1 / 67

ระบบการบริหารจัดการสวัสดิการแบบ ‘Workfare’

ระบบการบริหารจัดการสวัสดิการแบบ ‘Workfare’. อมรเทพ จาวะลา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. ทำไมต้องมี Workfare ควบคู่ Welfare. เตรียมความพร้อมไปสู่สังคมสวัสดิการ การแก้ปัญหาความยากจน สร้างงานในภาคชนบท และลดความเหลื่อมล้ำอันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรองดอง และปฏิรูปประเทศไทย

Download Presentation

ระบบการบริหารจัดการสวัสดิการแบบ ‘Workfare’

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบการบริหารจัดการสวัสดิการแบบ‘Workfare’ระบบการบริหารจัดการสวัสดิการแบบ‘Workfare’ อมรเทพ จาวะลา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

  2. ทำไมต้องมี Workfare ควบคู่ Welfare • เตรียมความพร้อมไปสู่สังคมสวัสดิการ • การแก้ปัญหาความยากจน สร้างงานในภาคชนบท และลดความเหลื่อมล้ำอันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรองดอง และปฏิรูปประเทศไทย • หลีกเลี่ยงปัญหาทางด้านการคลัง ดังที่ปรากฎในประเทศรัฐสวัสดิการการส่วนใหญ่ • ให้คนในวัยทำงานมีแรงจูงใจในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน • Workfare จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการสวัสดิการ เพื่อให้ประเทศไทยพร้อมที่จะก้าวไปสู่สังคมสวัสดิการที่มีคุณภาพ และยั่งยืน

  3. โครงเรื่องนำเสนอ • บทบาทและความสำคัญของระบบสวัสดิการแบบ workfare • การพัฒนา และแนวความคิดการจัดระบบสวัสดิการแบบ workfare ในต่างประเทศ • การศึกษาเปรียบเทียบข้อดี และข้อเสียของระบบ workfare • ระบบสวัสดิการแบบ workfare ที่เหมาะสมในประเทศไทย • สรุป และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

  4. 1. บทบาทและความสำคัญของระบบสวัสดิการแบบ Workfare • สวัสดิการสำหรับการทำงาน (workfare) หรือการทำงานสาธารณะ (public works) รัฐใช้ในการแทรกแทรงตลาดแรงงานในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยทั่วไปจะเป็นโครงการที่จ้างงานระยะสั้น โดยให้ค่าจ้างที่ต่ำแก่คนงานไร้ฝีมือ ส่วนใหญ่เป็นงานที่ใช้แรงงานมาก • ความหมาย และขอบเขตของโครงการระบบสวัสดิการสำหรับการทำงาน (workfare) นั้นมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยมักถูกมองว่า เป็นโครงการสร้างงาน ลักษณะการช่วยลดค่าจ้าง (wage subsidy) หรือเป็นการที่รัฐจ่ายค่าจ้างแรงงานให้ทั้งหมดเพื่อแก้ปัญหาการว่างงาน • แต่มุมมองนี้ได้ค่อยๆเปลี่ยนไปเป็นการสร้างงานด้านการทำงานสาธารณะ ด้วยค่าจ้างที่ต่ำเพื่อเป็นมาตราการระยะสั้นในการช่วยเหลือคนยากจน

  5. วัตถุประสงค์ ระบบสวัสดิการสำหรับการทำงาน(World Bank) • ให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้ยากจนโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการว่างงานที่สูง • มีส่วนช่วยในการรักษาระดับการบริโภคของผู้ร่วมโครงการ ผู้ร่วมโครงการได้รับรายได้ที่เพิ่มขึ้นเพื่อไปใช้ในการบริโภค ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการลดความขาดแคลนอาหาร และต่อสู้กับความยากจน • โครงการนี้มีส่วนสำคัญในการสร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็นในท้องที่ เช่นมีการจ้างงานเพื่อสร้างระบบชลประทาน และถนนในเขตชนบท ซึ่งสิ่งปลูกสร้างเหล่านี้อาจสามารถก่อให้เกิดรายได้ และการจ้างงานต่อไปในอนาคต • Workfare สามารถเจาะจงไปยังพื้นที่ที่มีปัญหาความยากจน และการว่างงานที่สูง อีกทั้งยังได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมด้วยหากสิ่งก่อสร้างต่างๆก่อให้เกิดรายได้ และการจ้างงานในพื้นที่นั้นๆในอนาคต

  6. 2. การพัฒนา และแนวความคิดการจัดระบบสวัสดิการแบบ workfare ในต่างประเทศ • การศึกษาชิ้นนี้เริ่มด้วยการอธิบายบทบาท ความสำคัญ การพัฒนาด้านแนวความคิด และรูปแบบการบริหารจัดการของระบบสวัสดิการ workfare ในประเทศต่างๆที่มีการดำเนินการเรื่องนี้ ซึ่งได้แก่ • ประเทศสหรัฐอเมริกา • ประเทศเดนมาร์ก • ประเทศเยอรมัน • ประเทศสิงคโปร์ • ประเทศอินเดีย

  7. เกณท์การคัดเลือกประเทศที่ศึกษาเกณท์การคัดเลือกประเทศที่ศึกษา • บางประเทศประสบความสำเร็จในการใช้ระบบ workfare ในการลดภาระทางการคลังของภาครัฐที่มีต่อกลุ่มคนว่างงานที่ส่วนใหญ่รอคอยเงินช่วยเหลือทางสังคมจากรัฐ • ในขณะที่บางประเทศใช้ระบบ workfare ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพของตลาดแรงงาน หรือลดความยากจนให้แก่คนในภาคชนบทในประเทศ • ประทศไทยสามารถนำบทเรียนจากการบริหารจัดการระบบ workfare รวมถึงเกณท์การเลือกกลุ่มเป้าหมายของผู้ที่สมควรได้รับประโยชน์ จากตัวอย่างต่างๆในการศึกษานี้ มาสร้างเป็นแนวความคิด และบทเรียนในการริเริ่มสร้างระบบ workfare ในประเทศไทยได้ต่อไป

  8. การศึกษาเปรียบเทียบระบบ Workfare • จุดประสงค์ • กลุ่มเป้าหมาย • การบริหารจัดการ • ประเภทงาน 8

  9. ประเทศสหรัฐอเมริกา • ระบบความช่วยเหลือด้านสังคม (social assistance) ได้แปรสภาพจากการช่วยเหลือ ครอบครัวที่มีภาระหรือความลำบากเป็นลักษณะความรับผิดชอบของคนที่ต้องหางาน • ความช่วยเหลือด้านความยากจนไม่ใช่สิ่งที่ได้มาโดยฐานะการเป็นพลเมืองของรัฐแต่เป็นหน้าที่ที่แต่ละบุคคลต้องช่วยเหลือตนเองโดยแลกกับการทำงาน

  10. ลักษณะโครงสร้างระบบความช่วยเหลือทางสังคมของสหรัฐอเมริกาลักษณะโครงสร้างระบบความช่วยเหลือทางสังคมของสหรัฐอเมริกา • เป็นระบบรัฐบาลกลาง (Federal system) • ความรับผิดชอบของรัฐบาลในระดับต่างๆแตกต่างกันไป • หน้าที่ที่ผู้ได้รับความช่วยเหลือทางสังคมควรปฎิบัติเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่คนยากจนอาศัย อายุ รวมถึงลักษณะโครงสร้างครัวเรือน

  11. ระบบความช่วยเหลือทางสังคมของสหรัฐอเมริกามีมากกว่า 80 โครงการ ที่ต้องการลดความยากจน แต่มีระบบใหญ่ๆ 6 โครงการดังนี้คือ • การให้เงินช่วยเหลือคืนจากภาษี (Earned Income Tax Credit - EITC) ซึ่งช่วยเหลือด้านรายได้แก่ครอบครัวที่มีรายได้น้อยที่มีบุตรต้องเลี้ยงดู • การช่วยเหลือระยะสั้นแก่ครอบครัวที่มีความต้องการ (Temporary Assistance to Needy Family - TANF) เป็นเงินช่วยเหลือแก่ครอบครัวที่มีรายได้น้อยที่มีบุตรต้องเลี้ยงดู โดยจำนวนเงินช่วยเหลือขึ้นอยู่กับขนาดครัวเรือน สถานที่อยู่อาศัยและรายได้ของครัวเรือนนั้นๆ โดยต้องมีการทำงานเป็นการแลกเปลี่ยนกับความช่วยเหลือดังกล่าว • การช่วยเหลือทางด้านอาหาร (Food Stamps)

  12. 4. การช่วยเหลือทั่วไป (General Assistance) เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่คนที่ไม่เข้าข่ายได้รับเงินจาก TANF และเงินประกันรายได้ (Supplement Income Security - SSI) 5. เงินประกันรายได้ (SSI) เป็นเงินช่วยเหลือแก่คนสูงอายุ คนตาบอด และคนพิการ 6. การช่วยเหลือด้านสุขภาพแก่คนจน (Medicaid)

  13. ลักษณะพิเศษของระบบความช่วยเหลือทางสังคมของสหรัฐอเมริกามีดังนี้คือลักษณะพิเศษของระบบความช่วยเหลือทางสังคมของสหรัฐอเมริกามีดังนี้คือ • ผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือทางสังคมสามารถรับความช่วยเหลือจากโครงการต่างๆได้ เช่น บางคนที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากการว่างงาน (Unemployment Insurance) อาจได้ Food Stamps หรือ TANF ด้วยก็ได้ • ระบบความช่วยเหลือทางสังคมของสหรัฐอเมริกาเป็นการเกี่ยวโยงกันระหว่างรัฐบาลระดับ Federal, State และ Local เช่น การช่วยเหลือทางด้าน Food Stamps, SSI, EITC ซึ่งจะเป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ บางรัฐเพิ่มการสนับสนุนด้าน SSI และ EITC สำหรับ Food Stamps นั้นอาจได้รับเงินสนับสนุนจาก Federal แต่ State เป็นผู้คำนวนเงินช่วยเหลือ และค้นหาผู้สมควรไดัรับการช่วยเหลือ สำหรับ TANF นั้นแต่ละรัฐเป็นผู้ค้นหาผู้ที่สมควรได้รับเงินช่วยเหลือและคำนวนเงินที่จะให้

