1 / 18

แนะนำการเรียนการสอน ระดับบัณฑิตศึกษาในภาพรวม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ ชัยสุข

1. แนะนำการเรียนการสอน ระดับบัณฑิตศึกษาในภาพรวม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ ชัยสุข รองคณบดีฝ่ายวิชาการ. หัวข้อ. 2. 1. หลักสูตร 2. การลงทะเบียนเรียน 3. สิ่งสำคัญในการเรียนการสอนที่ควรทราบ 3.1 การทำวิทยานิพนธ์ / ค้นคว้าอิสระ 3.2 การสอบภาษาต่างประเทศ

cleo-phelps
Download Presentation

แนะนำการเรียนการสอน ระดับบัณฑิตศึกษาในภาพรวม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ ชัยสุข

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 1 แนะนำการเรียนการสอน ระดับบัณฑิตศึกษาในภาพรวม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ ชัยสุข รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

  2. หัวข้อ 2 1. หลักสูตร 2. การลงทะเบียนเรียน 3. สิ่งสำคัญในการเรียนการสอนที่ควรทราบ 3.1 การทำวิทยานิพนธ์/ค้นคว้าอิสระ 3.2 การสอบภาษาต่างประเทศ 3.3 การสอบประมวลความรอบรู้ 3.4 การสอบวัดคุณสมบัติ (เฉพาะป.เอก) 3.5 การพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา 3.6 การสำเร็จการศึกษา 4. เรื่องอื่นๆ ทั่วไปเกี่ยวกับคณะฯ

  3. 1. หลักสูตร 3 หลักสูตรระดับปริญญาโท หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (4หลักสูตร) 1. สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ 2. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี 3. สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม 4. สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (2 หลักสูตร) 1. สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร 2. สาขาวิชาเทคโนโลยึชีวภาพ

  4. 1. หลักสูตร (ต่อ) 4 หลักสูตรระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นานาชาติ1 หลักสูตร)1. สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (1 หลักสูตร) 1. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (3 หลักสูตร) 1. สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร 2. สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ 3. สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน

  5. 2. การลงทะเบียนเรียน 5 1) ลงทะเบียนเรียนตามปฏิทินการศึกษา -ภาคการศึกษา 1/2556 ลงทะเบียน20 พ.ค.- 2 มิ.ย. 2556 -ภาคการศึกษา 2/2556 ลงทะเบียน 14-27 ต.ค. 2556 -ภาคการศึกษา 3/2556 ลงทะเบียน 3-9 มี.ค. 2557 2) การลงทะเบียนเรียนช้า ลงภายใน 14 วันแรกของภาคการศึกษาปกติ หรือ 7 วันแรกของภาคการศึกษาพิเศษฤดูร้อน และเสียค่าปรับนับจากเปิดภาคการศึกษาวันละ 50 บาท แต่รวมกันไม่เกิน 1,000 บาท 3) หากพ้นกำหนดดังกล่าว จะไม่มีสิทธิลงทะเบียนเรียน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติเป็นกรณีพิเศษจากบัณฑิตวิทยาลัย โดยต้องมีเวลาศึกษาต่อไปไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาศึกษาที่เหลือในภาคการศึกษานั้น

  6. 3. สิ่งสำคัญในการเรียนการสอนที่ควรทราบ 6 3.1 การทำวิทยานิพนธ์/ค้นคว้าอิสระ 3.2 การสอบภาษาต่างประเทศ 3.3การสอบประมวลความรอบรู้ 3.4 การสอบวัดคุณสมบัติ (เฉพาะป.เอก) 3.5 การพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา 3.6 การสำเร็จการศึกษา

  7. 3.1 การทำวิทยานิพนธ์/ค้นคว้าอิสระ 7 แผนผังแสดงขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์

  8. 3.2 การสอบภาษาต่างประเทศ 8 นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาต่างประเทศอย่างน้อยหนึ่งภาษา ซึ่งอาจได้รับยกเว้นไม่ต้องสอบภาษาต่างประเทศ ดังกรณีต่อไปนี้ ▲สอบผ่านภาษาต่างประเทศตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยมีผลการสอบเป็น S หรือ B ▲สอบผ่านภาษาต่างประเทศที่บัณฑิตวิทยาลัยจัดสอบ Silpakorn English ProficiencyTest (SEPT) ป.เอก ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน ป.โท ไม่ต่ำกว่า 50 คะแนน ผลสอบมีระยะ เวลาไม่เกิน 2 ปีนับจากวันสอบจนถึงวันยื่นขอยกเว้น ( จัดสอบปีการศึกษาละประมาณ 5 ครั้ง สมัครสอบได้ที่ http://www.sept.su.ac.th) ▲สอบผ่านภาษาต่างประเทศจากสถาบันต่างๆ ผลสอบมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีนับจากวันที่กำหนดในใบรายงานผลถึงวันยื่นขอยกเว้น ดังนี้ TOEFL (Paper Based) ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน TOEFL (Computer Based) ไม่ต่ำกว่า 173คะแนน TOEFL (Internet Based)ไม่ต่ำกว่า 61คะแนน IELTSไม่ต่ำกว่า 5.5คะแนน TOEIC ไม่ต่ำกว่า 625คะแนน CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 60คะแนน TU-GET ไม่ต่ำกว่า 450คะแนน

  9. 3.3 การสอบประมวลความรอบรู้ 9 นักศึกษาที่มีสิทธิ์สอบประมวลความรอบรู้ ต้องศึกษารายวิชาและได้รับหน่วยกิตสะสมตามที่หลักสูตรกำหนด สามารถลงทะเบียนขอสอบได้ตามปฏิทินการศึกษาเช่นเดียวกับการลงทะเบียนรายวิชาได้ที่ http://reg.su.ac.thโดยบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบและแต่งตั้งคณะกรรมการสอบประมวลความรอบรู้ตามคำแนะนำของภาควิชา/คณะวิชา วัดผลเป็น S หรือ U หากสอบไม่ผ่านเป็นครั้งที่ 2 จะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา

  10. 3.4 การสอบวัดคุณสมบัติ (เฉพาะ ป.เอก) 10 นักศึกษา ป.เอก แบบ 1 ต้องสอบวัดคุณสมบัติก่อนทำวิทยานิพนธ์ ส่วนนักศึกษา ป.เอก แบบ 2 ให้สอบวัดคุณสมบัติหลังจากสอบผ่านวิชาบังคับตามที่หลักสูตรกำหนด สามารถลงทะเบียนขอสอบได้ตามปฏิทินการศึกษาเช่นเดียวกับการลงทะเบียนรายวิชาได้ที่ http://reg.su.ac.thโดยบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบและแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวัดคุณสมบัติตามคำแนะนำของภาควิชา/คณะวิชา วัดผลเป็น S หรือ U หากสอบไม่ผ่านเป็นครั้งที่ 2 จะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา

  11. 3.5 การพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา 11 3.5.1 ได้ค่าระดับเฉลี่ยในภาคการศึกษาที่ 1ต่ำกว่า 2.50 หรือนักศึกษาทดลองศึกษาได้ค่าระดับเฉลี่ยใน ภาคการศึกษาที่ 1 ต่ำกว่า 3.00 และ/หรือ ได้ U ในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง 3.5.2 สอบได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.50 3.5.3 เป็นนักศึกษารอพินิจ 2 ภาคการศึกษาปกติต่อเนื่องกัน 3.5.4 นักศึกษา ป.โท สอบประมวลความรอบรู้ไม่ผ่านเป็นครั้ง ที่ 2 นักศึกษา ป.เอก สอบวัดคุณสมบัติไม่ผ่านเป็นครั้ง ที่ 2

  12. 3.5 การพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา (ต่อ) 12 3.5.5 ไม่ได้รับอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ -ป.โท และป.เอก (รับมาจากจบ ป.โท) ในภาคการศึกษาที่ 6 -ป.เอก (รับมาจากจบ ป.ตรี)ในภาคการศึกษาที่ 10 3.5.6 ไม่จบภายในเวลาตามหลักสูตรที่กำหนด 3.5.7 ถูกลงโทษให้พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา (กระทำผิด) 3.5.8 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลาพักหรือไม่ลงทะเบียนรายวิชา 3.5.9 สอบวิทยานิพนธ์ตก 3.5.10 ขาดคุณสมบัติของการเป็นนักศึกษา

  13. 3.6 การสำเร็จการศึกษา 13 3.6.1 เรียนครบตามหลักสูตรภายในระยะเวลาที่กำหนด มีค่า เฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 ยกเว้น ป.เอก แบบ 1 ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียวภายในระยะเวลาที่กำหนด ในหลักสูตร 3.6.2 ได้ผลการเรียนไม่ต่ำกว่า B ในวิชาบังคับ หรือบังคับ เลือก ป.เอก ต้องได้ผลการเรียนไม่ต่ำกว่า B ทุกรายวิชา 3.6.3 ได้ S ในวิชาที่ให้วัดผลเป็น S หรือ U 3.6.4 ได้ S ในการสอบภาษาต่างประเทศ หรือได้รับยกเว้นการ สอบภาษาต่างประเทศ

  14. 3.6 การสำเร็จการศึกษา (ต่อ) 14 3.6.5 ได้ S ในการสอบผ่านประมวลความรอบรู้ และนักศึกษา ป.เอก ต้องได้ S ในการสอบวัดคุณสมบัติ 3.6.6 สอบผ่านวิทยานิพนธ์/ค้นคว้าอิสระ และส่งรูปเล่ม วิทยานิพนธ์/ค้นคว้าอิสระฉบับสมบูรณ์แล้ว 3.6.7 เป็นผู้มีความประพฤติดี 3.6.8 ไม่มีหนี้สินกับมหาวิทยาลัย

  15. 3.6 การสำเร็จการศึกษา (ต่อ) 15 3.6.9 การเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์/ผลงานสร้างสรรค์ ผลงานวิทยานิพนธ์ระดับ ป.โท แผน ก แบบ ก1 และแผน ก แบบ ก2 จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (proceeding) หรือผลงานสร้างสรรค์ได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชน ผลงานวิทยานิพนธ์ระดับ ป.เอก จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรอง (peer review) ก่อนการตีพิมพ์และเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น หรือผลงานสร้างสรรค์ได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชน

  16. 4. เรื่องอื่นๆ ทั่วไปเกี่ยวกับคณะฯ 16 1) ความปลอดภัยในการทำวิจัย ในเวลาราชการ นอกเวลาราชการ 2) การเข้า-ออก อาคารคณะฯ (นอกเวลาราชการ) นักศึกษาที่มีความจำเป็นต้องเข้า-ออก อาคารคณะฯ นอกเวลาราชการ ให้นักศึกษาติดต่อ ภาควิชาเพื่อดำเนินการขออนุญาต ก่อนเข้า-ออก ทุกครั้ง

  17. ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 17 งานบริการการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์อ.เมือง จ.นครปฐม 73000โทร.(034) 219364 - 6 ต่อ 25124-9 โทรสาร (034) 219369

  18. 18 ขออวยพรให้นักศึกษาใหม่ทุกท่าน สำเร็จการศึกษาดังปรารถนา

More Related