1 / 30

ตลาดผูกขาดที่แท้จริง ลักษณะของตลาดผูกขาดแท้จริง สาเหตุของการผูกขาด ลักษณะของเส้นอุปสงค์ของผู้ผลิต

บทที่ 9 การกำหนดราคาและผลผลิตในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Price and Output Determination Under Imperfect Competition). ตลาดผูกขาดที่แท้จริง ลักษณะของตลาดผูกขาดแท้จริง สาเหตุของการผูกขาด ลักษณะของเส้นอุปสงค์ของผู้ผลิต การหาผลผลิตที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด ดุลยภาพในระยะสั้นของผู้ผูกขาด

coral
Download Presentation

ตลาดผูกขาดที่แท้จริง ลักษณะของตลาดผูกขาดแท้จริง สาเหตุของการผูกขาด ลักษณะของเส้นอุปสงค์ของผู้ผลิต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 9การกำหนดราคาและผลผลิตในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์(Price and Output Determination Under Imperfect Competition) • ตลาดผูกขาดที่แท้จริง • ลักษณะของตลาดผูกขาดแท้จริง • สาเหตุของการผูกขาด • ลักษณะของเส้นอุปสงค์ของผู้ผลิต • การหาผลผลิตที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด • ดุลยภาพในระยะสั้นของผู้ผูกขาด • ดุลยภาพในระยะยาวของผู้ผูกขาด • เปรียบเทียบตลาดผูกขาดแท้จริงกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์

  2. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด • ลักษณะของตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด • ลักษณะของเส้นอุปสงค์ที่ผู้ผลิตเผชิญ • ดุลยภาพระยะสั้นของผู้ผลิต • ดุลยภาพในระยะยาวของผู้ผลิต • ตลาดผู้ขายร้อยราย • ลักษณะของตลาดผู้ขายร้อยราย • ลักษณะของเส้นอุปสงค์ของผู้ผลิต • การวิเคราะห์ดุลยภาพของตลาดผู้ขายน้อยรายตามแบบจำลองอุปสงค์หักมุม

  3. 9.1 ตลาดผูกขาดที่แท้จริง (Pure Monopoly) 9.1.1 ลักษณะของตลาดผูกขาดแท้จริง • หน่วยผลิตเป็นผู้ผูกขาดในการผลิต/ขายสินค้าเพียงรายเดียว หน่วยผลิตจึงเป็นอุตสาหกรรม • สินค้าที่ผลิตขึ้นมีความแตกต่างจากผู้อื่น และไม่มีสินค้าอื่นที่ใช้ทดแทนได้ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ (Cross Elasticity) มีค่าเป็นศูนย์ • ผู้ผลิตรายใหม่ไม่สามารถเข้ามาทำการผลิตสินค้าชนิดนี้ได้เนื่องจากผู้ผลิตรายเดิมสามารถสร้างอุปสรรคกีดขวางได้ (Barrier to Entry) จากลักษณะตลาดดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตมีอิทธิพลในการกำหนดราคาหรือปริมาณสินค้าในตลาด

  4. 9.1.2 สาเหตุของการผูกขาด • ผู้ผลิตดังกล่าวเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตแต่เพียงผู้เดียว • ผู้ผลิตจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในผลผลิตของตนไว้ โดยอำนาจของกฎหมายทำให้ผู้ผลิตรายอื่นไม่สามารถเข้ามาผลิตแข่งขันได้ • รัฐบาลให้สัมปทานในการผลิตกับผู้ผลิตรายเดียว เช่น กิจการสาธารณูปโภคเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม • การผลิตที่จำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก จึงจะทำการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ เช่น กิจการสาธารณูปโภค ทำให้ผู้ผลิตรายใหม่ที่มีขนาดเล็กกว่าและทุนน้อยกว่า ไม่สามารถเข้ามาทำการแข่งขันได้เป็นกิจการผูกขาดโดยธรรมชาติ (Natural Monopoly) • ผู้ผลิตมีการรวมกลุ่มกันผูกขาด ซึ่งหลายประเทศถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา

  5. การที่มีผู้ขายรายเดียวในตลาด ทำให้ผู้ผูกขาดมีอิทธิพลในการกำหนดราคา เรียกว่า Price Maker แต่ถ้ากำหนดราคาสูงปริมาณขายจะน้อย หากกำหนดราคาต่ำปริมาณขายจะมาก เส้นอุปสงค์ที่ผู้ผลิตเผชิญเป็นเส้นที่ทอดลงจากซ้ายไปขวา มี slope เป็นลบ ทำให้ MR <AR ในทุกปริมาณผลผลิต เส้น MR จึงอยู่ต่ำกว่าเส้นอุปสงค์ และมี slope เป็น 2 เท่าของเส้นอุปสงค์ 9.1.3 เส้นอุปสงค์ที่ผู้ผูกขาดเผชิญ ราคา เส้น MR แบ่งครึ่งเส้นอุปสงค์ทุกปริมาณผลผลิต ในตลาดผูกขาด D=AR=P MR D=AR=P MR ปริมาณ 0

  6. เส้นอุปสงค์ อาจเปลี่ยนแปลงได้ หากปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์เปลี่ยน และเมื่อเส้นอุปสงค์เปลี่ยนไปเส้น MR ก็จะเปลี่ยนไปด้วย P P D=AR D=AR D=AR MR D=AR MR MR MR Q 0 0 Q

  7. 9.1.4 การหาผลผลิตที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด TC TR, TC A 1. การหาผลผลิตที่กำไรสูงสุดในระยะสั้น TR วิธีรวม (Total Approach) ผู้ผลิตมีกำไรสูงสุด เมื่อผลิต Q ที่ TR ห่างจาก TC มากที่สุด และ TR อยู่เหนือ TC ซึ่งที่ Q นั้น slope TR=slope TC B Q 0 Q Q2 Q1 กำไร ผู้ผลิตกำไรสูงสุดเมื่อผลิตสินค้า OQ หน่วย โดยมีกำไรเท่ากับ AB  0 Q Q Q1 Q2 

  8. วิธีส่วนเพิ่ม (Marginal Approach)ผู้ผลิตมีกำไรสูงสุดเมื่อผลิต Q ที่ MC=MR ในช่วงที่ MC กำลัง MC, MR MC E MR Q 0 Q ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าที่ MC=MR โดยผลิต OQ หน่วย ดุลยภาพอยู่ที่จุด E แต่ราคาขายเป็นไปตามเส้นอุปสงค์หรือเส้น AR

  9. 2. การหาผลผลิตที่กำไรสูงสุดในระยะยาว วิธีรวม (Total Approach) ผลิต ณ Q ที่ slope TR=slope LTC โดย TR ห่างจาก LTC มากที่สุด และ TR อยู่เหนือ LTC TR, TC LTC A B TR 0 Q Q

  10. วิธีส่วนเพิ่ม (Marginal Approach) จะผลิต ณ จุดที่ LMC = MR ในขณะที่ LMC กำลัง ดังรูป MC, MR LMC E MR Q 0 Q ในตลาดผูกขาดไม่มีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาแข่งขัน หากผู้ผูกขาดมีกำไรเกินปกติ (Excess Profit) ซึ่งเป็นกำไรของผู้ผูกขาด (Monopoly Profit) โดยสามารถรักษากำไรนี้ไว้ได้ถ้ารัฐบาลไม่เข้ามาแทรกแซงการกำหนดราคา

  11. 9.1.5 ดุลยภาพในระยะสั้นของผู้ผูกขาด 1) การกำหนดผลผลิตเมื่อไม่มีการควบคุมราคา ปริมาณ Q ที่ได้กำไรสูงสุดอยู่ที่ MC=MR โดยปกติผู้ผูกขาดมีกำไรเกินปกติ (TR>TC) คือได้ Monopoly Profit P,C MC ในกรณีที่ผู้ผูกขาดมีกำไรเกินปกติ ดุลยภาพอยู่ที่ MC=MR ที่จุด E ผลิต OQ หน่วย ราคา = OP บาท TR = OPFQ TC = OP1IQ มีกำไรเกินปกติ = P1PFI F P AC P1 I E D=AR MR Q 0 Q แต่ผู้ผูกขาดอาจขาดทุนหรือมีเพียงกำไรปกติก็ได้ ในระยะสั้น หากผู้ผลิตขาดทุน จะยังผลิตต่อไป ถ้า TR>TVC หรือAR>AVC และจะเลิกผลิตเมื่อ AR<AVC ในระยะยาวผู้ผูกขาดจะเลิกกิจการไปถ้าเกิดการขาดทุน

  12. ในกรณีที่ผู้ผูกขาดขาดทุนในกรณีที่ผู้ผูกขาดขาดทุน ดุลยภาพอยู่ที่ MC=MR ที่จุด E ผลิต OQ หน่วย ราคา = OP บาท TR = OPFQ TC = OP1IQ TR<TC เกิดการขาดทุน = P1PFI แต่ P>AVC แม้จะขาดทุน ผู้ผลิตยังผลิตต่อ เพราะชดเชยการขาดทุน TFC ได้บางส่วน P,C MC ATC I P1 AVC P F E D=AR MR Q 0 Q

  13. เส้นอุปทานระยะสั้นของผู้ผูกขาดเส้นอุปทานระยะสั้นของผู้ผูกขาด ไม่อาจหาเส้นอุปทานระยะสั้นของผู้ผูกขาดได้ เนื่องจากเส้นอุปทานแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Q และ P ที่แน่นอน แต่กรณีตลาดผูกขาด Q จำนวนหนึ่งอาจสัมพันธ์กับ P ได้หลาย P หรือ P หนึ่งอาจสัมพันธ์กับ Q ที่ขายได้หลายจำนวน ขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา และตำแหน่งของเส้นอุปสงค์ของผู้ผูกขาด P,C P,C MC MC P P P' E E' D=AR E D'=AR' D'=AR' D=AR MR' MR MR' Q Q 0 0 Q Q' Q MR ปริมาณดุลยภาพเดียวกัน แต่ราคาขายแตกต่างกัน สินค้า OQ หน่วย มีราคาขาย 2 ราคา คือ OP และ OP ราคาเดียวกันแต่ปริมาณขายแตกต่างกัน ราคาขาย OP เดียวกัน มีปริมาณขาย 2 ปริมาณ คือ OQ และ OQหน่วย ในระยะสั้น (และระยะยาว) ไม่อาจหาเส้นอุปทานของผู้ผูกขาดได้

  14. 1) การกำหนดผลผลิตเมื่อรัฐบาลควบคุมราคา • กิจการบางอย่างอาจจำเป็นต้องมีการผูกขาด จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม เช่น กิจการสาธารณูปโภค • หากรัฐบาลปล่อยให้กำหนดราคาหรือปริมาณผลิตโดยเสรี คือได้กำไรสูงสุดที่ MC=MR อาจเกิดการแสวงหากำไรมากเกินไป หรือมีการผลิตน้อยเกินไปหรือไม่เต็มประสิทธิภาพ • การผลิตที่ MC=MR นั้น P>MC แสดงว่าผลิตสินค้าน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค • การควบคุมการกำหนดราคาของรัฐบาลของผู้ผูกขาด • กำหนดราคาที่P=MCเรียกว่าIdeal Priceซึ่งทำให้การจัดสรรทรัพยากรมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยปกติผู้ผลิตอาจยังมีกำไรอยู่ แต่หากผู้ผลิตขาดทุน รัฐบาลต้องให้เงินอุดหนุนในส่วนที่ขาดทุนนั้น • กำหนดราคาที่P=ACเรียกว่าFair Priceซึ่งแม้จะไม่ใช่การจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดก็จริง แต่การจัดสรรทรัพยากรดีขึ้นกว่าการปล่อยให้ผู้ผูกขาดกำหนดราคาเอง โดยผู้ผลิตมีเพียงกำไรปกติ (Normal Profit) เท่านั้น

  15. รัฐบาลแทรกแซงการกำหนดราคารัฐบาลแทรกแซงการกำหนดราคา P,C MC AC H F I M K E D=AR MR Q 0 Q Q1 Q2 • ผู้ผูกขาดผลิตที่ MC=MR ที่จุด E ผลิต OQ หน่วยกำหนดราคา HQ • ผู้ผลิตมีกำไรเกินปกติ HM ต่อหน่วย • เป็นการผลิตที่ P>MC ทำให้ผลผลิตน้อยกว่าความต้องการ • รัฐบาลแทรกแซง กำหนด P=MC การผลิตอยู่ที่จุด F • ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น OQ1หน่วยและผู้ผลิตยังคงมีกำไรเกินปกติ FK ต่อหน่วย • รัฐบาลแทรกแซงกำหนด P=AC การผลิตอยู่ที่จุด I • ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น OQ2หน่วย ขายในราคา IQ2 ผู้ผลิตมีเพียงกำไรปกติ

  16. รัฐบาลแทรกแซง โดยกำหนดให้ผลิตที่ P=MC ในกรณีที่ผู้ผลิตขาดทุน P,C MC • ผู้ผูกขาดผลิตที่ MC=MR ที่จุด E • ผลิต OQ หน่วยกำหนดราคา LQ • ผู้ผลิตมีกำไรเกินปกติ LM ต่อหน่วย • เป็นการผลิตที่ P>MC • ทำให้ผลผลิตน้อยกว่าความต้องการ AC L K I M F E D=AR MR Q 0 Q1 Q Q2 • รัฐบาลแทรกแซง กำหนด P=MC การผลิตอยู่ที่จุด F • ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น OQ2หน่วยแต่ผู้ผลิตขาดทุน IF ต่อหน่วย • รัฐบาลต้องให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ผลิต • รัฐบาลแทรกแซงกำหนด P=AC การผลิตอยู่ที่จุด K • ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น OQ1หน่วย แต่ P>MC (Q น้อยไป) แต่ผู้ผลิตได้กำไรปกติ การกำหนดที่ P=AC การจัดสรรทรัพยากรไม่มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่เหมือนการผลิตที่ P=MC

  17. ในระยะยาว ผู้ผูกขาดสามารถเลือกขนาดโรงงาน หรืออาจเลิกกิจการได้ ดุลยภาพในระยะยาวคือ ผู้ผูกขาดผลิตที่ LMC=MR ได้กำไรสูงสุด กว่าการใช้โรงงานขนาดอื่นๆ ผู้ผูกขาดอาจมีกำไรปกติ ถ้า LMC=MR โดย AR=LAC ผู้ผูกขาดอาจขาดทุน ถ้า LMC=MR โดย AR<AVC และจะเลิกกิจการ 9.1.6 ดุลยภาพในระยะยาวของผู้ผูกขาด • ในระยะยาว ผู้ผูกขาดไม่จำเป็นต้องผลิตโดยใช้ขนาดโรงงานที่เหมาะสมที่สุด (Optimum Size) แต่จะใช้โรงงานขนาดใด ขึ้นกับอุปสงค์ตลาด P LMC SMC SAC ดุลยภาพระยะยาวของผู้ผูกขาดอยู่ที่ LMC=MR ซึ่งใช้ขนาดของโรงงานที่เล็กกว่า Optimum Size ผลิต OQ หน่วย ในราคา OP และเกิดดุลยภาพในระยะสั้นด้วยคือ SMC=MR ผู้ผูกขาดมีกำไรเกินปกติเท่ากับ P1PFI LAC F P P1 I E D=AR MR Q 0 Q

  18. 9.1.7 เปรียบเทียบตลาดผูกขาดแท้จริงกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์

  19. 9.2 ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) 9.2.1 ลักษณะของตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด • มีผู้ขายจำนวนมากราย จนการดำเนินการของผู้ผลิตแต่ละรายไม่กระทบถึงกัน • ไม่มีสิ่งกีดขวางสำหรับผู้ผลิตหน้าใหม่จะเข้ามาแข่งขันในตลาด • ไม่มีการรวมหัวกันของผู้ผลิตในตลาด • สินค้าของผู้ผลิตหรือผู้ขายแต่ละรายแตกต่างกัน แต่ใช้ทดแทนกันได้ (Differentiated Product) ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะที่สำคัญของตลาด ทำให้ผู้ผลิตแต่ละรายมีอำนาจผูกขาดในสินค้าของตนอยู่บ้าง หากผู้ผลิตทำให้สินค้าตนเองแตกต่างจากของผู้ผลผลิตรายอื่นได้มากเท่าใด อำนาจการผูกขาดก็มากขึ้นเท่านั้น การมีสินค้าอื่นทดแทนได้ จึงทำให้มีการแข่งขันกัน การตั้งราคาจึงต้องคำนึงถึงการทดแทนกันของสินค้าอื่น มีการใช้นโยบายส่งเสริมการขาย เพื่อเป็นการเพิ่มอุปสงค์ ซึ่งหากทำได้อุปสงค์ จะเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องลดราคาสินค้า ดังนั้นกำไรจึงมากขึ้นหรือขาดทุนน้อยลง

  20. 9.2.2 ลักษณะของเส้นอุปสงค์ที่ผู้ผลิตเผชิญ การที่สินค้ามีความแตกต่างกัน และมีสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ ทำให้เส้นอุปสงค์ที่ผู้ผลิตเผชิญเป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไปขวา มี slope เป็นลบ แต่มีความชันน้อยกว่าเส้นอุปสงค์ในตลาดผูกขาดแท้จริง การขายสินค้าเพิ่มขึ้น MR จะ < AR ทุกๆ ระดับ เส้น MR เป็นเส้นแบ่งครึ่งเส้นอุปสงค์ และ D=AR=P  MR P D=AR=P MR Q 0

  21. 9.2.3 ดุลยภาพระยะสั้นของผู้ผลิต ดุลยภาพการผลิตระยะสั้นของผู้ผลิตในตลาดกึ่งแข่งขันผูกขาดอยู่ที่ MC=MR (โดย Slope MC > Slope MR) และตั้งราคาบนเส้น AR (หรือเส้นอุปสงค์) เหมือนกันกับกรณีของผู้ผลิตในตลาดผูกขาด ผู้ผลิตมีโอกาสที่จะได้รับกำไรส่วนเกิน กำไรปกติ หรือขาดทุนตราบเท่าที่ราคา AR > AVC การขาดทุนที่เกิดยังน้อยกว่าต้นทุนคงที่ ผู้ผลิตจะยังคงทำการผลิตต่อไป Price, Cost, Revenue MC AC F P P1 I . E รูปนี้ได้กำไร AR MR 0 Q Q

  22. 9.2.3 ดุลยภาพระยะยาวของผู้ผลิต ในระยะยาว ผู้ผลิตมีแนวโน้มได้รับเพียงกำไรปกติเท่านั้น คือ P=AC เนื่องจากในระยะยาวผู้ผลิตรายใหม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้โดยเสรี ตราบที่ผู้ผลิตมีกำไรเกินปกติผู้ผลิตรายใหม่จะเข้ามาแข่งขันเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดผู้ผลิตมีเพียงกำไรปกติ ดุลยภาพระยะยาวอยู่ที่ LMC=MR=SMC และ AR=LAC=SAC P ดุลยภาพอยู่ที่จุด E ผลิต OQ หน่วย ในราคา OP TR=TC=OPFQ ผู้ผลิตมีเพียงกำไรปกติ LMC LAC F P E D=AR MR Q 0 Q ในระยะยาวผู้ผลิตอาจมีกำไรเกินปกติได้หากสร้างอำนาจผูกขาดของตนเองได้มาก ในระยะยาวผู้ผลิตไม่ได้ใช้ขนาดของโรงงานที่จุดต่ำสุดของ LAC แสดงว่ามีการผลิตสินค้าต่ำกว่าที่ควรผลิตในระดับต้นทุนต่ำสุด การใช้ทรัพยากรยังไม่ได้ประโยชน์เต็มที่

  23. 9.3 ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) 9.3.1 ลักษณะของตลาดผู้ขายน้อยราย • มีผู้ผลิตหรือผู้ขายจำนวนน้อยราย คือตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ในกรณีของผู้ขายน้อยราย เรียกตลาดว่า Duopoly • การดำเนินนโยบายของผู้ผลิตหรือผู้ขายในตลาดมีผลกระทบต่อกัน • สินค้าในตลาดอาจจะมีลักษณะเหมือนกัน (Homogeneous Product) หรือ แตกต่างกันแต่สามารถใช้ทดแทนกันได้ (Differentiated Product) ถ้าเป็นตลาดผู้ขายน้อยรายที่ผลิตสินค้าที่เหมือนกันเรียกว่า “Pure Oligopoly” แต่ถ้าเป็นตลาดผู้ขายน้อยรายที่ผลิตสินค้าแตกต่างกันแต่ใช้ทดแทนกันได้ เรียกว่า “Differentiated Oligopoly” • การเข้ามาผลิตแข่งขันของผู้ผลิตรายใหม่จะทำได้ยาก • มีการแข่งขันทั้งทางด้านที่ใช้ราคา (Price Competition) แต่ไม่นิยมโดยมักใช้การแข่งขันที่ไม่ใช้ราคา (Non–price Competition) เช่น การปรับปรุงคุณภาพสินค้า การส่งเสริมการขาย การโฆษณา เพื่อเป็นการเพิ่มอุปสงค์

  24. 9.3.2 ลักษณะของเส้นอุปสงค์ที่ผู้ผลิตเผชิญ • เส้นอุปสงค์ในตลาดผู้ขายน้อยราย มี slope เป็นลบเหมือน ๆ กับตลาดไม่แข่งขันสมบูรณ์แบบอื่น ๆ นั่นคือการที่ผู้ขายจะขายสินค้าต้องลดราคาลงมา • การผลิตเพื่อได้กำไรสูงสุดจะอยู่ ณ จุดที่ MC = MR • การวิเคราะห์ราคาและปริมาณผลผลิตที่กำไรสูงสุดในตลาดผู้ขายน้อยราย จะมีความยุ่งยากกว่าตลาดแบบอื่นๆ เพราะเส้นอุปสงค์ของผู้ผลิตในตลาดนี้ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนเหมือนตลาดแบบอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการโต้ตอบของผู้ผลิตรายอื่นด้วย • ลักษณะของตลาดผู้ขายน้อยราย ทำให้การดำเนินนโยบายของผู้ผลิตในตลาดมีแนวโน้มแตกต่างกัน ตามระดับของความสัมพันธ์ ใน 2ลักษณะใหญ่ๆ คือ กรณีที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายมีการรวมตัวกัน และกรณีที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายมีการดำเนินนโยบายอย่างอิสระ

  25. กรณีที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายมีการรวมตัวกัน (Collusion) • กรณีที่ผู้ผลิตผลิตสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกัน อาจมีการรวมตัวกันอย่างสมบูรณ์ (Perfect Collusion) หรือไม่สมบูรณ์ (Imperfect Collusion) • การรวมตัวกันอย่างสมบูรณ์ (Perfect Collusion หรือ Cartel) เป็นการรวมตัวกันของผู้ผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมหรือตลาดหนึ่งๆ มีจุดมุ่งหมายที่จะโยกย้ายอำนาจการตัดสินใจในการดำเนินการของผู้ผลิตแต่ละรายมาไว้ที่ส่วนกลาง โดยคาดหมายว่าจะทำให้กำไรของผู้ผลิตแต่ละรายเพิ่มสูงขึ้น • Cartel ที่มีการรวมอำนาจในการตัดสินใจอย่างเต็มที่ เรียกว่า Centralized Cartel • Cartel ที่มีอำนาจเพียงแบ่งส่วนแบ่งตลาดเท่ากันในกลุ่ม เรียกว่า Market-Sharing Cartel • การรวมตัวกันอย่างไม่สมบูรณ์ (Imperfect Collusion) เป็นรูปแบบการรวมตัวที่ไม่เคร่งครัด โดยมักผู้ผลิตรายใดรายหนึ่งในตลาดเป็นผู้นำด้านการกำหนดราคา หรือเรียกว่า Price Leadership ผู้นำราคาเป็นผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำสุดหรือเป็นผู้ผลิตรายใหญ่มากในอุตสาหกรรมหรือตลาดหรือเกิดจากผู้ผลิตที่มีประสบการณ์มากที่สุด

  26. การที่ผู้ผลิตในตลาดผู้ขายน้อยรายไม่ใช้การแข่งขันด้านราคามีเหตุผล 3 ประการ คือ • การลดราคาสินค้าไม่ช่วยให้สามารถขายสินค้าเพิ่มขึ้นได้มากนัก เพราะคู่แข่งขันจะโต้ตอบด้วยการลดราคาทันที • ผู้ขายเชื่อว่าสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้โดยการปรับปรุงคุณภาพสินค้า ซึ่งทำได้ดีกว่าและถาวรกว่าการใช้ราคา การลอกเลียนแบบหรือคุณภาพ ต้องใช้เวลานานกว่าและทำได้ยากกว่า • เนื่องจากผู้ขายน้อยรายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่มีจำนวนผลผลิตและฐานะการเงินสูงมาก สามารถลงทุนโฆษณาสินค้าและพัฒนาคุณภาพของสินค้า

  27. 9.3.3 การวิเคราะห์ดุลยภาพของตลาดผู้ขายน้อยราย ตามแบบจำลองอุปสงค์หักมุม (Kinked Demand Curve) • ตลาดผู้ขายน้อยรายที่ผลิตสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างกันแต่สามารถใช้ทดแทนกันได้ ผู้ผลิตจะมีการดำเนินนโยบายอย่างอิสระ • มีแบบจำลองจำนวนมากที่ใช้อธิบายถึงการดำเนินนโยบายลักษณะนี้ • ในตลาดผู้ขายน้อยรายมีการตั้งข้อสังเกตว่าราคาในตลาดค่อนข้างตายตัว (Price Rigidity) คือไม่เปลี่ยนแปลงง่ายๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน แบบจำลองที่อธิบายแนวความคิดนี้คือ แบบจำลองอุปสงค์หักมุม(Kinked Demand Curve) ของ Paul Sweezy อธิบายว่าทำไมราคาสินค้าในตลาดผู้ขายน้อยรายจึงมีแนวโน้มคงที่โดยใช้เส้นอุปสงค์ที่มีลักษณะหักมุม ณ ระดับราคาตลาด จากการที่ผู้ขายน้อยรายดำเนินนโยบายอิสระ หากมีการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าจะมีผลกระทบต่อผู้ขายรายอื่นในตลาด ทำให้ผู้ขายมักไม่เปลี่ยนแปลงราคา แม้ว่าต้นทุนการผลิตอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ราคาจะยังอยู่ตรงเส้นอุปสงค์หักมุมพอดี พฤติกรรมสำคัญของผู้ผลิตในตลาดผู้ขายน้อยรายตามแบบจำลองนี้คือถ้าผู้ผลิตอื่นขึ้นราคาจะไม่ขึ้นราคาตาม แต่ถ้าผู้ผลิตอื่นลดราคาจะลดราคาตาม

  28. P A การที่เส้นอุปสงค์เป็น Kinked Demand Curve เพราะ • ถ้าผู้ผลิตรายใดลดราคาสินค้า คนอื่นในตลาดจะลดราคาตาม หรืออาจจะลดราคาต่ำกว่าด้วยซ้ำ ผลทำให้ปริมาณสินค้าจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เส้นอุปสงค์ช่วง ED จึงมี Ed เป็น inelastic • ถ้าผู้ผลิตรายใดขึ้นราคาสินค้า คนอื่นในตลาดจะไม่เปลี่ยนแปลงราคาตาม ผลคือปริมาณขายของผู้ผลิตรายดังกล่าวจะลดลงมากกว่าที่คาดไว้หรืออาจขายไม่ได้ทำให้เส้นอุปสงค์ช่วง AE จึงมี Ed เป็น Elastic E P D Q 0

  29. เมื่อเส้นอุปสงค์ในตลาดผู้ขายน้อยรายเป็นเส้นอุปสงค์หักงอ ทำให้เส้น MR มีการขาดช่วงตรงราคาตลาด โดยเส้น MR มี 2 ช่วง P A P' B Kinked demand D AR1 C AR2 MR1 Q 0 Q MR2 เส้น APD เป็นเส้นอุปสงค์หักงอ ทำให้เส้น MR เป็น 2 ช่วง คือ AB จะเป็นเส้น MR ของอุปสงค์ช่วง AP' และ CMR2เป็นเส้น MR ของอุปสงค์ช่วง P'D

  30. ดุลยภาพการผลิต MC=MR เกิดในช่วงที่เส้น MR ขาดตอนคือช่วง BC ผลิต OQ หน่วย ราคา=OP เป็นราคาที่มุมของเส้นอุปสงค์พอดี โดยปกติ เส้น MR และ MC จะตัดกันในช่วงเส้น MR ขาดตอน และผู้ผลิตได้กำไรสูงสุดโดยผลิตสินค้าและกำหนดราคาที่ค่อนข้างตายตัวที่มุมหักงอของเส้นอุปสงค์ การที่ MR และ MC ตัดกันในช่วง MR ที่ไม่ขาดตอน เป็นไปได้ยากเพราะต้นทุนการผลิตต้องสูงหรือต่ำมาก จึงจะตัดในช่วง AE หรือ CMR แม้ว่าต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตจะเปลี่ยนแปลง โดยลดหรือเพิ่มเป็น MC1หรือ MC2ก็มักไม่เกินจากช่วง MR ขาดตอน P A MC2 MC0 MC1 E P การแสวงหากำไรสูงสุดในการผลิตจึงยังอยู่ที่มุมหักงอของเส้นอุปสงค์ B Kinked Demand Curve จึงอธิบายว่าทำไมราคาจึงมักไม่เปลี่ยนแปลงในตลาดผู้ขายน้อยรายแม้ว่าต้นทุนและอุปสงค์จะเปลี่ยนแปลงไป D=AR C Q 0 Q MR

More Related