1 / 37

ก้าวทันโรคภัย เครือข่ายสุขภาพไทยเข้มแข็ง : พัฒนาเครือข่ายวิชาการ จากอดีตถึงอนาคต

ก้าวทันโรคภัย เครือข่ายสุขภาพไทยเข้มแข็ง : พัฒนาเครือข่ายวิชาการ จากอดีตถึงอนาคต. วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. รายงานสุขภาพใน จ.พ.ส.ท. ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๖๑.

Download Presentation

ก้าวทันโรคภัย เครือข่ายสุขภาพไทยเข้มแข็ง : พัฒนาเครือข่ายวิชาการ จากอดีตถึงอนาคต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ก้าวทันโรคภัย เครือข่ายสุขภาพไทยเข้มแข็ง:พัฒนาเครือข่ายวิชาการ จากอดีตถึงอนาคต วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  2. รายงานสุขภาพใน จ.พ.ส.ท. ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๖๑ • “ประเทศสยามของเรามีดินแดนกว้างใหญ่ มิได้แพ้มหาประเทศบางแหล่ง แต่เหตุไฉนเราจึงยังไม่มีกำลังเท่าเทียมเขาเล่า ตอบว่าเพราะจำนวนพลเมืองของเรายังน้อยนัก น้อยเพราะเหตุใด เพราะว่าพลเมืองของเรายังตายมากนัก ยิ่งชั้นเด็กด้วยแล้วนับว่าได้ครึ่งเสียครึ่ง หรือจะตายมากกว่ารอดไปเสียอีก จำนวนพลเมืองของเราจึงไม่งอก ……” จอมพลสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม

  3. ว่าด้วยงานวิจัยและการจัดการความรู้ พ.ศ. ๒๔๖๑ • “ อีกไนย ๑ เมื่อเราจะเอาความรู้ทางอื่นมาใช้ดังนี้ จะรับแต่ถ่ายเดียวก็มิสมควร จักต้องให้ตอบแทนด้วยจึงจะถูก การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันเป็นหนทางนำมาซึ่งความเจริญแก่มนุษยชาติ ใช่แต่เท่านั้น เมื่อเรามีข่าวซึ่งแปลกซึ่งเป็นประโยชน์ไปสแดงแก่ชนต่างชาติ ก็นับว่าเป็นเกียรติยศดีสำหรับชาติเรา ………”

  4. รายงานการระบาดของกาฬโรคในกรุงเทพ ฯ • “The first authentic case of plague was discovered by the Medical Officer of Health on the 20th December 1904.................. Since its introduction in December 1904 (BE 2447) plague has continued in Bangkok and is still prevalent.” • “It is part of the price which we all have to pay and will always pay for imported Chinese labour. The Chinese is self-centered. He thinks of very little outside his own job. He has no time to devote to such things as sanitary habits and this combined with ignorance and strong racial prejudices against modern method of sanitation make him the despair of the Sanitary Officer. ... Nationality itself however does not prevent a Siamese from getting plague for if he copies the Chinese methods of living, he is just as likely to suffer......” H. Campbell Highet, Principal Medical Officer of Health (แพทย์สุขาภิบาล - ชื่อตำแหน่งในสมัยนั้น) จ.พ.ส.ท ๒

  5. รายงานของH. Campbell Highet • พบว่าจำนวนผู้ตายคู่ขนานไปกับระดับความชื้นค่อนข้างชัดเจน • ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ ๑๔ ปีสรุปว่ามีผู้ป่วยรวม ๑๔๑๖ คน โดยมีอุบัติการณ์สูงสุดถึง ๒๙๘ คน ในปี พศ. ๒๔๕๘ ในช่วงปี • พ.ศ. ๒๔๕๓ ถึง ๒๔๖๐ ในเขตพระนคร มีผู้เสียชีวิตจากกาฬโรคเฉลี่ยปีละประมาณ ๑๒๐ คน นับเป็นสาเหตุการตายอันดับห้าในทะเบียนมรณบัตร

  6. อัตราตายต่อปีในเขตพระนคร พ.ศ. ๒๔๕๒-๒๔๖๐

  7. มาตรการควบคุมกาฬโรค พ.ศ. ๒๔๔๖ • ผู้ตายต้องได้รับการตรวจศพ • ตรวจตราเรือจากนอกเขตทุกลำ • สร้างโรงพยาบาลแยกโรค • ให้ญาติเยี่ยมได้ แต่ไม่ให้ออกจากโรงพยาบาลจนกว่าจะพ้นระยะกักกันโรค (๑๐ วัน)

  8. “การทดลองคนที่เป็นโรคพยาธิ์ปากขอ” พ.ศ. ๒๔๖๔ “ใน พ.ศ. ๒๔๖๑ ข้าพเจ้าได้จัดการเบื่อตัวพยาธิ ปากขอด้วยยาไทมอล ในจำนวน ๒๑๗ คน …… นายแพทย์ บาร์นส์ได้มาแนะนำข้าพเจ้าว่า ควรจะหาวิธีทดลองคนที่กินยาเบื่อพยาธิ์ปากขอภายหลัง ๓ เดือนล่วงไปแล้ว ว่าร่างกายคนไข้นั้นจะดีขึ้นหรือไม่.....” “เมื่อข้าพเจ้าคิดหาหลักการทดลองเช่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าก็เรียกทหาร พ.ศ. ๒๔๖๑ ที่ได้เบื่อแล้วแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๔๖๑ คนที่เบื่อแล้วเกินกว่า ๓ เดือน ให้ส่งอุจจาระมาตรวจใหม่ว่ายังจะมีตัวพยาธิ์ปากขออีกหรือไม่ ให้ส่งตามบาญชีรายชื่อที่เบื่อแล้ว ครั้นได้ตรวจอุจจาระคนที่เบื่อแล้วไม่พบพยาธิ์ปากขอ, ใส้เดือนตัวกลม, ใส้เดือนตัวเส้นผม, ใส้เดือนตัวแบน เลยสักคนเดียวได้จำนวน ๔๖ คน ได้จัดการทดลองตามวิธีดังกล่าวข้างบนนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๖๑ จนถึงเดือนมิถุนายน ๒๔๖๒ ……..” นายร้อยโทโชติ บูรณศิริ แพทย์ประจำกองพยาบาลในกองพลทหารบกที่ ๘

  9. ผลการทดลองการรักษาพยาธิปากขอของนายร้อยโทโชติ บูรณศิริ พ.ศ. ๒๔๖๑-๒๔๖๒

  10. จ.พ.ส.ท. เล่มที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๖๗ • “The tremendous mortality of children during the first year, about 200 per thousand births in Bangkok, must be lowered. These two points the protection of child-bearing women and their babies are the things upon which the very life of the nation depends.” • “The mortality from cancer needs to be decreased, a problem in every country of the world. ….The cause of this dreadful disease is yet unknown, a subject of research that has as yet battled every investigator” AG Ellisนายแพทย์ชาวอเมริกันมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์

  11. การศึกษาอัตราตายทารกต่อการเกิดมีชีพ ๑,๐๐๐ คน • พ.ศ. ๒๔๙๒ (นพ.สมบูรณ์ มณเฑียรมณี อนามัยจังหวัดเชียงใหม่) • อำเภอหางดง ๒๑๐ ต่อพัน • อำเภอแม่แจ่ม ๕๐ ต่อพัน • พ.ศ. ๒๕๑๒ – ๒๕๒๒ (พญ. เพ็ญศรี กาญจนฐิติ) • ๖ จังหวัดในภาคกลาง ๔๗-๖๑ ต่อพัน

  12. Serological surveyเล็พโตสไปโรสิส พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๕๐๐ • นพ. ใช้ ยูนิพันธ์ รายงานผู้ป่วยหลังน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ ฯ พ.ศ. ๒๔๘๕ • หลังจากนั้นไม่นาน นพ. บุญธรรม สุนทรเกียรติ สำหรับแอนติบอดี้ในหญิงตั้งครรภ์ที่มาตรวจและชายที่มาผ่าตัด พบผลบวกร้อยละ ๑๕ • พ.ศ. ๒๔๙๔ นพ. บุญธรรม ดักหนูจาก ๖ อำเภอในพระนคร พบเชื้อ ๓ ตัว

  13. การสำรวจพยาธิลำไส้โดยกรมควบคุมโรคติดต่อร่วมกับมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๐๐

  14. โรคเท้าช้าง (จำลอง หริณสุต พ.ศ. ๒๓๙๐-๒๕๐๐) • ชายฝั่งตะวันตก ๓๔ รายจากประชากร ๑๖๗,๑๗๖ (๒.๖ ต่อพัน) • ชายฝั่งตะวันออก ๒,๖๙๕ ราย จากประชากร ๑,๐๕๐,๒๘๙ (๐.๒ ต่อพัน) • พบตัวอ่อนในเลือดร้อยละ ๒๐ • ชำแหละยุง ๒,๔๙๙ ตัว พบเชื้อพยาธิ ๑๐๒ ตัว landing rate๕๕ ตัวต่อhuman baitต่อชั่วโมง

  15. ไข้เลือดออก • พบครั้งแรกในโรงพยาบาลกาชาด พ.ศ. ๒๔๗๘ • พ.ศ. ๒๕๐๐ Dr Scot Halsted และ คณะ จับยุงตรวจหาไวรัส พบว่า Aedes egyptiมีทั้งเชื้อ dengue และ chikungunya ส่วน Culex พบเชื้อ chikungunya เพียงตัวเดียว • พ.ศ. ๒๕๑๖ ศึกษากลไกพยาธิสภาพ และแนะนำให้ใช้ steriod ในรายที่ป่วยหนัก ต่อมาอีกสามทศวรรษ นพ. สมพนธ์ ทัศนิยมมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงพิสูจน์ว่าใช้ steriod ไม่ดี

  16. บาดทะยักเด็กแรกคลอด • พ.ศ. ๒๕๒๙ รุนแรงที่สุดในภาคใต้โดยเฉพาะจังหวัดสตูลและจังหวัดกระบี่ • วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ ล้วน บูชากรณ์ และ วิเชียรแก่นพลอย ทำวิจัยร่วมกันหลายเรื่อง ฉีดท็อกซอยด์ครอบคลุมหญิงวัยเจริญพันธุ์ได้ร้อยละ ๘๕ ในกระบี่แต่ไม่ได้ฉีดเป็นพิเศษในสตูล ผลปรากฏว่าอุบัติการณ์ลดลง ๘ เท่าทั้งสองจังหวัด • วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์และคณะสำรวจครัวเรือนในสามจังหวัดชายแดนใต้กว่า ๑๒,๐๐๐ หลัง หาเด็กที่เสียชีวิตจากบาดทะยัก พบว่าไม่เป็นปัญหา

  17. การควบคุมพยาธิปากขอในภาคใต้การควบคุมพยาธิปากขอในภาคใต้ • พ.ศ. ๒๕๓๔ กรม ต. รณรงค์ให้ประชาชนทุกคนในภาคใต้กินยามีเบ็นดาโซล ๕๐๐ มก. (ภาคใต้ไม่มีมะเกลือ) • แต่ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ และกอง ต. ประเมินผลพบว่าความชุกในหลายจังหวัดค่อนข้างต่ำ และ มีเบนดาโซล ไม่ผลไม่ดี กรม ต. จึงเปลี่ยนนโยบายจำกัดเฉพาะพื้นที่ และใช้อัลเบนดาโซลแทน

  18. การควบคุมพยาธิปากขอในภาคใต้ (ต่อ) • พ.ศ. ๒๕๓๕ หน่วยระบาดวิทยาร่วมกับ สคต. ๙ ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงเกี่ยวกับการติดเชื้อพยาธิปากขอใน อ.เมือง แว้ง ตากใบ และ จะแนะ • งานวิจัยในช่วงหลัง ๆ เช่น พ.ศ. ๒๕๔๓ และ ๒๕๕๓ ยังพบว่าหนอนพยาธิผ่านดินเป็นปัญหาที่พบบ่อยในหญิงตั้งครรภ์ถึงร้อยละ ๒๕และร้อยละ ๑๐ ถึงแม้จะมีส้วมกว่าร้อย ๙๐ ของครัวเรือนทั้งหมดแล้วก็ตาม

