1 / 49

ปัญหาและอุปสรรคในงานก่อสร้าง ที่เกี่ยวกับกฎหมาย

สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย. สภาวิศวกร COUNCIL OF ENGINEERS. THE CONSULTING ENGINEERS ASSOCIATION OF THAILAND. ปัญหาและอุปสรรคในงานก่อสร้าง ที่เกี่ยวกับกฎหมาย. ที่นิติบุคคลและวิศวกรควรทราบ. 1. หัวข้อการนำเสนอ. 01 – ประเภทของสัญญาจ้างก่อสร้าง 02 – สัญญามาตรฐาน

Download Presentation

ปัญหาและอุปสรรคในงานก่อสร้าง ที่เกี่ยวกับกฎหมาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทยสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย สภาวิศวกร COUNCIL OF ENGINEERS THE CONSULTING ENGINEERS ASSOCIATION OF THAILAND ปัญหาและอุปสรรคในงานก่อสร้างที่เกี่ยวกับกฎหมาย ที่นิติบุคคลและวิศวกรควรทราบ 1

  2. หัวข้อการนำเสนอ • 01 – ประเภทของสัญญาจ้างก่อสร้าง • 02 – สัญญามาตรฐาน • 03 – รูปแบบของสัญญามาตรฐาน • 04 – ข้อสัญญาที่ดี • 05 – จำเลยร่วม • 06 – วิธีการชั่วคราว • 07 – ศาล • 08 – อนุญาโตตุลาการ • 09 – ผู้ชี้ขาด • 10 – ผู้ควบคุมงาน ตาม พ.ร.บ. • 11 – ผู้บริหารงานก่อสร้าง • 12 – ผู้ว่าจ้าง • 13 – ผู้รับเหมา • 14 – ผู้รับเหมาช่วง • 15 – หลักประกัน • 16 – ค่าปรับ (เบี้ยปรับ) • 17 – ประกันภัย • 18 – อายุความ • 19 – โอนสิทธิในการรับค่าจ้าง • 20 – ค่าจ้าง Back to Back • 21 – เหตุสุดวิสัย • 22 – ขยายระยะเวลาก่อสร้าง • 23 – ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น • 24 – การบอกเลิกสัญญา • 25 – การแล้วเสร็จของงาน

  3. 01 - ประเภทของสัญญาจ้างก่อสร้าง Unit Cost Cost Plus (Prime Cost Sum – Pay what is Spent) Turn Key Design & Build GMP (Guarantee Maximum Price) Build, Operate & Transfer จ้างเหมา Lump Sum

  4. 02 - สัญญามาตรฐาน FIDIC (International Federation of Consulting Engineers) JCT (Joint Contracts Tribunal) ICE (Institute of Civil Engineers) ACE (Association of Consulting Engineers) ACA (Association of Consultant Architects) สมาคมสถาปนิกสยาม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย คณะกรรมการพัสดุ

  5. 03 – รูปแบบของสัญญามาตรฐาน ข้อตกลง (Articles of Agreement) เงื่อนไขทั่วไป (General Conditions) เงื่อนไขเฉพาะโครงการ (Conditions of Particular Application, Particular Conditions หรือ Special Conditions) เอกสารผนวก (Appendices)

  6. 04 - ข้อสัญญาที่ดี ชัดเจน (Clarity) ง่ายต่อการทำความเข้าใจ (Simplicity) ครอบคลุม (Comprehensive) เป็นธรรม (Fair) มีขั้นตอนในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีวิธีการลดความขัดแย้ง มีทางออกในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ไม่ยุ่งยาก รวดเร็ว และไม่สิ้นเปลือง

  7. 04 – ข้อสัญญาที่ดี (ต่อ) จ้างเหมา กับ VAT ฎีกา 1159/2550 • ขณะที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 10 ต่อมามีพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 353 ลดเหลือร้อยละ 7 สัญญาว่าจ้างมีข้อความว่า... • “ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายและผู้รับจ้างตกลงรับเงินค่าจ้างจำนวน 40,499,000 บาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 3,681,727.27 บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่นๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้ว โดยถือราคาเหล่ารวมเป็นเกณฑ์...” • การที่สัญญาระบุจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วยเป็นเพียงกำหนดรายละเอียดเท่านั้น หามีผลทำให้สัญญาจ้างเหมาราคารวมกลับกลายเป็นสัญญาแยกความรับผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มออกไปต่างหากไม่ จำเลยจึงต้องชำระส่วนต่างของภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์

  8. 05 – จำเลยร่วม ป.วิ-แพ่ง ม.57(3)(ก) เพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ผู้รับประกันภัย ผู้ร่วมรับผิดอื่น

  9. 06 - วิธีการชั่วคราว • ศาลยุติธรรม (ห้ามก่อสร้างเป็นการชั่วคราว) • เอกชน กับ เอกชน • ศาลปกครอง (ยกเลิกการประกวดราคา) • เอกชน กับ หน่วยงานทางปกครอง

  10. 06 – วิธีการชั่วคราว (ต่อ) คำสั่งห้ามชั่วคราว - ศาลปกครอง • คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 361/2546 “การกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีในระหว่างการพิจารณาคดี มีหลักเกณฑ์สองประการคือ… • หนึ่ง คำฟ้องต้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ที่ขอนั้นมาใช้ได้ โดยต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่าผู้ฟ้องคดีตั้งใจกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้อง และ... • สอง จะต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นแก่การบริหารงานของรัฐ

  11. 07 - ศาล “ศาลแพ่ง กรุงเทพมหานคร แต่เพียงแห่งเดียว” ใช้ไม่ได้แล้ว ต้องเลิกสัญญา ใช้เวลานาน เสียค่าใช้จ่ายสูง

  12. 07 – ศาล [ต่อ] ศาล – ป วิแพ่ง ม. 7(4) ยกเลิกปี 2534 • ถ้าได้มีการตกลงกันไว้เป็นหนังสือว่า... • คู่สัญญาได้ยินยอมกันว่าบรรดาข้อพิพาทที่ได้เกิดขึ้นแล้วก็ดี หรือข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้นจากข้อสัญญาก็ดี... • ให้เสนอต่อศาลชั้นต้นศาลใดศาลหนึ่งตามที่ระบุไว้ ซึ่งไม่มีหรืออาจไม่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้อง ข้อตกลงเช่นนี้ให้เป็นอันผูกพันกันได้... • แต่ศาลที่ได้ตกลงกันไว้นั้นจะต้องเป็นศาลที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลนั้น หรือมูลคดีของเรื่องนั้นได้เกิดขึ้น หรือทรัพย์สินที่พิพาทกันนั้นตั้งอยู่ภายในเขตศาลแห่งนั้น ๆ

  13. 07 – ศาล [ต่อ] ศาล – ป วิแพ่ง มาตรา 4 ปัจจุบัน เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น (1) คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ (2) คำร้องขอ ให้เสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลหรือต่อศาลที่ผู้ร้องมี ภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล การที่จะเขียนสัญญาว่า “หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้น คู่สัญญาตกลงให้ฟ้องที่ศาลแพ่ง กรุงเทพมหานคร แต่เพียงแห่งเดียว” เหมือนแต่ก่อน ใช้บังคับไม่ได้แล้ว และอาจก่อให้เกิดปัญหาฟ้องผิดศาลได้

  14. 07 – ศาล [ต่อ] ศาล – ฎีกา 9430/2554 • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) บัญญัติว่า... • คำฟ้องให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่... • สัญญาจ้างก่อสร้างระหว่าง จำเลย กับ หจก ว. ระบุว่าทำขึ้น ณ ที่ทำการจำเลย ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในเขตของศาลจังหวัดพล... • หจก ว. โอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างตามสัญญาให้โจทก์ เมื่อสัญญาที่เป็นมูลหนี้ให้เกิดการโอนสิทธิเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดพล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลแขวงขอนแก่น

  15. 08 - อนุญาโตตุลาการ • เข้ามาแทนที่ศาล • พรบ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 และ พ.ศ.2545 • ถ้ามีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน จึงจะฟ้องคดีในศาลได้ • รัฐแพ้คดีบ่อย ครม. มีมติไม่ให้รัฐทำสัญญากับเอกชน โดยมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ • ค่าใช้จ่ายอนุญาโตตุลาการต่างประเทศแพงมาก ทางออกใหม่ได้ • “ผู้ชี้ขาด”

  16. 08 - อนุญาโตตุลาการ [ต่อ] อนุญาโตตุลาการ – มติ ครม. 28 ก.ค. 52 • โครงการขนาดใหญ่หรือการให้สัมปทานของรัฐได้มีการตกลงให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท ส่วนใหญ่หน่วยงานของรัฐจะเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือเป็นฝ่ายต้องชดใช้ค่าเสียหาย จึงให้ปรับปรุงมติ ครม. วันที่ 27 มกราคม 2547 ข้อ 1 เป็น ... • “สัญญาทุกประเภทที่หน่วยงานของรัฐทำกับเอกชนในไทยหรือต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ ไม่ควรเขียนผูกมัดในสัญญาให้มอบข้อพิพาทให้คณะอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด หากมีความจำเป็น ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ ไป”

  17. 08 - อนุญาโตตุลาการ [ต่อ] อนุญาโตตุลาการ – มติ ครม 7 ธค 53 • รับทราบผลการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และนักวิชาการ เกี่ยวกับการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ก.ค.52 (เรื่อง การทำสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชน) โดยสรุป คือ... “ให้จำกัดประเภทของข้อพิพาทที่ควรหรือไม่ควรใช้วิธีอนุญาโตตุลาการ มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก สร้างเสริมขีดความสามารถของบุคลากรและพัฒนาระบบการบริหารจัดการสัญญา” • มอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมเร่งร่าง พรบ. อนุญาโตตุลาการฉบับใหม่ ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรี

  18. 08 - อนุญาโตตุลาการ [ต่อ] อนุญาโตตุลาการ – พรบ. • มาตรา 14 พรบ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 บัญญัติว่า... • “ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ โดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่อคณะอนุญาโตตุลาการตามสัญญา... • คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจไม่ช้ากว่าวันยื่นคำให้การหรือภายในระยะเวลาที่มีสิทธิยื่นคำให้การตามกฎหมายให้มีคำสั่งจำหน่ายคดี เพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ... • และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ ก็ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย”

  19. 08 - อนุญาโตตุลาการ [ต่อ] อนุญาโตตุลาการ – ฎีกา 10212/2553 • สัญญาจ้างออกแบบและควบคุมการก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงว่า... • ในกรณีที่มีข้อเรียกร้อง ข้อพิพาท หรือเรื่องอื่นใดที่เป็นปัญหาระหว่างคู่สัญญาซึ่งไม่สามารถยุติโดยการเจรจา ให้ได้รับการชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการ เป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการ ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาล... • เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ... • เมื่อโจทก์ไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน ย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

  20. 08 - อนุญาโตตุลาการ [ต่อ] อนุญาโตตุลาการ – ฎีกา 12705/2553 • การที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้น... • ศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม พรบ อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 ในวันชี้สองสถาน... • ศาลได้สอบถามคู่ความแล้ว คู่ความแถลงรับว่าได้มีการทำสัญญาพิพาท ศาลชั้นต้นบันทึกข้อเท็จจริงดังกล่าวในรายงานกระบวนพิจารณา ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้ว ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้

  21. 08 - อนุญาโตตุลาการ [ต่อ] อนุญาโตตุลาการ – ฎีกา 8714/2554 • ผู้ร้องก่อสร้างทางขึ้นที่จอดรถพิพาทมีความสูง 2.03 เมตร ไม่ได้ระยะความสูงตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง อาคารจอดรถยนต์ พ.ศ.2521 ซึ่งต้องมีความสูง ไม่น้อยกว่า 2.10 เมตร... • แต่ได้รับยกเว้นตามกฎกระทรวงฉบับที่ 12 ออกตามความใน พรบ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ทางขึ้นที่จอดรถยนต์ของผู้ร้องจึงถูกต้องตามกฎหมาย... • การที่อนุญาโตตุลาการไม่หยิบยกกฎกระทรวงดังกล่าวมาวินิจฉัย แล้วชี้ขาดให้ผู้ร้องชำระค่าเสียหายแก่ผู้คัดค้านเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย

  22. 09 - ผู้ชี้ขาด ศาลฎีการับรองผู้ชี้ขาด DAB ใน FIDIC 1999

  23. 09 – ผู้ชี้ขาด (ต่อ) ผู้ชี้ขาด (Adjudicator) – ฎีกา 1982/2524 • สัญญาจ้างมีข้อความว่า.... “ข้อพิพาทหรือความขัดแย้งไม่ว่าประการใดๆ ที่เกิดขึ้นจากสัญญาหรือในการปฏิบัติงาน (ไม่ว่าระหว่างการดำเนินงานหรือหลังจากที่งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่ว่าก่อนหรือหลังการเลิกสัญญา การละทิ้งงานหรือการผิดสัญญา)... ให้เสนอเป็นประการแรกและให้ทำการชำระสะสางโดยวิศวกร และวิศวกรจะได้แจ้งการตัดสินของเขาเป็นลายลักษณ์อักษรแก่เทศบาลและผู้รับเหมาภายใน 90 วัน”... • วิศวกรที่ปรึกษาจึงมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทหรือความขัดแย้งระหว่างโจทก์และจำเลยได้ ข้อสัญญาดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

  24. 09 – ผู้ชี้ขาด (ต่อ) ผู้ชี้ขาด (Adjudicator) – FIDIC • Disputes shall be adjudicated by a dispute adjudication board (DAB) in accordance with Sub-clause 20.4. • The parties shall jointly appoint a dab by the date stated in the appendix to tender. • The DAB shall comprise, in the appendix to tender, either one or three suitably qualified persons (“the members”). • If the number is not so stated and the parties do not agree otherwise, the dab shall comprise three persons.

  25. 10 – ผู้ควบคุมงาน ตาม พรบ. • ผู้ควบคุมงาน คือ ใคร ตาม พรบ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 • ความรับผิดทางอาญาของผู้ควบคุมงาน ตาม พรบ. • ผู้บริหารงานก่อสร้าง เป็น ผู้ควบคุมงานตามคำพิพากษาของศาล • ไม่ได้ลงชื่อในคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารก็เป็นผู้ควบคุมงานตามคำพิพากษา

  26. 10 – ผู้ควบคุมงาน ตาม พรบ. (ต่อ) • พรบ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 ... “ผู้ควบคุมงาน” หมายความว่า “ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการอำนวยการหรือควบคุมดูแลการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร” ดังนั้น “ผู้ควบคุมงาน” ไม่จำเป็นต้องเป็น วิศวกร หรือสถาปนิก ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือสถาปัตยกรรมควบคุม

  27. 10 – ผู้ควบคุมงาน ตาม พรบ. (ต่อ) คำพิพากษาฎีกาที่ 4805/2553 • จำเลยที่ 4 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง แม้จะฟังว่าลายมือชื่อวิศวกรผู้ควบคุมงานก่อสร้างเป็นลายมือชื่อปลอม... • ก็มีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่ 4 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลงลายมือชื่อจำเลยที่ 4 ในช่องวิศวกรและผู้ควบคุมงาน.... • และยินยอมให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของจำเลยที่ 4 ไปใช้ในการยื่นขออนุญาตก่อสร้างโดยได้รับค่าตอบแทน... • การกระทำของจำเลยที่ 4 ถือเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

  28. 11 - ผู้บริหารงานก่อสร้าง • ความรับผิดของผู้บริหารงานก่อสร้าง ส่วนใหญ่ที่พบเป็นความรับผิดทางแพ่ง • คดีสะพานเหล็ก • คดีทรัพย์สินที่ผู้ว่าจ้างจัดหาให้ สัญญามาตรฐาน คณะกรรมการพัสดุ เหมือนของ FIDIC • ………… • ………… • …………

  29. 11 – ผู้บริหารงานก่อสร้าง (ต่อ) เป็นผู้ควบคุมงาน ตาม ฎีกา • ฎีกาที่ 8402/2540 “จำเลยที่ 7 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างอาคาร มีหน้าที่โดยตรงในการควบคุมดูแลการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่กำหนดและตามหลักวิชา... • ถ้าจำเลยที่ 7 ควบคุมดูแลด้วยความระมัดระวัง ย่อมไม่เกิดผลเสียหายแก่ตึกแถวของโจทก์ จึงถือว่าจำเลยที่ 7 ประมาทเลินเล่อ”

  30. 11 – ผู้บริหารงานก่อสร้าง (ต่อ) Dr.Narong Leungbootnak The Engineering Institute of Thailand เป็นผู้ควบคุมงาน ตาม ฎีกา • ฎีกาที่ 8001/2544 “จำเลยที่ 6 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ต้องตรวจสอบงานแบบของวิศวกรผู้ออกแบบตั้งแต่แรกว่า สารกันซึมที่กำหนดเหมาะสมกับสะพานเหล็กหรือไม่ • เมื่อผู้รับเหมาทักท้วง กลับยืนยันว่าใช้ได้ • เมื่อทดสอบแล้วใช้ไม่ได้ จึงเป็นความผิดพลาดของจำเลยที่ 6 ที่ไม่ใช้ความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ จึงต้องรับผิดต่อโจทก์”

  31. 11 – ผู้บริหารงานก่อสร้าง (ต่อ) มติ ครม. เป็น “ที่ปรึกษา” • มติ ครม. วันที่ 6 สิงหาคม 2556 “รับทราบหลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา โดยให้ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ • ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ”

  32. 12 - ผู้ว่าจ้าง • รับผิดตามข้อสัญญา • รับผิดตามกฎหมาย ปพพ. 428 • รับผิดเหมือนผู้ว่าจ้าง • คดีคู่สมรสลงนามเป็นพยานในสัญญา • คดีเจ้าของที่ดินยินยอมให้ก่อสร้างในที่ดิน • …………

  33. 13 - ผู้รับเหมา คือ ผู้รับจ้างก่อสร้าง ไม่ว่าจะรับจ้างเหมาหรือไม่ก็ตาม ตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน อาจเป็น “ลูกจ้าง” ทำงานก่อสร้างก็ได้ ตามคำพิพากษา

  34. 13 – ผู้รับเหมา (ต่อ) • ผู้รับเหมา ต้อง “รับเหมา” หรือไม่ พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับผู้รับเหมา ที่ มาตรา 5 ว่าผู้รับเหมาชั้นต้น หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับจะดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดจนสำเร็จประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง • ไม่ได้กำหนดว่า ต้องตกลงราคา “เหมารวม” เท่ากับว่า... • ไม่ว่าจะจ้างเหมาหรือไม่ ก็เป็น “ผู้รับเหมา”

  35. 13 – ผู้รับเหมา (ต่อ) • ผู้รับเหมา กับ ผู้รับจ้าง คำพิพากษาฎีกาที่ 7086/2552 “โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับผู้รับเหมาร่วมกันทำละเมิด.... แต่การเป็นผู้รับเหมา อาจเป็นผู้รับจ้างทำของ หรือ เป็นลูกจ้างจำเลยที่จำเลยจ้างแรงงานก็ได้” ดังนั้น “ผู้รับเหมา” จึงเป็น “ผู้รับจ้าง” ก็ได้ เป็น “ลูกจ้าง” ก็ได้

  36. 14 - ผู้รับเหมาช่วง Domestic Sub-Contractor Nominated Sub-Contractor ………… ………… ………… ………… …………

  37. 15 - หลักประกัน • ริบทั้งหมดไม่ได้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของ เบี้ยปรับ ศาลลดได้ • ………… • ………… • ………… • ………… • ………… • ………… • …………

  38. 16 – ค่าปรับ (เบี้ยปรับ) • ค่าปรับ ถือเป็น เบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลลดได้ • ………… • ………… • ………… • ………… • ………… • ………… • …………

  39. 16 – ค่าปรับ (เบี้ยปรับ) (ต่อ) การแล้วเสร็จของงาน – ปลายเปิด (Open End) • ฎีกาที่ 647/2534 “จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ค่างานงวดสุดท้ายตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์... • โดยจำเลยมิได้ทักท้วงว่าโจทก์ทำงานล่าช้ากว่ากำหนดและจะใช้สิทธิปรับโจทก์ตามสัญญาแต่อย่างใด... • คดีฟังได้ว่าจำเลยยอมต่ออายุสัญญาให้โจทก์โดยไม่ติดใจที่จะบังคับเอาเบี้ยปรับ... • จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์โดยการหักจากหนี้เงินตามเช็คพิพาท”

  40. 17 - ประกันภัย • ต้องแจ้งภายใน 15 วัน เป็นเรื่องระหว่างผู้เอาประกันกับผู้รับประกัน อ้างปฏิเสธความรับผิดต่อบุคคลภายนอกไม่ได้ • Deductibles เป็นเรื่องระหว่างผู้เอาประกันกับผู้รับประกัน • ………… • ………… • ………… • ………… • …………

  41. 18 - อายุความ Dr.Narong Leungbootnak The Engineering Institute of Thailand • ชำรุดบกพร่องเกินกว่าเวลาที่กฎหมายกำหนด อายุความ 10 ปี • ………… • ………… • ………… • ………… • …………

  42. 19 - โอนสิทธิในการรับค่าจ้าง • เมื่อโอนแล้ว เป็น กรรมสิทธิ์ของผู้รับโอน ผู้รับจ้างหมดสิทธิ์ • ………… • ………… • ………… • ………… • …………

  43. 20 – ค่าจ้าง Back to Back • Back to Back ไม่ใช่เงื่อนไขในการชำระเงิน ตามคำพิพากษาของศาล • ………… • ………… • ………… • ………… • …………

  44. 21 – เหตุสุดวิสัย • ฝนตกตามฤดูกาล ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย • ………… • ………… • ………… • ………… • ………… • …………

  45. 22 – ขยายระยะเวลาก่อสร้าง • การ “พ้นวิสัย” • พ้นวิสัยเพราะผู้รับจ้าง ขยายเวลาก่อสร้างไม่ได้ • ………… • ………… • ………… • ………… • …………

  46. 23 – ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น • ตามข้อสัญญา • ตามคำพิพากษา • ………… • ………… • ………… • ………… • …………

  47. 24 – การบอกเลิกสัญญา • ข้อสัญญา • ข้อกฎหมาย • ฎีกา • ………… • ………… • ………… • …………

  48. 25 – การแล้วเสร็จของงาน • “Performance Certificate” FIDIC 1999 • ………… • ………… • ………… • ………… • ………… • …………

  49. สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทยสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย สภาวิศวกร COUNCIL OF ENGINEERS THE CONSULTING ENGINEERS ASSOCIATION OF THAILAND แบบมาตรฐาน สัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง 49 49

More Related