1 / 27

บทที่9 ตัวแทน – นายหน้า

บทที่9 ตัวแทน – นายหน้า. ความหมายของตัวแทน. ความหมาย ของสัญญาตัวแทน คือ อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือ สัญญาซึ่งคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าตัวการและตกลงจะทำการดังนั้น อันความ เป็นตัวแทน นั้น จะเป็นโดยแต่งตั้งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ย่อมได้

dante-kelly
Download Presentation

บทที่9 ตัวแทน – นายหน้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่9ตัวแทน – นายหน้า

  2. ความหมายของตัวแทน • ความหมายของสัญญาตัวแทน คือ อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือ สัญญาซึ่งคนหนึ่งเรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าตัวการและตกลงจะทำการดังนั้น อันความเป็นตัวแทนนั้น จะเป็นโดยแต่งตั้งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ย่อมได้ • ตัวแทน ( agency ) คือ บุคคลซึ่งมีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งตามสัญญาและตกลง จะกระทำการเช่นนั้น โดยปกติแล้วบุคคลไม่จำต้องกระทำกิจการใด ๆ ด้วยตนเอง เสมอไปจะมอบหมาย ให้มีผู้กระทำการแทนตนก็ได้

  3. ลักษณะของตัวแทน • 1. เป็นสัญญาที่มีบุคคลสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ตัวการ” และอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ตัวแทน” การตั้งตัวแทนจะต้องมีการตกลงระหว่างตัวการและตัวแทนไม่ว่าจะโดยตรง หรือ โดยปริยาย ซึ่งถ้ามิได้มีการตกลงกันกระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว มีการทำกิจการแทนกัน การทำกิจการแทนกันนั้นก็มิใช่เป็นเรื่องตัวการตัวแทนจะกลายเป็นเรื่องอื่น ในการนี้กฎหมายได้บังคับให้ ผู้ที่เข้าทำกิจการของบุคคลอื่นนั้น จะต้องกระทำงานไปในทางที่สมประสงค์ และตามความประสงค์ อันแท้จริงของตัวการ หรือตามความประสงค์ที่จะพึงสันนิษฐานได้ของตัวการ ซึ่งเมื่อได้จัดการไป เช่นนั้นแล้ว ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายจากเจ้าของกิจการ หรือตัวการได้

  4. 2. ตัวแทนมีอำนาจทำการแทนตัวการ กล่าวคือ จะต้องมีความยินยอมของบุคคลทั้งสองฝ่าย ในการที่จะให้ตัวแทนกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หากตัวแทนไม่มีอำนาจกระทำการดังกล่าวแล้วการกระทำนั้น ย่อมไม่ผูกพันตัวการแต่อย่างใด เพราะการกระทำนั้นไม่มีอำนาจ • 3. ตัวแทนตกลงที่จะกระทำการเช่นนั้น สัญญาตัวแทนจะต้องมีความตกลงของตัวแทนที่ จะทำกิจการที่ได้รับมอบหมาย ตัวแทนจะตกลงโดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยายก็ได้4 เช่น นายดำเคยสั่งนายแดงให้ไปเก็บค่าเช่าเป็นประจำตามปกตินายดำจะต้องสั่งก่อน ต่อมาเมื่อถึงเวลาเก็บ ค่าเช่าเดือนใหม่ นายดำไปทำธุระที่ต่างจังหวัด นายแดงจึงไปเก็บค่าเช่าดังที่เคยปฏิบัติมาดังนี้ นายแดง เป็นตัวแทนโดยปริยาย หากนายแดงไม่นำค่าเช่ามามอบให้นายดำนายดำก็จะไปเก็บค่าเช่าเดือนนั้น ซ้ำอีกไม่ได้ • 4. สัญญาตัวแทนต้องมีบุคคลที่สามอยู่ในวัตถุประสงค์ แต่บุคคลที่สามนี้ไม่จำเป็นต้องเจาะจงตัวแน่นอน แต่ถ้าไม่มีบุคคลที่สามอยู่ในวัตถุประสงค์แล้วก็ไม่มีสัญญาตัวแทน เช่น นาย ก. ตั้งนาย ข. ให้ไปเก็บผลไม้ในสวนที่นี้ นาย ข. ยังไม่มีบุคคลที่สาม

  5. การตั้งตัวแทน • เรื่องการตั้งตัวแทนนั้นมีข้อที่พึงพิจารณา พอจะแยกหลักสำคัญได้ดังนี้คือ • 1. การตั้งตัวแทนนั้นจะตั้งโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ได้ การตั้งโดยแสดงออกชัดเจนนั้น หมายถึง จะตั้งโดยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้ส่วนการตั้งโดยปริยายนั้นหมายถึง การกระทำใด ๆ ที่พึงสันนิษฐานได้ว่า ได้มีการตั้งตัวแทน แต่ถ้าการใดที่กฎหมายบังคับว่าจะต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อทำการนั้น ต้องทำเป็นหนังสือหรือมี หลักฐานเป็นหนังสือด้วย อย่างไรก็ตามบทบัญญัติที่บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐาน เป็นหนังสือนั้น เป็นเรื่องระหว่างตัวการหรือตัวแทนกับบุคคลภายนอกเท่านั้นในระหว่างตัวการกับ ตัวแทนนั้นแม้มิได้ทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ยังคงใช้บังคับได้ • 2. จะตั้งตัวแทนหลายคนเพื่อทำกิจการอันเดียวกันได้ แต่ตัวแทนเหล่านี้จะต้อง ทำการร่วมกัน8 เช่น นาย ก. ตั้ง นาย ข. และ นาย ค. เป็นตัวแทนไปซื้อที่ดินจาก นาย ง. นาย ข. และนาย ค. จะต้องร่วมกันทำเช่นต้องปรึกษาหารือกันและร่วมกันทำสัญญา นาย ข. และนาย ค. คนใดคนหนึ่งจะทำสัญญาโดยลำพังคนเดียวไม่ได้ถือว่าไม่มีอำนาจ

  6. ลักษณะของตัวการ • ผู้ซึ่งจะเป็นตัวการนั้นจะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ • 1. เป็นผู้ซึ่งสามารถทำกิจการที่มอบให้ตัวแทนทำได้ด้วยตนเอง กล่าวคือ ถ้าตนเองไม่สามารถทำกิจการใด ๆ ได้แล้วตนก็ย่อมไม่สามารถที่จะตั้งตัวแทนได้ เช่น ในกรณีของผู้เยาว์ ที่ไม่มีสิทธิจะตั้งตัวแทนให้กระทำกิจการที่ตนไม่มีสิทธิกระทำได้ • 2. กิจการนั้นจะต้องมีผลในกฎหมาย หมายความว่า กิจการนั้นเมื่อตัวแทนได้กระทำลงไป แล้วย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ถ้าไม่มีผลบังคับตามกฎหมายแล้วก็ไม่อาจมีการตั้งตัวแทนได้กิจการนั้นอาจเป็นเรื่องวานขอความช่วยเหลือก็ได้

  7. 3. พฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้ทำในฐานะตัวแทนได้กล่าวคือ • 3.1 ไม่มีธรรมเนียมประเพณีพิเศษเป็นที่เข้าใจว่าต้องทำด้วยตัวเอง เช่น การตั้งให้บุคคลอื่นเข้าสอบแทน • 3.2 ถ้ากิจการใดกฎหมายบังคับว่าต้องทำเองแล้ว การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการนั้น ก็เป็นอันไร้ผล เช่น การจดทะเบียนรับรองบุตร, การจดทะเบียนสมรส • 3.3 การทำกิจการนั้นต้องทำด้วยตัวเอง เพราะเนื่องจากตำแหน่งหน้าที่ความสามารถ หรือสิทธิเฉพาะตัว เช่น บุคคลผู้เชี่ยวชาญตั้งบุคคลอื่นมาเบิกความแทนตน ไม่ได้

  8. ประเภทของตัวแทน • ผู้ซึ่งจะเป็นตัวแทนได้คือผู้ซึ่งสามารถจะทำกิจการตามมอบหมายนั้น ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นผู้หย่อนความสามารถหรือไม่ก็ตาม แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่บุคคลที่ไม่มีความสามารถเสียเลย ซึ่งสามารถ แบ่งประเภทของตัวแทนออกได้ดังนี้ • 1. ตัวแทนซึ่งได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ หมายถึง ตัวแทนซึ่งมีอำนาจทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น ในกรณีตัวแทนมีอำนาจทำการได้แต่เพียงสิ่งที่จำเป็นเพื่อกิจการนั้น สำเร็จลุล่วงไป เช่น นาย ก. แต่งตั้งให้นาย ข. ไปซื้อทีวีสี ยี่ห้อ SONY ขนาด 20 นิ้ว 1 เครื่องนาย ข. ก็มีอำนาจไปซื้อทีวีสีดังกล่าวเท่านั้น จะไปซื้อเครื่องเล่นวีดีโอหรือคอมพิวเตอร์ไม่ได้ เพราะ นาย ก. ไม่ได้มอบอำนาจให้

  9. 2. ตัวแทนซึ่งได้รับมอบอำนาจทั่วไป หมายถึง ตัวแทนซึ่งมีอำนาจที่กิจการแทนตัวการได้ทุกอย่างและกิจการนั้นย่อมผูกพันตัวการ เว้นแต่กิจการประเภทที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าตัวแทนจะกระทำไม่ได้ถ้ามิได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากตัวการ กิจการเหล่านั้นคือ • 2.1 กรณีต้องจดทะเบียนขายหรือจำนองอสังหาริมทรัพย์ • 2.2 ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่สามปีขึ้นไป แต่ถ้าไปเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปีก็ทำได้ • 2.3 การให้ กล่าวคือตัวแทนซึ่งได้รับมอบอำนาจทั่วไป ไม่อาจนำเอาทรัพย์ของตัวการ ไปให้แก่บุคคลอื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากตัวการ • 2.4 ประนีประนอมยอมความ หรือยื่นฟ้องต่อศาล • 2.5 มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา

  10. ตัวแทนช่วง • โดยปกติแล้วตัวแทนจะต้องทำกิจการใด ๆ ที่ได้รับมอบด้วยตนเอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากตัวการให้ตั้งตัวแทนช่วงได้ เช่น นาย ก. ตัวการมอบอำนาจให้นาย ข. เป็นตัวแทนฟ้องคดีและแต่งตั้งตัวแทนช่วงได้นาย ข. จึงตั้ง นาย ค. เป็นตัวแทนช่วงแต่นาย ค. มิได้ฟ้องเองกลับมอบอำนาจให้นาย ง. ฟ้องอีกทอดหนึ่ง เช่นนี้ ทำไม่ได้ เพราะอยู่นอกขอบอำนาจตัวการ มิได้มอบให้ตัวแทนช่วงมอบ อำนาจช่วงได้

  11. หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการหน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ • สำหรับหน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ แยกพิจารณาได้ดังต่อไปนี้ • 1. หน้าที่ตัวแทนต่อตัวการ ซึ่งแยกออกได้เป็น 2 กรณีคือ • 1. ต้องจัดการแทนตัวการด้วยความระมัดระวังแยกพิจารณาได้ดังนี้ • 1.1 ถ้าตัวแทนได้รับบำเหน็จ ตัวแทนจะต้องทำกิจการที่ได้รับมอบหมาย เช่น วิญญูชนทำในพฤติการณ์เช่นนั้นรวมทั้งการใช้ฝีมือ อันพิเศษเฉพาะการในอันที่จะใช้ฝีมือเช่นนั้นด้วย • 1.2 ถ้าตัวแทนไม่ได้รับค่าบำเหน็จตัวแทนย่อมจัดการอย่างใด ๆ อย่างที่ตนเคยทำในกิจการของตนก็ได้ • 2. ทำนิติกรรมในนามตัวการกับตนเองหรือตนเองในฐานะตัวแทนของบุคคล ภาย • นอกไม่ได้ในเมื่อไม่ได้รับความยินยอมของตัวการ

  12. 3. ทำกิจการตามคำสั่งแสดงออกชัดของตัวการ กล่าวคือ ถ้าตัวการได้มีคำสั่งแจ้งชัดไม่ว่าจะเป็นวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ตัวแทนจะปฏิบัติตามใจตนเองไม่ได้ • 4. ทำกิจการด้วยตนเอง ปกติตัวแทนจะต้องทำกิจการด้วยตนเอง เว้นแต่จะมีอำนาจใช้ตัวแทนช่วง • 5. แจ้งให้ตัวการทราบถึงผลงานเมื่อตัวการประสงค์ และเมื่อการเป็นตัวแทน สิ้นสุดลงทั้งนี้ ก็เพื่อตัวการจะได้ทราบถึงกิจการที่ตัวแทนได้กระทำไป • 6. แถลงบัญชีเมื่อการเป็นตัวแทนสิ้นสุด • 7. ส่งเงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่ได้มาฐานะตัวแทนแก่ตัวการ กล่าวคือ ถ้าตัวแทน ได้เงินและทรัพย์สินอย่างใดในฐานะตัวแทน ตัวแทนจะต้องส่งเงินหรือทรัพย์นั้นให้แก้ตัวการทั้งสิ้น

  13. 8. โอนสิทธิที่ได้มาในการเป็นตัวแทนแก่ตัวการ แม้สิทธิทั้งหลายที่ตัวแทนขวนขวาย ได้มาในนามของตนในฐานะที่ทำแทนตัวการ ก็จะต้องโอนสิทธิเหล่านั้นให้แก่ตัวการทั้งสิ้น • 9. เมื่อสัญญาตัวแทนระงับเพราะตัวการตาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือ ล้มละลายตัวแทนต้องจัดการตามสมควร เพื่อปกปักษ์รักษาประโยชน์ของตัวการจนกว่าผู้แทน หรือ ทายาท ของตัวการจะเข้าปกปักษ์รักษาได้ต่อไป • 10. คืนหนังสือมอบอำนาจ เมื่อสัญญาระงับตัวแทนต้องคืนหนังสือมอบอำนาจเพราะ ถ้าหนังสือมอบอำนาจอยู่ที่ตัวแทน ตัวแทนอาจจะเอาไปใช้กับบุคคลภายนอกได้อีก ทำให้ตัวการเสียหาย หรือได้

  14. 2. สิทธิตัวแทน สิทธิของตัวแทนนั้น จะสามารถพิจารณาได้ดังนี้ • 1. ไม่มีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จ ทั้งนี้เพราะในสัญญาตัวแทนนั้นสินจ้างเป็นสาระสำคัญ แห่งสัญญาไม่เว้นแต่ • 1.1 จะมีข้อตกลงกันไว้ในสัญญาว่ามีบำเหน็จ และบำเหน็จนั้นเรียกได้เมื่อการเป็นตัวแทนสิ้นสุด • 1.2 ทางการที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันเป็นปริยายว่ามีบำเหน็จ • 1.3 เคยเป็นธรรมเนียมว่ามีบำเหน็จ • 2. ถ้าต้องการเงินทดรองในการทำกิจการตัวแทนย่อมเรียกได้จากตัวการ ถ้าได้ออกเงิน ทดรองหรือค่าใช้จ่ายไป เรียกคืนจากตัวการได้พร้อมดอกเบี้ย

  15. 3. ถ้าในการทำกิจการนั้นก่อให้เกิดหนี้ขึ้น ตัวแทนจะเรียกตัวการชำระหนี้ แทนตนได้ และถ้าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดเวลาชำระตัวแทนจะให้ตัวการให้ประกันตามสมควรก็ได้ • 4. ถ้าในการทำกิจการนั้นตัวแทนต้องเสียหายอย่างใด อันมิใช่ความผิดของ ตัวแทนตัวแทนจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากตัวการได้ • 5. ยึดหน่วงทรัพย์สินที่ตกอยู่แก่ตน เพราะเป็นตัวแทนจนกว่าจะได้รับเงินค้างชำระเพราะการเป็นตัวแทน การยึดหน่วงนี้จะยึดได้เฉพาะทรัพย์ที่ตกอยู่กับตน เพราะเป็นตัวแทนในเรื่องนั้นๆ เท่านั้น จะไปยึดทรัพย์อื่นที่ตกอยู่กับตน เพราะมิใช่ในฐานะตัวแทนหาได้ไม่

  16. 3. ความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ • 1. ถึงตัวแทนทำกิจการภายในขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย ตัวแทนไม่ต้องรับผิดเว้นแต่จะมีธรรมเนียมประเพณีเป็นพิเศษว่าตัวแทนต้องรับผิดต่อตัวการ • 2. ถ้าตัวแทนเอาเงินที่ควรจะส่งแก่ตัวการ หรือซึ่งควรจะใช้ในกิจการของตัวการไปใช้สอยเป็นประโยชน์ตนต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันเอาไปใช้เพราะกฎหมายถือว่าเป็นเงินของตัวการ • 3. ตัวแทนต้องรับผิดหากมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะ • 3.1 ความประมาทเลินเล่อของตัวแทน เช่น ตัวแทน ซึ่งเป็นลูกจ้างตัวการ ในตำแหน่งผู้จัดการ ฝ่ายสินค้าขาออกมีหน้าที่ตรวจตีตราไม้ ซึ่งตัวการจะรับซื้อตัวแทนตีตราไม้ ที่มีคุณภาพต่ำกว่า ที่ตกลงกัน เป็นความประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตัวการ

  17. 3.2 ไม่ทำการเป็นตัวแทน เช่น นายแดง ตั้งนายขาวให้เป็นตัวแทน ไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับนายดำตามเวลาที่ตกลงไว้ กับนายดำปรากฏว่านายขาวไม่ดำเนินการดังกล่าวจนทำให้นายแดงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงถูกนายดำปรับเป็นเงิน 10,000 บาท ดังนั้น นายขาว จะต้องรับผิดในความเสียหาย เพราะความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นจากการไม่ทำการของนายขาว คือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ตัวแทนที่ได้รับมอบหมายจากนายแดง • 3.3 ทำการไปโดยปราศจากอำนาจตัวแทน เช่น ตัวการมอบให้ตัวแทนขายรถยนต์ อันเป็นการมอบอำนาจเฉพาะกาล คือ ขายรถยนต์ตัวแทนจะขายอย่างอื่นมิได้ เช่น จักรเย็บผ้า ตู้เย็น ด้วยไม่ได้ เป็นการทำโดยปราศจากอำนา

  18. 4. ตัวแทนตั้งตัวแทนช่วงตามที่ตัวการระบุไว้ ทั้งที่รู้ว่าตัวแทนช่วงไม่เหมาะสมแก่การหรือไม่สมควรไว้วางใจและมิได้แจ้งให้ตัวการทราบหรือมิได้เพิกถอน • 4. ความรับผิดของตัวแทนช่วง • ตัวแทนช่วงต้องรับผิดโดยตรงต่อตัวการเสมือนหนึ่งตัวแทนโดยตรง กล่าวคือ มี • สิทธิ และหน้าที่ ตลอดจนความรับผิดอย่างเดียวกับที่ตัวแทนต้องรับผิดต่อตัวการ ตัวการก็ต้องมีสิทธิ • และ หน้าที่ตลอดจนความรับผิดต่อตัวแทนช่วงอย่างเดียวกับที่ตนมีต่อตัวแทนเช่นกัน

  19. หน้าที่ของตัวการ • 1. หน้าที่และความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน เช่น ต้องให้บำเหน็จแก่ตัวแทนถ้ามี ข้อตกลงเช่นนั้น หรือ กรณีของเงินทดรองที่ตัวแทนได้จ่ายไป • 2. ความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอก ตัวการย่อมผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการ ที่ตัวแทน หรือตัวแทนช่วงได้ทำภายในขอบอำนาจในฐานะตัวแทน หรือในกรณีตัวการเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งเป็นตัวแทน หรือรู้ว่าเขาเชิดตัวเองเป็นตัวแทนต้องรับผิดในกิจการ ซึ่งบุคคลผู้ถูกเชิดกระทำไป เช่น นาย ก. เที่ยวบอกใครๆ ว่า นาย ข. เป็นตัวแทนรับซื้อ ของเก่าของตนหาก นาย ค. หลงเชื่อนำของเก่ามาขายให้แก่ นาย ข. นาย ก. ก็ต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขาย ดังกล่าวแม้จริงๆ แล้ว นาย ก. จะมิได้แต่งตั้ง นาย ข. เป็นตัวแทนของตนก็ตาม

  20. ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทนความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน • สัญญาตัวแทนอาจระงับได้ดังต่อไปนี้ • 1. โดยคู่สัญญา • 1.1 ตัวการและตัวแทนตกลงเลิกสัญญากัน สัญญาตัวการตัวแทนก็เป็นอันระงับไป • 1.2 ตัวการถอนตัวแทน ก่อนหน้าที่ตัวแทนจะทำกิจการเสร็จ • 1.3 ตัวแทนบอกเลิกเป็นตัวแทนซึ่งตัวแทนอาจบอกเลิกเมื่อใดก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ากรณีมีการจำเป็นตัวแทนอาจบอกเลิกได้ แต่จะต้องรับผิดในความเสียหายต่อคู่สัญญาฝ่ายนั้นในความเสียหายใด ๆ อันเกิดขึ้นต่อการนั้น • 1.4 ตัวแทนบอกเลิกสัญญา โดยมีความจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ซึ่งเป็นเหตุยกเว้นมิต้องรับผิด เช่น ตัวแทนเป็นผู้จัดการร้านค้า ตัวแทนประสบอุบัติเหตุเจ็บป่วยทางสมอง ต้องรักษาพยาบาลหลายปีถึงจะหาย ดังนั้นก็เป็นความจำเป็น ซึ่งมิอาจก้าวล่วงได้ตัวแทนบอกเลิกการเป็นตัวแทนได้โดยมิต้องรับผิดในค่าเสียหายที่เกิดแก่ตัวการ

  21. 2. โดยผลของกฎหมาย • 2.1 สิ้นกำหนดเวลาตามสัญญา • 2.2 ทำกิจการเสร็จตามจุดประสงค์การเป็นตัวแทนก็ย่อมหมดไป • 2.3 วัตถุประสงค์หมดไป • 2.4 คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายหรือตกเป็นคนไร้ความสามารถหรือล้มละลาย เว้นแต่จะขัดกับข้อสัญญาหรือสภาพแห่งกิจการ • อายุความ • ในเรื่องผิดสัญญาตัวแทนเกี่ยวกับค่าเสียหายตามกฎหมายลักษณะตัวแทน มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความในบททั่วไป คืออายุความฟ้องร้องเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายจากตัวแทน มีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี

  22. นายหน้า • ลักษณะของสัญญานายหน้า • นายหน้า คือ บุคคลที่ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลสองฝ่ายได้เข้าทำสัญญากัน จะเป็นสัญญาอะไรก็ได้ เช่น สัญญาขายทรัพย์สิน สัญญาจำนองที่ดิน หรือแม้แต่บริษัทที่วางระเบียบจ่ายเงิน รางวัลพิเศษ แต่ถ้าเป็นการชี้ช่องให้เข้าทำสัญญาที่ผิดกฎหมาย เช่น สัญญาขายยาเสพย์ติดให้โทษ ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาที่เสียเปล่าบังคับไม่ได้ นายหน้าก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าบำเหน็จสัญญานายหน้าไม่มีบทบังคับว่าจะต้องทำเช่นไร ฉะนั้นจะทำเป็นหนังสือ หรือตกลงด้วยปากเปล่าก็ใช้ได้ ผิดกับสัญญาตัวแทน

  23. สัญญานายหน้าต่างกับสัญญาตัวแทน เพราะกิจการของนายหน้าเป็นเรื่องชี้ช่องให้คู่กรณีเข้าทำสัญญากันเท่านั้น มิได้ทำกิจการแทนคู่สัญญาฝ่ายใด ไม่มีสิทธิลงชื่อในสัญญาหรือเข้าทำสัญญาแทนคู่สัญญาที่มอบหมายให้เป็นนายหน้า ส่วนตัวแทนทำกิจการแทนตัวการมีสิทธิลงชื่อหรือเข้าทำสัญญา แทนตัวการ โดยที่การงานของนายหน้าเป็นเพียงจัดการหรือชี้ช่อง ไม่มีลักษณะเป็นการทำนิติกรรม โดยตรง และเมื่อพิจารณาถึงเรื่องตัวแทนธรรมดา บุคคลผู้ไร้ความสามารถก็ทำการเป็นตัวแทนได้ ดังนั้นบุคคล ผู้ไร้ความสามารถย่อมทำการเป็นนายหน้าได้

  24. สาระสำคัญของสัญญานายหน้านั้นมีดังนี้สาระสำคัญของสัญญานายหน้านั้นมีดังนี้ • 1. สัญญานายหน้าเป็นสัญญา 2 ฝ่าย • 2. วัตถุประสงค์ของสัญญาก็คือ การที่นายหน้าชี้ช่อง หรือจัดการให้มีการทำสัญญา • 3. บุคคลที่ตกลงจะให้ค่าบำเหน็จนายหน้า จะรับผิดชอบจ่ายค่าบำเหน็จต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทำกันสำเร็จ • บำเหน็จของนายหน้า • สัญญานายหน้านั้น ตามปกติต้องถือว่ามีบำเหน็จ แม้จะไม่มีข้อตกลงกันไว้ ก็ต้องให้ตามธรรมเนียม คือ ร้อยละ 5 สิทธิเรียกค่าบำเหน็จเกิดขึ้น เมื่อตัวการกับบุคคลภายนอกได้ตกลงกัน ทำสัญญากันเสร็จ แม้ต่อมาจะมีการบอกเลิกสัญญาภายหลัง ก็ต้องจ่ายค่าบำเหน็จให้51

  25. นายหน้าตามกฎหมายอื่น • 1. นายหน้าประกันภัย • ตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 • พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 • 2. นายหน้า ซื้อขายหลักทรัพย์ • ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ.2535

  26. อายุความเรียกค่านายหน้าอายุความเรียกค่านายหน้า • ค่าบำเหน็จนายหน้า ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น สิทธิเรียกร้องบำเหน็จค่านายหน้าจึงมีอายุความ 10 ปี

  27. ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญานายหน้าความระงับสิ้นไปแห่งสัญญานายหน้า • โดยที่ไม่มีกฎหมายลักษณะนี้บัญญัติไว้ จึงต้องใช้หลักเลิกสัญญาโดยทั่วไปมาใช้บังคับเป็นต้นว่าข้อสัญญากำหนดว่านายหน้าจะต้องจัดการหาผู้ซื้อมาทำสัญญาซื้อขายภายใน 3 เดือนสัญญานายหน้าก็มีกำหนด 3 เดือน ครบ 3 เดือนนายหน้ายังหาผู้ซื้อไม่ได้ สัญญานายหน้า ก็เป็นอันเลิกกัน หรือว่าผู้ตกลงให้เป็นนายหน้าสัญญาจะชดใช้ค่าใช้จ่ายที่นายหน้าเสียไปแล้ว ไม่ชำระค่าใช้จ่ายนั้น นายหน้าบอกกล่าวแล้วยังไม่ชำระก็เลิกสัญญาเสียได้ หรือว่าเป็นนายหน้าให้จัดหา ศิลปินมาแสดงละครในคืนวันนั้นวันนี้ นายหน้าจัดหาศิลปินมาแสดงตามวันที่กำหนดไม่ได้ อีกฝ่าย ก็เลิกสัญญาได้ดังนี้เป็นต้น

More Related