570 likes | 947 Views
สิทธิเด็ก กับ ประชาคมอาเซียน. โดย นาย ณัฐ วุฒิ บัวประทุม มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก สำหรับบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
E N D
สิทธิเด็กกับประชาคมอาเซียนสิทธิเด็กกับประชาคมอาเซียน โดย นายณัฐวุฒิ บัวประทุม มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก สำหรับบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประวัติวิทยากรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศิลปศาสตรบัณฑิต (ไทยคดีศึกษา) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชคหกรรมศาสตรบัณฑิต (พัฒนาการเด็กและครอบครัว) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชรัฐศาสตรบัณฑิต (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศฯ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชนิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) มหาวิทยาลัยรามคำแหงนักกฎหมายประจำมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรีฯ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมาย สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดปทุมธานีกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดนนทบุรีอาจารย์บรรยายพิเศษคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันอื่นๆรางวัลบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์แก่เยาวชนดีเด่น จากคณะกรรมการจัดงานวันเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐รางวัลนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่น จากมูลนิธิศาสตราจารย์ปกรณ์ อังศุสิงห์ พ.ศ.๒๕๕๐
เค้าโครงการบรรยาย สถานการณ์/สภาพปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี ครอบครัว และการค้ามนุษย์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การคุ้มครองเด็กในประเทศไทย สภาพปัญหาและกลไกการคุ้มครองเด็กของประชาคมอาเซียน การป้องกัน ๔ ระดับ และบทสรุป
นิยามคำว่า “เด็ก” * ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก...” “บุคคลย่อมบรรลุนิติภาวะและพ้นจากความเป็นผู้เยาว์เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์” * ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก/พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก “เด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส”
สภาวะเด็กด้านสุขภาพ • ด้านสุขภาพกาย - เด็ก ๐-๕ ปี น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ๙.๓ % - เด็กวัยประถมน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ๑๐.๗๕ % - เด็กไทยมีภาวะโภชนาการเกิน ๑๐.๔ % • ด้านสุขภาพจิต - เด็กไทยมีพัฒนาการทางสมองล่าช้า ๑๕-๒๘ % I.Q. อยู่ที่ ๘๘-๙๑ - เด็กไทยมีภาวะสุขภาพจิตและปัญหาพฤติกรรมที่จำเป็นต้องพบแพทย์สูงถึง ๘ แสนคน เช่น มีอาการเครียด พฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมทางเพศ ไปจนถึงการทำร้ายตนเองและผู้อื่น * เด็กไทยมีแนวโน้มจะมีโรคใหม่เรียกว่า “โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องทางสังคม” (SIDS= Social Immune Deficiency Syndrome)
