1 / 110

สมาชิกในกลุ่ม

สมาชิกในกลุ่ม. นาย ไชยวัฒน์ ศิ มา จารย์ รหัสนักศึกษา 5210110141 นาย วาทิต หลักคำ รหัสนักศึกษา 5210110558 นาย ณัฐ พ้นภัย รหัสนักศึกษา 5210110165. คอนกรีตกำลังสูง Hight strength concrete. การพัฒนาของคอนกรีตกำลังสูง. วัสดุที่ใช้ทำคอนกรีตกำลังสูง.

Download Presentation

สมาชิกในกลุ่ม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สมาชิกในกลุ่ม นาย ไชยวัฒน์ศิมาจารย์ รหัสนักศึกษา 5210110141 นาย วาทิต หลักคำ รหัสนักศึกษา 5210110558 นาย ณัฐ พ้นภัย รหัสนักศึกษา 5210110165

  2. คอนกรีตกำลังสูงHight strength concrete

  3. การพัฒนาของคอนกรีตกำลังสูงการพัฒนาของคอนกรีตกำลังสูง

  4. วัสดุที่ใช้ทำคอนกรีตกำลังสูงวัสดุที่ใช้ทำคอนกรีตกำลังสูง วัสดุที่ใช้ทำคอนกรีตกำลังสูงประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มวลน้ำ และสารลดปริมาณน้ำหรือสารลดน้ำพิเศษ (Superplasticizer) นอกจากนี้นิยมผสมวัสดุปอซโซลาน เช่น เถ้าถ่านหิน หรือ ซิลิกาฟูม เพื่อทำ ปฏิกิริยาปอซโซลานและเพิ่มกำลังอัดประลัยของคอนกรีตให้สูงขึ้น

  5. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ การทำคอนกรีตกำลังสูงนิยมใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 แต่ไม่ นิยมใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 3ยกเว้นกรณีที่ต้องการกำลังอัดใน ช่วงอายุต้นสูง เช่น คอนกรีตอัดแรง เพราะปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 3 มีราคาสูงจึงทำให้คอนกรีตมีราสูงขึ้น นอกจากนี้การใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 3 จะทำให้คอนกรีตมีความร้อนจากปฏิกิริยาไฮเดรชันสูงในช่วงอายุ ต้นซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคอนกรีตได้ ปริมาณปูนซีเมนต์ที่ใช้สำหรับส่วนผสม ของคอนกรีตกำลังสูงจะค่อนข้างสูงระหว่าง 400ถึง 600กก./ม.3ซึ่งทำให้เกิด ความร้อนจากปฏิกิริยาไฮเดรชันมาก เช่น ในการก่อสร้างเสาคอนกรีตเสริม เหล็กของตึก Water Tower Place ที่เมืองชิคาโก

  6. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์(ต่อ)ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์(ต่อ) ซึ่งตึก Water Tower Place มีขนาดหน้าตัด1.2 × 1.2 ม.2 ใช้ปริมาณปูนซีเมนต์ 502กก./ม.3 มีอุณหภูมิของคอนกรีตเพิ่มขึ้นจาก 24 ̊c เป็น 66 ̊c ซึ่งหากโครงสร้างของคอนกรีตมีขนาดใหญ่กว่านี้หรือ ใช้ปริมาณปูนซีเมนต์มากกว่านี้จะก่อให้เกิดปัญหาจากความร้อนได้ ดังนั้นอาจเลือกใช้ปูนซีเมนต์ความร้อนต่ำหรือใช้วัสดุปอซโซลานแทนที่ปูนซีเมนต์มากขึ้น ทั้งนี้ต้องแน่ใจว่ากำลังอัดและคุณสมบัติอื่นๆ ของคอนกรีตกำลังสูง ยังคงเป็นไปตามที่ต้องการ

  7. มวลรวมละเอียดหรือทรายมวลรวมละเอียดหรือทราย ทรายเป็นส่วนผสมที่สำคัญในคอนกรีตกำลังสูง และส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติ ของคอนกรีตมากกว่าหิน การทำคอนกรีตกำลังสูงควรใช้ทรายหยาบที่สะอาด เม็ดกลม ผิวเรียบ และมีขนาดคละดี เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตต้องการ น้ำต่ำลง ทรายที่มีขนาดคละดีจะให้กำลังอัดของคอนกรีตสูงขึ้นโดยเฉพาะเมื่อ คอนกรีตมีอายุมากขึ้น การใช้ทรายที่ละเอียดจะทำให้ส่วนผสมเหนียว เทและ เขย่าเข้าแบบได้ยาก โดยเฉพาะการใช้ทรายที่มีโมดูลัสความละเอียดต่ำกว่า 2.5 เพราะส่วนผสมของคอนกรีตกำลังสูงมักมีปริมาณของส่วนละเอียดคือปูนซีเมนต์ สูงอยู่แล้ว

  8. มวลรวมละเอียดหรือทราย (ต่อ) ACI 363 แนะนำให้ใช้ทรายหยาบโดยมีปริมาณที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 50 และ 100 ต่ำ แต่ยังคงเป็นไปตามข้อกำหนด ASTM C33 จะทำให้ เทได้ง่ายขึ้น และให้กำลังอัดของคอนกรีตที่ดี

  9. มวลรวมหยาบหรือหิน หินที่ใช้ทำคอนกรีตกำลังสูงควรเป็นหินขนาดใหญ่สุดไม่เกิน 1 ̸ 2 นิ้ว หรือ ขนาด 3 ̸ 8 นิ้ว เพราะการใช้หินขนาดเล็กจะมีพื้นที่ผิวของหินมากขึ้นซึ่งเป็น การเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวระหว่างหินและซีเมนต์เพสต์ การใช้หินที่มีขนาด 3นิ้ว จะให้ค่าแรงยึดเหนี่ยวเพียงร้อยละ10ของแรงยึดเหนี่ยวของหินขนาด 1 ̸ 2 นิ้ว นอกจากนี้เมื่อคอนกรีตรับแรง หินที่เล็กกว่าสามารถกระจายแรงให้แก่หิน ก้อนอื่นๆ ได้สม่ำเสมอกว่าการใช้หินก้อนใหญ่ การใช้หินย่อยสามารถรับแรงได้ดีกว่ากรวดเพราะกรวดมีรูปร่างกลม และผิวเรียบ ดังนั้นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างผิวของกรวดกับซีเมนต์เพสต์

  10. มวลรวมหยาบหรือหิน (ต่อ) จึงมีค่าต่ำ ส่งผลให้คอนกรีตรับแรงได้ต่ำตามไปด้วย แต่การใช้หินที่มีรูปร่าง เป็นเหลี่ยมมุมมากเกินไปหรือมีรูปร่างแบนยาวจะให้ผลทางด้านลบ เพราะ ต้องใช้น้ำในส่วนผสมมากขึ้นเพื่อให้ได้ความสามารถในการเทที่เท่ากัน ลักษณะของหินที่ดีจึงควรสะอาด ความแข็งแกร่งสูง เป็นรูปลูกบาศก์ มีเหลี่ยม และมุมรูพรุนน้อย ไม่มีรูปร่างแบนหรือยาวหรือมีค่อนข้างน้อย

  11. รูปแสดงตัวอย่างหินที่ใช้รูปแสดงตัวอย่างหินที่ใช้

  12. เพิ่มเติม มาตรฐานวัสดุคอนกรีต : หินใหญ่และหินย่อย - หินใหญ่ ต้องเป็นหินที่มีรูปร่างเหลี่ยมค่อนข้างกลม มีส่วนแบนเรียวน้อยส่วนที่แคบ ที่สุดต้องไม่เล็กกว่า 1/ 3ของส่วนที่ยาวที่สุดไม่มีรอยแตกร้าวหรือลักษณะอื่นใดซึ่ง แสดงให้เห็นว่าจะไม่ทนทานต่อการกัดเซาะของน้ำและดินฟ้าอากาศ • หินย่อย ที่ใช้ผสมคอนกรีตต้องเป็นหินที่โม่ด้วยเครื่องจักร มีรูปร่างเหลี่ยมค่อนข้าง กลม มีส่วนแบนเรียวน้อย ต้องเป็นหินที่แข็ง ทนทาน ไม่ผุกร่อน สะอาดปราศจากสาร ผุกร่อน และสารอินทรีย์อื่นเจือปน

  13. คุณลักษณะเฉพาะของหินใหญ่ หินใหญ่ที่นำมาใช้งานต้องมีคุณลักษณะเฉพาะตามที่กำหนดในตารางข้างล่างนี้

  14. คุณลักษณะเฉพาะของหินย่อย หินย่อยที่ใช้ผสมคอนกรีตต้องมีคุณลักษณะเฉพาะตามที่กำหนดในตารางข้างล่าง

  15. เกณฑ์กำหนดขนาดคละของหินย่อยเกณฑ์กำหนดขนาดคละของหินย่อย ที่มา : ส่วนวิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรม สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน มิถุนายน 2552

  16. น้ำ น้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตกำลังสูงควรเป็นน้ำสะอาด ในกรณีที่สงสัยว่าน้ำที่ใช้ใน การผสมคอนกรีตไม่สะอาดพอ ควรทำการทดสอบให้แน่ใจก่อนนำไปใช้งาน โดยนำน้ำที่สงสัยไปผสมมอร์ตาร์และทดสอบกำลังอัดที่อายุ 7และ 28วัน จากนั้นเปรียบเทียบกำลังอัดของมอร์ตาร์ที่ใช้น้ำกลั่นในการผสม หากน้ำที่ สงสัยสามารถให้กำลังอัดของมอร์ตาร์ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมอร์ตาร์ ที่ใช้น้ำกลั่น ถือได้ว่าน้ำนั้นสามารถนำมาผสมคอนกรีตกำลังสูงได้

  17. สารเคมีผสมเพิ่ม การทำคอนกรีตกำลังสูงต้องใช้สารเคมีผสมเพิ่มเพื่อปรับคุณสมบัติของ คอนกรีตให้เหมาะสมกับการใช้งานและลดอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานให้ต่ำ ลงเพื่อทำให้คอนกรีตมีกำลังสูงขึ้น สารเคมีพื้นฐาน ได้แก่ สารลดปริมาณน้ำ และสารลดน้ำพิเศษ เพื่อลดปริมาณน้ำในส่วนผสมและเพิ่มความสามารถเท ได้ของคอนกรีต สารเคมีผสมเพิ่มอาจใช้ร่วมกับสารเคมีประเภทอื่น เช่น สารกักกระจายฟองอากาศ สารหน่วงการก่อตัว หรือสารเร่งการก่อตัว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การใช้สารเคมีผสมเพิ่มในคอนกรีตกำลังสูง ควรตรวจสอบก่อน

  18. สารเคมีผสมเพิ่ม (ต่อ) ว่าสารเคมีผสมเพิ่มดังกล่าวสามารถใช้ร่วมกันได้ดีกับปูนซีเมนต์ที่ใช้ สารเคมี ดังกล่าวยังไม่หมดอายุการใช้งาน และสามารถปรับปรุงคุณสมบัติของ คอนกรีตกำลังสูงได้ตามที่ต้องการ

  19. ตัวอย่างภาพ แสดงการใช้สารเคมีผสมเพิ่มสารกักกระจายฟองอากาศ ใส่สารกักกระจายฟองอากาศ ไม่ได้ใส่สารกักกระจายฟองอากาศ

  20. วัสดุผสมเพิ่มที่ไม่ใช่สารเคมีวัสดุผสมเพิ่มที่ไม่ใช่สารเคมี วัสดุเหล่านี้บางครั้งรียกว่า แร่ผสมเพิ่ม (Mineral Admixtures) ส่วนใหญ่ของ แร่ผสมเพิ่ม ได้แก่ วัสดุปอซโซลาน วัสดุเหล่านี้จะทำปฏิกิริยาเพิ่มเติมจาก ปฏิกิริยาไฮเดรชัน ทำให้ความแข็งแรงของคอนกรีตเพิ่มขึ้น วัสดุปอซโซลาน ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ เถ้าถ่านหิน และ ซิลิกาฟูม เนื่องจากเป็นวัสดุปอซโซลาน ชั้นดี และสามารถใช้แทนที่ปูนซีเมนต์โดยคิดว่าเป็นวัสดุประสานด้วย โดย ไปในการทำคอนกรีตกำลังสูงจะใช้ซิลิกาฟูม ประมาณร้อยละ 5 ถึง 10โดย น้ำหนักของวัสดุประสาน และกรณีที่ใช้เถ้าถ่านหินจะใช้ประมาณร้อยละ10 ถึง 30 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ซิลิกาฟูมจะมีประสิทธิภาพในการ

  21. วัสดุผสมเพิ่มที่ไม่ใช่สารเคมี (ต่อ) เพิ่มกำลังได้ดีและเร็ว ส่วนเถ้าถ่านหินจะช่วยในเรื่องของความสามารถใน การเทและลดความร้อนของคอนกรีตจากปฏิกิริยาไฮเดรชัน นอกจากนี้ยังมี วัสดุปอซโซลานอื่นๆ ที่ใช้ในการทำคอนกรีตกำลังสูง เช่น เมทาเคาลิน เถ้าแกลบบดละเอียด เป็นต้น เถ้าถ่านหินACI 363แนะนำว่าเถ้าถ่านหิน Class Fและ Class C สามารถใช้ ในงานคอนกรีตกำลังสูงได้ การใช้เถ้าถ่านหินมีประโยชน์อยู่หลายปราการ เช่น ปฏิกิริยาปอซโซลานซึ่งเป็นปฏิกิริยาระหว่างออกไซด์ต่างๆในเถ้าถ่านหิน กับด่างแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH ) 2 ) ทำให้ได้แคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (CSH) ในคอนกรีตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กำลังอัดของคอนกรีตสูงขึ้นเมื่อคอนกรีต

  22. วัสดุผสมเพิ่มที่ไม่ใช่สารเคมี (ต่อ) มีอายุมากขึ้น นอกจากนี้ขนาดอนุภาคที่เล็กของเถ้าถ่านหินจะไปอุดช่องว่าง เล็กๆ ที่มีอยู่ในคอนกรีตทำให้ช่องว่างลดลง เกิดการอัดตัวได้ดีขึ้น ทำให้ กำลังอัดมีค่าสูงขึ้นตามไปด้วย และการที่เถ้าถ่านหินมีอนุภาคกลมทำให้ คอนกรีตสามารถลื่นไหลได้ง่ายขึ้น จึงใช้น้ำในส่วนผสมน้อยลงเป็นผลให้ กำลังสูงขึ้น นอกจากนี้การใช้เถ้าถ่านหินแทนที่ปูนซีเมนต์สามารถลดปริมาณ ปูนซีเมนต์ในส่วนผสมลง ทำให้อุณหภูมิของคอนกรีตเนื่องจาก ปฏิกิริยาไฮเดรชันลดลง การใช้เถ้าถ่านหินในการแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนจะทำให้กำลังอัดคอนกรีต

  23. วัสดุผสมเพิ่มที่ไม่ใช่สารเคมี (ต่อ) หรือมอร์ตาร์ที่อายุต้นๆ มีค่าต่ำกว่าคอนกรีตหรือมอร์ตาร์ที่ไม่ใช้เถ้าถ่านหิน ในส่วนผสม เนื่องจากปฏิกิริยาเกิดได้ช้าแต่จะช่วยเพิ่มกำลังอัดประลัยที่อายุ มากขึ้น การใช้เถ้าถ่านหินที่ละเอียดขึ้นหรือการใช้เถ้าถ่านหินร่วมกับซิลิกาฟูม จะทำให้กำลังรับแรงในระยะต้นดี การทดลองแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าถ่านหิน ขนาดเล็กซึ่งมีอนุภาคเฉลี่ยประมาณ 2.8 ไมโครเมตร ในอัตราส่วนร้อยละ 15 ถึง 35 ให้การพัฒนาและกำลังอัดของคอนกรีตกำลังสูงดีขึ้น ขจัดปัญหากำลังอัด ต่ำในช่วงอายุต้น นอกจากนี้ยังทำให้ความสามารถเทได้ดีขึ้น แม้ว่าการใช้เถ้า ถ่านหินเม็ดละเอียดอาจต้องการน้ำเพื่อเคลือบผิวที่มากกว่าเถ้าถ่านหินเม็ดใหญ่

  24. วัสดุผสมเพิ่มที่ไม่ใช่สารเคมี (ต่อ) แต่เนื่องจากเม็ดที่กลมในเถ้าถ่านหินขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนมากกว่าสามารถ ช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างวัสดุภายในส่วนผสมของคอนกรีตได้ดีกว่า จึง ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นในส่วนผสมของคอนกรีต แต่กลับ ช่วยให้การผสม การเทลงแบบ ตลอดจนการกระทุ้งหรือทำให้แน่นทำได้ง่าย กว่าคอนกรีตที่ไม่มีเถ้าถ่านหินในส่วนผสม

  25. วัสดุผสมเพิ่มที่ไม่ใช่สารเคมี (ต่อ) ซิลิกาฟูม ในปัจจุบันนิยมใช้ซิลิกาฟูมในการทำคอนกรีตกำลังสูงและเพื่อเพิ่ม ความทนทานของคอนกรีต เพราะการใช้ซิลิกาฟูมในคอนกรีตจะให้กำลังรับ แรงดีขึ้นทั้งระยะต้นและระยะปลายที่อายุมากขึ้น และช่วยลดการซึมผ่านน้ำ ของคอนกรีตอย่างมาก สิ่งที่ควรระมัดระวังให้มากในการใช้ซิลิกาฟูมคือ การ ผสมซิลิกาฟูมในคอนกรีตควรมีความสม่ำเสมอตลอดทั่วกัน นอกจากนี้ต้อง ใช้สารลดน้ำหรือสารลดน้ำพิเศษซึ่งควรทำการตรวจสอบว่าซิลิกาฟูมที่ใช้นั้น สามารถใช้ร่วมกับสารลดน้ำได้ดี เพื่อที่จะได้ใช้ปริมาณน้ำในการผสมคอนกรีต ให้พอดีไม่มากไป เนื่องจากซิลิกาฟูมมีราคาแพงกว่าปูนซีเมนต์มากจึงควร

  26. วัสดุผสมเพิ่มที่ไม่ใช่สารเคมี (ต่อ) ตรวจสอบทางด้านเศรษฐศาสตร์ ดินขาวเผาหรือเมทาเคาลิน วัสดุปอซโซลานใหม่ที่ผลิตขึ้นมาจากการเผา ดินขาว (Kaolin) ที่อุณหภูมิ 750 ̊c สามารถใช้ผสมทำคอนกรีตกำลังสูงได้ โดยมอร์ตาร์และคอนกรีตที่ได้จะมีกำลังสูงกว่ามอร์ตาร์ที่ทำจากปูนซีเมนต์ ปอร์ตแลนด์ธรรมดาอย่างเดียว เถ้าแกลบบดละเอียด สามารถใช้เป็นวัสดุปอซโซลานเพื่อทำคอนกรีต กำลังสูงได้ดี โดยทั่วไปมักใช้เถ้าแกลบบดละเอียดไม่เกินร้อยละ 20โดย - น้ำหนักของวัสดุประสาน การใช้ปริมาณเถ้าแกลบบดละเอียดที่สูงกว่านี้

  27. วัสดุผสมเพิ่มที่ไม่ใช่สารเคมี (ต่อ) ควรทำการทดสอบดูก่อน การใช้เถ้าแกลบบดละเอียดร่วมกับเถ้าถ่านหิน สามารถใช้ในการทำคอนกรีตกำลังสูงได้ดี เนื่องจากเถ้าแกลบบดละเอียด ให้กำลังสูงทั้งระยะต้นและระยะปลายที่อายุมากขึ้น แต่มีความต้องการน้ำสูง ขณะที่การใช้เถ้าถ่านหินสามารถลดน้ำในส่วนผสมคอนกรีตได้แต่ให้กำลังอัด ในระยะต้นต่ำ

  28. ส่วนผสมของคอนกรีตกำลังสูงส่วนผสมของคอนกรีตกำลังสูง ส่วนผสมของคอนกรีตกำลังสูงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น กำลังอัดที่ ต้องการ อายุที่ระบุในการทดสอบ วัสดุที่นำมาใช้ในส่วนผสม เป็นต้น ปัจจัย เหล่านี้จะส่งผลให้การเลือกส่วนผสมของคอนกรีตแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไป คอนกรีตกำลังสูงมักมีปูนซีเมนต์หรือวัสดุประสานที่ค่อนข้างสูงและมีอัตราส่วน น้ำต่อวัสดุประสานต่ำ การออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตกำลังสูงส่วนมากได้มาจากการปรังปรุง หรือดัดแปลงส่วนผสมของคอนกรีตกำลังสูงที่เคยใช้หรือมีอยู่แล้วมากกว่าจะ เป็นการออกแบบปฏิภาคส่วนผสมดังที่เคยปฏิบัติในคอนกรีตกำลังธรรมดา

  29. ส่วนผสมของคอนกรีตกำลังสูง (ต่อ) จากตาราง เป็นตัวอย่างส่วนผสมของคอนกรีตกำลังสูงที่ใช้เถ้าถ่านหินที่มี ขนาดอนุภาคเฉลี่ยประมาณ 2.8 ไมโครเมตร แทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วน กำลังอัดที่อายุ 28และ 90วัน ของคอนกรีตที่มีเถ้าถ่านหินสูงกว่ากำลัง แรงรับของคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1

  30. ส่วนผสมของคอนกรีตกำลังสูง (ต่อ) จากตาราง เป็นตัวอย่างส่วนผสมของคอนกรีตกำลังสูงใช้หินขนาดใหญ่สุด ไม่เกิน 3/8 นิ้ว มีซิลิกาฟูมควบแน่นแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วน มีอัตราส่วนน้ำ ต่อวัสดุประสานคงที่เท่ากับ 0.27 กำลังอัดที่อายุ 7, 28, และ 60 วัน ของ คอนกรีตที่มีซิลิกาฟูมควบแน่นมีค่าสูงกว่าคอนกรีตธรรมดาค่อนข้างมาก

  31. กำลังอัดของคอนกรีตกำลังสูงกำลังอัดของคอนกรีตกำลังสูง โดยทั่วไปแล้วผลการทดสอบคอนกรีตกำลังสูงมีความเบี่ยงเบนสูงกว่า คอนกรีตกำลังธรรมดา การที่ผลการทดสอบคอนกรีตกำลังสูงมีความเบี่ยงเบน มากย่อมทำให้ต้องเผื่อค่ากำลังของคอนกรีตมากขึ้นกว่าปกติ ACI 318 ได้ กำหนดการยอมรับกำลังของคอนกรีตที่ได้จากการทดสอบดังนี้ 1) กำลังอัดเฉลี่ยของคอนกรีตที่ทดสอบทั้ง 3 ตัวอย่างติดต่อกัน ต้องมีค่า เท่ากับหรือมากกว่ากำลังอัดของคอนกรีตที่ออกแบบ 2) กำลังอัดของคอนกรีตที่ทดสอบได้ ต้องไม่มีตัวอย่างอันใดที่มีกำลังอัด ต่ำกว่าค่าที่ออกแบบไว้เกิน 3.4เมกะปาสกาล (35กก./ซม.2)

  32. กำลังอัดของคอนกรีตกำลังสูง (ต่อ) ข้อกำหนดนี้ใช้ได้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคอนกรีตที่มีกำลังอัดในช่วงระหว่าง 21 ถึง 34เมกะปาสกาล (214ถึง 350กก./ซม.2) ในกรณีที่ผลการทดสอบ กำลังอัดของคอนกรีตกำลังสูงไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ควรดูรายละเอียด ของผลการทดสอบและข้อมูลอื่นประกอบการตัดสินใจ เช่น เมื่อพบว่าผล การทดสอบกำลังอัดของบางตัวอย่างต่ำกว่า 3.4 เมกะปาสกาล(35 กก./ซม.2) ไม่มากนัก จะต้องตรวจสอบส่วนผสมและปรับส่วนผสมให้มีกำลังอัดตามที่ ต้องการในการทำงานต่อไป และสำหรับคอนกรีตที่เทไปแล้วให้พิจารณาการ พัฒนากำลังและอายุการใช้งาน เนื่องจากคอนกรีตกำลังสูงมักมีการพัฒนา

  33. กำลังอัดของคอนกรีตกำลังสูง (ต่อ) กำลังที่ดีแม้ว่าจะมีอายุมากกว่า 28 วันขึ้นไป และหากการทำการก่อสร้าง อาคารดังกล่าวสามารถยืดออกไปได้ก็ไม่จำเป็นต้องทุบทิ้งและทำใหม่ เพราะ กำลังของคอนกรีตอาจสูงเพียงพอที่จะรับน้ำหนัก เมื่อเปิดใช้งานอาคาร ดังกล่าว ทั้งนี้อาจใช้การทดสอบการรับน้ำหนักตามมาตรฐานระบุเพื่อให้มั่น ใจในความแข็งแรงประกอบด้วย แต่อย่างไรก็ตาม หากผลการทดสอบกำลังอัดต่ำกว่ากำลังอัดที่ต้องการ ค่อนข้างมากไม่ควรใช้คอนกรีตดังกล่าว และควรหาสาเหตุเพื่อแก้ไขส่วนผสม ของคอนกรีตต่อไป

  34. อายุที่ใช้ทดสอบคอนกรีตกำลังสูงอายุที่ใช้ทดสอบคอนกรีตกำลังสูง การเลือกอายุในการทดสอบคอนกรีตจะมีผลต่อการเลือกส่วนผสมของ คอนกรีตกำลังสูงด้วย โดยทั่วไปนิยมใช้การทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตที่ 28วันเป็นเกณฑ์ แต่สำหรับงานที่ต้องการคอนกรีตมีกำลังที่สูงมากในช่วง อายุต้น เช่น งานคอนกรีตสำเร็จรูปซึ่งต้องการกำลังอัดที่สูงในช่วงอายุ 12 ถึง 24ชั่วโมง หรืองานซ่อมแซมถนนซึ่งต้องการกำลังอัดที่สูงในช่วงอายุประมาณ 3วัน งานเหล่านี้ควรใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 3 แทนการใช้ปูน ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และไม่ควรใช้เถ้าถ่านหินที่มีความละเอียดต่ำ ในส่วนผสมคอนกรีต

  35. อายุที่ใช้ทดสอบคอนกรีตกำลังสูง (ต่อ) คอนกรีตกำลังสูงมักมีส่วนผสมของวัสดุปอซโซลานอยู่ด้วย ซึ่งจะให้กำลังแก่ คอนกรีตเพิ่มขึ้นแม้ว่าอายุของคอนกรีตจะมากกว่า 28 วัน ดังนั้นในการออกแบบ ส่วนผสมคอนกรีตอาจกำหนดกำลังอัดที่อายุ 56หรือ 90วัน และทำการทดสอบ กำลังอัดของคอนกรีตที่อายุ 28 วันด้วย เพื่อดูแนวโน้มว่าเมื่อคอนกรีตมีอายุ เพิ่มขึ้นเป็น 56หรือ 90วัน จะมีกำลังสูงตามที่ต้องการเพราะคอนกรีตกำลังสูง นิยมใช้เทเสาหรือฐานรากซึ่งองค์อาคารดังกล่าวกว่าจะรับน้ำหนักอย่างเต็มที่ ตามที่ออกแบบไว้ต้องใช้เวลาในการก่อสร้างอาคารมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งใน กรณีนี้การใช้เถ้าถ่านหินหรือวัสดุปอซโซลานในส่วนผสมของคอนกรีตกำลังสูงจะ ทำให้ประหยัดเวลาและมีกำลังอัดประลัยตามอายุที่ต้องการ

  36. ปริมาณปูนซีเมนต์และน้ำปริมาณปูนซีเมนต์และน้ำ คอนกรีตกำลังสูงจะมีปริมาณปูนซีเมนต์สูงกว่าคอนกรีตกำลังธรรมดา ปริมาณปูนซีเมนต์อยู่ในช่วง 400ถึง 600กก./ม.3 การใช้ปริมาณปูนซีเมนต์ ที่มากขึ้นกว่าค่าดังกล่าวจะทำให้กำลังรับแรงของคอนกรีตลดลง ดังกราฟที่1 นอกจากนี้การใช้ปูนซีเมนต์ผสมวัสดุปอซโซลานในอัตราส่วนที่พอเหมาะ สามารถเพิ่มปริมาณวัสดุประสานในส่วนผสมและทำให้กำลังอัดเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณวัสดุประสานที่ให้กำลังอัดสูงสุดจะขึ้นอยู่กับชนิดของปูนซีเมนต์ สารเคมีผสมเพิ่มที่ใช้ ชนิดของทรายและหิน รวมทั้งวัสดุปอซโซลานที่ใช้ เนื่องจากวัสดุปอซโซลานจัดเป็นวัสดุประสานด้วย ดังนั้นจึงใช้อัตรา

  37. ปริมาณปูนซีเมนต์และน้ำ (ต่อ) ส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน (ปูนซีเมนต์บวกวัสดุปอซโซลาน) แทนการใช้อัตรา ส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ นอกจากนี้ในสารเคมีผสมเพิ่ม เช่น สารลดน้ำพิเศษ ที่ใช้ในการลดปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีตจะมีน้ำเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นปริมาณน้ำที่ใช้จริงต้องรวมปริมาณน้ำที่มีอยู่ในสารเคมีผสมเพิ่ม เหล่านี้ด้วย โดยทั่วไปอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่ใช้ในคอนกรีตกำลังสูง มักอยู่ระหว่าง 0.25 ถึง 0.40

  38. กราฟที่ 1 แสดงปริมาณปูนซีเมนต์ที่เหมาะสมสำหรับส่วนผสมคอนกรีตกำลังสูง

  39. การทดลองผสมคอนกรีต เมื่อกำหนดส่วนผสมของคอนกรีตกำลังสูงแล้ว ควรทำการลองผสมเพื่อตรวจ สอบคุณสมบัติของคอนกรีตทั้งด้านกำลังอัด การยุบตัว และคุณสมบัติอื่นๆ กำลังอัดของคอนกรีตกำลังสูงที่มีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานค่าหนึ่งๆ มีค่า แปรผันได้อย่างมาก ขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของปูนซีเมนต์ วัสดุปอซ- โซลาน มวลรวม และสารผสมเพิ่ม การใช้ปูนซีเมนต์ต่างประเภทหรือต่าง โรงงานจะให้กำลังอัดของคอนกรีตกำลังสูงแตกต่างกันได้มาก ดังกราฟที่ 2

  40. กราฟที่ 2 แสดงความแตกต่างของกำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ต่างบริษัท

  41. การทดลองผสมคอนกรีต (ต่อ) ความแตกต่างของกำลังอัดที่เกิดขึ้นอาจเนื่องมาจากองค์ประกอบทางเคมีและ ความละเอียดของปูนซีเมนต์ที่ต่างกัน การใช้เถ้าถ่านหินที่มีดัชนีกำลังที่ แตกต่างกันในส่วนผสมคอนกรีตกำลังสูงย่อมให้กำลังของคอนกรีตที่แตกต่าง กันได้ เพราะดัชนีกำลังของเถ้าถ่านหินอาจมีค่าร้อยละ 75 ถึงสูงกว่าร้อยละ 110ขึ้นไป นอกจากนี้การใช้ซิลิกาฟูมซึ่งมีดัชนีกำลังสูงได้ถึงร้อยละ 200 ย่อม ส่งผลต่อกำลังอัดของคอนกรีตอย่างมาก

  42. การทดลองผสมคอนกรีต (ต่อ) เมื่อได้ทดสอบส่วนผสมของคอนกรีตกำลังสูงในห้องปฏิบัติการแล้ว ควร ลองผสมส่วนผสมคอนกรีตดังกล่าวในสนามอีกครั้ง เพราะโดยทั่วไปกำลังอัด ของคอนกรีตที่ได้ในห้องปฏิบัติการมักจะมีค่าสูงกว่าคอนกรีตที่ผสมในสนาม ซึ่งมีสาเหตุมาจากการตวงส่วนผสม การเท การทำให้แน่น และการบ่มคอนกรีต เพราะการดำเนินการดังกล่าวกระทำในสนามไม่ดีเท่ากับในห้องปฏิบัติการ ดังกราฟที่ 3

  43. กราฟที่ 3 แสดงกำลังอัดของคอนกรีตที่ทำในห้องทดลองและที่ทำในสนาม

  44. การทดลองผสมคอนกรีต (ต่อ) กราฟที่ 3 แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างกำลังอัดของคอนกรีตที่ได้ จากการผสมในห้องทดลองกับที่ผสมในสนาม ดังนั้นต้องออกแบบให้ คอนกรีตที่ทดสอบในห้องปฏิบัติการมีค่าสูงเพียงพอทีจะชดเชยค่ากำลังอัดที่ ลดลงเนื่องจากการผสมหรือทำคอนกรีตในสนาม เมื่อเลือกส่วนผสมของคอนกรีตได้แล้วควรดำเนินการทดลองต่อไปเพื่อ เก็บข้อมูลที่จำเป็น เช่น กำลังอัดของคอนกรีตตามอายุต่างๆ ปริมาณน้ำที่ ใช้ผสม ค่าการยุบตัว และการสูญเสียค่ายุบตัว การเยิ้มน้ำ การแยกตัว การก่อตัวของคอนกรีต และความหนาแน่นของคอนกรีตกำลังสูง เพื่อใช้ เป็นค่าในการควบคุมคุณภาพของคอนกรีต

  45. ความสามารถในการเทของคอนกรีตกำลังสูงความสามารถในการเทของคอนกรีตกำลังสูง ความสามารถในการเทของคอนกรีตกำลังสูงมักใช้ค่ายุบตัวของคอนกรีต ในการกำหนด แต่ข้อเสียของการทดสอบโดยวิธียุบตัวของคอนกรีต คือ ไม่ เหมาะที่จะใช้กับคอนกรีตที่มีการยุบตัวต่ำมากหรือสูงมาก ในการทดสอบ คอนกรีตที่มีค่ายุบตัวต่ำมากหรือสูงมากควรเลือกใช้วิธีเวลาของวีบีจะให้ค่า ที่ดีกว่า คอนกรีตกำลังสูงที่ดีควรมีความหนาแน่นสูงสามารถกระทุ้งหรือเขย่า หรือทำให้แน่นได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องเทในบริเวณที่มี เหล็กเสริมหนาแน่น โดยทั่วไปแล้วมักกำหนดค่ายุบตัวของคอนกรีตประมาณ 10ซม. อย่างไรก็ตามก่อนการกำหนดค่ายุบตัวของคอนกรีตควรพิจารณาถึง

  46. ความสามารถในการเทของคอนกรีตกำลังสูง (ต่อ) รายละเอียดของแบบหล่อคอนกรีต และระยะแคบที่สุดของเหล็กเสริม การ เลือกใช้ค่ายุบตัวที่ต่ำกว่า 7.5ซม. จะต้องมีเครื่องมือในการช่วยเขย่า หรือ ทำคอนกรีตให้แน่น คอนกรีตกำลังสูงมีแนวโน้มที่จะสูญเสียค่าการยุบตัวที่ เร็วกว่าคอนกรีตกำลังธรรมดา ดังนั้นจึงควรตรวจสอบระยะเวลาที่สามารถเท คอนกรีตได้โดยไม่มีปัญหาเพื่อจะได้กำหนดการเทคอนกรีตให้เสร็จก่อนที่ คอนกรีตจะแข็งตัว ซึ่งหากคอนกรีตแข็งตัวแล้วจะทำให้ทำงานได้ยากหรือไม่ สามารถเทคอนกรีตเข้าแบบได้ คอนกรีตกำลังสูงมักมีความเหนียวหนืดมากกว่าคอนกรีตธรรมดามาก

  47. ความสามารถในการเทของคอนกรีตกำลังสูง (ต่อ) เนื่องจากมีการใช้วัสดุละเอียดในส่วนผสมสูง การใช้ปูนซีเมนต์ผสมกับวัสดุ ปอซโซลานในปริมาณที่มาก จะทำให้คอนกรีตสดเหนียวหนืด เทเข้าแบบได้ ยาก และเป็นผลเสียต่อการไหลของคอนกรีต ในการกำหนดส่วนผสม คอนกรีตกำลังสูงต้องใช้วัสดุประสานเท่าที่จำเป็นโดยที่ยังมีกำลังอัดสูงตามที่ ต้องการ ควรใช้มวลรวมหยาบหรือหินให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่ยังคงมี ความสามารถในการเทตามที่ต้องการ ในกรณีที่คอนกรีตกำลังสูงที่ออกแบบ และนำมาใช้ในสนามมีความหนืดเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างผิดปกติควรทำการ

More Related