1 / 27

ฐานข้อมูลปู ชนีย์ วลัยลักษณ์ ปู ชนี ยา จารย์

ฐานข้อมูลปู ชนีย์ วลัยลักษณ์ ปู ชนี ยา จารย์. Walailak Hall of Fame. โดย นางสาวอาภรณ์ ไชยสุวรรณ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. ที่มา.

dannon
Download Presentation

ฐานข้อมูลปู ชนีย์ วลัยลักษณ์ ปู ชนี ยา จารย์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ฐานข้อมูลปูชนีย์วลัยลักษณ์ปูชนียาจารย์ฐานข้อมูลปูชนีย์วลัยลักษณ์ปูชนียาจารย์ Walailak Hall of Fame โดย นางสาวอาภรณ์ ไชยสุวรรณ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

  2. ที่มา • ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้จัดทำโครงการประวัติศาสตร์คำบอกเล่าจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการจัดทำหนังสือประวัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และได้จัดทำเป็นฐานข้อมูล โดยรวบรวมเนื้อหาจากการ ศึกษาค้นคว้าและการสัมภาษณ์จากบุคคลที่เป็นปูชนีย์วลัยลักษณ์ และปูชนียาจารย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นการสัมภาษณ์จากบุคคลที่มีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ ในช่วงการก่อตั้งมหาวิทยาลัยและจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยในบทบาทที่เคยบริหารงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในยุคบุกเบิก จำนวน 18 คน เรียกว่า ปูชนีย์วลัยลักษณ์ และกลุ่มอาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยที่เริ่มปฏิบัติงานในช่วงการก่อตั้งมหาวิทยาลัย และพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานแล้ว เช่น ลาออก เกษียณอายุ จำนวน 18 คน เรียกว่า ปูชนียาจารย์

  3. หลักการและเหตุผล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่เกิดจากการเรียกร้องเพื่อให้มีมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ถือเป็นการพลิกฟื้นพื้นที่สู่เมืองมหาวิทยาลัย โดยมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ซึ่งมหาวิทยาลัยในยุคก่อตั้งเป็นช่วงเวลาของการระดมแรงกาย แรงใจ และพลังความคิด เพื่อผลักดันภารกิจต่าง ๆ ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ ทั้งนี้ภารกิจต่าง ๆ สามารถปรากฏเป็นรูปธรรมขึ้นได้ ก็ด้วยความร่วมมือ ร่วมใจ และความทุ่มเทของผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลภายในอย่างคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ตลอดจนบุคคลภายนอก ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ มีความรับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดังนั้นการจัดเก็บประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงานและแนวคิดของบุคคลเหล่านี้ เป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งต่อประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และจัดเก็บไว้ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถ เผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ และรูปแบบของฐานข้อมูลจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของ การจัดเก็บ และเผยแพร่

  4. หลักการและเหตุผล โดยรวบรวมเนื้อหาจากการศึกษาค้นคว้าและการสัมภาษณ์จากบุคคลที่มีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ ในช่วงการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ได้แก่ ปูชนีย์วลัยลักษณ์ ที่เป็นผู้บริหารหรือบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนสำคัญและได้ทุ่มเทเวลา กำลังใจ กำลังกายที่มีต่อการบุกเบิกและก่อตั้งมหาวิทยาลัย ปูชนียาจารย์นั้น จะเป็นกลุ่มของคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยซึ่งมีส่วน ต่อการก่อตั้งและพัฒนามหาวิทยาลัยจนก้าวไกล เติบโตได้เช่นที่เป็นปัจจุบัน

  5. เกณฑ์การพิจารณา เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก “ปูชนีย์วลัยลักษณ์ ปูชนียาจารย์” นั้น จะพิจารณาจากผู้มีคุณธรรม จริยธรรมเป็นหลัก สำหรับกลุ่มบุคคลที่เป็น “ปูชนีย์วลัยลักษณ์” นั้น จะต้อง เป็นผู้บริหารหรือบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนสำคัญและได้ทุ่มเทเวลา กำลังใจ กำลังกายที่มีต่อการบุกเบิกและก่อตั้งมหาวิทยาลัย จาก “คณะกรรมการรณรงค์เพื่อให้มีมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช”ซึ่งเป็นคณะบุคคลที่มีบทบาทหลักในการดำเนินการเรียกร้องให้มีมหาวิทยาลัยที่นครศรีธรรมราช

