1 / 33

การทำงานเขื่อนดินในภาวะวิกฤต

การทำงานเขื่อนดินในภาวะวิกฤต. สรุปบทเรียนโครงการอ่างเก็บน้ำลำพันชาด อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลหนองกุงทับม้า อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี. สภาพเดิมก่อนการก่อสร้าง พ.ศ.2538. สภาพการก่อสร้าง พ.ศ.2539. สภาพพื้นที่ ปี 2547. ช่างกล. จักรกลหนัก. การเงิน. งาน. พัสดุ. ก่อสร้าง.

dante-kelly
Download Presentation

การทำงานเขื่อนดินในภาวะวิกฤต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การทำงานเขื่อนดินในภาวะวิกฤตการทำงานเขื่อนดินในภาวะวิกฤต สรุปบทเรียนโครงการอ่างเก็บน้ำลำพันชาด อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลหนองกุงทับม้า อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี

  2. สภาพเดิมก่อนการก่อสร้างสภาพเดิมก่อนการก่อสร้าง พ.ศ.2538

  3. สภาพการก่อสร้าง พ.ศ.2539

  4. สภาพพื้นที่ ปี 2547

  5. ช่างกล จักรกลหนัก การเงิน งาน พัสดุ ก่อสร้าง ธุรการ สำรวจ วิศวกรรม กลยุทธ์ในการทำงาน การสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ประสานงานใน หน่วยงาน

  6. การวางแผนผันน้ำให้สัมพันธ์กับปริมาณงานการวางแผนผันน้ำให้สัมพันธ์กับปริมาณงาน ทำนบดินชั่วคราวตัวบน

  7. การหน่วงน้ำ และการผันน้ำ ทำนบดินชั่วคราวตัวบน

  8. การวางแผนผันน้ำให้สัมพันธ์กับปริมาณงานการวางแผนผันน้ำให้สัมพันธ์กับปริมาณงาน ทำนบดินชั่วคราวตัวล่าง

  9. การหน่วงน้ำ และการผันน้ำ ทำนบดินชั่วคราวตัวล่าง

  10. การวางแผนผันน้ำระหว่างบดอัดทำนบดินการวางแผนผันน้ำระหว่างบดอัดทำนบดิน

  11. การวางแผนการทำงานถมบดอัดทำนบดิน พิจารณาการเร่งบดอัดถมดินตัวทำนบดินในช่วงเวลาที่วิกฤตน้ำหลากโดยต้องแข่งกับเวลา โดยวางแผนจัดกำลังเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรกลปฏิบัติงานตลอด ๒๔ ชม.

  12. ข้อพิจารณา ช่วงน้ำหลาก 1 ตรวจสอบปริมาณน้ำฝนที่ตกติดต่อกันทุกวัน ทำให้ระดับน้ำด้านเหนือน้ำของทำนบดินเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 2 วางแผนสำรองบ่อดินทีดินมีคุณลักษณะทึบน้ำ (GC)ไว้ด้านท้ายน้ำ 3 เร่งการบดอัดถมดินโดยวางแผนกำลังเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรกลปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 3 ชุด ชุดละ 8 ชั่วโมง 4 ให้เร่งถมบดอัดดินด้านเหนือน้ำของทำนบดินให้สูงไว้ก่อน โดยวางแผนให้ถมสูงถึงระดับ +197.00 สูงกว่าสัน CREST อาคารระบายน้ำลันประมาณ 3.00 เมตร เพื่อให้น้ำระบายผ่านออกทางอาคารระบายน้ำล้น ตัวทำนบดินจึงจะปลอดภัยจากน้ำข้ามสันทำนบดิน (แต่ปฏิบัติจริงช่วงน้ำหลาก ณ วันที่ 3 กันยายน 2550 ถมดินทำนบด้านหน้าได้เพียงที่ระดับ +195.75) เหตุผลความจำเป็นที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน 1 หากไม่เร่งดำเนินการถมดินให้สูงกว่า ระดับสัน crest อาคารระบายน้ำลัน เพื่อให้น้ำระบายผ่านออกทางอาคารระบายน้ำล้น ระดับน้ำจะล้นข้ามสันทำนบดิน(Over top) ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนด้านท้ายน้ำอย่างรุนแรง 2 หากไม่ดำเนินการจะเกิดความเสียหายต่อองค์อาคารของทำนบดินและอาคารประกอบ 3 หากไม่ดำเนินการจะสูญเสียและสิ้นเปลืองงบประมาณค่าก่อสร้าง

  13. TOP OF FLOWLINE ระดับดินที่ถม+195.75 ระดับสันทำนบดิน+198.50 ระดับน้ำวันที่ 3 ก.ย.2550 +195.10 รนก.+196.26 รนก.+194.00 +191.10 +191.10 +186.00 1 1 6 1 รนต.+185.00 +180.00 .+183.00 ระดับดิน ปี 2550 ช่วงวิกฤตระดับน้ำด้านเหนือน้ำยกตัวขันสูงที่ระดับ +195.10 กลุ่มงานฯได้ตัดสินใจเร่งถมดินด้านเหนือน้ำโดยใช้ดินที่บดอัดทำนบดินด้านท้ายน้ำมาถมบดอัด ด้านหน้าโดยใช้สัดส่วน ทางตั้งและทางราบ ไม่ให้น้อยกว่า 1 ต่อ 6 รูปตัดทำนบดินโครงการอ่างเก็บน้ำลำพันชาด อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.หนองกุงทับม้า อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี

  14. วิกฤตน้ำหลาก กันยายน 2550

  15. การวางแผนถมดินทำนบดินการวางแผนถมดินทำนบดิน ช่วงวิกฤตการณ์น้ำ

  16. 3 กันยายน 2550 ระดับน้ำด้านเหนือน้ำยกตัวขึ้นสูงสุดที่ระดับ +195.10

  17. เร่งถมบดอัดดินตัวทำนบเร่งถมบดอัดดินตัวทำนบ เพื่อให้น้ำระบายผ่านออกทางอาคารระบายน้ำล้น

  18. วิกฤตการณ์น้ำ ขณะก่อสร้าง

  19. วิกฤตการณ์น้ำ ขณะก่อสร้าง

  20. วิกฤตการณ์น้ำ ขณะก่อสร้าง

  21. วิกฤตการณ์น้ำ ขณะก่อสร้าง

  22. ขนย้ายดินจากบ่อยืมดินด้านท้ายน้ำขนย้ายดินจากบ่อยืมดินด้านท้ายน้ำ

  23. วิกฤตการณ์น้ำ ขณะก่อสร้าง

  24. หลังวิกฤตน้ำ

  25. หลังวิกฤตน้ำ

  26. 24 ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ปี 2551

  27. การทำงานเขื่อนดินในภาวะวิกฤตการทำงานเขื่อนดินในภาวะวิกฤต สรุปบทเรียน อ่างเก็บน้ำลำพันชาด อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลหนองกุงทับม้า อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี เรื่องเดิม ปีงบประมาณ ๒๕๕๐ กลุ่มงานก่อสร้าง ๒/๑/๐๕ ได้รับงบประมาณปลายเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ เริ่มดำเนินการถมดินตัวทำนบ ซึ่งมีปริมาณดินถม ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ลบ.ม. ในปีงบประมาณ ๒๕๕๐ จากปริมาณดินถมทั้งหมด ๕๐๐,๐๐๐ ลบ.ม.โดยรีบเร่งดำเนินการถมดิน เนื่องจากมีปัญหาด้านระบายน้ำเนื่องจากไม่มีอาคารท่อ RIVER OUTLET ในการช่วยผันระบายน้ำ กลุ่มงานต้องวางแผนให้เครื่องจักรกลหนัก ขนย้ายดินในบ่อยืมดินที่อยู่ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำในจุดที่อยู่ลึก ก่อนแล้วค่อยขนย้ายดินในบ่อยืมดินที่อยู่ในที่สูงขึ้นมาเป็นลำดับ เพราะหากน้ำมาบ่อยืมดินในจุดที่ลึกจะ ถูกน้ำท่วมก่อน ทำให้ไม่สามารถนำดินในจุดนั้นมาใช้ได้

  28. เรื่องเดิม (ต่อ) ดินที่ถูกบดอัดตัวทำนบมีปริมาตร ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรการวางแผนถม ดินบดอัดแน่นการพิจารณาประสิทธิภาพของเครื่องจักรที่ทำการบดอัดแน่นได้ต่อวัน คือ เวลาทำงาน ๘ ชั่วโมง ว่าได้ปริมาตร กี่ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน ซึ่งทางกลุ่มงานฯ ได้วางแผนจำนวนวันดังนี้ ช่วงทำงานเริ่มเดือน มีนาคม - สิงหาคม รวม ๖ เดือน เป็นจำนวน ๑๘๐ วัน ซึ่งต้องถมดิน บดอัดแน่นให้ได้วันละ ๒,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร จึงจะแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดไว้ กลุ่มงานต้องวางแผน ระบายน้ำในลำน้ำเดิมให้ผ่านท่อ Outlet ระบายออกไปลงลำน้ำเดิมด้านท้ายน้ำโดยใช้ ท่อเหล็ก Ø ๘” และเครื่องสูบน้ำช่วยในการสูบน้ำ ซึ่งจากการเร่งรัดการทำงานถมบดอัดแน่นดินในระยะแรก ทำให้ช่วง ต่อมาคือช่วงเดือน มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๐ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานเริ่มชำรุดและเสียหาย ต้องส่งซ่อมบำรุง ทำให้ประสิทธิภาพในการบดอัดแน่นดินได้ไม่ถึง ๒,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน กลุ่มงานฯ จึงดำเนินการเพิ่มเวลาการทำงานจากวันละ ๘ ชั่วโมง เป็นวันละ ๒๔ ชั่วโมง โดยแบ่ง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานออกเป็น ๓ ชุด (ชุดละ ๘ ชั่วโมง) เพื่อเร่งงานดินถมบดอัดแน่นให้ทันตามแผน

  29. เรื่องเดิม (ต่อ) ช่วงเดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐ เริ่มมีฝนตกบริเวณพื้นที่รับน้ำฝนด้านเหนือทำนบดิน ทำให้กลุ่มงานฯ ต้องประชุมประเมินสถานการณ์ ซึ่งถ้าปริมาตรน้ำมากขึ้น น้ำอาจจะยกตัวสูงจนข้าม สันทำนบดิน (OVERTOP) ในขณะที่กำลังถมบดอัดแน่นดินยังไม่ถึงระดับสันทำนบดิน สรุปแล้ว กลุ่มงานฯจึงกำหนดแผนฉุกเฉินให้ถมดินบดอัดแน่น เฉพาะด้านหน้าทำนบดินขึ้นไปก่อน ต้นเดือน สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ฝนเริ่มตกบริเวณพื้นที่รับน้ำ (WATER SHADE) ๔๔๗ ตารางกิโลเมตร เหนือทำนบดินอ่างเก็บน้ำลำพันชาด ติดต่อกันเกือบทุกวันโดยตลอด ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่ตกมากบางวัน ประมาณ ๑๑๕ มิลลิเมตร ระดับน้ำหน้าทำนบดินเริ่มยกตัวสูงขึ้นตามลำดับซึ่งการบดอัดถมดินตัว ทำนบดินทำได้ถึงระดับ +๑๙๑.๑๐๐ ส่วนระดับสัน CREST ของอาคารระบายน้ำล้น (SPILLWAY) ระดับ+๑๙๔.๐๐๐ ซึ่งกลุ่มงานก่อสร้าง ๒/๑/๐๕ ต้องเร่งถมบดอัดดินตัวทำนบดินให้ได้สูงกว่าระดับสัน CREST ของอาคารระบายน้ำล้นประมาณ ๓.๐๐ ม. คือที่ระดับ +๑๙๗.๐๐๐ เพื่อให้น้ำระบายผ่าน ออกทางอาคารระบายน้ำล้นตัวทำนบดินจึงจะปลอดภัยจากน้ำข้ามสันทำนบดิน (OVERTOP)

  30. เรื่องเดิม (ต่อ) แต่จากปริมาณฝนที่ตกติดต่อกันทุกวัน ทำให้ระดับน้ำด้านเหนือน้ำของทำนบดินเพิ่มสูงขึ้น อย่างรวดเร็ว ประกอบกับความจำกัดของบ่อยืมดินที่ใกล้ด้านท้ายทำนบดิน มีดินสำรองน้อยอาจไม่ พอต่อการถมดินบดอัดทำนบในกรณีเร่งด่วน (เดิมกลุ่มงานก่อสร้าง ๒/๑/๐๕ ได้วางแผนสำรองบ่อดิน ที่มีคุณลักษณะทึบน้ำ GC. ไว้ด้านท้ายน้ำไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน) กลุ่มงานก่อสร้าง ๒/๑/๐๕ ได้ประชุมทีมงานเจ้าหน้าที่ทุกส่วนเพื่อพิจารณาการเร่งบดอัดถมดิน ตัวทำนบดินในช่วงเวลาที่วิกฤติน้ำหลากโดยต้องแข่งกับเวลา โดยวางแผนจัดกำลังเจ้าหน้าที่และเครื่องจักร กลปฏิบัติงานตลอด ๒๔ ชม. และต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่ปกครองทางอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี เพื่อเตรียมแผนเตือนภัย และอพยพราษฎรที่อยู่ด้านท้ายน้ำในเขต อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี อำเภอสามชัย อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ หากเกิดกรณีถมบดอัดดินตัวทำนบดิน ไม่ทันและน้ำล้นข้ามสันทำนบดิน (OVER TOP) โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี สอบถามสถานการณ์เป็นระยะ

  31. การพิจารณาบดอัดดินเร่งด่วนของอ่างเก็บน้ำลำพันชาด เพื่อหนีน้ำในช่วงวิกฤต กลุ่มงานก่อสร้าง ๒/๑/๐๕ ได้พิจารณาวางแผนการปฏิบัติงานโดยถมบดอัดดินด้านเหนือน้ำ ให้สูงไว้ก่อน พร้อมทั้งให้รถขุด (BACK-HOE) ใช้บุ้งกี๋ตักดินของลาด ด้านเหนือน้ำให้ผิวหน้า ของดินเรียบเป็นป้องกันคลื่นน้ำเซาะดิน (โดยเวลาเร่งด่วนไม่สามารถขนย้ายวัสดุ Bedding และหินใหญ่มาปูเรียงด้านหน้าทำนบได้ทัน) การถมบดอัดแน่นดินในภาวะวิกฤตโดยขนย้ายดินจากบ่อยืมดินด้านท้ายน้ำมายังตัวทำนบดิน โดยถมบดอัดแน่นด้านหน้าให้สูงขึ้น โดยกำหนดสมมุติฐานในการพิจารณาด้านวิศวกรรมในสนามอย่าง ง่ายเป็นสัดส่วนของ TOP OF FLOWLINE ใช้ ๑ ต่อ ๖ ไม่ให้น้อยกว่านี้ คือไม่ให้หลุด จากฐานเนื้อดินที่บดอัดแน่น ๙๕%STANDARD COMPACTION TEST ตามหลักจะต้องใช้การคำนวณทางด้านวิศวกรรมอย่างละเอียด ทั้งนี้กลุ่มงานก่อสร้าง ๒/๑/๐๕ ได้ปรึกษา หารือกับ กข.อบ. (นายสมเกียรติ ตั้งจตุพร โดยตลอด) ระดับน้ำด้านเหนือน้ำยกตัวขึ้นสูงสุดที่ระดับ +๑๙๕.๑๐๐ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๐ และทรงตัวอยู่ระดับเดิมจนถึงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๐ จากนั้นจึงเริ่มลดลง พร้อมระบายน้ำ ออกทางอาคารระบายน้ำล้น (SPILLWAY) ตัวทำนบดินของอ่างเก็บน้ำลำพันชาด จึงปลอดภัย จากนั้นเมื่อฝนหยุดตก และสภาพอากาศกลับคืนสู่ภาวะปกติ กลุ่มงานก่อสร้าง ๒/๑/๐๕ จึงรื้อดินที่ถม ด้านเหนือน้ำออกจนถึงสภาพดินที่ถมบดอัดแน่นเดิมที่มีโครงสร้างดี ที่ได้ทำการทดสอบความแน่นตาม มาตรฐานไว้แล้วเริ่มทำการก่อสร้างทำนบดินต่อจนถึงระดับสันทำนบดิน +๑๙๘.๕๐๐ จนแล้วเสร็จ

  32. สรุปบทเรียนการทำงานเขื่อนดินในภาวะวิกฤตสรุปบทเรียนการทำงานเขื่อนดินในภาวะวิกฤต 1. ควรศึกษาสภาพพื้นที่ภูมิประเทศ และภูมิอากาศก่อนการดำเนินการก่อสร้าง 2. ควรศึกษาและวางแผนด้านปัจจัยภายในและภายนอก 3. ควรวางแผนตามบริบท องค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ 4. การทำงานควรทำงานเป็นทีมและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. ควรประเมินสถานการณ์ทุกระยะของการทำงาน 6. ควรให้ความสนใจการบริหารจัดการด้านงบประมาณ, บุคลากร, วัสดุ และเครื่องจักรเครื่องมือ

  33. สิ้นสุดการนำเสนอ ขอขอบคุณ ผู้เรียบเรียง นายมาโนช ศัพทะนาวิน หัวหน้ากลุ่มงานก่อสร้าง ๒/๑/๐๕

More Related