1 / 64

ระบบบริการสาธารณสุข

ระบบบริการสาธารณสุข. สุวัสสา เพ็งสีแสง สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. ระบบบริการสุขภาพ (Health Care System). คือ ระบบดูแลสุขภาพ ระบบสุขภาพที่ดี มีลักษณะ 3 ประการ คือ มีความเป็นธรรม มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ.

Download Presentation

ระบบบริการสาธารณสุข

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบบริการสาธารณสุข สุวัสสา เพ็งสีแสง สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

  2. ระบบบริการสุขภาพ (Health Care System) คือ ระบบดูแลสุขภาพ ระบบสุขภาพที่ดี มีลักษณะ 3 ประการ คือ • มีความเป็นธรรม • มีคุณภาพ • มีประสิทธิภาพ

  3. ระบบสุขภาพที่ดี ความเป็นธรรม คือ ระบบที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็น อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงฐานะ คุณภาพ ทั้งคุณภาพน้ำใจ ความสุจริต ความถูกต้องทางวิชาการ เป็นที่วางใจเชื่อมั่น ประสิทธิภาพ คือ ระบบบริการที่ให้ผลคุ้มค่า

  4. แนวคิดการจัดบริการสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพ • ครอบคลุมการจัดบริการที่สุขภาพที่เป็นการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ • ครอบคลุมทั้งบริการที่จัดโดยบุคลากรทางด้านสุขภาพ(professional care) และบริการที่จัดโดยบุคคล ครอบครัว และชุมชน(non-professional care) • สอดคล้องกับความจำเป็นหรือความต้องการ และสภาพปัญหาทางด้านสุขภาพ • รูปแบบการดูแลตนเอง และการจัดบริการในสถานพยาบาลรูปแบบต่าง ๆ เช่น สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน คลินิก โรงพยาบาล การออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ในรูปแบบต่าง ๆ

  5. องค์ประกอบของระบบบริการสุขภาพที่ดีองค์ประกอบของระบบบริการสุขภาพที่ดี 1.ประเภทและลักษณะของบริการสุขภาพ 2.ระบบผลิตบุคลากร 3.ระบบเทคโนโลยีรวมถึงยา 4.ระบบการวิจัยสร้างความรู้ 5.ระบบการเงินงบประมาณ 6.ระบบประกันคุณภาพสถานพยาบาล 7.ระบบความโปร่งใส 8.ระบบตรวจสอบที่เป็นอิสระ

  6. ประเภทและลักษณะของบริการสุขภาพประเภทและลักษณะของบริการสุขภาพ 1. ระบบบริการฉุกเฉิน (Emergency Care) ยังไม่เพียงพอ ต้องกำหนดโครงสร้างเพิ่ม 2. ระบบการดูแลรักษาตัวเอง (Self care) สำคัญมากช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย 3. ระบบการดูแลที่บ้าน (Home care ) และการดูแลโดยชุมชน (Community Care) เช่น คนชราหรือโรคเรื้อรังที่ต้องติดตามผลยาวนาน 4. ระบบบริการการแพทย์ระดับต้น การรักษาทั่วไปที่มีคุณภาพ 5. ระบบบริการการแพทย์พิเศษ การรักษาเฉพาะทาง หรือการดูแลผู้ป่วยบางรายเป็นพิเศษ 6. ระบบการแพทย์แผนไทย แพทย์พหุลักษณ์ หรือแพทย์ทางเลือก

  7. ระบบผลิตบุคลากร ผลิตบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของระบบบริการ มีคุณธรรมและความสามารถสูง ซึ่งเริ่มจากการคัดเลือกนักศึกษาแพทย์ ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ มีระบบประเมินที่เป็นอิสระ

  8. ระบบเทคโนโลยีรวมถึงยาระบบเทคโนโลยีรวมถึงยา การประยุกต์ใช้ความรู้ วัสดุอุปกรณ์ วิธีการร ยา วัคซีน เรียกรวมเป็น เทคโนโลยี ปัญหา คือ ราคาแพง ขาดความรู้ตามหลักวิชาการ

  9. ระบบการวิจัยสร้างความรู้ระบบการวิจัยสร้างความรู้ มีการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่พิสูจน์ได้จริง ถูกต้อง ได้ความรู้ใหม่ รู้เท่าทัน ติดตามแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นใหม่ได้ทัน

  10. ระบบการเงินงบประมาณ การมีประกันสังคม ทำให้ประชาชนมีหลักประกันทางสุขภาพ ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดระบบการเงิน ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด

  11. ระบบประกันคุณภาพสถานพยาบาลระบบประกันคุณภาพสถานพยาบาล HA (Health Accreditation) ใช้ประเมินความรู้ความสามารถทางวิชาการ ความถูกต้องสมบูรณ์ คุณธรรม น้ำใจ ความซื่อสัตย์ การจัดการที่ดีของสถานพยาบาล จึงต้องใช้องค์กรภายนอกมาประเมิน เพื่อความเป็นธรรม โปร่งใส

  12. ระบบความโปร่งใส สร้างวัฒนธรรมความโปร่งใส สามารถให้ประชาชนทั่วไป เข้ามาสอบถามและตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลา

  13. ระบบตรวจสอบที่เป็นอิสระระบบตรวจสอบที่เป็นอิสระ เมื่อตรวจสอบแล้วต้องมีการรายงานให้สาธารณะทราบด้วย

  14. ระบบการบริการสาธารณสุขระบบการบริการสาธารณสุข ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 1. ทรัพยากรสาธารณสุข 2. โครงสร้างองค์กร 3. การบริหารจัดการ 4. การเงินการคลังสาธารณสุข 5. แบบแผนการให้บริการสุขภาพ

  15. ระบบการบริการสาธารณสุขระบบการบริการสาธารณสุข • ทรัพยากรสาธารณสุข ได้แก่ - บุคลากรสาธารณสุข (Manpower) - โครงสร้างพื้นฐานด้านบริการสุขภาพ (Health Facility)เช่น จำนวนเตียง สถานบริการ อาคารสถานที่ - เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ (Health Equipments and Supplies)

  16. ระบบการบริการสาธารณสุขระบบการบริการสาธารณสุข • การบริหารจัดการ รัฐมีบทบาทในการ 1.กำหนดนโยบายสาธารณสุขและวิสัยทัศน์ 2.ควบคุมการปฏิบัติการ และออกกฎหมาย ข้อบังคับ 3.รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูงเพื่อการบริหาร

  17. ระบบการบริการสาธารณสุขระบบการบริการสาธารณสุข • การเงินการคลังสาธารณสุข ได้มาจาก • งบประมาณแผ่นดิน • นายจ้าง • องค์การอาสาสมัคร • ชุมชนท้องถิ่น • การช่วยเหลือจากต่างประเทศ • ค่าใช้จ่ายจากครัวเรือน • อื่นๆ รวมทั้งการบริจาค

  18. ระบบการบริการสาธารณสุขระบบการบริการสาธารณสุข • แบบแผนการให้บริการสุขภาพ ตัวอย่าง • การให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ • การบริการผู้ป่วยซับซ้อน • ระบบการส่งต่อ บริการเฉพาะกลุ่ม เช่น ชาวเขา แรงงานต่างด้าว

  19. ระบบการบริการสาธารณสุขระบบการบริการสาธารณสุข • โครงสร้างองค์กร

  20. ระบบบริการสาธารณสุข • การประกันสุขภาพ • โรงพยาบาลสาขา • โครงการพัฒนาระบบบริการของสถานบริการ และหน่วยงานสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค • โครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัย • ระบบการส่งต่อ • คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ

  21. โครงสร้างของระบบการบริการสาธารณสุขโครงสร้างของระบบการบริการสาธารณสุข ระบบบริการสาธารณสุขภาครัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข • Primary health care level (บริการสาธารณสุขมูลฐาน ) • Primary care level (การบริการสาธารณสุขระดับต้น ) • Secondarycare level (การบริการสาธารณสุขระดับกลาง ) • Tertiary care level (การบริการสาธารณสุขระดับสูง )

  22. ระบบบริการสุขภาพเปรียบเทียบระบบบริการสุขภาพเปรียบเทียบ

  23. ระดับของระบบบริการสุขภาพ (level of health care system) • การจัดแบ่งระบบบริการสุขภาพออกเป็นหลายระดับ • เช่น แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ • บริการระดับปฐมภูมิ (primary care) • บริการระดับทุติยภูมิ (secondary care) • บริการระดับตติยภูมิ (tertiary care) • หรือ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ • บริการระดับปฐมภูมิ • การดูแลโดยโรงพยาบาล (hospital care)

  24. วัตถุประสงค์ • เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ยังสามารถสร้างหลักประกันในการเข้าถึงบริการของประชาชน • เพราะลักษณะการเจ็บป่วยของประชาชนในแต่ละชุมชนนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นโรคหรือความเจ็บป่วยที่ไม่ซับซ้อน สามารถให้การดูแลได้โดยใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน มีผู้ป่วยจำนวนไม่มากนักที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่ต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ซับซ้อน การจัดโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่สามารถให้บริการครอบคลุมทั้งบริการการแพทย์ขั้นพื้นฐานและบริการการแพทย์ที่ซับซ้อนในทุกพื้นที่ หรือจัดบริการสุขภาพเป็นระดับเดียว (single level) จะทำให้บริการการแพทย์ที่ซับซ้อนจะไม่ถูกใช้อย่างเต็มที่ เนื่องจากอุบัติการณ์ (incidence) การเจ็บป่วยที่ซับซ้อนที่เกิดในชุมชนมีจำนวนไม่มากนัก การจัดบริการในลักษณะนี้จึงไม่เกิดความประหยัดของขนาด (economy of scale) ของบริการทางการแพทย์ที่ซับซ้อน และเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

  25. วัตถุประสงค์ • เพื่อให้สามารถจัดบริการสุขภาพที่มีคุณภาพได้อย่างครอบคลุม • การจัดแบ่งระบบบริการสุขภาพเป็นหลายระดับ โดยแต่ละระดับมีจำนวนประชากรที่รับผิดชอบแตกต่างกัน คือ • บริการสุขภาพระดับต้น หรือบริการระดับปฐมภูมิรับผิดชอบดูแลจำนวนประชากรไม่มากนัก แต่ครอบคลุมการให้บริการสุขภาพที่เป็นปัญหาส่วนใหญ่ ทั้งบริการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ • บริการในระดับที่สูงขึ้นรับผิดชอบจำนวนประชากรที่มากขึ้น แต่ครอบคลุมการให้บริการเฉพาะโรคที่ไม่เกิดบ่อยแต่มีความซับซ้อน

  26. โครงสร้างระบบสุขภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญโครงสร้างระบบสุขภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญ ประกอบด้วย • บริการปฐมภูมิ • บริการทุติยภูมิ • บริการตติยภูมิ • บริการระดับศูนย์การแพทย์เฉพาะทางและระบบส่งต่อ • ควรมีระบบสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่ ระบบสนับสนุนทรัพยากร ระบบสนับสนุนวิชาการและการวิจัย และระบบข้อมูลข่าวสาร

  27. การบริการปฐมภูมิ (Primary Care) • เป็นบริการที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนและชุมชนมากที่สุด จึงเน้นที่ความครอบคลุม • มีการบริการผสมผสาน ทั้งในด้าน • การรักษาพยาบาล • การส่งเสริมสุขภาพ • การป้องกันควบคุมโรค • ฟื้นฟูสภาพ • จัดบริการปฐมภูมิในเขตพื้นที่ชนบท สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน • จัดบริการปฐมภูมิในเขตเมือง ศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครหรือ ศูนย์แพทย์ชุมชน

  28. การบริการทุติยภูมิ (Secondary Care) • เป็นบริการที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในระดับที่สูงขึ้น • เน้นการบริการรักษาพยาบาลโรคที่ยาก ซับซ้อนมากขึ้น ได้แก่ • โรงพยาบาลชุมชนในระดับอำเภอ • โรงพยาบาลทั่วไปในระดับจังหวัด • โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม

  29. การบริการตติยภูมิ และศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง (Tertiary Care and Excellent Center) • เป็นการบริการที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง • มีความสลับซับซ้อนมาก • มีบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาเฉพาะทาง • โรงพยาบาลศูนย์ • สถาบันเฉพาะทางต่างๆ • สังกัดมหาวิทยาลัย

  30. ระบบส่งต่อผู้ป่วย • ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติว่า • รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง กระทรวงสาธารณสุข ใช้นโยบาย 3 ประการ คือ 1. พัฒนาคุณภาพของสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ 2. สร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนทุกคน 3. ระบบส่งต่อและเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุข

  31. เป้าประสงค์ของการจัดระบบบริการสุขภาพเป้าประสงค์ของการจัดระบบบริการสุขภาพ • มีความเป็นธรรม มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล • มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไป • มีลักษณะเป็นการบริการที่ผสมผสาน • มีความต่อเนื่อง • มีความครอบคลุมเข้าถึงได้ • มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริการและชุมชน • ทำให้เกิดความพึงพอใจ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

  32. การสาธารณสุขมูลฐาน • หมายถึง บริการสาธารณสุขอันจำเป็นแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ • สอดคล้องกับความเป็นอยู่และเป็นที่ยอมรับของสังคม • เข้าถึงชุมชน ครอบครัว และตัวบุคคล • ชุมชนได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และสามารถทำนุบำรุงให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง

  33. การบริการสุขภาพที่หน่วยบริการจัดขึ้นในชุมชนการบริการสุขภาพที่หน่วยบริการจัดขึ้นในชุมชน 1. การดูแลและบริการสุขภาพที่บ้าน 2. การจัดหน่วยบริการสุขภาพ บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขเคลื่อนที่

  34. บริการสุขภาพในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิบริการสุขภาพในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ • ลักษณะสำคัญของระบบบริการปฐมภูมิที่ดี • เป็นด่านแรกที่ประชาชนเข้าถึงบริการสะดวก ดูแลสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มอายุ และทุกกลุ่มโรคตามมาตรฐาน • เป็นบริการที่รับผิดชอบดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนป่วย จนถึงขณะป่วย ตั้งแต่เกิดจนตาย • เป็นบริการที่ดูแลประชาชนอย่างผสมผสาน คำนึงถึงปัจจัยทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง • เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ส่งต่อ และประสานเชื่อมต่อการบริการอื่นๆ ทั้งด้านการแพทย์ ด้านสังคม

  35. บริการที่ควรมีในหน่วยบริการปฐมภูมิบริการที่ควรมีในหน่วยบริการปฐมภูมิ • ด้านการรักษาพยาบาล • ด้านการส่งเสริมสุขภาพ • ด้านการฟื้นฟูสภาพพื้นฐาน • การป้องกันและควบคุมโรคในระดับบุคคล และครอบครัว • ด้านการสนับสนุนการพึ่งตนเองของประชาชน • ด้านการบริการด้านยา ตั้งแต่การจัดหายา การจ่ายยา และการให้ความรู้ด้านยา

  36. บริการสุขภาพในสถานพยาบาลระดับทุติยภูมิ และตติยภูมิ • บริการทางการแพทย์ที่มีความซับซ้อน • มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนด บริการมาตรฐานขั้นต่ำที่ต้องมีในสถานพยาบาลระดับทุติยภูมิ และตติยภูมิ (โรงพยาบาล) มาตรฐานทั่วไป • มีอาคารสถานที่ อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการบริการทางการแพทย์ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่ชุมชน • มีเจ้าหน้าที่เพียงพอทั้งในด้านจำนวนและคุณภาพ • แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

  37. บริการมาตรฐานขั้นต่ำของโรงพยาบาลบริการมาตรฐานขั้นต่ำของโรงพยาบาล บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน • มีความพร้อมในเรื่องเครื่องมือ บุคลากร รถพยาบาลรับส่งผู้ป่วยหนัก โดยมีแพทย์พร้อมให้บริการอย่างน้อย 1 คน และพยาบาล 2 คน ตลอด 24 ชั่วโมง บริการผู้ป่วยนอก • มีอาคารสถานที่เหมาะสม สะดวกสำหรับผู้รับบริการมีการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่รอนานเกินไป บริการผู้ป่วยใน • มีอาคารผู้ป่วยและอุปกรณ์ประจำตึกพร้อมให้บริการ • มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสม แพทย์ และพยาบาลวิชาชีพ อย่างน้อง 1 คนต่อ 30 เตียง และพนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ 1 คนต่อ 10 เตียง

  38. บริการมาตรฐานขั้นต่ำของโรงพยาบาลบริการมาตรฐานขั้นต่ำของโรงพยาบาล • บริการเวชทะเบียน • บริการรังสีวิทยา • บริการตรวจทางพยาธิวิทยาและการชันสูตร • บริการเภสัชกรรม • บริการศัลยกรรมทั่วไป ห้องผ่าตัดมีอย่างน้อย 1 ห้องต่อ 50 เตียง และไม่น้อยกว่า 2 ห้อง ไม่นับรวมห้องคลอด • บริการวิสัญญี

  39. แนวคิดและวิธีการจัดบริการแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้านไทย และแพทย์ทางเลือก • ระบบบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ของประเทศไทย ควรเป็นระบบบริการแบบพหุลักษณ์ กล่าวคือเป็นการผสมผสานทั้งการแพทย์กระแสหลัก คือ การแพทย์ตะวันตก โดยที่ไม่ละเลยทอดทิ้ง การผสมผสานองค์ความรู้ ภูมิปัญญาทั้งที่มีอยู่เดิมในท้องถิ่น และจากต่างประเทศ ได้แก่ การบริการแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้านไทย และแพทย์ทางเลือกเข้าร่วมจัดบริการและให้การดูแลทางด้านสุขภาพให้แก่ประชาชน • รูปแบบวิธีการจัดบริการแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้านไทย และแพทย์ทางเลือกหมายรวมถึง บริการและการดูแลสุขภาพทั้งโดยกลุ่มวิชาชีพที่ทำหน้าที่ให้บริการ หรือใช้ความรู้ความสามารถตามวิชาชีพของตนเอง และการดูแลตนเองในครอบครัว ชุมชน และการบริการในสถานบริการภาครัฐและเอกชน

  40. แพทย์พื้นบ้าน แพทย์ภาคประชาชน แพทย์แผนปัจจุบัน

  41. Excellent Center Tertiary Medical Care Tertiary Care (3 Care) Secondary Care (2 Care) Primary Care (1 Care) Referral Center Secondary Medical Care Special Care Referral System Primary Medical Care General Practice Family Practice Primary Health Care Self-Care Holistic Care IntegratedCare Continuous Care คุณภาพบริการ เชื่อมโยง ไม่มีช่องว่าง ไม่ซ้ำซ้อน ระบบบริการสุขภาพแบบบูรณาการ (Integrated Health Care System)

  42. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ แบบเครือข่าย • บนหลักการ • ประกันคุณภาพ • ประกันราคา • เข้าถึงบริการ • บริการระดับสูง ต้อง • คุ้มค่าการลงทุน • ความเชี่ยวชาญเฉพาะ • เป็นเครือข่ายบริการ 2 ล้านคน Ex. Cent. 1 ล้านคน ตติยภูมิ 2 แสนคน ทุติยภูมิ ระดับ 3 8 หมื่นคน ทุติยภูมิ ระดับ 2 3-5 หมื่นคน ทุติยภูมิ ระดับ 1 ปฐมภูมิ 1 หมื่นคน บริการระดับต้น ประชาชน-ท้องถิ่น ดำเนินการได้ ท้องถิ่น ชุมชน ครอบครัว ตนเอง แพทย์ระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ ระดับต้น 1: 10,000 GP:SP = 40:60

  43. การจัดเครือข่ายบริการสุขภาพและการประกันคุณภาพบริการการจัดเครือข่ายบริการสุขภาพและการประกันคุณภาพบริการ บริการเฉพาะ มาตรฐานบริการ เฉพาะทางพิเศษ บริการตติยภูมิ เฉพาะทาง มาตรฐานบริการเฉพาะทาง ทุติยภูมิ CUP หน่วยบริหารเครือข่าย มาตรฐานสถานพยาบาล (ต่ำสุด 10-30 เตียง) มาตรฐานคุณภาพ มาตรฐานคู่สัญญาปฐมภูมิ PCU PCU โครงสร้าง บุคลากร บริการ การจัดการ PCU

More Related