  14. ลักษณะครัวเรือนมีบทบาทต่อเงินช่วยเหลือ โดย TANF จะช่วยเหลือครอบครัวที่มีบุตร สำหรับครอบครัวที่ไม่มีบุตรหรือคนอายุน้อยที่อยู่คนเดียวมักจะไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านสังคมประเภทนี้ • ความช่วยเหลือแก่คนยากจนประเภท TANF ของแต่ละรัฐจะแตกต่างไป

  15. ลักษณะ 4 ประการที่ผลักดันให้คนที่ได้รับความช่วยเหลือเข้าสู่ตลาดแรงงาน คือ • การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การเพิ่มขึ้นของวัฒนธรรมการพึ่งพิงผู้อื่น เพิ่มแรงกดดันทางการเมืองให้ลดเงินช่วยเหลือทางสังคมแก่ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยที่ไม่ต้องทำงาน และสนับสนุนคนเหล่านั้นให้เข้าสู่ตลาดแรงงาน • การเปลี่ยนแปลงทางการสังคม โดยแต่เดิมนั้น เงินช่วยเหลือจะมอบให้กับเม่ที่มีลูกในวัยก่อนเข้าเรียน ซึ่งผู้หญิงเหล่านี้มักทำงานที่บ้าน แต่เมื่อมีผู้หญิงจำนวนมากเข้าสู่ตลาดแรงงาน ความสัมพันธ์ระหว่างเงินช่วยเหลือกับภาระหน้าที่ในการทำงานจึงเพิ่มขึ้น • เริ่มเห็นว่าการให้เงินช่วยเหลืออาจจะไม่ช่วยให้คนมองหางานทำ • มีการออกกฎหมายและนโยบายที่ต้องการเชื่อมโยงการทำงานเพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือ

  16. การเปลี่ยนแปลงจาก Welfare สู่ Workfare ในสหรัฐอเมริกามี 4 ช่วงดังนี้คือ • Omnibus Budget Reconciliation Act of 1981 (OBRA) • Family Support Act of 1988 (FSA) • การปรับนโยบายในสมัย Clinton 1993 • Personal Responsibility Work Opportunity Reconciliation Act (PRWORA) 1996

  17. Omnibus Budget Reconciliation Act of 1981 (OBRA) • การให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวที่ภาระบุตรพึ่งพิง (Aid to Family with Dependent Children - AFDC) ได้จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายประกันสังคมในปี 1935 เพื่อให้สิทธิแก่ครอบครัวที่ผ่านเกณฑ์และสมควรได้รับความช่วยเหลือ • เงินช่วยเหลือแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ • ในปี 1967 สภาคองเกรสได้จัดตั้งโครงการจูงใจการทำงาน (Work Incentive Program - WIN) ซึ่งบังคับให้ผู้ที่ได้รับ AFDC ไปลงทะเบียนหางานที่สำนักจัดหางานในพื้นที่

  18. ประธานาธิบดี Regan เริ่มให้มีการทำงานหรือบริการสังคมเป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินช่วยเหลือจาก AFDC • ปี 1981 สภาคองเกรสได้ออกกฎหมาย OBRA ให้อำนาจรัฐบาลมลรัฐในการบังคับให้คนในวัยทำงานต้องทำงานเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินช่วยเหลือ • ผู้ที่ปฎิเสธการทำงานจะได้รับเงินช่วยเหลือลดลง

  19. Family Support Act of 1988 (FSA) • FSA ได้มีการตั้งโครงการสวัสดิการในการทำงานที่เรียกว่า Job Opportunity and Basic Skills (JOBS) • ให้อำนาจรัฐบาล Federal มากขึ้นในการบังคับให้คนที่ได้รับความช่วยเหลือหางานและอบรมแรงงาน และกำหนดให้รัฐบาลมลรัฐเพิ่มสัดส่วนคนที่หางานและทำโทษคนที่ไม่ร่วมมือในการหางานทำ

  20. Clinton’s Reform 1993 • ปฎิรูปให้ความสำคัญต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของคนโดยกำหนดว่าหลังจากผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือทางสังคม 2 ปีต้องเข้าร่วมในการอบรมแรงงาน หรือทำงานให้สังคม • ให้รัฐบาลมลรัฐกำหนดการมีส่วนร่วมของคน และเร่งขยายจำนวนผู้เข้าร่วมในโครงการให้มากขึ้น • ขยายและบังคับใช้บทลงโทษต่อผู้ที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการนี้

  21. PRWORA 1996 • PRWORA ได้แทนที่ AFDC ในปี 1996 โดยการใช้โครงการ TANF • มีการขับเคลื่อนทางสังคม สื่อมวลชน และภาครัฐที่ต้องการให้ระบบสวัสดิการทางสังคมมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับการทำงานแก่สาธารณะ และการเพิ่มฝีมือแรงงาน

