580 likes | 882 Views
ประชุม สื่อสารผลการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบึงกาฬ. เตรียมรับ ACCREDITATION วันที่ 16-17 มกราคม 2557 (เวลาเตรียมการ 58 วัน). Part I รพ.บึงกาฬ. I-1 การนำองค์กร * ผู้นำระดับสูงชี้นำองค์กร สื่อสารและส่งเสริมผลการดำเนินงานที่ดี ให้ความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้รับบริการ
E N D
ประชุมสื่อสารผลการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบึงกาฬประชุมสื่อสารผลการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบึงกาฬ เตรียมรับ ACCREDITATION วันที่ 16-17 มกราคม 2557 (เวลาเตรียมการ 58 วัน)
Part I รพ.บึงกาฬ I-1 การนำองค์กร *ผู้นำระดับสูงชี้นำองค์กร สื่อสารและส่งเสริมผลการดำเนินงานที่ดี ให้ความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้รับบริการ ก.วิสัยทัศน์และค่านิยม เป้าหมาย/ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ: สัมฤทธิผล ประสิทธิภาพ วัฒนธรรมองค์กร นำด้วยวิสัยทัศน์
บริบท • โรงพยาบาลบึงกาฬเป็นโรงพยาบาลขนาด 400เตียง (ให้บริการจริง 175 เตียง) ปี พ.ศ. 2554 โรงพยาบาลยกระดับจากโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่เป็นโรงพยาบาลทั่วไปมี8 อำเภอ จำนวนหลังคาเรือน รวม 110,987 หลังคาเรือน ประชากรจังหวัดบึงกาฬ 418,606 คน อำเภอเมืองบึงกาฬจำนวนประชากร 235,830 คน จำนวน 64,153 หลังคาเรือน • จากการเปลี่ยนแปลงบริบทขององค์กรมีการปรับเปลี่ยนทิศทางในการบริหารโดยคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลเชื่อมโยงสู่ทีมคร่อมสายงานหรือคณะกรรมการต่างๆและนำสู่ระดับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์โรงพยาบาลบึงกาฬเป็นโรงพยาบาลทั่วไปที่ได้มาตรฐาน และมีเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพ ในปี 2560 ค่านิยม 1. การยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางในการทำงาน 2. การทำงานเป็นทีมอย่างมีความสุข 3. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายชัด วัดผลได้และใช้ข้อมูล 4. ตรงต่อเวลา
การเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลจากวิสัยทัศน์ขององค์กรการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลจากวิสัยทัศน์ขององค์กร • การวางแผนและพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพบริการ ทางคลินิกของแต่แผนกให้มีศักยภาพและรองรับการดูแลผู้ป่วยวิกฤต • ด้านศัลยกรรมสามารถส่องกล้องผ่าตัด LC • ด้านอายุรกรรมดูแลรักษาในกลุ่ม Stroke, STEMI การพัฒนาหน่วยไตเทียมที่ให้บริการในการฟอกไตทางหน้าท้อง (CAPD) • การดูแลเด็กวิกฤติในปี 2556 สามารถเปิดให้บริการในการดูแลเด็กวิกฤติ(NICU) • เพิ่มศักยภาพในการวินิจฉัยโดยเปิดบริการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ผู้ป่วย STROKE ผู้ป่วยบาดเจ็บทางศีรษะ • ปรับปรุงโครงสร้างอาคารสถานที่
กำหนดค่านิยมร่วมโดยในการยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางในการทำงาน • การสร้างเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนให้สามารถดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญ ของพื้นที่ร่วมกันอย่างมีคุณภาพ บทบาทของผู้นำในการสร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาและบทเรียนที่เกิดขึ้น • เป็นคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของโรงพยาบาล • กระตุ้นบรรยากาศตื่นตัวเกิดการพัฒนาคุณภาพ โดยกำหนดให้ทุกหน่วยงานใช้หลัก 3P • ให้ทุกหน่วยงานนำเสนอกิจกรรมพัฒนา(CQI) ในเวทีประชุมประจำเดือน • ทำ Quality Round โดยลงเยี่ยมหน่วยงานต่างๆ
บทบาทของผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและบทเรียนที่เกิดขึ้นบทบาทของผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและบทเรียนที่เกิดขึ้น • ด้านผู้ป่วย ผู้นำกำหนดนโยบายเรื่อง “ความเพียงพอ พร้อมใช้” ของอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้กับผู้ป่วย • ด้านบุคลากร กำหนดนโยบายเรื่องสวมหมวก และรัดเข็มขัดนิรภัย ข.การสื่อสารและจุดเน้นขององค์กร • ทีมนำได้กำหนดจุดเน้นขององค์กร 1 พัฒนาระบบบริการ 2 สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยตามหลัก SIMPLE 3 เพิ่มรายได้ ควบคุมค่าใช้จ่าย
1.1.2การกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม1.1.2การกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม *องค์กรแสดงถึงระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ สร้างความมั่นใจว่ามีการดำเนินการอย่างมีจริยธรรมและมีส่วนสนับสนุนต่อสุขภาพของชุมชน ก. การกำกับดูแลกิจการ • การปรับปรุงระบบงานที่เป็นข้อเสนอแนะจากระบบกำกับดูแลกิจการ รับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีจากกระทรวงสาธารณสุข ผู้ตรวจราชการเขต 8 ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ -รับการนิเทศงานและตรวจสอบภายในจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ การตรวจสอบงานการเงินจากกรรมการเขต 8
ข.กฎหมายและจริยธรรม พฤติกรรมที่ปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม บทเรียนในการตอบสนองต่อการคาดการณ์ความเสี่ยง/ความห่วงกังวลของสาธารณะ • ทบทวนค่าบริการให้เป็นปัจจุบัน • การให้ข้อมูลบริการ ได้กำหนดนโยบายให้แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เป็นผู้อธิบายการบริการแก่ผู้รับบริการถึงผลดีและผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นจนผู้รับบริการเข้าใจ ให้มีการลงลายมือชื่อรับทราบการบริการ • มีการคาดการณ์ประเด็นความกังวลของสาธารณะโดยใช้ข้อมูลจากการตรวจสอบน้ำทิ้งของรพ. รวมทั้งใช้ข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏตามสื่อสาธารณะ
บทเรียนในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและรักษาสิ่งแวดล้อมบทเรียนในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและรักษาสิ่งแวดล้อม แผนการปรับปรุงการอนุรักษ์พลังงาน นำนโยบาย 3ป(ปิดไฟ ปรับแอร์ ปลดปลั๊ก) โครงการคัดแยกขยะ recycle กำหนดแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เน้นเรื่องวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ให้บริการผู้ป่วยให้เพียงพอ พร้อมใช้ ทำให้มีการพัฒนาที่ชัดเจน • บทเรียนในการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น การจัดการน้ำเสียตาม พรบ.ส่งเสริมรักษาสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะตามมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม การป้องกัน และระงับอัคคีภัยตามกฎหมายควบคุมอาคาร การรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพตาม พรบ.วิชาชีพ การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุสำนักนายกรัฐมนตรี การใช้เครื่อง X-ray ตาม พรบ.ปรมาณูเพื่อสันติ
บทเรียนในการกำกับดูแลเรื่องจริยธรรมบทเรียนในการกำกับดูแลเรื่องจริยธรรม • ส่งเสริมจริยธรรมที่ดีงาม เช่น ด้านศาสนา การทำบุญตักบาตร การร่วมกิจกรรมสำคัญทางศาสนา เปิดเสียงตามสายให้เจ้าหน้าที่ร่วมสวดมนต์ก่อนปฏิบัติงานตอน 9.00 น.