40 likes | 118 Views
คำแนะนำสำหรับกระทรวงสาธารณสุข. จะเริ่มอย่างไร ?. จุดเริ่มต้นของการปฏิรูประบบสุขภาพระดับอำเภอ อยู่ที่การกำหนดค่ากลางของความสำเร็จ ของโครงการสุขภาพระดับเขต เพื่อส่งมอบให้จังหวัดนำเข้าสู่กระบวนการ(1) กำหนดค่ากลาง (2) ทำการบูรณาการ และ (3) สร้างนวัตกรรมสังคมต่อไป.
E N D
คำแนะนำสำหรับกระทรวงสาธารณสุขคำแนะนำสำหรับกระทรวงสาธารณสุข จะเริ่มอย่างไร ? • จุดเริ่มต้นของการปฏิรูประบบสุขภาพระดับอำเภอ อยู่ที่การกำหนดค่ากลางของความสำเร็จของโครงการสุขภาพระดับเขต เพื่อส่งมอบให้จังหวัดนำเข้าสู่กระบวนการ(1) กำหนดค่ากลาง (2) ทำการบูรณาการ และ (3) สร้างนวัตกรรมสังคมต่อไป • บูรณาการบทบาทกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • ทำความตกลงในระดับส่วนกลางเกี่ยวกับความร่วมมือของ อปท.กับหน่วยงานสาธารณสุขในประเด็นการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และการสนับสนุนนวัตกรรมสังคม • แต่งตั้งนายก อปท. หรือผู้แทนเข้าร่วมเป็น คปสอ.ระดับอำเภอ • มอบบทบาทการพัฒนาส่วนสภาวะแวดล้อมของกลุ่มวัยฯให้ อปท. โดยใช้บัญชีค่ากลางสำหรับโครงการสุขภาพฯที่ สสจ. กำหนดชุดเดียวกับ รพสต.และกองทุนฯ • วางระบบข้อมูลที่ใช้ร่วมกันได้ระหว่าง อปท. กับ สธ.
เพิ่มทักษะในการบริหารจัดการโครงการแบบบูรณาการให้กับสาธารณสุขอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเพิ่มทักษะในการบริหารจัดการโครงการแบบบูรณาการให้กับสาธารณสุขอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดย 1. ใช้การเรียนการสอนที่มีการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง 2. ใช้วิทยากรที่มีอยู่ในระดับเขต 2-3เปนหลัก เสริมด้วยวิทยากรกลาง (ถ้าจำเป็น) 3. ร่วมมือกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.นเรศวรจัดหลักสูตรเฉพาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายทั้งสอง • ปฏิรูปข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ (Management Information) ระดับอำเภอ 1. เนื่องจากจะมีการบูรณาการงานระดับท้องถิ่น/ตำบลจึงควรปฏิรูประบบการเก็บและรายงานข้อมูลในระดับต่างๆให้สอดคล้อง 2.พื้นที่ใดที่เข้าโครงการปฏิรูประบบสุขภาพระดับอำเภอ(DHS) ใหม่นี้ ให้ยกเว้นการทำและใช้รายงานข้อมูลที่กระทรวงฯกำหนดไว้เดิม แล้วใช้ระบบรายงานใหม่ตลอดทางจนถึงส่วนกลาง ส่วนพื้นที่ที่ยังไม่เข้าโครงการ ให้ใช้ระบบข้อมูลเดิม
ปรับระบบการสนับสนุนของจังหวัดและเขตต่ออำเภอ/ตำบลปรับระบบการสนับสนุนของจังหวัดและเขตต่ออำเภอ/ตำบล 1.กำหนดงานสนับสนุนจากพื้นฐานของงานในค่ากลางของฝ่ายปฏิบัติ 2.ใช้วิธีเจรจาความร่วมมือระหว่างฝ่ายปฏิบัติและสนับสนุน 3.สรุปกิจกรรมสนับสนุนจากงานสนับสนุนที่ตกลงกัน 4.บูรณาการงานสนับสนุนเข้าด้วยกันแล้วจัดสรรกิจกรรมสนับสนุนตามบทบาทหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ 5.สร้างแผนงาน/โครงการสนับสนุนของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 6.สร้างแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างฝ่ายสนับสนุน • ปรับระบบตัวชี้วัดให้ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ที่ใช้ระบบค่ากลางและบูรณาการ • ใช้ตัวชี้วัด3ชนิด คือ KRI, KPI, และ PI • KPIใช้โดยผู้ปฏิบัติ เพื่อควบคุมทิศทางของการพัฒนาด้วยตนเอง • สสอ.สนับสนุนผู้ปฏิบัติในการบรรลุ KPI • PI ถูกส่งผ่านจากพิ้นที่จนถึงส่วนกลางเพื่อใช้ในการจัดสรรงบประมาณ • ข้อมูลถูกวิเคราะห์และป้อนกลับในระดับอำเภอ จังหวัดและเขต • ใช้ KRIในการประเมินผล ส่วนกลาง เป็นผู้ออกแบบและเก็บข้อมูลโดยตรงในฐานะ External Evaluator
จะจบอย่างไร ? • หน่วยงานระดับเขตเป็นศูนย์กลางการพัฒนาสุขภาพของกลุ่มวัยที่กำหนด • มีการบูรณาการบทบาทร่วมกันระหว่างกรมต่างๆและสำนักงานปลัดฯ • มีการเพิ่มทักษะในการบริหารจัดการโครงการแบบบูรณาการให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง • มีการสร้างและจัดการนวัตกรรมสังคม • มีแนวคิดและวิธีวางแผนงานโครงการใหม่ที่สอดรับกับเทคนิคการบูรณาการ (จากโครงการรายประเด็นสู่โครงการรายกิจกรรมเพื่อจำกัดจำนวนโครงการให้เหลือ 2โครงการ สำหรับกลุ่มเป้าหมายและสภาวะแวดล้อม จะเหมาะสมสำหรับมอบให้ภาคปะชาชนและท้องถิ่น • มีระบบข้อมูลและตัวชี้วัดที่สร้างจากการบูรณาการของงานที่ปฏิบัติจริงในพื้นที่