  22. ลักษณะพิเศษ 5 ประการของ TANF คือ • Block grants มีเงินช่วยเหลือจาก Federal ให้ State ในสัดส่วนที่คงที่ต่อความช่วยเหลือหรือค่าบริหารงานของ State ที่ให้ผู้ได้รับประโยชน์ นอกจากนี้สัดส่วนของของเงินช่วยเหลือจาก Federal แตกต่างกันออกไปตามรายได้ของแต่ละ State(50% ในรัฐที่รวยถึง 90% ในรัฐที่จน) • เพิ่มอิสรภาพของมลรัฐในการริเริ่มโครงการให้งานแก่ผู้ได้รับความช่วยเหลือทางสังคม • การกำหนดระยะเวลาของการช่วยเหลือ โดยมลรัฐไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับ TANF เกิน 60 เดือน รัฐต้องให้ผู้ใหญ่ในครัวเรือนทำงานหลังจากได้รับ ความช่วยเหลือเกิน 24 เดือน • การกำหนดลงโทษผู้ที่ไม่ให้ความร่วมมือโดยการตัดความช่วยเหลือด้าน TANF แต่ยังคงให้ Food Stamps, Medicaid, EITC และ SSI • กำหนดความสามารถในการทำงานโดย PRWORA กำหนดสัดส่วนผู้ที่มีส่วนร่วมในการหางานจากผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ทั้งหมดไว้ โดยแต่ละรัฐต้องทำตาม โดยมีการกำหนดการมีส่วมร่วมที่แตกต่างกันสำหรับครอบครัวที่แตกต่างกัน เช่น ครอบครัวที่มีทั้งพ่อแม่แม่เลี้ยงดูลูกกับครอบครัวที่มีแต่พ่อหรือแม่คนเดียวเลี้ยงดูลูก

  23. ประเทศเยอรมัน • ปี 1961 กฎหมายให้ความช่วยเหลือทางสังคมแห่งรัฐ (Federal Social Assistance Act) ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาลเยอรมันตะวันตก • กฏหมายกำหนดว่า ผู้ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐต้องทำงานแลกเปลี่ยนหากรัฐมีงานเสนอให้ กฎหมายดังกล่าวช่วยลดค่าใช้จ่ายของรัฐได้มากในช่วงที่มีการว่างงานสูง • สวัสดิการด้านการทำงานในเยอรมันเรียกว่า Help Towards Work (HTW) ซึ่งเป็นลักษณะทั้ง งานที่มีสัญญาว่าจ้างและไดัรับความคุ้มครองด้านการประกันสังคม และงานที่ไม่ได้ระบุสัญญาว่าจ้าง และไม่ได้รับผลประโยชน์อื่นๆ • HTW เกิดจากการกดดันทางการเมืองที่ต้องการให้คนที่ได้รับประโยชน์จากความช่วยเหลือทางสังคมกลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน หากคนเหล่านั้นยังมีอายุน้อยแต่ว่างงาน

  24. ลักษณะ 4 ประการของiระบบสวัสดิการสังคมในเยอรมัน • ระบบที่แบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ ทั้งที่กระจายอำนาจและโครงการที่ไม่ได้บริหารไปด้วยกัน • เน้นไปทางผลประโยชน์ทางการเงิน ความช่วยเหลือทางการเงิน เป็นลักษณะการรักษาระดับรายได้ของผู้ว่างงานระยะสั้น • พึ่งพิงระบบประกันทางสังคม ซึ่งไม่ใช่สิทธิทางการเป็นพลเมือง แต่เป็นสมาชิกที่จ่ายเงินสมทบเข้าระบบประกัน • เน้นความสำคัญต่อแรงงาน นโยบายจะเกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์ในตลาดแรงงาน

  25. สวัสดิการสังคมในเยอรมันยืนอยู่บนหลักการ 3 ประการ • หลักการด้านการประกันสังคม (Social Security Principle) ให้ความช่วยเหลือแก่ สมาชิกที่สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม โดยตอบแทนด้วยเงินทดแทนการว่างงาน • หลักการรักษารายได้ (Maintenance Principle) ให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินสมทบ งบประมาณที่ใช้มาจากเงินภาษี โดยจะช่วยเหลือคนบางกลุ่มที่ทำประโยชน์ให้กับสังคม เช่น ทหารผ่านศึก หรือคนยากจนที่มีภาระบุตรพึ่งพิง • หลักการด้านรัฐสวัสดิการ (Public Welfare Principle) ได้แก่ การช่วยเหลือทางสังคม โดยอาศัยภาษีท้องถิ่นที่มอบให้แก่คนจนให้รักษาระดับมาตรฐานการครองชีพ

