1 / 8

ประเทศตองกา

ประเทศตองกา.

colby-james
Download Presentation

ประเทศตองกา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประเทศตองกา

  2. ประวัติศาสตร์ ในหมู่เกาะตองกาที่เรียกว่า ราชอาณาจักรตองกา ในปัจจุบันนั้น ชาวลาพิตา (บรรพบุรุษของชาวโพลินีเซียนรวมถึงชาวตองกา) ได้อพยพมาตั้งรกรากจากเอเชียใต้ มากว่า 6,000 ปี ตองกามีประเพณี วัฒนธรรมและอารยธรรมเป็นของตัวเอง ได้พัฒนาจากสังคมเล็กจนเป็นสังคมชั้นสูง โดยมีกษัตริย์ปกครอง ในช่วงระหว่างนั้น มีการแลกเปลี่ยนสินค้า การทำสงคราม รวมถึง การถูกยึดครองดินแดนโดยจักรวรรดิตูอิปูโลตูจากประเทศฟิจิ และจักรวรรดิมานูอาจากประเทศซามัวสลับกันไปจนกระทั่ง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 ตองกาได้พ้นจากการปกครองของทั้งสองประเทศ โดยพระเจ้าอะโฮอิตูได้สถาปนาตัวเป็นกษัตริย์องค์แรกของตองกา ในรัชกาลที่ 10 ต่อมา ในพุทธศตวรรษที่ 17 จักรพรรดิโมโมและพระโอรส (รัชกาลที่ 11 จักรพรรดิตูอิตาตูอิ) ได้ขยายอาณาจักรตองกาโดยยึดประเทศฟิจิและบางส่วนของประเทศซามัว และยังคงขยายอาณาเขตต่อ โดยเข้ายึดโพลินีเซียนตะวันออกทั้งหมด และบางส่วนของเมลานีเซียไมโครนีเซีย และโปลีนีเซียนกลาง ในประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 จักรพรรดิตากาลัวอา ได้ทรงแยกอำนาจกษัตริย์ โดยให้มีกษัตริย์ปกครองราชอาณาจักรพร้อมกัน 2 พระองค์ ราชวงศ์ที่ 2 ที่เกิดขึ้นมาคือ ราชวงศ์ตูอิฮาอาตากาลัวอา โดยมีกษัตริย์องค์แรก คือ จักรพรรดิโมอันกาโมตูอา ซึ่งเป็นโอรสองค์ที่ 2 ของจักรพรรดิตากาลัวอา และได้ปกครองสืบต่อมาในช่วงที่กัปตันเจมส์ คุก ได้แล่นเรือมาที่เกาะ ในปี พ.ศ. 2316, 2317, และ 2320 ได้มาพบหมู่เกาะตองกาและตั้งชื่อว่า "หมู่เกาะแห่งมิตรภาพ" (Friendly Islands) กลุ่มมิชชันนารีกลุ่มแรกจากลอนดอนได้มาอยู่ที่เกาะ ในปี พ.ศ. 2340 และกลุ่มมิชชันนารีกลุ่มต่อมาในปี พ.ศ. 2365ในปี พ.ศ. 2388 เตาฟาอาเฮา ตูปู ซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์ตูอิกาโนกูโปลู ได้รวบรวมหมู่เกาะตองกาที่แตกแยกกัน ให้เป็นอาณาจักรเดียวกัน

  3. ภายใต้ชื่อ "อาณาจักรโพลีนีเซีย" แล้วสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าจอร์จ ตูปูที่ 1 พร้อมสถาปนาราชวงศ์ตูปูขึ้น พระองค์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ. 2418 ในระยะเวลาต่อมา พระเจ้าจอร์จ ตูปูที่ 2ทรงทำสนธิสัญญาให้ตองกาเป็นรัฐภายใต้ การคุ้มครองของสหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2443 จนกระทั่งวันที่ 4 มิถุนายนพ.ศ. 2513 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระราชาธิบดีเตาฟาอาเฮา ตูปูที่ 4 ตองการได้อำนาจการปกครองตนเองคืนทั้งหมด และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในเครือจักรภพ และเมื่อกันยายน พ.ศ. 2543 ตองกาได้เข้าร่วมเป็นประเทศในสหประชาชาติ การเมือง ระบบรัฐสภา ระบบสภาเดี่ยว ประกอบด้วยสมาชิก 3 กลุ่ม คือ คณะรัฐมนตรี คัดเลือกและแต่งตั้งโดยกษัตริย์ ดำรงตำแหน่งจนกระทั่งเกษียณอายุ ผู้แทนขุนนาง (Noble MPs) คัดเลือกโดยกลุ่มขุนนาง ผู้แทนสามัญชน (Commoner MPs) มาจากการเลือกตั้งของประชาชน สถานการณ์ทางการเมือง จุดเปลี่ยนแปลงการปกครองของตองกา คือ การลาออกของเจ้าชายอูลูกาลาลา ลาวากา อาตา จึงทำให้หลาย ๆ คนคาดว่าตองกาจะก้าวสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ส่วนสาเหตุการลาออกไม่ทราบแน่นอน แต่ที่จริงแล้วเจ้าชายลาวากาไม่ต้องการตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ที่แรก จึงทำให้ ดร. เฟเลติ เซเวเลซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยตองกาได้เป็นนายกรัฐมนตรีของตองกาจากการแต่งตั้งของสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จ ตูปูที่ 5 เมื่อยังดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมาร ประชาชนชาวตองกามีการเรียกร้อง

  4. ประชาธิปไตยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และบ่อยครั้งที่รัฐบาลไม่ได้รับความไว้วางใจจากฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการเงินและการขายหนังสือเดินทางให้แก่ชาวต่างชาติ นอกจากนี้ เจ้าชายอูลูกาลาลา ลาวากา อาตายังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการบริหาร โดยเฉพาะกรณีสายการบิน Royal Tongan Airlines ซึ่งพระองค์ทรงเป็นประธาน ประสบภาวะล้มละลายในปี พ.ศ. 2547 และการที่พระองค์เสด็จฯ ต่างประเทศเป็นเวลานานในช่วงเวลาที่ประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2547 อนึ่ง เจ้าชายอูลูกาลาลา ลาวากา อาตา ทรงไม่ได้ให้เหตุผลต่อการลาออกจากตำแหน่งในครั้งนี้ แต่เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าพระองค์ไม่มีพระประสงค์ที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น และไม่ทรงชื่นชอบการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี แม้ว่าการเมืองตองกาจะมีแนวโน้มเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่รัฐบาลยังคงประสบปัญหาขัดแย้งกับสมาคมข้าราชการ ซึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลปรับขึ้นเงินเดือน รวมทั้งการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายตูอิเปเลหะเก ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการรัฐสภาด้านการปฏิรูปการปกครอง จากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมพ.ศ. 2549 จึงคาดว่ากระบวนการปฏิรูปการเมืองจะยังคงล่าช้าต่อไป ตองกาแบ่งการปกครองใหญ่เป็น 3 หมู่เกาะ คือ - ตองกาตาปู เมืองหลวง คือ มูอา - ฮาอะไป เมืองหลวง คือ ปังไก - วาวาอู เมืองหลวง คือ เนอิอาฟู

  5. ภูมิศาสตร์ ประเทศตองกาตั้งอยู่ในทวีปโอเชียเนีย ในภูมิภาคโพลินีเซีย ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ อยู่ระหว่างระยะทาง 2 ใน 3 ระหว่างมลรัฐฮาวาย - นิวซีแลนด์ มีเกาะทั้งหมด 169 เกาะ แต่มีเพียง 96 เกาะที่มีคนอาศัยอยู่ เกาะส่วนใหญ่เป็นเกาะปะการัง มีบางเกาะเท่านั้นที่เกิดจากภูเขาไฟ เกาะที่ใหญ่ที่สุด คือเกาะตองกาตาปู ซึ่งมีพื้นที่ถึง 257 ตารางกิโลเมตร (34.36 % ของพื้นที่ทั้งประเทศ) ประเทศตองกาวัดตั้งแต่เหนือสุดเกาะนีอูอาโฟเอา จนใต้สุดสาธารณรัฐมิเนอร์วาได้ทั้งสิ้นกว่า 800 กิโลเมตร แต่มีพื้นที่ติดทะเลทั้งหมด 419 กิโลเมตร ประเทศตองกาอยู่ในเขตร้อน เพราะฉะนั้น จึงมีอุณหภูมิตลอดทั้งปีโดยเฉลี่ย 23 - 32 องศาเซลเซียส และมีอยู่ 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูหนาว (คล้ายภาคใต้ของประเทศไทย) มีฝนตกเฉลี่ย 1,700 - 2,970 มิลลิเมตร ตั้งแต่เกาะตองกาตาปูถึงเส้นศูนย์สูตรประเทศตองกามีพื้นที่ทั้งหมด 748 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 718 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 30 ตารางกิโลเมตร มีทรัพยากรที่สำคัญ คือปลาและดินอันอุดมสมบูรณ์ เขตสูงสุดอยู่ที่สถานที่ไม่มีชื่อบนเกาะเกา 1,033 เมตร สถานที่ต่ำสุด คือ มหาสมุทรแปซิฟิก 0 เมตร มีภัยธรรมชาติที่สำคัญ คือ ไซโคลนแผ่นดินไหว และ การประทุของภูเขาไฟ สัตว์พื้นเมืองและสภาพทางนิเวศวิทยา สัตว์พื้นเมืองที่เด่นชัดที่สุด คือนกมาเลา อาศัยอยู่บนเกาะนีอูอาโฟเอา ออกไข่แล้วกลบไว้ใต้ดิน ซึ่งในปัจจุบันมีในเกาะนี้ที่เดียวในโลก สัตว์อื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในตองกา ได้แก่ นกชนิดต่าง ๆ หมู และสัตว์น้ำต่าง ๆ มากมาย รวมถึงมีแนวปะการังที่สวยงามด้วยตองกาเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อน เพราะฉะนั้นก็จะมีป่าดงดิบอันอุดมสมบูรณ์ แต่ถึงอย่างไรก็ตามป่าดงดิบก็ยังมีขนาดเล็ก สืบเนื่องมาจากขนาดของเกาะ ซึ่งแต่ละเกาะก็จะมีพันธุ์ไม้แตกต่างกันไป แล้วแต่สภาพทางภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา ดินฟ้าอากาศหรือแม้กระทั่งการอยู่ใกล้ชิกเกาะขนาดใหญ่ เป็นต้น

  6. เศรษฐกิจ  การท่องเที่ยวโดยเฉพาะที่ทะลทำรายได้เป็นอันดับ 2 ของค่า GDP ตองกาเป็นประเทศหนึ่งในแปซิฟิกใต้ที่มีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ เศรษฐกิจของตองกายังคงพึ่งพาสินค้าเกษตรเป็นหลัก สินค้าออกที่สำคัญและทำรายได้อันดับ 1 คือ ฟักทองเนื้อมะพร้าวตากแห้ง สินค้าอื่น ๆ จากมะพร้าว วานิลลา และพืชประเภทรากไม้ต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมที่ทำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับที่ 2 ได้แก่ การท่องเที่ยว ประชากร ประชากรในตองกาประกอบด้วยชาวตองกา ร้อยละ 98 (โพลีนีเซียน) และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2 ซึ่งประกอบด้วยชาวยุโรป และชาวจีน มีอัตราการเกิดอยู่ที่ 25.37 ต่อ 1000 อัตราการตายอยู่ที่ 5.28 ต่อ 1000 และมีอัตราการอ่านออกเขียนได้ร้อยละ 98.9 ประชากรนับถือศาสนาคริสต์ วัฒนธรรม ชาวโปลีนีเซียนรวมถึงตองกาถือว่าเป็นผู้ดีในกลุ่มชนล้าหลัง เนื่องจากมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ตองกามีภาษาเป็นของตนเอง คือ ภาษาตองกา โดยมีประมาณหนึ่งแสนคนที่ใช้ภาษาตองกาเป็นภาษาหลัก นอกจากภาษาตองกาแล้ว ภาษาอังกฤษยังคงเป็นภาษาทางการของประเทศ ชาวตองกาเหมือนชาวโพลีนีเซียนทั่วไป คือ มีการเต้นรำของตัวเอง ความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในโอเชียเนีย ตองกามีความร่วมมือทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกับประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกด้วยกัน เช่น ประเทศฟิจิประเทศซามัวประเทศนาอูรูหมู่เกาะคุกประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ โดยในปี พ.ศ. 2549 ตองกาจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ Pacific Islands Forum ซึ่งเป็นองค์กรในภูมิภาคแปซิฟิกที่สำคัญที่สุด

  7. ความสัมพันธ์ทางการทูตกับนิวซีแลนด์ตองกามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนิวซีแลนด์มาโดยตลอด เนื่องจากมีความผูกพันกันทางเชื้อชาติ ศาสนาและประวัติศาสตร์กับชนพื้นเมือง (ชาวเมารี) ส่งผลให้ตองกาได้รับอิทธิพลทางการเมืองและการปกครองจากนิวซีแลนด์เป็นอันมาก ผู้นำและผู้บริหารระดับสูงของตองกาหลายคนสำเร็จการศึกษาจากนิวซีแลนด์ และมีชาวตองกาจำนวนมากเข้าไปตั้งถิ่นฐานในนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ นิวซีแลนด์ยังเป็นประเทศ ผู้บริจาครายใหญ่ของตองกา โดยเน้นให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาเป็นหลัก ความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย  สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งตองกา เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารทรงเสด็จเยือนไทยในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ไทยกับตองกาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 27 มกราคมพ.ศ. 2537 และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาโดยตลอด โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน มีเขตอาณาคลุมตองกา เอกอัครราชทูตคนปัจจุบัน คือ นายนรชิต สิงหเสนี[1] ตองกาให้ความเป็นมิตรและพยายามกระชับความสัมพันธ์กับไทย เนื่องจากไทยจะเป็นประเทศที่มีการพัฒนาที่ก้าวหน้า มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และไม่เคยเป็นอาณานิคมตะวันตกเช่นเดียวกันกับตองกา ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาไทยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ตองกา 2 ครั้ง คือ กรณีพายุไซโคลน Wekaปี พ.ศ. 2545 บริจาคเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ และกรณีพายุ Heta ปี พ.ศ. 2547 บริจาคเงิน 20,000 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ขณะที่ตองกาเป็นประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ประเทศเดียวที่บริจาคเงินช่วยเหลือไทยกรณีสึนามิจำนวน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ และให้การสนับสนุนไทยในเวทีระหว่างประเทศมาโดยตลอด

  8. การค้าระหว่างไทย - ตองกา การค้าระหว่างไทยและตองกายังมีปริมาณไม่มากนัก แต่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในปี พ.ศ. 2548 โดยการค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 2.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2547 ร้อยละ 219 โดยไทยส่งออกสินค้าไปยังตองกาเกือบทั้งหมด โดยตองกานำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ไทยนำเข้าสินค้าจากตองกามีมูลค่าเพียง 1,416 ดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ ผ้าผืนเสื้อผ้าสำเร็จรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ รถยนต์และส่วนประกอบ

More Related