1 / 33

ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ปี 2562

ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ปี 2562. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ชัย ยุทธ หลักเมือง หัวหน้างาน(สนับสนุนเครือข่ายระบบบริการ) 0887906623 Chaiyut.l@nhso.go.th chaiyut48@gmail.com.

cparker
Download Presentation

ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ปี 2562

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ปี 2562 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

  2. ชัยยุทธ หลักเมือง หัวหน้างาน(สนับสนุนเครือข่ายระบบบริการ) 0887906623 Chaiyut.l@nhso.go.th chaiyut48@gmail.com

  3. ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีภาวะพึ่งพิง คะแนนประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน กลุ่มเป้าหมาย /วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการด้านสาธารณสุขตามชุดสิทธิประโยชน์โดยเชื่อมโยงกับบริการทางสังคม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

  4. ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ปีงบประมาณ 2562 เหมือนปี61 บริการผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน (916.80 ล้านบาท) กลุ่มเป้าหมาย 152,800 คน ปี 62 เน้นการปรับประสิทธิภาพการบริหารจัดการ สำหรับ อปท.(กทม.) (25 ล้านบาท) หน่วยบริการประจำ (นอก กทม.) (150 ล้านบาท) สำหรับ อปท.(นอก กทม.) (741.80 ล้านบาท) จ่ายแบบเหมาจ่ายให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ที่เข้าร่วมดำเนินการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง สำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนในอัตรา 5,000 บาทต่อคนต่อปี จ่ายแบบเหมาจ่ายให้หน่วยบริการประจำในพื้นที่ที่เข้าร่วมดำเนินการ เแห่งละ 100,000 บาทโดยจ่ายตามจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และสามารถปรับจ่ายเพิ่มเติมแบบขั้นบันไดตามจำนวนเป้าหมายได้ จ่ายแบบเหมาจ่ายให้กรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้กรุงเทพมหานครดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2561

  5. ระยะเวลาการโอนค่าบริการ LTC จาก สปสช. ให้อปท. และหน่วยจัดบริการประจำ • โอนให้กับกองทุนฯท้องถิ่น (เหมาจ่าย 5,000 บาท/คน/ปี)โดยใช้ข้อมูลการลงทะเบียนในโปรแกรม LTC และผ่านเงื่อนไขการจ่าย แบ่งเป็น 12 งวด ดังนี้ งวดที่ 1 โอนภายในเดือน ต.ค. 2561 (ตัดข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย.2561) งวดที่ 2 โอนภายในเดือน พ.ย. 2561 (ตัดข้อมูลตั้งแต่ 1 – 31 ต.ค.2561) งวดที่ 3 โอนภายในเดือน ธ.ค. 2561 (ตัดข้อมูลตั้งแต่ 1 – 30 พ.ย.2561) งวดที่ 4 โอนภายในเดือน ม.ค. 2562 (ตัดข้อมูลตั้งแต่ 1 – 31 ธ.ค.2561) งวดที่ 5 โอนภายในเดือน ก.พ. 2562 (ตัดข้อมูลตั้งแต่ 1 – 31 ม.ค.2562) งวดที่ 6 โอนภายในเดือน มี.ค. 2562 (ตัดข้อมูลตั้งแต่ 1 – 28 ก.พ.2562) งวดที่ 7 โอนภายในเดือน เม.ย. 2562 (ตัดข้อมูลตั้งแต่ 1 – 31 มี.ค.2562) งวดที่ 8 โอนภายในเดือน พ.ค. 2562 (ตัดข้อมูลตั้งแต่ 1 – 30 เม.ย.2562) งวดที่ 9 โอนภายในเดือน มิ.ย. 2562 (ตัดข้อมูลตั้งแต่ 1 – 31 พ.ค.2562) งวดที่ 10 โอนภายในเดือน ก.ค. 2562 (ตัดข้อมูลตั้งแต่ 1 – 30 มิ.ย.2562) งวดที่ 11 โอนภายในเดือน ส.ค. 2562 (ตัดข้อมูลตั้งแต่ 1 – 31 ก.ค.2562) งวดที่ 12 โอนภายในเดือน ก.ย. 2562 (ตัดข้อมูลตั้งแต่ 1 – 31 ส.ค.2562) ทั้งนี้ข้อมูลไม่ซ้ำกับที่ได้จ่ายไปแล้ว 2 โอนให้กับหน่วยบริการประจำ 100,000 บาท/แห่ง (ภายในเดือน ต.ค.2561) และโอนงบเพิ่มเติมภายในเดือน ก.ย.2562 โดยใช้ข้อมูลการลงทะเบียนในโปรแกรมฯ และผ่านเงื่อนไขการจ่ายตัดข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค.2562

  6. ขั้นตอนการติดตามการดำเนินงานขั้นตอนการติดตามการดำเนินงาน

  7. พื้นที่ใหม่ (ขั้นเตรียมการ) ๑. องค์ประกอบของ อปท. ที่จะร่วมดำเนินการ ๑.๑ มีความพร้อม สมัครใจ ๑.๒ มีผู้จัดการระบบ (Care Manager) ในพื้นที่ ๑.๓ มีผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ในพื้นที่ ๑.๔ สามารถระบุได้ว่าใครเป็นหน่วยจัดบริการ( เช่น รพ.สต./ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ/ ชื่อหน่วยที่ดำเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ)

  8. ๒. ขั้นตอนการสมัคร ๒.๑ ศึกษาแนวทางการประกาศ สปสช. (ฉบับ ปี 61) ๒.๒ ลงนามตอบรับเข้าร่วมดําเนินงานในหนังสือแสดงความจํานง ๒.๓ เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ชื่อ “บัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพ (...ชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) เพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” แยกออกจากบัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพ ๒.๔ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ๒.๕ CM บันทึกรายชื่อผู้สูงอายุ และ ผู้รับผิดชอบกองทุนLTC ยืนยันข้อมูลรายชื่อดังกล่าวในโปรแกรม ltc.nhso.go.th/ltc

  9. กองทุนสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) คณะอนุกรรมการ LTC ประกอบด้วย - ผู้บริหารสูงสุดของ อปท. - ประธานอนุกรรมการ - ผู้แทนกรรมการกองทุนฯ -อนุกรรมการ - หัวหน้าหน่วยบริการประจำหรือผู้แทน -อนุกรรมการ - สาธารณสุขอำเภอหรือผู้แทน -อนุกรรมการ - หัวหน้า รพสต. -อนุกรรมการ - CM -อนุกรรมการ - CG -อนุกรรมการ - ปลัดฯ - อนุกรรมการและเลขานุการ - เจ้าหน้าที่อื่น - อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 5,000 บาทต่อผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง/คน/ปี LTC (อปท.) กลุ่ม 4 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะท้ายของชีวิต กลุ่ม 1 เคลื่อนไหวได้และไม่มีภาวะสับสบทางสมอง กลุ่ม 2 เคลื่อนไหวได้ มีภาวะสับสนทางสมอง กลุ่ม 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้

  10. กองทุนสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) 2. Care Manager บันทึก LTC 1. Care Manager ประเมิน ADL 3. จนท.กองทุน ยืนยันข้อมูล LTC 5,000 บาทต่อผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง/คน/ปี 7. จนท.กองทุน อนุมัติโครงการในโปรแกรม LTC 8. กองทุน LTC โอนเงินให้หน่วยจัด LTC (อปท.) 6. อนุกรรมการ LTC พิจารณา Care Plan อนุมัติค่าใช้จ่ายตาม Care Plan 4. Care Manager จัดทำ Care Plan เสนอคณะอนุกรรมการ LTC 5. จนท.กองทุน นำเข้าโครงการ LTC

  11. บันทึกความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเรื่องการจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง แบบบูรณาการในพื้นที่ ระหว่าง กระทรวงสาธารณสุขสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558

  12. กระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมและจัดให้หน่วยงานและหน่วยบริการในสังกัดให้ความร่วมมือและสนับสนุนช่วยเหลือ อปท. ดำเนินงานและบริหารการดูแลระยะยาวฯ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ส่งเสริมและสนับสนุน อปท. สามารถดำเนินงานและบริหารการดูแลระยะยาวฯ

  13. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (1) ส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการของประชาชน ในท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้ อปท. เป็นผู้จัดตั้งระบบการดูแลระยะยาวฯแบบบูรณาการในพื้นที่ และสามารถบริหารจัดการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ (2) จัดสรรงบประมาณให้หน่วยบริการและกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเพื่อสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการบริการสาธารณสุขในการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวฯแบบบูรณาการในพื้นที่ ตามภารกิจที่ตกลงกันตามกรอบที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมอบหมาย (3) ดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ อปท. อันเกิดจากการดำเนินงานและบริหารจัดการให้ลุล่วงไปได้ด้วยความรวดเร็วไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานตามภารกิจที่ตกลงกัน

  14. ข้อตกลงดำเนินงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน และงบประมาณเรื่องการจัดระบบการดูแลระยะยาว ด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง แบบบูรณาการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ 2559 ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2559

  15. 1) กระทรวงสาธารณสุข (1) เตรียมความพร้อมของระบบ สนับสนุนด้านวิชาการ พัฒนาศักยภาพทีมงาน (2) จัดทีมหมอครอบครัวร่วมกับ อปท.ประเมินผู้สูงอายุ LTC ตามแบบประเมิน ADL แบ่งกลุ่มผู้สูงอายุตามชุดสิทธิประโยชน์ พร้อมทั้งจัดทำแผนการดูแล(Care Plan) (3) จัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ (4) ประเมินผลการดำเนินงานร่วมกับ อปท.

  16. 2) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (1) สนับสนุนงบประมาณแต่ละปี ให้หน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่เข้าร่วมดำเนินงานระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามภาระกิจในข้อ 1 (2) ดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาและสนับสนุนด้านอื่นๆ ให้หน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขสามารถดำเนินการร่วมกับ อปท. ในพื้นที่ อันเกิดจากการดำเนินงานและบริหารจัดการให้ลุล่วงไปได้ด้วยความรวดเร็วไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานตามภารกิจที่ตกลงกัน

  17. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๗ มาตรา ๑๘ (๓) (๔) (๘) (๙) ประกอบมาตรา ๓ (๑๒) มาตรา ๗ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ ในการออกประกาศเพื่อสนับสนุนให้ อปท.ดำเนินงานและบริหารจัดการงานบริการ LTC ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุน ฯ ท้องถิ่น http://www.nhso.go.th

  18. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตรา ๔๗ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน http://www.nhso.go.th

  19. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พรบ.เทศบาล • มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตําบลมีหน้าที่ต้องทําในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้ (7) สงเสริมการพัฒนาสตรีเด็ก เยาวชน ผูสูงอายุ และผูพิการ (9) หนาที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติใหเปนหนาที่ของเทศบาล • มาตรา 48 เตรส นายกเทศมนตรีมีอํานาจหนาที่ดังตอไปนี้ (2) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล (4) วางระเบียบเพื่อใหงานของเทศบาลเปนไปดวยความเรียบรอย ประกาศคณะกรรมการหลัก

  20. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พรบ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล • มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (6) สงเสริมการพัฒนาสตรีเด็ก เยาวชน ผูสูงอายุ และผูพิการ (9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย • มาตรา 59 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (2)สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล (4) วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ประกาศคณะกรรมการหลัก

  21. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงาน และบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๖๑

  22. ข้อ ๑๑ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในส่วนค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามข้อ ๗ วรรคสอง ให้สนับสนุนแก่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หน่วยบริการหรือสถานบริการเพื่อจัดบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อปี ตามชุดสิทธิประโยชน์การบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่กำหนดในเอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตามโครงการที่คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอนุมัติ วรรคแรก ว่าด้วยการจ่ายเงิน LTC โดยจ่ายให้ ศูนย์ฯ/หน่วยบริการ/สถานบริการ *เท่านั้น* เพื่อจัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์*เฉพาะสิทธิหลักประกัน (บัตรทอง , UC)เท่านั้น* บริการที่จัดนั้น ดูแลต่อปี คือ 12 เดือน นับจากวันที่ระบุไว้ในข้อตกลง โดยประกาศฯ ๖๑ ให้ อนุฯ LTC อนุมัติโครงการได้เลย ไม่ต้องผ่านชุดใหญ่

  23. ข้อ ๑๑ กรณีผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงนอกเหนือจากวรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ ๗ วรรคหนึ่ง และใช้ชุดสิทธิประโยชน์การบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมาเทียบเคียงโดยอนุโลม ทั้งนี้ ตามโครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ วรรคสอง เขียนเพื่อให้ผู้ที่มีภาวะพึ่ง (ผู้สูงอายุสิทธิอื่น, ผู้ที่มี ADL เท่ากับหรือน้อยกว่า 11) ได้รับการดูแลแบบ LTC โดยใช้ชุดสิทธิประโยชน์แบบ LTC ก็ได้ แต่ให้ใช้เงินจากกองทุนตำบล โดยการอนุมัติของคณะกรรมการกองทุน *หมายเหตุ เงินกองทุนตำบล อนุมัติโดยคณะกรรมการ เงิน LTC อนุมัติโดย อนุฯ LTC อำนาจการอนุมัติพิจารณาตามแหล่งเงิน

  24. ข้อ ๑๘ ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดหนึ่งชื่อ “คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” ประกอบด้วย (๑) ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บริหารอื่น เป็นประธานอนุกรรมการ ที่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมาย (๒) ผู้แทนกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ จำนวนสองคน เป็นอนุกรรมการ (๓) หัวหน้าหน่วยบริการประจำที่จัดบริการสาธารณสุขในท้องถิ่น เป็นอนุกรรมการ หรือผู้แทน (เช่น โรงพยาบาลอำเภอ) (๔) สาธารณสุขอำเภอหรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ กองทุนที่ดำเนินงาน LTC จะต้องตั้งคณะอนุฯ LTC เพราะจะต้องเป็นผู้อนุมัติโครงการ LTC โดยในประกาศฯ ๖๑ กำหนดให้ตั้งได้เท่านี้ ไม่เหมือนประกาศฯ ๕๙ ที่ใช้คำว่าอย่างน้อย

  25. ข้อ ๑๘ (๕) หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิที่จัดบริการสาธารณสุข เป็นอนุกรรมการ ในท้องถิ่น (เช่น รพ.สต.) (๖) ผู้จัดการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข เป็นอนุกรรมการ (๗) ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เป็นอนุกรรมการ (๘) ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นอนุกรรมการ และเลขานุการ (๙) เจ้าหน้าที่อื่นที่ผู้บริหารสูงสุด เป็นอนุกรรมการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมาย และผู้ช่วยเลขานุการ

  26. ข้อ ๑๙ คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีอำนาจหน้าที่ พิจารณาอนุมัติโครงการ แผนการดูแลรายบุคคล รวมถึงค่าใช้จ่ายตามแผนการดูแลรายบุคคลสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หน่วยบริการ หรือสถานบริการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ที่สำนักงานกำหนด ปัจจุบันยึดตามประกาศ สปสช. เรื่องหลักเกณฑ์การสนับสนุนศูนย์ฯ (๒ มี.ค.๖๐)

  27. ข้อ ๒๐ การประชุมของคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ที่คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้ง ให้นำข้อ ๑๕ มาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๑๕ การประชุมคณะกรรมการกองทุนต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

  28. จำนวนอปท.ในเขต 12 สงขลา ที่เข้าร่วมดำเนินการปี 2559-2561

  29. ความคืบหน้าการโอนงบ LTC ปี 59-61 ของอปท.พื้นที่ สปสช.เขต 12 จำแนกรายจังหวัด

  30. ปัญหาอุปสรรค

More Related