สถิติการตั้งครรภ์ของ “วัยรุ่นไทย” * องค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อปี ๒๕๕๒ ระบุว่า ค่าเฉลี่ยของผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ของทั่วโลก อยู่ที่ ๖๕ ต่อ ๑,๐๐๐ คน ค่าเฉลี่ยของผู้หญิงทวีปเอเชียอยู่ที่ ๕๖ ต่อ ๑,๐๐๐ คน ประเทศไทยมีผู้หญิงตั้งครรภ์ที่อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี จำนวน ๗๐ ต่อ ๑,๐๐๐ คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดของประเทศในทวีปเอเชีย * ข้อมูลสภาวะการมีบุตรของวัยรุ่นไทย ที่รวบรวมโดยกระทรวง พม. ระบุว่า ในปี ๒๕๕๒ มีแม่วัยรุ่นที่คลอดบุตรอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี จำนวน ๗๘๗,๗๓๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๕๕ สูงกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานที่ WHO กำหนดไว้ที่ร้อยละ ๑๐ โดยพบว่า จ.กำแพงเพชร มีแม่วัยรุ่นคลอดบุตรสูงสุด คือ ๒๐.๔๐ % รองลงมา จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๑๘.๘๙ % จ.พิจิตร ๑๘.๘๗ % จ.นครสวรรค์ ๑๘.๖๙ % และ จ.ลพบุรี ๑๘.๕๖ %
ด้านอื่น ๆ • จากสถิติของศูนย์พึ่งได้ (สธ.) มีเด็กและสตรีถูกทารุณกรรม ๒๖,๕๖๕ ราย เฉลี่ยวันละ ๗๓ ราย โดยผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นคนในครอบครัว ๘๐ % • เด็กที่ประพฤติตนไม่เหมาะสม งานวิจัยของเอแบคมีเด็กเกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่เป็นนักเรียนนักศึกษา ๖๖๓,๒๙๐ คน มีเด็กเข้าสู่การดำเนินการทางคดีอาญาในสถานพินิจฯ ประมาณปีละ ๕๐,๐๐๐ คน • เด็กที่ได้รับผลกระทบจาก HIV/AIDS ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน เฉพาะเด็กวัยรุ่นที่ติดเชื้อใหม่ประมาณ ๘๐,๐๐๐ คน • เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้และเหตุการณ์สึนามิจำนวนมากที่ยังไม่เข้าถึงบริการ
ตัวเลขการค้ามนุษย์ (อย่างไม่เป็นทางการ) • มีเด็กและหญิงชาวพม่าประมาณ ๒-๓ หมื่นคน ถูกนำมาค้าประเวณีในประเทศไทย (สตช. ๒๕๔๕) • มีเด็กและหญิงไทยมากกว่า ๓ หมื่นคน ทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศในประเทศญี่ปุ่น (Asian Migration News,๑๙๙๙) • มีชาวกัมพูชาลักลอบเข้าประเทศไทย (ส่วนใหญ่มีกระบวนการค้ามนุษย์พาเข้ามา) ประมาณ ๘๘,๐๐๐ คน (IOM,๒๕๔๒) • มีชาวลาวลักลอบเข้าประเทศไทย (ส่วนใหญ่มีกระบวนการค้ามนุษย์พาเข้ามา) ประมาณ ๔๕,๐๐๐ คน (IOM,๒๕๔๒) • โดยสรุป ๑๙๙๐-๒๐๐๐ มีหญิงและเด็กกว่า ๓๐ ล้านคนจากอุษาคเนย์ถูกค้ามนุษย์ในสังคมโลก (UN)
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก • สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองอนุสัญญาด้วยสิทธิเด็กเมื่อวันที่ • ๒๐ พฤศจิกายน ‘๓๒ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ‘๓๓ • ขณะนี้มีประเทศเป็นภาคีสมาชิก ๑๙๒ ประเทศ • ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญานี้โดยการภาคยานุวัตรเมื่อวันที่ ๒๗ • มีนาคม ๒๕๓๕ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๓๕ • มีการตั้งข้อสงวนไว้ ๒ ข้อ - ข้อ ๗ เรื่องการจดทะเบียนเด็กแรกเกิด - ข้อ ๒๒ เรื่องสถานะของเด็กผู้ลี้ภัย
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก • สาระสำคัญ ๑.กำหนดนิยามคำว่า “เด็ก” หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ๒.รัฐภาคีจะเคารพและประกันสิทธิตามที่กำหนดไว้ในอนุสัญญานี้แก่เด็กแต่ละคนที่อยู่ในเขตอำนาจของตนโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติไม่ว่าชนิดใด ๆ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น ต้นกำเนิดทางชาติ ชาติพันธุ์ หรือสังคม ทรัพย์สิน ความทุพพลภาพ การเกิดหรือสถานะอื่น ๆ ของเด็กหรือบิดามารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมาย
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ๓.รัฐภาคีจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวงเพื่อที่จะประกันว่าเด็กได้รับการคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติหรือการลงโทษในทุกรูปแบบ บนพื้นฐานของสถานภาพ กิจกรรมความคิดเห็นที่แสดงออก หรือความเชื่อของบิดามารดา ผู้ปกครองตามกฎหมาย หรือสมาชิกในครอบครัว ๔.ในการกระทำทั้งปวงที่เกี่ยวกับเด็ก ผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นลำดับแรก ๕.รัฐภาคีรับที่จะให้ประกันให้มีการคุ้มครองและดูแลแก่เด็กเท่าที่จำเป็นสำหรับความอยู่ดีของเด็ก โดยคำนึงถึงสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดา ผู้ปกครองตามกฎหมาย หรือบุคคลอื่นที่รับผิดชอบเด็กนั้นตามกฎหมายด้วย
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ๖.รัฐภาคีรับที่จะประกันว่าสถาบัน การบริการ และการอำนวยความสะดวกที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการดูแลหรือการคุ้มครองเด็กนั้น จะเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย สุขภาพ และในเรื่องจำนวนความเหมาะสมของเจ้าหน้าที่ ๗.รัฐภาคีจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวง ที่จะส่งเสริมการฟื้นฟูทั้งทางร่างกายและจิตใจและการกลับคืนสู่สังคมของเด็กที่ได้รับเคราะห์จากการละเลยในรูปแบบใด ๆ การแสวงหาประโยชน์จากการกระทำอันมิชอบ การทรมานหรือการลงโทษ หรือการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ต่ำช้าโดยรูปแบบอื่น ๆ ๘.กำหนดให้ภาคีเสนอรายงานต่อคณะกรรมการ โดยผ่านเลขาธิการสหประชาชาติในเรื่องมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐรับเอาซึ่งทำให้สิทธิที่ได้รับการรับรองในอนุสัญญาเกิดผล โดยให้รายงานความคืบหน้าในทุก ๕ ปี
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก • สิทธิในการดำรงชีวิต (Survival Rights) ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานโดยทั่วไป เช่น สิทธิในการมีชีวิตอยู่ สิทธิที่จะได้รับบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน สิทธิที่จะมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี เป็นต้น • สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Protection Rights) คือ สิทธิในการไม่ถูกเอาเปรียบทางเพศ การใช้แรงงานที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ พัฒนาการ สมอง จิตใจ ตลอดจนการปกป้องคุ้มครองเด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบาก เช่น เด็กพิการ เด็กกำพร้า เป็นต้น
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก • สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (DevelopmentRights) เช่น สิทธิที่จะได้รับการศึกษา เป็นต้น • สิทธิในการมีส่วนร่วม (Participation Rights) เช่น สิทธิในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระในเรื่องที่จะส่งผลกระทบต่อตนเอง สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ • มาตรา ๕๒ “เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม ทั้งมีสิทธิได้รับการบำบัดฟื้นฟูในกรณีที่มีเหตุดังกล่าว การแทรกแซงและจำกัดสิทธิของเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่งสถานะของครอบครัวหรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลนั้น”
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ • มาตรา ๔๐ “บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้ (๖) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ” • มาตรา ๘๐ “รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม.... ดังต่อไปนี้ (๑) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้”
