590 likes | 1.35k Views
การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ. INFORMATION STORAGE and RETRIEVAL : ISR. Review. การจัดทำสาระสังเขป ( Abstracting ) หมายถึง งานที่เขียนโดยการย่อสาระสำคัญของเอกสาร อย่างตรงจุดมุ่งหมาย ตามลำดับและวิธีเขียนของต้นฉบับเดิมโดยปราศจากความคิดเห็นของผู้เขียนสาระสังเขป.
E N D
การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ INFORMATION STORAGE and RETRIEVAL : ISR
Review การจัดทำสาระสังเขป (Abstracting)หมายถึง งานที่เขียนโดยการย่อสาระสำคัญของเอกสาร อย่างตรงจุดมุ่งหมาย ตามลำดับและวิธีเขียนของต้นฉบับเดิมโดยปราศจากความคิดเห็นของผู้เขียนสาระสังเขป “ พยายามให้ข้อมูลมากที่สุดโดยใช้คำน้อยที่สุด ”
Review วัตถุประสงค์ของสาระสังเขป1. เพื่อให้ผู้อ่านทราบถึงเนื้อหาของเอกสารได้อย่างรวดเร็ว 2. เพื่อช่วยให้ผู้อ่านตัดสินใจว่าควรเลือกเอกสารต้นฉบับนั้นๆ ออกมาอ่านหรือไม่3. เพื่อช่วยขจัดปัญหาด้านภาษาให้กับผู้อ่าน4. เพื่อช่วยให้การจัดทำดรรชนีทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Review ประเภทของสาระสังเขป1. สาระสังเขปแบบพรรณนา หรือ แบบบอกเล่า(Descriptive or Indicative Abstract) 2. สาระสังเขปประเภทให้ความรู้(Informative abstract)3. สาระสังเขปแบบพรรณนาและให้ความรู้ (Indicative-Informative Abstract)
Review ส่วนประกอบของสาระสังเขป1. ส่วนอ้างอิง (Reference Section) 2. ส่วนเนื้อหา (Body Section) 3. ส่วนชื่อผู้เขียนสาระสังเขป (Signature section)
Review ส่วนประกอบของสาระสังเขป1. ส่วนอ้างอิง (Reference Section) 2. ส่วนเนื้อหา (Body Section) 3. ส่วนชื่อผู้เขียนสาระสังเขป (Signature section)
Review หลักเกณฑ์ในการเรียบเรียงเนื้อหาของเอกสารสำหรับบทความทางวิชาการหรือรายงานวิจัยมีดังต่อไปนี้- วัตถุประสงค์ (Purpose) - วิธีการ (Methodology) - ผลลัพธ์ (Result) - บทสรุป(Conclusion) - สารสนเทศอื่นๆ (Miscellaneous Information)
Review ลักษณะสาระสังเขปที่มีคุณภาพ1. สั้น กระชับ (Brevity or Conciseness)2. ถูกต้องเที่ยงตรงตามข้อเท็จจริง(Accuracy or Objectivity)3. ความชัดเจน (Clarity)4. ความคงที่(consistency)
Review ขั้นตอนการเขียนสาระสังเขป1. พยายามอ่านเอกสารต้นฉบับอย่างมีจุดหมาย พยายามเข้าใจเนื้อหา ขอบเขต และประเด็นสำคัญของเอกสาร 2. เขียน หรือจดประเด็นสำคัญที่พบลงในเอกสาร3. ร่างสาระเขปตามประเด็นที่จดไว้ในขั้นที่ 2 ไม่นำคำหรือข้อความที่เยิ่นเย้ออกมาจากเอกสารต้นฉบับ4. ตรวจร่างสาระสังเขป ได้แก่ วรรคตอน ความถูกต้องของการสะกดคำ ความถูกต้องของชื่อเฉพาะต่างๆ5. เรียบเรียงจัดทำสาระสังเขปให้มีความถูกต้องสมบูรณ์
ความหมายของดรรชนีดรรชนีเป็นรายการคำหรือวลีที่สำคัญซึ่งได้มาจากเนื้อหาของหนังสือ เอกสาร บทความในวารสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือวัสดุสารสนเทศอื่นๆ ที่ได้มีการจัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบ
ความหมายของการจัดทำดรรชนีเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสาร โดยนำเอาเนื้อหาสำคัญและแนวคิด (Concept) ที่ได้จากเอกสารนั้นมาจัดทำเป็นภาษาในระบบของการจัดทำดรรชนี
วัตถุประสงค์ของการจัดทำดรรชนี1.เพื่อชี้ให้ทราบว่าเอกสารนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร 2. ชี้ไปยังตำแหน่งที่อยู่ของสารสนเทศในเอกสาร หรือชี้ไปยังเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ความสำคัญของดรรชนี1.ผู้ใช้ดรรชนีสามารถค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ตรงประเด็น 2. ชี้แหล่งเก็บสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการค้น
กระบวนการของการทำดรรชนี1.อ่านเนื้อหาของเอกสารอย่างรวดเร็ว 2. วิเคราะห์เนื้อหาของเอกสาร 3. ปรับเปลี่ยนคำจากเนื้อหาให้เป็นคำที่เป็นภาษาดรรชนี 4. กำหนดตัวบ่งชี้ตำแหน่งที่ปรากฏเนื้อหา
ระดับของการจัดทำดรรชนี โดยทั่วไป มี 4 ระดับ1.ดรรชนีคำและชื่อ 2. ดรรชนีของหนังสือ 3. ดรรชนีวารสาร 4. ดรรชนีระบบการค้นคืนสารสนเทศ
1. ดรรชนีคำและชื่อ(Word and Name Indexes)บางครั้งอาจเรียกดรรชนีประเภทนี้ว่า อภิธานดรรชนี(concordances) เป็นการทำดรรชนีโดยใช้คำหรือชื่อผู้แต่งจากหนังสือหรือบทความนั้นๆ
1. ดรรชนีคำและชื่อ(ต่อ)ข้อดี- เหมาะกับการค้นหาสารสนเทศที่ค่อนข้างซับซ้อน ยากและมีความไม่แน่นอน ทั้งนั้นเพราะมีรายการคำจำนวนมากที่มีความหมายเหมือนกัน บางคำเป็นคำที่ไม่นิยมใช้โดยทั่วไปข้อเสีย- เสียเวลาในการค้นหาสารสนเทศมาก ผู้ใช้อาจต้องเดาใจว่าผู้แต่งใช้คำอะไรเป็นดรรชนี
2. ดรรชนีของหนังสือ(Book Indexes)บัญชีคำจัดเรียงตามลำดับอักษร มีหมายเลขหน้าแสดงถึงตำแหน่งที่ตั้งของเนื้อหาหรือชื่อที่ต้องการค้นหา
3. ดรรชนีวารสาร(Periodical Indexes)รายชื่อบทความในแต่ละรายการในวารสาร ประกอบด้วย ชื่อผู้เขียนบทความ ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่หรือเล่มที่ เดือน ปี เลขหน้าที่มีบทความนั้นๆ
3. ดรรชนีวารสาร(Periodical Indexes)(ต่อ)
3. ดรรชนีวารสาร(Periodical Indexes)(ต่อ)ดรรชนีวารสารมี 3 ประเภท คือ3.1 ดรรชนีวารสารทั่วไปไม่จำกัดสาขาวิชา 3.2 ดรรชนีวารสารเฉพาะสาขาวิชา 3.3 ดรรชนีวารสารเฉพาะชื่อ
3. ดรรชนีวารสาร(Periodical Indexes)(ต่อ)ประโยชน์ของดรรชนีวารสาร1. เป็นการรวบรวมข้อมูลในเรื่องที่เหมือนกันมาอยู่ในที่เดียวกัน ทำให้ผู้ใช้ทราบว่า ผลงานนั้นๆ มีใครผลิตแล้วบ้าง2. เป็นการช่วยให้เข้าถึงสารสนเทสที่ต้องการศึกษาได้อย่างรวดเร็ว สามารถค้นคว้าวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ดรรชนีระบบการสืบค้นสารสนเทศ(Information Indexes)เป็นการทำดรรชนีเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการค้นคืนจากระบบสารสนเทศ ซึ่งอาจใช้ฐานข้อมูลต่างๆ มาช่วยในการจัดทำดรรชนี
ภาษาที่ใช้ในการทำดรรชนี1. ภาษาควบคุม(Controlled Language)2. ภาษาธรรมชาติ (Natural / Free Language)
