240 likes | 418 Views
ผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงานของ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ประจำปีงบประมาณ 2554 ( รอบ 11 เดือน). น้ำหนักตัวชี้วัดในแต่ละมิติตามคำรับรองฯ ปี 2554. 52. 27. 11. 10. มิติที่ 1. มิติที่ 2. มิติที่ 3. มิติที่ 4.
E N D
ผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงานของผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงานของ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ประจำปีงบประมาณ 2554 (รอบ 11 เดือน)
น้ำหนักตัวชี้วัดในแต่ละมิติตามคำรับรองฯ ปี 2554 52 27 11 10 มิติที่ 1 มิติที่ 2 มิติที่ 3 มิติที่ 4
2. ผลการดำเนินงานตัวชี้วัดในแต่ละมิติรอบ 6 เดือน ประจำปี 2554 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 มิติที่ 1 น้ำหนักร้อยละ 52 มิติที่ 2 น้ำหนักร้อยละ 10 5 5 มิติที่ 3 น้ำหนักร้อยละ 11 13 14 มิติที่ 4 น้ำหนักร้อยละ 27 15 16 17 18 1 2 3 4 5
สรุปคะแนนในแต่ละตัวชี้วัดรอบ 11 เดือน (ต.ค. 53 – ส.ค. 54)
ตัวชี้วัดที่ 1 จำนวนผู้เข้ารับบริการของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนของสำนักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (น้ำหนักร้อยละ 5) เกณฑ์การให้คะแนน 5 ผลการดำเนินงาน จัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่างๆ แล้วจำนวน 22 ครั้ง มีผู้เข้ารับการอบรมรวมทั้งสิ้น จำนวน 1,627 คน
ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความสำเร็จในการเสริมสร้างสนับสนุนภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (น้ำหนักร้อยละ 5) เกณฑ์การให้คะแนน 4 ผลการดำเนินงาน ดำเนินการแล้ว 12 กิจกรรมหลัก จากทั้งหมด 15 กิจกรรมหลัก
ตัวชี้วัดที่ 3 ระดับความสำเร็จในการดำเนินโครงการนำร่องธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (โรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร) (น้ำหนักร้อยละ 5) เกณฑ์การให้คะแนน 5 ผลการดำเนินงาน 1) จัดตั้งคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว 2) ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยมีจำนวนสถานบริการที่เข้าร่วมรับฟังทั้งสิ้น 53 แห่ง 3) ผลการสำรวจความพึงพอใจผู้เข้าร่วมตามโครงการร้อยละ 82.54 4) สถานประกอบการที่นำมาตรฐานไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมจำนวน ๕ แห่ง 5) ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามให้คำแนะนำสถานประกอบการที่สนใจนำเกณฑ์ไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับได้ติดตามถึงการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ตัวชี้วัดที่ 4 ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมให้องค์การธุรกิจจัดทำ CSR สนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และกลุ่มบุคคลด้านต่างๆ เข้ามาเรียนรู้ Nature Theme Park(น้ำหนักร้อยละ 5) เกณฑ์การให้คะแนน 5 ผลการดำเนินงาน สพพ.2 ได้รับเงินสนับสนุนจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)(CSR) บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด และธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด โดยมีจำนวนเด็ก เยาวชน และกลุ่มบุคคลด้านต่างๆ เข้ามาเรียนรู้ Nature Theme Park จำนวนทั้งสิ้น 8,838 คน
ตัวชี้วัดที่ 5 ระดับความสำเร็จในการเพิ่มชนิดสัตว์ใหม่และลดจำนวนสัตว์ที่เกินความต้องการ (น้ำหนักร้อยละ 5) เกณฑ์การให้คะแนน 5 • ผลการดำเนินงาน • สพพ.2 มีสัตว์ชนิดใหม่เพิ่มรวมจำนวน 5 ชนิด ซึ่งได้รับจากการแลกเปลี่ยนสัตว์กับ บริษัท เอส ที เอ็น แอนด์บรีดดิ้ง จำกัด ดังนี้ • 1) นกซันคอนัวร์ จำนวน 100 ตัว • 2) เม่นเผือก จำนวน 2 ตัว • 3) แรคคูนเผือก จำนวน 2 ตัว • 4) ลิงมาโมเสต จำนวน 4 ตัว • 5) งูหลามเผือก จำนวน 2 ตัว
ตัวชี้วัดที่ 6 ระดับความสำเร็จในการเปิด Behind the Zoo (น้ำหนักร้อยละ 5) เกณฑ์การให้คะแนน 5 ผลการดำเนินงาน มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเข้าชม Behind the Zoo รวมจำนวน 7,265 คน
ตัวชี้วัดที่ 7 ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่สามารถประยุกต์องค์ความรู้การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนใช้ในการบริหารจัดการด้านท่องเที่ยวในชุมชน (น้ำหนักร้อยละ 5) เกณฑ์การให้คะแนน 5 ผลการดำเนินงาน ผู้ประเมินอิสระได้แจ้งผลการประเมินแล้วอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 91.83
ตัวชี้วัดที่ 8 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่พิเศษ (น้ำหนักร้อยละ 6) เกณฑ์การให้คะแนน 5 • ผลการดำเนินงาน • 1) แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำกรอบแผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนแล้ว โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในพื้นที่พิเศษ ครบถ้วนทั้ง 3 พื้นที่ • 2) คณะทำงานจัดทำกรอบแผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนครบถ้วนทั้ง 3 พื้นที่แล้ว • 3) จัดบูรณาการแผนงานการพัฒนาฯ ผ่านเวทีหรือการจัดประชุมสัมมนาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน หรือรับที่จะสนับสนุนทรัพยากรหรือความร่วมมือตามกรอบแผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ทั้ง 3 พื้นที่แล้ว
ตัวชี้วัดที่ 9 ร้อยละความสำเร็จในการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน (น้ำหนักร้อยละ 6) เกณฑ์การให้คะแนน 3 ผลการดำเนินงาน 1) จัดฝึกอบรมคู่มือฯ ทั้ง 6 ชุมชนแล้ว โดยผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ร้อยละ 100 2) ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อคู่มือการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน ร้อยละ 87.73 3) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการติดตามประเมินผลคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ และได้คะแนนระดับ 5 ภายในเดือนกันยายน 2554
ตัวชี้วัดที่ 10 ระดับความสำเร็จการจัดทำมาตรการลดภาวะโลกร้อนกับการท่องเที่ยว (น้ำหนักร้อยละ 5) เกณฑ์การให้คะแนน 5 ผลการดำเนินงาน 1) จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันกำหนดมาตรการ/แนวทางการลดภาวะโลกร้อนกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2554 2) มติ กพท. ครั้งที่ 7/2554 ให้ความเห็นชอบมาตรการและแนวทางการลดภาวะโลกร้อนและให้ อพท. นำไปบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติงาน 4 ปี เพื่อผลักดันให้เกิดผลในการปฏิบัติต่อไป
ตัวชี้วัดที่ 10 ระดับความสำเร็จการจัดทำมาตรการลดภาวะโลกร้อนกับการท่องเที่ยว (น้ำหนักร้อยละ 5) ผลการดำเนินงาน (ต่อ) 3) ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ พื้นที่ละ 2 แห่ง ประกอบด้วย 3.1) พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างฯ - บ้านปู รีสอร์ทแอนด์สปา - อาน่า รีสอร์ทแอนด์สปา 3.2) พื้นที่พิเศษเมืองพัทยาฯ - โรงแรมเบลลา วิลล่า เมโทร - โรงแรม เบสท์เวสเทิร์น พัทยา 4) นำเสนอผลมาตรการ/แนวทางการลดภาวะโลกร้อนไปใช้ รวมทั้งจัดทำสรุปปัญหา อุปสรรค ของสถานประกอบการที่นำมาตรการลดภาวะโลกร้อนไปใช้ เสนอ กพท. เพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งที่ 9/2554 วันที่ 8 กันยายน 2554 และนำเสนอรองนายกรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ตัวชี้วัดที่ 11 ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (น้ำหนักร้อยละ 5) เกณฑ์การให้คะแนน 5 ผลการดำเนินงาน 1) ทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาแล้ว โดยมอบหมายบริษัท เพอร์ฟอร์แมนซ์พลัส จำกัด เป็นผู้ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง 2) มติ กพท. ครั้งที่ 7/2554 เมื่อวันที่ ให้ความเห็นชอบวิธีการสำรวจ/แบบสอบถามการความพึงพอใจของผู้รับบริการพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างฯ อยู่ที่ระดับคะแนนร้อยละ 85.1
ตัวชี้วัดที่ 12 ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี (น้ำหนักร้อยละ 5) เกณฑ์การให้คะแนน 5 ผลการดำเนินงาน 1) สพพ.2 ได้ว่าจ้างสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ปรึกษาดำเนินการสำรวจและประเมินผลความพึงพอใจผู้รับบริการพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี 2) มติ กพท. ครั้งที่ 7/2554 เมื่อวันที่ ให้ความเห็นชอบวิธีการสำรวจ/แบบสอบถามการความพึงพอใจของผู้รับบริการพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี อยู่ที่ระดับคะแนนร้อยละ 86.8
ตัวชี้วัดที่ 13 ร้อยละของอัตราการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้สอดคล้องกับช่วงเวลาตามแผนการใช้เงินงบประมาณเฉลี่ยทุกไตรมาส (น้ำหนักร้อยละ 5) เกณฑ์การให้คะแนน 2.98 ผลการดำเนินงาน ผลการใช้จ่ายงบประมาณในไตรมาสที่ 2 อพท. มีอัตราการใช้จ่ายงบประมาณที่ระดับ 89.03 %
ตัวชี้วัดที่ 14 EBITDA (น้ำหนักร้อยละ 6) เกณฑ์การให้คะแนน 3.50 ผลการดำเนินงาน = รายได้ หัก รายจ่าย =51,500,504.63 - 100,752,836.80 =(49,252,332.17)
ตัวชี้วัดที่ 15 บทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและการพัฒนาตนเองของคณะกรรมการ (น้ำหนักร้อยละ 20) 4.85 ผลการดำเนินงาน ดำเนินการตามระยะเวลา
ตัวชี้วัดที่ 16 จำนวนผู้เข้ามาใช้บริการฐานข้อมูลจาก Website (น้ำหนักร้อยละ 3) เกณฑ์การให้คะแนน 5 ผลการดำเนินงาน จำนวนผู้เข้ามาใช้บริการฐานข้อมูลจาก Website 1) Pageview จำนวน 3,689 2) Unique IP จำนวน 2,619
ตัวชี้วัดที่ 17 ระดับความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากร อพท. ส่วนกลาง (น้ำหนักร้อยละ 1) เกณฑ์การให้คะแนน 5 ผลการดำเนินงาน ดำเนินการส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมตามแผนพัฒนารายบุคคลตั้งแต่เดือนมกราคม – เดือนสิงหาคม 2554 จำนวน 34 หลักสูตร จำนวนผู้ได้รับการพัฒนาสมรรถนะจำนวน 106 คน คิดเป็นคะแนนระดับ 5 ร้อยละ 81.53 (จำนวน 106 คน จาก 130 คน)
ตัวชี้วัดที่ 18 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยมีตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานระดับบุคคลของพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี(น้ำหนักร้อยละ 3) เกณฑ์การให้คะแนน 3 ผลการดำเนินงาน 1) สพพ.2 มีการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานระดับบุคคลของเจ้าหน้าที่ระดับกลางขึ้นไป เสนอผู้บริหารให้ความเห็นชอบภายในเดือนธันวาคม 2553 เรียบร้อยแล้ว 2) ผู้ปฏิบัติงาน สพพ.2 ได้ลงนามรับทราบ และอยู่ระหว่างปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานระดับบุคคล 3) การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรประจำปี 2554 มีกำหนดในเดือนตุลาคม 2554 (ก.พ.ร. กำหนดให้รายงานความสำเร็จตามตัวชี้วัด (ระดับ 5) ได้ภายใน พฤศจิกายน 2554)
ผลการดำเนินงาน รอบ 9 เดือน 3.6375 รอบ 11 เดือน 4.5490