150 likes | 325 Views
สหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดีย. ขนาดใหญ่กว่าไทย 6 เท่าหรือ 2 ใน 3 ของยุโรป การปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย 22 รัฐ และ 7 เขตภายใต้การดูแลของรัฐบาลกลาง. สหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดีย. ลักษณะโดยทั่วไป
E N D
สหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดียสหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดีย • ขนาดใหญ่กว่าไทย 6 เท่าหรือ 2 ใน 3 ของยุโรป • การปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย • 22 รัฐ และ 7 เขตภายใต้การดูแลของรัฐบาลกลาง
สหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดียสหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดีย • ลักษณะโดยทั่วไป • มีความหลากหลายในระบบเศรษฐกิจ โดยมีภาคบริการใหญ่ที่สุด (~50% ของ GDP) ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน • แรงงานประมาณ 2 ใน 3 อยู่ในภาคการเกษตร ส่วนใหญ่ยังคงทำการเกษตรแบบดั้งเดิม ผลผลิตสำคัญคือ ข้าว ข้าวสาลี ฝ้าย ชา เมล็ดพืชน้ำมัน • มีปัญหาการขาดแคลนอาหาร และความยากจนมาก ประชากร 25% มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน (Poverty line)
สหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดียสหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดีย ลักษณะโดยทั่วไป (ต่อ) • การพัฒนาทางการเกษตรโดยรัฐบาลตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ได้แก่ • การจัดรูปที่ดิน • ส่งเสริมการใช้วิชาการสมัยใหม่ในการทำการเกษตร • จัดตั้งสถาบันวิจัยและทดลองการเกษตรสาขาต่างๆ • จัดให้มีสหกรณ์สินเชื่อและธนาคาร เป็นแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ • จัดให้มีสหกรณ์การขาย เป็นแหล่งขายผลผลิตอย่างเป็นธรรมและมีการ ประกันราคาพืชผล
ประวัติการสหกรณ์ในอินเดียประวัติการสหกรณ์ในอินเดีย • ค.ศ. 1904 รัฐใช้สหกรณ์ในการปลดเปลื้องหนี้สินของเกษตรกร ได้ประกาศใช้กฎหมายสมาคมสหกรณ์สินเชื่อ (The Cooperative Credit Societies Act) และจัดตั้งสหกรณ์สินเชื่อการเกษตรตามหลักของ Raiffiesen • ค.ศ. 1912 ประกาศใช้กฎหมายสหกรณ์ (The Cooperative Societies Act) เพื่อตั้งสหกรณ์รูปแบบอื่นๆ เช่น สหกรณ์การขาย แปรรูป ผู้บริโภคและอื่นๆ • ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ใช้สหกรณ์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจในหมู่เกษตรกรและชุมชนที่อ่อนแอ • ตั้งคณะกรรมการสำรวจสินเชื่อในชนบท เพื่อหาลู่ทางพัฒนาสหกรณ์ • ในสหกรณ์การเกษตร มีข้อเสนอแนะให้รัฐเข้าไปถือหุ้น เพื่อความมั่นคงทางการเงินและให้รวมสหกรณ์สินเชื่อ การขายและแปรรูปเข้าด้วยกัน
ประวัติการสหกรณ์ในอินเดีย (ต่อ) • รัฐมีนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง • ค.ศ. 1969 สหกรณ์การเกษตรไม่อาจให้บริการแก่เกษตรกรได้อย่างทั่วถึง • รัฐให้ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารชนบทระดับภาค (Regional Rural Bank)มีส่วนในการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรร่วมกับสหกรณ์การเกษตร • รัฐจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ มาดำเนินธุรกิจการขายผลิตผล การจำหน่ายปุ๋ย ยกเลิกระบบผูกขาดการค้าปุ๋ยของสหกรณ์ • นโยบายของรัฐสร้างปัญหาด้านการตลาดให้แก่สหกรณ์และเป็นการท้าทายสหกรณ์ให้รีบปรับปรุงการดำเนินงาน
ประวัติการสหกรณ์ในอินเดีย (ต่อ) • รัฐปรับปรุงสหกรณ์ขั้นปฐมให้มีความเข้มแข็งและขนาดใหญ่ขึ้น โดยการเปลี่ยนสหกรณ์สินเชื่อในระดับหมู่บ้าน เป็น สหกรณ์บริการเกษตรกร (Farmers’ Service Society) และสหกรณ์การเกษตรอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ (Large Sized Agricultural Multi-Purpose Societies) • พัฒนาให้สหกรณ์ในระดับสูงกว่าให้ความช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษาของสหกรณ์สมาชิก
ประเภทและโครงสร้างของสหกรณ์การเกษตร มี 2 ประเภท คือ • สหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจด้านสินเชื่อการเกษตรเป็นหลัก • ได้แก่ สหกรณ์บริการเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรเอนกประสงค์ขนาดใหญ่ • โครงสร้างแบ่งตามระยะเวลาการให้สินเชื่อ • สินเชื่อระยะสั้นและระยะปานกลาง มีโครงสร้าง 3 ระดับ คือ • สหกรณ์ขั้นปฐมในระดับหมู่บ้าน • ธนาคารสหกรณ์ระดับอำเภอ (District Cooperative Bank) • ธนาคารสหกรณ์ประจำรัฐ (State Cooperative Bank) • 2. สินเชื่อระยะยาว ผ่านธนาคารสหกรณ์ที่ดินกลาง (Central Cooperative Land Development Bank) ระดับอำเภอ
ประเภทและโครงสร้างของสหกรณ์การเกษตร (ต่อ) • ในปี 1982 รัฐได้จัดตั้งธนาคารแห่งชาติเพื่อพัฒนาชนบทและเกษตรกรรม (The National Bank of Agriculture and Rural Development) ขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรและชนบทให้แก่สถาบันที่เกี่ยวข้อง • สถาบันสหกรณ์ชั้นสูงเสนอต่อรัฐบาลให้จัดตั้งธนาคารเพื่อพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติ (The National Cooperative Development Bank) เพื่อให้สินเชื่อแก่สถาบันสหกรณ์โดยเฉพาะ • ปัจจุบันมีการตั้งธนาคารสหกรณ์แห่งอินเดีย (Cooperative Bank of India)ดำเนินงานภายใต้กฎหมายสหกรณ์ระดับรัฐ (Multi state cooperative societies Act ) และกำลังดำเนินการให้อยู่ภายใต้กฎหมายการธนาคารอยู่
ประเภทและโครงสร้างของสหกรณ์การเกษตร (ต่อ) สหกรณ์การตลาด (Marketing Cooperative) โครงสร้างของสหกรณ์ฯ: แตกต่างกันในแต่ละรัฐ 1. สหกรณ์การตลาดระดับปฐม (Primary Marketing Coop.) 2. สหกรณ์การตลาดระดับอำเภอ (District Marketing Coop.) 3. ชุมนุมสหกรณ์การตลาดระดับรัฐ (The Coop. Marketing Federations) 4. ชุมนุมสหกรณ์การตลาดผลิตผลเกษตรแห่งชาติอินเดีย (The National Agricultural Coop. Marketing Federation of India: NAFED) หน้าที่: เป็นผู้ประสานงานกิจกรรมการตลาดและการค้าของสถาบันสหกรณ์ ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ รัฐมอบหมายให้ดำเนินการพยุงราคาและจัดหาสินค้าให้แก่รัฐ
ประเภทและโครงสร้างของสหกรณ์การเกษตร (ต่อ) • การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์การตลาด: • รวบรวมและขายผลิตผลเกษตรของสมาชิก ตามนโยบายของรัฐ • จัดหาปัจจัยการผลิต รวมถึงให้สินเชื่อในรูปปัจจัยการผลิต • จัดหาสินค้าอุปโภคบริโภค • ดำเนินธุรกิจด้านฉางเก็บพืชผลและห้องเย็น • การแปรรูปผลิตผล • เป็นตัวกลางระหว่างสหกรณ์สินเชื่อการเกษตรกับเกษตรกรสมาชิก ดำเนินการตามระบบ “เชื่อมโยงสินเชื่อและการตลาด” • ช่วยเหลือรัฐในการรวบรวมผลผลิตเกษตรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา • มีบรรษัทพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติ เป็นผู้ดูแลสหกรณ์การตลาด
การบริหารงานของสหกรณ์การเกษตรการบริหารงานของสหกรณ์การเกษตร • ที่ประชุมใหญ่ มีอำนาจสูงสุด ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ เลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและผู้ตรวจสอบบัญชี • คณะกรรมการดำเนินการ มีหน้าที่บริหารกิจการให้เป็นไปตามนโยบาย • หัวหน้าฝ่ายบริหารหรือกรรมการผู้จัดการ รับผิดชอบในการปฏิบัติงานรายวัน • เจ้าหน้าที่สหกรณ์ • ในทางปฏิบัติอาจมีความแตกต่างกันระหว่างรัฐ • อำนาจของที่ประชุมใหญ่อาจถูกจำกัดโดยรัฐบาลและนายทะเบียนสหกรณ์ได้ • รัฐมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เป็นกรรมการในการดำเนินงานสหกรณ์
องค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ในอินเดีย • 1. สหภาพสหกรณ์ (Cooperative Union)แบ่งได้เป็น 3 ระดับ • ระดับอำเภอ (District Cooperative Unions) • ระดับรัฐ (State Cooperative Unions) • ระดับชาติ (The National Cooperative Union of India: NCUI) มีหน้าที่พัฒนาและส่งเสริมสหกรณ์ทุกรูปแบบ: - ดูแลในการอบรมสมาชิกและเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการ ผู้นำสหกรณ์ - ศึกษาและวิจัยงานสหกรณ์และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสหกรณ์ - ติดต่อประสานงานกับรัฐ ยื่นข้อเสนอแนะด้านนโยบายและการดำเนินงานสหกรณ์ต่อรัฐบาล
องค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ในอินเดีย (ต่อ) • 2. ธนาคารแห่งชาติอินเดีย (The Reserve Bank of India) • เดิมรัฐให้ธนาคารแห่งชาติให้เงินกู้แก่ธนาคารสหกรณ์ประจำรัฐ • โดยมีการจัดตั้งกองทุนพิเศษ ได้แก่ • กองทุนสินเชื่อการเกษตร (The Agricultural Credit Fund) (ระยะยาว) • กองทุนเพื่อรักษาเสถียรภาพสินเชื่อการเกษตร (The Agricultural Credit Stabilization Fund) แปลงหนี้ระยะสั้นเป็นระยะกลาง
องค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ในอินเดีย (ต่อ) 3. ธนาคารแห่งชาติเพื่อการพัฒนาชนบทและเกษตรกรรม (The National Bank of Agriculture and Rural Development) จัดตั้งโดยรัฐ เพื่อให้สินเชื่อแก่ ธนาคารสหกรณ์ประจำรัฐ แทนธนาคารแห่งชาติอินเดียปี 1982
บทบาทของรัฐกับสหกรณ์การเกษตรบทบาทของรัฐกับสหกรณ์การเกษตร • สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนางานสหกรณ์ • ให้การสนับสนุนด้านการเงิน ให้เงินกู้ เข้าถือหุ้น • กำหนดให้ใช้สหกรณ์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม