430 likes | 959 Views
โครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศ ระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด. จังหวัดนราธิวาส. เอกสารประกอบการประชุมหารือการพัฒนาข้อมูลจังหวัดนราธิวาส เพื่อเตรียมการนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการสถิติจังหวัด หัวข้อนำเสนอ แนะนำโครงการ
E N D
โครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด จังหวัดนราธิวาส • เอกสารประกอบการประชุมหารือการพัฒนาข้อมูลจังหวัดนราธิวาส • เพื่อเตรียมการนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการสถิติจังหวัด • หัวข้อนำเสนอ • แนะนำโครงการ • ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด - ศักยภาพจังหวัดนราธิวาส • Product Champion/ Value Chain ในประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดนราธิวาส • Critical Success Factors ในประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดนราธิวาส • การดำเนินงานขั้นต่อไป 1
แนวทางการดำเนินงานโครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/ 18 กลุ่มจังหวัด ภาคเหนือตอนบน 2 น่าน พะเยา เชียงราย น่าน ภาคเหนือตอนบน 1 เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง ภาคอีสานตอนบน 1 อุดรธานี หนองคาย เลย หนองบัวลำภู บึงกาฬ ในระยะที่ผ่านมา สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการพัฒนาระบบสถิติเชิงพื้นที่รองรับการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญในการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11(ปี 2555 – 2559) สู่ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ของกลุ่มจังหวัด จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด ภาคเหนือตอนล่าง 1 พิษณุโลก ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ภาคอีสานตอนบน 2 สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ภาคเหนือตอนล่าง 2 กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ภาคอีสานตอนกลาง ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภาคกลางตอนบน 2 ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ภาคอีสานตอนล่าง 2 อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ ภาคกลางตอนล่าง 1 กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ภาคอีสานตอนล่าง 1 นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ภาคกลางตอนล่าง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ ภาคกลางตอนล่าง 2 สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 2555 2556 2557 นำร่อง 10 จังหวัด นำร่อง 2 กลุ่มจังหวัด พัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด / 18 กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออก ชลบุรี ระยอง จันทยุรี ตราด ภาคกลางตอนบน 1 อยุธยา สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง ภาคใต้ฝั่งอันดามัน พังงา ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง ภาคใต้ชายแดน สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส 2
ความเป็นมา และแนวทางการดำเนินงานโครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/ 18 กลุ่มจังหวัด บูรณาการข้อมูลสารสนเทศระดับพื้นที่เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สนับสนุนการตัดสินใจเชิงพื้นที่ พัฒนาสมรรถนะของบุคลากรด้านสถิติขององค์กรภาครัฐ ให้มีความเป็นมืออาชีพด้านข้อมูลสถิติและสารสนเทศ วัตถุประสงค์หลักของโครงการ ร่างแผนพัฒนาสถิติจังหวัด เพื่อการตัดสินใจของประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด ได้แก่ ข้อมูลในการบริหารจัดการ Product Champion ที่ได้รับการเลือก ปัจจัยสู่ความสำเร็จ และตัวชี้วัด (KPI) ฯลฯ ผลผลิตหลักของโครงการ 3
กรอบแนวคิดการดำเนินงานเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาสถิติกลุ่มจังหวัด / จังหวัด การพัฒนาต่อยอดและขยายชุดข้อมูลเพื่อการตัดสินใจจากประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับพื้นที่ใน 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ชุดข้อมูลที่มีความเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่สอดคล้องกับแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 + + = ทิศทางการพัฒนาตามแผนฯ 11 ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ 3 ด้าน 21 สาขา แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ ทิศทางการพัฒนาตามแผนฯ 11 ได้จัดทำยุทธศาสตร์สำคัญ 6 ประเด็น ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม แผนพัฒนาจังหวัด /กลุ่มจังหวัด ที่กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนานั้น ในกระบวนการจัดทำได้มีการทบทวนและนำแนวทางของแผนฯ 11 และวาระแห่งชาติต่างๆ ใช้ประกอบในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ การพัฒนาข้อมูลให้มีเพียงพอ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยตอบสนองในการจัดทำแผนหรือการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับพื้นที่นั้นๆ ได้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับพื้นที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน โดยมีรายการข้อมูลหรือสถิติทางการที่สำคัญจำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่ 21 สาขา ครอบคลุมเรื่อง เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะได้รับผลประโยชน์ที่คาดว่าจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะได้รับ สนับสนุนการรายงานการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ตามประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดและสำนักงานจังหวัด ยกระดับคุณภาพข้อมูลเพื่อการตัดสินใจระดับจังหวัดให้มีมาตรฐานทางวิชาการ สร้างมาตรฐานการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัด หน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนและสำนักงานสถิติจังหวัด “…สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประสานกับหน่วยงานในการสร้างเครือข่ายสถิติ เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูลสถิติที่สำคัญและเป็นปัจจุบันของประเทศ...” (ตาม พ.ร.บ. สถิติ พ.ศ. 2550) 6
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 2558 - 2561 วิสัยทัศน์ : “เศรษฐกิจก้าวหน้า นราน่าอยู่ สู่สันติสุข” ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาภาคการผลิต การค้าชายแดน การท่องเที่ยวและการกีฬาเพื่อเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ เป้าประสงค์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด มูลค่าสินค้าและบริการการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น ประชาชนมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินและเชื่อมั่นในอำนาจรัฐ 7
ทั้งนี้จากประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด พบว่าทั้ง 3 ประเด็น สามารถกำหนดผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion) และประเด็นสำคัญ (Critical Issue) ที่ชัดเจนสำหรับการมุ่งประเด็นการพัฒนาได้ โดยกระทรวงมหาดไทยได้สรุปผลการวิเคราะห์ศักยภาพและ Positioning ของแผนพัฒนาของจังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2558 – 2561 โดยศักยภาพสำคัญในแต่ละด้านดังนี้ ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาภาคการผลิต การค้าชายแดน การท่องเที่ยวและการกีฬาเพื่อเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ 8
วิสัยทัศน์ “เศรษฐกิจก้าวหน้า นราน่าอยู่ สู่สันติสุข” 9
ภาพรวมศักยภาพด้านเศรษฐกิจของ จังหวัดนราธิวาส • เศรษฐกิจของจังหวัดนราธิวาสมีขนาดค่อนข้างเล็กเป็นลำดับที่ 8 ของภาคใต้ และเป็นลำดับที่ 37 ของประเทศ(เปรียบเทียบจาก GPP per Capita ปี 2554) • ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนราธิวาสเฉลี่ยต่อหัว (GPP Per Capita) ต่ำกว่าระดับประเทศ ภาคใต้ และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนโดยปี 2554 จังหวัดนราธิวาสมี GPP เฉลี่ยต่อหัวสูงขึ้นจากในปี 2553 ประมาณ 15.93% เป็น 77,591 บาท แต่ยังต่ำกว่าระดับประเทศ ระดับภาคใต้ และกลุ่มภาคใต้ชายแดน ที่มีค่าเฉลี่ย 164,512 บาท และ 125,270 บาท และ 110,875 บาท ตามลำดับ และต่ำเป็นลำดับที่ 2 ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน สาเหตุจากราคาผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะยางพาราปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลต่อ GPP เฉลี่ยต่อหัวมีแนวโน้มสูงขึ้น • โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดนราธิวาสยังคงพึ่งพาภาคการเกษตรเป็นหลักแต่มีแนวโน้มการปรับตัวสู่ภาคบริการมากขึ้น จังหวัดนราธิวาสมีสัดส่วนโครงสร้างภาคการเกษตรสูงที่สุดเมื่อเทียบกับสาขาการผลิตอื่น ๆ โดยในปี 2554 ภาคเกษตรมีสัดส่วนโครงสร้าง54.18% ของ GPP รวมโดยประกอบด้วย การเกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ ร้อยละ 52.09 ทั้งนี้เนื่องจาก ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา และปาล์มน้ำมันมีการผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นประกอบกับการปรับเพิ่มขึ้นของราคา ส่งผลให้สัดส่วนในปี 2554 เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่มา: แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 4 ปี 2558 – 2561
ภาพรวมศักยภาพด้านการเกษตรกรรมของ จังหวัดนราธิวาส • “ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด” • โดยในปี 2554 พื้นที่ให้ผลผลิต 36,255 ไร่ (ร้อยละ 18.33 ของพื้นที่กลุ่มจังหวัด) และมีผลผลิตจำนวน 79,467 ตัน คิดเป็นร้อยละ 17.58 ของผลผลิตทั้งกลุ่มจังหวัด • จังหวัดนราธิวาสมีศักยภาพการผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปี2553ที่ 2,132 กิโลกรัมต่อไร่เป็น 2,192 กิโลกรัมต่อไร่ ในปี 2554 ซึ่งสูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ที่มา: แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 4 ปี 2558 – 2561
การเลือก Product Champion จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ 2 ชนิด ในการค้นหาว่าสินค้าหรือภาคเศรษฐกิจที่ต้องการวิเคราะห์อยู่ในตำแหน่งใด ได้แก่ Market Share สัดส่วนทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ และ Growth อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ และทำการวางตำแหน่ง โดย BCGMatrix การวิเคราะห์ BCG เปรียบเทียบสินค้าเกษตร 10 รายการ จ.นราธิวาส Market Growth Market Share 12
ภาพรวมศักยภาพด้านการค้าและบริการ ของ จังหวัดนราธิวาส จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า มูลค่าชายแดนไทยมีแนวโน้มขยายตัวโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 13 ต่อปี และในแผนฯ 11 กำหนดเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนของไทยในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 15% ต่อปี สำหรับสัดส่วนการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทยโดยรวม พบว่า ร้อยละ 70 เป็นมูลค่าการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย รวม 9 ด่าน และตั้งอยู่ใน “นราธิวาส” จำนวน 3 ด่าน จังหวัดนราธิวาสมีชายแดนติดต่อประเทศมาเลเซีย เอื้อต่อการท่องเที่ยว การบริการ การลงทุน และการค้าชายแดน มีด่านศุลกากรที่มีความพร้อม 3 ด่าน คือ ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ด่านศุลกากรตากใบ ด่านศุลกากรบูเกะตาและมีมูลค่าการค้าชายแดนเฉลี่ย 5 ปี (2551 - 2555) เท่ากับ 3,603.14 ล้านบาท ที่มา: แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 4 ปี 2558 – 2561
ภาพรวมศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ของ จังหวัดนราธิวาส • จังหวัดนราธิวาสอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ โบราณสถาน และศาสนสถานซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมโดยมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่มีความหลากหลายตามธรรมชาติที่สมบูรณ์หลายแห่ง • และมีป่าพรุผืนใหญ่ที่สุดของประเทศซึ่งเป็นแหล่งสร้างรายได้ของจังหวัด • แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดในเบื้องต้น ประกอบด้วย • พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล ตั้งอยู่บริเวณริมถนนสายนราธิวาส-ระแงะ ตำบลลำภู อำเภอเมือง บนเนื้อที่ 142 ไร่ สร้างเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2509 เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางประทานพรที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ โดยบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่พระอุระเบื้องซ้าย • มัสยิดตะโละมาเนาะหรือมัสยิดวาดิลฮุสเซนบ้านตะโละมาเนาะตำบลลูโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ เป็นมัสยิดไม้ตะเคียนทั้งหลัง มีความเก่าแก่กว่า 300 ปี และยังใช้งานอยู่จนถึงปัจจุบัน • ป่าพรุโต๊ะแดงยังคงเป็นป่าสมบูรณ์ ดั้งเดิมเป็นพื้นที่ในเขตอนุรักษ์ มีเนื้อที่ประมาณ 125,00 ไร่ มีสัตว์ป่ามากมายกว่า200ชนิดและมีอยู่หลายชนิดที่หายาก เช่น แมวป่าหัวแบน เสือไฟ กระรอกบินแก้มแดง นอกจากนั้นยังมีพรรณไม้ป่ากว่าอีก 400 ชนิด • อุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโปตั้งอยู่ที่ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ ซึ่งเป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง จากอุทยานน้ำตกซีโปจะพบต้นลองกองซีโป หรือต้นลองกองตันหยงมัส ซึ่งมีอายุ 30 ปี บ้านซีโปนี้ถือเป็นต้นกำเนิดลองกองของไทย • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรีอันเป็นแนวชายแดนไทย- มาเลเซีย ซึ่งเป็นป่าฮาลา-บาลา ในเขตอำเภอแว้งและอำเภอสุคิริน เป็นแหล่งอาศัยของพืชพรรณและสัตว์ป่าที่หายาก โดยเฉพาะนกเงือกต่างๆ ที่พบได้ประมาณ 9-10 ชนิด ที่มา: แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 4 ปี 2558 – 2561
ภาพรวมด้านทรัพยากรธรรมชาติ ของ จังหวัดนราธิวาส ทรัพยากรป่าไม้ เนื่องจากจังหวัดนราธิวาสมีพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์จึงประสบปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า จากข้อมูลสถิติเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549 – 31 กันยายน 2552ปรากฏว่า คดีจับกุมการบุกรุกพื้นที่ป่า (คดี) ในปี 2552 ลดลงจากปี 2551 จำนวน 9 คดี คิดเป็นร้อยละ 19.56 แต่พื้นที่ที่ถูกรุกกลับเพิ่มขึ้นจาก ปี 2551 จำนวน 180 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 51.72 ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการลักลอบตัดไม้ และต้องการที่ดินทำการเกษตร พื้นที่ชุ่มน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและได้รับการเสนอชื่อขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างฝั่งตะวันออก ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (ป่าพรุโต๊ะแดง) มีเนื้อที่ 346.36ตารางกิโลเมตร และพรุบาเจาะ ปัญหาสำคัญที่มักจะพบในพื้นที่ชุมน้ำหรือป่าพรุ ได้แก่ การบุกรุกจับจองพื้นที่ของประชาชนและการจับจองที่สาธารณะและการเกิดไฟป่า เป็นต้น ภาพรวมสถานการณ์ ปัญหาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เป็นปัญหาที่รุนแรงและส่งผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่มากนักโดยจะเห็นได้จากข้อมูลการร้องเรียนปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดตั้งแต่ปี 2545 – 2552 มีเพียงปีละประมาณ 3 - 6 เรื่องเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางพื้นที่ที่มีปัญหาเป็นการเฉพาะพื้นที่ เช่น ปัญหาดินถล่ม จะเกิดในบริเวณพื้นที่ที่เป็นภูเขาดิน หรือ ปัญหาขยะมูลฝอยที่จะเป็นปัญหาในบริเวณเมืองใหญ่ เป็นต้น ที่มา: แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 4 ปี 2558 – 2561
สถานการณ์ความมั่นคง ของ จังหวัดนราธิวาส จุดอ่อนสำคัญของการพัฒนาจังหวัดนราธิวาส คือ สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติและมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำ ส่งผลให้การขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดเป็นไปอย่างล่าช้า สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา โดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ มียุทธศาสตร์การดำเนินงานด้วยการใช้หลักศาสนา ความเป็นเชื้อชาติมลายู และเงื่อนไขในอดีต เป็นเครื่องมือในการบ่มเพาะแนวความคิดการแบ่งแยกติดแดนแก่กลุ่มบุคคลรุ่นใหม่ พร้อมกับดำเนินการฝึกทางยุทธวิธี การจัดตั้งเครือข่ายและแบ่งส่วนงานย่อยๆ อย่างเป็นระบบ ได้ก่อความวุ่นวาย สร้างความปั่นป่วน โดยการใช้วิธีการก่อเหตุร้ายในรูปแบบต่างๆ ตลอดทั้งกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ยังคงดำรงความมุ่งหมายที่จะทำร้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะข้าราชการครู ทหาร ตำรวจ และประชาชน ผู้บริสุทธิ์ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาดเจ็บ และสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก เพื่อหวังผลทางด้านจิตวิทยาของประชาชนในพื้นที่ ที่มา: แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 4 ปี 2558 – 2561
สถานการณ์ความมั่นคง และปัญหายาเสพติดใน จังหวัดนราธิวาส จังหวัดนราธิวาสนับว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการแพร่ระบาดของตัวยาหลากหลายชนิด อีกทั้งยังมีสถิติการจับกุมคดียาเสพติดสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกันกับ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จะเป็นรองแต่เฉพาะจังหวัดสงขลาเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง หากพิจารณาแต่เฉพาะสถิติการจับกุมของจังหวัดนราธิวาสเพียงจังหวัดเดียว จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 -2555 สัดส่วนคดียาเสพติดของจังหวัดนราธิวาสเพิ่มขึ้นทุกปี ยาเสพติดเป็นปัญหาที่ประชาชนต้องการให้มีการแก้ไขโดยเร่งด่วน เนื่องจากเป็นบ่อเกิดของปัญหาต่างๆ มากมาย และที่สำคัญคือสมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบได้แสวงผลประโยชน์จากยาเสพติดทั้งทางตรงที่เป็นแหล่งเงินทุนและทางอ้อมด้วยการให้แนวร่วมเสพเพื่อสร้างความฮึกเหิมเพิ่มความกล้าในการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ ที่มา: แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส 4 ปี 2558 – 2561
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาภาคการผลิต การค้าชายแดน การท่องเที่ยวและการกีฬาเพื่อเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน กลยุทธ์ พัฒนาด่านชายแดน โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และบริการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภาคเกษตรและเพิ่มศักยภาพแก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร กลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนและผู้ประกอบการ อาทิ วิสาหกิจชุมชน OTOP และ SMEs ให้มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการทั้งการผลิต แปรรูป การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และเชื่อมโยงช่องทางการตลาดรองรับการค้าชายแดนและประชาคมอาเซียน ส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และเสริมสร้างกิจกรรมกีฬาเพื่อเชื่อมสัมพันธ์และสนับสนุนการท่องเที่ยวกับประชาคมอาเซียน เสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาทักษะ ฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถการทำงาน ยกระดับการพัฒนาพื้นที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ 18
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาภาคการผลิต การค้าชายแดน การท่องเที่ยวและการกีฬาเพื่อเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน PC/CI : ปาล์มน้ำมัน Generic Value Chain เกษตร-อุตสาหกรรม เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ (ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา) dกระบวนการค้าและการตลาด dกระบวนการแปรรูป dกระบวนการผลิต การวิจัยพัฒนา (R&D) - การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานและการพัฒนาเกษตรกร การขนส่ง และจัดการ บริหารสินค้า (Logistics) การพัฒนาระบบ การตลาด การเพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ และลดต้นทุน การแปรรูป และสร้าง มูลค่าเพิ่ม เกษตรกร ผู้บริโภค จากฟาร์มเกษตรกรไปถึงมือผู้บริโภค (From Farmer to Market) ปรับ GVC VC ยุทธศาสตร์ด้านเกษตร “ปาล์มน้ำมัน” การวิจัยพัฒนา (R&D)ปาล์มน้ำมัน การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานการปลูกปาล์มน้ำมันและการพัฒนาเกษตรกร การเพิ่มผลผลิตพัฒนาคุณภาพ และลดต้นทุนการปลูกปาล์มน้ำมัน การแปรรูป และสร้าง มูลค่าเพิ่มในปาล์มน้ำมัน การขนส่ง และจัดการ บริหารสินค้า (Logistics) การพัฒนาระบบการตลาด ปาล์มน้ำมัน
Value Chain Product Champion “ปาล์มน้ำมัน” ที่จังหวัดนราธิวาสเสนอ 1 2 4 5 3 การวิจัยพัฒนา (R&D)ปาล์มน้ำมัน การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานการปลูกปาล์มน้ำมัน และการพัฒนาเกษตรกร การเพิ่มผลผลิตพัฒนาคุณภาพ และลดต้นทุน การปลูกปาล์มน้ำมัน การแปรรูป และสร้าง มูลค่าเพิ่มในปาล์มน้ำมัน การขนส่ง และจัดการ บริหารสินค้า (Logistics) การพัฒนาระบบการตลาด ปาล์มน้ำมัน 1.1 การวิจัยและพัฒนาพันธ์ปาล์ม 1.2.การวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 1.3 การสร้างองค์ความรู้และขีดความสามารถให้เกษตรกรเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน 1.4 การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเชิงลึกปาล์ม 2.1 เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการ/การผลิต 2.2 การกระจายพันธุ์ปาล์มที่ดีให้เกษตรกร 3.1 พัฒนากระบวนการรีดน้ำมันปาล์ม 3.2 ส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์มให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล 4.1 การขนส่งและกระจายสินค้าเช่น พัฒนา/ปรับ ปรุงเส้นทางคมนาคมในชนบท 4.2 การบริหารจัดการคลังสินค้า 5.1 พัฒนาตลาดกลางสินค้า/ศูนย์รวมผลิตภัณฑ์ 5.2 พัฒนาตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Future Market)
VC ยุทธศาสตร์ที่ 1 : Product Champion ปาล์มน้ำมัน ภายหลังปรับให้เป็นมาตรฐานกลาง 1 2 4 5 การวิจัยพัฒนา (R&D)ปาล์มน้ำมัน การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานการปลูกปาล์มน้ำมันและการพัฒนาเกษตรกร การเพิ่มผลผลิตพัฒนาคุณภาพ และลดต้นทุน การปลูกปาล์มน้ำมัน การแปรรูป และสร้าง มูลค่าเพิ่มในปลูกปาล์มน้ำมัน การขนส่ง และจัดการ บริหารสินค้า (Logistics) การพัฒนาระบบการตลาด ปลูกปาล์มน้ำมัน 3 3.1 ใช้เทคโนโลยีเพื่อรักษาคุณภาพน้ำมันปาล์มหลังการรีด (เช่น การเก็บรักษาน้ำมันปาล์มให้มีคุณภาพและปลอดภัยตามมาตรฐาน) 3.2 ผลผลิตน้ำมันปาล์มได้รับการรับรองคุณภาพเพื่อการค้าในประเทศ ตามมาตรฐาน หรือในกรณีที่เป็นเงื่อนไขการส่งออก 3.3 ใช้เทคโนโลยีการบรรจุหีบห่อเพื่อรักษาคุณภาพและยืดอายุน้ำมันปาล์ม 3.4 มาตรฐานการผลิต เกษตรอุตสาหกรรม (GMP/HACCP) - เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1.1 วิจัยความต้องการปลูกปาล์มน้ำมันของตลาดภายใน ประเทศและต่างประเทศ 1.2 มีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ปาล์มที่เหมาะสม 1.3 พัฒนาปัจจัยการผลิตสนับสนุนการปลูกปาล์มน้ำมัน 1.4 วิจัยและพัฒนาระบบมาตรฐานการปลูกปาล์มน้ำมัน 1.5 การพัฒนา ดัดแปลงและเลือก ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมกับการผลิตปลูกปาล์มน้ำมันทั้งกระบวนการ 1.6 ส่งเสริมการรวมกลุ่มสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจการเกษตร 1.7 พัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันทั้งกระบวนการ 1.8 มีเครือข่ายสถาบันการเงิน/กองทุนเพื่อช่วยเหลือด้านการเงินให้เกษตรกรที่ปลูกยางพารา 2.1 ขยายการส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมัน 2.2 สนับสนุนเกษตรกรในระบบการผลิตปาล์มน้ำมันที่ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เช่น การอบรม สาธิต ดูงานด้านการใช้พื้นที่เพาะปลูก การพัฒนาคุณภาพดิน แหล่งน้ำที่ปลอดภัยจากสารเคมี การเพิ่มผลผลิต และการลดต้นทุน เป็นต้น 2.3 เกษตรกรสามารถพัฒนาคุณภาพและเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน 2.4 เกษตรกรมีแผนการผลิต และแผนการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน ที่เหมาะสม (Crop Zoning and planning) 2.5 เกษตรกรมีความสามารถในการจัดการวัตถุดิบเหลือใช้จากการปลูกปาล์มให้เกิดประโยชน์ 4.1 ส่งเสริมศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าในระดับกลุ่มจังหวัดที่ได้มาตรฐาน(Warehouse) 4.2 ใช้ระบบการขนส่งน้ำมันปาล์มที่เหมาะสมมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพตั้งแต่แหล่งผลิตไปโรงงานแปรรูป และคลังเก็บสินค้าที่ร่วมในกระบวน จนถึงตลาด 5.1 มีระบบตลาดกลางสินค้าที่ได้มาตรฐาน 5.2 มีระบบตลาดซื้อขายล่วงหน้า 5.3 มีกลไกการกำหนดราคาที่เหมาะสมตามคุณภาพ 5.4 มีการประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขายที่เหมาะสมกับแผนการผลิตและแผนการเก็บเกี่ยว 5.5 การจัดการข้อมูลการตลาด(Market Intelligence Unit) อย่างมีประสิทธิภาพ 5.6 พัฒนาขีดความ สามารถในการแข่งขันทางการตลาด (เช่น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการตลาดกับภาคส่วนต่าง ๆ การรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง ) 5.7 มีรูปแบบและตราสัญลักษณ์บรรจุภัณฑ์ข้าวและผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์มที่ดึงดูด น่าสนใจ ใช้ง่ายและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด 21
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาภาคการผลิต การค้าชายแดน การท่องเที่ยวและการกีฬาเพื่อเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน Product Champion : ปาล์มน้ำมัน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาภาคการผลิต การค้าชายแดน การท่องเที่ยวและการกีฬาเพื่อเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน Product Champion : ปาล์มน้ำมัน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาภาคการผลิต การค้าชายแดน การท่องเที่ยวและการกีฬาเพื่อเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน Product Champion : ปาล์มน้ำมัน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์ ส่งเสริมให้มีการขยายผลและประยุกต์ใช้แนวทางตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างทั่วถึง มีคุณภาพและสอดคล้องกับวิถีชุมชน เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนให้มีสุขภาพที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้ ส่งเสริมอาชีพบนพื้นฐานขององค์รู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถสร้างรายได้แก่ชุมชน และเสริมสร้างความเข้มแข็งของวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่น ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านภัยพิบัติและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชน สตรี และผู้ด้อยโอกาส และสนับสนุนให้สถาบันครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน พัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ 25
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง PC/CI : คุณภาพชีวิต วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ปรับ GVC VC ยุทธศาสตร์ด้านสังคม “คุณภาพชีวิต วิถีเศรษฐกิจพอเพียง” ส่งเสริมและจัดให้หมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ/การมีงานทำ/รายได้ และพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะของประชาชน ยกระดับคุณภาพการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ มีระบบสาธารณูปโภคที่ดี
VC ยุทธศาสตร์ที่ 2 : Critical Issue :พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (จังหวัด) 4 2 3 5 1 ส่งเสริมและจัดให้หมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ/การมีงานทำ/รายได้ และพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะของประชาชน ยกระดับคุณภาพการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ มีระบบสาธารณูปโภคที่ดี 5.1 ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านภัยพิบัติและการบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติในพื้นที่ 1.1 ส่งเสริม/พัฒนาอาชีพบนพื้นฐานขององค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยประยุกต์ใช้แนวทางตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.1 กิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการสร้างอาชีพที่เหมาะสมแก่ชุมชน 3.1 ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ในการดูแลสุขภาพ 4.1 ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา 4.2 ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างทั่วถึงโดยส่งเสริมกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว 4.3 พัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับในพื้นที่
VC ยุทธศาสตร์ที่ 2 : Critical Issue :พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (มาตรฐาน) 4 2 3 5 1 ส่งเสริมและจัดให้หมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ/การมีงานทำ/รายได้ และพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะของประชาชน ยกระดับคุณภาพการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ มีระบบสาธารณูปโภคที่ดี • จัดการความรู้วิธีการปฏิบัติการพัฒนาหมู่บ้าน ศก.พอเพียง • จัดทำแผนการพัฒนาหมู่บ้านและครัวเรือน พึ่งพาตนเอง เช่น การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ การเลี้ยงกบ-ปลา ไว้บริโภคในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายในครอบครัว • เรียนรู้และประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ในครัวเรือน • ปลูกฝังจิตสำนึกด้านการประหยัดและการออมแก่สมาชิกในครัวเรือน • พลังงานทดแทนในครัวเรือน เช่น การใช้เตาประหยัดถ่าน • ส่งเสริมกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว • ส่งเสริมกิจกรรมสร้างศีลธรรม จริยธรรมในครอบครัว • ส่งเสริมการถอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน • พัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานในสาขาที่จำเป็น • ให้ความรู้ ทักษะให้ชุมชนมีอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ • สร้างอาชีพที่เหมาะสมกับชุมชน • จัดกิจกรรมส่งเสริมการออมในชุมชนและเสริมรายได้แรงงาน • ลดปัญหาการว่างงานในพื้นที่ • พัฒนาให้อาชีพทักษะแก่ชุมชนมีอาชีพเสริมรายได้ • ส่งเสริม สร้างอาชีพที่เหมาะสมกับชุมชน • จัดกิจกรรมส่งเสริมการอบรมในชุมชน • การส่งเสริม ความรู้ทักษะการเลี้ยงดูและสุขอนามัยทารก • การส่งเสริมความรู้ ทักษะกิจกรรมและสุขภาวะที่ดีสำหรับเด็กและเยาวชน • การป้องกันมิให้ประชาชนป่วยเป็นโรคพื้นฐานทั่วไป • การดูแลสุขภาวะและป้องกันโรคสำหรับผู้สูงอายุ • ดูแลผู้ป่วยให้สามารถเข้าถึงซึ่งบริการสุขภาพได้สะดวก รวดเร็ว • เฝ้าระวังโรคติดต่อในพื้นที่ • การป้องกันโรคติดต่อ • การรับมือ ดูแลรักษา เมื่อมีโรคติดต่อระบาด • การบริหารจัดการเมื่อมีโรคโรคติดต่อระบาด • ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา • บริหารจัดการฐานข้อมูลด้านการการศึกษาของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ • พัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับในพื้นที่ • สร้างโอกาส/แนวทางในการเข้าสู่การศึกษาในระดับสูง/ช่องทางอาชีพสำหรับเยาวชนที่จะจบการศึกษา • ส่งเสริมกิจกรรมเสริมการเรียนรู้เพิ่มเติมตามหลักสูตรการศึกษา • ส่งเสริมกิจกรรมสร้างเสริมประสบ การณ์ชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชน • พัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนในชุมชน • สร้างการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ชุมชนในการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ • การพัฒนาเส้นทางสายหลัก • การพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ เพื่อให้ประชาชนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีคุณภาพ • การขยาย/ปรับปรุงระบบน้ำประปา • การขยาย/ปรับปรุงระบบไฟฟ้า • การขยาย/ปรับปรุงระบบโทรศัพท์ • พัฒนา ปรับปรุง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Product Champion : ยกระดับคุณภาพการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Product Champion : ยกระดับคุณภาพการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Product Champion : สังคมแห่งการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Product Champion : สังคมแห่งการเรียนรู้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ กลยุทธ์ พัฒนากำลังภาคประชาชนให้มีศักยภาพในการคุ้มครองและรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเอง จากสถานการณ์การก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการอำนวยความเป็นธรรมและสร้างภูมิคุ้มกันแก่คนกลุ่มเสี่ยงโดยการสร้างพื้นที่ความปลอดภัยเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งและเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ พัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เสริมการใช้กระบวนการชุมชนเข้มแข็งเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ในทุกมิติเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของจังหวัดทั้งในและต่างประเทศ 33
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ PC/CI: หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง 1 2 5 3 4 การบริหารจัดการพื้นที่ชายแดน (โครงสร้างพื้นฐาน) การพัฒนาเศรษฐกิจ/ ความอยู่ดีกินดีของชุมชน ความเข้าใจอันดีระหว่างจังหวัดชายแดน และประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาศักยภาพชุมชนในพื้นที่ชายแดน การรักษาความปลอดภัย/ ความสงบเรียบร้อย ปรับ GVC VC ยุทธศาสตร์ด้านสังคม “หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง” 1 2 5 3 4 การบริหารจัดการพื้นที่ชายแดน (โครงสร้างพื้นฐาน) หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาเศรษฐกิจ/ ความอยู่ดีกินดีของชุมชน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง ความเข้าใจอันดีระหว่างจังหวัดชายแดน และประเทศเพื่อนบ้าน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาศักยภาพชุมชนในพื้นที่ชายแดน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การรักษาความปลอดภัย/ ความสงบเรียบร้อย หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง 34
1 2 5 3 4 การบริหารจัดการพื้นที่ชายแดน (โครงสร้างพื้นฐาน) หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาเศรษฐกิจ/ ความอยู่ดีกินดีของชุมชน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง ความเข้าใจอันดีระหว่างจังหวัดชายแดน และประเทศเพื่อนบ้าน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาศักยภาพชุมชนในพื้นที่ชายแดน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การรักษาความปลอดภัย/ ความสงบเรียบร้อย หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง Critical Issue: หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง (จังหวัด) • 2.1 การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชน สตรี และผู้ด้อยโอกาส และสนับสนุนให้สถาบันครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน เช่น การเสริมสร้างคุณค่าทางอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของประชาชน 4.1 การยกระดับการพัฒนาพื้นที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่นโครงการ 1 อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน 4.2 การส่งเสริมอาชีพบนพื้นฐานขององค์รู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถสร้างรายได้แก่ชุมชน เช่น กิจกรรมมหกรรมกล้วยหิน และของดีอำเภอบันนังสตา 1.1 จำนวนพื้นที่ชุมชนที่ได้รับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 1.2 การแบ่งพื้นที่ที่มีปัญหาความมั่นคงตามระดับความรุนแรงของปัญหา เพื่อดำเนินการพัฒนาให้สอดคล้องตามลักษณะปัญหาของพื้นที่ เช่น การฝึกทบทวนชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน 1.3 พัฒนาเส้นทางถนนเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินบนท้องถนน 5.1 การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ในทุกมิติเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของจังหวัดทั้งในและต่างประเทศโครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์จังหวัดยะลา 3.1 ร้อยละหมู่บ้าน/ชุมชน/พื้นที่ไม่สังกัดชุมชนภายในเขตเทศบาลที่ไม่มีการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ เช่น เช่น สร้างความเข้าใจและอำนวยความเป็นธรรมในชุมชน 3.2 ระดับความสำเร็จในการเสริมสร้างเอกภาพในการรักษาความมั่นคงภายในในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น การสานสัมพันธ์มวลชน3.3 การสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนรู้สึกถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การสานสัมพันธ์มวลชน 3.4 เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันปราบปรามการลดลงของสถิติคดียาเสพติดในพื้นที่
Generic Value Chain ประเด็นด้านสังคม : หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง (มาตรฐาน) 1 2 5 3 4 การบริหารจัดการพื้นที่ชายแดน (โครงสร้างพื้นฐาน) หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาเศรษฐกิจ/ ความอยู่ดีกินดีของชุมชน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง ความเข้าใจอันดีระหว่างจังหวัดชายแดน และประเทศเพื่อนบ้าน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาศักยภาพชุมชนในพื้นที่ชายแดน หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง การรักษาความปลอดภัย/ ความสงบเรียบร้อย หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง • การส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างทั่วถึง มีคุณภาพและสอดคล้องกับวิถีชุมชน • การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชน สตรี และผู้ด้อยโอกาส และสนับสนุนให้สถาบันครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน • การสนับสนุนสถาบันการศึกษาในการพัฒนาบุคลากรและส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน • การยกระดับการพัฒนาพื้นที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ • การส่งเสริมอาชีพบนพื้นฐานขององค์รู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถสร้างรายได้แก่ชุมชน • การจัดระบบป้องกันและสื่อสารเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน อาทิ การจัดระเบียบการสัญจรข้ามแดน การลาดตระเวน เฝ้าตรวจ • การสร้างระบบการป้องกันโดยขบวนการพัฒนาในรูปแบบของหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองเพื่อความมั่นคง (จัดตั้งหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน) • วางแผนจัดการแก้ไจปัญหาความมั่นคงเพื่อขจัดขัดขวางและลดอิทธิพลหรือการแทรกซึมของฝ่ายตรงข้าม • การสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนรู้สึกถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน • การแบ่งพื้นที่ที่มีปัญหาความมั่นคงตามระดับความรุนแรงของปัญหา เพื่อดำเนินการพัฒนาให้สอดคล้องตามลักษณะปัญหาของพื้นที่ • การติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณด่านชายแดน ท่าเทียบเรือ เขตชุมชนหนาแน่น สถานที่สำคัญจุดล่อแหลม • การสร้างเส้นทางสนับสนุนและป้องกันเมื่อเกิดปัญหา • การสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อเป็นฉากสกัดกั้นป้องกันพื้นที่และยังเป็นประโยชน์ที่จะใช้น้ำเพื่อการบริโภค อุปโภค • ปลูกป่าในบางพื้นที่ตามแนวชายแดน เพื่อเป็นเครื่องกีดขวางธรรมชาติ • การลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมกับประเทศเพื่อนบ้าน • การสร้างความเข้มแข็งกลไกระดับท้องถิ่นทั้ง 2 ประเทศ เพื่อกระชับความร่วมมือ • การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ในทุกมิติเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของจังหวัดทั้งในและต่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ Product Champion : ชุมชนเข้มแข็ง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ Product Champion : ชุมชนเข้มแข็ง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ Product Champion : ชุมชนเข้มแข็ง
การดำเนินงานขั้นต่อไปการดำเนินงานขั้นต่อไป • สรุป (Finalize) รายการ CSF ภายใต้ห่วงโซ่มูลค่าในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ • ขอความร่วมมือสถิติจังหวัดเติม Data List และ Check Stock Dataเพื่อจัดทำแผนผังรายการสถิติทางการ • กำหนดวันประชุมคระกรรมการสถิติจังหวัด เพื่อนำเสนอผลการศึกษาการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูล สนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด