1 / 28

เศรษฐศาสตร์ แรงงาน EC 471 การ กำหนดค่าจ้างและการจัดสรรแรงงาน

เศรษฐศาสตร์ แรงงาน EC 471 การ กำหนดค่าจ้างและการจัดสรรแรงงาน. รองศาสตราจารย์ ดร. ภาวดี ทองอุไทย สิงหาคม 2552. หัวข้อ. ดุลยภาพในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ การจัดสรรแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ แรงงาน และ หน่วยผลิตได้รับผลประโยชน์รวมสูงสุด นโยบายสาธารณะ ภาษี และ เงินอุดหนุน ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์

dandre
Download Presentation

เศรษฐศาสตร์ แรงงาน EC 471 การ กำหนดค่าจ้างและการจัดสรรแรงงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เศรษฐศาสตร์แรงงาน EC 471 การกำหนดค่าจ้างและการจัดสรรแรงงาน รองศาสตราจารย์ ดร. ภาวดี ทองอุไทย สิงหาคม 2552

  2. หัวข้อ • ดุลยภาพในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ • การจัดสรรแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ • แรงงาน และ หน่วยผลิตได้รับผลประโยชน์รวมสูงสุด • นโยบายสาธารณะ • ภาษี และ เงินอุดหนุน • ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ • ตลาดผูกขาดด้านผู้ซื้อแรงงาน(Monopsony) • ตลาดผูกขาดด้านผู้ขายสินค้า (Monopoly)

  3. ลักษณะของดุลยภาพในตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันลักษณะของดุลยภาพในตลาดแรงงานที่มีการแข่งขัน • การแลกเปลี่ยนระหว่างแรงงานและหน่วยผลิต  ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจรวม • เส้นอุปสงค์แรงงาน แสดง มูลค่าของผลผลิตหน่วยสุดท้าย value of marginal product (VMP) พื้นที่ภายใต้เส้นอุปสงค์แรงงาน = มูลค่าของผลผลิตรวมvalue of total product รายรับรวม = ผลรวมของ VMPs กำไรของหน่วยผลิต = ส่วนเกินของผู้ผลิต Producer surplus = สามเหลี่ยม P

  4. เส้นอุปทานแรงงาน: แสดงถึงค่าจ้างที่ จำเป็นในการจูงใจ ให้คนเข้าสู่ตลาดแรงงาน พื้นที่ภายใต้เส้นอุปทาน= มูลค่ารวมของ ค่าเสียโอกาส ของคนงานที่เพิ่มเข้ามาในตลาด ผลประโยชน์ต่อคนงาน = ความแตกต่างระหว่าง: - สิ่งที่คนงานได้รับ ณ ระดับค่าจ้างดุลยภาพ w*กับ - มูลค่าของ เวลา ของคนงาน ถ้าอยู่นอกตลาดแรงงาน ส่วนเกินของคนงาน = สามเหลี่ยม Q

  5. ผลประโยชน์จากการแลกเปลี่ยน และ การจัดสรรอย่างมีประสิทธิภาพ • ผลประโยชน์รวมจากการแลกเปลี่ยน = ส่วนเกินของผู้ผลิต (producer surplus) + ส่วนเกินของแรงงาน (worker surplus) = พื้นที่ P+Q • ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ผลประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนจะอยู่ในระดับสูงสุด • การจัดสรรอย่างมีประสิทธิภาพ= การจัดสรรแรงงานไปให้แก่หน่วยผลิตที่ส่งผลให้เกิดผลประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนสูงสุด • ดุลยภาพในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ การจัดสรรแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  6. ดุลยภาพในตลาดแข่งขัน ที่มีสองตลาด • ตลาดแรงงานสองแห่งจ้างแรงงานที่มีทักษะคล้ายกัน ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ • ถ้าค่าจ้างระหว่างสองตลาดแตกต่างกัน จะอยู่ไม่ได้นานเพราะ • แรงงานในตลาดที่ค่าจ้างต่ำกว่าจะโยกย้าย เพื่อไปสู่ที่ซึ่งจะได้ค่าจ้างสูงกว่า ได้อรรถประโยชน์สูงกว่า เส้นอุปทานแรงงานเคลื่อน • หน่วยผลิตก็จะย้ายเช่นกัน เพื่อหาประโยชน์จากค่าจ้างที่ต่ำกว่า เส้นอุปสงค์แรงงานเคลื่อน

  7. นโยบายรัฐในตลาดแรงงานนโยบายรัฐในตลาดแรงงาน • จะเกิดอะไรขึ้นต่อค่าจ้างและการจ้างงาน เมื่อ รัฐเก็บภาษีค่าจ้าง • กรณีที่เก็บภาษีจากนายจ้าง • หน่วยผลิตจะต้องจ่าย ภาษี $1 ต่อคนงานทุกคนที่จ้างเข้ามา • จะบวกเพิ่มเข้าไปในค่าจ้าง ($10 + $1) • ค่าจ้างที่จ่ายจะเพิ่มเป็น W0– 1 จ้างคนงาน E0 เส้นอุปสงค์แรงงานจะเคลื่อนลงข้างล่าง • ภาษีค่าจ้างจะทำให้ค่าจ้างที่คนงานได้รับต่ำลงW0 W1 • เพิ่มต้นทุนของการจ้างคนงานจาก W0 W1+1

  8. กรณีที่เก็บภาษีจากคนงานกรณีที่เก็บภาษีจากคนงาน • ถ้าคนงานต้องจ่ายภาษี $1 สำหรับแต่ละชั่วโมงที่ทำงาน • จะเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเพิ่มเป็น W0+ $1  เส้นอุปทานแรงงานจะเคลื่อนขึ้น $1 • คนงานได้รับค่าจ้าง W1 • ปริมาณการจ้างงานลดลง • ค่าจ้างหลังภาษีลดลง W0 W1-1 • อิทธิพลของความยืดหยุ่นของอุปทาน • ถ้าอุปทานมีความยืดหยุ่นสมบูรณ์ ภาษีจะถูกผลักภาระให้คนงานทั้งหมด

  9. Deadweight loss • ไม่ว่าจะเก็บภาษีจากหน่วยผลิต หรือ จากคนงานโดยตรง ก็มีผลเช่นเดียวกัน • การจ้างงานลด ต้นทุนการจ้างคนงานเพิ่ม เงินเข้ากระเป๋าลด • ดุลยภาพหลังภาษี ไม่มีประสิทธิภาพ • คนงานไม่ได้รับการจ้างงาน ณ ระดับที่ ผลประโยชน์รวมจากการแลกเปลี่ยนในตลาดแรงงานมีปริมาณสูงสุด • ภาษีการจ้างงาน  deadweight loss หรือ ภาระส่วนเกิน excess burden

  10. Deadweight loss • Deadweight loss วัดมูลค่าของผลประโยชน์ที่ต้องเสียสละไป • เพราะภาษีบังคับให้นายจ้างต้องลดการจ้างงานลงต่ำกว่าระดับที่มีประสิทธิภาพ • ทั้งนี้ โดยไม่ได้เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการตามเก็บภาษีนั้นๆ • Deadweight loss เกิดขึ้นเพราะ: • ภาษีทำให้แรงงานบางคน ไม่ได้งานทำ • ประโยชน์บางส่วนที่น่าจะเกิดกับสังคมก็เลยสูญหายไป • VMP ของคนงาน >มูลค่าของเวลานอกตลาดแรงงานของคนงานคนนั้น

  11. การอุดหนุน (subsidy)สำหรับการจ้างงาน • รัฐอาจให้เงินอุดหนุน เพื่อสนับสนุนให้หน่วยผลิตจ้างคนงานเพิ่มขึ้น • ช่วยลดต้นทุนการจ้างคนงาน • เช่น ให้เครดิตภาษี สำหรับคนงานแต่ละคนที่หน่วยผลิตจ้างเพิ่ม($1)  เส้นอุปสงค์แรงงานจะเคลื่อนขึ้นข้างบน $1 • ทำให้มีการจ้างงานมากขึ้น • เงินเข้ากระเป๋าคนงานเพิ่มขึ้น จาก W0เป็น W1 • ค่าจ้างที่หน่วยผลิตจ่าย ลดจาก W0เป็นW1 - $1 • ขนาดของผลกระทบ ขึ้นอยู่กับ • ความยืดหยุ่น ของ อุปทาน และ อุปสงค์

  12. ผู้ผูกขาดที่สามารถแบ่งแยกแรงงานได้ชัดเจนผู้ผูกขาดที่สามารถแบ่งแยกแรงงานได้ชัดเจน • มีเส้นอุปทานแรงงาน ลาดขึ้น หรือ เส้นอุปทานของตลาด • จ้างคนงาน ด้วยอัตราค่าจ้างที่ต่างกัน • เส้นอุปทานแรงงาน = เส้นmarginal cost • ไม่มีอิทธิพลต่อ ราคา ผลผลิต • ขายเท่าไรก็ได้ตามต้องการ ณ ราคาที่ตลาดกำหนด p

  13. หน่วยผลิตที่ต้องการกำไรสูงสุด อาจจ้างคนงานจนถึงจุดที่: • มูลค่าของแรงงานหน่วยสุดท้าย = ต้นทุนของการจ้างคนงานนั้น • w* ไม่ใช่ค่าจ้างระดับแข่งขัน(competitive wage) • เป็นค่าจ้างที่ผู้ผูกขาดการซื้อแรงงานต้องจ่าย เพื่อจูงใจแรงงานหน่วยสุดท้ายที่จ้างมา • คนงานอื่นๆ จะได้รับ = ค่าจ้างสำรองreservation wage ของแต่ละคน

  14. ผู้ผูกขาดที่ไม่สามารถแบ่งแยกคนงานได้ • จ่ายค่าจ้างเท่ากันหมด ไม่ว่า ค่าจ้างสำรองของแต่ละคนจะเป็นเท่าใด • เมื่อผลิตเพิ่ม ต้นทุนหน่วยสุดท้ายเพิ่มเร็วกว่าค่าจ้าง • เส้นต้นทุนหน่วยสุดท้ายอยู่เหนือกว่าเส้นอุปทาน • ผู้ผูกขาดที่แสวงหากำไรสูงสุดจ้างคนงานจนถึงจุดที่ ต้นทุนของการจ้างแรงงานหน่วยสุดท้าย= มูลค่าของผลผลิตหน่วยสุดท้าย • จ้างคนงานน้อยกว่าในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ • ค่าจ้าง<ค่าจ้างแข่งขัน <มูลค่าของผลผลิตหน่วยสุดท้ายของแรงงาน • แรงงานจะถูก เอาเปรียบ ‘exploited’

  15. ค่าจ้างขั้นต่ำ และ ผู้ผูกขาดที่ไม่สามารถแบ่งแยกคนงานได้ • การบังคับใช้ค่าจ้างขั้นต่ำ ในตลาดผูกขาดด้านผู้ซื้อแรงงาน จะเพิ่มทั้งค่าจ้าง และ การจ้างงาน • ผู้ผูกขาดที่มุ่งกำไรสูงสุด จะต้องการ ให้ ต้นทุนหน่วยสุดท้ายของการจ้างงาน (marginal cost of hiring) มีมูลค่าเท่ากับ ผลผลิตหน่วยสุดท้ายของแรงงาน (marginal product of labour) • ไม่มีการว่างงานเกิดขึ้น • ทุกคนที่อยากทำงาน และเต็มใจยอมรับค่าจ้างขั้นต่ำ จะได้งานทำ • ค่าจ้างขั้นต่ำที่ออกแบบได้เหมาะสม จะสามารถกำจัดอำนาจในตลาดของผู้ผูกขาดได้ และ ป้องกันไม่ให้มีการเอาเปรียบแรงงาน

  16. ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์: ผูกขาดด้านการขายผลผลิต (monopoly) • ผู้ผูกขาด สามารถมีอิทธิพลในการตั้งราคาขาย • เมื่อขยายผลผลิต ราคาขายจะลดลง • รายได้หน่วยสุดท้าย Marginal revenue ไม่เท่ากับ ราคาของสินค้า output price p • เส้น MR ลาดลง และ อยู่ต่ำกว่าเส้นอุปสงค์ • ผู้ผูกขาดที่มุ่งกำไรสูงสุด จะผลิตจนถึงจุดที่ MR=MC • จะผลิตในปริมาณต่ำกว่าหน่วยผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ • และขายในราคาสูงกว่า

  17. ผลของการมีอำนาจผูกขาดต่ออุปสงค์แรงงานของหน่วยผลิต และต่อการตัดสินใจจ้างงาน • จะจ้างคนงานจนถึงจุดที่ สิ่งที่ได้รับจากคนงาน = ต้นทุนของการจ้าง • MRPE (MR x MPE) • แต่ว่า ... MRP < VMP (เพราะMR < P) • หน่วยผลิตในตลาดผูกขาด จ้างคนงานน้อยกว่า หน่วยผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (ซึ่งW=VMP) • แต่ อาจมีกรณีที่จ่ายค่าจ้างสูงกว่า ในตลาดแข่งขัน • ถ้า...อยากดึงดูดคนงานดีๆ และ สามารถผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้ผู้บริโภคได้

More Related