ทุกวันทำการ ด้านการกตัญญูกตเวทิตา จัดกิจกรรมการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันเกิดโรงพยาบาล การเสริมสร้างวัฒนธรรมไทยด้วยการสวัสดี • กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติต่อผู้ป่วยในประเด็นที่อาจเสี่ยงต่อจริยธรรม เช่น การผูกยึดผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยที่ถูกละเมิดทางเพศ การบันทึกเวชระเบียนผู้ติดเชื้อ HIV การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ผลการพัฒนาที่สำคัญ • ทบทวนทิศทางองค์กรใหม่ตามบริบท • จัดทำแผนยุทธศาสตร์ Summary One Page • การสร้างบรรยากาศในการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง ทำงานเป็นทีมคร่อมสายงานและสหสาขา • การบริหารจัดการความเสี่ยงสำคัญในเชิงค้นหาและป้องกัน • ทีมนำโรงพยาบาล ทบทวนและดูแลกำกับกิจการ ความรับผิดชอบต่อสังคมที่สำคัญ จริยธรรมขององค์กร/และการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่สำคัญของสังคมและสิ่งแวดล้อม • เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลได้เรียนรู้การนำค่านิยมมาใช้ร่วมกับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล สู่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาล
I-2 การบริหารเชิงกลยุทธ์ 1-2.1 การจัดทำกลยุทธ์ * องค์กรกำหนดกลยุทธ์และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์เพื่อตอบสนองความท้าทายขององค์กรและสร้างความเข้มแข็งให้กับการดำเนินงานขององค์กร ก.กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ • บริบท การจัดทำแผนกลยุทธ์ได้ระดมความคิดโดยทีมนำโรงพยาบาล ให้แผนกลยุทธ์ตอบสนองต่อ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ทิศทางนโยบายของโรงพยาบาลที่เปลี่ยนไป • ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ 1.พัฒนาระบบบริการตามมาตรฐานโรงพยาบาลทั่วไป 2.พัฒนาเครือข่ายการดูแลต่อเนื่อง 3.เพิ่มประสิทธิภาพระบบการเงินการคลัง
I-2 การบริหารเชิงกลยุทธ์(ต่อ) • ข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ 1.การสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ เนื่องจากเป็นจังหวัดใหม่ 2.ผู้บริหารสูงสุดมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพ 3.บุคลากรส่วนใหญ่เป็นบุคคลในพื้นที่ • ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ 1.กำหนดเป้าหมายองค์กรชัดเจน 2.ผู้นำที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพ 3.การทำงานเป็นทีม 4.เครือข่ายการดูแลสุขภาพที่เข้มแข็ง
บทเรียนเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำกลยุทธ์บทเรียนเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำกลยุทธ์ นำข้อมูลปัญหาด้านสุขภาพขององค์กร กระทรวง มากำหนดเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินงานขององค์กร ด้านบริหาร บริการ และวิชาการให้สอดคล้องกัน Service Plan ของการเป็นโรงพยาบาลจังหวัด นำSWOT analysis กำหนดแผนกลยุทธ์ • จุดแข็ง ที่สำคัญคือบุคลากรส่วนใหญ่เป็นบุคคลในพื้นที่ • จุดอ่อนที่สำคัญ คือ รายจ่ายมากว่ารายรับ และรายจ่ายส่วนใหญ่เป็นเรื่องก่อสร้างและจัดซื้ออุปกรณ์/เครื่องมือ รองรับการขยายของโรงพยาบาล • ภาวะคุกคามที่สำคัญ คือ ความคาดหวังของผู้รับบริการ และ การฟ้องร้อง
โอกาสที่สำคัญ คือ การสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ เนื่องจากเป็นจังหวัดใหม่ สิ่งที่อาจเป็นได้ทั้งโอกาส หรือภาวะคุกคาม ที่สำคัญ คือเกณฑ์การจัดสรรเงินของ สปสช. ทีมได้เรียนรู้ในเรื่องการจัดทาแผนกลยุทธ์ และตัวชี้วัด ว่า ในการจัดทำแผนกลยุทธ์จะบรรลุผลสำเร็จนั้นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายจัดทำแผนส่งมาที่ทีมบริหารทีมจะรวบรวม และ วิเคราะห์ เพื่อจัดทำแผนในภาพโรงพยาบาลโดยกำหนดเป็นแผนที่ยุทธศาสตร์โรงพยาบาลบึงกาฬ (Strategy Map) 2556–2560 ปรับปรุงครั้งที่ 2 วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 ประกอบด้วย 8 goal 14 กลยุทธ์ แผนกลยุทธ์ที่ผ่านมายังไม่สามารถตอบสนองนโยบายของภาครัฐและปัญหาในพื้นที่ได้ทั้งหมด เนื่องจากการนำข้อมูลนำเข้าเพื่อประกอบการทำแผนยังไม่ครอบคลุม เช่นด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ข.วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ข.วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 1.พัฒนาระบบบริการตามมาตรฐานโรงพยาบาลทั่วไป - เพื่อเพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญ รพ.มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาตามมาตรฐานโรงพยาบาลทั่วไป 2.พัฒนาเครือข่ายการดูแลต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง พัฒนาระบบเครือข่ายรับส่งต่อ 3.เพิ่มประสิทธิภาพระบบการเงินการคลัง เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง เพื่อให้เกิดเสถียรภาพด้านการเงินการคลัง