1. ภาษาควบคุมหมายถึง การกำหนดให้ศัพท์คำหนึ่งทำหน้าที่ควบคุมคำหลายคำที่มีความหมายอย่างเดียวกัน เพื่อความเป็นมาตรฐานและช่วยในการสืบค้นสารสนเทศ ทำได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ
1. ภาษาควบคุม(ต่อ)การบังคับเป็นการควบคุมการใช้คำที่มีความหมายเหมือนกัน (Synonyms) คำพ้อง (Homographs) คำพหูพจน์ (Plurals) เอกพจน์ (Singulars) คำประสมและวลีที่แสดงเนื้อหา โดยบังคับให้ใช้คำจากรายการศัพท์ที่กำหนด (Assigned terms) หรือศัพท์บังคับ (Controlled vocabularies) เป็นตำแหน่งในการเข้าถึง
1. ภาษาควบคุม(ต่อ)ตัวอย่างControlled VocabularyNatural Language-developing countries - underdeveloped countries - Third World
1. ภาษาควบคุม(ต่อ)ศัพท์ที่มีการควบคุมหรือศัพท์บังคับ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถวิเคราะห์เนื้อหาสาระของเอกสารได้อย่างสอดคล้อง สม่ำเสมอ (consistency) โดยการสร้างระบบคำศัพท์ที่เป็นมาตรฐาน ทำให้การจัดทำดรรชนีมีความแม่นยำถูกต้องมากที่สุด ทั้งนี้เพราะศัพท์ที่มีการควบคุมจะถูกกำหนดให้มีเพียงความหมายเดียวเป็นศัพท์ที่ได้รับการเลือกสรรแล้วบางครั้งเป็นรู้จักกันว่าศัพท์บังคับ (descriptors)
1. ภาษาควบคุม(ต่อ)จุดมุ่งหมาย 1. เพื่อควบคุมการใช้คำต่างๆ ที่สะกดแตกต่างกันแต่มีความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกันโดยระบุให้ใช้เพียงคำที่กำหนด จึงทำให้เรื่องที่มีเนื้อหาเดียวกันรวมอยู่ด้วยกัน การควบคุมทำโดยการเลือกใช้คำที่กำหนด (Preferred terms) หรือโยงให้ไป ดูที่ (See) หรือ ใช้ (Use) คำใดคำหนึ่ง
1. ภาษาควบคุม(ต่อ)จุดมุ่งหมาย 2. เพื่อควบคุมคำพ้องรูป ซึ่งเป็นคำที่สะกดเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน โดย อธิบายความหมาย หรือ ขอบเขตความหมาย กำกับไว้ในวงเล็บ เช่น MERCURY (MYHOLOGY) หมายความว่าให้ใช้ในความหมายในวงเล็บเท่านั้น
1. ภาษาควบคุม(ต่อ)จุดมุ่งหมาย3. เพื่อควบคุมและแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดของศัพท์ดรรชนี
1. ภาษาควบคุม(ต่อ)ศัพท์บังคับที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ประเภท คือ 1.1 หัวเรื่อง (Subject heading)1.2 ศัพท์สัมพันธ์ (Thesaurus)
1. ภาษาควบคุม(ต่อ)ศัพท์บังคับที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ประเภท คือ 1.1 หัวเรื่อง (Subject heading)1.2 ศัพท์สัมพันธ์ (Thesaurus)
1.1หัวเรื่องเป็นรายการศัพท์ที่ใช้แสดงเนื้อหา เป็นคำที่สั้น กะทัดรัดชัดเจนโดยทั่วไปจัดเรียงตามลำดับอักษร มีส่วนเชื่อมโยง- ดูที่ (see) เชื่อมโยงจากคำที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่องไปยังศัพท์ที่ใช้เป็นหัวเรื่อง - ดูเพิ่มเติมที่ (see also) โยงไปยังหัวเรื่องที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการแสดงความสัมพันธ์ของเนื้อหาเพื่อนำผู้ใช้ไปสู่ศัพท์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน
1.1หัวเรื่อง(ต่อ)ตัวอย่างศัพท์บังคับโดยใช้หัวเรื่องได้ที่“ http://www.astrosimple.com/thaiccweb/main.php ”
1.2 ศัพท์สัมพันธ์เป็นการรวบรวมคำและวลี เรียงตามลำดับอักษรพร้อมกับแสดงความสัมพันธ์กับศัพท์อื่น ๆ ที่มีความหมายเหมือนกัน ที่มีความหมายตามลำดับขั้น (hirarchical) และความสัมพันธ์ลักษณะอื่นๆ เพื่อเป็นศัพท์มาตรฐานสำหรับระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ
1.2 ศัพท์สัมพันธ์(ต่อ)“use”= ให้ใช้คำดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงการกระจายของเนื้อหา “use for”= คำดังกล่าวถูกใช้สำหรับคำอื่น“X”= see reference“XX”= see also reference“BT”= Broader term คำที่มีความหมายกว้างกว่า“NT”= Narrower term คำที่มีความหมายแคบกว่า“RT”= Related term คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกัน
1.2 ศัพท์สัมพันธ์(ต่อ)ตัวอย่าง Barley Broader term : GrainCereals Use : GrainCorn Broader term : GrainFactories Used for : Plants (industry)
1.2 ศัพท์สัมพันธ์(ต่อ)ตัวอย่าง GrainUsed for : Cereals Broader term : Crops Narrower terms : Barley Corn Maize Oats Wheat
1.2 ศัพท์สัมพันธ์(ต่อ)ตัวอย่างศัพท์บังคับโดยใช้ศัพท์สัมพันธ์ได้ที่ “ http://pikul.lib.ku.ac.th/agkb”
ภาษาธรรมชาติ เป็นภาษาดรรชนีที่นำคำที่ใช้ในเอกสารเป็นศัพท์ดรรชนีไม่ว่าคำเหล่านี้ปรากฏในสาระสังเขป เนื้อหาเต็ม หรือข้อมูลทางบรรณานุกรม (ได้แก่ ชื่อเรื่อง เป็นต้น) เป็นภาษาดรรชนีที่ไม่มีการควบคุมศัพท์ ทำให้ใช้ศัพท์ได้หลากหลาย
ภาษาธรรมชาติ(ต่อ)โดยทั่วไป ระบบค้นคืนโดยภาษาธรรมชาติใช้องค์ประกอบต่างๆ ที่ปรากฏอยู่แล้วได้แก่ ชื่อเรื่องสาระสังเขป (ซึ่งผลิตโดยผู้เขียน) และบางครั้งเนื้อหาเต็ม การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้กระทำได้โดยการใช้คำต่างๆ ที่ปรากฏในชื่อเรื่อง สาระสังเขป หรือเนื้อหาของเอกสาร
หน้าที่ของดรรชนีดรรชนีเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการค้นหาสารสนเทศ 2 ระดับ2. ดรรชนีค้นเนื้อหาภายในเล่ม(Guide to content of work) จัดทำขึ้นเพื่อค้นหาสารสนเทศที่เฉพาะเจาะจงภายในเนื้อหาของเอกสาร ตัวอย่างได้แก่ ดรรชนีท้ายเล่ม ซึ่งบอกให้ทราบว่าคำ หรือเรื่องที่ต้องการปรากฏอยู่หน้าใดของเอกสารเล่มนั้น
ประเภทของดรรชนี1. ดรรชนีผู้แต่ง(Author Indexes) เป็นดรรชนีที่ใช้ชื่อผู้แต่งเป็นส่วนหลักของรายการดรรชนี จัดทำขึ้นเพื่อค้นหารายการเอกสารตามชื่อผู้แต่ง2. ดรรชนีหัวเรื่อง(Subject Indexes) เป็นดรรชนีที่ใช้คำหรือหัวเรื่องที่มีผู้กำหนดไว้แล้วเป็นหัวเรื่อง3. ดรรชนีคำ(Word Indexes) เป็นดรรชนีที่สร้างโดยใช้คำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่องหรือเนื้อหาของเอกสารนั้นๆ มาเป็นคำค้นหรือคำหลัก
ประเภทของดรรชนี3.1 อภิธานดรรชนี (Concordance) เป็นดรรชนีที่ใช้คำสำคัญทุกคำที่ปรากฏในเนื้อหาของเอกสารเป็นส่วนหลักหรือคำค้นแล้วจัดเรียงตามลำดับอักษร3.2 ดรรชนีเวียนคำ (Permuted Indexes) เป็นการสร้างรายการดรรชนีหัวเรื่องตามลำดับอักษร