300 likes | 1.01k Views
สีโปสเตอร์ยอดคุณภาพ. โครงงานทดลอง. โดย 1 . เด็กหญิงดนยา พรหมณ์ดี 2. เด็กหญิงสุกัลยารัตน์ เหมือนเนื้อทอง 3. เด็กหญิง เนตรชนก ราชกิจ ชอบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ที่มาและความสำคัญ.
E N D
สีโปสเตอร์ยอดคุณภาพ โครงงานทดลอง โดย 1. เด็กหญิงดนยา พรหมณ์ดี 2. เด็กหญิงสุกัลยารัตน์ เหมือนเนื้อทอง 3. เด็กหญิงเนตรชนก ราชกิจชอบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ที่มาและความสำคัญ ในปัจจุบันนี้สีโปสเตอร์ในท้องตลาดมีราคาที่แพงและบางครั้งยังพบว่าคุณภาพสีไม่ดีพอเช่น ไม่เรียบเนียน(บางยี่ห้อ) จึงได้คิดหาวิธีทำสีโปสเตอร์ขึ้นใช้เองโดยนำวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาเป็นส่วนผสม เพื่อนำมาใช้ในการเรียนวิชาศิลปะโดยให้มีคุณภาพใกล้เคียงกับสีตามท้องตลาด
จุดมุ่งหมายของการศึกษาจุดมุ่งหมายของการศึกษา • 1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของสีโปสเตอร์ที่ทำจากแป้งชนิดต่างๆ • 2. เพื่อศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของแป้งมันในการทำสีโปสเตอร์ • 3. เพื่อศึกษาหาเปรียบเทียบคุณภาพสีโปสเตอร์ยอดคุณภาพกับสีโปสเตอร์ตามท้องตลาด
สมมติฐานในการศึกษาค้นคว้าสมมติฐานในการศึกษาค้นคว้า • 1. สีโปสเตอร์ที่ทำจากแป้ง ชนิดต่างๆจะมีคุณภาพสีที่ต่างกัน • 2. อัตราส่วนของแป้งมันที่ใช้ในการทดลองต่างกันจะทำให้ได้สีที่มีคุณภาพต่างกัน • 3. สีโปสเตอร์ยอดคุณภาพว่ามีคุณภาพใกล้เคียงกับสีโปสเตอร์ที่มีขายตามท้องตลาด
ขอบเขตการศึกษา • 1. ในการศึกษาค้นคว้าโครงงานนี้ จะศึกษาเฉพาะชนิดของแป้งดังต่อไปนี้ แป้งมัน แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า แป้งเอนกประสงค์ • 2. สีที่นำมาใช้ในการทดลองสีผสมอาหาร ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน • 3. กาวที่ใช้ในการทดลองคือ กาวลาเท็กซ์ • 4. ในการทดลองครั้งนี้ทำเฉพาะแม่สี 3 สี คือสีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน • 5. ในการทดลองครั้งนี้ เปรียบเทียบคุณภาพกับสีโปสเตอร์ที่ซื้อมาจากตลาด โดยเปรียบเทียบกับสีโปสเตอร์2 ยี่ห้อ
วิธีการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 หาชนิดของแป้งที่เหมาะสมในการทำสีโปสเตอร์ • ตัวแปรที่ศึกษา • ตัวแปรต้น แป้งมัน แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งเอนกประสงค์ • ตัวแปรตาม คุณภาพของสีโปสเตอร์ • ตัวแปรที่ควบคุม น้ำกลั่น กาวลาเท็กซ์ สีผสมอาหาร สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน
วัสดุอุปกรณ์ กาวลาเท็กซ์ สีผสมอาหาร แป้งชนิดต่างๆ แท่งแก้ว ช้อนตวง น้ำกลั่น บีกเกอร์
วัสดุอุปกรณ์(ต่อ) ขวดแก้ว เครื่องชั่ง กระดาษ 100 ปอนด์ พู่กัน จานสี
วิธีการทดลอง • 1. เตรียมแป้งชนิดต่างๆ ได้แก่ แป้งมัน แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งเอนกประสงค์ • 2. ชั่งแป้งมัน 15 กรัม ใช้บีกเกอร์ขนาด 40 มิลลิลิตร ตวงกาวลาเท็กซ์ น้ำกลั่น ให้ได้ปริมาตร 20 มิลลิลิตร ตามลำดับ • 3. ใช้ช้อนตวงเบอร์ 1 ตวงสีแดง 1 ช้อนตวง มาละลายในน้ำกลั่นที่เตรียมไว้ในบีกเกอร์ ใช้แท่งคนสารคนให้เข้ากัน
