1 / 74

ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องผู้เสียหาย

ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องผู้เสียหาย. 1. ในกรณีผู้เสียหายที่แท้จริงเป็นผู้เยาว์ ผู้เยาว์ไม่อาจที่จัดการ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 ได้เอง ผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องเป็นผู้จัด การแทนจัดการให้(ฎ 1123/2479) และแม้จะได้รับอนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้เยาว์ ก็ไม่สามารถทำได้(ฎ 563/2517)

Download Presentation

ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องผู้เสียหาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องผู้เสียหายข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องผู้เสียหาย 1. ในกรณีผู้เสียหายที่แท้จริงเป็นผู้เยาว์ ผู้เยาว์ไม่อาจที่จัดการ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 ได้เอง ผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องเป็นผู้จัด การแทนจัดการให้(ฎ 1123/2479) และแม้จะได้รับอนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้เยาว์ ก็ไม่สามารถทำได้(ฎ 563/2517) เว้นแต่ผู้เยาว์นั้นจะมีอายุพอสมควร ผู้เยาว์มีสิทธิร้องทุกข์ หรือถอนคำร้องทุกข์ได้ดัวยตนเอง(ฎ 214/2494)

  2. 2. ในความผิดอันเกี่ยวกับทรัพย์ หากผู้เสียหายตายก่อนร้องทุกข์ ทายาทสามารถร้องทุกข์และถอนคำร้องทุกข์ในความผิดอันเกี่ยว กับทรัพย์แทนผู้เสียหายที่แท้จริงได้ เพราะเป็นสิทธิอันเกี่ยวกับ ทรัพย์สิน(ฎ11/2518) แต่ทายาทจะฟ้องคดีแทนผู้เสียหายไม่ได้ (878/2515) 3. ในกรณีที่ผู้เสียหายที่แท้จริงได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาล และต่อมาได้ ตายลงระหว่างการพิจารณา บุคคลต่างๆตามที่ระบุไว้ในม. 29 ว. 1 สามารถดำเนินคดีต่อไปได้ (การรับมรดกความ)

  3. 4. ในกรณีที่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายมิได้เป็นผู้เสียหายที่ แท้จริง ผู้มีอำนาจจัดการแทน และผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดี ก็ไม่ มีอำนาจที่จัดการแทนบุคคลดังกล่าวเช่นเดียวกัน คำพิพากษาฎีกาที่ 1083/2510 ผู้ตายกับจำเลยสมัครใจชกมวย เอาเงินกันโดยมิได้รับอนุญาต จะถือว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียหาย ตามกฎหมายไม่ได้ เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะการชกมวยนั้น ผู้ตายไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย บิดาผู้ตายไม่มีอำนาจฟ้องแทน ผู้ตายได้

  4. การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ ร้องทุกข์/ กล่าวโทษ ผู้เสียหาย เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ สืบสวน สอบสวน

  5. คำร้องทุกข์ ป.วิ.อ. ม.2(7) หมายความถึง “การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทำผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำ ผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายและการ กล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ”

  6. ผู้ที่มีสิทธิร้องทุกข์ผู้ที่มีสิทธิร้องทุกข์ 1. ผู้เสียหายที่แท้จริง 2. ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย 3. ผู้รับมอบอำนาจ 4. บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายใน ความผิดฐานหมิ่นประมาท ตาม ป.อ. ม. 333 ว.2 “ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อน ร้องทุกข์ให้บิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย”

  7. ถ้าผู้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน มิได้เป็นบุคคลหนึ่งบุคคลใดข้างต้น จะมีผลทำให้ คำร้องทุกข์ของบุคคลนั้น ไม่เป็นคำร้องทุกข์อันชอบด้วยกฎหมาย รัฐไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด

  8. บุคคลผู้มีอำนาจรับคำร้องทุกข์บุคคลผู้มีอำนาจรับคำร้องทุกข์ ได้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดดังต่อไปนี้ ก. พนักงานสอบสวน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 123 วรรคแรก “ผู้เสียหายอาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้” ป.วิ.อ.ม.2(6)พนักงานสอบสวน หมายความถึง “เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน”

  9. ม.18 ยศ ตำแหน่ง สถานที่ บุคคลซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวน ตาม ม.2(6) ได้แก่

  10. ยศ,ตำแหน่ง ต่างจังหวัด (ว.1) กรุงเทพฯ (ว.2) -พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ม.2(17) -ปลัดอำเภอ -ข้าราชการตำรวจที่มียศตั้งแต่ ชั้น ร.ต.ต.หรือเทียบเท่าขึ้นไป - ข้าราชการตำรวจที่มียศตั้งแต่ ชั้น ร.ต.ต.หรือเทียบเท่าขึ้นไป

  11. สถานที่ ผู้ต้องหาถูกจับ -ความผิดเกิด -อ้างว่า -เชื่อว่าได้เกิด ผู้ต้องหามีที่อยู่

  12. เช่น นาย ก. เข้าไปลักทองรูปพรรณในบ้านของนาย ข. ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านอิงดอย ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของ สถานีตำรวจภูพิงค์ฯ นาย ก. ถูกเจ้าพนักงานติดตามจับกุมได้บริเวณลานจอดรถ ห้างสรรพสินค้า โลตัส คำเที่ยงซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของ สถานีตำรวจช้างเผือก จากการสอบสวน นาย ก. มีบ้านอยู่อำเภอเมือง จ.ลำพูน

  13. 2. ผู้มีตำแหน่งรอง หรือเหนือพนักงานสอบสวน ป.วิ.อ.มาตรา 124 วรรคแรก “ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่ง มีตำแหน่งหน้าที่รอง หรือเหนือพนักงานสอบสวน และเป็นผู้ซึ่งมีหน้าที่ รักษาความสงบเรียบร้อยตามกฎหมายก็ได้”

  14. เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ม.2(16) มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่จับกุมปราบปราม ผู้กระทำผิดกฎหมายที่ตนมี หน้าที่ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ

  15. ฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ -ปลัดกระทรวงมหาดไทย -................................................... -................................................... -ปลัดอำเภอ(พนักงานสอบสวน) -................................................... -................................................... -ผู้ใหญ่บ้าน -นายพลตำรวจ -.................................................. -.................................................. -ร.ต.ต. หรือเทียบเท่า (พนักงาน สอบสวน) -................................................... -พลตำรวจ

  16. เช่น นาย ก. เข้าไปลักทองรูปพรรณในบ้านของนาย ข. ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านอิงดอย ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของ สถานีตำรวจภูพิงค์ฯ นาย ก. ถูกเจ้าพนักงานติดตามจับกุมได้บริเวณลานจอดรถ ห้างสรรพสินค้า โลตัส คำเที่ยงซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของ สถานีตำรวจช้างเผื่อ จากการสอบสวน นาย ก. มีบ้านอยู่อำเภอเมือง จ.ลำพูน เช่นนี้ ถ้านาย ข. เข้าร้องทุกข์ต่อ ร.ต.อ. ดำ ที่ สถานีตำรวจสันกำแพง จะได้หรือไม่

  17. ลักษณะของคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายลักษณะของคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย คำร้องทุกข์ใดจะมีลักษณะเป็นคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้ 1. ผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์โดยมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ ลักษณะคำร้องทุกข์ที่ ถือว่าขาดเจตนาให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ -ร้องทุกข์เพื่อเป็นหลักฐาน -เพื่อกันมิให้คดีขาดอายุความ

  18. ป.วิ.อ. ม.2(7) หมายความถึง “การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทำผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายและการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ”

  19. คำพิพากษาฎีกาที่ 985/2514 โจทก์ไปแจ้งความกล่าวหา จำเลย กับพวกร่วมกันออกเช็คไม่มีเงินให้โจทก์ โจทก์ยังไม่ประสงค์ให้ทางเจ้า หน้าที่ตำรวจจับกุมตัวจำเลยมาดำเนินคดี เพียงแต่มาแจ้งให้ทราบไว้ เป็นหลักฐาน มิให้เช็คขาดอายุความเท่านั้น ข้อความตามที่โจทก์แจ้ง ไว้นี้ไม่ใช่คำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกง คำพิพากษาฎีกาที่ 1701/2522 คำแจ้งความคดีออกเช็คไม่มีเงิน จ่ายว่า 'จึงได้มา แจ้งไว้เป็นหลักฐาน ไม่เป็นเจตนาให้สอบสวนดำเนิน คดีแก่ผู้ต้องหาไม่เป็นร้องทุกข์ ตามกฎหมาย

  20. 2. ในกรณีที่ความผิดซึ่งได้กระทำลงมีผู้กระทำความผิดหลาย คน คำร้องทุกข์จะต้องระบุถึงผู้กระทำความผิดทุกคน หากไม่สามารถ ทราบได้ว่ามีใครบ้าง ต้องระบุว่าจำนวน คำพิพากษาฎีกาที่1298/2510 คำร้องทุกข์ของผู้เสียหายไม่ได้ ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้ร่วมกระทำผิด จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ที่ผู้เสียหาย ประสงค์ให้จำเลยรับโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(7)

  21. 3. การร้องทุกข์ ได้แก่ การแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ ต่างๆที่ผู้กระทำความผิดได้กระทำลง มิใช่เป็นการแจ้งข้อหา หรือบทมาตราที่กฎหมายบัญญัติ เป็นความผิด ดังนั้นหากผู้ร้องทุกข์ได้แจ้งถึงรายละเอียดและพฤติการณ์ของ การกระทำความผิดแล้ว แม้จะแจ้งข้อหา หรือบทมาตราผิดไปจากที่ เจ้าพนักงาน หรือศาลได้ปรับบท ก็ถือได้ว่าได้มีการร้องทุกข์ในข้อหา ที่เจ้าพนักงานได้ปรับบทด้วย

  22. คำพิพากษาฎีกาที่ 1647/2528 คำให้การชั้นสอบสวนของ ศ. ยืนยันว่าเห็นจำเลยชักปืนออกมายิงผู้เสียหาย และทราบจาก ล. ว่าคนร้ายอีก 2 คนที่หน้าร้านคือ ส. และ พ. กระสุนปืนของคนร้ายถูกตู้เย็นและตู้กับข้าวของ ศ. เสียหาย ประโยคสุดท้ายของคำให้การมีว่า มีความประสงค์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินกับบุคคลทั้ง 3 คนด้วย ดังนี้ ศ. เจ้าทรัพย์ได้กล่าวหาต่อพนักงานสอบสวนโดยมีเจตนาให้ ส. และ พ. ได้รับโทษในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ จึงเป็นคำร้องทุกข์ในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. ม. 2(7) ประกอบด้วย ม. 123

  23. คำพิพากษาฎีกาที่ 622/2493 ความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวนั้น แต่ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหาย แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่แต่เพียงตำรวจซ้อม ตำรวจทำร้าย ดังนี้ ถือว่าผู้เสียหายแจ้งต่อเจ้าพนักงานเฉพาะเรื่องถูกทำร้าย เท่านั้น คดียังฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัวตาม ระเบียบแล้วด้วย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานนี้

  24. 3. ในกรณีที่เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท หรือ ต่างกรรมต่างวาระ ผู้ร้องทุกข์จะต้องระบุรายละเอียดและ พฤติการณ์ของการกระทำความผิดทุกกรรม จึงจะถือว่าได้ร้องทุกข์ ความผิดในบทนั้นหรือฐานนั้น คำพิพากษาฎีกาที่ 2405/2522 แจ้งต่อตำรวจบันทึกไว้ว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาปักเสาหินล้อมเขตที่ดิน เป็นการร้องทุกข์ในข้อหา บุกรุก ไม่ใช่ตัดลวดหนามทำให้เสียทรัพย์

  25. การแก้ไขหรือถอนคำร้องทุกข์การแก้ไขหรือถอนคำร้องทุกข์ ป.วิ.อ.มาตรา 126 วรรค 1 “ผู้ร้องทุกข์จะแก้คำร้องทุกข์ระยะใดหรือจะถอนคำร้อง ทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ ความผิดต่อส่วนตัวนั้น ผู้เสียหายที่แท้จริง ผู้มีอำนาจจัดการ แทนผู้เสียหาย และผู้รับมอบอำนาจ จะแก้คำร้องทุกข์ หรือถอนคำร้อง ทุกข์เมื่อใดก็ได้ แต่ต้องก่อนคดีจะถึงที่สุด

  26. -การถอนคำร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัว มีผลทำให้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ตาม ป.วิ.อ. ม.39 (2) คำพิพากษาฎีกาที่ 1374/2509 คดีความผิดต่อส่วนตัว ก่อน คดีถึงที่สุดผู้เสียหายย่อมถอนคำร้องทุกข์ได้และสิทธินำคดีมาฟ้อง ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2) คำพิพากษาของศาลล่างย่อม ระงับไปในตัวไม่มีผลบังคับต่อไป

  27. คำพิพากษาฎีกาที่ 1857/2517 ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หลัง จากคดีถึงที่สุดไปแล้ว ย่อมไม่มีผลให้คดีระงับไปตาม ป.วิ.อ. ม. 39(2) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังใช้บังคับอยู่

  28. คำกล่าวโทษ ป.วิ.อ.มาตรา 2(8) บัญญัติว่า “คำกล่าวโทษ” หมายความถึงการที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดี ได้กระทำความผิดอย่าง หนึ่งขึ้น

  29. -ผู้กล่าวโทษจะเป็นใครก็ได้ที่ไม่ใช่ผู้เสียหาย กล่าวโทษต่อเจ้า พนักงานว่ามีผู้กระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง โดยมากจะเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน หรือผู้ได้รับความเสียหาย มิได้มีฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย -คำร้องทุกข์ถอนได้ แต่คำกล่าวโทษถอนไม่ได้ เพราะคำร้อง ทุกข์เมื่อถอนแล้วทำให้พนักงานสอบสวนสวนและพนักงานอัยการ หมดอำนาจดำเนินคดี แต่การถอนคำกล่าวโทษไม่มีผลกระทำถึง อำนาจพนักงานสอบสวนและอัยการที่จะดำเนินคดีดังกล่าว

  30. การสืบสวนและการสอบสวนการสืบสวนและการสอบสวน การสืบสวน หมายความถึง “การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงาน ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบ รายละเอียดแห่งความผิด”

  31. การสอบสวน หมายถึง “การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลาย อื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวน ได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง หรือ พิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องลงโทษ”

  32. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา มาตรา 17 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการสืบสวน คดีอาญาได้” มาตรา 2(16) “เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความ สงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพ สามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมืองและ เจ้าพนักงานอื่นๆในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปราม ผู้กระทำความผิดกฎหมายซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม”

  33. เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ม.2(16) มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่จับกุมปราบปราม ผู้กระทำผิดกฎหมายที่ตนมี หน้าที่ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ พัศดี เจ้าพนักงานสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมือง ป่าไม้ ฯลฯ จับผู้กระทำผิด ได้ทุกเรื่อง

  34. เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ม.2(16) มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่จับกุมปราบปราม ผู้กระทำผิดกฎหมายที่ตนมี หน้าที่ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ มีอำนาจทั่วราชอาณาจักร อำนาจติดอยู่กับพื้นที่

  35. คำพิพากษาที่ 500/2537จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นตำรวจโดย ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึง เป็นเจ้าพนักงาน แม้จะรับราชการประจำอยู่ที่กองกำกับการตำรวจน้ำ ทำหน้าที่ ช่างเครื่องซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ของเรือที่ใช้ในราชการตำรวจน้ำ เป็นเพียงหน้าที่เฉพาะคำสั่งแต่งตั้งทางราชการ แต่โดยทั่วไปจำเลยที่ 1 ยังมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 17

  36. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่สอบสวนเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่สอบสวน แยกพิจารณาได้ดังต่อไปนี้ ก. ความผิดเกิดในราชอาณาจักร 1. กรณีทั่วไป ม.18 2. กรณีความผิดคาบเกี่ยวหลายท้องที่ ม.19 ข. ความผิดเกิดนอกราชอาณาจักร ม.20

  37. ม.18 ยศ ตำแหน่ง สถานที่ ความผิดเกิดในราชอาณาจักร 1. กรณีทั่วไป ม.18

  38. ยศ,ตำแหน่ง ต่างจังหวัด (ว.1) กรุงเทพฯ (ว.2) -พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ม.2(17) -ปลัดอำเภอ -ข้าราชการตำรวจที่มียศตั้งแต่ ชั้น ร.ต.ต.หรือเทียบเท่าขึ้นไป - ข้าราชการตำรวจที่มียศตั้งแต่ ชั้น ร.ต.ต.หรือเทียบเท่าขึ้นไป

  39. สถานที่ ผู้ต้องหาถูกจับ -ความผิดเกิด -อ้างว่า -เชื่อว่าได้เกิด ผู้ต้องหามีที่อยู่

  40. -ท้องที่ที่ ความผิดเกิด ภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง มีความแน่นอนว่าความผิดได้เกิดในท้องที่นั้น -ท้องที่ที่ ความผิดอ้างว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง ยังไม่มีความแน่นอนว่าความผิดเกิดขึ้นในท้องที่ นั้นจริงหรือไม่ หากแต่มีผู้กล่าวอ้างว่าเกิดในท้องที่นั้น -ท้องที่ที่ ความผิดเชื่อว่าเกิดภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง ในความคิดเห็นของเจ้าพนักงาน มีพฤติการณ์ น่าเชื่อว่าความผิดได้เกิดขึ้นในท้องที่นั้น

  41. -ท้องที่ที่ ผู้ต้องหามีที่อยู่ ภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. คำว่า“มีที่อยู่” หมายถึง ถิ่นที่อยู่ที่แท้จริงขณะที่ตกเป็นผู้ต้องหา -ท้องที่ที่ ผู้ต้องหาถูกจับ ภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง ท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับภายในเขตอำนาจของเจ้าพนักงาน โดยไม่พิจารณาว่าเจ้าพนักงานผู้จับจะเป็นเจ้าพนักงานใน ท้องที่นั้นหรือไม่

  42. คำพิพากษาฎีกาที่ 4479/2532 ตาม ป.วิ.อ.ม. 22 (1) และม. 18 คำว่าจำเลยมีที่อยู่ หมายถึง ถิ่นที่อยู่ที่แท้จริงของจำเลยขณะที่จำเลยตกเป็นผู้ต้องหา ตามที่พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนไว้ ซึ่งอาจเป็นภูมิลำเนาหรือมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยก็ได้

  43. เช่น -นาย ก. เข้าไปลักทองรูปพรรณในบ้านของนาย ข. ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านอิงดอย ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของ สถานีตำรวจภูพิงค์ฯ -จากการสอบสวน นาย ก. มีบ้านอยู่อำเภอเมือง จ.ลำพูน -ต่อมาศาลจังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกหมายจับนาย ก. -ส.ต.ท.แดง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ ส.ภ.อ.แม่สาย พบนาย ก. เห็นว่าเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับ จึงจับกุมนาย ก. ส่งพนักงานสอบสวน ของ ส.ภ.อ.แม่สาย

  44. 2. กรณีความผิดคาบเกี่ยวหลายท้องที่ ม.19 • 1. เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดใน • ระหว่างหลายท้องที่ ได้แก่ การไม่ทราบว่าการกระทำความผิดได้เกิดขึ้นในท้องที่ใด ในระหว่างหลายท้องที่

  45. คำพิพากษาฎีกาที่ 23/2513 ใช้ปืนยาวยิงไปที่เรือโดยทราบดีว่ามีคนอยู่ในเรือนั้น กระสุนปืนถูกแขนคนในเรือได้รับอันตรายแก่กาย ดังนี้ เป็นความผิดฐานพยายามฆ่า เหตุเกิดในทะเล ไม่ทราบชัดว่าอยู่ในเขตจังหวัดใด ป. หรือ ซ. หรือ ส. ผู้เสียหายแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนอำเมืองสมุทรปราการ พนักงานสอบสวนอำเภอนั้นมีอำนาจสอบสวนได้

  46. 2. เมื่อความผิดส่วนหนึ่งได้กระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่ง ในอีกท้องที่หนึ่ง เช่น นาย ก. ลักทรัพย์ของ นาย ข. ในท้องที่ของ สภ.ต.ภูพิงค์ นาย ข. ติดตามนาย ก. ไปทันในท้องที่ของ สภ.ต.ช้างเผือก นาย ข. เข้าแย่งทรัพย์คืนจากนาย ก. นาย ก. จึงทำร้ายนาย ข. เพื่อความสะดวกเอาทรัพย์นั้นไป และเพื่อจะหลบหนี เช่นนี้ ความผิดฐานชิงทรัพย์ ส่วนหนึ่งได้กระทำในท้องที่หนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งได้กระทำในอีกท้องที่หนึ่ง

  47. 3. เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกัน ในท้องที่ต่างๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป คำพิพากษาฎีกาที่ 1180/2537 เมื่อการกระทำความผิดฐาน ลักทรัพย์เกิดที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แม้ความผิดฐาน รับของโจรจะเกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ก็เป็น ความผิดที่ได้กระทำต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร อำเภอไทรโยค จึงมีอำนาจสอบสวนจำเลยที่ 2 ที่ 3

  48. คำพิพากษาฎีกาที่ 2070/2543 การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 การออกเช็คในท้องที่ใดย่อมถือได้ว่า การกระทำความผิดอาญาได้กระทำลงในท้องที่นั้นต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน

  49. คำพิพากษาฎีกาที่ 3903/2531 แม้ความผิดฐานปล้นทรัพย์ กับความผิดฐานรับของโจร เกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็น ความผิดต่อเนื่องกัน โดยปล้นทรัพย์จากท้องที่หนึ่ง นำไปจำหน่าย แก่ผู้รับของโจรในอีกท้องที่หนึ่ง ดังนั้น พนักงานสอบสวนในท้องที่ หนึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดจึงมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. ม. 19

More Related