ความคาดหวัง ต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ ๑. ทำอย่างไรจึงจะสามารถเข้าถึงตัวเด็กได้ทุกคน จำเป็นต้องมีกลไกดูแลติดตามสภาวะเด็กและครอบครัว อบต เทศบาล อบจ กทม. ตำรวจ อนามัยชุมชน โรงเรียน องค์กรเอกชน (หน่วยงานพิทักษ์สิทธิเด็ก) หน่วย บริการสังคม โรงพยาบาล
๒. ต้องมีกระบวนการคัดกรองและหน่วยงานรองรับ ให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของเด็กและครอบครัว เครื่องมือในการคัดกรองและแยกแยะกลุ่มเด็ก แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท มาตรฐานการ เลี้ยงดูขั้นต่ำ ดัชนีชี้วัดปัจจัยเสี่ยง ข้อบ่งชี้ สภาวะเสี่ยง ต่อการกระทำความผิดของเด็ก ข้อบ่งชี้การถูกกระทำ
หน่วยงานรองรับ ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของเด็กและครอบครัว หน่วยงานในการให้การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพ สถานแรกรับ สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือครอบครัวอุปถัมภ์ สถานพัฒนาและฟื้นฟู สถาน คุ้มครอง สวัสดิภาพ สถาน สงเคราะห์
๓. ต้องมีทรัพยากร บุคลากรและเครือข่ายการปฏิบัติงานที่สามารถให้บริการแก่เด็กและครอบครัวในลักษณะ ทั่วถึงและเสมอภาค ทำได้โดย ฝึกอบรม ทักษะการปฏิบัติงานร่วมกัน และทักษะเฉพาะวิชาชีพ ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาที่เกี่ยวข้องและมีการศึกษาวิจัย มีการพัฒนา ศูนย์สาธิตสำหรับการดูงาน ฝึกงาน สร้างและพัฒนาบุคลากร จัดส่งผู้เชี่ยวชาญ เข้าร่วมปฏิบัติงานจริง (Onsite Training)
๔. ต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพมาทำงานร่วมกันในลักษณะวิชาชีพ สายกฎหมาย สายการแพทย์ จิตใจ ร่างกาย นักสังคมสงเคราะห์ ครู นักจิตวิทยา
๕. มีการกระจายความรับผิดชอบลงไปตั้งแต่ระดับชาติ ระดับจังหวัด และ ระดับชุมชน คณะกรรมการระดับชาติ คณะกรรมการ ระดับจังหวัด องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
การตรวจตราสภาวะเด็กตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ หัวใจหลักของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก มาตรา ๒๓ ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
ข้อห้ามของบุคคลทั่วไปตามมาตรา ๒๖ • กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกาย/จิตใจ • จงใจ/ละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตจนน่าจะเกิดอันตราย • บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือเสี่ยงต่อการทำผิด • โฆษณาทางสื่อหรือเผยแพร่เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้บุคคลอื่น • บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ให้เด็กเป็นขอทาน เร่ร่อน หรือแสวงหาประโยชน์จากเด็ก • ใช้ จ้าง วานให้เด็กทำงานอันเป็นอันตรายหรือกระทบต่อการเจริญหรือพัฒนาการของเด็ก
บังคับ ชักจูง ขู่เข็ญ หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือการอื่นใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันขัดขวางการเจริญหรือทารุณกรรมเด็ก ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนัน หรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี บังคับ ชักจูง ขู่เข็ญ หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันเป็นการลามกอนาจาร จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก ข้อห้ามของบุคคลทั่วไปตามมาตรา ๒๖ (ต่อ)
กลไกดูแลติดตามสภาวะของเด็กและครอบครัวกลไกดูแลติดตามสภาวะของเด็กและครอบครัว หน่วยงานที่ให้บริการด้านต่างๆ แก่เด็กและครอบครัวในชีวิตประจำวัน ใช้เครื่องมือ๔ ชิ้นจำแนกกลุ่มเด็ก ๑. มาตรฐานการเลี้ยงดูขั้นต่ำ มาตรา ๒๓ ๒.ดัชนีชี้วัดปัจจัยเสี่ยง มาตรา ๒๘ ๓.ข้อบ่งชี้การถูกกระทำ มาตรา ๔๑ ๔. ข้อบ่งชี้สภาวะเสี่ยงต่อการกระทำความผิดของเด็กมาตรา ๔๔ เด็กต้องการ บริการเป็นพิเศษ เด็กเสี่ยงที่จะตกอยู่ในอันตราย เด็กเสี่ยงต่อการกระทำผิด เด็กที่กระทำความผิด เด็กถูกกระทำ เด็กปกติ
การแบ่งกลุ่มประเภทเด็กตามกฎหมายการแบ่งกลุ่มประเภทเด็กตามกฎหมาย • เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ - เด็กเร่ร่อนหรือเด็กกำพร้า - เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง - เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถเลี้ยงดู เช่น ถูกจำคุก พิการ เจ็บป่วย - เด็กที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพไม่เหมาะอันอาจส่งผลต่อเด็ก - เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบฯ อันเป็นผลให้เด็กมีความ ประพฤติเสื่อมเสีย - เด็กพิการ - เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ - เด็กที่ถูกทารุณกรรม - เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด - เด็กที่อยู่ในสภาพต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่ กำหนดในกฎกระทรวง ๑.เด็กที่พ้นจากการกระทำผิดแล้ว การแบ่งกลุ่มประเภทเด็กตามกฎหมาย (ต่อ)
การรายงานมาตรา ๒๙ วรรค๒ แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู อาจารย์ หรือนายจ้าง เป็นที่ปรากฎชัด หรือ น่าสงสัย เด็กถูกทารุณกรรมหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ต้องรายงาน พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจ ผู้มีหน้าที่คุ้มครอง สวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ โดยมิชักช้า
กลไกมาตรา ๔๑ พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ ผู้ใด พบเห็นหรือประสบพฤติการณ์น่าเชื่อว่ามีการทารุณกรรมต่อเด็ก มีอำนาจเข้าตรวจค้น มีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวของเด็กเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก โดยเร็วที่สุด
บุคลากรที่เกี่ยวข้อง • พนักงานเจ้าหน้าที่สงเคราะห์และคุ้มครองเด็ก • พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียน/นักศึกษา • พนักงานฝ่ายปกครอง • ตำรวจ • ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ • ผู้ประกอบวิชาชีพ/นักวิชาชีพ • คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด • คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ
การให้การสงเคราะห์ ให้ความช่วยเหลือใดๆที่ทำให้ผู้ปกครองสามารถอุปการะเลี้ยงดูเด็กได้ตามมาตรา ๒๓ รวมทั้งการให้คำแนะนำปรึกษา การบำบัดฟื้นฟู การฝึกทักษะที่จำเป็นต่อการอุปการะเลี้ยงดูเด็ก การฟื้นฟูครอบครัว จัดกลุ่มช่วยเหลือ ฯลฯ มอบเด็กให้ผู้เหมาะสมอุปการะเลี้ยงดูแทนไม่เกิน ๑ เดือน กรณีเด็กกำพร้า ดำเนินการเพื่อให้เด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในครอบครัวอุปถัมภ์ (ต้องยินยอม/ใช้คำสั่ง) ส่งเด็กเข้าสถานดูแลเด็กด้านต่างๆตามหมวด ๖ (ต้องยินยอม/ใช้คำสั่ง)
การคุ้มครองสวัสดิภาพ ๔๑ และ ๔๒ เพื่อไม่ให้เด็กตกอยู่ในอันตราย พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจนำตัวเด็กมาไว้ในอารักขาได้ทันที เพียงแต่เกิดหรือมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่ามีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็ก ไม่จำเป็นจะต้องมีพยานหลักฐานชัดเจนยืนยันว่าเด็กถูกกระทำทารุณกรรมหรือใครเป็นผู้ลงมือกระทำก็ได้ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจค้นตามมาตรา ๓๐ และมีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวของเด็กเพื่อไว้ในอารักขาโดยเร็วที่สุด จัดให้เด็กรับการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจทันที อาจส่งตัวเด็กไปสถานแรกรับ หรือไปรับการสงเคราะห์ตาม ม.๓๓ อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีนี้มีเงื่อนเวลาจำกัดไม่เกิน ๗ วัน หรือร้องขอศาลเพื่อขยายได้รวมไม่เกิน ๓๐ วันเท่านั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องสืบค้น/รวบรวมข้อเท็จจริง ที่เป็นประเด็นแห่งคดีคุ้มครองเด็กจนสามารถกำหนดวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมทันเงื่อนเวลา หากไม่ทันเวลาหมดอำนาจคุ้มครองเด็ก
ประเด็นในการสืบค้นข้อเท็จจริงประเด็นในการสืบค้นข้อเท็จจริง มาตรา ๕๖ (๒) สืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และฐานะของเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ รวมทั้งของผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ด้วย ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งปวง เกี่ยวกับเด็ก และมูลเหตุที่ทำให้เด็กตกอยู่ในสภาวะจำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ เพื่อรายงานไปยังหน่วยที่เกี่ยวข้อง
การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษาการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษา • มาตรา ๖๓ “โรงเรียนและสถานศึกษาต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง”
กระบวนการดำเนินการตามหมวด ๗ • บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาตามมาตรา ๖๓ • บทบาทหน้าที่ของนักเรียนและนักศึกษาต้องประพฤติตนตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาและตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖๔ • พนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้ง ร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษาและสถานศึกษามีอำนาจปรับแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนและนักศึกษาตามมาตรา ๖๕ • หากปรับแก้ไขไม่ได้ผลได้กำหนดวิธีการส่งต่อความช่วยเหลือไว้ตามมาตรา ๖๖
ข้อปฎิบัติเมื่อค้นพบข้อบ่งชี้หรือมีการเปิดเผยการทารุณกรรมข้อปฎิบัติเมื่อค้นพบข้อบ่งชี้หรือมีการเปิดเผยการทารุณกรรม ตั้งสติ สังเกต /รับฟัง แสดงออกว่ายอมรับ และเชื่อในสิ่งที่เด็กบอก ให้กำลังใจ และให้ความมั่นใจว่าจะช่วยเหลือเด็ก บันทึก วางแผนการดำเนินการและรายงานเหตุ ความปลอดภัย และสุขภาพของเด็ก
หัวใจหลักสุดท้ายของ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ มาตรา ๒๒ “การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม”
สถานการณ์สิทธิเด็กกับประชาคมอาเซียนสถานการณ์สิทธิเด็กกับประชาคมอาเซียน • การแสวงหาประโยชน์ในธุรกิจบริการทางเพศ • ผู้อพยพและผู้ย้ายถิ่นผิดกฎหมาย • ความรุนแรงต่อเด็กในภาวะฉุกเฉิน • ความปลอดภัยของเด็กในบางประเทศเนื่องจากกับระเบิด
อาเซียนกับการขจัดความรุนแรงต่อเด็ก ๑๖ ข้อ • การวิเคราะห์กรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อเด็ก • การกำหนดกลยุทธ์สำหรับแผนปฏิบัติการระดับชาติ (ด้านการป้องกัน การบำบัดรักษา การติดตามผลการดำเนินการ) • จัดให้มีแนวทางปฏิบัติของประเทศสมาชิก เกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรเชิงบวกของบิดามารดา และแบบปฏิบัติที่นำมาใช้ในบ้านและโรงเรียน • การพัฒนาแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐานในการจัดให้บริการในประเด็นความรุนแรงต่อเด็ก
อาเซียนกับการขจัดความรุนแรงต่อเด็ก (ต่อ) • การพัฒนาแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเสริมสร้างศักยภาพให้แก่บุคลากรผู้ให้คำปรึกษาและผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิต • การพัฒนาแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการติดตามผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ • การจัดทำ Check list เพื่อตรวจสอบความรุนแรงทางจิตใจและอารมณ์ • รวบรวมและแบ่งปันประสบการณ์ที่ดีในการดำเนินการจัดการกับปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก
อาเซียนกับการขจัดความรุนแรงต่อเด็ก (ต่อ) • การจัดให้มีโครงการที่มุ่งเน้นการให้บริการเด็กที่ถูกกระทำรุนแรงและผู้กระทำ • การศึกษาวิเคราะห์มูลงบประมาณที่ประหยัดได้จาการยุติความรุนแรงต่อเด็ก • สนับสนุนประเทศสมาชิกในการพัฒนาแผนงานระดับชาติในการคุ้มครองและป้องกันเด็กจากความรุนแรง • การรณรงค์และสร้างความตระหนักต่อสาธารณชนเรื่องสิทธิเด็กและความรุนแรงต่อเด็กในระดับภูมิภาค เช่น การลงโทษเด็ก
อาเซียนกับการขจัดความรุนแรงต่อเด็ก (ต่อ) • การดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงต่อเด็ก รวมทั้งจัดให้มีการสำรวจข้อมูล case ต่างๆ ที่ประสบปัญหาความรุนแรง • การใช้กฎหมายเพื่อการคุ้มครองเด็กจากความรุนแรงที่มีอยู่และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง • การประชุม/สัมมนาต่างๆ • บทบาทของ ACWC เช่น การริเริ่มระบบฐานข้อมูล การประชุมหารือกับผู้นำท้องถิ่นและผู้นำทางศาสนา การเสริมสร่างความตระหนักทางสังคมและสาธารณะ เป็นต้น
ระบบเครือข่ายทีมสหวิชาชีพระบบเครือข่ายทีมสหวิชาชีพ • ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข • ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสังคมสงเคราะห์ และสวัสดิการสังคม • ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมายและการปกครอง • ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการศึกษาและการฝึกอาชีพ • ผู้ประกอบวิชาชีพในด้านองค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรภาคประชาชน
กระบวนการทำงานแบบสหวิชาชีพกระบวนการทำงานแบบสหวิชาชีพ • การประสานงานภายในและภายนอกองค์กร - ภายในองค์กร คือ ทุกฝ่ายในองค์กรต้องมีข้อมูลที่นำมาใช้ร่วมกัน - ภายนอกองค์กร คือ กรณีการประสานงาน ๒ องค์กรขึ้นไป • การร่วมปรึกษาหารือ - องค์กรต่าง ๆ ที่รับผิดชอบต้องหาข้อเท็จจริงนำมาปรึกษาหารือกันจากแง่มุมของแต่ละวิชาชีพ • การร่วมปฏิบัติงานเพื่อเกิดการคุ้มครองเด็ก - เป็นการร่วมกันทำงานทั้งการหาข้อเท็จจริง การประชุมร่วมกันในทุกขั้นตอนการประเมิน การวางแผนช่วยเหลือระยะสั้นและยาว
พลังสร้างภูมิคุ้มกันเด็กและเยาวชนพลังสร้างภูมิคุ้มกันเด็กและเยาวชน พลังเพื่อนและกิจกรรม พลังสร้างปัญญา ความคาดหวัง (ด้วยความเหมาะสม) สัมพันธภาพ (ด้วยความใส่ใจ) พลังในตัวตนของ เด็กและเยาวชน พลังชุมชน การมีส่วนร่วม (ด้วยคุณค่า) พลังครอบครัว
การป้องกันปัญหาเด็กและสตรีในภาวะต่าง ๆ ระดับปฐมภูมิ คือ บุคคลทุกคนต้องปลอดภัย ระดับทุติยภูมิ คือ บุคคลที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกทารุณกรรม การเลี้ยงดูโดยมิชอบ การละเลยทอดทิ้ง ต้องได้รับการช่วยเหลือ ระดับตติยภูมิ คือ บุคคลที่ถูกทารุณกรรม ถูกเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกละเลยทอดทิ้ง ต้องได้รับการช่วยเหลือและบำบัดฟื้นฟู บุคคลที่มีปัญหาพฤติกรรม ต้องได้รับการแก้ไขปรับเปลี่ยน ระดับจตุรภูมิ คือ บุคคลที่ตกเป็นผู้ถูกกระทำ ต้องไม่กลายไปเป็นผู้กระทำบุคคลอื่น
พบเห็น เด็ก สตรี ที่ถูกทารุณกรรม ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาการค้ามนุษย์ หรือปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อ : ศูนย์ประชาบดี ๑๓๐๐ หรือ ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและครอบครัว ศธ. ๑๕๗๙ หรือ ศูนย์พึ่งได้ ๑๖๖๙