  19. วัณโรคในภาคใต้ • พ.ศ. ๒๕๔๕ เพชรวรรณ พึ่งรัศมี และวีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ วิจัยกระบวนการ DOT พบว่าค่อนข้างอ่อนแอ เริ่มต้นจากกินยาต่อหน้าเจ้าหน้าที่ เปลี่ยนไปเป็นต่อหน้าญาติ และกินยาด้วยตนเองในที่สุด • พ.ศ. ๒๕๔๘ กรกมล รุกขพันธุ์ และคณะพบว่ายาต้านวัณโรคหลายตัว เช่น ไรแฟมปิซิน อีแทมบูทอล มีปัญหาด้านคุณภาพ • พ.ศ. ๒๕๔๙ มาลี โรจนวิบูลย์สถิตรายงานว่าผู้ป่วยวัณโรคซื้อยากินเองจากร้านขายยา ทำให้เริ่มการรักษาช้า และร้านยาไม่รู้จักอาการวัณโรค • พ.ศ. ๒๕๕๑ วิลาวรรณ ทองเรืองและคณะรายงานว่าแพทย์ในโรงพยาบาลใหญ่มีปัญหาทั้งด้านวินิจฉัยและสั่งการรักษาผู้ป่วยวัณโรค

  20. ความร่วมมือด้านการวิจัยวัณโรคอื่น ๆ • มีงานวิจัยระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กับหน่วยระบาดวิทยา มอ. ร่วมกันอีกจำนวนหนึ่ง ทั้งในภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย เช่น ที่เชียงราย พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ พบว่าผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอ็ชไอวีร่วมด้วย แพร่เชื้อภายในครัวเรือนน้อยกว่าผู้ป่วยวัณโรคทั่วไป และควรทำ contact tracing ทุกราย เพราะในครัวเรือนจะมีทั้งผู้ป่วยเอ็ชไอวีและผู้ป่วยวัณโรคร่วมด้วยบ่อย ๆ

  21. โรคท้องร่วง • พ.ศ. ๒๕๓๓ หน่วยระบาดวิทยาสำรวจระบบประปาหมู่บ้านในอำเภอหนองจิก ๓๑ หมู่บ้าน พบว่าล้มเหลวภายในเวลาสามปี เนื่องจากขาดการจัดการที่ดี • พ.ศ. ๒๕๓๓ หน่วยระบาดวิทยาติดตามเด็กอายุต่ำกว่า ๒ ปี ๑๗๘ คนใน ๗ หมู่บ้านของ อ. หนองจิกเป็นเวลาหนึ่งปี พบว่าอัตราป่วยเท่ากับ ๒.๕ ถึง ๓.๕ ครั้งต่อคนต่อปี การใช้น้ำประปาลดโรคท้องร่วงได้ประมาณหนึ่งในสี่ • พ.ศ. ๒๕๔๗ หน่วยระบาดวิทยา มอ. และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มช. ร่วมกับกรมควบคุมโรคสำรวจพบว่าอุบัติการณ์โรคท้องร่วงในนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ระหว่างร้อยละ ๑.๖ ถึง ๑๕.๗ ทำให้วงการแพทย์ที่ดูแลสุขภาพนักท่องเที่ยวยอมรับว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ

  22. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ • พ.ศ. ๒๕๓๔ หน่วยระบาดวิทยาและภาควิชากุมารเวชศาสตร์ร่วมกับกรม ต. ประเมินผลการอบรม อสม. ในโครงการลดความรุนแรงของโรคทางเดินหายใจในเด็กอำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานี ๑,๓๑๓ คนโดยวิธี cluster randomized controlled trial พบว่าการอบรม อสม.ใน ๑๕ หมู่บ้าน ช่วยให้การลดระยะเวลาการเจ็บป่วยลงได้ร้อยละ ๑๐ แต่ไม่ลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

  23. การร่วมควบคุมวิทยานิพนธ์นักศึกษานานาชาติการร่วมควบคุมวิทยานิพนธ์นักศึกษานานาชาติ • แพทย์หญิงเพชรวรรณ พึ่งรัศมี ร่วมควบคุมวิทยานิพนธ์นักศึกษาระบาดวิทยานานาชาติของหน่วยระบาดวิทยา มีงานตีพิมพ์เรื่องระบาดวิทยาของวัณโรคสามรายการจากประเทศจีน • พ.ศ. ๒๕๕๐ รายงานว่าระบบการรักษาวัณโรคที่รวมศูนย์อยู่เฉพาะใน สคร. ของยูนนาน ทำให้ผู้ป่วยต้องเดินทางไกล เริ่มการรักษาได้ช้า และ แพร่เชื้อในบ้านมากขึ้น • พ.ศ. ๒๕๕๐ รายงานว่าระบบกินยาวันเว้นวันในประเทศจีน ทำให้ผู้ป่วยกินยาเกินถึงร้อยละสิบ ซึ่งอาจจะเพิ่มผลข้างเคียงในที่สุด

  24. งานวิจัยเรื่องโรคนำด้วยแมลงในภาคใต้งานวิจัยเรื่องโรคนำด้วยแมลงในภาคใต้ • นายแพทย์สุวิช ธรรมปาโล วิจัยร่วมกับหน่วยระบาดวิทยาหลาย ๆ เรื่อง เช่น • พ.ศ. ๒๕๔๔ ควบคุมงานวิจัยของShiga Fumiya ซึ่งพบว่าการใช้มุ้งในเขตติดต่อของโรคเท้าช้างอาจจะป้องกันยุงลายเสือกัดได้ไม่ดี เพราะชาวบ้านออกไปทำงานตั้งแต่เช้ามืด • พ.ศ. ๒๕๔๘ พบว่าไทยพุทธมีภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลายมากกว่าไทยมุสลิม เนื่องจากมีแจกันดอกไม้มากกว่า • พ.ศ. ๒๕๔๙ พบว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกมากผิดปรกติช่วยลดการระบาดของไข้เลือดออกในประเทศไทยในบางพื้นที่

  25. งานวิจัยเรื่องโรคนำด้วยแมลงในภาคใต้ (ต่อ) • พ.ศ. ๒๕๕๐ พบว่าในเขตเมืองที่มีกองขยะมีอุบัติการณ์ไข้เลือดออกสูงเป็นพิเศษ • พ.ศ. ๒๕๕๐ พบว่าเด็กนักเรียนรับเชื้อไข้เลือดออกจากเพื่อนบ้านมากกว่าจากโรงเรียน • พ.ศ. ๒๕๕๑ พบว่าการพ่นหมอกควันเพื่อควบคุมไข้เลือดออกที่กระทำอยู่ไม่เพียงพอในการป้องกันการแพร่ของไข้เลือดออกในเขตเมืองได้

  26. งานวิจัยเกี่ยวกับโรคเอดส์งานวิจัยเกี่ยวกับโรคเอดส์ • พ.ศ. ๒๕๕๑ ณัฐาศิริ ธนวุฒิ และ คณะ พบว่าผู้ป่วยที่มารับบริการด้านเอชไอวีในภาคใต้ ส่วนใหญ่เริ่มรักษาเมื่อมีอาการมากแล้ว ทั้งนี้ระบบสาธารณสุขไม่ได้ติดตามผู้ป่วยที่มาตรวจเลือดให้กลับมาตรวจซีดี ๔ อย่างต่อเนื่อง • พ.ศ. ๒๕๕๒ กรกมล รุกขพันธุ์ และคณะ พบว่ายาที่รักษาโรคเอดส์ในภาคใต้มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

  27. งานวิจัยร่วมด้านโรคจากสิ่งแวดล้อมในภาคใต้งานวิจัยร่วมด้านโรคจากสิ่งแวดล้อมในภาคใต้ • โรคจากสิ่งแวดล้อมที่หน่วยระบาดวิทยาร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขวิจัยเพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญมีสองโรค คือ โรคจากพิษสารหนู และโรคจากพิษสารตะกั่ว

  28. เรื่องสารหนูที่ อ. ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช • พ.ศ. ๒๕๔๓ สัดส่วนของการดื่มน้ำจากบ่อน้ำตื้นน้อยลงมาก แต่ยังใช้สำหรับอาบและล้าง • พ.ศ. ๒๕๔๕ ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สนับสนุนให้ รพ. ร่อนพิบูลย์ตรวจหาสารหนูได้ด้วยตนเอง และพบว่าน้ำฝนปลอดภัย ส่วนน้ำจากภูเขาไม่ปลอดภัย • พ.ศ. ๒๕๕๐ พบว่าการอาบน้ำปนเปื้อนสารหนูไม่ปลอดภัย การแก้ปัญหาต้องจัดหาน้ำที่ปลอดภัยสำหรับกิจกรรมทุกอย่าง

  29. เรื่องสารตะกั่วในภาคใต้เรื่องสารตะกั่วในภาคใต้ • พ.ศ. ๒๕๔๔ พบว่าสำรวจ ๕ โรงเรียนตามลำน้ำปัตตานี พบว่าเด็กที่อยู่ใกล้เหมืองที่จัดการกากแร่ไม่เรียบร้อย และเด็กที่อยู่ใกล้อู่ซ่อมเรือปากแม่น้ำมีระดับตะกั่วในเลือดสูง • พ.ศ. ๒๕๔๕ พบว่าตะกั่วแดง (เสน) จากอู่ซ่อมเรือเป็นตัวการสำคัญของการปนเปื้อน • พ.ศ. ๒๕๕๐ พบว่าการปนเปื้อนเกิดผงตะกั่วติดตัวคนงานกลับมายังบ้าน • พ.ศ. ๒๕๕๐ พบว่ามีการตะกั่วปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมจากอู่ซ่อมเรือ ๖๓ แห่งในภาคใต้ รวมประมาณ ๒๖ ตันต่อปี

  30. เรื่องโรคเรื้อรัง • การติดตามกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดสงขลาครั้งแรกในปี ๒๕๔๐ พบว่าคนที่สูงอายุมีน้ำหนักน้อยกว่าคนวัยกลางคน แต่เมื่อติดตามคนกลุ่มนี้ใน๑๐ ปีต่อมา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น • พ.ศ. ๒๕๔๓ การสำรวจชาวบ้านประมาณ ๑,๐๐๐ คนพบว่ามุสลิมดื่มสุราน้อยกว่าและลงพุงน้อยกว่าชาวพุทธ แต่มีระดับไขมันผิดปรกติมากกว่า • พ.ศ. ๒๕๕๒-๕๓ สคร ร่วมกับหน่วยระบาดวิทยาพัฒนาวิธีการสำรวจสำรวจปัจจัยเสี่ยงแบบประหยัดพบว่า ข้อมูลด้านสูบบุหรี่ของชาวบ้านที่ได้จากการสอบถาม อสม. ใกล้เคียงกับที่ได้จากการสำรวจเต็มรูปแบบ แต่อัตราการดื่มสุราโดยการสอบถาม อสม. สูงกว่า

  31. เรื่องแรงงานข้ามชาติ • พ.ศ. ๒๕๔๔ นักศึกษาชาวพม่าของหน่วยระบาดวิทยาสำรวจพฤติกรรมทางเพศของแรงงานประมงพม่าในจังหวัดระนอง พบว่ากว่าหนึ่งในสิบมีการฉีดน้ำมันและฝังสิ่งแปลกปลอมในองคชาติ หญิงขายบริการชาวพม่าระบุว่าพฤติกรรมดังกล่าวทำให้สวมถุงยางอนามัยได้ลำบาก หลุดง่าย และหญิงขายบริการต้องใช้ยาผลทางอารมณ์ช่วยลดความเจ็บปวด ทั้งหมดนี้อาจจะมีผลทำให้การควบคุมโรคเอดส์ล้มเหลว • พ.ศ. ๒๕๔๗ นักศึกษาพม่าอีกคนหนึ่งทำวิจัยที่ภูเก็ตพบว่าการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างชาติและใช้แพทย์พม่าให้บริการสาธารณสุขช่วยให้การวางแผนครอบครัวครอบคลุมดีขึ้นเป็นร้อยละ ๗๒ และอัตราการทำแท้งลดลงครึ่งหนึ่ง

