา 4 ปี พบมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ (Schwartz and Morris ,1995)

  9. การทบทวนผลกระทบต่อสุขภาพการทบทวนผลกระทบต่อสุขภาพ • จากผลการทบทวน (พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช, 2551) พบว่า หากฝุ่นละอองขนาดเล็กสูงกว่าค่ามาตรฐาน จะส่งผลให้ • การตายด้วยระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น 7% – 20% • การป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น 5.5% • การตายและป่วยด้วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2% – 5% • การตายและป่วยด้วยโรคหัวใจหลอดเลือดเพิ่มขึ้น 5.3% • ผู้สูงอายุป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจเพิ่ม 17% • ผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่ม 7.6% และยังทำให้สภาพปอดในเด็กแย่ลง

  10. การศึกษาในไทย (ต่อ) ข้อมูลของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ปี 2555 • พบผู้ป่วยโรคหืดเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า • ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองเพิ่มขึ้น 3 เท่า • ผู้ป่วยทั่วไปที่มารับการตรวจจากอาการแสบตา แสบจมูก หายใจไม่สะดวก ไอ จาม มึนศีรษะ จำนวนมากในแต่ละวัน (หน่วยระบบหายใจเวชบำบัดวิกฤติและภูมิแพ้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555)

  11. ผลกระทบต่อสุขภาพชุมชน • รายงานการศึกษาของพงศ์เทพ วิวรรธนะเดชและคณะ (2550, 2551) พบ • ในการศึกษาแบบ time series ในประชาชนทั่วไป จำนวน 121 วัน ผลการศึกษาพบความสัมพันธ์ของอาการใน 4 ระบบ (ระบบทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือด ผิวหนัง และตา) กับระดับของสารก่อมลพิษ (PM10, CO, NO2, SO2และ O3) โดยความแตกต่างขึ้นกับอาการและพื้นที่ที่ศึกษา • สอดคล้องกับผลการศึกษาของ สุภัทร ฮาสุวรรณกิจและคณะ (2552)ซึ่งใช้วิธีการศึกษาแบบ time series เป็นเวลา 44 วัน พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับสารมลพิษและอาการต่างๆใน 5 ระบบ (ระบบทางเดิน หายใจ หัวใจและหลอดเลือด ผิวหนัง ตาและระบบประสาท)

  12. ผลกระทบจากมลพิษอากาศต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ • ในด้านการเฝ้าระวังมลพิษอากาศได้มีการนำสิ่งมีชีวิตที่ไวต่อมลพิษอากาศมาเป็นตัวชี้วัดคุณภาพอากาศอีกด้วย เช่น • ใช้ไลเคน และยีสต์บนผิวใบไม้ เป็นตัวชี้วัดคุณภาพอากาศ โดยอากาศที่ดีขึ้น จะช่วยเพิ่มความหลากหลายของสายพันธุ์ไลเคน และเพิ่มประชากรของยีสต์บนผิวใบไม้ • ใช้สัตว์บางชนิดที่ไวต่อมลพิษอากาศมาใช้ในการเฝ้าระวังด้วย เช่น ใช้นกเป็นตัวชี้วัดคุณภาพอากาศ เนื่องจากนกมีอัตราการหายใจที่มากกว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม • การศึกษาในอเมริกาเหนือพบว่าฝนกรดมีผลต่อการขยายพันธุ์ของนกชนิดหนึ่งชื่อ Wood Thrush ซึ่งเป็นนกที่มีเสียงขัน อย่างมีนัยสำคัญ • การศึกษาในฟินแลนด์พบว่ามลพิษอากาศที่ปนเปื้อนโลหะหนักที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงงาน และสารพวกมีฤทธิ์เป็นกรด มีผลกระทบต่อการขยายพันธุ์และการอยู่รอดของนก 2 ชนิด คือ Pied Flycatcher และ Great Tit (Eeva et al. , 2005. Hames et al., 2002)

  13. ผลกระทบจากมลพิษอากาศต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ (ต่อ) • มีการศึกษาพฤติกรรม/อาการไม่ปกติและเสียงขันของนกเขาชวา อาการป่วยในคน การได้รับกลิ่นเหม็นจากโรงงานในคน และค่ามลพิษอากาศรายวันควบคู่กันไป ต่อเนื่อง 90 วัน ในพื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา เบื้องต้นพบว่า • ระดับมลพิษอากาศในช่วงเวลาที่ศึกษา แม้อยู่ในระดับไม่เกินมาตรฐาน เมื่อปริมาณมากขึ้น พบว่า อาการป่วยในคน พฤติกรรม/อาการไม่ปกติมากขึ้น และเสียงขันของนกเขาชวาลดลง • พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่าง การได้รับกลิ่นเหม็นจากโรงงานของคน กับพฤติกรรม/อาการ และเสียงขันของนกเขาชวา • ความเป็นไปได้ที่จะใช้นกเขาชวาเป็น sentinel สำหรับการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษอากาศ (สมฤดี โสมเกษตรินทร์, 2556)

  14. แนวปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพจากหมอกควันสำหรับประชาชนแนวปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพจากหมอกควันสำหรับประชาชน •  ถ้าอยู่ในบริเวณที่มีหมอกควันให้ใช้หน้ากากอนามัยชนิดกรอง 3 ชั้นหรือผ้าที่ทำด้วยฝ้ายหรือลินินพันหลายทบพรมน้ำหมาดๆ มาคาดปาก และ จมูก จะช่วยกรองอนุภาคขนาด 5 ไมครอนได้ • ผู้ที่ทำหน้าที่ดับไฟป่าและประชาชนที่อยู่ในที่ที่ประสบปัญหาหมอกควันอย่างมาก ควรใช้หน้ากากชนิด N95 หรือ P100 สามารถกรองอนุภาค 0.3 ไมครอนได้ และมีประสิทธิภาพการกรอง ร้อยละ 95-99.97 (ผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจ โรคปอด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้) • ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวัน และถ้าเป็นไปได้ควรใช้แบบครั้งเดียวทิ้ง เพื่อสุขลักษณะที่ดี กรณีหน้ากากมีน้อย จำเป็นต้องใช้ซ้ำ เช่น ใช้ลดอันตรายจากฝุ่นควัน ฯลฯ ควรทำความสะอาด โดยการเขย่าเบาๆ ในน้ำสบู่ล้างน้ำสะอาด ตากในที่ร่ม

  15. แนวปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพจากหมอกควันสำหรับประชาชน (ต่อ) • บริเวณที่อยู่อาศัยที่ไม่มีระบบระบายอากาศ ระบบปรับอากาศ ต้องปิดประตูหน้าต่างไม่ให้ควันเข้ามาในอาคาร และพยายามไล่ควันออกจากบ้านเรือน เช่น เป่าพัดลมในทางเดียวให้ควัน ดังกล่าวออกจากบ้านเรือนสู่ภายนอก • หากจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองติดต่อกันยาวนาน เกินกว่าสัปดาห์ หรือเดือน ควรติดระบบกรองอากาศในบ้าน และปรับให้เป็นระบบที่ใช้เฉพาะอากาศหมุนเวียนภายในบ้านหรืออาคาร เลือกใช้แผ่นกรองที่มีประสิทธิภาพระดับกลางถึงสูง และสามารถถอดล้างได้ในระยะยาว • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องผลิตโอโซน แม้ความเข้มข้นของโอโซนในระดับต่ำ ก็สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ เกิดอาการไอ แน่นหรือเจ็บหน้าอก หายใจได้ในช่วงสั้นๆ และส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง • สำหรับบริเวณพื้นที่ว่างเปล่าควรปลูกพืชคลุมหน้าดินไว้ เพื่อลดโอกาสที่ฝุ่นละอองจะลอยฟุ้งขึ้นมาในอากาศได้

  16. แนวปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพจากหมอกควันสำหรับประชาชน (ต่อ) กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคความดันโรคระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ควรอยู่ในบ้านช่วงที่มีคุณภาพอากาศแย่กว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือมีการแจ้งเตือน ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ควรเตรียมยาประจำตัวให้เพียงพอและอยู่ใกล้ตัวพร้อมใช้งานอยู่เสมอ  ถ้ามีอาการผิดปกติในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ มีไข้สูง ไอ เจ็บอก ให้รีบพบแพทย์เพื่อ ทำการรักษา หลีกเลี่ยงการอยู่ การออกกำลังกายหรือกิจกรรม ที่ต้องออกแรงมากในเวลากลางแจ้ง

  17. มาตรการรับมือปัญหาหมอกควันด้านสาธารณสุขมาตรการรับมือปัญหาหมอกควันด้านสาธารณสุข

  18. มาตรการรับมือปัญหาหมอกควันด้านสาธารณสุข (ต่อ)

  19. มาตรการรับมือปัญหาหมอกควันด้านสาธารณสุข (ต่อ)

  20. บทบาทของโรงพยาบาลและหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับบทบาทของโรงพยาบาลและหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับ 1. ติดตามสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่และแจ้งเตือนประชาชนเมื่อเกิดเหตุการณ์ 2.จัดเตรียมฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยงเพื่อจัดเตรียมบริการเชิงรุกต่อไป 3. จัดเตรียมเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์รองรับให้เพียงพอกับการใช้งาน เช่น หน้ากากอนามัย ออกซิเจน เครื่องพ่นยาละอองฝอยขยายหลอดลม ยาต่าง ๆ 4. ประสานหรือซ้อมแผนกับทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ในการรับมือกรณีเกิดเหตุการณ์ผิดปกติที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนจากปัญหาหมอกควันในชุมชน 5. จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่หรือช่องทางพิเศษสำหรับบริการผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ ตามความจำเป็น ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 6. รวบรวมและส่งต่อข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพของประชาชน

  21. บทบาทของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบทบาทของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 1. จัดตั้งคณะทำงานดำเนินการหรือมีผู้รับผิดชอบหลัก 2. รวบรวม และส่งต่อข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพของประชาชน 3. จัดเตรียมระบบโลจิสติกส์ด้านเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ 4. ถ่ายทอดความรู้ ชี้แจงแนวทางกับหน่วยงานในพื้นที่ในการจัดบริการแก่ประชาชน 5. สื่อสารความเสี่ยงแก่ประชาชน 6. ประสาน สนับสนุน รวมถึงติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน

  22. บทบาทของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคบทบาทของสำนักงานป้องกันควบคุมโรค 1. ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านสภาพอากาศ 2. จัดทำและเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่อาจได้รับผลกระทบ 4 กลุ่มโรค 3. จัดเตรียมระบบโลจิสติกส์และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นในการสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัดในพื้นที่ 4. สื่อสารความเสี่ยงด้านผลกระทบสุขภาพ 5. ประสาน สนับสนุน ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 6. จัดทำรายงานสถานการณ์ข้อมูลสุขภาพของประชาชนและข้อมูลระดับฝุ่นละอองทั้งในภาวะปกติและภาวะที่เกิดปัญหาหมอกควัน

  23. แนะนำแหล่งข้อมูลสำหรับเฝ้าระวังหมอกควันแนะนำแหล่งข้อมูลสำหรับเฝ้าระวังหมอกควัน เวบไซต์ “หมอกควันวันนี้” http://smoke.magnexium.com/status/ • สถานการณ์หมอกควันรายวัน • ตำแหน่งไฟไหม้รายวัน • รายงานข้อมูลคุณภาพอากาศรายวัน • เวบไซต์ “รู้ทันหมอกควัน” https://www.facebook.com/rootankwan • เวบไซต์ “AIR4THAI” รายงานคุณภาพอากาศประเทศไทย http://air4thai.pcd.go.th/web/ • application “AIR4THAI” ใช้ในโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ระบบ android • แสดงค่ามลพิษอากาศ และดัชนีคุณภาพอากาศ รายวัน ทุกสถานีในประเทศไทย • แสดงกราฟค่ามลพิษอากาศ และดัชนีคุณภาพอากาศ ย้อนหลัง 7 วัน

More Related