1-2.2 การถ่ายทอดกลยุทธ์เพี่อนำปฏิบัติ ก.การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ บทเรียนในการนำประเด็นที่ท้าทาย/ยาก ไปสู่การปฏิบัติ การสื่อสารและการมอบหมายกลยุทธ์จากทีมนำสู่การปฏิบัติยังขาดประสิทธิภาพ จึงไม่บรรลุเป้าหมายองค์กร ปรับกระบวนการสื่อสาร โดยการมอบหมายที่ชัดเจน และมีการควบคุมกำกับติดตามโดยผู้บริหารทุกระดับ บทเรียนในการจัดการทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติตามกลยุทธ์ ขาดการควบคุมกำกับและติดตามประเมินผล ในปี 2556 จึงมีการมอบหมายกลยุทธ์ลงสู่การปฏิบัติ เพื่อประเมินผลเป็นการตัวชี้วัดรายบุคคล และประกอบการพิจารณาความดีความชอบรายบุคคล
บทเรียนในการจัดการทรัพยากรอื่นๆ เพื่อปฏิบัติตามกลยุทธ์ มีจัดทำแผนเงินบำรุงโรงพยาบาลและแผนงบประมาณ เพื่อรองรับแผนการใช้ยาและเวชภัณฑ์ แผนวัสดุครุภัณฑ์ทั่วไป วัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ที่จำเป็น เพื่อให้เพียงพอตามความต้องการ โดยให้แต่ละฝ่ายหรืองานเขียนเสนอความต้องการในการใช้ โดย Set Priority รวมแผนเงินบำรุงโรงพยาบาล แผนจัดซื้อ 191,681,760 บาท ซื้อแล้ว 125,871,812บาท คิดเป็น 65.67% • จากการสรุปผลการใช้เงินประเมินจำปี ยังมีการจัดซื้อนอกแผนเป็นจำนวนมาก จึงมีการทบทวนแผนการใช้เงินประจำปี ประเมินการใช้ทรัพยากรเป็นระยะ และกันเงินสำรองไว้ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
บทเรียนในการติดตามความก้าวหน้า การติดตามความก้าวหน้าจะประสบความสำเร็จ ต้องมีการกระตุ้นจากผู้นำระดับสูงและทีมนำมีกระบวนการติดตามที่ชัดเจน ข.การคาดการณ์และเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน บทเรียนในการตอบสนองต่อผลการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ ผลการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ 1. เสถียรภาพทางการเงิน การคลังลดลง การตอบสนอง การเพิ่มรายได้ การควบคุมค่าใช้จ่าย การเพิ่มลูกค้า และรักษากลุ่มสิทธิเบิกข้าราชการ กลุ่มจ่ายเงิน
2.ความพึงพอใจของผู้รับบริการผู้ป่วยนอก การตอบสนอง ระยะเวลารอคอยนาน จัดระบบ OPD นอกเวลาเวรบ่าย 3. การสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลักของโรงพยาบาลและสร้างเสริมสุขภาพบุคลากร การตอบสนอง จัดสิ่งแวดล้อมและสถานที่ให้เอื้อต่อการดูแลสุขภาพในหน่วยบริการ ส่งเสริมให้ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล มีส่วนร่วมในแผนการดูของทีมสหสาขาวิชาชีพ จัดโครงการ คนบึงกาฬไร้พุง โดยคณะกรรมการHPH ของโรงพยาบาล ให้รางวัลบุคคลต้นแบบทางด้านสุขภาพในบุคลากร
ผลการพัฒนาที่สำคัญ • การทบทวนแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์องค์กร ระดับหน่วยเหนือขึ้นไป คือ สสจ.บึงกาฬ และ Service Plan เขต 8 • การถ่ายทอดแผนจากระดับองค์กรสู่หน่วยงาน • การกำหนดตัวชี้วัดจากตัวชี้วัดระดับองค์กร สู่ตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน/ทีมคร่อมสายงานและตัวชี้วัดระดับบุคคล และถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับองค์กรสู่หน่วยงาน ที่นำไปสู่การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือนทุก 6 เดือน • การติดตามการรับรู้วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และการติดตามตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน
จบ PART 1-2 พักก่อนค่ะ
PART I 1-4( ต่อ ช่วงที่ 2) 1-4.1 การวัด วิเคราะห์ และการปรับปรุงผลงานขององค์กร *องค์กรจัดให้มีการวัด วิเคราะห์ ปรับทิศทาง ทบทวน และปรับปรุงผลงาน โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ ในทุกระดับและทุกส่วนขององค์กร • เป้าหมาย/ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ: ความพร้อมใช้ ความพึงพอใจ การจัดการความรู้ บริบท นำเทคโนโลยีสารสนเทศโปรแกรม HOSxPมาช่วยในการบันทึกข้อมูลบริการตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ได้พัฒนาระบบรายงาน และโปรแกรมเสริมระบบงานต่าง เช่น ระบบบริหารความเสี่ยง, ความคลาดเคลื่อนทางยา โดยกรรมการสารสนเทศติดตามควบคุมกำกับการลงบันทึกข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของฐานข้อมูล การประมวลผลรายงาน
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ การบริหารจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันและมีระบบวัดวิเคราะห์ตัวชี้วัด เพื่อประกอบการตัดสินใจ ด้านบริหาร บริการ พัฒนางานวิชาการ และพัฒนาคุณภาพบริการ กระบวนการ การวัด การวิเคราะห์ Performance ขององค์กร ทีมนำและกรรมการสารสนเทศได้จัดทำ KPI Template ที่จะวัดวิเคราะห์องค์กร และกำหนดผู้รับผิดชอบ โดยการประชุมชี้แจงและส่งตัวชี้วัดให้ผู้รับผิดชอบทาง E-mail กำหนดให้ส่งผลการดำเนินการทุกเดือน ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดแต่ละติดตามตัวชี้วัดที่รับผิดชอบ พร้อมหาโอกาสพัฒนาในส่วนที่ดำเนินการได้เอง กรณีต้องพัฒนาในส่วนอื่นๆที่เพิ่มขึ้น ดำเนินการโดยทีมนำและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
การจัดการความรู้ขององค์กรมีการส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ การใช้สินทรัพย์ทางความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า และพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้เพื่อนำมาสร้างนวัตกรรม ช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ • ผู้นำองค์กรได้กำหนดให้ตัวชี้วัดตามแผนยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลที่มอบหมายให้แต่ละฝ่าย/งาน นำไปกำหนดเป็นตัวชี้วัดระดับบุคคล เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยเริ่มในปีงบประมาณ 2557
ก.การวัดผลงาน กลุ่มตัวชี้วัดที่มี Alignment ทั่วทั้งองค์กร • การพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง HR Score card ได้แก่ ร้อยละความพึงพอใจและบรรยากาศในการทำงานของบุคลากร รพ. • การให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้รับบริการ ได้แก่ ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ อุบัติการณ์ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมบริการของบุคลากร จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิผู้ป่วย • ประสิทธิภาพด้านการดูแลรักษา ได้แก่ อัตราของผู้ป่วยในกลับมารักษาในรพ.ภายใน 28 วันโดยไม่ได้วางแผน • การเพิ่มเสถียรภาพทางการเงิน การคลัง ได้แก่ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว(Quick Ratio) อัตราส่วนทุนหมุนเวียน(Current Ratio)
ตัวอย่างการตัดสินใจ/นวตกรรมที่เป็นผลจากการติดตามตัวชี้วัดตัวอย่างการตัดสินใจ/นวตกรรมที่เป็นผลจากการติดตามตัวชี้วัด • ด้านความพึงพอใจของบุคลากร พบว่าด้านขวัญกำลังใจได้ระดับคะแนนต่ำและเจ้าหน้าที่มีความต้องการให้เพิ่มขวัญกำลังใจด้านสวัสดิการที่นอกเหนือจากรัฐจัดให้ จึงได้กำหนดสวัสดิการห้องพิเศษสำหรับเจ้าหน้าที่และญาติสายตรงกรณีที่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลแบ่งเป็น กลุ่มข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ ลดส่วนเกินห้องพิเศษ 100 บาทต่อวัน ส่วนเจ้าหน้าที่ที่ใช้สิทธิ์ประกันสังคมทุกระดับ รวมทั้งญาติสายตรงสามารถเข้าพักรักษาในห้องพิเศษเฉพาะห้องที่มีราคาไม่เกิน 600 บาท โดยไม่ต้องจ่ายค่าห้องพิเศษ ส่วนด้านความผูกพันของบุคลากร และความสุขของบุคลากรนั้นจะดำเนินการในปีงบประมาณ 2557
ด้านความพึงพอใจผู้รับบริการพบว่าระยะเวลาในการรอคอยที่โอพีดีทั่วไปนาน และมีสถิติผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นจากการเป็นโรงพยาบาลจังหวัด จึงได้จัดแพทย์หมุนเวียนตรวจโรคทั่วไปเพิ่มขึ้นในเวลาราชการ และมีโอพีดีนอกเวลาราชการทั้งวันราชการและวันหยุด • ข้อมูล Performance ขององค์กรที่มีการเปรียบเทียบกับองค์กรภายนอก โรงพยาบาลบึงกาฬอยู่ในเครือข่ายบริการเขต 8 การเปรียบเทียบข้อมูล Performance ขององค์กร เช่น CMI MRA งบประมาณ และการจัดการด้านการเงิน เป็นต้น การเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลที่มีขนาดใกล้เคียงกัน คือ รพ.หนองบัวลำภู รพ.นครพนม
ข.การวิเคราะห์ ทบทวน และปรับปรุง Performance ขององค์กร ประเด็นสำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล Performance ขององค์กรในรอบปีที่ผ่านมา • ความพึงพอใจและบรรยากาศในการทำงานของบุคลากร รพ.คือการจัดสวัสดิการที่นอกเหนือจากรัฐจัดให้ • ความพึงพอใจของผู้รับบริการคือ ระยะเวลารอคอยตรวจโรคทั่วไป และพฤติกรรมบริการของบุคลากร • อัตราของผู้ป่วยในกลับมารักษาในรพ.ภายใน 28 วันโดยไม่ได้วางแผน • การเพิ่มเสถียรภาพทางการเงิน การคลัง อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว อัตราส่วนทุนหมุนเวียน
ลำดับความสำคัญเพื่อการปรับปรุง Performance ขององค์กร • ระยะเวลารอคอยตรวจโรคทั่วไป จัดแพทย์หมุนเวียนตรวจโรคทั่วไปเพิ่มขึ้นในเวลาราชการ และมีโอพีดีนอกเวลาราชการทั้งวันราชการและวันหยุด • เพิ่มรายรับ ควบคุมค่าใช้จ่าย เช่น จัดทีมตรวจสอบคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน จัดทำแผนงบประมาณแบบสมดุล • ด้านความพึงพอใจและบรรยากาศในการทำงานของบุคลากร รพ.คือเพิ่มสวัสดิการที่นอกเหนือจากรัฐจัดให้ • อัตราของผู้ป่วยในกลับมารักษาในรพ.ภายใน 28 วันโดยไม่ได้วางแผน
1- 4.2 การจัดการสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการความรู้ *องค์กรสร้างความมั่นใจว่ามีข้อมูล สารสนเทศ ซอฟแวร์และฮาร์ตแวร์ที่จำเป็น มีคุณภาพ และพร้อมใช้งาน สำหรับบุคลากร/ผู้ป่วย/ผู้รับผลงาน องค์กรสร้างและจัดการสินทรัพย์ความรู้ของตนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร ก.การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ IT module ที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โรงพยาบาลบึงกาฬ ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล โดยใช้โปรแกรม HOSxPเป็นโปรแกรมหลัก และด้าน BackOffice ก็มีการใช้เทคโนโลยีในงานธุรการ/งานการเจ้าหน้าที่/งานการเงินและบัญชี เป็นต้น
IT module ที่กำลังพัฒนาหรือมีแผนที่จะพัฒนาในอนาคต: • การจัดเก็บเวชระเบียนเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ 100% • ปรับปรุงระบบ Network ในห้องประชุมให้มีความเสถียร • พัฒนาโปรแกรมการรายงานลูกหนี้โดยเชื่อมกับโปรแกรม HOSxP • พัฒนาโปรแกรมการจัดซื้อจัดจ้างในโรงพยาบาลบึงกาฬ ความพร้อมใช้งานต่อเนื่องในภาวะฉุกเฉิน:จัดให้มีอุปกรณ์สำรอง ทั้งด้าน Server และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ มีการสำรวจและจัดทำแผนการซื้อวัสดุ/ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ พร้อมค่าบำรุงรักษาประจำปี มีนักวิชาการคอมพิวเตอร์คอยให้บริการในเวลาราชการ จำนวน 4 คน ขึ้นปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ (เวรเช้า) จำนวน 1 คน และจัดเป็นเวร On call คอยให้บริการในช่วงนอกเวลาอื่นๆ
ข.การจัดการความรู้ขององค์กรข.การจัดการความรู้ขององค์กร การจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ ตัวอย่างนวตกรรมจากการติดตามตัวชี้วัด ในการติดตามตัวชี้วัดพบอัตราการติดเชื้อตำแหน่ง VAP CAUTI Phlebitis เชื้อดื้อยาเพิ่มสูงขึ้น จึงได้มีการพัฒนานวตกรรมขึ้นดังนี้ 1. BKK VAP BUNDLE 2. แนวทางการดูแลผู้ป่วยคาเครื่องช่วยหายใจ 3. คู่มือการผสมยาฉีดและการคงตัวของยา 4. จัดทำ IV สีรุ้ง
5. ติดตั้ง Alc. Hand rub ที่เตียงผู้ป่วยทุกเตียง 6. แนวทางการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 7. แนวทางการดูแลผู้ป่วยเชื้อดื้อยา • การนำความรู้มาออกแบบระบบงาน/สร้างนวัตกรรม ผลงานการพัฒนาระบบงานของหน่วยงาน ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ปี 2554 มี 33 เรื่อง ปี 2555 มี 39 เรื่อง ปี 2556 มี 41 เรื่อง
นอกจากนี้ยังได้มีการส่งผลงานเพื่อประกวดและนำเสนอในระดับเขตและระดับภาค ดังนี้ ปี 2555 นำเสนองานประชุมวิชาการสมาคมพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 เรื่อง 1. พฤติกรรมการดูแลตนเองผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาชีพกรีดยางพารา จังหวัดบึงกาฬ 2. กล่องหักแอมป์ยามหาสนุก 3.การดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโรคเรื้อรังตึกอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
ปี 2556 ส่งประกวดผลงานการประชุมวิชาการระดับเขต 8 1. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1ด้านคลินิก เรื่องผลการใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ 2. รางวัลชมเชย ด้าน Service plan เรื่อง Stroke@Buengkan network
ค.คุณภาพของข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ • บทเรียนในการจัดการความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ: • จากบทเรียนระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มี Server จัดเก็บข้อมูล 1 ตัว ทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่เสถียรหรือไม่เพียงพอ เนื่องจากการขยายขนาดของหน่วยบริการ จึงได้มีการเพิ่ม Server การจัดเก็บข้อมูลอีก 1 ตัว • มีการ Update ระบบ HOSxPอยู่เสมอเพื่อสนับสนุนระบบงานใหม่ ข้อมูลตามมาตรฐานชุด 50 แฟ้ม สนย.
ผลการพัฒนาที่สำคัญ • การปรับปรุงระบบการวัด Performance ขององค์กร • การมอบหมายตัวชี้วัดแผนยุทธศาสตร์รายบุคคลทุกระดับเพื่อประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน • ปรับปรุงระบบการการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมโยงข้อมูล
การปรับปรุงการจัดการความรู้การปรับปรุงการจัดการความรู้ • มีการแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการและมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการในการจัดการความรู้ขององค์กร เนื่องจาก องค์ความรู้ต่างๆ มีการจัดเก็บอยู่ในแต่ละหน่วยงาน • ค้นหา/สำรวจความรู้ที่จำเป็นสำหรับองค์กร • เวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ที่จำเป็นสำหรับบุคลากร
การปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศการปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ • มีการกำหนดนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์พ.ศ.2550 และแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2553 • มีการกำหนดแนวปฏิบัติทางเวชระเบียน ทั้งในส่วนของการเข้าถึง การแก้ไขข้อมูล
PART 1-6 1-6 การจัดการกระบวนการ 1-6.1 องค์กรกำหนดงานที่เป็นความเชี่ยวชาญพิเศษของตน ออกแบบระบบงาน และกระบวนงานสำคัญ เพื่อส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้ป่วย/ผูรับผลงานอื่นๆพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉินและบรรลุความสำเร็จขององค์กร เป้าหมาย/ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ: คุณค่าแก่ผู้ป่วย/ผู้รับผลงาน ความสำเร็จขององค์กร การเรียนรู้
ก.ความเชี่ยวชาญพิเศษขององค์กร บริบท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเพิ่มศักยภาพและพัฒนาคุณภาพบริการเข้าสู่มาตรฐานโรงพยาบาลทั่วไประดับ S • Core competency ขององค์กร ทีมนำโรงพยาบาลบึงกาฬได้กำหนดความเชี่ยวชาญพิเศษขององค์กร เพื่อตอบสนองพันธกิจให้บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ 1)มีความเชี่ยวชาญคลินิกเฉพาะด้าน 4 สาขาหลัก ได้แก่ ด้านอายุรกรรม ด้านสูตินรีเวชกรรม ด้านกุมารเวชกรรม และด้านศัลยกรรม 2)บุคลากรระดับทีมนำมีความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร 3)มีสัมพันธภาพที่ดี ทำงานเป็นทีมในสหสาขาและร่วมกับเครือข่าย
ข.การออกแบบ จัดการ และปรับปรุงกระบวนการทำงาน บทเรียนจากการใช้ 3P หรือPDSA ในโครงการพัฒนาคุณภาพและงานประจำ การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบึงกาฬ มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของระบบงานที่สำคัญ ปัจจุบันผ่านการรับรองจากองค์กรภายนอก ได้แก่ คุณภาพห้องปฏิบัติการ (LA) คุณภาพงานอนามัยแม่และเด็ก (โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวระดับทอง) คุณภาพบริการพยาบาล (รับการรับรองจากสภาพยาบาล) คุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (รับการประเมินความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมระดับ 5 จากศูนย์อนามัยที่6) กำลังดำเนินการพัฒนาและขอรับรองมาตรฐานคุณภาพด้านยาจากเภสัชสภา โอกาสพัฒนาคือการนิเทศติดตามให้มีการดำเนินการให้ต่อเนื่อง
การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคที่สำคัญตามความเชี่ยวชาญพิเศษขององค์กร ได้แก่ ระบบ Fast track STEMI Appendicitis บทเรียนที่ได้รับคือ การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยต้องพัฒนาระบบการดูแลครอบคลุมทั้งเครือข่าย จึงได้ขยายการพัฒนาและเป็นพี่เลี้ยง / ที่ปรึกษา รพ.ชุมชน • บทเรียนจากการใช้ 3P หรือ PDSA ในการบริหารหน่วยงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย และการติดตามกำกับงานประจำวัน จากการสื่อสารทั่วทั้งองค์กรให้มีการใช้ 3 P ในงานประจำของเจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่ง สุ่มถามเจ้าหน้าที่มีความเข้าใจ สามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ มีหน่วยงานพัฒนางานโดยจัดทำ CQI ทุกหน่วยงาน
ด้านการบริหารมีการกำหนดเป้าหมายให้เวชระเบียนและการบันทึกข้อมูล สารสนเทศให้มีความสมบูรณ์สามารถขอรับการชดเชยบริการอย่างมีประสิทธิภาพ • บทเรียนการใช้ 3P หรือPDSAกับประเด็นเชิงกลยุทธ์ หรือการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดบริการสุขภาพที่สำคัญ
บทเรียนการใช้ 3P หรือPDSAกับประเด็นเชิงกลยุทธ์ หรือการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดบริการสุขภาพที่สำคัญ การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงพยาบาล มีส่วนร่วมจากทุกระดับ มอบหมายตัวชี้วัดให้แต่ละฝ่าย /งานดำเนินการ การปรับกลยุทธ์เพื่อลดรายจ่าย เช่น ได้ปรับปรุงบริการที่ทำให้เกิดการตามจ่ายสูง โดยการเปิด CT Scan ใน รพ. การปรับปรุงการเอกซเรย์เป็นระบบดิจิตอลเพื่อลดการใช้ฟิล์ม การปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้บริการสถานที่บริการใกล้บ้านใกล้ใจ ปี 2556 รพ.กำหนดตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ 31 ตัว บรรลุเป้าหมายที่กำหนด 16ตัว คิดเป็นร้อยละ 51.61 โอกาสพัฒนา การสื่อสารตัวชี้วัดให้เข้าใจตรงกันทุกระดับ
การเชื่อมโยง นวัตกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาและปรับปรุงระบบงานได้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับเครือข่ายจังหวัด และนำผลการพัฒนาแลกเปลี่ยนในระดับเขต เช่น การจัดระบบ Fast tract STEMI และจัดการแบบเครือข่ายจังหวัด การขยายการพัฒนากลุ่มโรคแม่และเด็กโดยใช้รูปแบบการดำเนินงานลักษณะเดียวกั