  6. เกณฑ์การพิจารณา “ปูชนียาจารย์”นั้น จะต้อง เป็นผู้มีส่วนร่วมสำคัญในการบุกเบิกหรือก่อตั้งหน่วยงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้เกษียณอายุการทำงานจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๒. เป็นผู้ปฏิบัติงานในช่วงบุกเบิกของมหาวิทยาลัย ๓. กรณีที่ออกจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยมิได้เกษียณอายุการทำงาน ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานกับมหาวิทยาลัยเป็นระยะเวลานานกว่า ๕ ปี หรือ ๔. เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยซึ่งปฏิบัติงานตามวาระ

  7. วัตถุประสงค์ • เพื่อให้มีฐานข้อมูลจากประวัติศาสตร์คำบอกเล่าจากบุคคลที่มีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ • เพื่อเผยแพร่ประวัติความเป็นมาจากการประวัติศาสตร์คำบอกเล่าสำหรับจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

  8. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ 1. ที่ประชุมคณะทำงานจัดทำหนังสือประวัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พิจารณาคัดเลือกรายชื่อกลุ่มบุคคลปูชนีย์วลัยลักษณ์ และปูชนียาจารย์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 36 คน ปูชนีย์วลัยลักษณ์ จำนวน 18 คน ปูชนียาจารย์ จำนวน 18 คน

  9. ๑๘ปูชนีย์วลัยลักษณ์

  10. ๑๘ปูชนียาจารย์

  11. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ 2. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาและข้อมูลอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 3. สืบค้นรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่อยู่/สถานที่ทำงาน พร้อมนัดวัน เวลา และสถานที่ที่ผู้ให้สัมภาษณ์สะดวก

  12. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ 4. นัดวันสัมภาษณ์ พร้อมบันทึกเสียงคำสัมภาษณ์ บันทึกภาพนิ่ง และวีดิทัศน์

  13. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ 5. ดำเนินการสัมภาษณ์ตามหัวข้อที่กำหนดไว้ พร้อมบันทึกเสียงการสัมภาษณ์ บันทึกภาพเคลื่อนไหวตลอดการสัมภาษณ์ และบันทึกภาพนิ่งของผู้ให้ สัมภาษณ์ เพื่อนำมาประกอบในการจัดทำหนังสือประวัติมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์และฐานข้อมูลปูชนีย์วลัยลักษณ์ ปูชนียาจารย์

  14. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ • ถอดเทปจากการสัมภาษณ์อย่างละเอียด • สรุปคำสัมภาษณ์ตามหัวข้อที่ระบุ • ออกแบบฐานข้อมูล โดยแบ่งเป็น 2 ฐานข้อมูลย่อย คือ • ฐานข้อมูลปูชนีย์วลัยลักษณ์ • ฐานข้อมูลปูชนียาจารย์

  15. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ 9. ออกแบบค่าเริ่มต้นของฐานข้อมูล ดังนี้ 9.1 การกำหนดค่าเริ่มต้น ได้แก่ • กำหนดกลุ่มข้อมูล • ไฟล์ข้อมูลประกอบ • ตำแหน่ง 9.2 ข้อมูลผู้ใช้ แยกตามระดับสิทธิ์ในการเข้าถึง และการเพิ่ม และแก้ไขข้อมูล

  16. ตัวอย่าง

  17. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ วันที่เริ่มปฏิบัติงาน : ตำแหน่งที่เคยปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : คำสำคัญ : ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย (ปี เดือน วัน) : ประวัติการศึกษา : ประวัติการทำงาน : บทบาทต่อมหาวิทยาลัย : 9.3 รายการข้อมูล - ประวัติส่วนตัว ได้แก่ ลำดับ : ชื่อ-นามสกุล : รหัสพนักงาน : ภาพถ่าย : วันเกิด :

  18. ตัวอย่าง

  19. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ 9.3 รายการข้อมูล (ต่อ) - ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ผลงานที่ประทับใจ : แนวคิดหรือปรัชญาที่ใช้ในการทำงาน : ความประทับใจความคาดหวังที่มีต่อมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : การตัดสินใจมาทำงานที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : การดำเนินงานที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : อนาคตของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : การเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : อื่น ๆ :

  20. ตัวอย่าง

  21. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ • ไฟล์ประกอบ ได้แก่ • ภาพประกอบ • วีดิทัศน์ประกอบ • เอกสารประกอบ

  22. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ 9.4 การออกแบบสำหรับการสืบค้น สำหรับการค้นหาแบบละเอียด โดยการ - สืบค้นจากกลุ่มข้อมูล ชื่อและนามสกุล และคำสำคัญ - สืบค้นจากกลุ่มปูชนีย์วลัยลักษณ์ - สืบค้นจากกลุ่มปูชนียาจารย์ - สืบค้นจากชื่อบุคคล

  23. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ 10. เพิ่มข้อมูลตามหัวข้อย่อยที่กำหนด 11. สืบค้นข้อมูลตามที่ได้ออกแบบ 11. เผยแพร่ให้บุคลากรและสาธารณชนได้รับทราบ

  24. การแสดงผลการสืบค้น ผลที่ได้จากการสืบค้นนั้น มีรายละเอียดดังนี้ - ข้อมูลที่เกี่ยวข้องของบุคคลที่สืบค้น • มีภาพประกอบ เอกสารประกอบ และวิดีโอประกอบ สำหรับวีดิโอนั้น จะเป็นการเลือกคำพูดที่กินใจ • หากตอนไหนที่เอ่ยถึงบุคคลในฐานข้อมูล หรือหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถเชื่อมต่อไปยังบุคคล หรือเว็บไซต์นั้นได้ทันที (hyperlink) • มีภาพประกอบที่เกี่ยวข้องแทรกในเนื้อหา - มีการอ้างอิงเนื้อหา หากนำเนื้อหามาจากแหล่งอื่น

  25. สรุปผล และข้อเสนอแนะ ฐานข้อมูลปูชนีย์วลัยลักษณ์ ปูชนียาจารย์ เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมประวัติ ผลงาน และแนวคิดของบุคคลที่มีบทบาทในการผลักดัน ก่อตั้ง บุกเบิกและพัฒนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีประวัติการก่อตั้งที่ใช้เวลาระยะยาวนานในการเรียกร้อง กว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเป็นช่องทางในการเผยแพร่เกียรติคุณในรูปแบบของเนื้อหา รูปภาพ และสื่อเคลื่อนไหว เกี่ยวกับกิจกรรมและผลงานที่ผ่านมาของบุคคลเหล่านี้ ซึ่งเปรียบเสมือนบุคคลที่มีบุญคุณและควรยกย่องและอยู่คู่กับมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ตลอดไป และสามารถจัดทำฐานข้อมูลในลักษณะนี้ได้อีก เช่น ฐานข้อมูลบุคคลที่เกษียณอายุ ทำเนียบนามผู้บริหาร เป็นต้น

  26. ประโยชน์และคุณค่าต่อการนำไปปรับใช้ในงานห้องสมุดประโยชน์และคุณค่าต่อการนำไปปรับใช้ในงานห้องสมุด ฐานข้อมูลปูชนีย์วลัยลักษณ์ ปูชนียาจารย์ เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมประวัติ ผลงาน และแนวคิดของบุคคลที่มีบทบาทในการผลักดัน ก่อตั้ง บุกเบิกและพัฒนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีประวัติการก่อตั้งที่ใช้เวลาระยะยาวนานในการเรียกร้อง กว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเป็นช่องทางในการเผยแพร่เกียรติคุณในรูปแบบของเนื้อหา รูปภาพ และสื่อเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกิจกรรมและผลงานที่ผ่านมาของบุคคลเหล่านี้ ซึ่งเปรียบเสมือนบุคคลที่มีบุญคุณและควรยกย่องและอยู่คู่กับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตลอดไป

  27. ขอบคุณค่ะ

More Related