1 / 37

ความทนทานของคอนกรีต

ความทนทานของคอนกรีต. จัดทำโดย นาย พีร์รัชต์ เลขขำ รหั ส 5210110416 สาขาวิศวกรรมศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 3. ความทนทานของคอนกรีต. ความทนทานของคอนกรีตเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก ประการหนึ่งซึ่งหมายถึงความสามารถในการทนต่อการ

curry
Download Presentation

ความทนทานของคอนกรีต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความทนทานของคอนกรีต

  2. จัดทำโดย นายพีร์รัชต์ เลขขำ รหัส5210110416 สาขาวิศวกรรมศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 3

  3. ความทนทานของคอนกรีต ความทนทานของคอนกรีตเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก ประการหนึ่งซึ่งหมายถึงความสามารถในการทนต่อการ เปลี่ยนแปลงต่อสภาพแวดล้อม ทนต่อการทำลายจากสารเคมี ทนต่อแรงกระแทกหรือการกระทำอื่นๆตลอดอายุการใช้งานของโครงสร้างนั้น

  4. ความทนทานของคอนกรีต เมื่อกล่าวถึงคอนกรีต กำลังอัด เป็นคุณสมบัติประการแรกและประการสำคัญที่ผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงานก่อสร้างผู้รับเหมา คำนึงถึง รวมทั้งข้อกำหนดสำหรับงานก่อสร้างต่างๆล้วนระบุถึงกำลังคอนกรีตของโครงสร้างที่ออกแบบไว้ แต่คุณสมบัติที่สำคัญมากที่มักจะถูกมองข้ามนั้นคือ ความทนทาน (Durability)

  5. คอนกรีตที่ทนทานจะต้องคงสภาพได้งานตลอดอายุการใช้งาน สิ่งก่อสร้างคอนกรีตจำนวนมากที่ถูกออกแบบและก่อสร้างโดยไม่คำนึงถึงความทนทานจึงส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างมากในปัจจุบันทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลในการซ่อมแซมรวมทั้งอายุการใช้งานของสิ่งก่อสร้างนั้นก็จะลดลงด้วย

  6. ต้นเหตุที่ทำให้คอนกรีตขาดความทนทาน และเกิดความเสียหาย สามารถสรุปได้ 3ประการใหญ่ๆ คือ 1.) สาเหตุด้านกายภาพ (Physical) 2.)สาเหตุด้านเคมี(Chemical) 3.)สาเหตุด้านกล(Mechanical)

  7. นอกจากตัวคอนกรีตที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการใช้งานแล้ว การที่จะได้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความทนทานจะต้อง อาศัยองค์ประกอบอื่นๆ อีกตั้งแต่การออกแบบโครงสร้างจนถึงการ ใช้งาน ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 4 ขั้นตอนคือ 1) การออกแบบที่ดี 2) ข้อกำหนดที่เหมาะสม 3) การก่อสร้างที่ดี 4) การบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ

  8. ในบทนี้ขอกล่าวถึงปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีผลต่อความทนทานของคอนกรีตนั่นคือ ความสามารถในการซึมผ่านขอน้ำสู่คอนกรีต (Permeability)และขบวนการซึมผ่านของน้ำ ความชื้น และอากาศสู่คอนกรีต

  9. ความสามารถซึมผ่านได้ (Permeability) ความสามารถซึมผ่านของน้ำ คือ ความสะดวกหรือง่ายซึ่งของเหลวหรือก๊าซ สามารถซึมผ่านคอนกรีต คุณสมบัตินี้จะเป็นตัวชี้บ่งว่าคอนกรีตในโครงสร้างนั้นๆ จะทนทานมากน้อยเพียงใด

  10. ถึงแม้ว่าจะไม่มีการกำหนดวิธีการทดสอบ แต่ความสามารถซึมผ่านของน้ำ สามารถวัดได้โดยน้ำที่มีความดัน ดันผ่านคอนกรีตเมื่อถึงสภาพที่คอนกรีตอิ่มตัวน้ำจะซึมผ่านคอนกรีตนั้นออกมาทำการวัดปริมาณน้ำนี้ในช่วงเวลาหนึ่งรวมทั้งวัดความหนาของคอนกรีต โดยความสามารถซึมผ่านของน้ำจะถูกแสดงออกมาในรูปของสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของน้ำ ดังสมการของ Dracy

  11. สมการของ Darcy คือ อัตราการไหลของน้ำ A คือ ขนาดหน้าตัดของตัวอย่าง คือ การลดลงของ Hydraulic head L คือ ความหนาของก้อนตัวอย่าง K คือ ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของน้ำมีหน่วยเป็น ม./ วินาที

  12. 10 8 รูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สัมประสิทธิ์การซึมผ่านของน้ำ และความพรุนภายในเนื้อคอนกรีต • 6 สัมประสิทธิ์การซึมผ่าน( ×10-12 ม. / วินาที) • 4 • 2 • 0 • 10 • 20 • 30 ความพรุน ( %)

  13. นอกจากนี้ยังมีการทดสอบมาตรฐานของประเทศอังกฤษ คือ การ ทดสอบการดูดซึมน้ำของผิวคอนกรีต ( Initial Surface Absorption ) ซึ่งเป็นอัตราการไหลของน้ำเข้าไปในคอนกรีตต่อหน่วยพื้นที่ภายใน เวลาที่กำหนด เครื่องทดสอบ การดูดซึมน้ำของผิวคอนกรีต

  14. สำหรับคอนกรีตที่ใช้ทั่วๆไป ความสามารถในการซึมผ่านของน้ำ จะถูกควบคุมโดยความพรุนของซีเมนต์เพสต์โดยความพรุน (Capillary Porosity )จะมากน้อยขึ้นกับอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์และความสมบูรณ์ของปฏิกิริยาไฮเดรชั่น ( Degree of Hydration )

  15. 140 120 100 80 สัมประสิทธิ์การซึมผ่าน( ×10-12 ม. / วินาที) 60 40 20 0.2 0.3 0.4 0.5 0.6 0.7 0.8 อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ รูปความสัมพันธ์ระหว่างการซึมผ่านของน้ำกับอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์

  16. จากรูปความสัมพันธ์ระหว่างการซึมผ่านของน้ำกับจากรูปความสัมพันธ์ระหว่างการซึมผ่านของน้ำกับ อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์แสดงให้เห็นว่า ณ ความสมบูรณ์ ของปฏิกิริยาไฮเดรชั่นที่กำหนด ความสามารถซึมผ่านได้ จะต่ำสำหรับเพสต์ที่มีอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ต่ำโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในช่วงที่ w/c ต่ำกว่า 0.60

  17. ช่องทางไหลของน้ำ(Capillary)จะถูกแบ่งหรือทำช่องทางไหลของน้ำ(Capillary)จะถูกแบ่งหรือทำ ให้แยกออกไม่ต่อเนื่องกัน ในส่วนผสมที่กำหนด w/c ให้ความสามารถการซึมผ่านลดลงถ้าปูนซีเมนต์มีการ เกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่นลดลงอย่างต่อเนื่องดังรูป ความสามารถการซึมผ่านของน้ำลดลงเมื่อปฏิกิริยา ไฮเดรชั่นสมบูรณ์ขึ้น

  18. 10-4 10-6 10-8 สัมประสิทธิ์การซึมผ่านของน้ำ ( ม. / วินาที) 10-10 10-12 10-14 0 10 20 30 อายุคอนกรีต (วัน) รูปความสามารถซึมผ่านของน้ำลดลงเมื่อปฏิกิริยาไฮเดรชั่นสมบูรณ์ขึ้น

  19. การสามารถซึมผ่านของน้ำไม่ใช่เป็นสัดส่วน โดยตรงกับความพรุนของเนื้อคอนกรีต จาก รูปแสดงให้เห็นว่าคอนกรีตทั้ง 2 มีความพรุน เท่ากัน แต่มีความสามารถในการซึมผ่านของน้ำ แตกต่างกัน

  20. Capillary pores C-S-H framework (a) Capillary pores C-S-H framework (b) รูปคอนกรีตมีความพรุนเท่ากัน แต่ (a) การซึมผ่านของน้ำสูง – เนื่องจาก Capillary Pore เชื่อมต่อกัน (b)การซึมผ่านของน้ำต่ำ – เนื่องจาก Capillary Pore แยกจากกัน

  21. จะเห็นได้ว่าเฉพาะ Capillary Pore ที่เชื่อมกันจะ ก่อให้เกิดการซึมผ่านของน้ำสูงในขณะที่ความพรุนเท่ากัน เมื่อพิจารณาในเรื่อง ความทนทานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้คอนกรีตเกิดความสามารถซึมผ่านของน้ำที่ต่ำ (Low Permeability) ในเวลาที่เร็วที่สุดนั่นคือควรเลือกใช้คอนกรีตที่มีอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ต่ำ

  22. นอกจากอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์แล้วการทำให้คอนกรีตอัดแน่นและการบ่มยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่จะทำให้การซึมผ่านของน้ำต่ำช่วยให้คอนกรีตมีความทนทานสูงขึ้น

  23. ขบวนการซึมผ่านของน้ำ ความชื้น และ อากาศ ขบวนการที่ทำให้คอนกรีตเสียหาย หรือขาดความทนทานส่วนใหญ่มาจากการที่น้ำ ความชื้นหรืออากาศซึมผ่านช่องว่างที่ต่อเนื่อง หรือรอยแตกร้าวของคอนกรีต โดยทั้งน้ำและอากาศที่ซึมผ่านนี้จะนำพาสารที่เป็นอันตรายเข้าไปในเนื้อคอนกรีตเมื่อมีปริมาณที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดความเสียหาย ขบวนการซึมผ่านของน้ำ สามารถเขียนเป็นแผนภาพดังนี้

  24. คอนกรีตชายฝั่งทะเล (Marine Concrete)

  25. สาเหตุที่มีการผลิต Marine Concrete เนื่องจากโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องสัมผัสน้ำทะเลน้ำกร่อยหรืออยู่บริเวณชายฝั่ง รวมทั้งโครงสร้างใต้ดินบริเวณนั้นจะประสบปัญหาความเสียหายอย่างมากจากสภาพแวดล้อม ดังนั้นในการออกแบบให้โครงสร้างมีอายุการใช้งานตามที่ต้องการจะต้องคำนึงถึงความต้านทานความเสียหายที่จะเกิดขึ้นด้วย ซึ่งคอนกรีตถือว่าเป็นส่วนสำคัญเนื่องจากเป็น "ด่านแรก"ของโครงสร้างที่จะต้านทานความเสียหาย

  26. เดิมมีความเข้าใจกันว่า คอนกรีตที่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ประเภทที่ 5 ซึ่งมีปริมาณ C3A ที่ต่ำจะเหมาะสำหรับโครงสร้างที่สัมผัสน้ำทะเล แต่เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบในน้ำทะเลโดยแท้จริงแล้วพบว่าวิธีการนี้ไม่เพียงพอเสียแล้ว ทั้งนี้เพราะในน้ำทะเล มีปริมาณซัลเฟตอยู่ประมาณ 10% ส่วนคลอไรด์นั้นกลับมีปริมาณถึง 90% ดังนั้นการคำนึงถึงทุกองค์ประกอบของน้ำทะเล ดูจะมีเหตุผลมากกว่าการพิจารณาแต่เพียงซัลเฟตเท่านั้น

  27. นอกจากโครงสร้างสัมผัสน้ำทะเลแล้ว โครงสร้างที่สัมผัสไอทะเล ที่อาจจะอยู่ห่างชายฝั่งหลายกิโลเมตรก็ยังจัดว่าเป็นโครงสร้างที่ต้องคำนึงถึงความต้านทานต่อน้ำทะเลเช่นกัน เนื่องจากเกลือในอากาศสามารถแพร่ไปถึงโครงสร้างที่ห่างจากทะเลถึง 3 กิโลเมตร

  28. คลอไรด์เป็นสาเหตุสำคัญของการกัดกร่อนในเหล็กเสริมคลอไรด์เป็นสาเหตุสำคัญของการกัดกร่อนในเหล็กเสริม คลอไรด์ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในน้ำทะเลจะซึมเข้าสู่เนื้อคอนกรีต โดยคลอไรด์อิสระ(Free Chloride) จะเป็นส่วนสำคัญ ทำให้เหล็กเสริมภายในเกิดสนิม สนิมเหล็กจะทำให้คอนกรีตสูญเสียแรงยึดเกาะกับเหล็กเสริมและจะขยายตัวดันให้คอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมหลุดร่อนนอกจากนั้นพื้นที่หน้าตัดเหล็กเสริมก็จะลดลงจนทำให้โครงสร้างพังทลายได้

  29. คุณสมบัติของ Marine Concrete ที่เหมาะสมกับงานโครงสร้างบริเวณชายฝั่งทะเล - ความสามารถทนทานต่อการแพร่ของคลอไรด์ - การเพิ่มความสามารถในการจับยึดคลอไรด์ในคอนกรีต(Chloride Binding Capacity) การใช้วัสดุเชื่อมประสานที่เหมาะสม ได้แก่ ปูนซีเมนต์ชนิดที่มีปริมาณ C3A เหมาะสม และวัสดุปอซโซลานจะช่วยลดการแพร่ของคลอไรด์

  30. - ความสามารถทนทานต่อแมกนีเซียมซัลเฟต ด้วยความทึบน้ำที่ดีเยี่ยมของ CPAC Marine Concrete แมกนีเซียมอิออนจะแพร่เข้าไปทำลาย CSH ได้ยาก นอกจากนั้น Ca(OH)2 ซึ่งเป็นสารประกอบที่ก่อให้เกิดการขยายตัวก็จะลดลงจากปฏิกริยาปอซโซลานด้วยเช่นกัน

  31. -ความสามารถทนทานต่อแรงกระทำทางกายภาพ คุณสมบัตินี้ออกแบบมาเพื่อให้สามารถต้านทานต่อแรงกระแทกของคลื่นและการขัดสีของกรวด ทราย โดย CPAC Marine Concrete สามารถอัดแน่นได้ง่ายซึ่งจะทำให้คอนกรีตมีเนื้อสม่ำเสมอ และได้ระยะหุ้มตามต้องการ ดังเห็นได้จากผลทดสอบความสามารถในการต้านทานการขัดสีของ CPAC Marine Concrete ที่มีค่าสูงกว่าคอนกรีตทั่วไปอย่างชัดเจน

  32. เหล็กเสริมภายในโครงสร้างที่สัมผัสน้ำทะเลหรือน้ำกร่อยจะเสียหายจากการกัดกร่อนของคลอไรด์เหล็กเสริมภายในโครงสร้างที่สัมผัสน้ำทะเลหรือน้ำกร่อยจะเสียหายจากการกัดกร่อนของคลอไรด์

  33. จบการนำเสนอ

More Related