  32. การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากเหตุรุนแรงในชายแดนใต้การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากเหตุรุนแรงในชายแดนใต้ • หน่วยระบาดวิทยาร่วมกับ สคร. สำนักระบาดวิทยา และโรงพยาบาลกว่า ๔๐ แห่ง ในจังหวัดชายแดนใต้จัดระบบเฝ้าระวังดังกล่าว ดำเนินการต่อเนื่องมาแล้วสามปี เป็นฐานข้อมูลช่วยให้ผู้ได้รับผลกระทบได้รับความช่วยเหลือจากทางราชการและใช้ในการติดตามวิจัยต่อไป

  33. งานวิจัยที่กำลังดำเนินการร่วมกันในจังหวัดชายแดนใต้งานวิจัยที่กำลังดำเนินการร่วมกันในจังหวัดชายแดนใต้ • ฐปนรรฆ์ ประทีปเกาะ ศึกษาพบว่าความรุนแรงในพื้นที่มีผลเชิงลบต่อความพร้อมในการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่ แต่โดยภาพรวมแล้วมีความพร้อมต่ำ ไม่ว่าพื้นที่จะรุนแรงหรือไม่ก็ตาม • พนม สุขจันทน์ ศึกษาพบว่าความรุนแรงในพื้นที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณสารอาหารที่หญิงตั้งครรภ์ได้รับ • รอฮานิ เจ๊อาแซ กำลังเก็บข้อมูลดูผลกระทบของความรุนแรงต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กต่ำกว่าห้าปีในพื้นที่ชายแดนใต้

  34. งานวิจัยที่กำลังดำเนินการร่วมกันในจังหวัดชายแดนใต้(ต่อ)งานวิจัยที่กำลังดำเนินการร่วมกันในจังหวัดชายแดนใต้(ต่อ) • กรกมล รุกขพันธ์และคณะกำลังเก็บข้อมูลเรื่องคุณภาพการจัดการวัคซีนในพื้นที่ชายแดนใต้ • หน่วยระบาดวิทยาและวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้าและหน่วยงานในพื้นที่กำลังเตรียมการวิจัยเรื่องไข้ชิคุนกุนย่า

  35. ทุนวิจัยแกนนำ • นายแพทย์วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์และคณะ ได้รับอนุมัติทุนวิจัยแกนนำจากสำนักงานพัฒนาวิทยาและเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยเป็นเวลา ๕ ปี เพื่อพัฒนางานวิจัย ทรัพยากรมนุษย์ด้านการวิจัย และสถาบัน ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น • งานวิจัยใหม่จะต่อเนื่องในด้านการพัฒนาฐานข้อมูลความรุนแรง, การศึกษาผลกระทบทางสุขภาพจากการเสพพืชกระท่อม การวิจัยการสูบบุหรี่ในชายแดนใต้ ปัญหาอนามัยแม่และเด็กในภาคใต้และการเฝ้าระวังการเกิดโรคมะเร็งในชายแดนใต้

  36. บทสรุป • ประเทศไทยมีการวิจัยเพื่อการควบคุมโรคพร้อม ๆ กับการเข้ามาของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ มีงานวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับกระทรวงสาธารณสุขในระยะแรกไม่มากนัก • หน่วยระบาดวิทยาร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ภาคใต้วิจัยเพื่อแก้ปัญหาโรคในพื้นที่จำนวนมาก ต่อเนื่องและยาวนาน สร้างความเข้มแข็งต่อการทำงานของทั้งสองฝ่ายและน่าจะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในระยะยาว ความร่วมมือนี้น่าจะเป็นตัวอย่างในระดับชาติและนานาชาติ

  37. กิตติกรรมประกาศ • ความร่วมมือระหว่างหน่วยระบาดวิทยากับหน่วยงานต่างของกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ได้รับการสนับสนุนทางนโยบายจากกระทรวงสาธารณสุขในส่วนกลางโดยเฉพาะกรมควบคุมโรค(ติดต่อ)มาตลอดเกือบสามทศวรรษ • ทุนการวิจัยมาจากหลายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เช่น มูลนิธิฟอร์ด,WHO, UNICEF, National Epidemiology Board, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกำลังจะได้เพิ่มเติมจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สวทช)

More Related