660 likes | 740 Views
การรับรอง. หมายถึง การที่ผู้จ่ายยอมรับปฏิบัติตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายซึ่งจะมีผลทำให้ผู้จ่ายมีฐานะเป็นผู้รับรองตั๋วแลกเงิน เหตุ ที่มีการยื่นตั๋วให้รับรอง เพื่อนับวันถึงกำหนดใช้เงิน กรณีที่เป็นตั๋วซึ่งมีวันถึงกำหนดใช้เงิน ภายหลังเมื่อสิ้นเวลานับแต่ได้เห็น ตามม.913 (4)
E N D
การรับรอง • หมายถึง การที่ผู้จ่ายยอมรับปฏิบัติตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายซึ่งจะมีผลทำให้ผู้จ่ายมีฐานะเป็นผู้รับรองตั๋วแลกเงิน • เหตุที่มีการยื่นตั๋วให้รับรอง • เพื่อนับวันถึงกำหนดใช้เงิน กรณีที่เป็นตั๋วซึ่งมีวันถึงกำหนดใช้เงิน ภายหลังเมื่อสิ้นเวลานับแต่ได้เห็น ตามม.913 (4) • เพื่อเป็นการเตือนให้ผู้จ่ายทราบและรู้ตัวล่วงหน้าถึงคำสั่งของผู้สั่งจ่าย
ผู้ที่มีสิทธินำตั๋วยื่นให้รับรองผู้ที่มีสิทธินำตั๋วยื่นให้รับรอง • ก. ผู้ทรง • ข. ผู้ที่ได้ตั๋วนั้นไว้ในครอบครอง มาตรา ๙๒๗ “อันตั๋วแลกเงินนั้นจะนำไปยื่นแก่ผู้จ่าย ณ ที่อยู่ของผู้จ่าย เพื่อให้รับรองเมื่อไร ๆ ก็ได้ จนกว่าจะถึงเวลากำหนดใช้เงินและผู้ทรงจะเป็นผู้ยื่นหรือเพียงแต่ผู้ที่ได้ตั๋วนั้นไว้ในครอบครองจะเป็นผู้นำไปยื่นก็ได้” • การรับรองแบ่งออกเป็น 3 ประเภท(แบ่งตามการรับรอง) คือ • ก. ตั๋วประเภทที่ห้ามยื่นให้รับรอง และ • ข. ตั๋วประเภทที่ยื่นเพื่อให้รับรองหรือไม่ก็ได้ • ค. ตั๋วประเภทที่ต้องนำไปยื่นให้รับรอง
ตั๋วแลกเงินที่ห้ามมิให้ยื่นเพื่อให้รับรองมี 2 ชนิดด้วยกันคือ • 1. ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อได้เห็น เพราะเหตุว่าเมื่อนำไปยื่นต้องจ่ายเงินเลย ตามมาตรา 927 ว.3 • 2. ตั๋วแลกเงินที่ผู้สั่งจ่ายลงข้อความห้ามยื่นเพื่อรับรองตามมาตรา 927 ว. 3 และ 4
ตั๋วแลกเงินที่นำไปยื่นเพื่อให้รับรองหรือไม่ก็ได้ มีอยู่ 3 ชนิด • 1. ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ตามมาตรา 913 (1) • 2. ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วตามมาตรา 913(2) และ • 3. ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามตามมาตรา 913(3
ตั๋วแลกเงินที่ต้องนำไปยื่นให้รับรอง มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกันคือ ก. ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ นับแต่ได้เห็น (ม. 928) ข. ตั๋วแลกเงินที่ผู้สั่งจ่ายกำหนดให้ยื่นเพื่อรับรองตาม มาตรา 927 ว.2 ค. ตั๋วแลกเงินที่ผู้สลักหลังกำหนดให้ยื่นเพื่อรับรอง เว้นแต่เป็นตั๋วที่ผู้สั่งจ่ายห้ามการรับรองไว้ก่อนแล้ว ตามที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา 927 ว.5
กำหนดเวลายื่นเพื่อให้รับรอง • หลัก ผู้ทรง หรือผู้ซึ่งมีตั๋วในความครอบครองจะยื่นตั๋วให้ผู้จ่ายรับรองเมื่อใดก็ได้ จนกว่าจะถึงกำหนดเวลาใช้เงิน เว้นแต่ จะเป็นตั๋วแลกเงินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ มาตรา ๙๒๗ “อันตั๋วแลกเงินนั้นจะนำไปยื่นแก่ผู้จ่าย ณ ที่อยู่ของผู้จ่าย เพื่อให้รับรองเมื่อไร ๆ ก็ได้ จนกว่าจะถึงเวลากำหนดใช้เงินและผู้ทรงจะเป็นผู้ยื่นหรือเพียงแต่ผู้ที่ได้ตั๋วนั้นไว้ในครอบครองจะเป็นผู้นำไปยื่นก็ได้”
ก. ตั๋วที่ผู้สั่งจ่ายกำหนดจำกัดเวลาให้ยื่น ก็ต้องยื่นตามกำหนดนั้น ตามมาตรา 927 วรรคสอง ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ ฉบับนี้จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)ในวันที่ 1 กันยาน ให้ยื่นให้รับรองภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ออกตั๋ว ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
ข. ตั๋วที่ผู้สั่งจ่ายห้ามยื่นก่อนถึงกำหนด ผู้ทรงต้องปฏิบัติ ตามนั้นเช่นกัน เพราะว่าเป็นเรื่องที่ผู้สั่งจ่ายกำหนดไว้ ซึ่งเป็นไปตาม ม. 927 วรรค 4 ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ ในในวันที่ 1 กันยายน 2549 จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ให้ยื่นให้รับรองเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ออกตั๋ว ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
ค. ตั๋วที่ผู้สลักหลังกำหนดให้ยื่นเพื่อให้รับรองและกำหนดเวลา ให้ยื่นไว้ด้วยก็ต้องปฏิบัติตามนั้นเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 927 วรรค 5 โอนให้ ง. และให้ยื่นให้รับรองภายใน 1 เดือน ค. 15 ก.ค. 49
ง. ตั๋วชนิดที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งนับ แต่ได้เห็นต้องนำตั๋วไปยื่นให้รับรองภายใน 6 เดือนแต่วันที่ลงในตั๋ว หรือตามแต่ผู้สั่งจ่ายจะได้กำหนดไว้ ตามมาตรา 928 ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อสิ้นเวลา 1 เดือนนับแต่เห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
ยื่นตั๋วให้รับรอง ออกตั๋ว 6 เดือน ยื่นตั๋วให้ใช้เงิน 1 เดือน
ผลของการไม่นำตั๋วไปยื่นเพื่อให้รับรองผลของการไม่นำตั๋วไปยื่นเพื่อให้รับรอง • การไม่นำตั๋วไปยื่นให้รับรองมีผลเฉพาะตั๋วประเภทที่ต้องนำไปยื่นให้รับรองเท่านั้น โดยจะมีผลทำให้ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และคู่สัญญาอื่นๆผู้ต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงินนั้น ตาม ป.พ.พ.ม. 973 (2) ม. 973 วรรค 2 ม. 973 วรรค 3 และวรรค 4 • ก. หากเป็นตั๋วที่ต้องยื่นให้รับรองโดยลักษณะของตั๋ว จะมีผลทำให้ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยต่อผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และคู่สัญญาอื่นที่ต้องรับผิดตามตั๋วยกเว้นแต่ผู้รับรอง มาตรา 973(1) และมาตรา 973 วรรค 2 • ได้แก่ ตั๋วที่มีวันถึงกำหนดใช้เงิน ตาม ม.913(4),928
มาตรา ๙๑๓ “อันวันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินนั้น ท่านว่าย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ (๔) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น” มาตรา ๙๒๘ “ผู้ทรงตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลากำหนดอย่างใดอย่างหนึ่งนับแต่ได้เห็นนั้น ต้องนำตั๋วเงินยื่นเพื่อให้รับรองภายในหกเดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินหรือภายในเวลาช้าเร็วกว่านั้นตามแต่ผู้สั่งจ่ายจะได้ระบุไว้” มาตรา ๙๗๓ “เมื่อกำหนดเวลาจำกัดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ได้ล่วงพ้นไปแล้ว คือ (๑) กำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วแลกเงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็น หรือในระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งภายหลังได้เห็น.........”
ข. หากเป็นตั๋วที่ผู้สั่งจ่ายลงข้อกำหนดให้ยื่นให้รับรอง ผู้ทรงจะเสียสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่าย มาตรา 973 วรรค 3 มาตรา ๙๒๗ “ในตั๋วแลกเงินนั้น ผู้สั่งจ่ายจะลงข้อกำหนดไว้ว่าให้นำยื่นเพื่อรับรองโดยกำหนดเวลาจำกัดไว้ให้ยื่น หรือไม่กำหนดเวลาก็ได้” มาตรา ๙๗๓ ว.๓ “อนึ่ง ถ้าไม่ยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้เขารับรองภายในเวลาจำกัดดั่งผู้สั่งจ่ายได้กำหนดไว้ ท่านว่าผู้ทรงย่อมเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยทั้งเพื่อการที่เขาไม่ใช้เงินและเพื่อการที่เขาไม่รับรองเว้นแต่จะปรากฏจากข้อกำหนดว่า ผู้สั่งจ่ายหมายเพียงแต่จะปลดตนเองให้พ้นจากประกันการรับรอง”
มาตรา ๙๗๓ ว.๓ “อนึ่ง ถ้าไม่ยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้เขารับรองภายในเวลาจำกัดดั่งผู้สั่งจ่ายได้กำหนดไว้ ท่านว่าผู้ทรงย่อมเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยทั้งเพื่อการที่เขาไม่ใช้เงินและเพื่อการที่เขาไม่รับรองเว้นแต่จะปรากฏจากข้อกำหนดว่า ผู้สั่งจ่ายหมายเพียงแต่จะปลดตนเองให้พ้นจากประกันการรับรอง” • ข้อความที่ว่า “เว้นแต่จะปรากฏจากข้อกำหนดว่า ผู้สั่งจ่ายหมายเพียงแต่จะปลดตนเองให้พ้นจากประกันการรับรอง” • หมายถึง ข้อความของผู้สั่งจ่ายแนะนำว่าควรจะนำไปยื่นให้รับรองเมื่อใด แต่ไม่ถึงกับกำหนดโดยเด็ดขาดว่าผู้ทรงต้องนำไปยื่นให้รับรอง
ค. หากเป็นตั๋วที่ผู้สลักหลังกำหนดเวลาให้ยื่นให้รับรอง ผู้ทรงจะเสียสิทธิไล่เบี้ยเฉพาะผู้สลักหลังคนนั้นเท่านั้น ส่วนผู้สั่งจ่าย หรือผู้สลักหลังคนอื่นๆผู้ทรงไม่เสียสิทธิไล่เบี้ย มาตรา 973 วรรค 4 มาตรา ๙๒๗ ว.ท้าย “ผู้สลักหลังทุกคนจะลงข้อกำหนดไว้ว่า ให้นำตั๋วเงินยื่นเพื่อรับรอง โดยกำหนดเวลาจำกัดไว้ให้ยื่น หรือไม่กำหนดเวลาก็ได้ เว้นแต่ผู้สั่งจ่ายจะได้ห้ามการรับรอง” มาตรา ๙๗๓ ว.ท้าย “ถ้าข้อกำหนดจำกัดเวลายื่นตั๋วแลกเงินนั้นมีอยู่ที่คำสลักหลัง ท่านว่าเฉพาะแต่ผู้สลักหลังเท่านั้นจะอาจเอาประโยชน์ในข้อกำหนดนั้นได้”
ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย ควรนำยื่นให้รับรองภายใน 1 เดือน ลงชื่อ ก.
วิธีการรับรอง 1. ผู้จ่ายต้องลงลายมือชื่อในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงิน โดยจะระบุ ข้อความว่า “รับรองแล้ว” หรือข้อความอื่นใดอื่นใดอันมีความหมายว่า เป็นการรับรองก็ได้ หรือจะกระทำเพียงลงลายมือชื่อในด้านหน้าตั๋ว โดยไม่เขียนข้อความอื่นใดก็ได้ 2. ผู้จ่ายลงวันที่ ที่ทำการรับรอง ในกรณีที่ผู้จ่ายมิได้ลงวันที่ กฎหมายอนุญาตให้ผู้ทรงโดยสุจริตคนหนึ่งคนใดกรอกวันที่รับรองอัน แท้จริงลงไปได้ ตาม ป.พ.พ มาตรา 932
ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย รับรอง ลงชื่อ ข.
ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย ลงชื่อ ข.
ระยะเวลาที่ผู้จ่ายจะรับรองระยะเวลาที่ผู้จ่ายจะรับรอง มาตรา ๙๒๙ “ภายในบังคับบทบัญญัติมาตรา ๙๒๗ ผู้ทรงตั๋วแลกเงินมีสิทธิที่จะยื่นตั๋วเงินแก่ผู้จ่ายได้ในทันใดเพื่อให้รับรอง ถ้าและเขาไม่รับรองภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงไซร้ ผู้ทรงก็มีสิทธิที่จะคัดค้าน” มาตรา ๙๓๐ “ในการยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้เขารับรองนั้น ผู้ทรงไม่จำต้องปล่อยตั๋วนั้นให้ไว้ในมือผู้จ่าย อนึ่ง ผู้จ่ายจะเรียกให้ยื่นตั๋วแลกเงินแก่ตนอีกเป็นครั้งที่สองในวันรุ่งขึ้นแต่วันที่ยื่นครั้งแรกนั้นก็ได้ ท่านห้ามมิให้คู่กรณีที่มีส่วนได้เสียยกเอาการที่มิได้อนุวัตตามคำเรียกอันนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เว้นแต่การเรียกนั้นได้ระบุไว้ในคำคัดค้าน”
คำอธิบาย • ผู้จ่ายจะต้องทำคำรับรองภายใน 24 ช.ม. นับแต่เวลายื่นตั๋วเงิน ม.929 ถ้าผู้จ่ายไม่รับรองภายใน 24 ช.ม. ผู้ทรงทำคำคัดค้านได้ โดยถือว่าผู้จ่ายไม่รับรองตั๋วเงินนั้น • ในกรณีที่ผู้จ่ายไม่พร้อมที่จะรับรองภายใน 24 ชม. ผู้จ่ายจะเรียกให้ผู้ทรงยื่นตั๋วในวันรุ่งขึ้นจากวันที่ยื่นครั่งแรกก็ได้ ม.930 ว.2 • แม้ผู้ทรงจะมิได้นำตั๋วไปยื่นเป็นครั้งที่ 2 ตามคำขอของผู้จ่าย ผู้มีส่วนได้เสียจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ เว้นแต่ คำเรียกของผู้จ่ายจะปรากฏในคำคัดค้าน
การเรียกให้ยื่นตั๋วเป็นครั้งที่ 2 จะมีได้ในกรณีที่ ผู้ทรงมิได้นำตั๋วไปยื่นอีกครั้งหนึ่งแต่กลับไปทำคำค้านเสียทีเดียว • เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำคัดค้านไปทำคำคัดค้านกับผู้จ่าย ผู้จ่ายก็เรียกให้ยื่นตั๋วเงินเป็นครั้งที่สอง(เป็นการเรียกผ่านผู้ทำคำคัดค้าน) ผู้คัดค้านก็จดบันทึกไว้ว่าผู้จ่ายเรียกให้ยื่นเป็นครั้งที่ 2
ประเภทของการรับรอง • 1. รับรองตลอดไป หมายถึง ยอมตกลงโดยไม่แก้แย้งคำสั่งของผู้สั่งจ่ายอย่างหนึ่งอย่างใด • ถ้าผู้จ่ายยอมรับรองตลอดไป จะมีผลทำให้ตั๋วแลกเงินนั้น ไม่ขาดความเชื่อถือการรับรอง ผู้ทรงคงเหลือเพียงรอให้ตั๋วเงินนั้นถึงกำหนดการใช้เงินเพื่อยื่นให้ผู้รับรองใช้เงินอีกครั้ง มาตรา ๙๓๕ “อันการรับรองนั้นย่อมมีได้สองสถาน คือรับรองตลอดไป หรือรับรองเบี่ยงบ่าย การรับรองตลอดไป คือยอมตกลงโดยไม่แก้แย้งคำสั่งของผู้สั่งจ่ายแต่อย่างหนึ่งอย่างใดเลย”
2. รับรองเบี่ยงบ่าย หมาถึง การที่ผู้จ่ายยอมรับรองแต่ไม่เป็นไปตามคำสั่งของผู้สั่งจ่าย • กล่าวเป็นเนื้อความทำผลแห่งตั๋วเงินให้แผกไปจากที่เขียนสั่งไว้ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ดังต่อไปนี้ • 2.1 การับรองเบี่ยงบ่ายมีเงื่อนไข หมายถึง การรับรองโดยมีเงื่อนไขในการรับรองอย่างหนึ่งอย่างใด • เช่น จะจ่ายก็ต่อเมื่อได้รับชำระหนี้จากผู้สั่งจ่ายแล้ว มาตรา ๙๓๕ “อันการรับรองนั้นย่อมมีได้สองสถาน คือรับรองตลอดไป หรือรับรองเบี่ยงบ่าย ..................................... ส่วนการรับรองเบี่ยงบ่ายนั้น กล่าวเป็นเนื้อความทำผลแห่งตั๋วเงินให้แผกไปจากที่เขียนสั่งไว้ กล่าวโดยเฉพาะก็คือว่า ถ้าคำรับรองมีเงื่อนไขก็ดี หรือรับรองแต่เพียงบางส่วนก็ดีท่านว่าเป็นรับรองเบี่ยงบ่าย”
ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย จ่ายเมื่อได้รับสินค้าจากผู้สั่งจ่ายแล้ว ลงชื่อ ข.
ผลของการรับรองเบี่ยงบ่ายมีเงื่อนไขผลของการรับรองเบี่ยงบ่ายมีเงื่อนไข • กรณีที่ผู้จ่ายยอมรับรอง แต่เป็นการรับรองเบี่ยงบ่ายมีเงื่อนไขกฎหมายให้สิทธิแก่ ผู้ทรงที่จะบอกปัดการรับรองเช่นนั้นได้ และจะถือว่าตั๋วแลกเงินนั้นเป็นอันขาดความเชื่อถือการับรองก็ได้ ตาม ม. 936 ว.1และจะใช้สิทธิไล่เบี้ยก่อนตั๋วถึงกำหนดตาม ม.959 (ข) (1) ก็ได้ • แต่ถ้าผู้ทรงยอมรับเอาคำรับรองดังกล่าว โดยมิได้รับความยินยอมจากผู้สั่งจ่าย หรือผู้สลักหลังคนใด จะมีผลให้ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่าย หรือผู้สลักหลังคนที่มิได้ยินยอมให้ผู้ทรงยอมรับเอาคำรับรองเช่นนั้น ม.936 ว.2
มาตรา ๙๓๖ “คำรับรองเบี่ยงบ่ายนั้น ผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะบอกปัดเสียก็ได้ และถ้าไม่ได้คำรับรองอันไม่เบี่ยงบ่าย จะถือเอาว่าตั๋วเงินนั้นเป็นอันขาดความเชื่อถือรับรองก็ได้ ถ้าผู้ทรงรับเอาคำรับรองเบี่ยงบ่าย และผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังมิได้ให้อำนาจแก่ผู้ทรงโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้รับเอาคำรับรองเบี่ยงบ่ายเช่นนั้นก็ดี หรือไม่ยินยอมด้วยในภายหลังก็ดี ท่านว่าผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังนั้น ๆ ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตามตั๋วเงินนั้นแต่บทบัญญัติทั้งนี้ท่านมิให้ใช้ไปถึงการรับรองแต่บางส่วนซึ่งได้บอกกล่าวก่อนแล้วโดยชอบ ถ้าผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังตั๋วเงินรับคำบอกกล่าวการรับรองเบี่ยงบ่ายแล้วไม่โต้แย้งไปยังผู้ทรงภายในเวลาอันสมควร ท่านให้ถือว่าผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังนั้นเป็นอันได้ยินยอมด้วยกับการนั้นแล้ว”
2.2 การรับรองเพียงเบี่ยงบ่ายบางส่วน หมายถึง รับรองไม่เต็มจำนวนอันผู้สั่งจ่ายได้ระบุไว้ เช่น รับรอง 5,000 บาท ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย รับรอง 5,000 บาท ลงชื่อ ข.
ผลของการรับรองเบี่ยงบ่ายบางส่วนผลของการรับรองเบี่ยงบ่ายบางส่วน • กรณีที่ผู้จ่ายยอมรับรอง แต่เป็นการรับรองเบี่ยงบ่ายบางส่วนกฎหมายให้สิทธิแก่ ผู้ทรงที่จะบอกปัดการรับรองเช่นนั้นได้ และจะถือว่าตั๋วแลกเงินนั้นเป็นอันขาดความเชื่อถือการับรองก็ได้ ตาม ม. 936 ว.1 และจะใช้สิทธิไล่เบี้ยก่อนตั๋วถึงกำหนดตาม ม.959 (ข) (1) ก็ได้ • คำรับรองเบี่ยงบ่ายบางส่วน ผู้ทรงสามารถที่จะยอมรับเอาไว้ได้ โดยไม่ต้องขอความยินยอมของผู้สั่งจ่าย และผู้สลักหลังคงกระทำเพียงบอกกล่าวว่า ผู้จ่ายรับรองเบี่ยงบ่ายบางส่วนเท่านั้น (ม.936 ว.2 ช่วงท้าย) • กรณีที่ผู้ทรงรับเอาคำรับรองเบี่ยงบ่ายบางส่วน ผู้ทรงจะต้องทำคำคัดค้านในส่วนที่ผู้จ่ายไม่ยอมรับรองเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยต่อไป ตาม ม.960 มิเช่นนั้นจะเสียสิทธิไล่เบี้ยในส่วนที่ผู้จ่ายไม่ยอมรับรองนั้น ตาม ม. 973 (2) และ ว.2
มาตรา ๙๓๖ “คำรับรองเบี่ยงบ่ายนั้น ผู้ทรงตั๋วแลกเงินจะบอกปัดเสียก็ได้ และถ้าไม่ได้คำรับรองอันไม่เบี่ยงบ่าย จะถือเอาว่าตั๋วเงินนั้นเป็นอันขาดความเชื่อถือรับรองก็ได้ ถ้าผู้ทรงรับเอาคำรับรองเบี่ยงบ่าย และผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังมิได้ให้อำนาจแก่ผู้ทรงโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้รับเอาคำรับรองเบี่ยงบ่ายเช่นนั้นก็ดี หรือไม่ยินยอมด้วยในภายหลังก็ดี ท่านว่าผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังนั้น ๆ ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตามตั๋วเงินนั้นแต่บทบัญญัติทั้งนี้ท่านมิให้ใช้ไปถึงการรับรองแต่บางส่วนซึ่งได้บอกกล่าวก่อนแล้วโดยชอบ ถ้าผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังตั๋วเงินรับคำบอกกล่าวการรับรองเบี่ยงบ่ายแล้วไม่โต้แย้งไปยังผู้ทรงภายในเวลาอันสมควร ท่านให้ถือว่าผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังนั้นเป็นอันได้ยินยอมด้วยกับการนั้นแล้ว”
ทำคำคัดค้าน เกิดสิทธิไล่เบี้ย ไม่รับรอง ไม่ทำคำคัดค้าน สิ้นสิทธิไล่เบี้ย รับรอง ผู้จ่ายมีฐานะเป็น ผู้รับรอง
รับรองเบี่ยงบ่าย มีเงื่อนไข บางส่วน -ผู้ทรงยอมรับเอาคำรับรองนั้น ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม จาก ผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย -ผู้ทรงจะบอกปัด การับรอง และ ถือว่าตั๋วขาดความเชื่อถือการรับ รองก็ได้ -ผู้ทรงยอมรับเอาคำรับรอง นั้น ต้องได้รับความยินยอม จาก ผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย หรือ -ผู้ทรงจะบอกปัด การรับรอง และถือว่าตั๋วขาดความ เชื่อถือการรับรอง ก็ได้
ไม่รับรอง ไม่เกิดสิทธิไล่เบี้ย -ตั๋วที่จะยื่นให้ รับรองหรือไม่ ก็ได้ รับรอง ผู้จ่ายมีฐานะเป็น ผู้รับรอง
การสอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้าการสอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้า
ประเภทการสอดเข้าแก้หน้าประเภทการสอดเข้าแก้หน้า • การสอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้า (ม.951 วรรคแรก) • การสอดเข้าใช้เงินเพื่อแก้หน้า (ม.954 วรรคแรก)
การสอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้าการสอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้า • ช่วงเวลาการสอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้า • เกิดขึ้นก่อนตั๋วแลกเงินถึงกำหนดใช้เงิน ในกรณีที่ตั๋วฯนั้นขาดความเชื่อถือเพราะผู้จ่ายไม่ยอมรับรอง (ม.951 วรรคแรก) เพื่อให้ตั๋วแลกเงินฉบับนั้นกลับคืนดีใช้ได้ต่อไป มาตรา ๙๕๑ “การรับรองด้วยสอดเข้าแก้หน้า ย่อมมีได้ในบรรดากรณีซึ่งผู้ทรงมีสิทธิไล่เบี้ยได้ก่อนถึงกำหนดตามตั๋วเงินอันเป็นตั๋วสามารถจะรับรองได้”
บุคคลผู้ที่จะสอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้าบุคคลผู้ที่จะสอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้า • บุคคลที่ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังระบุชื่อไว้ตั้งแต่แรก เรียกว่า “ผู้จะรับรอง” ม.950 วรรคแรก • บุคคลภายนอก หรือคู่สัญญาอื่นผู้ต้องรับผิดตามตั๋วอยู่ก่อนแล้ว ที่สมัครใจเข้ามารับรอง “ผู้สอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้า” ม.950 วรรคท้าย มาตรา ๙๕๐ “ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจะระบุบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดไว้ก็ได้ว่าเป็นผู้จะรับรอง หรือใช้เงินยามประสงค์ ณ สถานที่ใช้เงิน ภายในเงื่อนบังคับดั่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดจะรับรองหรือใช้เงินตามตั๋วแลกเงินในฐานเป็นผู้สอดเข้าแก้หน้าบุคคลใดผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วนั้นก็ได้ ผู้สอดเข้าแก้หน้านั้นจะเป็นบุคคลภายนอกก็ได้ แม้จะเป็นผู้จ่ายหรือบุคคลซึ่งต้องรับผิดโดยตั๋วเงินนั้นอยู่แล้วก็ได้ ห้ามแต่ผู้รับรองเท่านั้น ผู้สอดเข้าแก้หน้าจำต้องให้คำบอกกล่าวโดยไม่ชักช้า เพื่อให้คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตนเข้าแก้หน้านั้นทราบการที่ตนเข้าแก้หน้า”
สิทธิของผู้ทรง • ผู้ทรงบอกปัดการสอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้าได้ (ม.951วรรคสอง) เพราะถ้าผู้ทรงยอมรับการสอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้า จะมีผลทำให้ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยก่อนตั๋วฯถึงกำหนด (ม.951วรรคท้าย) • ตั๋วฯที่มีการสอดเข้ารับรองฯไปแล้ว ผู้ทรงมีสิทธิที่จะสลักหลังโอนหรือส่งมอบต่อไปอีกได้
มาตรา ๙๕๑ “การรับรองด้วยสอดเข้าแก้หน้า ย่อมมีได้ในบรรดากรณีซึ่งผู้ทรงมีสิทธิไล่เบี้ยได้ก่อนถึงกำหนดตามตั๋วเงินอันเป็นตั๋วสามารถจะรับรองได้ การรับรองด้วยสอด เข้าแก้หน้านั้น ผู้ทรงจะบอกปัดเสียก็ได้ แม้ถึงว่าบุคคลผู้ซึ่งบ่งไว้ว่าจะเป็นผู้รับรอง หรือใช้เงินยามประสงค์นั้นจะเป็นผู้เสนอเข้ารับรองก็บอกปัดได้ ถ้าผู้ทรงยอมให้เข้ารับรองแล้ว ผู้ทรงย่อมเสียสิทธิไล่เบี้ยก่อนถึงกำหนดเอาแก่คู่สัญญาทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดต่อตน”
วิธีการสอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้าวิธีการสอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้า • วิธีการสอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้าต้องเขียนระบุบนตั๋วว่าจะรับรองเพื่อผู้ใดและลงลายมือชื่อผู้สอดเข้ารับรองเพื่อแก้หน้า ม.952 มาตรา ๙๕๒ “อันการรับรองด้วยสอดเข้าแก้หน้านั้น ย่อมทำด้วยเขียนระบุความลงบนตั๋วแลกเงิน และลงลายมือชื่อของผู้สอดเข้าแก้หน้าเป็นสำคัญ อนึ่งต้องระบุลงไว้ว่าการรับรองนั้นทำให้เพื่อผู้ใด ถ้ามิได้ระบุไว้เช่นนั้นท่านให้ถือว่าทำให้เพื่อผู้สั่งจ่าย”
การยื่นตั๋วให้รับรอง การยื่นตั๋วให้ใช้เงิน การรับรองเพื่อแก้หน้า รับรอง ไม่รับรอง ไล่เบี้ย รับ ไม่รับ
ความรับผิดของผู้สอดเข้าแก้หน้าความรับผิดของผู้สอดเข้าแก้หน้า • ผู้สอดเข้าแก้หน้าต้องรับผิดต่อผู้ทรงตั๋วและรับผิดต่อผู้สลักหลังทั้งหลายภายหลังคู่สัญญาฝ่ายซึ่งตนเข้าแก้หน้า ม.953 มาตรา ๙๕๓ “ผู้รับรองด้วยสอดเข้าแก้หน้าย่อมต้องรับผิดต่อผู้ทรงตั๋วเงินนั้น และรับผิดต่อผู้สลักหลังทั้งหลายภายหลังคู่สัญญาฝ่ายซึ่งตนเข้าแก้หน้าอย่าง เดียวกันกับที่คู่สัญญาฝ่ายนั้นต้องรับผิดอยู่เอง”
การอาวัล • หมายถึง การค้ำประกันการใช้เงินในสัญญาตั๋วเงิน ซึ่งจะเป็นการค้ำประกันทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ • ผู้ค้ำประกันอาวัลจะเป็นบุคคลใดก็ได้ บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินอยู่แล้วก็สามารถเข้าเป็นผู้อาวัลได้ มาตรา ๙๓๘ “ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ำประกันรับประกันการใช้เงินทั้งจำนวนหรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า “อาวัล” อันอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้”
ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
ประเภทของการอาวัล มี 2 ประเภท • 1.การอาวัลโดยเจตนา ม.939 ทำได้ 2 วิธี • 1.1 การอาวัลแบบเต็มรูปแบบ มาตรา ๙๓๙ “อันการรับอาวัลย่อมทำให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วเงินนั้นเอง หรือที่ใบประจำต่อ (เขียนลงด้านหน้าหรือด้านหลังก็ได้) ในการนี้พึงใช้ถ้อยคำสำนวนว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น และลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล ....................... ในคำรับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุ ท่านให้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย”
ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย คำประกันผู้สั่งจ่าย ลงชื่อ สมพงษ์
โอนให้ ง. ค. 15 ก.ค. 49 อาวัล ค. ลงชื่อ สมพงษ์
โอนให้ ง. ค. 15 ก.ค. 49 คำประกันผู้สั่งจ่าย ลงชื่อ สมพงษ์