1.26k likes | 3.62k Views
ประเภทของเครื่องสำอาง. คำจำกัดความเครื่องสำอาง. หนังสือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( มอก. 152-2518) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ได้ ให้ว่า เครื่องสำอางหมายถึง :
E N D
ประเภทของเครื่องสำอางประเภทของเครื่องสำอาง
คำจำกัดความเครื่องสำอางคำจำกัดความเครื่องสำอาง • หนังสือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.152-2518) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ได้ให้ว่า เครื่องสำอางหมายถึง : • ผลิตภัณฑ์สิ่งปรุงเพื่อใช้บนผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ โดยถู ทา พ่น หรือ โรย เป็นต้น เช่นในการทำความสะอาดป้องกัน แต่งเสริมเพื่อความงาม หรือเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะ • สิ่งใดๆ ที่ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์สิ่งปรุงที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
พระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง พ.ศ.2517 เครื่องสำอางหมายถึง • วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือด้วยอื่นใด ต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม ตลอดจนเครื่องประทินผิวต่างๆ ด้วย • วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางโดยเฉพาะ หรือ • วัตถุอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวงให้เป็นเครื่องสำอาง
คุณลักษณะเครื่องสำอางคุณลักษณะเครื่องสำอาง • ในการผลิตเครื่องสำอาง มีลักษณะการเตรียมหรือการผลิตเหมือนกับการเตรียมหรือการผสมยา แต่ในกรณีของการเตรียมเครื่องสำอางจะมีลักษณะที่เฉพาะเด่นชัดที่แตกต่างจากการผลิตยาอยู่ 3 ประการ คือ • เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นหอมชวนดม • มีลักษณะสวยงาม ทั้งลักษณะของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการบรรจุหีบห่อ • ใช้งานได้ง่าย สะดวกต่อการพกพา เครื่องสำอางโดยทั่วไป จะต้องบอกคุณลักษณะของเครื่องสำอางนั้นๆ ไว้ ตามมาตร ฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เช่น ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ วิธีใช้ ข้อควรระวัง ภาชนะและการบรรจุ รวมถึงการทดสอบ การตรวจหาปริมาณ และการวิเคราะห์ต่างๆ
ประโยชน์ของเครื่องสำอาง • ช่วยตกแต่งให้ผิวดูเนียนและผุดผ่องขึ้น เช่น แป้งแต่งหน้า ดินสอเขียนคิ้ว ครีมต่างๆ • ช่วยทำความสะอาดรักษาอนามัยและสุขภาพผิวของปากและฟัน เช่น สบู่และยาสีฟัน • ช่วยกลบเกลื่อนให้แลดูเป็นธรรมชาติ เช่น กลบฝ้าและไฝต่างๆ • ช่วยตกแต่งทรงผมให้อยู่ทรง และสวยงามตามที่ต้องการ • ช่วยทำให้สบายผิว แก้ความอับชื้น เช่น แป้งฝุ่นโรยตัว • ทำให้จิตใจสดชื่น รู้สึกผ่อนคลาย เนื่องจากกลิ่นหอมของเครื่องสำอาง
ฉลากเครื่องสำอาง ต้องประด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้1.ชื่อเครื่องสำอางในส่วนนี้ผู้ประกอบธุรกิจมักจะให้ความสำคัญอยู่แล้ว การแสดงชื่อเครื่องสำอางบนฉลากจึงมีความชัดเจนดี แต่จะมีข้อควรระวังอยู่บ้างก็คือ เครื่องสำอางมักจะมีความหลากหลายในชื่อรุ่น เฉดสี หรือกลิ่น ผู้บริโภคต้องพิจารณาชื่อผลิตภัณฑ์ให้ดีก่อนซื้อ2.ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง
ฉลากเครื่องสำอาง 3.ส่วนประกอบสำคัญข้อมูลนี้จะมีประโยชน์มากหากเมื่อใช้เครื่องสำอางแล้วเกิดอาการแพ้จะได้จดจำไว้เป็นข้อมูลส่วนตัวว่าแพ้สารประเภทใด หรือถ้าทราบว่ามีประวัติแพ้สารใดมาก่อน ก็สามารถตรวจสอบรายละเอียดของส่วนประกอบในเครื่องสำอางก่อนซื้อเพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงสารเคมีที่แพ้ได้ง่ายขึ้น4.ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตและผู้นำเข้า ในส่วนนี้จะเป็นการแสดงความรับผิดชอบ ของเจ้าของผลิตภัณฑ์หากผู้บริโภคเกิดปัญหาใดๆ ก็สามารถติดต่อ หาผู้รับผิดชอบได้ 5.วันเดือนปีที่ผลิตการแจ้งวันเดือนปีที่ผลิตจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างยิ่งเพราะจะทำให้ทราบถึงระยะเวลาที่กำหนด 6. วิธีใช้เมื่อซื้อเครื่องสำอางมาแล้ว ก็ต้องศึกษาวิธีใช้อย่างละเอียด เพื่อที่จะได้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า และปลอดภัย 7. ปริมาณสุทธิในส่วนนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบระหว่างเครื่องสำอางในประเภทเดียวกันได้ว่าปริมาณและราคาของเครื่องสำอางนั้นแตกต่างกันอย่างไรเพื่อที่จะได้เลือกซื้อเครื่องสำอางอย่างคุ้มค่า สมราคา8. คำเตือนเครื่องสำอางบางชนิดจะต้องแสดงคำเตือนที่ฉลากด้วย แสดงว่าต้องใช้ด้วยความระมัดระวังดังนั้นอย่าลืมศึกษาคำเตือนให้เข้าใจ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ประเภทของเครื่องสำอางประเภทของเครื่องสำอาง เครื่องสำอางแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอันตรายกับผู้บริโภคเนื่องจากพิษภัยหรืออันตรายของเคมีภัณฑ์ที่เป็นส่วนผสม การกำกับดูแลจึงเข้มงวดที่สุด ด้วยการให้ต้องมาขึ้นทะเบียนตำรับ เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับเครื่องสำอางควบคุมพิเศษเรียบร้อยแล้ว จึงจะผลิตหรือนำเข้ามาจำหน่ายได้
ตัวอย่างเครื่องสำอางควบคุมพิเศษตัวอย่างเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ • - ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ไหมขัดฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ - น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของ เซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ - ผลิตภัณฑ์ดัดผม ยืดผม - ผลิตภัณฑ์ย้อมผมชนิดถาวร - ผลิตภัณฑ์ฟอกสีผม - ผลิตภัณฑ์ทำให้ผมดำที่มีส่วนผสมของเลดแอซีเทต หรือซิลเวอร์ไนเตรต - ผลิตภัณฑ์กำจัดขน หรือทำให้ขนร่วง
2.เครื่องสำอางควบคุม เป็นเครื่องสำอางกลุ่มที่อาจมีผลกระทบ หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายบ้าง แต่น้อยกว่าเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ การกำกับดูแลจึงไม่เข้มงวดเท่าเครื่องสำอางควบคุมเครื่องสำอางควบคุม
2.เครื่องสำอางควบคุม 2.1 กำหนดให้เครื่องสำอาง 4 ประเภท เป็นเครื่องสำอางควบคุม ได้แก่ - ผ้าอนามัย ทั้งชนิดแผ่น และชนิดสอด - ผ้าเย็นหรือกระดาษเย็น - แป้งฝุ่นโรยตัว - แป้งน้ำ 2.2 กำหนดสารควบคุม ดังนั้น เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารควบคุมจะจัดเป็นเครื่องสำอางควบคุม ได้แก่ - สารป้องกันแสงแดด จำนวน 19 ชนิด - สารขจัดรังแค (ซิงก์ไพริไทโอน และไพรอกโทน โอลามีน)
3.เครื่องสำอางทั่วไป ได้แก่ แชมพูสระผม หรือ ครีมนวดผม ที่ไม่มีสารขจัดรังแค ,โลชั่น, ครีมบำรุงผิว, อายแชโดว์, อายไลเนอร์, ดินสอเขียนคิ้ว , บลัชออนแต่งแก้ม , ลิปสติก , ครีมรองพื้น , แป้งทาหน้า , สบู่ก้อน , สบู่เหลว, โฟม น้ำมันทาผิว , เครื่องสำอางระงับกลิ่นกาย , สีทาเล็บ , มูส หรือเยลแต่งผม เป็นต้น
กลูต้าไธโอน..สารเร่งผิวขาวยอดนิยมอันดับหนึ่งกลูต้าไธโอน..สารเร่งผิวขาวยอดนิยมอันดับหนึ่ง กลูต้าไธโอน (Glutathione) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti Oxidant) ซึ่งร่างกายสามารถผลิตได้เองตามธรรมชาติ และมีในอาหาร เช่น นม ไข่ ผลอะโวคาโด สตรอเบอร์รี มะเขือเทศ ผักบรอคโคลี ส้มเกรปฟรุต และผักโขม กลูต้าไธโอนเป็นเหมือนตัวที่ช่วย Detoxและขับสารพิษต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายออกไป ในวงการแพทย์ใช้กลูต้าไธโอนในการรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ข้ออักเสบโรคพาร์กินสัน โรคตับ โรคไต โรคเอดส์ ภาวะเป็นหมันในเพศชาย ภาวะหูตึงจากเสียงดัง และใช้รักษาควบคู่กับการรับประทานยา เพื่อช่วยในการ Detoxตับ ให้สารพิษที่ตกค้างขับออกไปได้เร็วขึ้นกลูตาไธโอน เป็น Tripeptidesของกรดอะมิโน 3 ตัว คือ ซิสทีน (cysteine) กรดกลูตามิค (glutamic acid) และไกลซีน (glycine) ซึ่งผลข้างเคียงจากการรักษา คือจะไปยับยั้งการสร้างเม็ดสี (Melanin) ที่สร้างโดยMelanocyteซึ่งเม็ดสีนี้จะมีอยู่ 2 แบบ คือเม็ดสีอ่อนหรือฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) และเม็ดสีเข้มหรือยูเมลานิน (Eumelanin) ที่จะเป็นตัวกำหนดสีผิวของมนุษย์ว่าจะขาวหรือดำ ซึ่งโดยพื้นฐานของคนไทยจะมีการสร้างเม็ดสียูเมลานินมากกว่า ในขณะที่ชาวตะวันตกจะสร้างเม็ดสีแบบฟีโอเมลานินซึ่งกลูต้าไธโอนมีคุณสมบัติที่สามารถทำให้เม็ดสีอ่อนลงได้ แต่จะอยู่ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น หากสารหมดไปจากร่างกาย ผิวก็อาจกลับมาคล้ำได้ จึงต้องใช้ในปริมาณสูง ในความถี่ที่บ่อยพอสมควรและต้องใช้วิธีฉีดเข้าเส้นจึงจะเห็นผล ซึ่งมีความเสี่ยงทำให้ยาสะสมในร่างกายมากขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการฉีดกลูต้าไธโอนในประเทศไทยคือ การใช้ยาปลอม สารปรอท..ส่วนผสมหลักในครีมผิวขาวยอดนิยม
ประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข • เนื่องจาก กระทรวงสาธารณสุข ได้"กำหนดให้เครื่องสำอางทุกประเภทเป็นเครื่องสำอางควบคุมโดยยกเลิกกฏหมายเก่าและมีการเปลี่ยนแปลงประเภท เครื่องสำอางโดย แบ่งเครื่องสำอางออกเป็น3 ประเภทได้แก่ - เครื่องสำอางควบคุม - เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ - เครื่องสำอางทั่วไป • โดยให้ เครื่องสำอางทุกประเภทเป็นเครื่องสำอางควบคุมต้องจดแจ้งสูตรการผลิต ต่อ อย. • มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26กันยายน 2551 ดังนั้นลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้า เพื่อทำแบรนด์ตนเอง • ติดต่อ เพื่อดำเนินการจดแจ้งเครื่องสำอางให้ถูกต้อง
อันตรายจากเครื่องสำอางอันตรายจากเครื่องสำอาง