  26. ระบบสวัสดิการทำงานแบบ HTW มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือคนว่างงานให้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านเงินทดแทนการว่างงานเพิ่มขึ้นสูง แม้มีการลดเงินทดแทนดังกล่าวลงหลายครั้ง เยอรมันยังคงมีปัญหาด้านค่าใช้จ่ายภาครัฐ • การปรับตัวทางเศรษฐกิจที่อาศัยแรงงานฝีมือน้อยลงส่งผลให้การว่างงานสูงขึ้น ดังนั้น HTW จึงมีการให้การอบรมและฝึกทักษะแก่คนทำงานควบคู่ไปกับการหางานให้แก่คนเหล่านั้น

  27. HTW ได้จัดงานออกเป็น 3 ประเภท • งานทั่วไปที่ได้รับเงินดุดหนุน โดยรัฐให้เงินดุดหนุนแก่นายจ้างในการจ้างงานคนว่างงานในระบบ HTW โดยงานกำหนดอายุการทำงาน โดนยมากมักมีสัญญาว่าจ้าง 12 เดือน • งานช่วยเหลือสาธารณะ หน่วยงานท้องถิ่นอาจให้เงินสนับสนุนโครงการสร้างงาน โดยให้ค่าจ้างที่ต่ำ โดยมากคนงานมักเป็นผู้ที่มีปัญหาในการเข้าสู่ตลาดแรงงานทั่วไป เช่น ไร้ฝีมือ หรือมีปัญหาด้านทักษะการเขียนและอ่าน เป็นต้น โดยคนงานจะได้ทั้งค่าจ้างและเงินช่วยเหลือทางสังคมควบคู่กันไป • งานพิเศษที่มักให้คนที่มีปัญหาในการทำงานมากๆซึ่งมักมีต้นทุนที่สูง

  28. หน่วยงานท้องที่อาจให้การศึกษาหรือการฝึกฝนทักษะแก่คนว่างงานเพื่อการเตรียมความพร้อมในการทำงานด้วยหน่วยงานท้องที่อาจให้การศึกษาหรือการฝึกฝนทักษะแก่คนว่างงานเพื่อการเตรียมความพร้อมในการทำงานด้วย • คนที่ไม่เข้าร่วมโครงการจัดหางานจะถูกลงโทษ เช่น การลดเงินช่วยเหลือ

  29. ระบบสวัสดิการสำหรับการทำงานในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย มีลักษณะเป็นนโยบายตลาดแรงงานเชิงรุก (Active Labor Market Policy) ซึ่งกำหนดมองว่า ผู้ได้รับเงินช่วยเหลือทางสังคมอาจถูกแยกจากตลาดแรงงาน วัตถุประสงค์สำคัญคือ การให้แรงงานกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานอีกครั้ง โดยอาจมีการพัฒนาฝีมือ เครื่องมือที่ใช้คือ การสร้างงาน การอุดหนุนค่าจ้าง และแรงจูงใจทางการเงินอื่นๆ ประเทศเดนมาร์ก

  30. Active Labor Market Policy • เพื่อให้เกิดการจ้างงานอย่างเต็มที่สำหรับช่วงที่มีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ • มีการกำหนดนโยบายทั่วไปใช้ทั่วประเทศ หรือบางเขตหรือบางอุตสาหกรรม • การให้การศึกษาหรือฝึกฝนฝีมือแรงงาน มีความจำเป็นในการปรับแรงงานให้สอดคล้องกับช่วงที่เศรษฐกิจมีการปรับโครงสร้าง • มีการสนับสนุนคนที่ว่างงานและได้รับการช่วยเหลือให้เข้าหางาน • แม้ว่า ALMP ไม่สามารถให้เกิดการจ้างงานได้เต็มที่แต่ก็ช่วยให้อัตราว่างงานลดลง

  31. ความเป็นมา • ช่วงปี 1960-1990 มีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ได้รับประโยชน์จากการว่างงาน โดยเฉพาะเมื่ออัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสูง (12% ในปี 1994) • การพัฒนาทางเทคโนโลยี รวมถึงการปรับผังองค์กรให้สอดคล้องกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการแรงงานมีฝีมือเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนงานบางพวกขาดทักษะจึงว่างงาน • แรงงานผู้หญิงเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้มีผู้ขอความช่วยเหลือกรณีว่างงานเพิ่มขึ้น • การผลักดันคนว่างงานให้ใกล้กับตลาดแรงงานมากขึ้น จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการลดค่าใช้จ่ายด้านนี้ • คนที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการว่างงาน ต้องได้รับการพัฒนาฝีมือหรือผ่านการอบรมด้านทักษะบางประเภทก่อนจึงจะได้รับเงิน • เป้าหมายของโครงการด้านสวัสดิการแรงงานคือ แรงงานวัยรุ่นอายุประมาณ 18-19 ในปี 1990 และต่อมาได้ขยายไปสู่ช่วงอายุ 20-24 ปี

  32. Youth Allowance Scheme (YAS) • กำหนดให้คนในวัย 18-19 หางานเป็นเวลา 5 เดือน หลังจากนั้นจึงให้กลับสู่กลุ่มที่ได้รับเงินช่วยเหลือต่ออีก 24 เดือน • ปี 1994 มีการปฏิรูปตลาดแรงงานโดยให้คนที่ว่างงานอายุต่ำกว่า 25 ปี มาอบรมฝีมือแรงงานหลังจากเข้าสู่ระบบช่วยเหลือ 1 ปี ซึ่งในปี 1998 ได้ลดเวลาเหลือ 3 เดือน

  33. สิงคโปร์เริ่มใช้ Workfare Income Supplement (WIS) Scheme ในปี 2007 โดยให้กระทรวงกำลังคน (Ministry ofManpower) ทำหน้าที่บริหารจัดการ จุดประสงค์ของ WIS คือการเพิ่มรายได้ และเงินออมที่ฝช้ในยามปลดเกษียณของคนงานที่มีรายได้น้อย และมีอายุมาก เพื่อให้คนเหล่านั้นอยู่ในตลาดแรงงานต่อไป คนที่มีสิทธิเข้าร่วมแผนงานนี้คือกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยกว่าเกณท์ที่กำหนด และมีอายุมากกว่า 35 ปี ประเทศสิงคโปร์

  34. ผู้มีสิทธิใน WIS • ผู้ที่มีงานรับจ้างประจำ หรือผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว หรืองานอิสระ (self-employed) สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ • สำหรับกลุ่ม self-employed ผู้ที่มีสิทธิต้องเปิดเผยรายได้ รวมทั้งต้องสมทบเงินเข้ากองทุนการออมเพื่อการรักษาพยาบาล (Medisave) • WIS มีส่วนเชื่อมโยงกับ กองทุนสวัสดิการแห่งชาติ (Central Provident Fund-CPF) โดยให้มีการลดเงินสะสมจากนายจ้างแก่ลูกจ้างที่มีรายได้น้อย และอายุมากกว่า 35 ปี เพื่อลดต้นทุนนายจ้าง อีกทั้ง WIS ยังลดเงินสมทบจากลูกจ้างด้วยเพื่อให้ลูกจ้างมีเงินใช้มากขึ้น

  35. การฝึกอบรมแรงงาน • เพื่อใก้มีการพัฒนาฝีมือให้สอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ หน่วยงานพัฒนากำลังฝีมือ (Workforce Development Agency-WDC) ได้มีการจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานที่มีรายได้น้อย และอายุมาก • แผนการฝึกทักษะแรงงาน (Workfare Training Scheme-WTS) ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือน กรกฎาคม 2010 โดยมีวัตถุประสงค์ให้นายจ้างส่งคนงานมาฝึกทักษะเพิ่มเติม

  36. ประเทศอินเดีย • การจัดทำระบบ Workfare ในประเทศอินเดีย มีลักษณะที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ที่ประเทศไทยควรให้ความสนใจ • ระบบสวัสดิการของอินเดียยังไม่พัฒนามาก • แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคชนบท และเป็นแรงงานประเภทไม่เป็นทางการ • ระบบ Workfare ของประเทศอินเดียโดยมากเป็นโครงการจ้างงานลักษณะการจ่ายค่าจ้าง (Wage Employment Programmes, WEP) • แต่เนื่องจากระบบ WEP มีปัญหาหลายประการ รัฐบาลอินเดียจึงร่างกฎหมายการรับรองการจ้างงานในภาคชนบท (National Rural Employment Guarantee Act, NREGA) ขึ้นในปี ค.ศ. 2005

  37. การพัฒนารูปแบบระบบ Workfare ของประเทศอินเดีย • ระบบ Workfare เริ่มช่วงแรกประมาณปี ค.ศ. 1980 โดยมีโครงการจ้างงาน 2 ประเภทที่สำคัญ ได้แก่ โครงการการจ้างงานในภาคชนบท (National Rural Employment Programme, NREP) ในช่วงปี ค.ศ. 1980-1989 และโครงการรับรองการทำงานแก่คนไร้ที่ดินในภาคชนบท (Rural Landless Employment Guarantee Programme, RLEGP) ในช่วงปี ค.ศ. 1983-1989 • ซึ่งทั้งสองโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ร่วมกันคือ การขจัดปัญหาความยากจนให้หมดไปในประเทศ

  38. ต่อมาปี ค.ศ.1989 ทั้งสองโครงการนี้ได้รวมเป็นโครงการ JawaharRozjorYojana (JRY) ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินงานภายใต้กระทรวงพัฒนาชนบท (Ministry of Rural Development) • จุดประสงค์เพื่อลดปัญหาความยากจนด้วยการสร้างโอกาสในการทำงานแก่คนจนที่อยู่ในชนบทในช่วงนอกฤดูกาลของภาคเกษตร • นอกจาก JRY จะต้องการสร้างงานให้แก่คนยากจนแล้ว ยังมีจุดประสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การสร้างสาธารณูปโภคต่างๆในสังคม เช่น ถนน โรงเรียน และอื่นๆ

  39. รัฐสามารถใช้ JRY ในการสร้างงานแก่กลุ่มคนที่รัฐต้องการให้ความช่วยเหลือได้ เช่น เน้นการจ้างงานแก่ชนกลุ่มน้อย คนวรรณะต่ำ และผู้หญิง ตัวอย่างเช่น โครงการจ้างงานในภาคชนบทถึงร้อยละ 30 จะสำรองให้แก่ผู้หญิง เป็นต้น • ในส่วนของการบริหารงานนั้น รัฐบาลกลางจะให้เงินช่วยเหลือแก่รัฐบาลตามรัฐต่างๆ ตามสัดส่วนคนยากจนในรัฐนั้นๆ เทียบกับคนยากจนทั้งหมดในภาคชนบททั้งประเทศ โดยสัดส่วนเงินช่วยเหลือที่มาจากรัฐบาลกลางนั้นสูงถึง 80% ของเงินทั้งหมด ซึ่งส่วนที่เหลือนั้นรัฐบาลท้องถิ่นจะต้องสมทบเอง

  40. ปัญหาของ JRY • แม้ว่าโครงการ JRY จะมีส่วนช่วยในการสร้างงานให้แก่คนจนในภาคชนบท แต่โครงการนี้ยังไม่สามารถสร้างงานได้มากพอที่จะเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนของผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ได้ • ด้วยเหตุนี้ในปี ค.ศ.1993 รัฐบาลอินเดียจึงเสริมโครงการจ้างงานใหม่คือ แผนการรับรองการทำงาน (Employment AssuranceScheme, EAS) ให้ดำเนินการพร้อมกับ JRY

  41. วัตถุประสงค์สำคัญ ของ EAS • สร้างโอกาสในการทำงานประเภทใช้แรงงานด้านต่างๆ ในช่วงที่มีปัญหาขาดแคลนการจ้างงาน • สร้างสินทรัพย์คงทนหรือสาธารณูปโภคให้แก่ชุมชน เพื่อให้รองรับการพัฒนาและจ้างงานในอนาคต • อย่างไรก็ตาม EAS ก็ยังคงประสบปัญหาที่คล้ายคลึงกับ JRY ตรงที่ไม่สามารถสร้างงานได้มากพอ ท้ายที่สุดในปี ค.ศ.1999 ทั้ง JRY และ EAS จึงถูกแทนที่ด้วยโครงการใหม่ที่มีชื่อว่า Jawahar Gram SamdiddhiYojana (JGSY)

  42. โครงการ JGSY • เน้นการจ้างงานในภาคชนบท ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสาธารณูปโภคที่สำคัญในระดับหมู่บ้าน และช่วยลดปัญหาความยากจนได้ในเวลาเดียวกัน • ต่อมาเมื่อรัฐบาลต้องการตอบสนองความต้องการในการทำงานที่เพิ่มขึ้นและเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาการขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะช่วงที่เกิดภัยทางธรรมชาติ รัฐได้เสนอโครงการทำงานเพื่อแลกอาหาร (Food for Work Programme) ขึ้นในปี ค.ศ. 2001

  43. นอกจากนี้เพื่อเป็นการรวมการจ้างงานและสร้างสาธารณูปโภคในระดับหมู่บ้านเข้ากับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในปีเดียวกันนี้ รัฐจึงได้สร้างโครงการการจ้างงานใหม่ เรียกว่า SampoornaGrameenRozgarYojana (SGRY) • ซึ่งโครงการ SGRY มีงบประมาณเพื่อนำไปใช้ในการแจกจ่ายข้าวสารแก่ประชาชนถึง 5 ล้านตันต่อปี โดยรัฐบาลท้องถิ่นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแจกจ่ายข้าวสาร โครงการดังกล่าวนี้คาดว่าจะสามารถจ้างงานได้ถึง 1 พันล้านวันทำงานของคนในหนึ่งปี

  44. ปัญหาของระบบ workfare ในอินเดีย • คนในพื้นที่ขาดความเข้าใจในเนื้อหาของโครงการ • ขาดการวางแผนงาน • คุณภาพของทรัพย์สินที่สร้างขึ้นไม่ได้สมบูรณ์หรือเป็นไปตามมาตรฐาน • มีการแจ้งข้อมูลเวลาทำงานที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง • มีปัญหาการจ่ายเงินค่าจ้างที่มักต่ำกว่าที่ระบุไว้ • เงินค่าจ้างที่จ่ายให้ผู้หญิงและผู้ชายขาดความเท่าเทียม • อาศัยการว่าจ้างผ่านผู้รับเหมา • ขาดฐานข้อมูล และภาพรวมของโครงการทั้งหมด • หน่วยงานที่ดำเนินงานขาดความสามารถ • ไม่ได้รับการดูแลจากรัฐบาลเท่าที่ควร

  45. National Rural Employment Guarantee Act, NREGA • กฎหมายนี้ระบุให้มีการว่าจ้างแรงงานไร้ฝีมือในภาคชนบทเป็นเวลา 100 วันต่อครัวเรือน และสร้างทรัพย์สินถาวรให้แก่ชุมชน • ระบุให้มีการจ่ายค่าจ้างอย่างเท่าเทียมกันระหว่างแรงงานชายและหญิง • การจ้างงานใน NREGA ประกอบด้วยงานหลายประเภท เช่น งานด้านชลประทาน หรือดูแลแหล่งน้ำในพื้นที่ การพัฒนาที่ดิน งานด้านป้องกันและควบคุมอุทกภัย และงานอื่นๆ ที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาล • NREGA ได้มีการกระจายการสร้างงานในแต่ละรัฐ และให้มีการจ้างงานเป็นสัดส่วนพิเศษ สำหรับคนกลุ่มน้อย คนวรรณะต่ำ และผู้หญิง รวมทั้งมีความสนใจดูแลคนพิการด้วย ซึ่งในบางรัฐมีการระบุให้มีการจ้างงานถึง 150 วันสำหรับผู้พิการ

  46. จุดประสงค์และเป้าหมายของ NREGA • สร้างความคุ้มครองทางสังคมให้แก่คนที่ประสบปัญหาด้านการให้โอกาสในการทำงาน ในกรณีที่ทางเลือกอื่นในการทำงานนั้นมีการว่าจ้างที่จำกัด • เพื่อเป็นแรงผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่สังคมเกษตรกรรมด้วยการสร้างงานประเภทที่ช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนเรื้อรัง เช่น ปัญหาขาดแคลนน้ำ การทำลายป่า และดินเสื่อมสภาพ เป็นต้น โดยกฎหมายนี้ต้องการสร้างทรัพย์สินถาวรในภาคชนบท เพื่อเชื่อมโยงชีวิตความเป็นอยู่ในภาคชนบทกับทรัพยากรในพื้นที่ • การให้อำนาจแก่คนจนในภาคชนบท ด้วยการมอบสิทธิตามกฎหมายให้คนกลุ่มนี้ • แนวทางการบริหารธุรกิจแบบใหม่ ซึ่งเป็นตัวอย่างการปรับปรุงด้านธรรมาภิบาล เพื่อเป็นรากฐานของระบบประชาธิปไตยที่โปร่งใส

  47. จุดเด่นสำคัญในการบริหารจัดการ NREGA • มีการจัดเก็บ และเผยแพร่ข้อมูลการจ้างงานในแต่ละท้องที่อย่างมีประสิทธิภาพ • โดยกระทรวงพัฒนาชนบทได้มีการระบุเลขประจำตัวของผู้เข้าร่วมโครงการทำงาน (Job Card Number) เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลการทำงานของผู้เข้าร่วมโครงการต่างๆ • โดยจะแสดงข้อมูลการจ้างงานในหน่วยครัวเรือน และจำนวนวันทำงานของคนในวรรณะ หรือกลุ่มต่างๆ รวมทั้งสัดส่วนผู้หญิงที่ร่วมโครงการต่างๆ โดยข้อมูลเหล่านี้ได้ถูกจัดเก็บจากแต่ละอำเภอทั่วประเทศ

  48. การพัฒนาระบบ Workfare ของประเทศอินเดียมีความพิเศษที่กำหนดกลุ่มเป้าหมายชัดเจนว่าเป็นกลุ่มครัวเรือนยากจนในภาคชนบท • ตลาดแรงงานในภาคชนบทที่มีลักษณะไม่เป็นทางการ ทำให้คนงานมักได้รายได้น้อยและขาดความแน่นอน • ดังนั้นการรับรองว่ารัฐจะจ้างงานจากแรงงานเหล่านี้เป็นเวลา 100 วันในหนึ่งปี จึงเป็นเสมือนหลักประกันรายได้ของคนยากจนได้ทางหนึ่ง

  49. สรุป ระบบ workfare ของอินเดีย • แม้ว่าระบบ workfare ของประเทศอินเดียจะมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน คือคนยากจนในภาคชบบท แต่การวางแผน และปฏิบัติการของระบบนี้ยังควรมีการแก้ไข • งานประเมินโครงการการสร้างงานในภาคชนบทของอินเดียรายงานว่า โครงการส่วนมากไม่สามารถวางกรอบกลุ่มเป้าหมายเฉพาะคนจนได้ เนื่องจากค่าแรงที่สูงมากเกินไป ที่อาจจูงใจคนที่ไม่ยากจนจริงให้เข้ามาทำงานในโครงการต่างๆ ซึ่งอาจแย่งงานกับคนจนในพื้นที่ • รายงานดังกล่าวได้ชี้ว่า หากรัฐมีการกำหนดหลักเกณท์การคัดเลือกคนที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการอย่างชัดเจน ปัญหาการไม่เข้าถึงคนจนในพื้นที่อาจลดลง เช่น รัฐควรกำหนดสัดส่วนคนในบางวรรณะ หรือชนกลุ่มน้อยต่างๆ รวมทั้งสัดส่วนแรงงานผู้หญิงในพื้นที่ให้ชัดเจน • อีกทั้งควรมีการตรวจสอบบันชีค่าใช้จ่ายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การดำเนินงานต่างๆมีความโปร่งใส และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคนจนอย่างแท้จริง

  50. รายงานผลการดำเนินงาน และค่าใช้จ่าย

More Related