4. นำส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด มาผสมกันในบีกเกอร์ขนาด 200 มิลลิลิตร คนให้เข้ากันบรรจุลงในขวดแก้วขนาด 15 มิลลิลิตร ปิดฝาให้แน่น 5. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1-4 แต่เปลี่ยนจากแป้งมันเป็นแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งเอนกประสงค์6. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1-5 แต่เปลี่ยนจากสีแดงเป็น สีเหลือง สีน้ำเงิน วิธีการทดลอง (ต่อ)
วิธีการทดลอง (ต่อ) • 7. นำสีโปสเตอร์ที่ได้จากแป้งชนิดต่างๆ มาสังเกตลักษณะของเนื้อสีและความเข้มของสี แล้วบันทึกผลลงในตารางที่ 1 • 8. ใช้พู่กันจุ่มสีระบายลงกระดาษ 100 ปอนด์ ทิ้งไว้ 2 นาที เพื่อให้แห้ง จากนั้นตัดมาปะลงในแบบบันทึกผลลงในตารางที่ 2
ผลการทดลองตอนที่ 1 ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบคุณภาพของสีโปสเตอร์ที่ทำจากแป้งชนิดต่างๆเมื่ออยู่ในภาชนะบรรจุ
ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบคุณภาพของสีโปสเตอร์ที่ทำจากแป้งชนิดต่างๆเมื่อทดสอบระบายลงบนกระดาษ 100 ปอนด์
ตอนที่ 2 หาอัตราส่วนที่เหมาะสมของแป้งมันในการทำสีโปสเตอร์ ตัวแปรที่ศึกษา • ตัวแปรต้น อัตราส่วนต่างๆที่ใช้ในการทดลอง • ตัวแปรตาม คุณภาพของสีโปสเตอร์ • ตัวแปรที่ควบคุม น้ำกลั่น กาวลาเท็กซ์ สีผสมอาหาร สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน
วิธีการทดลอง • 1. ชั่งแป้งมัน 15 กรัม ใช้บีกเกอร์ขนาด 40 มิลลิลิตร ตวงกาวลาเท็กซ์ น้ำกลั่น ให้ได้ปริมาตร 20 มิลลิลิตร ตามลำดับ ใช้ช้อนตวงเบอร์ 1 ตวงสีแดง 1 ช้อนมาละลายในน้ำกลั่นที่เตรียมไว้ในบีกเกอร์ ใช้แท่งคนสารคนให้เข้ากัน นำส่วนผสมทั้ง 3 ชนิดมาผสมกันในบีกเกอร์ ขนาด 200 มิลลิลิตร คนให้เข้ากัน บรรจุลงในขวดแก้ว ปิดฝาให้แน่นเขียนฉลากไว้ข้างขวด • 2. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1 แต่เปลี่ยนจากแป้งมัน 15 กรัม เป็น 30 กรัมและ 45 กรัมตามลำดับ โดยมีน้ำกลั่นและกาวคงเดิม
วิธีการทดลอง (ต่อ) • 3. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1-2 แต่เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเหลือง และสีน้ำเงินตามลำดับ • 4. นำสีโปสเตอร์ที่ได้จากอัตราส่วนต่างๆ มาสังเกตลักษณะของเนื้อสีและความเข้มของสี บันทึกผลลงในตารางที่ 3 • 5. ใช้ช้อนตวงเบอร์ 1 ตวงสีโปสเตอร์ที่ได้จากการทดลองชนิดละ 2 ช้อน ใส่ในจานสีหลุมละ 1 สี ใช้พู่กันจุ่มสีระบายลงกระดาษ 100 ปอนด์ ทิ้งไว้ 2 นาทีเพื่อให้แห้ง จากนั้นตัดมาปะลงในแบบบันทึกผลในตารางที่ 4
ผลการทดลองตอนที่ 2 ตารางที่ 3การเปรียบเทียบคุณภาพของสีโปสเตอร์ที่ทำจากแป้งมันในอัตราส่วนต่างๆ
ตารางที่ 4การเปรียบเทียบคุณภาพของสีโปสเตอร์ที่ทำจากแป้งมันในอัตราส่วนต่างๆ เมื่อทดสอบระบายลงบนกระดาษ
ตอนที่ 3 เปรียบเทียบคุณภาพของสีโปสเตอร์ยอดคุณภาพกับสีโปสเตอร์ 2 ยี่ห้อที่มีขายตามท้องตลาด • ตัวแปรที่ศึกษา • ตัวแปรต้น สีโปสเตอร์ยอดคุณภาพกับสีโปสเตอร์ที่มีขายตามท้องตลาด 2 ยี่ห้อ • ตัวแปรตาม คุณภาพของสีโปสเตอร์ • ตัวแปรที่ควบคุม ปริมาณของสี พู่กัน กระดาษที่ใช้ทดสอบ
วัสดุอุปกรณ์ • 1. สีโปสเตอร์ยอดคุณภาพ 3 สีๆละ 1 ขวด • 2. สีโปสเตอร์ที่มีขายตามท้องตลาด 3 ยี่ห้อๆละ 3 สีๆละ 1 ขวด • 3. พู่กันเบอร์ 12 • 4. จานสี • 5. ช้อนตวงเบอร์ 1 • 6. กระดาษ 100 ปอนด์
วิธีการทดลอง • 1. ใช้ช้อนตวงเบอร์ 1 ตวงสีโปสเตอร์ยอดคุณภาพทั้ง 3 สีๆละ 2 ช้อน ใส่ในจานสี หลุมละ 1 สี ใช้พู่กันจุ่มสีระบายลงกระดาษ 100 ปอนด์ ทิ้งไว้ 2 นาที เพื่อให้แห้ง • 2. ทำการทดลองเช่นเดียวกันกับข้อ 1 แต่เปลี่ยนจากสีโปสเตอร์ยอดคุณภาพ เป็นสีโปสเตอร์ที่ซื้อมาจากตลาดจำนวน 2 ยี่ห้อ • 3. ตัดกระดาษระบายสีที่แห้งแล้ว มาปะลงบนแบบบันทึกผลการเปรียบเทียบคุณภาพของสีโปสเตอร์ บันทึกลงในตารางที่ 5
ผลการทดลองตอนที่ 3 • ตารางที่ 5 การเปรียบเทียบคุณภาพของสีโปสเตอร์ยอดคุณภาพกับสีโปสเตอร์ 2 ยี่ห้อ ที่มีขายตามท้องตลาด
อภิปรายผลการทดลอง • จากผลการทดลองนี้ สีโปสเตอร์ยอดคุณภาพ มีคุณภาพดีใกล้เคียงกับท้องตลาดสามารถนำมาใช้งานทดแทนสีโปสเตอร์ได้จริง ในการเรียนการสอนวิชาศิลปะ แต่มีข้อสังเกตว่า เนื้อสีที่ทำขึ้นจะเหลวกว่าเนื้อสีที่มีในท้องตลาด และการระบายสีลงกระดาษ สีโปสเตอร์ยอดคุณภาพจะแห้งช้ากว่าสีโปสเตอร์ยี่ห้ออื่นๆเล็กน้อย การหาอัตราส่วนของแป้งมัน ถ้ายิ่งใช้แป้งมันมาก จะทำให้สีที่ได้อ่อนจางลงและระบายยากขึ้น ส่วนการเปรียบเทียบสีเมื่อระบายลงบนกระดาษ โทนสีแต่ละยี่ห้อจะไม่เหมือนกัน
สรุปผลการทดลอง • 1. ชนิดของแป้งที่เหมาะสมในการทำสีโปสเตอร์ คือ แป้งมัน • 2. อัตราส่วนที่ต่างกันในการทดลองจะทำให้ได้สีที่มีคุณภาพต่างกัน ซึ่งอัตราส่วนที่เหมาะสม คือ 15 กรัม : 20 มิลลิลิตร : 20 มิลลิลิตร (แป้ง : กาว : น้ำสี) • 3. สีโปสเตอร์ยอดคุณภาพมีคุณภาพใกล้เคียงกับสีโปสเตอร์ยี่ห้อ A B
ประโยชน์ของโครงงาน • 1. เป็นการค้นพบความรู้ใหม่ๆโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ • 2. เป็นการดัดแปลงวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เพิ่มมากขึ้น • 3. ปลอดภัย และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน
ข้อเสนอแนะ • 1. ควรมีการนำสีสังเคราะห์อื่นๆมาทำการทดลอง • 2. ควรศึกษาอัตราส่วนผสมอัตราส่วนผสมอื่นๆเพิ่มเติม • 3. ภาชนะที่บรรจุสีโปสเตอร์ควรสะอาดจะทำให้สีมีอายุการใช้งานได้นานขึ้น • 4. หลังจากใช้สีทุกครั้ง ควรปิดฝาให้สนิทเพื่อให้สีมีอายุการใช้งานได้นานขึ้น
ประโยชน์ของโครงงาน • 1. เป็นการค้นพบความรู้ใหม่ๆโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ • 2. เป็นการดัดแปลงวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เพิ่มมากขึ้น • 3. ปลอดภัย และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน