80 likes | 170 Views
ชื่อผลงานวิจัย คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี ชื่อผู้วิจัย นาย นิรัญ จันทร์ส่ง. ปัญหาการวิจัย
E N D
ชื่อผลงานวิจัยคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี ชื่อผู้วิจัย นายนิรัญ จันทร์ส่ง
ปัญหาการวิจัย สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีอิทธิพลและส่งเสริมให้การปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรและคณาจารย์ผู้สอนในระดับนี้ประสบผลสำเร็จได้นั้นคือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรและคณาจารย์ผู้สอน มีคุณภาพชีวิตดีผลการปฏิบัติงานนั้นย่อมมีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อคุณภาพของนักศึกษาได้ ดังที่ฮิวส์และคัมมิงส์(Huse &Cummings. 1985:198-199) กล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคคลในองค์กรนั้นซึ่งมีองค์ประกอบ 8 ด้าน ได้แก่ ผลตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย การพัฒนาความสามารถของบุคคล ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน บูรณาการทางสังคม ระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงาน
ปัญหาการวิจัย (ต่อ) ความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตนกับการทำงาน ความภูมิใจในองค์กร นอกจากนี้ทฤษฏีลำดับความต้องการของ มาสโลว์(Maslow) จากพื้นฐานแนวคิดของฮิวส์และคัมมิงส์(Hues & Cummings) ผนวกกับทฤษฏีลำดับความต้องการของมาสโลว์(Maslow) ผู้วิจัยพิจารณาแล้วเห็นว่ามีองค์ประกอบบางอย่างที่คล้ายคลึงกันจึงได้นำแนวคิดดังกล่าวมาสังเคราะห์ จัดเป็นด้านที่จะดำเนินเป็นการศึกษา 5 ด้านคือ 1.ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม 2.ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานที่สะดวกและปลอดภัย 3.ด้านโอกาสความก้าวหน้าและการพัฒนาความสามารถ 4.ด้านการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน 5.ด้านความสมดุลระหว่างภาระงานกับชีวิตส่วนตัว
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี ขอบเขตของการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี จำนวน 120 คน ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ในการส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน รวมไปถึงการนำไปปรับปรุงและพัฒนาการทำงานของบุคลากรในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี ให้มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี
สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 51.70 และเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 48.30 อายุ 26-35 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.80 รองลงมา คืออายุ 45 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 29.20 อายุ 18-25 ปี คิดเป็นร้อยละ 20.00 และอายุ 36 – 45 ปี คิดเป็นร้อยละ 20.00 การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 54.20 รองลงมา สูงกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 30.80 และต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 15.00 รายได้ 15,001 – 25,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองลงมาคือ น้อยกว่า 15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 29.20 รายได้ 25,001-30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 14.20 และมากว่า 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ6.60 ประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 72.50 รองลงมาคือ มากกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 10.90 ประสบการณ์การทำงาน 10 -15 ปี คิดเป็นร้อยละ 8.30 ซึ่งมีจำนวนเท่ากับ 16-20 ปี คิดเป็นร้อยละ 8.30
สรุปผลการวิจัย(ต่อ) คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมาก คือ ด้านโอกาสก้าวหน้าและพัฒนาความสามารถและด้านสภาพแวดล้อมการทำงานสะดวกและปลอดภัย ตามลำดับ ส่วนด้านที่อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านความสมดุลระหว่างภาระงานกับชีวิตส่วนตัว ด้านการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมตามลำดับ