1 / 66

อำเภอเมืองพะเยา มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขา มีทะเลสาบอยู่กลางเมือง

การดำเนินงานแก้ไขปัญหาสุขภาพ เครือข่ายสุขภาพอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. ข้อมูลทั่วไป. อำเภอเมืองพะเยา มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขา มีทะเลสาบอยู่กลางเมือง. ประชากร 129,634 คน. สัดส่วนชาย : หญิง =1:1.01 คน.

crevan
Download Presentation

อำเภอเมืองพะเยา มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขา มีทะเลสาบอยู่กลางเมือง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การดำเนินงานแก้ไขปัญหาสุขภาพ เครือข่ายสุขภาพอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

  2. ข้อมูลทั่วไป อำเภอเมืองพะเยา มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขา มีทะเลสาบอยู่กลางเมือง ประชากร 129,634 คน สัดส่วนชาย:หญิง =1:1.01คน

  3. บริบททั่วไปอำเภอเมืองพะเยา บริบททั่วไปอำเภอเมืองพะเยา เมือง ประชากร 129,635 ชาย 61,533 หญิง 68,102 กึ่งเมือง/ชนบท ชนบท 13 ตำบล (111,946) 2 ชุมชน (เทศบาล 17,689 คน) รพท. 1 แห่ง /รพ.เอกชน 1 แห่ง คลินิกเอกชน 59 แห่ง

  4. แผนที่ อ.เมืองพะเยา สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ • รพ.สต. 15 แห่ง • ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 แห่ง(เทศบาล) • ศูนย์การแพทย์ 1 แห่ง (ม.พะเยา) • โรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง (รพ.พะเยา) • โรงพยาบาลสังกัดอื่น 1 แห่ง (รพ.ค่ายขุนเจืองฯ) • โรงพยาบาลเอกชน 1 แห่ง (รพ.พะเยาราม) • คลินิกเอกชน 23 แห่ง

  5. ปิรามิดประชากร

  6. อัตราเพิ่มตามธรรมชาติ 2545- 2555

  7. วิสัยทัศน์สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยาวิสัยทัศน์สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ที่มีความเป็นเลิศ ด้านการพัฒนาระบบและกลไก งานสาธารณสุขระดับอำเภอโดยชุมชนมีส่วนร่วม ให้ประชาชน“สุขภาพดีตามวิถีคนเมืองพะเยา” ค่านิยม “คุณภาพ คุณค่า คุณธรรม” Quality of moral values

  8. พันธกิจของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยาพันธกิจของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยา เสริมสร้างระบบกลไกในการบริหารจัดการ ทั้งด้านการพัฒนายุทธศาสตร์และแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ งานประกันสุขภาพ , บริหารราชการประจำทั่วไปเพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวง และ จังหวัด สนับสนุนการจัดระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ กำกับดูแลติดตามและประเมินผลเพื่อให้ประชาชน ได้รับบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิแบบองค์รวมที่มีคุณภาพ มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเสริมสุขภาพ, การควบคุมโรคติดต่อ, โรคไม่ติดต่อ, และงานทันตสาธารณสุข ดูแลการจัดการสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิ ด้านสุขภาพ ของประชาชน และการบังคับใช้กฎหมาย ประสานความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,พัฒนาความร่วมมือทั้งภาครัฐท้องถิ่นเอกชน และภาคประชาชนในการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรคอย่างถูกต้อง

  9. สรุปปัญหาด้านสุขภาพ อำเภอเมืองพะเยา ปี 2556

  10. 1 กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนในพื้นที่อ.เมืองพะเยา อันดับ ๑ ได้แก่ โรคระบบไหลเวียนเลือด ๑๙๔ ราย(ร้อยละ ๒๖.๕๐ ของการเสียชีวิตทั้งหมด) รองลงมาคือ มะเร็ง ๑๓๓ ราย (ร้อยละ ๑๘.๑๗) โรคระบบหายใจ ๙๕ ราย (ร้อยละ๑๒.๙๘) โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตาบอลิก๘๙ ราย (ร้อยละ ๑๒.๑๖) 2 ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ โรคไม่ติดต่อกลุ่มโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดมีอัตราชุกในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่าประชากรกลุ่มอื่น ๆ รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งขาดผู้ดูแลใกล้ชิดและต่อเนื่อง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมามากมาย

  11. 3 โรคติดต่อ(ไข้เลือดออก,มือเท้าปาก) ในปี ๒๕๕๖ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ๓๑๖ ราย คิดเป็น ๒๔๓.๗๖ ต่อประชากรแสนคน (ค่าปกติไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร) พบมากในกลุ่มนักเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน มากที่สุดใน ต.บ้านต๋อม รองลงมาคือ ต.จำป่าหวาย (๔๓๗.๐๗ และ ๔๑๒.๗๔ ต่อแสนประชากร ตามลำดับ) 4 อุบัติเหตุ อำเภอเมืองพะเยามีจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ๓๑ ราย (ร้อยละ ๔.๒๓) ไม่เพียงเกิดในช่วงเทศกาลเท่านั้น แต่พบได้ตลอดทั้งปี เป็นกลุ่มวัยรุ่นมากที่สุด และมีอัตราเสียชีวิตสูงในผู้ที่ไม่สวมหมวกกันน็อค หรือไม่คาดเข็มขัดนิรภัย รวมถึงผู้ขับขี่ที่ดื่มแอลกอฮอล์ ถนนสายหลักที่พบอุบัติเหตุมากที่สุดได้แก่ถนนพหลโยธิน ถนนสายพะเยา-ป่าแดด และสายแม่นาเรือ – แม่ใจ ตามลำดับ

  12. 5 ปัญหาด้านสุขภาพจิต ปี ๒๕๕๕ มีผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย ๔๕ คน ฆ่าตัวตายสำเร็จ ๒๑ ราย (อัตรา การฆ่าตัวตายสำเร็จร้อยละ ๘๙.๖๕) โดยคิดเป็นร้อยละ ๒.๘๗ ของสาเหตุ การเสียชีวิตทั้งหมดและแม้จะมีการประเมินคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตอย่าง ต่อเนื่องในกลุ่มเสี่ยงแต่สาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งคือสุราและสารเสพติดปัญหา จัดการความเครียดและภาวะซึมเศร้าที่เนื่องมาจากปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ ซึ่งต้องอาศัยกลไกการสนับสนุนทางสังคมอย่างจริงจัง 6 ปัญหาด้านทันตสาธารณสุข ปัญหาที่พบจะเป็นโรคฟันผุของฟันน้ำนมในเด็กปฐมวัย และในช่วงอายุ๕-๖ ปี พบว่าผู้ที่มีฟันแท้ผุถึงร้อยละ ๔๑.๑ โดยพบผุมากที่ฟันกรามล่าง และบนทั้งนี้พบแนวโน้มการผุของฟันน้ำนมเพิ่มสูงขึ้น

  13. 7 อนามัยแม่และเด็ก จำนวนหญิงตั้งครรภ์และเด็กเกิดมีชีพ ในปี ๒๕๕๕ มีทั้งหมด ๔๒๙ ราย มีน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ทั้งหมด ๓๔ ราย= ร้อยละ ๗.๙๓ (เป้าหมาย ไม่เกินร้อยละ ๗) โดยการฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า ๑๒ สัปดาห์ ๖๗.๘๑ (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ ๗๐) และอัตราการฝากครรภ์คุณภาพ ครบ ๔ ครั้ง ร้อยละ ๘๘.๔๕ (เป้าหมายร้อยละ ๑๐๐) ซึ่งอาจส่งผลต่ออาการ แทรกซ้อน จากการตั้งครรภ์และพัฒนาการของเด็กในอนาคตได้

  14. ปัญหาด้านสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยาปัญหาด้านสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยา • กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(Metabolic/NCD) • ปัญหาสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ • ปัญหากลุ่มโรคติดต่อ • ปัญหาอุบัติเหตุ • ปัญหาด้านสุขภาพจิต • ปัญหาสุขภาพในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น • ทันตสาธารณสุข • ปัญหากลุ่มอนามัยแม่และเด็ก

  15. ผลการคัดกรองประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ปี 2555 จำนวน 53,191 คน

  16. นโยบายการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ (DHS) • สถานะสุขภาพ ( Health status ) ของประชาชนในอำเภอดีขึ้น ลดโรคที่เป็นปัญหา ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันความเจ็บป่วยที่ป้องกันได้ และมีศักยภาพในการรับมือกับปัญหาสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงได้ • ประชาชนสามารถดูแลและพึ่งตนเองด้านสุขภาพองค์รวมได้ (Self and Essential care) โดย การมีส่วนร่วมของ ประชาชน ครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น อย่างต่อเนื่อง • ทีมเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS ) มีความเข้มแข็งและมีเอกภาพในการบริหารจัดการอย่างมีเอกภาพ ( Unity District Health Team )

  17. หลักการทำงานร่วมกัน ของ DHS • 1.พัฒนาทีมในการทำงาน • 2.การบริหารจัดการ และ การแบ่งปันทรัพยากร • 3.กำหนดแนวทางการให้บริการอย่างเป็นระบบตามปัญหาและความจำเป็นของพื้นที่ • 4.คุณค่าของการทำงาน มีความสุขและได้รับการยอมรับ

  18. บทบาทเครือข่ายสุขภาพ ระดับอำเภอ (DHS) • เครือข่ายบริการปฐมภูมิ (รพ.สต.) • เป็นหน่วยจัดบริการ • มีกระบวนการเรียนรู้สภาพปัญหาพื้นที่ • สร้างเสริมศักยภาพของสังคมในชุมชน ครอบครัว บุคคล ตามบริบทพื้นที่ บทบาทถ่ายทอดนโยบายไปสู่การปฏิบัติ จาก จังหวัด สู่อำเภอ สู่ตำบล สู่หมู่บ้าน เดิม = CUP ผู้ให้บริการ/ประสานงานจัดบริการในเขต /ส่งเสริม/สนับสนุนการทำงานแบบมีส่วนร่วม ขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพแบบผสมผสาน ( สสอ.+ รพ.+อปท.+ภาคีภาคประชาชน )

  19. เครือข่ายสุขภาพ (DHS) คืออะไร • DHS เป็นกลยุทธ์ ในการเชื่อมโยงระบบการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ • การขับเคลื่อนชุมชนให้เข้มแข็ง มุ่งสู่เป้าเหมาย ชุมชนสุขภาพดีอย่างยั่งยืน โดย ประชาชนต้อง พัฒนาตนเองก่อนไม่ทอดทิ้งกัน และมีเครือข่ายบริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพ ที่ประชาชนเกิดความศรัทธา และไว้วางใจ

  20. หลักการ /แนวคิด DHS ( นพ.สุรเกียรติ อาชานุภาพ)ที่ปรึกษา สปสช.ด้านระบบบริการปฐมภูมิ • เป็นการต่อยอดสายธารการพัฒนาระบบสุขภาพที่เกิดขึ้นมาช้านาน โดยทำให้เกิดระบบที่เชื่อมโยงบูรณาการระบบย่อยๆที่ดำรงอยู่ และต่างก็ทำหน้าที่ของตนให้เกิดเอกภาพและพลังในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ • มุ่งเน้นการสร้างสุขภาพองค์รวมของชุมชน (ระบบสุขภาพชุมชน) โดยการเชื่อมโยงการบริบาลสุขภาพที่โรงพยาบาล (Hospital-base care ) เข้ากับการบริบาลสุขภาพที่ชุมชนและบ้าน (community and home-base care) ซึ่งได้พิสูจน์ว่าสามารถส่งเสริมให้เกิดคุณภาพและผลลัพธ์ที่ดีกว่า การที่แต่ละส่วนแยกกันทำ

  21. หลักการ /แนวคิด DHS ( นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ)ที่ปรึกษา สปสช.ด้านระบบบริการปฐมภูมิ • ภาคีเครือข่ายทุกส่วนจะต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการจัดการกับปัญหาสุขภาพสำคัญ ที่มีอยู่ในพื้นที่ของตน ตาม กระบวนการ “ร่วมคิด –ร่วมทำ-ร่วมเรียนรู้” เพื่อตอบโจทย์ปัญหาพื้นที่ของตนมากกว่าตอบโจทย์ของส่วนกลาง(ตัวชี้วัด) DHS = คปสอ.(โรงพยาบาล+สสอ.+รพ.สต.) +อปท.+ชุมชน+ภาคส่วนต่างๆ

  22. หลักการ /แนวคิด DHS • สร้างกระบวนการใหม่ในการบริหารจัดการ การเรียนรู้ และการพัฒนาองค์ความรู้ • การบริหารจัดการต้องเปลี่ยนจากแนวดิ่ง มาเป็นแนวราบมากขึ้น ทำงานแบบภาคีเครือข่าย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคีทุกภาคส่วน นิเทศงานเชิงสนับสนุน แบบพี่เลี้ยงหรือ coaching • การเรียนรู้ใช้ยุทธศาสตร์ “การเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน CBL” • การพัฒนาองค์ความรู้การรวบรวมองค์ความรู้ การจัดการความรู้ การวิจัยระบบสุขภาพ ไปปรับเปลี่ยนระบบงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous quality improvenment/ CQI)

  23. จุดเริ่มต้นของการพัฒนา เครือข่าย (DHS) (นพ.โสภณ เมฆธน) รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข • พัฒนาศักยภาพกำลังคน(การแพทย์+สาธารณสุข) มาก่อนสิ่งอื่นๆ • สร้างส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านสุขภาพให้บรรลุผลสำเร็จ จาก สิ่งที่มีอยู่ในบริบทปัจจุบัน คือ คปสอ.อปท.ภาคประชาชน/สังคม โดย DHS จะเป็นการเชื่อมโยงกลุ่มเหล่านี้ให้เข้ามา มีส่วนร่วมในการพัฒนางานสุขภาพ ตามนโยบาย/ตัวชี้วัด และแผน 8 Fragshipฯ

  24. DHS ควรประกอบด้วย • ใช้ข้อมูลในพื้นที่ เพื่อนำมาเป็นจุดเริ่มในการดำเนินงานร่วมกัน • กำหนดบทบาทหน้าที่ การดำเนินงานร่วมกัน • มี Intervention เช่น โครงการ/งบประมาณ เพื่อทำตามกิจกรรม ให้บรรลุผลสำเร็จได้

  25. คุณสมบัติผู้ดำเนินการ DHS ให้สำเร็จ • ประกอบด้วย • ใจ (มีใจมุ่งมั่นพัฒนา) • มีทักษะ /มีความรู้ในเรื่องที่จะพัฒนา DHS เป็นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ (ใช้เงินน้อย งานมีคุณภาพ) • มีกระบวนการ M&E (ติดตามหลังการรักษา/ส่งเสริมป้องกัน )

  26. การวัดคุณภาพ การดำเนินงาน • วัดจากผลที่เกิดขึ้นกับประชาชน • วัดกับตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ • ถ้าผลที่ออกมาไม่บรรลุเป้าหมาย ต้องกลับไปดูว่า (คน/เงิน/ของ) กิจกรรม/บริบทตรงจุดไหน ที่จะต้องเติมเงินเข้าไปเพื่อพัฒนา

  27. สร้างแนวทาง มาตรฐาน • ฝึกอบรม • นิเทศงาน • สนับสนุน • ระบบส่งต่อ • ระบบข้อมูล รักษาภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลHOSPITAL CARE บริการแบบ(1A 4C)) - ใกล้บ้านใกล้ใจ - ต่อเนื่อง - ผสมผสาน&องค์รวม - ประสานทุกส่วน - ชุมชนมีส่วนร่วม ระบบการสนับสนุน สสอ./รพ. หน่วยบริการปฐมภูมิ PRIMARY CARE -บริการเชิงรุกป้องกันการเกิดโรค/ดูแลป้องกันเกิดภาวะแทรกซ้อน -สร้างเสริมสุขภาพในชุมชน/ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง เครือข่ายชุมชน • อบต. • องค์กรชุมชน • หมอพื้นบ้าน • วัด การดูแล ผู้ป่วย ที่บ้าน • หน่วยราชการ • ผู้นำชุมชน • องค์กรพัฒนา • อสม. การดูแลสุขภาพตนเอง SELF-CARE รูปแบบการดำเนินงานของเครือข่ายสุขภาพ

  28. แนวทางการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ( DHS ) ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (เบาหวาน/ความดัน) สสอ.เมืองพะเยา รพ.พะเยา ภาคีเครือข่ายร่วมเป็นคณะกรรมการ (นอภ./รพ./สสอ./หน.ส่วนระดับอำเภอ) โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (เบาหวาน/ความดัน) • ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ จัดมหกรรมสุขภาพ • ส่งเสริม/พัฒนาแนวทางการดำเนินงานเชิงรุก ประสาน ฝึกอบรม • นิเทศงาน กำกับ ประเมินผล • ทำแผนแก้ไขปัญหา • พัฒนาระบบการดำเนินงาน/ระบบข้อมูล • สร้างแนวทางมาตรฐาน • ฝึกอบรม ทักษะ วิชาการ • นิเทศงาน สนับสนุนเวชภัณฑ์ • ระบบส่งต่อ /ระบบข้อมูล • รักษาภาวะแทรกซ้อน หน่วยบริการปฐมภูมิ • ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ คัดกรอง เยี่ยมบ้าน • บริการคลินิก DM/HT • ติดตามPalirative care • ส่งต่อกลุ่มเสี่ยง • วิเคราะห์ความเสี่ยง ทำแผนแก้ไขปัญหา • ประสานชุมชน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ.2 ส. Selt-care เครือข่ายชุมชน • แม่บ้าน/อสม.ทำอาหารเพื่อสุขภาพ ถวายพระสงฆ์ • ชุมชนรู้จักการออกกำลังกายสร้างสุขภาพ /การบริโภคที่ปลอดภัย มีแกนนำ/บุคคลต้นแบบ • อปท.สนับสนุนแผน/งบประมาณ • ผู้นำชุมชนส่งเสริม ปชส.การคัดกรอง การเป็นตัวอย่าง ด้าน3อ.2ส. • วัด เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อคุณภาพชีวิต • อสม. ร่วมคัดกรอง ติดตามเยี่ยมบ้าน

  29. กำหนดเป้าหมายร่วมกัน สู่ DHS

  30. การดำเนินงานแก้ไขปัญหา ODOP อำเภอเมืองพะเยา ปี 2556 ภายใต้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพ สร้างความเข้าใจ ระดับผู้บริหาร/ผู้ปฏิบัติงาน/เครือข่ายนำร่อง พัฒนาศักยภาพบุคลากรในระบบ โดย หลักการพัฒนาคุณภาพ ส่งเสริม/พัฒนา การดำเนินงานโรคไม่ติดต่อในระดับ อำเภอ ขยายการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาโรคเบาหวานในภาคส่วนต่างๆ

  31. โดยการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ DHS อ.ปัว จ.น่าน

  32. พัฒนาศักยภาพบุคลากรในระบบ โดย หลักการพัฒนาคุณภาพ 1.ประชุม เชิงปฏิบัติการ การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานระบบ การดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคเบาหวาน (PCA) ในกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานตรง 2.อบรม ทักษะการบูรณาการการพัฒนา คุณภาพ ระบบงานที่ เชื่อมโยงกับ เครือข่ายสุขภาพใน ระดับตำบล

  33. หลักการพัฒนาคุณภาพ PCA เน้นให้เกิดการสะท้อน ให้บุคคลในองค์กร นำไปปรับปรุงพัฒนา ให้ดีขึ้น เน้นความเชื่อมโยงระหว่างระบบย่อย กับระบบใหญ่ ขององค์กร

  34. ส่งเสริม/พัฒนา การดำเนินงานในระดับ อำเภอ • ขับเคลื่อนโครงการชุมชนลดเสี่ยงฯ • การดำเนินงานพัฒนา รพ.สต.ต้นแบบฯ • การดำเนินงานชุมชนต้นแบบฯ • รณรงค์ จัดมหกรรมสุขภาพ สุขภาพดีวิถีคนเมืองพะเยา • นิเทศงาน กำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน • ในระดับ ตำบล/อำเภอ • ทำแผนแก้ไขปัญหา ระดับ สสอ.และ รพ.สต. • พัฒนาระบบการดำเนินงาน/ระบบข้อมูลให้ครบถ้วน ครอบคลุม • - โปรแกรม Hos-xp /Data center

  35. มหกรรมสร้างสุขภาพ”กินดี อยู่ดี สุขภาพดี วิถีคนเมืองพะเยา

  36. จัดบูธนิทรรศการ 3 อ. 2 ส.

  37. ประกวดอาหารเมนู ชูสุขภาพ “ลดหวาน มัน เค็ม”

  38. ภูมิปัญญาพื้นบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาพื้นบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น

  39. ประกวดการออกกำลังกาย

  40. คัดเลือกบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพคัดเลือกบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพ • นางแสงหล้า บุญเรือง ตำบลท่าวังทอง • นางจิตร์ทิวา อินอิ่น ตำบลบ้านใหม่ • นางสุวสา พรหมพิมาน บ้านห้วยเคียน ตำบลแม่กา

  41. ประกาศผลรางวัล

  42. ขยายการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาโรคเบาหวานในภาคส่วนต่างๆขยายการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาโรคเบาหวานในภาคส่วนต่างๆ • สร้างภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพ ( อสม./ผู้นำชุมชน/แม่บ้าน) • อสม.ให้การดูแล ให้คำปรึกษา คำแนะนำ ในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย • อสม./แกนนำชุมชน เฝ้าระวัง ร่วมคัดกรองความเสี่ยงการเกิดโรค • สร้างความตระหนักในสังคม ใส่ใจ ดูแลสุขภาพ ติดป้ายไวนิล ลดอาหารหวาน มัน เค็ม ในงานบุญ งานประเพณีต่างๆ และเลี้ยงน้ำสมุนไพรในงานบุญ • เปิดสปอตวิทยุ / เสียงตามสาย ประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักในชุมชน โดยชุมชน • จัดทำแผนงาน/โครงการคัดกรอง DM/HT ร่วมกับ อปท.ในระดับตำบล

  43. ผลจากการดำเนินงานภายใต้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพผลจากการดำเนินงานภายใต้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพ Selt-care • แม่บ้าน/อสม.ทำอาหารเพื่อสุขภาพลดหวาน มัน เค็ม ถวายพระสงฆ์ • มีกลุ่มออกกำลังกายสร้างสุขภาพในชุมชนทุกตำบล (กลุ่มเต้นแอโรบิค /ฮูลาฮุป) • ประชาชนตระหนักในการบริโภคที่ปลอดภัย ( อสม.ร่วมตรวจค้นหาสารปนเปื้อนในอาหาร) • มีแกนนำในชุมชน /บุคคลต้นแบบ ในด้านการอดบุหรี่ต่อต้านยาเสพติด ( ต.จำป่าหวาย ) • ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรค โดยชุมชนดำเนินการเองสนับสนุนการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพดีวิถีไทย

  44. ผลจากการดำเนินงานภายใต้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพผลจากการดำเนินงานภายใต้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพ Selt-care • มีการดูแลสุขภาพ โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดูแลสุขภาพ (ใช้สมุนไพรพื้นบ้าน / ย่ำขาง) • ประชาชนรู้จักการฝึกจิต และจัดการอารมณ์ของตนเอง ในการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ชุมชนท่าวังทองมีการนำหลักธรรมคำสอน ให้ปชช.ในการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม) • ชุมชนมีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักในการป้องกัน ควบคุมโรคในชุมชน ( เปิดสปอตวิทยุ / เสียงตามสาย ) • ชุมชนดำเนินการ ลดเสี่ยง ลดโรค สนับสนุนการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพดีวิถีไทย

  45. ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด 1. มีชุมชนลดเสี่ยงตามเกณฑ์โครงการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ร้อยละ 100 ในปี 2556 2. ปชช.อายุ 15 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองเบาหวาน 64,400 คน คิดเป็นร้อยละ 74.13 คน เป็นกลุ่มเสี่ยง DM ร้อยละ 2.68 3. กลุ่มPre DM 2,381 คน ป่วยเป็น DM รายใหม่ 53 คน ร้อยละ 2.23 (ไม่เกินร้อยละ 5)

  46. การดำเนินงานโดยเครือข่ายสุขภาพ ที่ต้องพัฒนาต่อไป สสอ.เมืองพะเยา ภาคีเครือข่ายร่วมเป็นคณะกรรมการ (นอภ./รพ./สสอ./หน.ส่วนระดับอำเภอ) - ความร่วมมือ /บทบาทที่ชัดเจนจากภาคีเครือข่าย ( รพ.เป็นหลัก สสอ.สนับสนุน) รพ.พะเยา โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (เบาหวาน/ความดัน) • ประสาน ฝึกอบรม/เทคนิค ระบบงาน • ทำแผนแก้ไขปัญหา ระบบการดำเนินงาน ระบบข้อมูล • ระบบส่งต่อ /ระบบข้อมูล • การสนับสนุนบุคลากร หน่วยบริการปฐมภูมิ • การติดตามเยี่ยมบ้านโดย สห วิชาชีพ • ข้อมูลกลุ่ม DM/HT ( รพ./รพ.สต.) • ส่งต่อกลุ่มเสี่ยง /กลุ่มป่วย เพื่อการดูแลรักษา • ระบบการเฝ้าระวังในพื้นที่ Selt-care เครือข่ายชุมชน • การสร้างความยั่งยืนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ.2ส. • ชุมชนรูจักการเลือกบริโภคอย่างปลอดภัยในชีวิตประจำวัน • การส่งเสริมหมู่บ้านจัดการสุขภาพดีวิถีไทย อย่างเป็นรูปธรรม • อปท.สนับสนุนแผน/งบประมาณทั่วถึง • ผู้นำชุมชนส่งเสริม ปชส.การคัดกรอง การเป็นตัวอย่าง ด้าน3อ.2ส. • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง

  47. การประเมินการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอเมืองการประเมินการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอเมือง • จัดตั้งคณะกรรมการระดับอำเภอ/ระดับตำบล • วิเคราะห์ข้อมูลในระดับตำบล/อำเภอ คัดเลือกปัญหาสุขภาพในพื้นที่ทุกระดับ เพื่อจัดทำแผนสุขภาพ เชื่อมโยงระบบบริการในระดับทุติยภูมิ/ปฐมภูมิ กับชุมชนและท้องถิ่น • กำหนดตัวชี้วัด ตามประเด็นปัญหา ร่วมดำเนินการแก้ไข ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน

  48. การประเมินการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอเมืองการประเมินการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอเมือง • บูรณาการ กระบวนการตามแผนงาน/โครงการแก้ไขปัญหา ของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ดำเนินงานภายใต้การมีส่วนร่วมของเครือข่าย ( รพ./สสอ./รพ.สต.ทุกแห่ง /อปท./ภาคีภาคประชาชน) • สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ โดยการ พัฒนาความรู้/ทักษะ เทคนิค การพัฒนาระบบคุณภาพมาตรฐาน ( PCA ) ให้กับบุคลากรทุกระดับ • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการ/ระบบการดำเนินงานในเครือข่าย ( DM/HT,DHF) • ประเมินตนเอง ตามบันได 5 ขั้น

More Related