1 / 48

โดย นายสุริย เจริญวงศ์ นางจุฑารัตน์ จุฑาธรรมพิทักษ์ เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส

แนวทางในการพิจารณา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ. โดย นายสุริย เจริญวงศ์ นางจุฑารัตน์ จุฑาธรรมพิทักษ์ เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ฝ่ายกำกับธุรกิจแนะนำการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. วันที่ 8 มีนาคม 2550. หัวข้อการบรรยาย. ข้อหารือตาม พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ

Download Presentation

โดย นายสุริย เจริญวงศ์ นางจุฑารัตน์ จุฑาธรรมพิทักษ์ เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางในการพิจารณาข้อกฎหมายเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแนวทางในการพิจารณาข้อกฎหมายเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยนายสุริย เจริญวงศ์ นางจุฑารัตน์ จุฑาธรรมพิทักษ์ เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ฝ่ายกำกับธุรกิจแนะนำการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. วันที่ 8 มีนาคม 2550

  2. หัวข้อการบรรยาย • ข้อหารือตาม พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ • ลักษณะของข้อบังคับกองทุนที่ดี • ข้อสังเกตจากการตรวจสอบตามมาตรฐานงานทะเบียนสมาชิก

  3. I.ข้อหารือตาม พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ 3

  4. 1. ค่าจ้าง Q นอกจากเงินเดือนเงินได้อื่นถือเป็นค่าจ้างได้หรือไม่ Aได้ หากเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน มีลักษณะการจ่ายเป็นประจำ และเป็นจำนวนที่แน่นอน เช่น ค่าตำแหน่ง ค่าพาหนะ เป็นต้น • ค่าจ้างที่จ่ายต้องเป็นค่าจ้างตามสัญญาไม่ใช่ค่าจ้างที่จ่ายตามจริง

  5. 1. ค่าจ้าง (ต่อ) Qเงินตกเบิกจะถือเป็นค่าจ้างได้หรือไม่ A ได้หรือไม่ได้ พิจารณาจาก 1. ลูกจ้างเกิดสิทธิขึ้น ณ วันใด 2. มีนิติสัมพันธ์เป็นนายจ้าง/ลูกจ้าง 3. ลูกจ้างมีสถานะเป็นสมาชิกภาพในกองทุน

  6. 1. ค่าจ้าง (ต่อ) ตัวอย่าง 30 ก.ย. 49 2 พ.ย. 49 19 พ.ย. 49 ลูกจ้าง ค.ร.ม. มีมติ หน่วยงานของรัฐ ลาออกจากงาน ปรับอัตราค่าจ้าง มีคำสั่งปรับค่าจ้าง ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 49 1 เม.ย. 49 ลูกจ้างที่ออกจากงานเมื่อ 30 ก.ย. 49 มีสิทธิได้รับเงินสมทบจากนายจ้างหรือไม่ ?

  7. 2. ค่าใช้จ่ายในการจ่ายเงินให้สมาชิก Qบริษัทจัดการสามารถหักค่าใช้จ่ายในการจ่ายเงิน จากเงินของสมาชิกได้หรือไม่ A ขึ้นกับประเภทค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1. ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการจ่ายเงินให้สมาชิกสามารถหักจาก เงินที่จ่ายให้สมาชิกได้ และต้องจัดให้มีหลักฐานที่แสดง ได้ว่าบริษัทจัดการได้คำนวณเงินที่จ่ายให้ตามสิทธิ ของสมาชิกก่อนหักค่าใช้จ่าย 2. ค่าใช้จ่ายในการวางทรัพย์ไม่สามารถกำหนดให้หัก จากเงินของสมาชิกที่จะนำไปวางทรัพย์

  8. 3.สมาชิกภาพ Qนายจ้างไล่พนักงานออก โดยจ่ายเฉพาะเงินสะสมและผลประโยชน์ ต่อมาพนักงานอุทธรณ์คำสั่งของนายจ้าง ซึ่งนายจ้างได้มีมติยกเลิกคำสั่งดังกล่าว และรับพนักงานกลับเข้าทำงาน พนักงานสามารถนำเงินกลับเข้ากองทุนได้หรือไม่

  9. 3.สมาชิกภาพ (ต่อ) Aได้ เพราะผลของการอุทธรณ์แสดงว่ายังมีสถานะเป็นพนักงานมาโดยตลอด • นายจ้างมีหน้าที่นำส่งเงินสะสม และเงินสมทบในเงินค่าจ้างย้อนหลัง ไม่มีประเด็นเงินเพิ่ม • อายุสมาชิกต่อเนื่อง

  10. 4. กรรมการกองทุน Qกรรมการกองทุนสามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเข้าประชุมแทนได้หรือไม่ Aไม่ได้ เนื่องจากการทำหน้าที่ของกรรมการกองทุน เป็นหน้าที่เฉพาะตัว เช่น การเข้าประชุม การออกเสียง เป็นต้นความสำคัญของกรรมการกองทุน • เป็นผู้ไดัรับความไว้วางใจให้ปฎิบัติหน้าที่ • เป็นผู้กำหนดแนวทางในการดำเนินกิจการของกองทุน

  11. 4. กรรมการกองทุน (ต่อ) Q ผู้ใดสามารถเป็นกรรมการกองทุนได้ A ผู้แทนซึ่งลูกจ้างเลือกตั้งและผู้แทนซึ่งนายจ้างแต่งตั้ง Q ผู้ใดมีสิทธิเลือกกรรมการกองทุนฝ่ายลูกจ้าง A ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนนั้น

  12. 4. กรรมการกองทุน (ต่อ) Qบริษัทจัดการมีหน้าที่ในการดำเนินการแจ้งการสิ้นสมาชิกภาพหรือไม่ A ไม่มี เพราะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุน แต่บริษัทจัดการมีหน้าที่ติดตามการแจ้งสิ้นสมาชิกภาพของสมาชิก ตามข้อ 3.3.9 ของประกาศที่ อข./น. 5/2549 เรื่อง แนวทางปฎิบัติเกี่ยวกับระบบงานการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน ลงวันที่ 8 มี.ค. 2549

  13. 5. การจ่ายเงินให้สมาชิก Qการจ่ายเงินให้สมาชิกควรปฏิบัติอย่างไร เมื่อข้อบังคับกองทุนแย้งกับข้อบังคับการทำงานตัวอย่างข้อบังคับกองทุนกำหนดให้พนักงานที่ปฏิบัติผิดวินัยมีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ แต่ข้อบังคับการทำงานกำหนดให้พนักงานที่ปฏิบัติผิดวินัยไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Aให้ยึดถือตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  14. 6. การนำเงินกองทุนไปค้ำประกันเงินกู้ Qสมาชิกสามารถนำเงินกองทุนในส่วนของตนเอง ไปค้ำประกันเงินกู้ได้หรือไม่ Aไม่ได้เนื่องจาก • กองทุนมีสภาพเป็นนิติบุคคล • สมาชิกจะได้รับเงินจากกองทุนเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ ตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ

  15. 7. การเสียภาษีกรณีสมาชิกเกษียณอายุแล้วทำงานต่อ Q สมาชิกได้เกษียณอายุแล้ว บริษัทประสงค์จะให้สมาชิกทำงานต่อ การได้รับสิทธิยกเว้นทางภาษีเงินกองทุนของสมาชิกเป็นอย่างไร A สมาชิกจะได้รับสิทธิยกเว้นทางภาษีเฉพาะเงินกองทุนที่สมาชิก ทำงานจนเกษียณอายุ ส่วนเงินกองทุนที่สมาชิกเริ่มทำงานต่อ ให้เริ่มคำนวณภาษีใหม่

  16. 8. สมาชิกเสียชีวิตก่อนนำส่งเงินเข้ากองทุน Qเมื่อพนักงานสมัครเป็นสมาชิกกองทุนแล้วยังไม่เคยนำส่งเงินเข้ากองทุนเลย ต่อมาได้เสียชีวิตลง สิทธิของพนักงานเป็นอย่างไร Aเมื่อเป็นสมาชิกแล้ว ย่อมมีสิทธิตามที่ข้อบังคับกองทุนกำหนดแม้สมาชิกจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม เช่น เงินสมทบที่สมาชิกมีสิทธิได้รับ รวมถึงเงื่อนไขตามข้อบังคับกองทุน

  17. 9. สมาชิกลาออกจากงานแล้วต่อมาเสียชีวิต Qเมื่อสมาชิกลาออกจากงานแล้ว ต่อมาสมาชิกได้เสียชีวิตลงบริษัทจัดการควรจ่ายเงินให้ใคร Aบริษัทจัดการมีหน้าที่จ่ายเงินตามมาตรา 23 แห่งพ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯโดยจ่ายเงินให้แก่ทายาท ไม่ใช่ผู้รับประโยชน์ เนื่องจากเป็นกรณีสิ้นสมาชิกภาพด้วยเหตุลาออกจากงาน ไม่ใช่ด้วยเหตุเสียชีวิต

  18. 10. ชื่อผู้รับประโยชน์ไม่ตรงกับที่ได้แจ้งไว้กับบริษัทจัดการ Qกรณีสมาชิกเสียชีวิต ซึ่งผู้รับประโยชน์ที่มารับเงินเป็น บุคคลเดียวกันกับที่ระบุในหนังสือผู้รับประโยชน์ แต่ชื่อผู้รับประโยชน์ไม่ตรงกัน บริษัทจัดการจะจ่ายเงินอย่างไร Aบริษัทจัดการมีหน้าที่จ่ายเงินตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ โดยใช้ดุลยพินิจ ในการพิจารณาเอกสารหลักฐานในการจ่ายเงิน เช่น สูติบัตร ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล เป็นต้น

  19. 11. ผู้รับประโยชน์เป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ทายาท Qกรณีสมาชิกเสียชีวิต และผู้รับประโยชน์เป็นบุคคลอื่น ไม่ใช่เครือญาติ ต่อมามีทายาทตามกฎหมายเรียกร้อง เงินกองทุน และแจ้งให้บริษัทจัดการทราบว่า ผู้รับประโยชน์ เป็นผู้ทำให้สมาชิกเสียชีวิต บริษัทจัดการจะจ่ายเงินให้ใคร Aบริษัทจัดการมีหน้าที่จ่ายเงินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับกองทุน ในกรณีนี้บริษัทจัดการต้องจ่ายให้ผู้รับประโยชน์

  20. 12. ผู้รับประโยชน์เสียชีวิตก่อนสมาชิก Q กรณีผู้รับผลประโยชน์เสียชีวิตก่อนสมาชิกบริษัทจัดการจะจ่ายเงินให้ใคร - กรณีระบุผู้รับผลประโยชน์ 2 ราย แต่ผู้รับผลประโยชน์ เสียชีวิตก่อนสมาชิก 1 ราย ผู้รับผลประโยชน์รายที่เหลือ ได้รับเงินจากกองทุนทั้งหมดหรือไม่ Aส่วนของผู้รับผลประโยชน์ที่เสียชีวิตให้ตกเป็นของบุคคล ตามมาตรา 23 วรรค 2

  21. 12. ผู้รับประโยชน์เสียชีวิตก่อนสมาชิก (ต่อ) • บุคคลตามมาตรา 23 วรรค 2(1) บุตรให้ได้รับสองส่วน แต่ถ้ามีบุตร 3 คนขึ้นไป ให้ได้รับ 3 ส่วน (2) สามีหรือภริยาให้ได้รับ 1 ส่วน(3) บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ ให้ได้รับ 1 ส่วน

  22. 12. ผู้รับประโยชน์เสียชีวิตก่อนสมาชิก (ต่อ) Q กรณีสมาชิกผู้ตายระบุผู้รับผลประโยชน์ 1 ราย ต่อมาผู้รับผลประโยชน์รายนี้เสียชีวิตก่อนสมาชิก และทายาทของสมาชิกเสียชีวิตทั้งหมด A ส่วนของผู้รับผลประโยชน์ที่เสียชีวิตตกแก่บุคคลตามที่กำหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  23. 13. การจดทะเบียนเพิ่มนายจ้าง Qการจดทะเบียนเพิ่มนายจ้าง กรณีการลงลายมือชื่อในเอกสารคำรับรองกรณีเพิ่มนายจ้าง ผู้แทนของฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างเป็นบุคคลเดียวกันได้หรือไม่ Aไม่ได้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกองทุนและลักษณะการจัดตั้งกองทุนกำหนดให้กองทุนจัดตั้งขึ้นโดยนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้าง

  24. II.ลักษณะของข้อบังคับ กองทุนที่ดี (POP LINE) 24

  25. ลักษณะของข้อบังคับกองทุนที่ดี (POPLINE) L awful ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ของกองทุน I nterest คำนึงถึงผลประโยชน์ของสมาชิก N eat ชัดเจน E nforceable ปฏิบัติได้ 25

  26. 1. ข้อบังคับที่ขัดต่อกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ของกองทุน (Lawful) อาจพิจารณาเป็น 2 ลักษณะ 1. ข้อบังคับที่ขัดต่อกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ชัดเจน เช่น - ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง(ขัด ม.10) - ให้ผจก.กองทุนจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้างได้ 2 ครั้ง ภายในเวลา ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันสิ้นสมาชิกภาพ (ขัดม.23) - ให้นายจ้างมีสิทธิหักหนี้สินของสมาชิกจากเงินกองทุนได้ (ขัด ม.24)

  27. 1.ข้อบังคับที่ขัดต่อกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ของกองทุน(Lawful)1.ข้อบังคับที่ขัดต่อกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ของกองทุน(Lawful) 2. ข้อบังคับที่ขัดต่อกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ อันเกิดจากการตีความกฎหมาย เช่น - คุณสมบัติสมาชิก - การจ่ายเงินจากกองทุน - เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้

  28. 1. ข้อบังคับที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ของกองทุน(Lawful) คุณสมบัติของสมาชิก ไม่รับจด รับจด ลูกจ้างที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำของบริษัท ต้องสมัครเป็นสมาชิกกองทุน ลูกจ้างที่ได้รับการบรรจุเป็น พนักงานประจำของบริษัท สามารถสมัครเป็นสมาชิก กองทุน

  29. 1. ข้อบังคับที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ของกองทุน (Lawful) การจ่ายเงินจากกองทุน รับจด ไม่รับจด

  30. 1. ข้อบังคับที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ของกองทุน (Lawful) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ ไม่รับจด รับจด • เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ ทำการจัดสรรแก่สมาชิกทุกรายใน กองทุน • เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ ทำการจัดสรรแก่สมาชิกทุกราย เฉพาะส่วนของนายจ้างในกองทุน เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนให้ตก เป็นของสมาชิกรายใด รายหนึ่งได้

  31. 2. ข้อบังคับที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของสมาชิก (Interest) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้

  32. 2. ข้อบังคับที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของสมาชิก (Interest) สมาชิกเปลี่ยนงาน

  33. 2. ข้อบังคับที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของสมาชิก (Interest) คณะกรรมการกองทุนพ้นตำแหน่งตามวาระ

  34. 3. ข้อบังคับที่ชัดเจน (Neat)

  35. 3. ข้อบังคับที่ชัดเจน (Neat)

  36. 3. ข้อบังคับที่ชัดเจน (Neat)

  37. 3. ข้อบังคับที่ชัดเจน (Neat)

  38. 4. ข้อบังคับที่ปฏิบัติได้ (Enforceable)

  39. 4. ข้อบังคับที่ปฏิบัติได้ (Enforceable)

  40. III.ข้อสังเกตจากการตรวจสอบงานทะเบียนIII.ข้อสังเกตจากการตรวจสอบงานทะเบียน สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 40

  41. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับงานทะเบียนสมาชิกกองทุนแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับงานทะเบียนสมาชิกกองทุน • ให้บริษัทจัดการประเมินผลการปฏิบัติงานทะเบียนสมาชิกกองทุนและรายงานผลการประเมินฯ ต่อสำนักงานภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ตามประกาศที่ สข/น. 1/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน ลงวันที่ 7 ก.พ. 2549 • บริษัทจัดการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐานงานทะเบียนสมาชิกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้เป็นไปตามประกาศที่ อข./น. 5/2549 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบงานการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน ลงวันที่ 8 มี.ค. 2549

  42. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับงานทะเบียนสมาชิกกองทุนแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับงานทะเบียนสมาชิกกองทุน • แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับงานทะเบียนสมาชิกกองทุนฯ1. ระบบการควบคุมภายใน - การจัดเก็บเอกสารและข้อมูล - การรักษาความปลอดภัยของเอกสารและข้อมูล - การดูแลสายการปฏิบัติงาน2. การนำส่งเงินเข้ากองทุน3. ทะเบียนสมาชิกกองทุน4. การจ่ายเงินให้กับสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพ

  43. 1. การจ่ายเงินไม่เป็นไปตามข้อบังคับกองทุน • ตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯกำหนดให้ ผู้จัดการกองทุนจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน • บริษัทจัดการจ่ายเงินไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับกองทุนสาเหตุ1. ดำเนินการตามที่คณะกรรมการกองทุนแจ้งโดยไม่ได้ ตรวจสอบกับข้อบังคับกองทุน2. พิจารณาการจ่ายเงินจากที่คีย์ข้อมูลเข้าระบบงาน โดยไม่ได้สอบทานกับข้อบังคับกองทุน

  44. 2. การส่งเอกสาร • บริษัทไม่ได้ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งคณะกรรมการกองทุน เรื่อง การกำหนดเวลาปิดรับเอกสารของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งบริษัทอนุโลมให้ส่งได้เกินวันเวลาที่กำหนดผลกระทบการใช้วันคำนวณจำนวนหน่วยไม่ถูกต้องตามหนังสือแจ้งคณะกรรมการกองทุน อันอาจเป็นเหตุให้สมาชิกกองทุนโต้แย้งได้

  45. 3. การจัดเก็บเอกสาร • การจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับการนำส่งเงินเข้ากองทุนวันคำนวณจำนวนหน่วย และการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกไม่ปลอดภัยจากผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น- อยู่ในบริเวณที่มีผู้อื่นสามารถเข้าถึงเอกสารได้- ไม่ได้มีการปิดล็อคตู้เก็บเอกสาร หรือห้องที่จัดเก็บไว้ ในระหว่างวัน

  46. 4. การสอบทานงานระหว่างกัน • 4.1 ระบบการสอบยันการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบกองทุนคีย์ข้อมูลเงินนำส่งและตรวจทานเองอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการนำข้อมูลเข้าระบบได้ • 4.2 ระบบการควบคุมการรับเอกสาร เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเป็นผู้บันทึกวันที่รับเอกสารการนำส่งเงินและการแจ้งสิ้นสมาชิกภาพจากคณะกรรมการกองทุน ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการกำหนดวันคำนวณจำนวนหน่วย (tradedate)

  47. 4. การสอบทานงานระหว่างกัน (ต่อ) • 4.3 ระบบควบคุมการบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลอัตราการจ่ายเงินจากกองทุนเข้าระบบ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบกองทุนเป็นผู้บันทึกข้อมูลเงื่อนไขอัตราการจ่ายเงินกองทุนเข้าระบบ ซึ่งไม่ได้มีรายงานควบคุมการบันทึกหรือแก้ไขข้อมูล อาจเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบกองทุนบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลโดยพลการได้

  48. ปัญหา - คำถาม - ข้อสงสัย โปรดติดต่อ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ฝ่ายกำกับธุรกิจแนะนำการลงทุน โทร. 0-2263-6068 , 0-2263-6078 www.thaipvd.com

More Related